ระบบ CRM หรือ Customer Relationships Management เป็นอีกระบบหนึ่งที่หลาย ๆ บริษัทควรมีเพื่อการติดตาม Lead, การจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า ให้มีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ มีการเก็บ Data เป็นสรุปรายงานสถิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เราอยู่ในยุคของ Digital Transformation การจะให้ทีมเซลล์แต่ละคนมานั่งจดใส่กระดาษ กรอกใส่ Excel แล้วไล่ดูทุกวันนั้นเป็นการใช้เวลาอย่างสิ้นเปลืองและล้าสมัยเกินไปแล้ว ยิ่งถ้าเกิดวันหนึ่งพนักงานคนนี้ไม่ได้ทำงานกับเราอีกต่อไป ข้อมูลส่วนนี้ก็จะหายไปกับกระดาษของเขาด้วย
ในบทความนี้นี้ The Growth Master ได้ร่วมกับ Readyplanet พาทุกคนมาทำความรู้จักกับระบบ CRM ที่ใช้งานง่าย เก็บทุกข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ สรุปสถิติให้ได้ เรียกว่าครบจบในตัวเดียว แล้วยังเป็นซอฟต์แวร์ของคนไทยที่มีระบบซัพพอร์ตการใช้งานในไทยอย่างดีเยี่ยม R-CRM นั่นเอง
ทำความรู้จักกับ Readyplanet Readyplanet เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องแพลตฟอร์มการขาย การทำการตลาดแบบ All-in-One ครอบคลุมทั้งเรื่องโฆษณา เว็บไซต์และระบบลูกค้าสัมพันธ์หรือเจ้า CRM นี่เอง เป็นอีกเจ้าหนึ่งเลยที่นักการตลาดในไทยน่าจะคุ้นหูกับชื่อนี้กันดี
โดย Readyplanet ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2000 รวมแล้วกว่า 20 ปี มีลูกค้ากว่า 15,000 ราย ทั้งเจ้าเล็กเจ้าใหญ่ SME สมาคมต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็น Premier Google Partner รายแรกในประเทศไทยอีกด้วย
ความน่าสนใจของซอฟต์แวร์สัญชาติไทยตัวนี้ คือ เขาวางโครงสร้างซอฟต์แวร์มาใช้ได้แบบ All-in-One จริง ๆ สมชื่อกับคำว่า Planet โดยจะแบ่งซอฟต์แวร์ออกเป็น 3 ก้อน ที่ดูแลโฆษณา, เว็บไซต์ และ CRM ซึ่งโดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างมาโดยเจ้าเดียวกัน จะทำให้การเชื่อมต่อการใช้งานระหว่างซอฟต์แวร์เป็นไปได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อมาก
ราบรื่นในที่นี้จะขอยกตัวอย่างเป็นกลุ่มแอปที่เราคุ้นเคย อย่างเช่น เวลาที่เราใช้ Google Doc, Google Sheet เราเก็บไฟล์เหล่านี้ไว้ใน Google Drive โดยทันที การเชื่อมต่อระหว่างไฟล์ การจัดเก็บ หรือส่งต่อด้วย Gmail ทำได้ง่ายมาก เพราะมันมีระบบ Ecosystem เดียวกัน
สำหรับใน Readyplanet Marketing Platform คือการมีเครื่องมือที่หลากหลาย สามารถเชื่อมต่อ เช่น R-Web, R-Shop ที่เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์และร้านค้าออนไลน์ สามารถส่งข้อมูลที่เกิดจากการกรอกแบบฟอร์ม หรือสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บไซต์ไปยัง R-CRM ได้ รวมถึง R-Widget ที่เป็นปุ่มรวมช่องทางติดต่อเป็นเว็บไซต์ที่ ผนวก Chatday ที่เป็นระบบแชทบนหน้าเว็บไซต์มาด้วย ทำให้ลูกค้าสามารถติดต่อหาธุรกิจได้ง่ายและสะดวกขึ้น ซึ่งแชททั้งจากหน้าเว็บไซต์ แชทจาก LINE OA และ แชทจาก Facebook Messenger ก็สามารถมารวมศูนย์ที่ฟีเจอร์ Chat Center ให้แอดมินสามารถตอบลูกค้าได้โดยไม่ต้องสลับหน้าจอไปมาด้วยเช่นกัน สุดท้ายคือ R-Dynamic เครื่องมือทำโฆณา Dynamic Retargeting อัตโนมัติที่จะเรียกคนกลับมายังเว็บไซต์อีกครั้งเพื่อปิดการขาย ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เช่นกัน
แต่สำหรับวันนี้ The Growth Master จะพาทุกคนไปรู้ลึกเฉพาะ R-CRM ก่อน ว่าระบบ CRM ที่ขึ้นชื่อว่าใช้ง่ายตัวนี้จะเข้ามาช่วยจัดการกับงานของทีมเซลล์และ Customer Relationships อย่างไรบ้าง
การใช้งานบน R-CRM การจัดการทีมเซลล์และการแบ่งความรับผิดชอบ Lead หน้าต่างจัดการผู้ใช้และทีม เนื่องจากแพ็กเกจของ Readyplanet Marketing Platform ทำให้คุณเข้าถึงเครื่องมือได้หลายตัว (แล้วแต่แพ็กเกจ) Readyplanet Marketing Platform จึงออกแบบมาให้คุณสามารถตั้งค่าได้ว่าอยากให้พนักงานแต่ละคนมีสิทธิ์เข้าถึงเครื่องมือตัวไหนบ้างเพื่อให้การทำงานเป็นระบบและแบ่งกันตามหน้าที่ของแต่ละคน ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ผู้ดูแล, ผู้ใช้ และไม่มีสิทธิ์
ผู้ดูแลจะสามารถตั้งค่าในระบบได้ เปรียบเสมือนการเข้าถึงหลังบ้านของเครื่องมือนั้น อย่าง R-CRM ผู้ดูแลก็จะสามารถตั้งค่าเริ่มต้น ทีมเซลล์ A ใช้ Pipeline ไหน หรือ มีการแบ่งการดูแล Lead อย่างไรบ้าง ส่วนผู้ใช้จะสามารถใช้งานเครื่องมือนั้น ๆ ได้ แต่ไม่สามารถตั้งค่าได้อย่างผู้ดูแล และหากตั้งค่าไม่ให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้คนใด ในหน้าหลักเครื่องมือจะขึ้นเป็นสีเทาเพื่อบ่งบอกการจำกัดการเข้าถึง
หน้าต่างจัดทีมรับข้อมูลแต่ละทีม นอกจากการอนุญาตให้เข้าถึงแบบรายบุคคลแล้ว Readyplanet Marketing Platform ยังสามารถจัดตั้งทีมขึ้นมาได้ แต่ละทีมจะมีหัวหน้าทีม และ ลูกทีม ส่วนนี้จะมีผลในการกระจาย Lead และการวัดผล เนื่องจากหัวหน้าทีมหรือผู้มีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลจะสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่า พนักงานแต่ละคนกำลังดูแล Lead คนไหนอยู่บ้าง
หน้าต่าง R-CRM นอกจากนี้ยังสามารถใช้การตั้งค่าสำหรับการกระจาย Lead แต่ละทีมได้ด้วย แน่นอนว่าทุกคนมีเพอฟอร์มแมนซ์ที่แตกต่างกัน R-CRM จึงใช้ฟีเจอร์นี้มาเพื่อการใช้งานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยจะมีให้เลือกว่าเราต้องการแจก Lead แบบสุ่ม, แบบวนครบคนในทีมกลับมาเริ่มคนที่ 1 ใหม่ หรือแบบถ่วงน้ำหนัก ซึ่งรูปแบบถ่วงน้ำหนัก จะทำให้คุณสามารถเฉลี่ยให้เซลล์แต่ละคนรับผิดชอบ Lead ในจำนวนที่ต่างกันได้ เช่น นาย A สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็ว มากกว่านาย B และนาย C ดังนั้นจึงต้องการที่จะให้น้ำหนักการรับ Lead ของนาย A มากกว่าคนอื่นเพื่อให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ระบบแจก Lead
เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่
หน้าตา UI ที่เป็นมิตร เข้าถึงเมนูต่าง ๆ ได้ดี หน้าต่าง Inbox ลักษณะการทำงานบน R-CRM จะใช้ Pipeline เพื่อติดตามลูกค้าในแต่ละขั้นตอนตามกรอบสีแดง ซึ่ง Pipeline นี้เราสามารถปรับแต่งเองแล้วทำเป็นเทมเพลตไว้สำหรับเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละทีมได้ เช่น ทีมติดตาม Lead จาก Facebook อาจจะมีแค่ 4 ขั้นตอนไม่ซับซ้อน แต่หากเป็นทีมเซลล์ที่ทำงานแบบออฟไลน์ ขั้นตอนอาจจะมีมากกว่า เช่น การเพิ่มขั้นตอนของการออกไปหาลูกค้าเข้ามาใน Pipeline ของทีม การใช้งานบน Readyplanet จึงเหมาะกับการใช้งานแม้ต้องร่วมกับทีมอื่น ๆ ที่มีระบบการทำงานต่างกัน แต่ก็สามารถทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกันได้
การปรับแต่ง Pipeline ในกรอบสีเหลืองคือหน้ารวม Lead ทั้งหมด เป็นหน้า Inbox ที่ทีมเซลล์ใช้ติดตาม Lead ที่ยัง Active อยู่ ลักษณะส่วนนี้จะคล้ายกับหน้าอีเมล สามารถคลิกเลือกเพื่อดูรายการ Lead อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ ได้แก่ Lead ที่เลิกติดตามแล้ว, Lead ที่ส่งต่อให้ทีมเซลล์คนอื่นดูแลต่อ
หน้าต่างรายการ Lead เพิ่มเติม เมื่อต้องการส่งต่อรายการขายหรือเซลล์ลาออก สามารถนำเซลล์คนอื่นมารับหน้าที่ต่อได้ที และ Lead ที่กรอกข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ในส่วนนี้จะทำให้ทราบว่าต้องมีการติดต่อเพื่ออัปเดตข้อมูลของ Lead เนื่องจากข้อมูลที่เปลี่ยนเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ หากข้อมูลการติดต่อผิดพลาด อาจทำให้บริษัทเสียโอกาสทางการตลาดไปเลยก็ได้
ช่องแชทบน R-CRM นอกจากนี้ R-CRM ยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับห้องแชทของ Facebook และ Line Official Account ได้ด้วย ทำให้พนักงานสามารถพูดคุยกับลูกค้าผ่านแพลตฟอร์ม R-CRM ได้ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องย้ายไปตอบทีละแพลตฟอร์ม
Icon และ Tag แทนรายละเอียด ไอคอนบนการ์ดของ R-CRM บน R-CRM จะมี Icon แทน Lead 3 รูปแบบด้วยกัน เรียงตามภาพด้านจากบนลงมาล่าง ได้แก่ นิติบุคคล, บุคคลทั่วไป และ หน่วยงานราชการ เป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่การกรอกข้อมูล Lead แต่ละคนตามลักษณะแบบนี้จะทำให้การทำงานของทีมเซลล์สะดวกขึ้น เพราะแต่ละรูปแบบมักจะมีการนำเสนอ, การติดตาม, การนัดพูดคุยที่แตกต่างกันออกไป อย่างในกรณีที่เป็นหน่วยงานราชการหรือบริษัท (นิติบุคคล) การนำเสนออาจจะต้องมีไฟล์เอกสารเพิ่มเติมเพื่อให้ทีมงานหน่วยงานหรือบริษัทนั้น ๆ นำไปใช้สำหรับเสนอผู้บริหารได้ ในขณะที่บุคคลทั่วไปอาจไม่จำเป็นต้องมีส่วนนี้ เพราะสามารถพูดคุยและให้ Lead ตัดสินใจเองได้โดยตรงเลย
นอกจาก Icon แล้วยังมีระบบการติด Tag ที่ทำให้ทีมเซลล์เข้าใจข้อมูลของ Lead คนนั้นแบบคร่าว ๆ ได้ในการกวาดตาเพียงครั้งเดียว เช่นการติด Tag: B2B เพื่อทราบลักษณะการซื้อขายระหว่างธุรกิจด้วยกัน และ Referral เพื่อทราบว่า Lead คนนี้มาการบอกต่อของลูกค้าคนอื่น เป็นต้น ในกรณีที่ยังไม่มีการบันทึกข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับ Lead การติด Tag จะทำให้ทีมเซลล์เข้าใจตัว Lead ได้ในระดับหนึ่ง
การนำเข้า Lead สู่แพลตฟอร์ม R-CRM โดยทั่วไปแล้วการนำ Lead เข้าสู่ระบบ CRM จะทำได้หลายทาง วิธีสุดคลาสสิกนอกเหนือจากการกรอก Lead ใหม่ทีละคนบนแพลตฟอร์มเลยก็คือ การวมรายชื่อข้อมูลเป็นไฟล์ Excel หรือ ไฟล์สกุล .csv แล้วนำเข้าในระบบ หากเป็นเซลล์ที่ทำงานแบบออฟไลน์ จะใช้วิธีโดยนำข้อมูลที่จดจากกระดาษมากรอกลงใน Excel แล้วจึงนำเข้าระบบอีกที หรือผ่านฟอร์มบนเว็บไซต์ เมื่อ Lead กรอกเรียบร้อยจะมีอีเมลส่งข้อมูลตามที่กรอก จากนั้นจึงนำมาใส่ใน Excel อีกทีหนึ่ง จะเห็นได้ว่า กว่าจะได้ Lead แต่ละคนมาอยู่บนระบบ CRM นั้นต้องผ่านหลายขั้นตอนมาก ด้วยระบบของ R-CRM สามารถทำได้ง่ายกว่านั้นมาก
ตัวอย่างการใช้งาน API หากใช้ร่วมกับ R-Web เครื่องมือในการสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปหรือ R-Shop เครื่องมือในการสร้างเว็บไซต์ Ecommerce จะสามารถสร้างฟอร์มและดึงข้อมูลเข้าระบบได้โดยตรงทันที ใช้ R-Widget เครื่องมือสร้าง Built-in Chat บนเว็บไซต์ โดยจะสร้างฟอร์มกรอก Lead ขึ้นมาในหน้าแชทนั้น เมื่อมีการกรอกข้อมูลก็จะดึงเข้าสู่ระบบโดยตรงเช่นกัน ใช้ร่วมกับ Social Media อย่าง Facebook และ Line Official โดยจะดึงชื่อ-นามสกุลตามที่ตั้งไว้ รวมถึงเบอร์โทรศัพท์หากมีการเปิดเผย จากนั้นให้ทีมเซลล์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและกรอกลงไปได้ เชื่อมกับ Facebook Lead Forms หรือ Google Ads เมื่อ Lead กรอกข้อมูลสามารถดึงเข้ามาในระบบ R-CRM ได้ทันที นอกจากนี้ ด้วยการเชื่อมต่อกับ Google Ads ทำให้ได้รับข้อมูลเชิงสถิติที่สำคัญมาช่วยในการขายได้อีกด้วย หากใช้เว็บไซต์อื่น ๆ เช่น Wordpress, Webflow, WooCommerce ฯลฯ สามารถใช้การติด API เพื่อเชื่อมต่อได้ และแน่นอนว่าหากต้องการย้ายข้อมูลจากออฟไลน์มา ก็สามารถใช้การนำเข้าไฟล์ .csv ได้เช่นกัน
การ์ดข้อมูล Lead อเนกประสงค์ หน้าต่างจดบันทึก เมื่อคลิกที่รายชื่อ Lead จะเห็นข้อมูลการติดต่อพื้นฐาน ได้แก่ ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล โดยในการ์ดจะบอกรายละเอียดชัดเจนว่าเซลล์คนไหนคือผู้ดูแล (มุมขวาบน) พร้อมกับ Pipeline ที่แสดงว่าตอนนี้กำลังติดต่ออยู่ในขั้นไหน
หากพูดถึงความอเนกประสงค์ การ์ดใบนี้เรียกได้ว่าเก็บครบทุกฟังก์ชันการติดต่อที่สำคัญ โดยเมนูจะอยู่แถบริมซ้าย
เพิ่มบันทึกและส่งอีเมล จะใช้จดบันทึกการติดต่อลูกค้าแต่ละครั้ง เช่น นำเสนอ Product 1 เพื่อช่วยในการจดจำ ทำให้การติดต่อครั้งต่อไป เซลล์ไม่ต้องนึกย้อนว่าครั้งที่แล้วพูดคุยอะไรกับลูกค้าคนนี้ไปบ้าง ทุกอย่างอยู่ในระบบ CRM ไม่ต้องจดผ่านสมุด สามารถดึงข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งผ่านคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน หน้าต่างส่งอีเมลภายใน R-CRM
การปรับแต่งแบบฟอร์มอีเมล การส่งอีเมลใน R-CRM จะดึงอีเมลมาใส่ในช่อง “ส่งถึง” โดยอัตโนมัติ สามารถพิมพ์อีเมล, แนบไฟล์เอกสารต่าง ๆ ลงในนี้และกดส่งได้เลย ไม่จำเป็นต้องผ่านแพลตฟอร์มอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถจัดทำเทมเพลตอีเมลได้อีกด้วย โดย R-CRM จะกำหนดตัวแปรต่าง ๆ มาให้เพื่อใช้ดึงข้อมูลจากการ์ดมาใส่ในอีเมล ลดการพิมพ์เนื่องจากใช้เทมเพลต และลดข้อผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลตกหล่นเองด้วย
แจ้งการเปิดอีเมลของ Lead เมื่อ Lead/ลูกค้า เปิดอ่านอีเมลแล้ว จะมีการแสดงให้เห็นว่าเขาเปิดอ่านเมื่อไรที่ Activity ด้านล่าง (อยู่ในเมนูจดบันทึกและส่งอีเมล) ทำให้เซลล์สามารถติดตามได้ว่าอีเมลถูกส่งและเปิดอ่านจริงหรือไม่ จากหลายกรณีที่บางครั้งส่งอีเมลไป ลูกค้าไม่ได้เช็กอินบ็อกซ์บ้าง, อีเมลตกไปอยู่ในส่วนของ Junk mail บ้าง หรือ หาก Lead เปิดอ่านแล้วแต่ไม่มีการติดต่อกลับมา ทีมเซลล์สามารถติดตามเพื่อเสนอการขายต่อได้ทันทีไม่ให้ขาดตอน
ฟีเจอร์เช็กอินสถานที่ เช็กอิน Location เป็นอีกฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีเซลล์ หรือ AE ที่ต้องออกไปหาลูกค้าข้างนอก และให้เซลล์หรือ AE ทำการ Check-in location ที่ไปว่าไปจริง ๆ โดย location ที่สามารถเลือกและ check-in ได้ก็จะถูกล็อกไว้ภายในรัศมี 1 กิโลเมตรที่อยู่จริง และหัวหน้าฝ่ายขายสามารถติดตามการทำงานหรือจุด Check-in ของเซลล์ในทีมได้ผ่านรายงานใน R-Insights
ตั้งเวลาแจ้งเตือน ฟีเจอร์แจ้งเตือน ฟีเจอร์นี้เหมาะสำหรับเวลาที่รายชื่อ Lead หรือลูกค้า มีจำนวนมาก และมีการติดต่อสม่ำเสมอ ซึ่งทุกครั้งที่มีการติดต่อ รายชื่อของ Lead หรือลูกค้า จะมีการเปลี่ยนแปลงลำดับตลอดเวลา รายชื่อที่มีการติดต่อล่าสุดก็จะอยู่ด้านบนสุด ดังนั้นหากต้องติดต่อครั้งที่ 2 หรือมากกว่านั้น การจะหารายชื่อ Lead แต่ละคนจะต้องพิมพ์ค้นหารายชื่อขึ้นมา การใช้ฟีเจอร์ตั้งเวลาแจ้งเตือนจะทำให้รายชื่อนั้นกลับมาอยู่ด้านบนสุดใน Inbox ของผู้ดูแลอีกครั้งพร้อมเป็นตัวหนา โดดเด่นกว่ารายชื่อทั่วไป
สร้างใบเสนอราคาและใบแจ้งหนี้ ฟีเจอร์สร้างใบเสนอราคา ทีมขายจะต้องทำใบเสนอราคายื่นแก่ลูกค้าเป็นประจำอยู่แล้ว ระบบ R-CRM จึงมีฟีเจอร์สำหรับการสร้างใบเสนอราคาและใบแจ้งหนี้มาให้ในตัว เมื่อกดสร้างจะขึ้นหน้าที่มีเทมเพลตสำเร็จรูปพร้อมช่องกรอก เทมเพลตเอกสารนี้รองรับการใช้งานได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความน่าสนใจของฟีเจอร์นี้ คือ เมื่อเรากดสร้าง ระบบจะดึงข้อมูลที่มีอยู่ของ Lead/ลูกค้า ที่เราจะส่งใบเสนอราคาหรือใบแจ้งหนี้มาไว้ให้โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถปรับแต่งโดยเติมชื่อบริษัท, โลโก้, ที่อยู่บริษัท และข้อมูลอื่น ๆ ที่จำเป็นเองได้ (ช่องสีเทาด้านบนสุด)
การสร้างใบเสนอราคา ในส่วนของสินค้าหรือบริการ เราสามารถเพิ่มรายละเอียดสินค้าไปที่ระบบหลังบ้านได้ ทำให้ดึงข้อมูลสินค้านั้น ๆ เมื่อสร้างใบเสนอราคาได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องกรอกข้อมูล พร้อมคำนวณราคาให้ทันที ไม่ต้องห่วงเรื่องคำนวณพลาด
ระบบจัดการสินค้า หน้ารวมข้อมูล Lead หน้ารวมข้อมูล Lead จะเป็นหน้าเก็บข้อมูลทั้งหมด มีการนำเข้า Lead อย่างไร Lead มาจากแหล่งไหน ส่วนที่พลาดไม่ได้สำหรับสายเก็บ Lead จากโฆษณา คือ Lead Insights จะแสดงข้อมูลเชิงลึกว่า Lead คนนี้มาจากช่องทางไหน ผ่านแคมเปญโฆษณาตัวใด เช่น จาก facebook/cpc จากโฆษณาบน Facebook, website/referral จาก Backlink บนเว็บไซต์อื่น, blog/article จากแบนเนอร์ในบทความ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ทีมเซลล์รู้ว่าลูกค้าแต่ละคนชื่นชอบโปรโมชันแบบไหนจากการคลิกผ่านโฆษณาหรือแบนเนอร์และนำเสนอขายต่อได้ทันที
เก็บข้อมูลไว้ต่อยอดในยุค Data-Driven ปฏิเสธไม่ได้ว่าตอนนี้ข้อมูล คือ สิ่งที่มีค่าที่สุด ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนหากนำมาใช้และคิดกลยุทธ์อย่างถูกต้องก็สามารถแปลงเป็นยอดขายได้ ยกตัวอย่างเช่น Lead Insights ที่เราได้พูดถึงไปเมื่อกี้ แม้จะมีช่องทางเก็บ Lead จากโฆษณาที่บริษัทยิงไปได้ แต่ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนนี้ไว้ ทีมเซลล์ไม่รู้ว่า Lead แต่ละคนให้ความสนใจกับโปรโมชันแบบไหน ทำให้นำเสนอโปรโมชันไม่โดนใจ จากที่จะขายได้ ก็กลับกลายเป็นสูญเปล่าเสียอย่างนั้น
สำหรับใครที่ต้องการตัวช่วยเก็บข้อมูลทำรีพอร์ตดี ๆ ในแพ็กเกจ Premium ของ Readyplanet นอกจากจะได้ R-CRM ไปใช้แล้ว ยังสามารถใช้งานในส่วนของ R-Insight ที่รวมรายงานต่าง ๆ ได้อีกด้วย
รายงาน Sales Pipeline Reports รายงาน Daily Lead Conversions รายงานมีให้เลือกดูได้หลายรูปแบบ เช่น
รายงาน Sales Pipeline Reports รายงาน Daily Lead Activities รายงาน Performance by Users รายงาน Performance by Product รายงาน Lead Insights by Campaign รายงาน Lead Insights by Source / Medium รายงาน Lost Reasons - Top 5 (แสดงเหตุผลที่เลิกติดตาม Lead) รายงาน Lost Reasons Details (แสดงเหตุผลที่เลิกติดตาม Lead) ด้วยรายงานเหล่านี้จะทำให้การทำงานของเซลล์ ข้อมูลการขายต่าง ๆ ถูกจัดเก็บไว้ สามารถนำออกเป็นไฟล์ .csv ก็ได้หรือจะดูผ่าน R-Insight โดยไม่ต้องนำออกก็ได้เช่นกัน ข้อมูลส่วนนี้จะถูกนำมาวิเคราะห์, วัดผล, และเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาการขายของทีมให้ดียิ่งขึ้นไป
จัดเก็บรวบรวมเอกสารให้เป็นหมวดหมู่ เก็บก็ง่าย จะดึงมาใช้ก็คล่อง หน้าต่างจัดการไฟล์เอกสารบนระบบของ Readyplanet Marketing Platform สามารถอัปโหลดข้อมูลขึ้นบนระบบ Readyplanet Marketing Platform ได้ (พื้นที่ที่อัปโหลดได้ขึ้นอยู่แพ็กเกจ) ทำให้การจัดเก็บไฟล์เป็นระบบและสามารถดึงเอกสารมาใช้งานบนแพลตฟอร์มหรือดาวน์โหลดได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแพลตฟอร์มไปมาระหว่างระบบ R-CRM หรือระบบคลาวด์อื่น ๆ
ตัวอย่างฟีเจอร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ ระบบตอกบัตร ระบบตอกบัตร หากเป็นการทำงานที่บริษัทเราอาจจะไม่ได้ใช้ส่วนนี้เท่าไร แต่ตอนนี้ที่สถานการณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ประกอบกับหลาย ๆ บริษัทปรับตัวมาเป็นการทำงานแบบรีโมตแล้ว ระบบนี้ก็น่าหยิบมาใช้งาน เมื่อเราเปิดใช้ จะมีหน้าต่างให้เราติ๊กในการใช้งานครั้งแรกของวัน เป็นการเปิดระบบสำหรับผู้ใช้คนนั้น
แชทเซนเตอร์
ภาพจาก Readyplanet บน R-CRM มีฟีเจอร์ Add-ons ที่ชื่อว่า Chatday ตัวนี้จะรวมแชทจากทั้ง Facebook, LineOA, แชทจาก R-Widget ที่เป็นตัวแชทติดบนหน้าเว็บ มาไว้ในที่เดียวตัวห้องแชทนี้จะอยู่บริเวณมุมซ้ายล่างของหน้า R-CRM ทำให้ทีมไม่ต้องย้ายแพลตฟอร์มไปตอบ ซึ่งตัวแชทนี้เราทีมก็สามารถแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันหรือส่งต่อแชทให้ทีมอื่นได้ด้วย ด้วยความเป็นแชท อีกสิ่งหนึ่งที่แฝงใน Chatday คือ มีฟีเจอร์ Auto-Reply และ Auto-Greeting ในตัว เพื่อให้ลูกค้าสามารถเริ่มคุยกับธุรกิจได้ง่ายขึ้น ลดระยะเวลาการทำงานของทีม ส่วนถ้าจะใช้ Chatbot แบบจริง ๆ สามารถเชื่อมต่อ API กับ ZWIZ.AI ได้
อาจจะเป็นฟีเจอร์ทั่วไป และทั้งหมดนี้รวมกันอยู่ในที่เดียวบน Readyplanet
เริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่
ราคา Readyplanet Marketing Platform สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรี โดยจะเปิดใช้งานได้ 1 User โดยจะใช้ได้ทั้ง R-CRM, R-Shop และ R-Web ในแพ็กเกจฟรีนี้จะมีข้อจำกัดสำหรับ R-CRM คือรับได้ 100 Contacts เท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มใช้งานว่าเหมาะกับการทำงานของทีมไหม สามารถลองใช้งานจากแพ็กเกจนี้
สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 3 คน สามารถซื้อ Additional User ได้ในราคา 4,500 บาท/คน/ปี
ถัดมาจะเป็นแพ็กเกจที่เสียเงิน คือ Premium, Gold และ Platinum ราคาเริ่มต้นที่ 6,500 บาทต่อปี สำหรับ 1 User และ 3 User สำหรับ Platinum
ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาหลัก ๆ ในแพ็กเกจเหล่านี้ คือจำนวน Contacts ที่เยอะขึ้น รองรับ R-insights ที่สรุปเป็นรายงานให้ เก็บ Data การทำงานและข้อมูลของลูกค้าไว้ให้, R-Widget ระบบ API และการเชื่อมต่อกับระบบโฆษณาของ Facebook สำหรับธุรกิจไหนที่มีการเก็บ Lead จาก Facebook Lead Forms แพ็กเกจ Premium เป็นต้นไปน่าจะตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ นี่เท่ากับว่า เริ่มต้นที่เดือนละ 540 กว่าบาทเท่านั้นเอง แต่ได้ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้ไปเลย ไม่ต้องไปหาซอฟต์แวร์ทีละตัวให้เสียเวลา
และสำหรับใครสนใจใช้ R-Dynamic ที่เป็นเครื่องมือสร้างโฆษณาแบบ Dynamic Retargeting จะอยู่ใน Gold ขึ้นไป และ R-Booking ระบบการจองบริการ จะอยู่ใน Platinum
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่
สรุป สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจหรือมองหาระบบ CRM มาเสริมในธุรกิจ เน้นการใช้งานที่ครอบคลุม ใช้งานง่าย ไม่ต้องเรียนรู้เยอะ Readyplanet Marketing Platform เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะได้ระบบ R-CRM มาใช้แล้ว ยังได้ระบบอื่นที่ช่วยในการสร้างเว็บอย่าง R-Web และ R-Shop รวมถึงตัวช่วยในการยิงโฆษณาอย่าง R-Dynamic มาเสริมอีกด้วย
เริ่มต้นใช้งานได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น เบราว์เซอร์ หรือ แอปพลิเคชัน Readyplanet บนสมาร์ทโฟนและแท็ปเลต
ช่องทางอัปเดตซอฟต์แวร์กับ The Growth Master ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น
และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่
Facebook : The Growth Master
Facebook Group : TechTribe Thailand
Blockdit : The Growth Master
Line@ : @thegrowthmaster
===================================
สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ