Eung Rachkorn
ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และเทคโนโลยี / ClickUp Expert คนแรกของประเทศไทย / เป็นนักการตลาดที่ชอบเขียน และเป็นนักเรียนของทุกเรื่องใหม่ (นักทดลองผิด) 🪐
นักเขียน
A great product is no longer enough to keep customers coming back. But an “okay” customer experience is not okay. การขายสินค้าให้ได้ครั้งแรกนั้นเป็นก้าวที่สำคัญมากสำหรับธุรกิจ แต่สิ่งที่ทำให้ธุรกิจมั่นคงและอยู่ได้ คือ การขายครั้งที่สอง ครั้งที่สามให้กับลูกค้าคนเดิม ให้เขากลับมาซื้อสินค้าของเราอีกครั้ง ต่อให้สินค้าเราดีมากอยู่แล้ว แต่ในตลาดก็มักจะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาดึงความสนใจจากลูกค้าของเราอยู่เสมอ
ดังนั้นการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า (Customer Relation Management หรือ CRM) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่ให้เขาเปลี่ยนใจไปจากเรา
หนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้เรามีการสื่อสารกับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ ก็คือ ActiveCampaign ที่เป็นซอฟต์แวร์ช่วยทำ Email Marketing และมีระบบ CRM ในตัว
ดูแลตั้งแต่การสร้างฟอร์ม สร้างอีเมลแคมเปญ การเก็บข้อมูลบนเว็บไซต์ของผู้ใช้ ดูการสื่อสารกันระหว่างแบรนด์และผู้ใช้ เพื่อคัดเลือกและส่งดีลที่เหมาะสมไปให้อย่างถูกจังหวะ
กว่าจะมาเป็นซอฟต์แวร์ช่วยทำ Email Marketing ที่แข็งแรง ActiveCampaign ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 โดยเริ่มต้นจาก Customer Experience Application และพัฒนา Automation และระบบ CRM ตามมา
จากนั้นปี 2016 ก็ได้ระดมทุนในระดับ Series A 20 ล้านเหรียญ
และเข้าสู่ SaaS platform หรือ Software-as-a-Service 100% ในปี 2017 ซึ่งปีเดียวกันนั้น AC ก็มีรายได้ประจำปี 25M เหรียญ
จนปี 2019 Machine Learning Engine ของเขาก็สร้างกว่า 1 ล้าน Prediction ต่อวัน
ปีนี้ 2020 ActiveCampaign ยังคงเติบโตขึ้นอีก มีการระดมทุนระดับ Series B 100 ล้านเหรียญ ในอาทิตย์หนึ่ง สามารถสร้าง Automation Experience กว่า 2500 ล้านครั้ง มีรายได้ประจำปีสูงถึง 100 ล้านเหรียญ
Automation กลายมาเป็นอาวุธสำคัญของ ActiveCampaign และขับเคลื่อนแพลตฟอร์มให้ก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็วจนติดอยู่ใน Top 100 Best Software Companies 2020 by G2 เติบโตอยู่กว่า 170 ประเทศ ช่วยงานทางด้าน Email Marketing ให้กับบริษัทต่าง ๆ มากมายนับแสนบริษัท
เริ่มต้นใช้งาน ActiveCampaign ได้ที่นี่
Email Market คืออะไร หน้าตาเป็นอย่างไร ก่อนจะเข้าสู่ตัวซอฟต์แวร์จริง ๆ เราอธิบายคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Email Marketing อีกครั้ง โดยปกติแล้วในทาง Email Marketing เรามักใช้ส่งอีเมลเพื่อสื่อสารกับลูกค้า เพื่อรักษาชื่อเราให้อยู่ในใจลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ, การให้ส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิก, แจ้งข่าวสารต่าง ๆ ไปจนถึงการเสนออะไรที่เจาะจงเฉพาะตัวลูกค้า อย่างการอวยพรวันเกิด
ยกตัวอย่างเช่น คุณกำลังเสิร์ชหาโต๊ะทำงานในแอปช้อปปิ้งออนไลน์ หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีอีเมลจากแอปชอปปิ้งออนไลน์ส่งมาหาคุณว่า “นี่เป็นโต๊ะที่คุณตามหาอยู่หรือเปล่า”
หรือการที่คุณเอาโต๊ะตัวนั้นใส่เข้าไปในรถเข็นของแอปแล้ว แต่ผ่านมาสามวัน ยังไม่ว่างซื้อสักที ก็มีอีเมลส่งมาจากแอปนั้นเพื่อเตือนคุณว่า โต๊ะตัวที่คุณอยากได้ยังนอนอยู่ในตะกร้านะ อย่าลืมมาซื้อไป และคุณก็วนเวียนอยู่กับแอปนี้แหละ เผลอ ๆ ได้ชิ้นอื่นที่ไม่ได้อยากจะได้ในตอนแรกด้วย
เช่นว่าเก้าอี้ตัวนี้ก็เหมาะดีกับโต๊ะตัวใหม่ xD
การทำ Email Marketing จึงเป็นเหมือนการทำการตลาดที่อ้างอิงจากพฤติกรรมของผู้ใช้งาน สร้างขึ้นมาเป็นคอนเทนต์เฉพาะตัวสำหรับเขาเท่านั้น พร้อมเพิ่มโอกาสสร้างยอดขายด้วยการเสิร์ฟให้ถึงกล่องอินบ็อกซ์ของเขา
ทำความรู้จักกับฟีเจอร์ใน ActiveCampaign “Do more than automate your email — activate your entire customer experience” Automation ระบบ Email Automation ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลดการซ้ำซ้อนในการทำงาน อย่างเช่น เวลาที่มีการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารจากเว็บไซต์ มักจะมีการส่งอีเมลไปให้สมาชิกใหม่เพื่อแสดงการต้อนรับ (โดยเรามักจะเรียกมันว่า Welcome Email) หรือการแจ้งข่าวสาร ต้องไม่ใช่เรื่องสนุกแน่ถ้าคุณต้องคอยส่งอีเมลให้คนนับพันนับหมื่นทุกครั้งด้วยมือของคุณเอง ถ้าต้องการจะเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้โปรโมชั่น
นี่คือการสร้าง Automation Flow ของ Welcome Email
ภาพตัวอย่างการเพิ่ม Action เมื่อเราต้องการให้เกิด Action ใด ๆ สามารถกดเครื่องบวกเพื่อเพิ่ม Action นั้นเข้าไปได้ เราต้องมีภาพในหัวก่อนว่าเราต้องการอะไรบ้าง
จากภาพ หลังจากที่สมาชิกสมัครเข้ามา ชื่อของเขาจะเข้าไปอยู่ในรายชื่อ “Test” และจากนั้นจึงส่ง Email ไปให้เขา และจบ Automation นี้
ในกรณีอื่นนอกจากการสร้างอีเมลแคมเปญแล้วส่งไปยังรายชื่อนั้นตรง ๆ แล้ว เรายังใช้ Automation สร้าง Flow เจ๋ง ๆ ได้อีกมากมาย
เช่น การสร้างเงื่อนไข ถ้าเขาไม่เปิดอีเมลฉบับแรก ส่งอีเมลฉบับที่สองไปให้ ถ้าเขาเปิดอีเมลฉบับแรก แล้วเคยซื้อสินค้าบนเว็บไซต์มาก่อน ส่งอีเมลเสนอดีลให้ ถ้าไม่เคยซื้อ อาจจะส่งอีเมลแนะนำสินค้าติดเทรนด์ช่วงนั้นให้ เป็นต้น
ภาพจาก activecampaign การสร้าง Form และ Email Campaign การสร้างฟอร์มและแคมเปญนั้นทำได้ง่ายสุด ๆ โดยการลากองค์ประกอบ (แถบสีดำด้านขวา) มาวางไว้ตามตำแหน่งที่ต้องการเท่านั้น หลังจากนั้นก็คลิกที่ Options เพื่อปรับแต่งสไตล์ตามใจชอบ
Report ในส่วนของรายงาน เราสามารถดูได้ว่าแต่ละแคมเปญที่ส่งไปนั้น มียอดเปิดอ่าน มียอดคลิกข้างในเท่าไร เพื่อวัดผลว่าอีเมลแคมเปญไหนที่ได้ผล
นอกจากนี้ยังสามารถดูในส่วนของ Contact Report ได้ว่า คนไหนคือคนที่เป็นแฟนอีเมลของคุณ ยอดติดตามหรือเลิกติดตามเป็นยังไงบ้าง หรือว่า เขาใช้อุปกรณ์ไหน ซอฟต์แวร์อะไรในการเปิดอีเมล เพื่อปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์และซอฟต์แวร์นั้นมากขึ้นก็ได้เช่นกัน
เริ่มต้นใช้งาน ActiveCampaign ได้ที่นี่
Dynamic Content ภาพจาก activecampaign Dynamic content คือ content บน platform ของเราที่เปลี่ยนไปโดยขึ้นอยู่กับว่า คนที่เห็นคือใคร และ แน่นอนคนเราก็ต้องถูกดึงดูดด้วยสิ่งที่อยู่ในความสนใจของเราอยู่แล้ว
การสร้าง Dynamic Content บน activecampaign ต้องเรียกว่าฟีเจอร์อื่นสร้างขึ้นมามากกว่า มันเกิดจากการติดตามคุกกี้ tracking ต่าง ๆ การติดแท็ก การแบ่งตาม Custom Field ที่เขาได้กรอกไว้ เช่น เวลาที่เราสมัครสมาชิก จะมีฟอร์มขึ้นมาถามเราสั้น ๆ เช่น ทำงานในตำแหน่งอะไร รู้จักเว็บไซต์นี้จากที่ไหน
ตัวอย่างการทำ Dynamic content เช่น เราส่งอีเมลเกี่ยวกับบล็อกรีวิวซอฟต์แวร์ประเภท Automation ให้คนคนหนึ่งที่เขาได้กรอก Custom Field ไว้ว่าเป็นนักการตลาด เราก็ตั้งค่าได้ว่า ให้ชื่อหัวข้อแบบไหนให้ดึงดูดนักการตลาด
สมมติเปลี่ยนจาก “สรุปแนวคิดจาก Webmaster Trends Analyst ของ Google ที่มองว่าการทำ SEO นั้นไม่ใช่สิ่งที่มีหลักการอย่างตายตัว” เป็น “สรุปแนวคิด ศาสตร์ SEO ที่จะช่วย ให้ธุรกิจติดหน้า 1 เร็วขึ้นกว่าเดิม”
สำหรับนักการตลาดเราจะเห็นเป็นชื่อใหม่ ส่วนอันเก่าก็ตั้งค่าให้คนที่เป็นนักการตลาดมองไม่เห็น ซึ่ง Custom Field ที่เรามีอาจจะเป็นอะไรนอกเหนือจากนี้ เช่น ฐานเงินเดือน ความสนใจ ตามที่เขากรอกไว้ หรือ Tag ต่าง ๆ ที่ติดไว้
Use Case การใช้ Dynamic Content จาก Soundsnap
ภาพจาก activecampaign Soundsnap ที่เป็นบริการขายเสียงประกอบ เขาสร้างคีย์เวิร์ดขึ้นมาสำหรับการค้นหาเสียงที่ใช่ ติดการติดตามบนเว็บไซต์ ว่าใครหาอะไรบนเว็บไซต์ของ Soundsnap ในช่วงเวลานั้น ๆ ผ่านการเสิร์ชหลาย ๆ ครั้ง ด้วยคีย์เวิร์ดนั้นแล้วเขาก็ติด Tag ให้กับผู้ติดตามคนนั้น แล้วสร้าง Automation ขึ้นมาให้เสนอเสียงประกอบที่เขาอาจจะตามหาอยู่
กลยุทธ์นี้ทำให้เขาเพิ่มรายได้จากทางอีเมลต่อเดือนได้ถึง 300% และใช้ Predictive Sending ช่วยคาดเดาเวลาที่เหมาะสมจากการเก็บข้อมูลว่าเวลาไหนคือเวลาที่เขาอยากเปิดอีเมล เพื่อส่งอีเมลฉบับนี้ออกไป ผลที่ Soundsnap ได้กลับมาคือ Open rates ที่เพิ่มมากขึ้นถึง 20%
สามารถอ่านบทความกรณีศึกษาของ Soundsnap เพิ่มเติมได้ที่นี่
A/B Test ภาพจาก activecampaign สามารถใช้ทำ A/B Testing ได้ว่าออกแบบอีเมลแบบไหน คนกดคลิกมากกว่ากัน โดยสามารถเปลี่ยนได้หลายอย่างดังนี้
Email subject line เนื้อหาภายใน ผู้ส่ง ภาพ ปุ่ม call to action แล้วสุ่มส่งให้กับคอนแทคของเรา ซึ่งเราสามารถกำหนดเปอร์เซ็นต์ได้แต่โดยทั่วไปแล้วจะสุ่มให้ส่งในปริมาณเท่า ๆ กัน จะช่วยให้วัดผลได้ง่ายกว่า และแน่นอนการทำ A/B Test ก็สามารถสร้าง Automation ออกมาได้เหมือนกัน
Lead Scoring ฟีเจอร์ตัวเด็ดที่อยู่ใน Plus Plan ในรายชื่อของเรามีผู้ติดตามอยู่ไม่ใช่แค่หลักสิบ แต่เป็นหลักร้อย พัน หมื่น หรือมากกว่านั้น จึงเป็นเรื่องยากที่เราจะโฟกัสกับผู้ติดตามทุกคนในระดับสูงสุด
Lead Scoring จะมาช่วยเราคัดเลือกหาคนสำคัญที่สนใจเราจริง ๆ Lead ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นลูกค้าของเราได้ง่าย เพื่อให้เราเน้นการสื่อสารกับคนนั้น
ซึ่งการให้คะแนน อาจเริ่มจากอะไรเล็ก ๆ น้อย เช่น เปิดอีเมล คลิกลิงก์ เข้าเว็บไซต์ ถ้ามีการซื้อของจากเว็บไซต์ เราก็อาจจะคะแนนสูงหน่อย
ภาพจาก activecampaign Deal CRM
ภาพจาก activecampaign จะเป็นฟีเจอร์ที่ขอแนะนำให้ใช้เสริมต่อจาก Lead scoring ถ้าผู้ติดตามมีปฏิสัมพันธ์กับเราบ่อย ๆ สนใจที่จะเข้ามาเว็บไซต์ ดูหน้าต่าง ๆ บนเว็บไซต์ หรือใช้เวลาอยู่นานในระดับหนึ่ง คะแนนของเขาก็จะสูงขึ้น
จนเราเห็นแล้วว่า เอาล่ะ คนนี้แหละสนใจแน่ ๆ ลองเสนอดีลให้เขาดูดีกว่า เผื่อเขาจะสนใจ เราก็เพิ่มเขาเข้าไปในดีล โดย Deal CRM จะมีหน้าตาคล้าย ๆ กับ Kanban Board ที่เราสามารถโยกดีลไปตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น
และด้วยความเป็นระบบ CRM ของ ActiveCampaign ทำให้เมื่อเข้าไปที่รายชื่อของผู้ติดตามที่เราเสนอดีลให้เขา โดยเราสามารถส่งอีเมลเพื่อติดตามผลของการเสนอดีลนี้ได้
ภาพจาก activecampaign
ราคา ActiveCampaign เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มี Free plan มาให้ แต่สามารถใช้ Free trial ได้ 14 วัน
ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 9$ ต่อเดือนเท่านั้น ซึ่งก็ใช้งานได้ดีสำหรับบุคคลที่ใช้สำหรับการประกาศ การแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ของแบรนด์ แต่ถ้าคุณทำ Email Marketing ที่ลึกซึ้งขึ้น แนะนำว่าเป็น plus หรือ professional ไปเลยดีกว่า
อย่าง Plus เราก็จะได้ตัว Lead Scoring มาด้วย ซึ่งได้พูดถึงไปแล้วว่า ด้วยจำนวนผู้ติดตามที่มาก เราจะใช้เงิน ใช้เวลาไปกับการเลือกเอง ส่งเอง กระจาย ๆ ไปแบบ ก็ไม่แน่ใจว่าใช่เค้าไหม คนที่จะมาเป็นลูกค้าของเรา Lead Scoring จะช่วยคุณตรงนี้ได้เยอะมาก ๆ แล้วการคาดการณ์ด้วยระบบนี้ ไม่ใช่การคาดการณ์ส่ง ๆ แต่มาจากข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง
ส่วน Professional plan ก็มีอะไรให้เราว้าวได้อีก อย่างการใช้ Predictive Sending, Predictive Content ด้วย Machine learning ที่ทำให้มันเฉพาะเจาะจงกับลูกค้าคนนั้นของเรามากขึ้น
Predictive Sending คือ การส่งแคมเปญไปหาเขาในเวลาที่เหมาะสมที่สุด โดยระบบ Machine Learning (ML) ที่จะดูว่าเขามักจะเปิดอ่านอีเมลช่วงไหน วันไหนมากที่สุด
Predictive Content อันนี้จะคล้าย ๆ กับ Dynamic Content ค่ะ แต่จะเป็นการที่เราสร้างดราฟต์แคมเปญไว้หลาย ๆ อัน จากนั้นระบบจะเลือกส่งดราฟต์ที่ผู้ติดตามน่าจะ ให้ความสนใจมากที่สุดจาก Click Data ของเขา แน่นอนว่าคอนเทนต์ตรงใจ Engagement ก็เพิ่มขึ้น
ขอเสริมว่าราคาของ ActiveCampaign ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละ Plan เท่านั้น แต่รวมไปถึงจำนวนผู้ติดตาม ที่เรามีด้วย ถ้าต้องการรองรับผู้ติดตามมากขึ้นที่เพิ่มขึ้น ราคาของ Plan ก็จะสูงขึ้นเช่นกัน
ข้อดี ข้อเสีย ของ ActiveCampaign ในเรื่องการทำ Email Marketing ทาง The Growth Master ก็ใช้ตัว ActiveCampaign เป็นตัวจัดการทั้งหมดเช่นกัน ขอสรุปเป็นข้อดีข้อเสียจากการใช้งานของเราเป็นดังนี้...
ข้อดี ส่งอีเมลได้คราวละมาก ๆ ดึงรายชื่อจาก CRM ได้เลย ช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ติดตามได้ง่าย มีบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ คลิกดูเท่าไร ไม่เข้ามาอ่านเท่าไร จัดหมวดหมู่ได้ดีด้วย List, Tag, Custom Field ซึ่งมันช่วยให้เราสร้างอะไรจำเพาะ อย่าง Dynamic Content ได้ด้วย มีเครื่องมือช่วยออกแบบหน้าอีเมลที่ใช้งานได้ง่าย แค่ลากวางเท่านั้นรวมถึงมี template แบบโครงสร้างพื้นฐานให้สำหรับคนที่ไม่รู้จะเริ่มยังไงก่อน ระบบ Automation ถูกทำให้เห็นเป็น Chart และเข้าใจได้ง่าย สามารถสร้างได้หลาย Automation เพียงพอสำหรับ Action ต่างๆของผู้ใช้ที่เกิดขึ้น และตั้งค่า Active / Inactive ของ Automation นั้นได้ (ไม่ต้องลบๆสร้างๆ) ข้อเสีย การสร้างฟอร์มรวมถึงแคมเปญเป็นแบบพื้นฐานมากๆ ปรับแต่งอะไรได้น้อย ต้องเขียน Code CSS ใส่เข้าไป บางครั้งเว็บก็ไม่ปรับตามให้ ทางแก้ อาจจะสร้างฟอร์มในเว็บ (เช่น webflow ใช้ระบบกรอกฟอร์มเลย) แล้วดึงจาก Zapier (อ่านเพิ่มเติมที่บทความ) ลิงก์บทความ อุปกรณ์เยอะ ทำให้คนที่ใช้ในครั้งแรกอาจจะสับสนกับเครื่องมือ ฟีเจอร์ต่างๆ ต้องใช้ไปสักพัก พอคล่องแล้วถึงจะดี ฟีเจอร์น่าใช้อยู่ในตัวสูง ๆ ซึ่งราคาแรง แต่เอื้อมถึง และทั้งนี้ทั้งนั้น เชื่อว่าฟีเจอร์ต่าง ๆ จะคุ้มค่าแน่นอนค่ะ อย่าง Use Case ของ Soundsnap ที่พูดไป ตัวที่เขาใช้คาดว่าจะเป็น Professional Plan เพราะมีตัว Machine Learning เข้ามาช่วยใน predictive sending ผลก็คือ เขาสร้างรายได้ต่อเดือนจากอีเมลมากขึ้นถึง 300% ค่ะ
เริ่มต้นใช้งาน ActiveCampaign ได้ที่นี่
ด้วย ActiveCampaign ที่จะช่วยคุณทำให้ Email Marketing ง่ายขึ้น เรียกได้ว่าเกือบทุกอย่างใน ActiveCampaign สร้างได้ด้วย Automation ปล่อยให้ระบบทำงานตัวเอง ลดภาระการทำงานซ้ำซ้อน ทำให้คุณมีเวลาไปจัดการกับงานที่สำคัญได้มากขึ้น
ช่องทางอัปเดตซอฟต์แวร์กับ The Growth Master ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น
และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่
Facebook : The Growth Master
Facebook Group : TechTribe Thailand
Blockdit : The Growth Master
Line@ : @thegrowthmaster
===================================
สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ