The Growth Master Team
The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต
นักเขียน
จะพูดอธิบายมันก็ยาก เลยต้องการภาพมาช่วยประกอบ สมองสามารถประมวลผลภาพได้เร็วกว่าตัวอักษรถึง 60,000 เท่า แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการพัฒนาเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกในการทำงานได้มากขึ้น
แต่ยังมีอุปกรณ์สุดคลาสสิกอย่างเจ้ากระดานไวท์บอร์ดที่อยู่กับเราเสมอ ซึ่งกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยเวลาคุยงานภายในองค์กร
เราจำสิ่งที่ได้ยิน 10% จำสิ่งที่อ่าน 20%แต่จำสิ่งที่เราเห็นและทำได้ถึง 80% อาจจะพอคุ้นหูเรื่อง ‘Visual Thinking’ มาบ้าง
Visual thinking คือการเรียบเรียงความคิดจากตัวหนังสือไม่ว่าจากการอ่าน หรือการฟังให้กลายเป็นภาพ ทำให้เราเข้าใจภาพรวม ทิศทาง และความเกี่ยวข้องระหว่างกันได้ดียิ่งขึ้น
หากลองสังเกตว่าที่ผ่านมาเวลาอธิบายอะไรที่มีความซับซ้อน
บางทีพูดปากเปล่าไปสิบกว่านาทีเพื่อนร่วมงานทำหน้างงว่ามันคืออะไร หรือพูดถึงไหนแล้วนึกภาพตามไม่ทัน
พอเราใช้ภาพประกอบเข้าช่วย
เพื่อนๆถึงจะ ‘อ๋อ..!’ เข้าใจอย่างรวดเร็ว
ไวท์บอร์ดจึงเป็นตัวช่วยที่สำคัญมากเวลาจะเล่าอะไรที่มีลำดับซับซ้อน
รวมถึงการระดมความคิด เพื่อไปสู่ข้อสรุปให้ทุกคนเห็นขั้นตอนและภาพรวมของงานตรงกัน
ถึงแม้ปัจจุบันรูปลักษณะของเจ้าไวท์บอร์ดสุดคลาสสิกนี้จะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ประโยชน์ของมันก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
ภาพจาก Bmagnetboard จะว่าไม่เคยเผชิญปัญหากับเจ้าไวท์บอร์ดนี้เลยก็คงยาก ต้องมีปะทะกันบ้างสักยก
เช่น ต้องการเรียกประชุมงานกับทีม แต่ออฟฟิศกับมี ไวท์บอร์ดแค่อันเดียว หรือคุยๆอยู่แล้วปวดท้องอย่างรุนแรง อยากจะปลีกตัวออกไปเข้าห้องน้ำก็กลัวว่ากลับมาแล้วจะพลาดอะไรไป
ปัญหายิบย่อยในการใช้งาน ไม่ว่าจะปากกาเขียนไม่ติดหมึกใกล้หมดตัวหนังสือซีดจาง เขียนตัวเล็กไปมองไม่เห็น เสียเวลากว่าจะได้พูดต่อ
หาแปรงลบกระดานไม่เจอบ้างจนต้องสละฝ่ามือมาลบทำให้เสื้อผ้าหน้าผมมอมแมมเด้วยรอยผงหมึก หรือกระดานส่วนที่ต้องการจะเขียน ก็สูงเขย่งเขียนก็ยังไม่ถึง บางทีก็ต่ำมากต้องย่อตัวลงจนปวดเข่า
วันไหนใส่เสื้อขาวก็ไม่อยากใช้เอาซะเลย
บางทีประชุมเสร็จ แจกจ่ายงานไป พอถึงเวลางานไม่มา ไม่รู้ให้ใครทำ จะเอากระดานที่เขียนกลับมาดูก็ถูกลบไปแล้วอีก
หมดห่วง ด้วย Miro: ตัวช่วยสร้างสรรค์ไอเดียที่ไม่สิ้นสุด Miro : Collaborative online whiteboard platform ภาพจาก Miro
เริ่มต้นจากที่การทำงานภายในทีมปัจจุบันมีบุคลากรที่หลากหลายมากขึ้น ทำให้บางทีเหมือนเราคุยกันคนละภาษากัน ปิดการประชุมไปโดยที่บางคนในทีมยังจับพลัดจับพลูไม่ถูก
ว่าข้อสรุปของงานที่ตนเองต้องทำร่วมกับคนในทีมคืออะไร Miro จึงอยากเป็นพื้นที่ที่ให้ทุกคนมีความเข้าใจในสิ่งเดียวกันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อให้การรวมตัวพูดคุยนี้มีประสิทธิภาพ ไม่เอาเวลาไปทิ้งให้สูญเปล่า
การออกแบบเครื่องมือของ Miro ได้แรงบันดาลใจจากศิลปินชาวสเปนอย่างคุณโคอัน มีโร (Joan Miro) สไตล์เฉพาะตัว มีสีสันสดใส สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ไม่สิ้นสุด
Whiteboard ส่วนตัว add ความคิดได้ไม่มีสะดุด เรื่อง Infinite Canvas นับเป็นจุดเด่นของ Miro เลย ที่ตัวพื้นที่ของบอร์ดไร้ขอบที่จะมาจำกัดเรา
หลายครั้งที่ยังอยากเพิ่มข้อมูล แต่ไม่มีเนื้อที่เหลือให้ใส่ลงไป ทำให้ต้องขึ้นกระดานใหม่ ขาดช่วงจนลืมว่าตอนนั้นกำลังจะเขียนอะไร เหมือนสมองสะดุดชั่วคราว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลายบริษัทหันมาใช้ Miro ออนไลน์บอร์ดกันมากขึ้น
อย่าง Netflix, Spotify, Twitter, Dell, CISCO และ Upwork จนตอนนี้มีผู้ใช้งานมากกว่า 5 ล้านคน
เริ่มต้นใช้งาน Miro
แม้จะอยู่ไกลแค่ไหน ก็ทำงานด้วยกันได้ แค่มี Miro ก็เหมือนมีเพื่อนร่วมทีมอยู่ข้าง ๆ ยิ่งในช่วง Work from home ที่ผ่านมา ต้องทำงานระยะไกล ตัวซอฟต์แวร์นี้เลยตอบโจทย์มาก เหมือนยกกระดานในห้องประชุมขึ้นมาบนออนไลน์ ให้คุณได้พูดคุยงานเหมือนนั่งทำงานอยู่ด้วยกัน เพิ่มหรือแก้ไขทุกคนสามารถเห็นได้แบบ real-time
เมื่อคุยเสร็จปิดงาน กระดานยังอยู่ จะเปิดดูอีกเมื่อไหร่ก็ได้
“To empower teams to create the next big thing.” Miro ช่วยจัดการปัญหาการใช้งานของบอร์ดแบบออฟไลน์ที่ยุ่งยาก และประหยัดเวลาการมาร่วมตัวกันได้อย่างดี
มี App&Integration เพื่อเปิดใช้งานส่วนเสริมอื่นภายในบอร์ด หรือจะยกบอร์ดไปใช้งานในซอฟต์แวร์อื่นที่เราใช้งานอยู่แล้วได้อีก ไม่ว่าจะเป็น Zapier, Microsoft team, Prezi, UXPin หรือ Jira
ภาพจาก miro ด้วยเหตุผลเหล่านี้เอง ทำให้ Miro ได้ใจของหลายบริษัทดังไปครอง จะมีเครื่องมือใช้งานและฟีเจอร์อะไรสนุกๆบ้าง ไปดูกันเลย
สร้างสรรค์ไอเดียได้แบบอินฟินิตี้กับ Miro ภาพจาก miro
เริ่มต้นใช้งานง่ายๆ ผ่านเบราว์เซอร์ที่เว็บไซต์ Miro หรือดาวน์โหลดและติดตั้ง รองรับทั้งบนเดสก์ท็อป สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
กดลงทะเบียนเริ่มใช้งานได้ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย
มาเริ่มสร้างบอร์ดกันเลยดีกว่า!
เมื่อเข้าสู่ตัวซอฟต์แวร์ จะพบกับกระดาน (Board) เราสามารถสร้างสรรค์บอร์ดด้วยตัวเอง หรือกดเลือก ‘Template’ ในแถบเครื่องมือด้านซ้าย
Template ทาง Miro ได้มีตัวอย่างมาให้เราเยอะมาก
แนะนำรูปแบบที่เหมาะสมกับความต้องการใช้งานต่างๆ
เช่น
- ประชุมงานทั่วไป(Meetings&Workshops)
- ระดมความคิด(Ideation & Brainstroming)
- ออกแบบแก้ไขงาน(Research&Design)
- วางกลยุทธ์(Strategy&Planning)
- จัดทำแผนการดำเนินงาน(Agile Workflows)
และฟังก์ชันที่ขาดไม่ได้เลยอย่าง Mind Mapping
ถ้าหากยังหาแบบที่ถูกใจไม่ได้ สามารถเข้าไปลองเลือก template ที่ผู้ใช้งาน Miro ได้แชร์บอร์ดของตัวเองไว้ ได้ที่ Miroverse
ภาพจาก miro Fast&Simple: create text เพียงแค่คลิกในกระดานสองครั้งก็สามารถสร้าง ‘Text’ ได้ทันที สามารถปรับแต่งตัวอักษรได้ตามใจชอบ สร้างกรอบหรือใส่สีพื้นหลังตามต้องการ
สิ่งที่น่าจะถูกใจสายโลเลมาก คือ การเปลี่ยนรูปแบบของกล่องข้อความ (Switch Type) ให้กลายเป็นรูปแบบอื่นได้ภายหลัง เป็น Card , Sticky note หรือ Shapes แบบต่างๆ
Widget ภายใน Card สามารถแท็กชื่อได้ทันทีว่างานนี้ เป็นของใคร จะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้แล้วและยังพิมพ์ Tag เพิ่มได้อย่างอิสระ
อ้าว! แล้วถ้าลืมเวลาจนเลยเดดไลน์ทำยังไง
ไม่ต้องห่วงเลยเพราะ Miro เอาใจคนขี้ลืม ในการ์ดจึงสามารถ กำหนดวันที่ (Set date) จะได้ไม่พลาดทุกรายละเอียดที่สำคัญ
ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ หากลองกดเครื่องหมายขยายการ์ด สามารถใส่รายละเอียดที่จำเป็นของงานนั้นลงไป และแสดงชื่อของผู้สร้างการ์ดนั้นขึ้นมาอีกทีนี้เวลางานติดขัดตรงไหน จะได้ถามถูกคน
นอกจากนี้เจ้า Miro ก็ใจดี๊ดีเนรมิต Sticky note หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า กระดาษโพสต์อิท มาให้เราเสมือนกำลังแปะอยู่บนบอร์ดจริงๆเลย แต่น่าเสียดายที่เขามีสีมาให้เลือกแค่ 12 สีเอง ถ้าอยากได้สีอื่น ต้องสร้างสี่เหลี่ยมมาใช้แก้ขัดกันไปก่อนนะ
ตัว Sticky note สามารถเพิ่ม Tag ได้เหมือนแบบ Card เลย หรือใครที่พิมพ์งานน้ำตานองอยู่ สามารถเพิ่มอิโมจิแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้อีกด้วย
สำหรับสายพิมพ์ช้าเขียนไวกว่า หรือใช้งานบนแท็ปเล็ต สามารถใช้เครื่องมือ Pen แทนการพิมพ์ได้ แล้วถ้าอยากวาดแต่กลัวไม่สวย สามารถเปิดใช้งานฟังก์ชัน Smart Drawing ปรับลายเส้นให้ทันที
Connection line เชื่อมต่อข้อความ ปรับเปลี่ยนเส้นและหัวลูกศรได้ เมื่อขยับข้อความนั้น เส้นที่เชื่อมไว้จะขยับตามไปด้วย ไม่ต้องมาเสียเวลาลากทีละเส้นใหม่
Remote Work: Collaboration ภาพจาก miro บางทีคนที่แชร์จอพูดไปแต่คนฟังหลับ
Miro จึงแก้เผ็ดให้ทุกคนสามารถเห็น Cursor ของกันและกัน หรือถ้าหา Cursor ของเพื่อนไม่เจอ สามารถกดรูปไอคอนทางขวาบนที่มีรูปเพื่อนอยู่ แล้ว Miro จะเลื่อนหน้าจอพาไปดูว่าเพื่อนกำลังทำอะไรอยู่ ภายในซอฟต์แวร์ยังสามารถเปิด Video chat ได้อีกด้วย อู้งานยากแล้วสิทีนี้ การสรุปงานและติดตามภาพรวมสามารถเพิ่มรายละเอียดได้บน Note ในแถบด้านขวาบน ทั้งรายการงานที่ต้องทำ การนัดหมายครั้งต่อไป
Comment เยอะแค่ไหนก็เพิ่มได้ ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และสามารถแท็กชื่อเพื่อนร่วมทีมเพื่อให้เข้าใจงานไปพร้อมกัน
หากบางทีนัดเช้ามากพึ่งลุกขึ้นจากเตียงหรือยังไม่ได้แต่งหน้า ไม่อยากเปิด Video chat ก็สามารถใช้ช่อง Chat พิมพ์คุยกันแบบปกติแทนได้
ฟีเจอร์น่าสนใจ ที่ The Growth Master อยากแนะนำให้ลอง Frame & Presentation mode เพราะบอร์ดของ Miro กว้างมาก ไม่มีขอบ (หรือใครที่สร้างจนเจอขอบบอกด้วยนะ เพราะเราสร้างไปเยอะมากก็ยังหาไม่เจอ) ทำให้บางทีเราสร้างนู่นนี่ไปแล้วจำไม่ได้ว่าสร้างไว้ตรงไหน สามารถเลือกเครื่องมือ Frame เพื่อใส่กรอบและตั้งชื่อได้อีกด้วย
ซึ่งหากอยากดูหน้าที่เราสร้างกรอบไว้ทั้งหมด ให้คลิกแถบด้านล่างซ้าย ก็จะมีแท็บออกมา แล้วถ้าอยากดูกรอบไหนกดที่กรอบนั้นได้เลย Miro จะพาเราไปหากรอบนั้น
กรอบที่เราสร้างไว้สามารถกดการแสดงผลในรูปแบบ Presentation mode ได้ด้วย ไม่ต้องเสียเวลามานั่งทำสไลด์เพิ่มอีก หรืออยากเรียงหน้าใหม่ก็สามารถลากกรอบสลับที่กันได้เลย
Grid & Guide line สำหรับสาย Perfectionist ที่บางทีเรารู้สึกว่า “น้องคะ พี่ว่ากรอบมันเบี้ยว”
Miro สามารถกด Setting เพื่อให้แสดง Grid และ Snap objects เป็นตัวช่วยให้คนที่ชอบจัดวาตำแหน่งให้สวยงามได้ง่ายๆ
Voting, Timer และ Video chat และมาถึงฟีเจอร์สุดท้ายที่ชอบมากสำหรับสายเปย์ เพราะต้องอัปเกรดแพ็กเกจก่อน
แต่ถ้าสายอดออม สามารถกดลองใช้ได้ฟรี 14 วัน
เริ่มที่ Voting ก่อนเลย บางทีเมื่อไอเดียมันฟุ้งมาก ทำให้เราต้องตัดบางอันทิ้งจะให้เลือกออกเองก็เสียดาย เลยต้องขอกำลังจากทุกคนในทีมเพื่อช่วยโหวตไอเดียแจ่มๆไว้ สามารถตั้งระยะเวลาและจำนวณที่รับเปิดโหวตได้อีกด้วย
ในส่วนของ Timer เราหรือคนในทีมที่บางทีคุยกันจนลืมเวลางานไม่เคาะสักที สามารถตั้งนับเวลาถอยหลังเพื่อสร้างความกดดันเค้นความคิดกันได้ หรือในการนำเสนอที่มีเวลาจำกัด ไม่ให้คนอื่นพูดเกินเวลาของตัวเอง ตัวนี้ก็สามารถช่วยได้นะ
และฟีเจอร์อันสุดท้ายที่เราอยากแนะนำอย่าง Video chat เกริ่นไปพอสมควรใน Remote Work: Collaboration
ส่วนตัวเราคิดว่าเป็นเหมือนผลพลอยได้จากการอัปเกรดมากกว่า แต่ก็ทำให้เราทำงานสะดวกขึ้นไม่ต้องเปิดโปรแกรม Video chat ขึ้นมาอีกอัน
ถือว่าตอบโจทย์การใช้งานได้ครบจบใน Miro
เริ่มต้นใช้งาน Miro ที่นี่
ต้องจ่ายเท่าไหร่..? ถ้าอยากได้แบบนี้ Free แพ็กเกจแรกอย่างสายฟรี ไม่ซีเรียสการใช้งานมากนัก
เขาจำกัดจำนวณบอร์ดมาให้แค่ 3 บอร์ด ซึ่งจะไม่สามารถใช้ฟีเจอร์ Voting, Timer และ Video chat ได้ ฟีเจอร์ทั่วไปยังสามารถใช้ได้หมด หากต้องการแชร์บอร์ดของเราให้เพื่อนสามารถทำได้ แต่ไม่สามารถตั้งค่าจัดกัดเป็น View only ให้เพื่อนอยู่เฉยๆ ไม่พิเรนกดลากย้ายของที่เราสร้างได้
Team คนละ 8$ ต่อเดือน แต่ต้องสมัครใช้งาน 2 คนขึ้นไป ใช้ทุกฟีเจอร์ได้อย่าง ‘Unlimited’
สามารถตั้งค่าจำกัดการเข้าถึงต่างๆได้ เช่น Export และ Share นอกจากนี้ยังแสดงสถานะการทำงานปัจจุบันแบบ To-do, Doing และ Done ได้อีกด้วย แต่ถ้าต้องการความปลอดภัยระดับองค์กร แพ็กเกจอันนี้อาจจะยังไม่เพียงพอเท่าไหร่
Business ค่อนข้างแพงแต่ก็คุ้มค่ากับความปลอดภัยที่สูงขึ้น โดยราคาแพ็กเกจเดือนละ 16$ ต่อคน ขั้นต่ำ 20 คนขึ้นไป
มีการเพิ่ม SSO หรือ Single Sign-On เพื่อยืนยันผู้ใช้งาน ลดเวลาที่ต้อง Login ใหม่ เวลาเปลี่ยนระบบจะได้ไม่ต้องลงชื่อใหม่
Enterprise สมัครใช้งาน 50 คนขึ้นไป มีระบบความปลอดภัยขั้นสูงมาก
ถ้าใช้แพ็กเกจแบบ Business แล้วยังไม่พอ ก็อัปเกรดเป็นอันนี้แทนได้ ส่วนค่าใช้จ่ายต้องติดต่อสอบถามกับ Miro อีกทีนะ
โฮ่..! ใช้แบบฟรีก็ว่าดีแล้ว แต่อัปเกรดขึ้นมาดียิ่งกว่า ส่วนตัวเราคิดว่าแพ็กเกจแบบ Team คุ้มค่าที่สุด
ใครเป็นสายฟรีแลนซ์แนะนำเลย
สามารถกดดูรายละเอียดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ที่นี่
สรุปทั้งหมด ฟีเจอร์เยอะและเรียบง่ายขนาดนี้ จะไม่ลองใช้ก็คงไม่ได้แล้วล่ะ
จริงๆ Miro ไม่ได้เป็นไวท์บอร์ดออนไลน์เพื่อทำงานเพียงอย่างเดียว ยังสามารถประยุกต์ไปทำอย่างอื่นได้อีก ข้อดีที่ตัวบอร์ดเป็น Real-time ทีม The Growth Master เลยได้ลองสร้างเกมขึ้นมาเล่นกันในทีม เวลาคุยงานจนไอเดียตัน อันนี้ช่วยผ่อนคลายไปเยอะทีเดียว ลองไปสร้างเล่นกันดูได้
สุดท้ายนี้… ฝากติดตาม The Growth Master ทั้งบนเว็บไซต์ และยูทูป
เราจะเอาข่าวสารและซอฟต์แวร์ดีๆน่าใช้มาให้ทุกคนได้ชมอีก
ไม่ขอช้าง ไม่ขอม้า แต่ขอลาไปก่อนนน
สวัสดีค่ะ :)
สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ