ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะบอกว่า ‘เด็กรุ่นใหม่ไม่ค่อยอดทนเลย ทำงานไม่นานก็ลาออกแล้ว’ ซึ่งการลาออกนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมาก ๆ ของการทำงานในทุกที่ และเป็นสิทธิที่พนักงานทุกคนมีติดตัว และสามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งเล็กหรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม
แต่การลาออกนั้นส่วนใหญ่ก็มักจะมีปัญหาตามมาคือในเรื่องของ ‘เหตุผล’ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัว หรือเหตุผลที่มาจากองค์กรเองก็ตาม ซึ่งบางครั้งมันก็ดูสมเหตุสมผล แต่หลายครั้งก็อาจจะไม่ใช่เลย ในบทความนี้เราจึงได้รวบรวม 5 เหตุผลยอดฮิตที่พนักงานมักจะใช้ลาออกกัน มาดูดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
เงินเดือนน้อย ต้องการขอปรับเงินเดือนขึ้น
เงินเดือนเป็นปัจจัยหลักสำหรับบางคนที่จะเป็นตัวตัดสินว่าจะอยู่ต่อหรือจะลาออก หากปัจจุบันลองไปอ่านกระทู้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ หรือประสบการณ์การลาออกในโซเชียลมีเดีย หลายคนมักจะออกมาแชร์ไปในทิศทางเดียวกันว่า ‘การย้ายงานเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เงินเดือนเพิ่มได้เร็วที่สุด และหลายครั้งมักจะได้เยอะกว่าที่เดิมมาก ๆ’
ถ้าเกิดมีพนักงานมาลาออกด้วยเหตุผลที่ว่าเงินเดือนของเขาน้อยเกินไป เราอยากให้คุณและเขาลองเปิดใจคุยกันก่อนว่า เงินเดือนที่เขาได้รับมันเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมกันอย่างไรบ้าง แต่ถ้าเขาบอกว่างานเยอะขึ้น แล้วเขาสามารถสร้างอิมแพ็คให้กับบริษัทได้จริง แต่ก็ยังคงได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การเพิ่มเงินเดือนให้กับเขาก็เลยเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วที่ควรจะทำ และถูกกว่าการจ้างคนใหม่เข้ามาทำงานโดยที่ไม่รู้ว่าเขาเก่งจริงหรือเปล่าอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สำหรับพนักงานบางคน เราก็ต้องดูด้วยว่า เขาเป็นคนประเภท Money Driven มากกว่า Growth Driven หรือเปล่า ถ้าเป็นคนประเภท Money Driven แล้วมีบริษัทอื่นมายื่นข้อเสนอที่ดีกว่า เขาก็อาจไปจากเราอยู่ดี
บริษัทลดโบนัส
บางครั้งในช่วงแรก ๆ ที่เข้ามาทำงาน บริษัทมีการแจกโบนัสดีอย่างต่อเนื่อง แต่ช่วงหลัง ๆ บางบริษัทก็อาจจะมีการลดโบนัสลง หรือไม่มีโบนัสให้ก็อาจทำให้พนักงานไม่อยากทำงานอยู่ที่บริษัทนั้นอีกแล้ว จริง ๆ ในมุมบริษัท โบนัสอาจจะเป็นจำนวนเงินที่น้อยมาก ๆ แต่สำหรับพนักงานบางคน มันเป็นจำนวนเงินที่มหาศาลมากที่ทำให้เขาสามารถนำเงินไปต่อยอดลงทุน ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และแบ่งเบาภาระครอบครัวได้แบบสบาย ๆ เลย
ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้ทุกบริษัทมีการจ่ายโบนัสพนักงาน (ไม่จำเป็นต้องออกมาในรูปแบบเงิน) เพราะโบนัสนี่แหละที่จะเข้ามาเป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้พนักงานรู้สึกอยากทำงานให้ออกมาดีอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่แค่ทำงานให้เสร็จตามเวลาก็พอ แต่งานจะต้องออกมาดี มีคุณภาพ สามารถสร้างอิมแพ็ค และผลประกอบการให้กับบริษัทได้อีกด้วย (ผลประกอบการดีก็จะสะท้อนกลับมาเป็นโบนัสให้พนักงานเอง)
โดยวิธีที่เราอยากจะแนะนำ เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับโบนัสง่าย ๆ คือ การลองสร้างชาเลนจ์จูงใจให้พนักงานทำงานได้ตามเป้าหมาย เช่น ตั้ง Mission ว่าให้พนักงานสร้างคอนเทนต์ที่สร้างยอดขายได้ 100 ยอดขาย จากนั้นก็แจกเป็นเครดิตสะสมแต้มไปเรื่อย ๆ เพื่อนำไปแลกรับโบนัสตอนปลายปี ซึ่งการทำแบบนี้ นอกจากจะเป็นการสร้างความท้าทายให้กับพนักงานแล้ว ยังเป็นการเพิ่มยอดผลประกอบการและกำไรให้บริษัทไปในตัวด้วย
หมด Passion / Burnout ไม่อยากทำงานแล้ว
หลายคนทำงานที่เดิมมานานก็อาจกำลังรู้สึกว่าทำแต่งานซ้ำ ๆ เดิม ๆ ทุกวัน โดยที่ไม่มีอะไรใหม่ ๆ มาท้าทาย หรือไม่รู้สึกว่าตัวเองเติบโตในสายงานนั้นแล้ว ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เขารู้สึกหมด Passion หรือ Burnout จนอยากรู้สึกลาออกได้ ซึ่งถ้าหากพนักงานกำลังรู้สึกแบบนี้ บริษัทควรต้องหาทางแก้ไขโดยด่วน
ให้ลองสังเกตว่าพนักงานคนนั้นมีอาการที่แสดงออกถึงความเครียด หมดพลัง หรือคิดอะไรใหม่ ๆ ไม่ออกแล้วหรือไม่ ถ้าเกิดว่าเป็นแบบนั้นอาจจะให้ Team Lead ลองเรียกพนักงานคนนั้นมาพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา ลองวาง Career Path ให้กับเขา สนับสนุนในสิ่งที่เขาอยากทำ ให้ลองทำชาเลนจ์อะไรใหม่ ๆ ที่หลากหลาย โดยเฉพาะการลงลึกในสายงานของตัวเองมากกว่าพื้นฐานทั่วไป เมื่อทำแบบนั้นพนักงานก็จะรู้สึกไม่เบื่อและรู้สึกว่ามันมีสิ่งที่ท้าทายเขารออยู่ การเป็นคนที่เก่งแบบเฉพาะทางจริง ๆ มันก็ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
นอกจากนั้น การชื่นชมให้กำลังใจเขาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเติมไฟให้เขาได้อีกหนึ่งวิธี ถ้าเขาทำงานได้ดี ก็ควรจะชมบ้าง ไม่จำเป็นต้องวางฟอร์มจัด เพราะนั่นจะยิ่งทำให้พนักงานรู้สึกว่าเขาทำงานได้ไม่ดีพอหรือเปล่า หากเป็นแบบนั้นนาน ๆ เข้า เขาก็จะรู้สึกหมดไฟในที่สุดนั่นเอง
แต่จริง ๆ บางครั้งคนที่รู้สึกกำลังหมดไฟในการทำงาน เขาก็อาจจะไม่รู้ตัวเองก็ได้ว่าที่ผ่านมาเขาทำอะไรมาบ้าง แล้วสร้างอิมแพ็คให้กับบริษัทมาแค่ไหนแล้ว ถ้าหากบริษัทมีตัวช่วยที่ทำให้เห็นว่าเขาก็ทำงานได้ออกมาดีมาก ๆ เขาก็อาจจะไม่รู้สึกแบบนั้นก็ได้
ชอบการทำงานแบบ Remote Working มากกว่าเข้าออฟฟิศ
ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมาที่มีเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ครั้งใหญ่ก็ทำให้หลายบริษัทมีนโยบายให้พนักงานทำงานแบบ Remote Working หรือทำงานจากที่บ้านได้ แต่เมื่อเหตุการณ์เริ่มกลับมาดีขึ้น บางบริษัทก็เรียกให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิศแบบ 100% ด้วยเหตุนี้จึงทำให้พนักงานหลายคนไม่อยากกลับไปทำงานแบบนั้นอีกแล้ว จนบางคนตัดสินใจลาออกไปเลยก็มี
สำหรับวิธีแก้ไขก็คือ บริษัทควรมีนโยบายการทำงานแบบ Hybrid หรือแบบผสมระหว่างการ Remote Working และการเข้าออฟฟิศ เช่น เข้าบริษัท 3 วัน และ Remote Working 2 วัน แต่ก่อนอื่นบริษัทก็จำเป็นต้องมีการวางระบบที่ดีก่อน ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างถูกต้องเหมาะกับการทำงานแต่ละอย่าง ซึ่งการทำงานแบบ Hybrid นอกจากจะช่วยตอบสนองความต้องการของพนักงาน, ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางแล้วยังช่วยรักษาบรรยากาศที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานไม่ให้ห่างเหินกันเกินไปอีกด้วย
Tip: ถ้าหากกังวลในเรื่องความสัมพันธ์ของทีม บริษัทก็สามารถจัด Company Night นัดให้พนักงานออกมาเจอกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินข้าว หรือไปเล่นกีฬาร่วมกันได้ เพื่อเป็นการอุดช่องว่างของความสัมพันธ์ของพนักงานได้ส่วนหนึ่ง
ไม่มี Work-Life Balance ที่ดี
แน่นอนว่าพอนอกเวลางานแล้วทุกคนอยากมีเวลาเป็นของตัวเอง เพื่อไปใช้ชีวิตส่วนตัว ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ พักผ่อน หรือหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนอื่น ๆ มากขึ้น Work-Life Balance จึงเป็นสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่ต้องการ
บริษัทจึงควรมีการคำนึงถึง Work-Life Balance ของพนักงานแต่ละคนไว้ด้วย อย่างการมี Task Management ที่ดี เพราะถ้าหากบริษัทมีการจัดการที่ไม่ดี เช่น พนักงานคนหนึ่งสามารถทำงานได้มากสุด 3 งานต่อสัปดาห์ แต่จัด Task มาให้เขาทำ 5 งาน พนักงานคนนั้นก็อาจจะโฟกัสและทำงานที่ได้รับมอบหมายมาทั้งหมดได้ไม่เต็มที่ก็ได้ (ทั้ง ๆ ที่อีก 2 งานก็อาจจะไม่ได้รีบขนาดนั้น)
หรือในอีกกรณีหนึ่ง บริษัทควรรับสมัครทีมมาให้พอกับจำนวนงานที่มีอยู่ ไม่ให้งานไปกองที่คนใดคนหนึ่งมากเกินไป เพราะถ้าพนักงานคนที่ต้องรับภาระงานนั้นเยอะอาจจะรู้สึกว่าตัวเองต้องทำงานให้เสร็จทันเวลา ทำให้ต้องแบกงานกลับไปทำหลังเลิกงานหรือแม้กระทั่งวันหยุด เพื่อให้กระบวนการทุกอย่างราบรื่นไปได้ด้วยดี ไม่ให้เกิดปัญหาคอขวดมาติดที่ตัวเอง
นอกจากนั้น บริษัทควรจะต้องมีการแยกแพลตฟอร์มคุยงานออกจากชีวิตส่วนตัวกันอย่างชัดเจน เช่น ไม่ใช้ Line คุยงาน แต่มาใช้ Workchat แทน ไม่ทวงหรือสั่งงานในวันหยุด มีการวาง Roadmap ของแต่ละสัปดาห์อย่างชัดเจน ดูว่ามีอะไรที่ต้องทำให้สำเร็จในสัปดาห์นั้นบ้าง ใครเป็นคนทำ เพราะถ้าเราเห็นว่าใครที่ทำงานเยอะเกินไปก็สามารถแบ่งงานไปให้ทีมคนอื่นช่วยได้
ดังนั้น Work-Life Balance ก็ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้การทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเหมือนกัน เพราะถ้าชีวิตมีแต่งาน พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่มีเวลาไปทำสิ่งใหม่ ๆ หรือหาความรู้เพิ่มเติม การสร้างสรรค์ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก และสิ่งที่จะตามมาคือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน นำไปสู่การลาออกในท้ายที่สุดนั่นเอง
ลดปัญหา พนักงานลาออก ได้ง่าย ๆ ด้วยการจัดกิจกรรมสุขภาพแข่งกีฬากระชับความสัมพันธ์ให้พนักงาน
หากองค์กรไหนที่ต้องการลดปัญหาพนักงานลาออกแบบ Organic ด้วยการเปลี่ยนออฟฟิศให้เป็น Happy Workplace ของพนักงาน ผ่านการสร้างความสัมพันธ์ให้พนักงานในองค์กรให้กระชับมากยิ่งขึ้น ทาง The Growth Master ขอแนะนำ WIRTUAL แพลตฟอร์มจัดแข่งขันกีฬาภายในองค์กร มีกิจกรรมกีฬาให้เลือกกว่า 6 ประเภท ได้แก่ วิ่ง เดิน ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เต้น และเวทเทรนนิ่ง มีฟีเจอร์รองรับสำหรับบริษัทยุคใหม่โดยเฉพาะเช่น มีระบบจัดทีม แบ่งตามแผนก (หรือจะจัดทีมเองก็ได้) มีระบบ Leaderboard เห็นตารางผู้นำ-ผู้ตาม และ HR Dashboard ให้ทีม HR สามารถเช็กสถิติการออกกำลังกายของพนักงานแต่ละคนได้อย่างชัดเจน ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ในการทำงานและปรับไลฟ์สไตล์การดูสุขภาพของพนักงานในองค์กรของคุณให้ดีขึ้น ในราคาเริ่มต้นเพียง 59 บาทเท่านั้น!!
และพิเศษ! ตอนนี้ WIRTUAL มีโปรโมชันพิเศษให้ทดลองใช้งานในองค์กรฟรี เพียงแค่กรอกรายละเอียดที่ https://wirtual.co/wirtual-for-business ได้เลย และรอทีมงานของ WIRTUAL ติดต่อกลับได้เลย