On-site SEO HACK : ปรับเว็บไซต์ให้ฮิตติดหน้าแรก

On-site SEO HACK : ปรับเว็บไซต์ให้ฮิตติดหน้าแรก
Light
Dark
Eung Rachkorn
Eung Rachkorn

ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และเทคโนโลยี / ClickUp Expert คนแรกของประเทศไทย / เป็นนักการตลาดที่ชอบเขียน และเป็นนักเรียนของทุกเรื่องใหม่ (นักทดลองผิด) 🪐

นักเขียน

เมื่อ Google หาฉันไม่เจอ… ​

บางครั้งเราเขียนบทความที่มีเนื้อหาที่ดีมากเลย มีรายละเอียดและตอบคำถามในเรื่องนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี ดีจนไม่รู้ว่า อะไรคือเหตุผลที่ทำให้บทความของคุณไม่มีใครค้นหา ไม่มีใครคลิกเข้าไปดู

ถ้าคุณกำลังประสบปัญหานี้หรือไม่อยากประสบปัญหานี้

บทความนี้จะช่วยให้คุณปรับแต่งเว็บไซต์ให้เป็นมิตร ถูกใจ Google มากขึ้นได้อย่างรวดเร็วเลยล่ะ!

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

SEO คืออะไร?

ภาพจาก mivvy

จะขออธิบายอย่างง่าย ๆ และรวบรัด

On-page SEO หรือ On-site SEO คือ

การปรับแต่งสิ่งที่อยู่บนเว็บไซต์ของคุณ ตั้งแต่ชื่อบทความจนคอนเทนต์ข้างใน, รูปภาพ, ลิงก์ ไปจนโครงสร้างของเว็บไซต์ที่จะทำให้คนหาคุณเจอผ่าน Google

Off-page SEO หกรือ Off-site SEO คือ

การใช้ปัจจัยภายนอกเข้ามาทำให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่รู้จักและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เช่น เป็นแหล่งอ้างอิงที่มีประโยชน์ให้กับเว็บไซต์อื่นแล้วมีการลิงก์ให้เครดิตกลับมาที่เว็บไซต์เรา หรือ เป็น Backlink นั่นเอง

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SEO คืออะไร ทำ SEO ยังไง คำตอบทั้งหมดของคุณอ่านได้ที่บทความ SEO คืออะไร ? เปิดคัมภีร์ SEO ฉบับอัปเดตปี 2021 อธิบายแบบเข้าใจง่าย จบในบทความเดียว

ก่อนจะ Off-site ให้ปัง ต้องทำ On-site ให้ดังก่อน

ในตอนต้นที่เราได้พูดถึงว่า On-site คืออะไรกันไปแล้วด้วยคำอธิบายรวม ๆ ว่ามันคือการจัดเว็บไซต์ให้ถูกใจ Google จนเขาต้องเอาเราไปติดอันดับใน SEPR (search engine page result) หรือหน้าแสดงผลการค้นหา

และนี่คือ 7 วิธีลัดที่จะช่วยทำให้คุณติดอันดับต้น ๆ ในหน้าแสดงผลการค้นหาได้!!

1. เพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องหรือสื่อถึงบทความของคุณได้

โอกาสที่คนค้นหาจะเลือกพิมพ์คำที่ตรงกับคุณเป๊ะเหมาะเจาะนั้นเป็นไปได้ยากเลยล่ะ ดังนั้นแล้วคุณต้องสร้างโอกาสที่จะทำให้คนหาคุณเจอได้ง่ายขึ้น โดยการใส่คีย์เวิร์ดอื่น ๆ ที่จะสามารถสื่อถึงบทความของคุณลงไป คีย์เวิร์ดอาจจะเป็น synonym ของบทความของคุณก็ได้

เช่น บทความ เปลี่ยนตัวเองใน 5 นาทีด้วย Growth Mindset

คือเรื่องเกี่ยวกับกรอบความคิดหรือที่เราเรียกกันว่า Mindset แบ่งเป็นสองประเภทคือ Fixed Mindset กับ Growth Mindset โดย Growth Mindset หรือกรอบความคิดแบบเติบโต จะมีลักษณะที่กล้าจะพัฒนาตัวเอง ก้าวข้ามตัวเองให้ตัวเองเป็นคนที่ดีและเก่งขึ้นในทุก ๆ วัน

จะเห็นได้ว่าคำที่ถูกทำตัวหนาไว้ เป็นคำที่สื่อถึงบทความได้ คำทั้งหมดนี้สามารถใช้เป็นคีย์เวิร์ดที่จะสื่อถึงบทความของคุณได้ทั้งหมดเลย

ควรพูดถึงคีย์เวิร์ดเหล่านี้อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

1. หัวข้อหรือ Title : จะช่วยเพิ่มยอดคลิกให้กับคุณ

เมื่อมีคนค้นหาคำที่ตรงหรือใกล้เคียงกับคีย์เวิร์ด แล้วเจอคำนั้นบนหัวข้อหรือชื่อเว็บไซต์ของคุณเลย จะทำให้เขาเชื่อว่าเว็บฯนี้มีน่าจะมีสิ่งที่เขาต้องการอยู่นั่นเอง

สมมติคุณเขียนบทความ How to สักอย่าง ถ้าคุณเป็นคนค้นหาจะใช้คำแบบไหน?

อาจจะเป็นตัวอย่างคำที่น่าเบื่อไปสักหน่อย แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยใช่มั้ยล่ะ ว่าเมื่อคุณมีสิ่งที่สงสัย หลาย ๆ ครั้งคำถามของคุณก็ไม่ได้หลุดไปจากคำพวกนี้เลย

คำที่ใช้ค้นหายอดนิยม “Tips”, “How to”, “Review”, “Best 2019”, “Guide”, “ทิป”, “ทำยังไงให้…”, “วิธี”, “เทรนด์”, “ไกด์”

2. เนื้อหา : ใส่คีย์เวิร์ดในตัวเนื้อหา แต่อย่ามากกว่า 5 ครั้ง

การใส่คีย์เวิร์ดเข้าไป เหมือนเป็นการเน้นย้ำในตัวบทความเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ทำให้ Google เจอบทความของคุณได้ง่ายมากขึ้น แต่อะไรที่มากเกินไปก็ไม่ดี เพราะมันจะถูกลดความสำคัญลง นอกจากนี้แล้วยังทำให้การอ่านบทความหรือการอยู่บนเว็บไซต์ของคุณน่าเบื่อด้วย

ลองนึกภาพของคนที่ชอบพูดอะไรซ้ำ ๆ จบคำเดิมไม่ทันไร อ่าว พูดเรื่องเดิมอีกแล้ว… นั่นแหละค่ะ

3. URL : ทำให้เว็บไซต์ของคุณแสดงขึ้นแม้ว่าคำจะไม่ได้ตรงกับหัวข้อ

ที่ต้องระวังอีกอย่างคือ อย่าทำให้ URL ของคุณอ่านยากดูรกรุงรัง เช่น

https://thegrowthmaster.com/article/uFA455q24e#5% แบบนี้จะดูยากและไม่สื่อความอะไร คือไม่ได้มีส่วนช่วยคุณเลย แต่ถ้าคุณลองแก้ไขมันสักหน่อย เป็น https://thegrowthmaster.com/blog/7-quick-hack-on-site-seo

การปรับแต่ง URL เพียงเล็กน้อยก็มีส่วนช่วยให้คนหาคุณเจอได้แล้ว ดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นอีกด้วยล่ะ

4. Meta description : หัวข้อไม่บอกชัด แต่เนื้อหาบอกใช่

คำอธิบายที่เป็นส่วนสีดำของเว็บไซต์หรือบทความนั้น คำไหนที่เป็นคีย์เวิร์ดจะถูกทำให้เป็นตัวหนาเด่นชัดจากข้อความบริบท

ในหัวข้ออาจจะไม่ได้มีคำนี้ (อย่างในผลการค้นหาอันดับที่สอง) แต่เมื่อคุณค้นด้วยคีย์เวิร์ดที่มีอยู่ในเว็บไซต์ ตัวเว็บฯก็จะถูกค้นเจอด้วยเช่นกัน

การใส่คีย์เวิร์ดใน Meta description จึงมีความสำคัญไปไม่น้อยกว่า 3 ตำแหน่งก่อนหน้าเลย

พยายามกระจายคีย์เวิร์ดให้อยู่ในหลาย ๆ จุด ใช้คำอย่างหลากหลายเพื่อให้ผลการค้นหาครอบคลุมเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น

2. แทรก Internal links

พยายามใส่ Internal links 2-3 ลิงก์ในแต่ละบทความของคุณ จะช่วยพัฒนาภาพรวม SEO ของเว็บไซต์คุณได้ อย่างเช่น การใส่ลิงก์เกี่ยวกับแนะนำบทความที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นบทความที่เขียนโดยเว็บไซต์ของคุณ เมื่อค้นเจอบทความของคุณแล้ว ก็มีโอกาสที่จะเจอบทความที่เกี่ยวข้องเช่นกัน

ภาพจาก topdesignmag

นอกจากนั้นแล้ว เมื่อบทความที่เกี่ยวข้องนั้นถูกพูดถึง (โดยการแนบลิงก์) จะทำให้ Google มองว่าบทความนั้นมีความน่าเชื่อถือเพิ่มมากขึ้น

3. External links มีถิ่นอ้างอิงให้เชื่อถือ

ถ้าคุณใส่ลิงก์อ้างอิงไปยังเว็บไซต์อื่น Google จะมองเห็นความเชื่อมโยงระหว่างเว็บไซต์ของคุณและเว็บไซต์ที่คุณอ้างถึง

การเชื่อมโยงนี้ ทำให้ Google เข้าใจถึงเว็บไซต์และบทความของคุณมากขึ้น เมื่อมีการอ้างอิงถึงเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ คุณก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

ในทางกลับกัน ถ้าคุณใส่ลิงก์อะไรที่เป็นขยะ สแปมต่าง ๆ ก็จะลดความน่าเชื่อถือของคุณลง

การเขียนบทความ เราไม่สามารถใส่ทุกอย่างลงไปได้ทั้งหมด การแทรก External links ทำให้เขาสามารถเลือกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมในจุดนี้ได้ โดยที่คุณไม่ต้องยกทุกอย่างเข้ามาใส่จนมันเต็มหน้าไปหมด

หากคุณยังไม่ค่อยเข้าใจว่า External links คืออะไร Contentshifu เพื่อนบ้านของเราก็ได้เขียนเรื่องนี้เอาไว้ให้เข้าใจได้ง่ายเลยทีเดียว

นอกจากนี้ยังทำให้เว็บฯต้นทางรับรู้ว่าคุณกำลังพูดถึงเขาอยู่ ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน และนั่นก็เป็นอีกหนึ่งทางช่วยกระจายเว็บไซต์ของคุณออกไป

4. Meta description ไม่ควรยาวกว่า 160 ตัวอักษร

ภาพจาก digitaloptima

อย่างที่คุณเห็นตัวอย่าง Meta description ไปในข้อ 1 ว่าจะเป็นส่วนที่เป็นสีดำความ 2-4 บรรทัดเท่านั้น ถ้าคุณใส่ Meta description ที่ยาวเกินไป คำบางส่วนจะถูกตัดลง ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในใจความที่สำคัญก็ได้

จะดีกว่าไหม ถ้าคุณเลือกใจความสำคัญที่สื่อสารได้โดยที่มีขนาดพอดีกับพื้นที่ตรงนั้น

ถ้าหากว่าคุณไม่ใส่ Meta description ลงไป Google จะสุ่มเลือกเนื้อหาขึ้นมาให้กับคุณเอง หรือในกรณีที่แย่ที่สุดคือ ผลการค้นหาของคุณอาจจะขึ้นแต่หัวข้อ แต่ไม่มีคำอธิบายด้านล่าง

นี่เป็นพื้นที่ให้คุณได้โปรโมทตัวเองอย่างเต็มที่ ดังนั้นอย่าปล่อยผ่านไปเชียวล่ะ!

5. Headline ได้ใจความใน 70 ตัวอักษร

Headline คือ หัวเรื่อง เป็นสิ่งที่จะบอกชัดว่าคุณกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ได้เล่าไส้ในทั้งหมด

เพราะ ถ้าคุณเล่าไปหมดแล้ว เขาจะรู้สึกว่า รู้แล้ว พอแล้ว และตัดจบ ไม่คลิกเข้าไปอ่านข้างใน ตรงกันข้าม ถ้าพูดให้เขาสงสัยหรือตรงกับคำถามในใจของเขา จะทำให้เขาอยากเข้าไปดูมากขึ้น

“Get the most of the story inside the headline but leave just enough so people will want to click.” – Brian Moylan  

ทั้งหมดนั้น อยู่ที่คุณดีไซน์ Headline ของคุณ

6. Alt Text จะไม่ปล่อยให้ภาพเป็นแค่ของประดับเว็บฯ

นอกจากการค้นหาคีย์เวิร์ดที่จะขึ้นบน Title, URL, Meta Description, Content Body แล้ว รูปภาพยังมีความสำคัญจนคุณต้องไฮไลท์ไว้เลยล่ะ

ถ้าพูดให้เห็นชัดเจนขึ้นอีกสักหน่อย
เหมือนเวลาที่คุณค้นหาอะไรบางอย่างบน Google ที่เป็นรูปภาพ ทำไมภาพเหล่านั้นถึงขึ้นมา และตรงกับสิ่งที่คุณต้องการค้นหา?

Search Engine อย่าง Google จะมีวิธีคัดเลือกบทความที่น่าเชื่อถือให้ติดอันดับหน้าแรก ๆ หนึ่งในนั้นคือ การมีรูปภาพอยู่ในเว็บไซต์หรือบทความ

ภาพเองก็เป็นคีย์เวิร์ดได้ไม่ต่างจากรูปเลย ซึ่งคุณสามารถปรับให้ภาพนั้นเป็นคีย์เวิร์ดได้โดยใส่ Alt Text เข้าไป เมื่อค้นหาด้วยคำที่ตรงกันก็จะมีภาพนั้นขึ้นมา

แล้วมันช่วยคุณได้ยังไง?

เพราะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะค้นหาเป็นข้อความ บางคนก็เลือกที่จะค้นหาเป็นรูปแล้วค่อยเลือกเข้าบทความ การใส่ Alt Text จะทำให้รูปของคุณไม่เป็นแค่ของประดับเว็บไซต์ แต่ใช้เป็นเส้นทางที่จะนำให้คนเข้ามาถึงบ้านของคุณได้!

มากกว่านั้นคือ รูปภาพ ช่วยดึงดูดความสนใจ ทำให้คนอ่านไม่เบื่อและเป็นจุดพักสายตาระหว่างอ่านอะไรยาว ๆ ได้ด้วย

7. เนื้อหาละเอียดเพิ่มอีกนิด ยื้อคนอ่านให้ใกล้ชิดกับเรา

เขียนดีอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่คุณต้องเขียนให้อ่านเข้าใจได้ดีด้วย และต้องอ่านง่ายไม่ว่าเขาจะอ่านผ่านอุปกรณ์อะไรก็ตาม

เราได้เคลื่อนย้ายตัวเองเข้าสู่ยุคที่เป็น Multi-screen มานานพอสมควร ดังนั้นแล้ว คนอ่านอาจจะใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็ปเล็ตในการเข้าชมเว็บไซต์ของคุณก็ได้

อ่านเพิ่มเติมที่บทความ 7 วิธีเพิ่มยอดคลิกให้พุ่ง ด้วยการเปลี่ยนเว็บไซต์จากน่าเบื่อให้น่าใช้

หน้าเว็บฯที่อ่านง่าย สวยงาม ดึงดูดใจ มักจะเป็นที่รักของคนอ่าน เรียกได้ว่าเป็นเคล็ดลับหนึ่งที่ดึงให้คนอยู่ในเว็บไซต์ของคุณได้นานมากยิ่งขึ้น และ…

Google ถูกใจสิ่งนี้

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม Google แนะนำว่า ถ้าเขียนบทความในภาษาอังกฤษ ควรจะเขียนจำนวน 3,000 คำเป็นอย่างน้อย
ถ้าเป็นภาษาไทย Google ยังไม่มีสถิติในเรื่องนี้ เราขอแนะนำให้คุณเขียนอย่างน้อย 1,500 คำ

เนื้อหามีประโยชน์ต่อคนอ่าน = ต้องการอ่านต่อ = ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์มากขึ้น

เมื่อ Google วิเคราะห์แล้วว่าคนเข้ามาอ่านจริง ใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณ จะส่งผลให้ SEO โดยรวมของเว็บไซต์ดียิ่งขึ้นด้วย

แนะนำเครื่องมือที่ช่วยบอกคุณว่าคนใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์เท่าไหร่ : Google analytics

Google Analytic จะช่วยบอกคุณว่า Social Network ไหนที่สร้าง ธraffic บนเว็บไซต์ของคุณมากที่สุด และบอกด้วยว่าคนใช้เวลาอยู่บนเว็บไซต์ของคุณนานเท่าไหร่

พร้อมจะฮิตติดหน้าแรก

ลองปรับแต่งเว็บไซต์ของคุณตาม 7 ขั้นตอนนี้กันเลย ถ้าคุณมีข้อสงสัยอะไร สามารถ Inbox เข้ามาสอบถามเราได้เสมอ แล้วอย่าลืมเล่าสู่กันฟังว่า On-site SEO ของคุณได้ผลเป็นยังไงบ้าง เรารอฟังข่าวดีจากคุณอยู่ :>

เอาล่ะ! คุณพร้อมที่จะทะยานขึ้นสู่หน้าแรกของ Google หรือยัง?


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe