ทุกวันนี้ ไม่ว่าบริษัทไหน ๆ ก็มีหน้าเว็บไซต์ของตัวเองทั้งนั้น เพราะเป็นช่องทางที่ผู้คนสามารถเข้าถึง ทำความรู้จัก กลายมาเป็นลูกค้า และสร้างรายได้ให้กับบริษัทในที่สุด
แต่จะดีแค่ไหน ถ้าคุณสามารถรู้ว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณมีพฤติกรรมอย่างไร คอนเทนต์ไหนที่เป็นตัวดึงคนเข้ามา หรือโปรโมชั่นไหนให้ผลลัพธ์ดีที่สุด
ในบล็อกนี้เราจะรีวิว Google Analytic ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยวิเคราะห์เว็บไซต์คุณฉบับเริ่มต้นเพื่อนำไปพัฒนาต่อให้หน้าเว็บมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จักกับ Google Analytics Google Analytics คือ ซอฟต์แวร์วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าจากหน้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ที่พัฒนาขึ้นโดย Google ทำให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าที่แวะเวียนมาหน้าเว็บ และช่วยประเมินความสามารถของการตลาด คอนเทนต์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัท
เป็นเครื่องมือชั้นยอดที่สามารถตอบคำถามต่าง ๆ ที่คุณจะสงสัยได้ ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้าเข้ามาด้วยวิธีการใด คอนเทนต์อะไรที่คนสนใจ จุดไหนบนหน้าเว็บที่ทำได้ดีหรือต้องปรับปรุง โฆษณาแบบไหนได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และที่สำคัญเป็นเครื่องมือที่ให้ใช้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ความนิยมของตัว Google Analytics เรียกว่าแพร่หลายที่สุดในซอฟต์แวร์หมวดนี้ มีบริษัทใหญ่ ๆ ที่ใช้งานอย่างเช่น Uber, Airbnb, Google, Spotify, Slack และอีกกว่า 68,000 บริษัท
เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics เราสามารถเริ่มต้นใช้งานเครื่องมือนี้ได้ง่ายๆเลย โดยเข้าไปที่เว็บไซต์ของ Google Analytics และสร้างแอคเคาท์หรือลงชื่อเข้าใช้บัญชี Analytics
หลังจากนั้นก็ต้องตั้งค่าบัญชี โดยจะแบ่งเป็น 3 ส่วนได้แก่
Account setup อย่างเช่น Account name และ Data Sharing Setting What do you want to measure? หรือช่องทางที่เราต้องการเก็บข้อมูล ไม่ว่าจากเว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น หรือทั้งสองอย่าง Property setup หรือการกำหนดค่าต่างๆภายใต้แอคเค้าท์ที่สร้างขึ้น โดยปกติแล้ว 1 property จะใช้เก็บข้อมูลสำหรับ 1 เว็บไซต์ เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการฝังโค้ดบนเว็บไซต์ที่เราต้องการแทร็กข้อมูล เพื่อเชื่อมการทำงานของ Google Analytics และให้ได้มาซึ่งข้อมูลของ user โดยโค้ดนี้จะป๊อปอัพขึ้นมาให้หลังจากเราตั้งค่า Account เรียบร้อยแล้ว (หรืออีกกรณี เราสามารถหาโค้ดได้จากแท็บ Admin ทางซ้ายมือ > Tracking > Tracking code > copy code และนำไปใช้ได้เลย)
หลังจากติดตั้งโค้ดไปแล้ว ข้อมูลอาจยังไม่ขึ้นมาทันที อาจจะต้องรอสักพัก ขึ้นอยู่กับรอบการอัปเดตของ Google
อีกหนึ่งฟีเจอร์หลัก นั่นก็คือการดู report
โดยทางแท็บด้านซ้าย หรือ Reporting Tab จะเห็นได้ว่ามี Report หลากหลายให้เลือกใช้งาน ตัวหลัก ๆ ที่คนนิยมใช้กันก็ได้แก่ Real-time report, Audience report, Acquisition report, Behavior report และ Conversion report
อัปเดตก่อนใคร ด้วย Real-time report มาเริ่มกันที่ report ตัวแรกของเรากันเลย นั่นก็คือ Real-time report ซึ่งหน้าที่ก็ตรงตัวเลย คือ เป็นรายงานที่จะนำเสนอทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บไซต์ของเราในเวลา 30 นาทีที่ผ่านมา โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกอัพเดทให้เราเห็นอย่างต่อเนื่อง
รายงานนี้จะเหมาะมากเมื่อธุรกิจมีการจัด Promotions หรือจัด Flash deal campaign เพราะสามารถดูผลตอบรับ รวมถึง Feedbacks ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เหล่านั้นได้
โดยภายใน Real-time report ก็จะมีรายงานย่อย ๆ ให้ดู ได้แก่
Overview บอกรายละเอียดโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น ตอนนี้มีคนเข้าดูเว็บไซต์ของเราอยู่กี่คน ผู้ใช้งานเหล่านั้นมาจากพื้นที่ไหน คีย์เวิร์ดอะไรหรือเว็บไหนที่เค้าใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์เรา และคอนเทนต์อะไรที่เค้ากำลังเสพย์ เป็นต้น Locations บอกรายละเอียดเกี่ยวกับประเทศหรือพื้นที่ที่ Active user นั้นอาศัยอยู่ ถ้ากดเข้าไปในแผนที่ประเทศ ก็จะเฉพาะเจาะจงขึ้นเป็นชื่อเมือง หากมองในมุมนักการตลาด เราสามารถใช้ข้อมูลตรงนี้มาตรวจสอบได้ว่า user ตรงตามที่เรายิงโฆษณาไปหรือเปล่าได้ด้วยTraffic sources แสดง source และ medium ว่าการที่ Active user เข้ามาเว็บไซต์เราได้นั้น เค้าเข้ามาจากช่องทางไหน ไปเจอเราได้ยังไง รายงานนี้จะมีประโยชน์อย่างมากเมื่อเราทำ Live Marketing Campaign และวัด Feedback แบบเรียลไทม์ รายงานนี้จริง ๆ มี 2 dimensions นั่นก็คือ Active Users และ Pageviews
Active users ก็คือ ผู้ใช้งานที่กำลังใช้งานอยู่บนเว็บไซต์ของเราในช่วง 5 นาทีที่ผ่านมา ในขณะที่ Pageviews แสดงสถิติของ medium และ source ที่เกิดขึ้นในช่วง 30 นาทีที่ผ่านมา
Content แสดงให้เห็นว่า content ไหนที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ช่วงนี้ รายงานนี้ก็ดูได้ 2 dimensions เช่นกัน ก็คือ Active Users และ PageviewsEvents จะแสดงรายละเอียด Events ที่เราได้ตั้งไว้ ว่ามี User ที่เข้าเงื่อนไขของ Event ที่เราได้ตั้งค่าไว้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เราตั้ง Event Category เป็นหมวดหมู่ของ Ecommerce ได้แก่ Add to Cart, Product Click, และ Quickview Click โดยตารางจะแสดงประเภทอีเว้นท์สูงสุด 20 รายการ ในเวลาครึ่งชั่วโมงที่ผ่านมา Conversions หรือรายงานการปิดการขาย รายงานจะเก็บข้อมูลได้เฉพาะที่เรา Set Conversion Tracking ไว้เท่านั้น ส่วนข้อมูลที่ได้คือผลของ Event Goals ที่เราตั้งไว้ แต่ต้องบอกก่อนว่าเราไม่สามารถเก็บ Goals จำพวก Duration, Pages per Session, และ Smart Goals ได้ในรายงานนี้ จากที่อ่านมา ทุกคนอาจเข้าใจว่ารายงานนี้ใช้ได้แค่ในฝ่ายการตลาด หรือฝ่าย PR แต่จริง ๆ แล้วฝ่าย Developer หรือ IT ก็นำข้อมูลจากรายงานนี้มาใช้ได้เช่นกัน อย่างการดู Pageviews per Minute หรือ Pageviews per Second ของเว็บไซต์ เพื่อประเมินว่าเว็บไซต์ของเราสามารถรองรับคนเข้ามาได้มากขนาดไหน เว็บจะล่มหรือไม่ เป็นต้น
กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มาจากไหน หาคำตอบได้ใน Audience Report Audience report หลัก ๆ แล้วคือการอธิบายลักษณะและบุคลิกของผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเพศ อายุ ภาษา ประเทศ ความชอบ ความสนใจต่าง ๆ เป็นผู้ที่เคยมาชมแล้วหรือเป็นผู้ใช้งานใหม่ อีกทั้งยังแสดงถึงอุปกรณ์ที่ผู้ใช้เหล่านี้ใช้ในการเข้าเว็บไซต์ ถ้าเป็น PC แล้วใช้เบราว์เซอร์อะไร หรือถ้าเป็น แท็บเล็ต/โทรศัพท์ รุ่นอะไร ระบบอะไร iOS หรือ Android สามารถทราบได้ทั้งหมด
ซึ่งข้อมูลตรงนี้แหละจะช่วยบอกเราได้ว่า กลุ่มเป้าหมายหลักของเราเป็นอย่างไร แล้วเราก็นำมาวิเคราะห์ พัฒนาเป็นแนวทางการทำการตลาดในอนาคตได้
รายงานสามารถแยกส่วนออกมาได้อีกมากมาย ดังนี้
Overview หรือภาพรวมของผู้ใช้งานแบบเบ็ดเสร็จ โดยจะแสดงจำนวน Users, New Users, Sessions, Pageviews, Bounce rate และอื่น ๆ ตามช่วงเวลาที่เลือกActive Users บอกถึงจำนวนผู้ใช้งานที่เข้าชมเว็บไซต์เราตามช่วงวันที่ที่เราอยากดู ในระยะ 1วัน, 7วัน, 14วัน, และ 28วัน Lifetime Value เป็นรายงานสำหรับใครก็ตามที่มีเว็บไซต์ Ecommerce และได้ติดตั้ง Ecommerce tracking บน Google Analytics รายงานนี้ช่วยให้เราประเมินมูลค่าของลูกค้าในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่งที่เราได้ผู้ใช้งานมา และสามารถนำมาเปรียบเทียบในแต่ละช่วงเวลาได้เลยMetrics ที่สามารถดูได้ เช่น Appviews per User ผู้ใช้คนนั้นเปิดแอปพลิเคชั่นกี่ครั้ง (เฉพาะผู้ใช้งานบนแอปพลิเคชี่นมือถือเท่านั้น), Pageviews per User ผู้ใช้คนนั้นเปิดหน้าเว็บไซต์นั้นกี่ครั้ง (เฉพาะผู้ใช้งานบนเว็บไซต์เท่านั้น), Goal completions per User ผู้ใช้คนนี้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้กี่ครั้ง เป็นต้น
Cohort Analysis คือการจัดกลุ่มผู้ใช้งานที่มีอะไรเหมือนกัน แสดงผลในรูปแบบของตาราง โดย สามารถเลือกMetric ที่เราสนใจ แล้วนำมาเปรียบเทียบตามเวลา (over time) ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใน Metric นั้นๆอย่างไรบ้าง ในตอนนี้ Google Analytics มีให้เลือก Cohort type เพียงอย่างเดียว นั่นก็คือ Acquisition Date หรือวันที่ผู้ใช้งานเพิ่งเริ่มใช้งานเว็บไซต์ของเรา ส่วน Metric ที่นิยมใช้กันมากก็คือ User Retention หรือการที่ผู้ใช้งานกลับมาใช้เว็บไซต์ของเราอีกครั้งในวันถัด ๆ ไป
ภาพจาก https://clevertap.com/blog/cohort-analysis/ จากภาพ จะเห็นได้ว่าในวันที่ 25 มกราคมมีผู้ใช้งาน 1,098 คน Day 0 หมายถึงวันที่ 25 มกราคมนั่นเอง โดยที่มีจำนวนผู้ใช้งานอยู่ที่ 100% หรือ 1,098 คน แต่ใน Day 1 หรือวันที่ 26 มกราคา มีผู้ใช้งานกลุ่มเดิมน้อยลงจากวันที่ 25 เหลือเพียง 33.9% หรือ 372 คน
กล่าวได้ว่าคอลัมน์ Day 1 Day 2 Day 3 พวกนี้ แสดงถึงผู้ใช้เก่าของ Day 0 ที่กลับมาใช้งาน
เมื่อคุณดูที่แถวที่ 2 วันที่ 26 มกราคม Day 1 ของ 26 มกราคม ก็คือวันที่ 27 มกราคม
ตัวเลขพวกนี้ทำให้เราสามารถทำไปวิเคราะห์ได้ว่า ทำไมผู้ใช้เดิมจึงกลับมาใช้งานในวันถัดไปเยอะ แต่ก็จะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกตามไปลักษณะของเว็บไซต์ เช่น เว็บไซต์ข่าวสาร การมีตัวเลขการกลับมาใช้งานที่สูงย่อมเป็นเรื่องดี
กลับกัน ถ้าเป็นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าที่ต้องซื้อซ้ำทุก 3 เดือน 6 เดือน การกลับมาใช้งานซ้ำในระยะเวลาสั้น ๆ มีตัวเลขที่ต่ำ ไม่ถือว่าผิดปกติแต่อย่างใด (ต้องย้ำอีกครั้งว่านับเฉพาะกรณีการกลับมาของผู้ใช้คนเดิม)
อีกข้อจำกัดหนึ่งของ Cohort Analysis ถ้าผู้ใช้คนเดิมเข้าเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์คนละตัว วันแรกเข้าผ่านคอมพิวเตอร์ วันที่สองเข้าผ่านมือถือ Cohort Analysis ก็จะนับว่าเป็นคนละคนกัน ทำให้ตัวเลขนี้ไม่แน่นอน
แต่สามาถใช้วิธี Cross-Device Tracking ช่วยระบุตัวของผู้ใช้เดิมในอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น การร้องขอให้ผู้ใช้ลงทะเบียน ถ้าเป็นผู้ใช้ที่ล็อกอินด้วยชื่อนี้เข้ามาผ่านอุปกรณ์ใด ๆ ก็จะถือว่ากลับมาใช้งานซ้ำ เป็นต้น
Audiences การกำหนดลักษณะของกลุ่มผู้ใช้งานและเลือกดูเฉพาะกลุ่มนั้นๆ โดยก่อนจะสามารถใช้รายงานนี้ได้ เราต้องเปิดใช้ Demographics และ Interests reports ก่อน Benchmarking เป็นรายงานที่มีประโยชน์ค่อนข้างมากเลยทีเดียวหากเราต้องการเปรียบเทียบว่าประสิทธิภาพและผู้เข้าชมเว็บไซต์ของเรา เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันนั้นเป็นอย่างไรUser Flow หรือรายงานที่ทำขึ้นเพื่อเข้าใจลำดับการเข้าใช้งานของผู้ใช้งาน โดยสามารถเลือกดู User flow จากลักษณะของผู้ใช้งาน เช่น สถานที่, ภาษา, เบราว์เซอร์, อุปกรณ์ที่ใช้ หรือ Dimensions อื่นที่เกี่ยวข้องได้ และรายงานอื่นๆ ได้แก่ Demographics ข้อมูลประชากร, Interests ความสนใจ, Geographics ภูมิศาสตร์, Behaviors พฤติกรรม, Technology เบราว์เซอร์และระบบปฏิบัติการ, Mobile มือถือ, Cross Device การใช้งานบนหลายอุปกรณ์, และ Custom รายงานที่เรากำหนดเอง ทีนี้เราก็สามารถวัดได้ว่าผู้ใช้งานตกหล่นหายไประหว่างทางตรงไหนบ้าง ที่เป็นผลให้ Conversion เราหายไป
Acquisition Report สอดส่องช่องทางผู้ใช้งาน คำว่า Acquisition [N.] แปลว่า การได้มา Acquisition report จึงหมายถึงรายงานที่รวบรวมข้อมูลของช่องทางที่เราได้มาซึ่งผู้ใช้งาน หรืออีกนัยนึงก็คือผู้ใช้งานเค้าเข้ามายังเว็บไซต์เราได้อย่างไร
ซึ่งคำว่าผู้ใช้งานในที่นี้ เหมารวมทั้งผู้ใช้งานเก่าและผู้ใช้งานหน้าใหม่ ส่วนช่องทางในที่นี้ก็คือ Source และ Medium ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานอาจมาจาก Organic search หรือ Paid search(CPC) ผ่าน Google, Affiliates ผ่านพาร์ทเนอร์ของเรา, Referral จากเว็บไซต์อื่นๆ, หรือ Social network และ email เป็นต้น
แล้วถ้าถามว่าดูรายงานนี้ไปทำไม รู้แล้วได้อะไร? ถ้าเกิดเรารู้แล้วว่าลูกค้าเราส่วนมากมักมาจากช่องทางนี้ ในครั้งต่อไปเวลาเราทำแคมเปญที่คล้ายกัน ก็ควรโฟกัสไปที่ช่องทางนี้เป็นหลัก รวมถึงสามารถปรับสัดส่วน Budget ของเราสำหรับโฆษณาในช่องทางนี้ให้เพิ่มขึ้น เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
หรืออีกมุมหนึ่งก็สามารถเอาไว้ตรวจสอบได้ว่าช่องทางไหนที่ไม่ได้ประสิทธิภาพตามเป้า และต้องได้รับการปรับปรุง เปลี่ยน Strategy อย่างด่วน!
ถึงรายงานนี้หลัก ๆ มีไว้ดู Traffic sources ของผู้ใช้งาน แต่ถ้าหากใครที่ได้ลงโฆษณาไว้กับ Google Adwords แล้วอยากดูผล หรืออยากตรวจสอบ SEO ที่ได้ทำไว้ใน Google Search Console ก็ทำได้เช่นกันในรายงานย่อยของ Acquisition report แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องทำการเชื่อมเครื่องมือเหล่านี้เข้าด้วยกันก่อน
สำหรับการเชื่อม Google Adwords สามารถเข้าไปที่แท็บ Admin ทางซ้ายมือ > Property Column > Google Ads Linking
ส่วน Google Search Console เข้าไปที่แท็บ Admin เช่นกัน > Property Column > All Products > Search Console
เจาะลึกพฤติกรรมลูกค้าผ่าน Behavior Report Behavior Report คือฟังก์ชันที่ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมและปฎิกิริยาของผู้คนที่เข้ามาชมเว็บไซต์คุณ พูดง่าย ๆ คือการวิเคราะห์ว่าผู้ที่มาเข้าชมเว็บไซต์คุณนั้น เขามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หน้าไหน และทำอะไรบ้างขณะเยี่ยมชม
Behavior Report สามารถแบ่งออกมาเป็นอีก 7 รายงานย่อย ดังนี้
1. Overview
รายงานภาพรวมที่แสดงถึงจำนวนของผู้เข้ามาชมเว็บไซต์และตัวเลขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเยี่ยมชมหน้าเพจ
Pageviews คือจำนวนการกดเข้าชมหน้าเพจ ที่นับเพิ่มทุกครั้งเมื่อมีการกดเข้ามา รวมถึงการกดซ้ำ ๆ จากคนเดิม ฟีเจอร์นี้จะช่วยบอกว่าขณะนี้เว็บไซต์คุณเป็นที่นิยมหรือมีคนมากดเข้ามามากน้อยแค่ไหนAverage time on page คือเวลาที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ใช้ต่อหนึ่งหน้าเพจ เป็นการวัดว่าลูกค้าของคุณใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บไซต์นานเท่าไหร่ สามารถนำไปปรับใช้เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสำหรับคอนเทนต์ต่อไป ๆ ได้ เช่น กลุ่มลูกค้าใช้เวลาไม่เกิน 2 บนหน้าเพจ คุณอาจสร้างคอนเทนต์สั้นที่มีความยาวไม่เกิน 2 นาที เพื่อให้ตรงกับพฤติกรรมลูกค้าBounce rate หากเป้าหมายของเว็บไซต์คุณคือการให้ผู้เข้าชมคลิกเข้าหน้าอื่น ๆ ต่อ Bounce rate จะชี้ให้เห็นปัญหาว่ามีจำนวนผู้เข้ามาชมเว็บแต่กดออกทั้งที่ยังไม่ได้คลิกอะไรเลยเท่าไหร่ ซึ่งถ้าจุดนี้เป็นปัญหา คุณสามารถแก้ไขด้วยการทำ A/B Testing เพื่อหาหน้าเว็บไซต์ที่ดีที่สุดและกระตุ้นให้เกิดการคลิกต่อแทนการกดออก Exit หรือ อัตราการออก คือ เปอร์เซนต์ที่บอกว่าหน้าเว็บเพจนี้เป็นหน้าสุดท้ายก่อนที่ผู้ชมจะกดออกบ่อยแค่ไหนจากการเข้าชมทั้งหมด ทำให้เห็นจุดด้อยว่าส่วนไหนของเว็บคือจุดที่ทำให้ลูกค้าหายไปเพื่อนำไปแก้ไขต่อ2. Behavior Flow
ทำให้เห็นเส้นทางการคลิกไปหน้าเพจต่อ ๆ ไปและเวลาของที่ใช้ผู้เข้าชม ตั้งแต่หน้าแรกที่เข้ามาที่เว็บไซต์ไปจนถึงหน้าสุดท้ายก่อนกดออก
3. Site Content
คือรายงานที่แสดงให้เห็นว่าหน้าเพจไหนของเว็บไซต์คุณเป็นที่นิยมจากยอด Pageview, unique pageviews, average time on page, entrances, bounce rate, exit และ page value.
4. Site Speed
เวลาที่เสียไปกับการโหลดหน้าเว็บ เพื่อนำไปปรับปรุงให้เร็วยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มประสาบการณืที่ดีให้กับผู้เข้าชม
5. Site Search
คือ การใช้ประโยชน์จากกล่องค้นหาสำหรับเว็บไซต์ที่มี เพื่อเก้บข้อมูลของลูกค้าจากการค้นหาภายในเว็บ สามารถเรียกดู คำที่ถูกค้นหา หมวดของสินค้าหรือหน้าเพจที่คนต้องหันไปพึ่งกล่องค้นหา
6. Events
แสดงผลการติดตามพฤติกรรมของผู้ใช้ เช่น การคลิกปุ่มต่าง ๆ, การกดสั่งซื้อสินค้า, การอ่านบทความ, การดาวน์โหลดไฟล์, การดูคลิปวิดีโอ ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้ได้มากขึ้น หรือการตั้งค่า Event ขึ้นมาให้นับเป็น interaction หนึ่งของผู้ใช้ ทำให้การใช้งานนั้นที่เข้าเงื่อนไขไม่ถูกนับอยู่ใน Bounce rate
7. Publisher
สำหรับเว็บไซต์ที่ลิงก์กับเครื่องมืออย่าง Ad Sense หรือ Ad Exchange เพื่อสร้างรายได้จากการที่เว็บมีผู้มาเข้าชมคลิกเข้าไปดูโฆษณาที่มามีการลงไว้ คลิกลิงก์ หรือแสดงโฆษณา รายงาน Publisher นี้จะช่วยให้คุณได้รู้ว่าตอนนี้รายได้จากโฆษราที่มาลงเป็นอย่างไร หน้าเพจไหนสร้างรายได้บ้าง
8. Experiment
คือการทำ A/B Testing แล้วนำผลลัพท์ที่ได้จากการทดลองใช้มาเปรียบเทียบ เพื่อเอาไปปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ ให้มีประสิทธิภาพและมีผลต่อผู้เข้ามาชมมมากที่สุด
ยังมีฟีเจอร์ที่อื่น ๆ ช่วยให้เห็นว่าอะไรคือสิ่งที่หน้าเว็บคุณทำได้ดี หรือเป็นจุดเด่น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดได้โดยการใช้เรียกลูกค้าผ่านเครื่องมืออื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น Google Ads, Facebook Pixel เป็นต้น ฟีเจอร์หมวด Event แสดงผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมบนหน้าเว็บไซต์
Google ได้ออกผลิตภัณฑ์อีกตัวหนึ่งชื่อว่า Google Optimize มาให้ใช้กันฟรี โดยเจ้าผลิตภัณฑ์ตัวนี้สามารถทำการทดสอบได้หลากหลายทั้ง A/B Test, Multivariate Test, Redirect Test และอื่น ๆ พร้อมแก้สิ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงผ่านหน้า Visual ได้เลย
ภาพจาก blog.google รู้ที่มาของการบรรลุเป้าหมายด้วย Conversion Report Conversion Report เป็นฟังก์ชันสำหรับวิเคราะห์รายละเอียดของเส้นทางที่ลูกค้าเดินบนหน้าเว็บไซต์คุณ ตั้งแต่การเข้ามา ไปสู่การสร้างรายได้ และกลายมาเป็นผู้นำพาคนอื่น ๆ มา ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นรายงานข้อมูล 3 รายงานย่อย ได้แก่ Goal, E-commerce และ Multi-Channel Funnels
1. Goal
คือรายงานในหมวดที่ทำให้ทราบถึงยอดการบรรลุเป้าหมายตามจุดประสุงค์ที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็น สร้างยอดการลงทะเบียน ยอดการกดสั่งซื้อ การคลิก และอื่น ๆ ที่คุณหวังให้เกิดขึ้นบนเว็บไซต์
Goal Report เป็นการรวบรวมข้อมูลไม่ว่าจะเป็น หน้าเพจไหนที่ทำให้เกิดการคลิกที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (การสร้าง Conversion) อะไรเป็นสื่อกลางหรือลิงก์ที่มาที่นำมาซึ่งผู้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ยอดการบรรลุในเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Goal Completion) และมูลค่าจากการบรรลุเป้านี้ (Goal Value)
2. E-commerce
สำหรับธุรกิจที่มีช่องทางขายสินค้าทางออนไลน์ E-commerce Report จะทำการวิเคราะห์และแสดงให้เห็นการเดินทางของลูกค้าตั้งแต่เข้ามาไปจนถึงการบรรลุเป้าหมาย หรือทั่วไปก็คือการสร้างรายได้ ซึ่งตัวรายงานจะครอบคลุมยอดการเกิด Conversion การซื้อขาย (Transaction) รายได้ มูลค่าเฉลี่ยต่อการสั่งซื้อ การสั่งซื้อเฉพาะ (Unique Purchase) และจำนวนสินค้าจากการสั่งซื้อ
3. Multi-Channel Funnels
แน่นอนว่าการจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจะไม่ได้มาจากช่องทางเพียงช่องทางเดียว หลาย ๆ ครั้งผู้ใช้เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านทางโซเชียลมีเดีย แต่สร้าง Conversion จากการเข้ามาอีกทีผ่านทาง Organic Search เข้ามาจากแอปหรือโบชัวร์ที่ติด QR code ไว้ ซึ่งช่องทางและลำดับการใช้สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายนับไม่ถ้วน
Multi-Channel เลยมาเป็นตัวช่วยให้เห็นการทำงานร่วมกันของแต่ละช่องทางในการนำมาซึ่งผู้เข้าชมเว็บไซต์และลักษณะการเดินทางบนหน้าเว็บไซต์
รู้ได้ลึกขึ้นจาก Other Reports Other reports คืออีกหลาย ๆ รายงานที่มาจากการใช้ Google Analytics แต่ไม่ได้อยู่ในหมวดข้างต้นไม่ว่าจะเป็น Advertising Reports เพื่อวิเคราะห์การทำงานของเครื่องมือการทำโฆษณา หรือ User Flow Reports สำหรับพฤติกรรมการท่องเว็บไซต์ของผู้เข้ามาชมว่าทำอะไรบ้าง
เท่านั้นยังไม่พอสำหรับผู้ใช้ Google Analytics 360 (เวอร์ชั่นอัพเกรดแบบเสียเงิน) คุณจะสามารถทำเข้าถึงข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้นจากการขอเรียกดู Unsampled Report
Unsampled Report เกิดจากการที่ปกติแล้วเว็บไซต์ขององค์กรใหญ่ ๆ เมื่อมีข้อมูลจากผู้เข้าชมเว็บไซต์จำนวนมาก Google Analytics เลยทำการสุ่มเลือกผู้เข้าชมเพียวจำนวนหนึ่งเพื่อเอาข้อมูลมาทำการวิเคราะห์
ข้อดี ของการสุ่มมาวิเคราะห์คือ เป็นการประหยัดพื้นที่เก็บข้อมูล และทำให้การประมวลผลอัพเดตได้เร็ว แต่ข้อเสีย คือ หากอยากได้ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นส่วนน้อยของผู้เข้าชม จากที่มีข้อมูลเพียงเล็กน้อย หลังการสุ่มจะทำให้มีจำนวนน้อยลงไปอีก นำไปสู่ความไม่แม่นยำได้
นอกจากการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลแล้ว Google ยังมี Google Data Studio ที่เป็น Data Visualization Tool ทำให้ข้อมูลที่เก็บมาเหล่านี้สามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย (สามารถทำความรู้จักและดูวิธีการใช้งานได้ในคลิปวิดีโอด้านบนสุด หรือ คลิกที่นี่ ) เริ่มต้นงาน Google Data Studio ได้ที่นี่ เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics ได้ที่นี่ ฟีเจอร์น่าสนใจ Customize Dashboard
ฟีเจอร์น่าสนใจของ Google Analytics ที่เราจะมาพูดถึง ก็คือ การทำ Customize Dashboard นั่นเอง
Customize Dashboard เป็นทางลัดที่เราสร้างขึ้นเองเพื่อเลือกดูแต่ข้อมูลหรือ Metrics ที่เราต้องเช็คเป็นประจำ และมีความสำคัญกับธุรกิจของเรามากที่สุด
ในแต่ละ Dashboard จะสามารถใส่ Widget ได้มากถึง 12 widgets โดยแต่ละ Widget ก็จะมีให้เราเลือกอีกที ทั้งในแง่ของรูปแบบการแสดงผลข้อมูล(Metric, Timeline, Geomap, Table, Pie chart, Bar chart), ความอัพเดทของข้อมูล (Standard vs Real-time), และการกรองข้อมูล(Metrics และ Dimension)
หรือถ้าหากใครไม่แน่ใจว่า ควรใส่ Widgetอะไร Metricsไหน หรือวางรูปแบบยังไงให้อ่านง่าย สามารถลองเข้าไปที่ Google Analytics Solutions Gallery หรือพื้นที่ที่กลุ่มผู้ใช้งาน Google Analytics สามารถมาแชร์
Customizations แบบต่างๆที่ตนเองทำไว้ได้ แล้วให้ผู้ใช้งานคนอื่นดาวน์โหลดไปใช้งานหรือปรับแต่งต่อเติมเองอีกที
ต้องบอกก่อนเลยว่าถ้าเราเป็นคนแชร์ Customize Dashboard ของเรา ข้อมูลและสถิติทุกอย่างจะไม่ได้ถูกแชร์ไปด้วย มีเพียงแต่รูปแบบของ Widgets เท่านั้นที่ถูกแชร์ ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเลยว่าข้อมูลสำคัญจะถูกเปิดเผย
ข้อดีข้อเสีย เริ่มกันที่ข้อดี ก่อน นอกจากเราจะได้ข้อมูลที่ลึก เรียลไทม์ และสามารถเลือกดูรายงานได้ตามต้องการแล้วนั้น ข้อดีที่เด่น ๆ อีกอันเลยคือ Google Analytics เปิดให้ใช้กันแบบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ติดตั้งก็ง่าย แถมมีการสอนการใช้งาน เรียนรู้ได้ง่ายดาย ผ่านคอร์สของ Google Analytics Academy เมื่อเรียนจบก็มี Certificate ให้อีกต่างหาก และยังมี Help Center หรือศูนย์ช่วยเหลือที่อยู่ด้วยตลอดการใช้งาน ซึ่งขอย้ำอีกครั้งว่าทุกอย่างล้วนฟรี!!!
อีกหนึ่งข้อดีของเครื่องมือนี้คือ สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งจากเว็บไซต์, แอปพลิเคชั่นในมือถือเรา, เครื่องเล่นวิดิโอเกม (Video Game Consoles), ระบบ Online POS System, ระบบ CRM System หรือแพลตฟอร์มใด ๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เรียกได้ว่าครอบคลุมทุกพื้นที่ยิ่งกว่า 4G กันเลยทีเดียว
ส่วนข้อเสียหลัก ก็คือ การที่ปัจจุบันมีกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นผลให้ต้องขออนุญาตจากผู้ใช้งานเพื่อติดตั้ง Cookie ที่มีหน้าที่ในการติดตามพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ต ดังนั้นหากผู้ใช้งานไม่ยินยอมให้ติดตั้ง Cookie ตัว Google Analytics ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ และนี่ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนอาจกระทบกับความแม่นยำของเจ้าเครื่องมือนี้ได้
ไม่ใช่แค่ Cookie เท่านั้น แต่จริงๆ การที่มี Ad Filtering Program และ Extensions บางตัว ก็สามารถบล็อคการเก็บข้อมูลของ Google Analytics ได้ด้วย อย่างของ Firefox มี Firefox's Enhanced Tracking Protection , Web Browser มี Extension NoScript , และแอปพลิเคชั่นบนมือถือก็มี Disconnect Mobile เป็นต้น
ข้อเสียอีกอย่างเลยคือ การมีลิมิตของการเก็บข้อมูล นั่นก็คือมันสามารถเก็บข้อมูลของ Web Property/Property/Tracking ID ได้เพียง 10 ล้านครั้งต่อเดือนต่อ Property เท่านั้น
ดังนั้นสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมเว็บจำนวนมาก เพื่อไม่ให้เซิฟเวอร์หนักเกินไป และให้ได้รายงานที่รวดเร็วที่สุด Google Analytics จะลดจำนวนข้อมูลที่รายงานลงโดยเลือกจากการสุ่ม ทำให้มีการตกหล่นของข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้โดนเลือก เลยจะมี Margin of Error บอกให้ในรายงานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ แต่ไม่มีให้ในหน้ารายงาน Metric อื่น ๆ การลดจำนวนข้อมูลนี้ถ้าทำ segment ย่อยเล็กๆ Error margin จะกลายเป็นใหญ่มาก
ทั้งนี้ ถ้าเราไม่อยากประสบปัญหาดังกล่าว เราสามารถอัปเกรดเป็น Analytics 360 ได้
เริ่มต้นงาน Google Data Studio ได้ที่นี่ เริ่มต้นใช้งาน Google Analytics ได้ที่นี่