CRO Hack ตอนที่ 4 : ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดยืนยันการสั่งซื้อ

CRO Hack ตอนที่ 4 : ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดยืนยันการสั่งซื้อ
Light
Dark
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน

คุณกำลังสบปัญหาลูกค้าเทตะกร้าซื้อสินค้าของคุณอยู่หรือไม่? รู้หรือไม่ว่าลูกค้า 68.5% กดเพิ่มสินค้าเข้าตะกร้าแล้วแต่ไม่กดยืนยันการซื้อ มาหาวิธีลดปัญหาเพื่อเพิ่มยอดขายแล้วส่งตะกร้าของลูกค้าไปถึงจุด checkout กันได้ที่นี่!


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

HACK #1 Trust Symbol

Trust Symbol คือ สัญลักษณ์ที่ใช้เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่าสินค้าของเรานั้นมีคุณภาพ น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ การใช้ Trust Symbol นั้นควรใช้เป็นรูปสัญลักษณ์เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นและเข้าใจได้ง่าย ยกตัวอย่างการใช้ Trust Symbol เช่น สัญลักษณ์ทางด้านขวาของภาพตัวอย่างด้านล่าง ใช้เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในระบบการชำระเงินของคุณ

ภาพจาก www.tourismcambodia.com

ตำแหน่งที่ดีที่สุดในการแสดง Trust Symbol คือหน้าเว็บไซต์ยืนยันการสั่งซื้อสินค้า เพื่อยืนยันความมั่นใจให้ในการสั่งซื้อสินค้าให้กับลูกค้า ในแฮกข้อนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ Trust Symbol ประเภทต่างๆ พร้อมกับตัวอย่างที่สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในเว็บไซต์ของคุณ!

Trust Symbol 9 ประเภท สัญลักษณ์เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า

1. Security Symbol รับรองความปลอดภัย

รับรองความปลอดภัยของลูกค้าว่าเว็บไซต์ของคุณไม่ใช่มิจฉาชีพ โอนเงินได้จริง โดยคุณสามารถรับ verified badge ได้จากบุคคลที่สามผู้ให้การบริการตรวจสอบโดยเฉพาะ

ยกตัวอย่างเช่น

ภาพจาก cdn2.tychesoftwares.com

2. Customer Logo รับรองโดยลูกค้าคนสำคัญ

หากคุณเป็นผู้ให้บริการลูกค้ารายใหญ่ บริษัทที่มีชื่อเสียง หรือบริษัทที่เป็นที่รู้จักในแวดวงของคุณ การเพิ่มโลโก้ของลูกค้าเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับคุณมากยิ่งขึ้น

3. Testimonial รับรองโดยลูกค้าส่วนใหญ่

คุณสามารถนำเสนอว่าลูกค้าส่วนใหญ่พึงพอใจในสินค้าด้วยการใส่สัญลักษณ์ เช่น รับประกันความพึงพอใจ, 99% ของลูกค้าพึงพอใจ หรือคุณอาจแสดงจำนวนของผู้ที่ซื้อสินค้าเพื่อเป็นการรับประกันความน่าเชื่อถือของสินค้าให้มากยิ่งขึ้น

4. Award Badge รับรองด้วยรางวัล

หากผลิตภัณฑ์หรือบริษัทของคุณเคยได้รับรางวัลมาก่อน นี่เป็นโอกาสอันดีที่คุณจะเน้นย้ำกันอีกสักครั้งก่อนปิดการขาย เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าและลดความลังเลที่จะกดยืนยันการสั่งซื้อได้มากยิ่งขึ้น!

5. Membership Badge รับรองว่าเป็นสมาชิก

คุณสามารถเพิ่มสัญลักษณ์ของขององค์กรที่คุณเป็นสมาชิก หากองค์กรนั้นสามารถช่วยเพิ่มความเชื่อถือให้คุณได้ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทในเครืออาจใช้โลโก้ของบริษัทแม่ของตัวเอง

6. Certification Badge รับรองด้วยการรับรอง

หากสินค้าของคุณได้ผ่านการรับรองใดๆ มา ตำแหน่ง checkout สินค้าเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุดที่คุณจะสามารถแสดงการรับรองนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น การรับรองมาตรฐาน ISO

ภาพจาก besustainconsult.com

7. Transparent Policy รับรองนโยบาย

คุณสามารถนำนโยบายที่เป็นจุดเด่นหรือนโยบายที่คุณเล็งเห็นว่าจะช่วยอุดช่องโหว่เรื่องความไว้วางใจของลูกค้ามาทำเป็น Trust Symbol แทนการรับรองนโยบายของคุณได้ ตัวอย่างเช่น รับประกันคุณภาพสินค้า, รับประกันสินค้าใน 1 ปี, เปลี่ยนสินค้าได้ภายใน 30 วัน

8. Free Trial รับรองการทดลองใช้ฟรี

ในกรณีที่ลูกค้าอยู่ในขั้นตอนการทดลองใช้หรือแจกสินค้าฟรี ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่คุณควรแสดงโลโก้หรือปุ่ม Free Trial เพื่อเน้นย้ำถึงการใช้ฟรีอีกครั้ง เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าในขั้นตอนนี้ลูกค้าจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

9. Press Mention รับรองโดยสื่อ

หากสินค้าของคุณเคยออกรายการทีวี รายการยูทูป รายการวิทยุ บทความ หรือไม่ว่าจะเป็นสื่อรูปแบบไหน คุณสามารถนำโลโก้ของสื่อนั้นๆ มาช่วยรับรองสินค้าของคุณได้เช่นกัน

ไม่จำเป็นต้องได้สัญลักษณ์จากที่ไหนมาเสมอไป คุณสามารถออกแบบ Trust Symbol เพื่อใช้ในหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ด้วยตัวเอง เปลี่ยนแปลงหรือปรับแต่งได้แล้วแต่การใช้งานของคุณ

ยกตัวอย่างเช่น Trust Symbol ประเภท Transparent Policy ใช้เพื่อรับรองการคืนเงินภายใน 90 วัน

มาถึงตรงนี้คุณคงเข้าใจคอนเสปต์ของการใช้ Trust Symbol กันดีแล้ว อย่าลืมว่าหัวใจของการใช้ Trust Symbol คือการเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ปิดช่องโหว่ในสิ่งที่ลูกค้าไม่ไว้วางใจ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณ ปรับสไตล์ให้เข้ากัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า

HACK #2 มีคูปองไหม?

หลังจากเลือกซื้อสินค้าเสร็จแล้ว หน้าตาเว็บไซต์ตอน checkout ของคุณเป็นแบบนี้หรือไม่?

ภาพจาก d1ic4altzx8ueg.cloudfront.net

มาลองสวมหมวกสมมติว่าตัวคุณเองเป็นลูกค้ากันดีกว่า หลังจากช็อปปิ้งเลือกของเข้าตะกร้าสินค้าจนมาถึงจุด checkout กันแล้ว ระหว่างที่คุณกำลังตรวจสอบรายการสินค้าก่อนที่จะยืนยันการชำระเงิน หากคุณเป็นลูกค้าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้เปลี่ยนใจจนทิ้งตะกร้าสินค้ากลางคัน?

คำตอบก็คือ ช่องกรอกรหัสคูปอง นั่นเอง!

สถานการณ์สมมติ: ก่อนหน้านี้ไม่ได้นึกถึงคูปองเลย เสียดายจังที่ไม่มีคูปองอยู่เลยตอนนี้ ไว้มีคูปองเมื่อไหร่แล้วค่อยมาซื้อละกัน /จากไปอย่างไร้เยื่อใย ~ ~

ถึงแม้ลูกค้าจะไม่มีคูปองมาก่อน แต่การเห็นช่องคูปองที่ไม่ได้ถูกกรอกนั้นก็สามารถทำให้ลูกค้าเกิด Pain of paying (หรือความเสียดายที่ไม่มีคูปอง) จนสามารถทิ้งตะกร้าไปได้

แน่นอนว่าคุณไม่สามารถนำช่องกรอกรหัสคูปองออกไปได้ แต่สิ่งที่คุณทำได้ในขั้นตอนนี้ก็คือการลดความเด่นของช่องคูปองให้เด่นน้อยลง ปิดช่องกรอกคูปองที่ว่างเปล่าแล้วเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นที่สามารถช่วยลด Pain of paying ของลูกค้าลงได้

โดยคุณสามารถเปลี่ยนจากช่องกรอกคูปองที่ว่างเปล่าเป็นคำพูดเพื่อให้คลิกแล้วกล่องกรอกรหัสคูปองจะปรากฏขึ้น อาจใช้คำว่า “คุณมีคูปองหรือไม่?” หรือ “กรอกรหัสคูปองได้ที่นี่” เป็นต้น

HACK #3 ปิดทางออก

ต่อจากแฮกในข้อที่แล้วที่เราพยายามลด Pain of paying ของลูกค้าโดยการปิดช่องโหว่ไม่ให้ลูกค้าหนีไปที่อื่นเสียก่อน แฮกข้อนี้เราขอเสนอคอนเซปต์เรื่องเดิมมาต่อยอดโดยการปิดทางออกไม่ให้ลูกค้าหนีหายไปไหน!

โดยปกติแล้วคนเรามีนิสัยทำอะไรต้องทำให้เสร็จอยู่แล้ว การช็อปปิ้งก็เช่นเดียวกัน

กว่าลูกค้าจะเข้าเว็บไซต์ กดสมัครสมาชิก กรอกรหัส เลือกสินค้า จนมาถึงหน้า checkout ชำระเงินในขั้นตอนสุดท้ายแล้ว หากไม่มีปัจจัยอะไรรบกวนจนทำให้ไขว้เขวไปที่อื่นหรือแค่เพียงอยากมากดช็อปปิ้งเพิ่มสินค้าในตะกร้าเล่นๆ ลูกค้าก็คงไม่อยากเทตะกร้าที่ตัวเองเลือกมาหรอก จริงไหม?

“Your landing pages aren’t Wikipedia. Stop adding unnecessary links.” – Oli Gardner

สิ่งที่คุณทำได้ในขั้นตอนนี้คือช่วยลดปัจจัยที่จะทำให้ลูกค้าหนีไปที่อื่น โดยการปิดทางออกทางอื่นๆ และเสนอทางออกทางเดียวที่เราต้องการให้ลูกค้าทำ ซึ่งก็คือการชำระเงินนั่นเอง

แล้วถ้าลูกค้าทิ้งตะกร้าไปแล้ว ควรทำอย่างไร? แฮกอีกข้อที่เราอยากให้คุณรู้กับวิธีง้อลูกค้าที่เทตะกร้าให้กลับมาที่จุด checkout Retargeting (Part 1) : ตามติดกลุ่มเป้าหมาย ยิง Ads ให้ยอดขายพุ่งกระฉูด

อ่าน CRO Hack the series กลยุทธ์ปรับเพื่อเพิ่มยอด ทั้ง 4 ตอนได้ที่นี่
  1. ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดคลิก
  2. ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดสมัครสมาชิก
  3. ทำอย่างไรให้ลูกค้าเพิ่มสินค้าเข้าตระกร้า
  4. ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดยืนยันการซื้อ

ก่อนจากกัน

หัวใจของหน้าต่าง checkout ของเว็บไซต์ที่ดีต้องเป็นหน้าเว็บไซต์ที่เน้นไปที่เป้าหมายหลักของขั้นตอนนี้หรือการนำไปสู่การกดยืนยันการสั่งซื้อหรือชำระเงินนั่นเอง CRO Hack ตอนที่ 4 ได้เสนอวิธีการเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า ลด Pain of paying และปิดทางออกอื่นๆ เพื่อเสนอทางออกเดียวที่เราต้องการ รู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องนำไปทดลองใช้จริงด้วย เริ่มเลยตอนนี้!

แล้วมาพบกับ CRO Hack ตอนต่อไป พร้อมกับเทคนิคเด็ดๆ ที่เรารวบรวมให้คุณไว้ที่นี่กับ The Growth Master

จนกว่าจะพบกันใหม่ (-:

แหล่งอ้างอิง: www.searchenginepeople.com




ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe