5 เทคนิคทำ Market Research โดยใช้ Instagram Stories เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ

5 เทคนิคทำ Market Research โดยใช้ Instagram Stories  เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ
Light
Dark
Pea Tanachote
Pea Tanachote

อดีตนักร้อง ที่ผันตัวมาเขียนคอนเทนต์ ชอบดูฟุตบอลและ Blackpink เป็นชีวิตจิตใจ นักเขียนคอนเทนต์ที่ใคร ๆ ก็ต้องการตัว (โดยเฉพาะตำรวจ)

นักเขียน

ในปี 2020 นี้ถือเป็นปีที่การทำการตลาดผ่านช่องทาง Social Media ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนกลายเป็นอีกหนึ่งหน้าความเปลี่ยนแปลงของโลกการทำการตลาดไปอย่างถาวร

จากการเป็นเพียงแค่สังคมออนไลน์ที่เอาไว้เพื่อเล่นสนุกกับเพื่อน เอาไว้แชร์รูป แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันสู่การเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ในการทำการตลาดที่สามารถสร้างประโยชน์ สร้างแบรนด์ สร้างรายได้ และผลักดันให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้

ใช่ครับ เรากำลังพูดถึงหนึ่งใน Social Media ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกด้วยผู้ใช้งานกว่า 1,000 ล้านราย จากทุกประเทศทั่วโลก (12 ล้านคนจากประเทศไทย) และเป็นอีกหนึ่ง Social Media ที่มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของเรา นั่นก็คือ “Instagram” 

ในปัจจุบันประโยชน์ของ Instagram กลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่หลายธุรกิจนิยมเลือกใช้เป็นต้นๆ ควบคู่ไปกับ Website และ Facebook โดยถึงแม้ว่า Instagram นั้นอาจจะไม่ได้มีฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์การทำการตลาดที่ละเอียดเทียบเท่ากับ 2 เครื่องมือที่กล่าวไป แต่ Instagram ก็แอบซ่อนประโยชน์ในการทำ “Market Research” หรือการวิจัยตลาด ในแบบที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน ซึ่งจะทำให้คุณได้เข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ ด้วยฟีเจอร์ที่เราคุ้นเคยอย่าง “Instagram Stories” ครับ 

โดย Instagram Stories ที่เราเล่นๆ กันอยู่แทบจะทุกวันนั้นจะสามารถทำ Market Resarch ให้ธุรกิจคุณเติบโตได้อย่างไร เชิญหาคำตอบได้ที่บทความนี้เลยครับ

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Market Research สำคัญกับการทำธุรกิจของคุณอย่างไร ?

ต้องเรียนให้ทราบครับว่าการทำ Market Research หรือการสำรวจตลาด มันก็คือกระบวนการที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบขนาดของตลาดได้ ช่วยในการรับข้อมูล Insight ต่างๆ เช่น อายุ รายได้ การศึกษา เพศ ของกลุ่มเป้าหมายของเราได้ และยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการหา Market Place ของตัวเอง วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อเป็นการทำให้ธุรกิจมีความโดดเด่นและแตกต่างจากของคู่แข่ง 

และอีกความสำคัญที่จะไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือการทำ Market Research ก็เปรียบเหมือนการวัดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเป้าหมายกับแบรนด์ของคุณ  ไม่ว่าแบรนด์จะมี New Product หรืออะไรใหม่ๆ ที่จะออกสู่ตลาด ทางที่ดีก่อนหน้านั้นคุณควรทำ Brand Market Research ดูสักหน่อยครับเพื่อจะได้เป็นการวิเคราะห์ตลาด ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

ภาพจาก feweek

โดยทั่วไปถ้าจะให้พูดถึงเครื่องมือในการทำ Market Research หลายๆ แบรนด์อาจจะใช้การทำแบบสอบถาม ที่จะรวบรวมความคิดเห็นที่มีต่อสินค้า/แบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Online หรือ Offline ก็ตาม หรือถ้า Scale ธุรกิจใหญ่หน่อยคงอาจจะต้องไปจ้างบริษัทที่รับทำ Marketing Research โดยเฉพาะ ซึ่งแน่นอนว่าก็ต้องเสียทั้งงบประมาณและใช้เวลาไม่น้อยเลยทีเดียว 

แต่ในความเป็นจริงแล้วถ้าธุรกิจคุณมี Instagram เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว คุณสามารถลองทำแบบเบื้องต้นดูก่อนได้เลย ด้วยฟีเจอร์ Instagram Stories

ข้อดีของการใช้ Instagram Stories เป็นเครื่องมือในการทำ Market Research

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การทำ Market Research นั้นสามารถใช้เครื่องมือหรือวิธีต่างๆ ในการดำเนินการทำ Market Research ได้ แต่ทำไมคุณถึงต้องลองทำ Market Research ด้วย Instagram Stories ล่ะ?

หัวข้อนี้ผมเลยขอเสนอเหตุผลดีๆ ที่จะทำให้คุณเห็นถึงประโยชน์ของการใช้ Instagram Stories ให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้ครับ

  • เพราะ “Instagram Stories” กำลังเติบโตเป็นอย่างมาก 

ด้วยผู้ใช้งานฟีเจอร์นี้กว่า 500 ล้านคนในแต่ละวัน และกว่า 1 ใน 3 จะชอบดู Instagram Stories จาก Business Account นั่นแสดงให้เห็นว่าอัตราการเข้าถึงฟีเจอร์นี้ในปัจจุบันมีอิทธิพลต่อธุรกิจมากเพียงใด 

สถิติจาก MediaKix ชี้ให้เห็นอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปีของ Instagram Stories ซึ่งการเติบโตของ Instagram Stories นั้นจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปทุกๆ ปีอย่างแน่นอน ถึงขั้นอาจมีตัวเลขผู้ใช้งานแตะหลัก 1,000 ล้านคน ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ภาพจาก MediaKix

เพราะฉะนั้นการที่คุณเลือก Instagram Stories เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็นการทำ Market Research หรือแค่ต้องการสื่อสารกับลูกค้าย่อมเป็นผลดีต่อธุรกิจของคุณแน่นอนครับ


  • ของฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

ถ้าธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณ ไม่ได้มีงบประมาณที่เอาไว้ใช้ในการทำ Market Research เหมือนองค์กรใหญ่ๆ หรืออาจต้องการแค่ “ทดลองเบื้องต้น” สำหรับการทำ Market Research เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาให้ธุรกิจมีการเติบโตที่ดีในอนาคต Instagram Stories นี่แหละครับ คือของฟรี ที่น่าจะตอบโจทย์ความต้องการของคุณที่สุดแล้ว

ถึงแม้ว่า IG Stories อาจจะมีข้อเสียในเรื่องระยะเวลาการแสดงผล (อยู่ได้แค่ 24 ชั่วโมง) แต่ในเมื่อมันฟรี คุณก็สามารถทำใหม่เมื่อใดก็ได้ ตามแต่ที่คุณต้องการครับ


  • Instagram Stories คือฟีเจอร์ขวัญใจเด็กรุ่นใหม่

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อนะครับว่าสถิติจาก VidMob ชี้ว่า Instagram Stories นี่แหละ คือฟีเจอร์ขวัญใจกลุ่มเด็กรุ่นใหม่ (Millennials 59% & GenZ 70%) ที่แท้จริง ด้วยข้อดีที่เล่นง่าย เข้าถึงได้รวดเร็ว ดูทันสมัย ทำให้ Instagram Stories ครองใจกลุ่มวัยรุ่นส่วนใหญ่ไปอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง (ตัวผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น)

ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าการทำ Market Research ของคุณต้องการได้ผลการสำรวจจากกลุ่มคนทั้ง 2 Generation ที่กล่าวไป วิธีนี้ก็คงเป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจครับ


  • เพิ่มสีสันและความสนุกให้กับแบรนด์ได้

ด้วยฟีเจอร์ที่หลากหลายใน Instagram Stories ทั้ง Poll , Vote , Ask The Question และอื่นๆ มันทำให้เรารู้สึกสนุก เพลิดเพลินเวลาที่เราเล่นกับหมู่เพื่อน เช่นเดียวกันกับการมาปรับใช้ของแบรนด์หรือธุรกิจครับ

การใช้ Instagram Stories นั้นจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดูมีความสนุกสนานเพิ่มขึ้น Engage กับกลุ่มลูกค้าได้มากกว่าช่องทางอื่นๆ อีกทั้งยังทำให้แบรนด์ของคุณมีดูมีความใส่ใจ มีความ Friendly กับลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย

ภาพจาก BossMagazine

5 เทคนิคใช้ฟีเจอร์ Instagram Stories เพื่อการทำ Market Research สำหรับธุรกิจ

หลังจากที่เราทราบละเอียดและข้อดีต่างๆ ของการใช้ Instagram Stories ในการทำ Market Reseach สำหรับธุรกิจแล้ว ต่อไปคือเทคนิคและวิธีใช้งานที่ฟีเจอร์ต่างๆ ของ Instagram ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจของคุณมากที่สุด ว่าแต่ฟีเจอร์แต่ละอย่างจะทำ Market Reseach ได้อย่างไรไปติดตามกันได้เลยครับ

1. เข้าใจความต้องการของลูกค้าด้วย Poll Sticker

ฟีเจอร์ Poll Sticker นั้นเป็นลูกเล่นที่ทาง Instagram ต้องการให้ผู้ใช้งานได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในรูปแบบของการโหวต 2 คำตอบ ซึ่งเป็นเทคนิคที่รวดเร็วในการที่คุณจะได้ทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการกับธุรกิจหรือแบรนด์ของคุณ ผ่านการสอบถามในรูปแบบ Poll ที่มีข้อดีคือสามารถได้รับข้อมูลจากลูกค้าได้แบบ Real Time 

ภาพจาก TechCrunch

สำหรับกลไกของฟีเจอร์นี้ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ คุณมีหน้าที่แค่ตั้งคำถามที่คุณต้องการสำรวจจากกลุ่มลูกค้า และตั้งคำตอบอีก 2 อย่างให้พวกเขาได้เลือก (แนว Yes-No , Good-Bad) โดยทั้งคำถามและคำตอบก็ควรเป็นอะไรที่สั้นๆ กระชับ ใช้เวลาไม่นานในการทำความเข้าใจครับ โดยวัตถุประสงค์ก็คือทราบความ

ซึ่ง Poll Sticker ถือเป็นเทคนิคการทดลองทำ Market Research แบบย่อยๆ ที่หลายองค์กรชื่อดังของโลกได้เคยทดลองใช้งานกันมาบ้างแล้วผ่าน Instagram Business Accounts ของแต่ละแบรนด์ไม่ว่าจะเป็น McDonalds , Adidas , Sephora 

ภาพจาก socialmediaexaminer

จากรูปตัวอย่าง นี่คือการใช้ฟีเจอร์ Poll Sticker ในการทำ Market Reseach ของแบรนด์ Sephora ที่ได้ตั้งคำถามในเรื่องความชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ลิปสติกของแบรนด์ รวมไปถึงถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับการทำผม ให้เหล่า Followers ได้เล่นกัน ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคง่ายๆ ที่ Sephora ใช้ในการทำความเข้าใจพฤติกรรมและความชอบของลูกค้าผ่าน Poll Sticker ครับ

2. วัดความชอบต่อสินค้าหรือแบรนด์ด้วย Emoji Sliders

หากคุณต้องการ Reseach ความรู้สึกทางอารมณ์หรือ Feedback จากลูกค้าว่าพวกเขามีความรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับแบรนด์หรือสินค้าของคุณ โดยที่ใช้เวลาในการสำรวจให้น้อยและไม่ยุ่งยากที่สุด ใน Instagram Stories ฟีเจอร์ที่น่าจะตอบโจทย์ที่สุดก็ต้องเป็น Emoji Slider

สำหรับ Emoji Slider เป็นฟีเจอร์ง่ายๆ (เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเล่น) โดยต้องการให้ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ถาม ด้วย “การลาก” Emoji Icons จากมากไปน้อย โดยคุณจะสามารถเช็คได้เลยว่าแต่ละคนมีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับฟีเจอร์นี้ ทั้งการเช็คผลแบบรายบุคคล (Individual Answers) หรือแบบผลรวมโดยเฉลี่ย (Average Answer)

ภาพจาก WeAreSocial

สำหรับการนำประโยชน์มาใช้ในงาน Market Research นั้น คุณสามารถทำได้ โดยการพิมพ์คำถามที่คุณต้องการสำรวจไปก่อน แล้วจากนั้นก็เลือก Emojis ที่ตรงกับอารมณ์ของคำถามของคุณมากที่สุด จากนั้นก็ให้ลูกค้าของคุณสามารถลากอิโมจิ ไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อวัดความชอบที่พวกเขามีต่อสินค้าหรือแบรนด์ของคุณครับ

เทคนิคการทำ Market Reseach โดยใช้ Emoji Sliders นั้นนอกจากเป็นตัวชี้วัดความชอบที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือแบรนด์ของคุณได้แล้ว ยังถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ติดตามของคุณ เพื่อสร้างการเข้าถึงที่มากขึ้นและความไว้วางใจที่พวกเขามีต่อแบรนด์ครับ

ภาพจาก H&M

3. รวบรวม Pain Point ของลูกค้าด้วย Ask Me A Question 

สำหรับฟีเจอร์ Ask The Question เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ใน Instagram Stories ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะกลไกของฟีเจอร์นี้ ทำให้คุณสามารถตั้งคำถามปลายเปิดให้กับเพื่อนๆ ของคุณได้เข้ามาเล่นร่วมสนุกกันได้ โดยเมื่อมีคนพิมพ์คำตอบส่งกลับมาให้คุณแล้ว คุณยังสามารถเลือกแชร์คำตอบนั้น ลงไปในสตอรี่ใหม่อีกรอบก็ได้เช่นกัน

ภาพจาก Adweek

โดยฟีเจอร์ Ask Me A Question สามารถช่วยการทำ Marketing Research ให้กับธุรกิจคุณได้ โดยวิธีที่เราแนะนำก็คือการใช้คำถามเพื่อถามถึง Pain Point ที่ลูกค้ามีต่อสินค้าหรือบริการของคุณ เช่นสิ่งที่พวกเขาสงสัย สิ่งที่พวกเขาอยากให้ปรับปรุง เพื่อให้คุณได้ทราบถึง Pain Point ที่แท้จริงของลูกค้า

มีตัวอย่างการใช้ฟีเจอร์นี้ที่น่าสนใจ จากแบรนด์ Dunkin’s เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา พวกเขาได้เปิดตัวเมนู Vegan Burgers ที่มีขายเฉพาะสาขารัฐ Manhattan เท่านั้น โดย Dunkin’s ได้ใช้ฟีเจอร์ Ask me a Question ในการให้ลูกค้าได้ถามข้อสงสัยเกี่ยวกับเมนูดังกล่าว จนทำให้พวกเขาได้พบว่า Pain Point ส่วนใหญ่ของลูกค้าคือ “อยากลองกิน แต่หาซื้อเจ้าเมนูนี้ยากเกินไป” 

จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้สอบถามไป ทำให้ Dunkin’s รู้ว่าเมนูนี้เป็นที่ต้องการของตลาดจริงๆ Dunkin’s ก็เลยไม่รีรอที่จะนำเอาเมนู Vegan Burger ออกสู่หน้าร้านทุกสาขา เต็มรูปแบบ และทำให้เมนูดังกล่าวประสบความสำเร็จในด้านยอดขายเป็นอย่างมากครับ

ภาพจาก Dunkin’s IG

4. เช็คว่าลูกค้ารักแบรนด์ของคุณแค่ไหนด้วย Quiz Question

ฟีเจอร์ Quiz Question เป็นฟีเจอร์ใน Instagram Stories ที่มาในรูปแบบของคำถามและช้อยส์คำตอบ 4 ข้อ (ลักษณะเหมือนข้อสอบปรนัย) โดยคุณจะต้องเซ็ท 1 คำตอบที่ถูกต้องเอาไว้ ตอนลงสตอรี่และเซ็ท 3 ช้อยส์  ที่เป็นคำตอบหลอกขึ้นมา 

สำหรับการนำมาใช้ในงาน Market Research นั้น Quiz Mode จะเข้ามาช่วยเหลือในคุณในการวัดความรู้หรือเช็คว่าลูกค้ารู้จักแบรนด์หรือสินค้าของคุณดีแค่ไหน คุณสามารถรู้การสำรวจได้เลย ตามจำนวนลูกค้าที่สามารถตอบคำถามของคุณได้ถูกต้อง เพื่อนำผลลัพท์ที่ได้มาสร้างแผนการประชาสัมพันธ์แบรนด์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไปในอนาคตครับ

ภาพจาก Later

โดยตัวอย่าง ที่สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้อย่างชาญฉลาดและถือเป็นเจ้าประจำที่ใช้ฟีเจอร์นี้ในการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มลูกค้า นั่นก็คือ Booking.com ใช้ Quize Question Stories เพื่อทดสอบนักเดินทางที่หลงใหลในการผจญภัย โดยการถามคำถามง่ายๆ แค่ให้ทายว่าภาพสถานที่ท่องเที่ยวนั้น คือที่ใดเท่านั้น

เมื่อตอบคำถามเสร็จ Booking.com ก็จะแอบ Tie In บทความหรือโปรโมชั่นบริการของตนไว้ในสตอรี่ถัดไป เพื่อดึงให้กลุ่มเป้าหมาย กลายเป็นลูกค้าของพวกเขาโดยง่ายนั่นเองครับและยังเป็นตัววัดความรักที่ลูกค้ามีให้แก่ตัวแบรนด์อีกด้วย

ภาพจาก Booking.com

5. Swipe Up For More เพื่อให้ได้ Feedback อย่างละเอียด

มาถึงฟีเจอร์สุดท้ายที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ นั่นก็คือ Swipe Up แต่ต้องบอกก่อนนะครับว่าคุณจะใช้ฟีเจอร์นี้ได้ก็ต่อเมื่อ Accounts ของคุณมียอดผู้ติดตามมาก 10K ขึ้นไปเท่านั้น คุณถึงจะมีสิทธิ์ใช้ฟีเจอร์นี้ได้

โดยกลไกของฟีเจอร์ Swipe Up จะมีหน้าที่นำคนจาก Instagram Stories ไปสู่หน้าเว็บไซต์หรือ Landing Page ที่คุณได้ทำการ Setting ไว้ เพื่อสามารถสร้าง Lead ให้เว็บไซต์ของคุณจากช่องทางอื่นๆ เพียงแค่คุณ Swipe Up หรือใช้นิ้วปัดหน้าจอขึ้น ระบบก็จะพาคุณไปสู่เว็บไซต์ที่ได้ตั้งค่าไว้ทันที

ภาพจาก crowmedia

จริงๆ แล้วสำหรับงาน Market Research ฟีเจอร์นี้ซ่อนประโยชน์เอาไว้อีกเพียบครับ เช่น ในกรณีที่คุณอยากทำ Market Reseach แบบเต็มรูปแบบ ที่ต้องอาศัยการทำแบบสอบถามจริงจัง คุณอาจจะสร้าง Landing Page เพื่อเอาไว้ทำแบบสอบถามหรือ Market Reseach ที่คุณต้องการ แล้วนำลิงก์ดังกล่าวมาใส่ใน Instragram Stories ฟีเจอร์ Swipe Up For More เพื่อพาให้ลูกค้าของคุณ ให้เข้าสู่การทำแบบสอบถาม

แต่เทคนิคนี้ คุณอาจจะต้องมีโปรโมชั่น , รางวัล หรือข้อเสนอดีๆ มามอบให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการล่อใจให้พวกเขาทำแบบสอบถามที่คุณต้องการอย่างเต็มใจ ดังตัวอย่าง จากงาน Oasis Music Festival 2019 ของประเทศ Morocco โดยพวกเขาให้คนดูที่มาร่วมงานทำแบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับงานของผู้เข้าชม (Satisfaction Research) เพื่อจะได้นำข้อมูลมาพัฒนาในการจัดเทศกาลครั้งต่อไป ผ่านฟีเจอร์ Swipe Up For More โดยมีบัตรเข้าชมของงานในปี 2020 มาเป็นของรางวัลครับ

ภาพจาก Instagram @theoasisfest

สรุปทั้งหมด

จากการเปิดตัวฟีเจอร์ Instagram Stories ครั้งแรกในปี 2016 ไม่มีใครคาดคิดครับว่า ปัจจุบันผ่านเวลามาเกือบ 4 ปีเต็ม Instagram Stories จะสามารถสร้างการเติบโตและกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสื่อสารและทำการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอันดับต้นๆ ของ Digital Platform

แม้ Instagram Stories จะมีการแสดงผลเพียงแค่ 24 ชั่วโมงหลังจากกดโพสต์ จนหลายคนมองว่าเป็นจุดอ่อนของการทำการตลาด แต่ในทางตรงกันข้ามมันกลับเป็นแรงกระตุ้นอย่างดีที่ทำให้ผู้บริโภคหรือกลุ่มลูกค้าให้สนใจ Stories ได้มากกว่าโพสต์แบบธรรมดา 

โดยสำหรับใครที่สนใจอยากเริ่มทดลองการทำ Market Research โดยใช้เทคนิค Instagram Stories ให้กับแบรนด์หรือธุรกิจของคุณเอง ก็สามารถทำตามวิธีที่เราบอกได้เลยนะครับ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะได้พบช่องทางในการเติบโตใหม่ๆ ของธุรกิจคุณก็เป็นได้ครับ :)

Source : socialmediaexaminer , 99firms , hopperhq




ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe