หากคุณคือคนที่ชื่นชอบในการออกกำลังกาย โดยเฉพาะกีฬาประเภทวิ่ง ปั่นจักรยาน หรือว่ายน้ำ ผมเชื่อว่าในสมาร์ทโฟนของคุณจะต้องมีแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า Strava ติดเครื่องไว้อยู่แน่นอน
ด้วยจุดเด่นของ Strava ที่จะเข้ามาช่วยคุณบันทึกสถิติระยะทาง สถิติ ในการออกกายแต่ละครั้งได้อย่างละเอียด สรุปมาในตัวเลขและแผนภูมิที่คุณสามารถสังเกตพัฒนาการในการออกกำลังกายของตัวเองได้ทุกครั้ง
นอกจากนั้น Strava ยังเป็นเหมือนสังคมออนไลน์ที่รวบรวมผู้ที่รักในการวิ่ง หรือการออกกำลังกายจำพวกอื่น ๆ มาอยู่ด้วยกันในแพลตฟอร์มเดียว ซึ่งถือเป็นประสบการณ์สุดแปลกใหม่ที่ Strava ตั้งใจออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานทุกคนโดยเฉพาะ
โดยปัจจุบัน Strava ถือเป็นหนึ่งในผู้นำของตลาด Health & Fitness Technology ที่ตอนนี้มียอดผู้ใช้งานกว่า 95 ล้านคนต่อสัปดาห์ ส่วนมูลค่าของบริษัทก็พุ่งไปแตะระดับ 1.5 พันล้านดอลลาร์แล้ว ซึ่ง Strava เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในยูนิคอร์นของธุรกิจออกกำลังกายที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้วย และยังมีบริษัท Venture Capital ที่พร้อมมอบเงินลงทุนให้กับ Strava อีกมากมายในปีที่ผ่านมา
แต่สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Strava หรือใครที่สงสัยแล้วว่า Strava จากแอปพลิเคชัน Tracking การออกกำลังกาย พวกเขาใช้กลยุทธ์อะไรสร้างการเติบโตอย่างมหาศาลขนาดนี้ หาคำตอบได้ที่บทความนี้เลย
Strava คืออะไร ?
Strava คือ แอปพลิเคชันสำหรับการ Tracking ระยะทางหรือสถิติต่าง ๆ สำหรับการออกกำลังกาย 3 ประเภทได้แก่ วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ พายเรือ สกีและกีฬาอื่น ๆ กว่า 30 ประเภท ด้วยระบบ GPS โดยต้องใช้งานผ่านอุปกรณ์ Smartphone หรือ Smartwatch (เช่น Apple Watch, Garmin, Suunto, Fitbit หรือยี่ห้ออื่น ๆ )
Strava มีความแตกต่างจากแอปพลิเคชัน Tracking ทั่วไปคือ Strava จะมีความเป็น Social Fitness Network Application หรือแอปพลิเคชันการสร้างสังคมการออกกำลังกาย ที่จะเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่ในการออกกำลังกายของผู้ใช้งานทุกคน
ผู้ที่ใช้งาน Strava นั้นสามารถบันทึกและวิเคราะห์สถิติตัวเลขต่าง ๆ ของกิจกรรมการออกกำลังกายที่เราได้ทำ เช่น ระยะเวลา ระยะทาง อัตราการเต้นของหัวใจ ความเร็วสูงสุด/ต่ำสุด พลังงานที่ใช้ไป และอื่น ๆ ซึ่งด้วยความเป็น Social Fitness Network Application ของ Strava เองทำให้คุณสามารถแชร์ตัวเลขสถิติต่าง ๆ ไปให้เพื่อนหรือคนรู้จักในแพลตฟอร์มได้ด้วย
ประวัติของ Strava นั้นก่อตั้งขึ้นมาโดย Mark Gainey และ Michael Horvath ในปี 2009 ทั้งคู่คือเพื่อนสนิทกันจากรั้วมหาวิทยาลัย Harvard เดิมทีนั้น Mark Gainey หลังจากจบการศึกษาได้สักพักใหญ่ เขาก็ได้ก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Kana Communication ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์ในปี 1996 ที่ถือเป็นยุคที่คนส่วนใหญ่เริ่มเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์กันได้แล้ว
จากนั้นในปี 2008 Mark Gainey เห็นว่าซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เริ่มเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ตลาดแอปพลิเคชันมากขึ้น เขาเห็นดังนั้นจึงตัดสินใจที่จะสร้างแอปพลิเคชันขึ้นมาสักตัว เพื่อเจาะกลุ่มตลาดนักกีฬาหรือคนชอบออกกำลังกาย จึงได้ชวนเพื่อนสนิทอย่าง Michael Horvath มาร่วมเป็น Co-Founder ด้วยกัน เพราะทั้งคู่นั้นสนใจเรื่องเทคโนโลยีและกีฬาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
ในตอนแรกพวกเขาต้องการสร้างแอปพลิเคชันโดยมีคอนเซปต์ว่า “Virtual Locker Room” หรือแอปพลิเคชันเพื่อการหาเพื่อนสำหรับการออกกำลังกาย (อารมณ์ว่าจะได้มีเพื่อนคุยในห้องแต่งตัวหรือ Locker Room) แต่ในสมัยนั้นย้อนกลับไปเกือบ 10 กว่าปีที่แล้วเทคโนโลยียังไม่ก้าวหน้าเหมือนปัจจุบัน ด้วยปัจจัยอะไรหลายอย่าง ทำให้พวกเขาไม่สามารถสร้างแอปพลิเคชันคอนเซปต์นี้ให้เป็นจริงได้ จึงต้องเบนเข็มไปหาคอนเซปต์แนวอื่น ๆ
จนกระทั่งในปี 2009 พวกเขาก็ได้เปิดตัว Strava ขึ้นมา โดยครั้งนี้มีคอนเซปต์ใหม่มาด้วยนั่นก็คือการให้ Strava เป็น Social Media for Athletes ซึ่งคำว่า Athletes ในที่นี้ทาง Strava ไม่ได้หมายถึงนักกีฬาอาชีพนะครับ แต่หมายถึงผู้ที่รักในการออกกำลังกายทุกคนก็สามารถเป็นนักกีฬาได้
ซึ่งฟีเจอร์ในตอนนั้นหลัก ๆ ก็จะความคล้ายกับปัจจุบันอยู่ กล่าวคือจะแบ่งเป็น 2 ส่วนอย่างส่วน Tracking ที่ใช้ในการบันทึกกิจกรรมการออกกำลังกาย บอกระยะทาง เวลา เหมือนที่เราคุ้นกัน เพราะตอนนั้นผู้คนสามารถพกพาสมาร์ทโฟนไปออกกำลังกายด้วยได้แล้ว และส่วนที่ 2 คือ Social Media ซึ่งจะเป็น Community สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายโดยเฉพาะ มีการสร้างโปรไฟล์ แชร์กิจกรรมการออกกำลังกายพร้อมสถิติของตัวเองให้ผู้อื่นรับรู้ได้ มีการโชว์ Badge ที่ได้รับจากการแข่งขันต่าง ๆ ในแพลตฟอร์ม ซึ่งทาง Strava เองก็ได้มีการพัฒนาฟีเจอร์นี้มาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน
ส่วนที่มาของชื่อ Strava นั้นเป็นภาษาสวีเดน ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “Strive” ที่แปลว่า “ความมุ่งมั่น” เพราะทาง Michael Horvath หนึ่งใน Co-Founder ของ Strava เขาเคยอาศัยอยู่ที่สวีเดนในตอนเด็ก อีกทั้งยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า “ความมุ่งมั่น” ก็คือหัวใจหลักของการออกกำลังกายและมันคือวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจของพวกเขาด้วยเช่นกัน
โดยปัจจุบัน Strava มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ “เมืองแห่งเทคโนโลยีโลก” อย่างรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาและมีสำนักงานย่อยอยู่ที่รัฐ Denver สหรัฐอเมริกาเช่นกัน อีกทั้งยังมีสำนักงานต่างประเทศที่กรุง Dublin ประเทศ Ireland เพื่อดูแลผู้ใช้งานในทวีปยุโรปโดยเฉพาะ
ส่องตัวเลขการเติบโตของ Strava แอปพลิเคชันด้าน Health & Fitness ที่มาแรงที่สุดในโลก
Strava ถือเป็นหนึ่งในผู้นำแอปพลิเคชันด้าน Health & Fitness ที่การันตีด้วยตัวเลขผู้ใช้งาน, รายได้, มูลค่าของบริษัท นอกจากนั้น Strava ยังถือเป็นธุรกิจไม่กี่ธุรกิจที่สามารถทำประโยชน์และเติบโตจากผลพวงของสถานการณ์โควิด-19 เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมาแล้วอีกด้วย
เรามาดูตัวเลขกว้าง ๆ ในตลาดแอปพลิเคชันด้าน Health & Fitness กันก่อนดีกว่า จะเห็นได้ชัดเลยว่าในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2020 ซึ่งถือเป็นช่วงที่โควิด-19 เริ่มระบาดหนัก ตลาดแอปพลิเคชัน Health & Fitness กลับได้รับความนิยมขึ้นมาเป็นอย่างมาก โดยในไตรมาสที่ 2 มียอด Install แอปพิลเคชันสูงถึง 656 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 กว่า 25%
แต่จากสถิติล่าสุดในเดือนธันวาคม 2021 ตลาดแอปพลิเคชัน Health & Fitness ก็เติบโตขึ้นจนมียอด Install ไปแล้วกว่า 2 พันล้านครั้ง (มีแนวโน้มว่าในปี 2022 นี้จะเติบโตขึ้นอีกด้วย)
แล้วถ้าถามว่าแอปพลิเคชันไหนละ ที่เป็นเบอร์ 1 ด้านรายได้ในตลาดนี้ ?
ไม่ต้องเสียเวลาหาคำตอบให้นานเลยครับ ใช่แล้ว แอปพลิเคชันที่ยึดครองตลาด Health & Fitness ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน... “Strava” ของเรานั่นเอง
โดยจากสถิติล่าสุดที่ทาง Sensortower ได้ทำการสำรวจมาพบว่า Strava เป็นเบอร์ 1 ในด้านรายได้ทั้งจากตลาด App Store และ Google Play ซึ่งแน่นอนว่ารายได้รวม (Overall Revenue) ก็ตกเป็นของ Strava ตามระเบียบ
โดยจากรายงานของ Bloomberg ได้สรุปผลทั้งปี 2021 ว่า Strava สามารถสร้างรายได้ไปได้ทั้งหมด 107 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็น New High ของ Strava เลยด้วยจากที่ปี 2020 ทำรายได้ทั้งหมดอยู่ที่ 72 ล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้นมากถึง 68%) ซึ่งถ้าสังเกตดี ๆ ในช่วง 2-3 ปีหลังรายได้ของ Strava เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนถึงหลัก 10 ล้านทุกปีด้วย
ส่วนด้านตัวเลขผู้ใช้งานในปี 2021 Strava ก็สร้างสถิติ New High เช่นกัน โดยตลอดทั้งปี มีผู้ใช้งาน Strava กว่า 95 ล้านคนทั่วโลก เพิ่มขึ้นมาจากปี 2020 กว่า 40 ล้านคน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ Strava มีตัวเลขผู้ใช้งานเกินหลัก 40 ล้านคนภายในปีเดียว โดยที่มีฐานผู้ใช้งานแบบชำระเงิน 2-3 ล้านคน (ในขณะที่มีผู้ใช้งานฟรีประมาณ 100 ล้านคน)
นอกจากนั้น ในปี 2021 มีนักกีฬาได้อัปโหลดกิจกรรมการออกกำลังกายมากกว่า 37 ล้านครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งถ้าหากรวมยอดอัปโหลดกิจกรรมตลอดทั้งปีแล้ว จะรวมได้ทั้งหมด 1.8 พันล้านครั้ง ถือว่าเพิ่มขึ้น 38% จากปี 2020 ที่มียอดอัปโหลดกิจกรรมเพียง 1.1 พันล้านครั้ง นับว่าเป็นสถิติที่สูงที่สุดตลอดกาลอีกด้วย
คราวนี้เราลองมาดูการแข่งขันในตลาดแอปพลิเคชันประเภท Health & Fitness ที่ Strava ต้องเจอกันครับ โดยในตลาดแอปที่เกี่ยวข้องกับการ Tracking ระยะทางการวิ่งในตลาดปัจจุบัน ทาง Apptopia ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลมา พบว่าแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานแบบ Monthly Active User มากที่สุดก็คือ Strava นั่นเอง
ซึ่งมากกว่าคู่แข่งในตลาดเดียวกัน เช่น MyFitnessPal, NikeRunClub (NRC), AdidasRunning, RunKeeper รวมถึง Strava ยังครองอันดับ 1 ของแอปพลิเคชันที่มีการอัปเดตบ่อยที่สุดในตลาดเดียวกัน โดยเฉลี่ยแล้ว Strava จะอัปเดตแอปพลิเคชันที่ 6 วัน/ครั้ง ซึ่งในมุมของผู้ใช้งานถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะจะได้มีการอัปเดตฟีเจอร์สำคัญ ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ในการใช้งานได้เสมอ
ถึงตรงนี้ด้วยตัวเลข สถิติต่าง ๆ ที่ Strava ได้สร้างการเติบโตไว้คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หากพูดถึงแอปพลิเคชัน หรือเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพและการออกกำลังกาย Strava คืออีกหนึ่งผู้นำของตลาดนี้อย่างแท้จริง คราวนี้เราลองมาดู “กลยุทธ์” ที่ Strava ใช้สร้างการเติบโตมาเป็นระยะเวลากว่า 12 ปีกันครับ
Strava ใช้กลยุทธ์อะไรในการสร้างการเติบโตสู่การเป็น Unicorn ในสาย Health&Fitness Technology
1 . ผู้นำของการเป็น Social Fitness Network
สิ่งที่ทำให้ Strava โดดเด่นกว่าแอปพลิเคชัน Tracking การออกกำลังกายตัวอื่น ๆ เพราะ Strava เองถือว่าเป็นแอปพลิเคชันแรกที่เคลมตัวเองว่าเป็นมากกว่าแอปพลิเคชัน Tracking ธรรมดา แต่ยังให้คุณเข้าถึงประสบการณ์ใหม่อย่าง Social Fitness Network
Strava รู้ตั้งแต่ก่อตั้งแอปพลิเคชันแล้วว่าถ้าทำตัวเองให้เป็นแอปพลิเคชันสำหรับการ Tracking การออกกำลังกายแต่เพียงอย่างเดียว ลูกค้าที่ใช้งานก็จะเข้ามาในแอปแค่ตอนออกกำลังกายเท่านั้น เมื่อออกกำลังกายเสร็จรู้สถิติตัวเองแล้ว ก็ปิดแอปไป ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้มันต้องไม่ใช่ผลดีกับธุรกิจแน่นอน
พวกเขาเลยต้องออกแบบให้แพลตฟอร์มของตัวเอง ใช้งานได้หลากหลายมากกว่านั้น ซึ่งสิ่งที่พวกเขาคิดก็คือการใส่ไอเดียของความเป็น Social Media หรือความเป็นสังคมออนไลน์ลงไป
กล่าวคือระบบ Social Media ของ Strava นั้นเอาตั้งแต่เมื่อคุณเริ่มใช้งานแอปพลิเคชัน ระบบจะทำการบังคับให้คุณต้องสร้าง Account (โดยจะสมัครขึ้นมาใหม่หรือเชื่อมต่อกับ Thrid Party Application เช่น Facebook, E-Mail ก็ได้) เมื่อสมัครแล้วเสร็จคุณก็จะได้โปรไฟล์ของคุณบน Strava
และเมื่อคุณมีกิจกรรมอะไรบนแพลตฟอร์มเช่น ออกไปวิ่งมา หรือไปเข้าร่วม Challenge ใด ๆ มาก็ตามระบบก็จะทำการบันทึกสถิติเหล่านั้น และแชร์ไปยังหน้าโปรไฟล์ของคุณ (จะเรียกว่า Activities) โดยคุณสามารถชวนเพื่อนให้มากดติดตามคุณ หรือคุณจะไปกดติดตาม (Follow) เพื่อน ไอดอล หรือคนที่คุณชื่นชอบที่เขามีบัญชีกับ Strava อยู่เพื่อดูว่าเขามีกิจกรรมหรือสถิติการออกกำลังกายเป็นอย่างไรก็ได้เช่นกัน
โดยคุณสามารถเข้าไป Comment, Like, Share กิจกรรมที่เพื่อนของคุณทำได้ด้วย เป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านแพลตฟอร์ม
เราสามารถเข้าไปดูกิจกรรมหรือสถิติต่าง ๆ ของพี่ตูนพร้อม Like, Share, Comment ได้บนแพลตฟอร์ม
ซึ่งต้องบอกว่าการริเริ่มกลยุทธ์นี้ของ Strava ก็ทำให้พวกเขาเป็นแอปพลิเคชันด้าน Health&Fitness ที่มีความแตกต่างในด้านการสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ของแอปพลิเคชันการออกกำลังกายและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาสร้างเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน
2. สร้างประสบการณ์ใหม่ให้การวิ่ง Virtual Run ทั้งในและนอกแพลตฟอร์ม
ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นส่งผลให้การจัดกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่มีจำนวนผู้เข้าร่วมเยอะ ยังไม่ใช่เรื่องที่ปลอดภัยเท่าไรในช่วงนี้ หนึ่งในนั้นคือเรื่องของการแข่งขันวิ่งมาราธอน ซึ่ง Strava ดูน่าจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เต็ม ๆ
แต่ความจริงคือ Strava กลับสร้างการเติบโตได้อย่างสุดขีดกว่าเดิม ด้วยการผลักดันให้ผู้ใช้งานทุกคน ใช้งานและเข้าร่วมกิจกรรม Virtual Run ทั้งในและนอกแพลตฟอร์มแทนการออกไปวิ่งมาราธอนจริง ๆ โดยในแพลตฟอร์มของ Strava จะมีฟีเจอร์ที่ชื่อว่า Strava Challenge (มีทั้งแบบ Strava สร้างเองและมีสปอนเซอร์)
ซึ่ง Strava Challenge ก็คือ Tournament การแข่งขัน Virtual Run (หรือกีฬาชนิดอื่น ๆ แบบ Virtual) ที่ Strava ให้ผู้ใช้งานทุกคนเข้าร่วมได้ มีทั้งแบบเสียเงินและฟรี มีระยะทางให้เลือกตามความถนัด โดยคุณสามารถชวนเพื่อนหรือคนรู้จักมาร่วมวิ่งด้วยกันก็ได้ มีตารางคะแนนนำเพิ่มความตื่นเต้น ซึ่ง Challenge ของ Strava คุณจะได้แข่งขันกับผู้เข้าแข่งขันทั่วโลกที่ใช้แพลตฟอร์ม Strava อยู่
ในกรณีถ้าคุณวิ่งครบระยะทางที่การแข่งขันกำหนดก็ถือว่า Complete Challenge ได้รับ Trophy Case Badge ไปประดับหน้า Strava Profile ของคุณได้เลย
ซึ่งกลยุทธ์ในการร่วมมือกับแอปพลิเคชัน Virtual Run หรือการสร้าง Challenge ขึ้นมาบนแพลตฟอร์มตัวเองนั้น ทำให้ Strava กลายเป็นแอปพลิเคชันคู่ใจของนักวิ่งส่วนใหญ่ไปโดยปริยาย ในช่วงที่การแข่งขันมาราธอนแบบปกติยังไม่สามารถทำได้
แต่ถ้าใครที่รู้สึกว่า Virtual Challenge ในแพลตฟอร์มของ Strava ดูไม่ค่อยน่าเล่น ไม่ดึงดูดพอ เลยอยากมาลงแข่งขัน Virtual Run นอกแพลตฟอร์ม แต่ต้องการใช้ Strava ในการบันทึกสถิติของการวิ่งก็สามารถทำได้เหมือนกัน
เพราะในปัจจุบันก็มีแอปพลิเคชันสำหรับการออกกำลังกาย อย่าง WIRTUAL แพลตฟอร์ม Virtual Run ที่ผันตัวมาเป็นแพลตฟอร์ม Exercise to Earn ให้คุณเปลี่ยนเหงื่อจากการออกกำลังกายในรูปแบบที่คุณชอบ ไม่ว่าจะเป็น วิ่ง, เดิน, ปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ หรือการออกกำลังกายอื่น ๆ มาเป็นเหรียญ Cryptocurrency (WIRTUAL Coins)
ซึ่งในการออกกำลังกายบน WIRTUAL แต่ละครั้ง คุณจะสามารถเลือกเข้าร่วมชาเลนจ์ได้มากมาย เช่น Premium Starter-Kit / Standard Starter-Kit, 4 Elements, Day Challenge หรืออื่น ๆ อีกเพียบ ที่มีทั้งความสนุกและความท้าทายแตกต่างกัน อีกทั้งยังเป็นการเปิดประสบการณ์การออกกำลังกายรูปแบบใหม่ให้คุณแบบไม่ซ้ำใครอีกด้วย
เรียกว่าถ้าใครที่ชอบวิ่งแล้วใช้ Strava ในการ Tracking ระยะทางเป็นประจำ ผมแนะนำว่าการเข้าร่วมชาเลนจ์กับ WIRTUAL ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะคุณจะได้นำระยะทางที่คุณออกกำลังกายทุกวันบน Strava มาแลกเป็นเหรียญ Cryptocurrency และสามารถนำไปซื้อของใช้ในการออกกำลังกาย หรือสินค้า NFTs บนแพลตฟอร์มได้อีกด้วย
หากใครที่สนใจก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WIRTUAL กันได้ (รองรับทั้ง iOS และ Andriod) หรือจะดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรเจกต์นี้ก็สามารถกดที่รูปด้านล่างเพื่อดูได้เลย
ซึ่งกลยุทธ์ในการร่วมมือกับแอปพลิเคชัน Virtual Run หรือการสร้าง Challenge ขึ้นมาบนแพลตฟอร์มตัวเองนั้น ทำให้ Strava กลายเป็นแอปพลิเคชันคู่ใจของนักวิ่งส่วนใหญ่ไปโดยปริยาย ในช่วงที่การแข่งขันมาราธอนแบบปกติยังไม่สามารถทำได้
3. ต่อยอดไอเดีย Virtual Locker Room สู่ CLUB ฟีเจอร์เพื่อการสร้างสังคมใหม่บนแพลตฟอร์ม
จำที่ผมได้กล่าวไปเมื่อหัวข้อที่แล้วได้ไหมครับ ว่าในตอนแรกของ Strava นั้นผู้ก่อตั้งทั้ง 2 อย่าง Mark Gainey และ Michael Horvath พวกเขาเริ่มต้นจากไอเดียที่ชื่อว่า “Virtual Locker Room” หาเพื่อนสำหรับการออกกำลังกาย แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่ล้ำพอที่จะทำได้จึงต้องยุติไอเดียนี้ และเปลี่ยนเป็น Social Fitness Network แทน
แต่จนแล้วจนรอด พวกเขาก็ได้สร้างฟีเจอร์จากไอเดียเริ่มแรกนั่นก็คือเรื่องของการสร้าง Community ใหม่ให้กับผู้ใช้งานมาจนได้ และยังเป็นฟีเจอร์เด็ดที่สร้างการเติบโตให้พวกเขาเองด้วย นั่นก็คือ “CLUB”
CLUB คือฟีเจอร์ที่จะมีความคล้ายกับ Facebook Group พอสมควรกล่าวคือจะเป็นเหมือนการสร้างกลุ่ม Community ขึ้นมาบนแพลตฟอร์มซึ่งอาจแบ่งตามละแวกพักอาศัย องค์กร สถานศึกษา หรือกลุ่มคนที่มีความชอบเหมือนกัน ตัวอย่างเช่นหากผมชอบไปวิ่งที่สวนจตุจักร ผมก็จะหากลุ่มโดยการเสิร์จด้วยโลเคชันว่า จตุจักร (Chatuchak) ก็จะพบเจอกับ CLUB ของกลุ่มคนวิ่งที่สวนจตุจักรมารวมตัวกันอยู่ในนั้น
ซึ่งตรงนี้เราก็สามารถกด Join Group เข้าร่วมเป็นอีกหนึ่งสมาชิกของกลุ่มและเมื่อเราได้ไปวิ่งที่สวนจตุจักร คุณก็สามารถแชร์สถิติต่าง ๆ รวมถึงแสดงความคิดเห็น หาเพื่อนใหม่ในการออกกำลังกายได้ในแพลตฟอร์มเลยด้วย
นอกจากนั้นในฟีเจอร์นี้ยังมีการจัดอันดับ Leaderboard ของสมาชิกที่สะสมระยะทางการวิ่งได้เยอะที่สุดอีกด้วย ให้ความรู้สึกเหมือนมีการแข่งขันเล็ก ๆ สร้างสีสันกันภายในกลุ่มอีกด้วย
ซึ่งฟีเจอร์ Club นี้ก็ให้ความรู้สึกให้ Strava โดดเด่นจากแอปพลิเคชันด้านการวิ่งทั่วไปเป็นอย่างมาก เป็นเหมือน Community ที่จะมีเฉพาะผู้ที่รักในการวิ่งหรือออกกำลังกายเท่านั้นที่จะมาเข้าร่วม (ไม่ต้องกลัวว่าจะเข้ามาขายของเหมือน Facebook Group เลย) ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น แชร์กิจกรรมของตนให้ผู้อื่นได้รับรู้ จนทำให้เราได้มิตรภาพดี ๆ ติดตัวไปในชีวิตจริงด้วย
4. เทคโนโลยีในการ Tracking กิจกรรมบนแพลตฟอร์ม
อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สร้างการเติบโตให้แก่ Strava และถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของแอปพลิเคชัน นั่นก็คือเรื่องของเทคโนโลยีในการ Tracking ระยะทางการออกกำลังกายที่มีความแม่นยำเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้ใช้งานแอปพลิเคชันสามารถประเมินผลการออกกำลังกายแต่ละครั้งได้อย่างละเอียด
ซึ่งเบื้องหลังเทคโนโลยีสุดอัจฉริยะในการ Tracking ของ Strava นั้นพวกเขาใช้เทคโนโลยี GPS (Global Positioning System) หรือระบบการ Tracking ระยะทางด้วยดาวเทียมเป็นเทคโนโลยีหลักในการติดตามระยะทาง สถานที่ในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง โดยทาง Strava จะใช้ดาวเทียมในการติดตามระยะทางของผู้ใช้งานอย่างน้อย 7-8 ดวง
ที่นอกจากจะสามารถ Tracking ระยะทาง สถานที่ของการออกกำลังกายได้แล้ว ตัว GPS ยังสามารถคำนวณความเร็วในการเคลื่อนไหว (อุปกรณ์ที่ติดตัวคุณ - ดาวเทียม) เผื่อ Tracking เวลาหรือความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดได้อย่างแม่นยำ ซึ่งถ้าใครใช้ Strava อยู่เป็นประจำจะพบว่าตัวแอปสามารถบอกความเร็วสูงสุด-ต่ำสุดในการออกกำลังกายของคุณได้อีกด้วย
แถม Strava กล้าเคลมว่าถ้าคุณไม่อยู่ในที่อับสัญญาณมาก ๆ เช่น อุโมงค์ ป่าทึบ ระบบ Tracking GPS ของพวกเขาถือว่ามีความแม่นยำเป็นอย่างมาก จะสังเกตได้ว่าถ้าเรากดบันทึกกิจกรรม ตัวแอปจะต้องหาสัญญาณ GPS (GPS Signal Acquired) ประมาณ 3-5 วินาทีก่อนเสมอ
โดย Strava ก็มีการพัฒนาระบบ GPS อยู่เสมอเช่น Strava Global Heatmap ที่เป็นการนำเทคโนโลยี GPS ของผู้ใช้งานทั่วโลกมาวิเคราะห์ เพื่อทำเป็น Heatmap ตรวจสอบสถานที่ที่มีผู้ใช้งาน Strava ออกกำลังกายอยู่ เพื่อทำให้ผู้ใช้งานได้มองหาสถานที่หรือ Community ในการวิ่งใหม่ ๆ รอบตัว
ซึ่งระบบเทคโนโลยี GPS ของ Strava ที่มีความแม่นยำนี้เองถือเป็นส่วนหนึ่งในการดึงดูดผู้ใช้งานให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี สังเกตจากตัวเลขสถิติกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแพลตฟอร์มจากปีแรกที่ให้บริการ ทั้งปีมีจำนวนกิจกรรมถูก Upload ขึ้น Strava เพียงแค่ 100,000 ครั้งทั่วโลก แต่ในปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนกิจกรรมทั้งหมดที่ถูก Upload ขึ้น Strava มีจำนวนกว่า 3 พันล้านครั้งเข้าไปแล้ว
ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าปี 2021 นี้ตัวเลขนี้จะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่กี่พันล้านครั้ง ? เพราะตั้งแต่ปี 2017 Strava ฟอร์มดี ไม่มีแผ่ว มีตัวเลขกิจกรรมถูก Upload ขึ้นมากกว่า 1 พันล้านครั้งมาโดยตลอด
5. จ่ายเงินเพื่อฟีเจอร์การใช้งานที่หลากหลายกว่า
จริงอยู่ที่การใช้งาน Strava ฟีเจอร์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ยอดนิยมอย่าง Tracking , Strava Social
หรือแม้แต่ CLUB ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ฟรี ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอ สำหรับคนที่ชอบออกกำลังกาย แต่คำถามคือแล้ว Strava จะมีรายได้จากช่องทางไหนอีกล่ะ ?
ความจริงแล้ว บางคนอาจไม่รู้ว่า Strava ก็มีฟีเจอร์แบบ Subscribtion Model ที่ต้องจ่ายเงินถึงจะใช้บริการได้อีกด้วย (จะขอเรียกว่า Strava Premium) ซึ่งค่าบริการของ Strava Premium นั้นจะอยู่ที่ราคา 1,850 บาทต่อปี (ตกเดือนละ 154 บาท) หรือถ้าใครคิดว่าแบบรายปีอาจจะยาวไป ก็มีแบบรายเดือนอยู่ที่ราคา 249 บาท/เดือนเช่นกัน
โดย Strava Premium จะมีฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาคร่าว ๆ ดังนี้
- การสรุปผลกิจกรรมรายสัปดาห์ (Weekly Report) - สรุปสถิติต่าง ๆ ที่คุณได้ออกกำลังกายไปทั้งหมดในสัปดาห์นี้ แล้วเมื่อครบ 1 เดือนก็จะมี Monthly Analysis Report ให้ด้วย
- Training Log - เปรียบเทียบการฝึกซ้อมในแต่ละวัน/เดือน
- Segment Efforts - เปรียบเทียบสถิติของคุณกับคนที่คุณชื่นชอบหรือติดตาม
- Cumulative Stats - เปรียบเทียบสถิติเดือนนี้กับเดือนที่ผ่านมา เพื่อหาช่วงเวลาที่คุณมี Performance ดีที่สุด
- Matched Activities - วิเคราะห์สถิติที่คุณได้แข่งขัน Challenge ที่อยู่ในแพลตฟอร์ม
- Custom Heart Rate Zones - วิเคราะห์อัตราการเต้นของหัวใจได้อย่างละเอียด
- Power Analysis - วิเคราะห์การใช้พลังงานในแต่ละครั้งอย่างละเอียด
- Pace Analysis - วิเคราะห์การก้าวและความเร็วในการเคลื่อนไหว (สำหรับกีฬาวิ่ง)
- Custom Goals - ตั้งเป้าหมายประจำสัปดาห์ได้เอง เพื่อเพิ่มแรงกระตุ้นในการออกกำลังกาย
ทั้งหมดเป็นเพียงแค่ฟีเจอร์สำคัญที่จะเพิ่มเข้ามาใน Strava Premium (ยังมีฟีเจอร์เล็กน้อยอีกเยอะมาก) ที่บอกเลยว่าสำหรับนักกีฬาหรือใครที่ต้องการดูข้อมูลการออกกำลังกายของตัวเองอย่างละเอียด การสมัคร Premium Package ของ Strava ก็ถือเป็นอะไรที่น่าลงทุน
Strava Premium จะให้ผู้ที่สนใจทดลองใช้งานได้ฟรีก่อน 60 วัน แม้ทาง Strava จะไม่ได้เผยตัวเลขทั้งหมดของผู้ที่ใช้งานแบบ Premium ออกมาแต่ทาง Strava ก็ออกมาเปิดเผยว่า “ผู้ที่ทดลองใช้งานฟรีในช่วง 60 วันกว่า 67% ตัดสินใจสมัคร Strava Premium ต่อ” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามากกว่าครึ่งของผู้ได้ลองใช้งานแบบ Strava Premium ต่างตกหลุมรักและยอมเป็นลูกค้าของ Strava ในที่สุด
6. ได้รับเงินลงทุนจาก Venture Captital มาโดยตลอด จนก้าวสู่ Unicorn ได้สำเร็จ
“We strive to enable athletes worldwide to get the most out of their active lives.” – Michael Horvath, Co-founder & Board Member of Strava
อย่างที่ได้กล่าวไปว่า Strava เป็นอีกหนึ่งธุรกิจในด้าน Health&Fitness ที่มีการเติบโตที่ดีต่อเนื่องขึ้นในทุกปี เพราะฉะนั้นคงไม่แปลกที่จะมีบริษัท Venture Capital เข้ามาร่วมระดมทุนกันเป็นอย่างมาก ซึ่งตลอดระยะเวลาเกือบ 12 ปีที่ Strava เริ่มให้บริการมา พวกเขาได้รับการระดมทุน (Funding) ไปแล้วกว่า 7 ครั้ง
และล่าสุดเมื่อช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา Strava ก็ได้รับการระดมทุนเพิ่มอีกหนึ่งก้อนใน Series F Round เป็นจำนวนเงินประมาณ 110 ล้านดอลลาร์ (เงินไทยประมาณ 3,200 ล้านบาท) จาก TCV และ Sequoia 2 ธุรกิจ Venture Capital ชื่อดัง หลังจากที่พวกเขาเห็นการเติบโตในช่วงโควิด-19 ที่ Strava
*Sequoia คือบริษัท Venture Capital ที่เคยระดมทุนให้กับ Facebook ด้วย
ทำได้ดีรวมถึงกระแสของธุรกิจ Health&Fitness ที่กำลังมาแรง ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2010 Strava ได้รับการระดมทุนไปแล้วเป็นจำนวนเงินมากกว่า 151.9 ล้านดอลลาร์
จากการระดมทุนในครั้งนั้นนอกจากจะเป็นการระดมทุนด้วยจำนวนเงินเยอะที่สุดของ Strava แล้วยังส่งผลให้ Strava มีมูลค่าของบริษัทเกิน 1,000 ล้านดอลลาร์ทันที แน่นอนว่าสถานะของพวกเขาก็ได้เปลี่ยนสู่คำว่า Unicorn น้องใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อยเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน
ทาง Michael Horvath (Co-founder of Strava) ก็ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่าพวกเขาก็จะ “มุ่งมั่น” พัฒนาแอปพลิเคชันที่สร้างประโยชน์ให้ผู้ใช้งานทุกคนต่อไป และเป้าหมายต่อไปของ Strava ก็จะเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่แน่นอน
คราวนี้เราก็ต้องมาดูกันแล้วครับว่า Strava จะสร้างเซอร์ไพรซ์อะไรให้ผู้ใช้งานอย่างเราในปี 2022 และแอปพลิเคชันคู่ใจคนรักออกกำลังกายเจ้านี้ที่ได้รับส้มหล่นจากโควิด-19 เมื่อ 2 ปีก่อน จะเติบโตไปได้อีกไกลแค่ไหนในปีนี้..
สรุปทั้งหมด
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าสถานการณ์โควิด-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบในทางลบให้แก่ทุกธุรกิจเสมอไป เพราะจากความเลวร้ายของโรคระบาด ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ไม่แปลกเลยที่ธุรกิจในอุตสาหกรรม Health&Fitness จะอาศัยช่วงเวลานี้สร้างการเติบโตได้ เช่น Strava
แม้ตอนนี้ Strava อาจต้องเจอกับคู่แข่งในตลาดแอปพลิเคชันประเภทเดียวกันมากมาย แต่ผมเชื่อเหลือเกินว่าด้วยวิสัยทัศน์ที่เปี่ยมไปด้วย “ความมุ่งมั่น” ที่ต้องการให้ผู้ใช้งานมีสุขภาพที่ดีขึ้นของ Strava และความเอาใจใส่ในการสร้างประสบการณ์ใหม่แก่ผู้ใช้งาน จะทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นได้อีกแน่นอน แต่จะมากมายแค่ไหนนั้น ต้องติดตามกันต่อยาว ๆ ในปี 2022 นี้
และถ้าหากใครที่อยากจะเปลี่ยนเหงื่อจากการออกกำลังกายให้กลายเป็นคริปโทเคอร์เรนซี ก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน WIRTUAL มา แล้วเข้าร่วมชาเลนจ์สนุก ๆ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนประสบการณ์การออกกำลังกายของคุณให้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป