Service
Business Tech Stack ConsultantClickUp ConsultantSAP APITech ReviewEndlessloop ConsultantMarketing Service
Service
All Articles
Growth Trends
Growth Video
We Need Tool Talk
Startup Partners
Community
Advertise
ClickUp Course
Subscribe
🔥 Hot!
สอบถามทุกปัญหาเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจด้านดิจิทัลที่นี่
Service
Business Tech Stack ConsultantClickUp ConsultantSAP APITech ReviewEndlessloop Consultant
Service
All Articles
Growth Trends
Growth Video
We Need Tool Talk
Startup Partners
Community
Advertise

software review

Coda.io เครื่องมือช่วยสร้างเอกสารที่ประยุกต์ใช้ได้หลากหลายจนคุณจะลืม Word, Excel, หรือ PowerPoint ไปเลย

By
Eung Rachkorn
September 12, 2021
Light
Dark
ส่งต่อเรื่องราวดีๆ
Eung Rachkorn
Eung Rachkorn

เป็นนักทดลองผิด และรับแก้ปัญหาแบบผิด ๆ ด้วย ชอบท้องฟ้า, ดาวอังคาร, อวกาศ และกลิ่นฝน กำลังตื่นเต้นกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทุกวัน 🪐

นักเขียน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

- เบื่อไหมที่ต้องสวิชต์ระหว่าง Word กับ Excel
- Coda.io คืออะไร?
- รู้จักการทำงานบน Coda.io
- Integration บน Coda.io
- ราคาแพ็กเกจ
- ข้อดี-ข้อเสีย
- สรุป
- เบื่อไหมที่ต้องสวิชต์ระหว่าง Word กับ Excel
- Coda.io คืออะไร?
- รู้จักการทำงานบน Coda.io
- Integration บน Coda.io
- ราคาแพ็กเกจ
- ข้อดี-ข้อเสีย
- สรุป

โลกพัฒนาไปแค่ไหน แต่เราก็ยังทำงานบน Sheet แยกกับ Document ทั่วไปอยู่ดี

หากมองย้อนกลับไป ชีวิตของคนเราอยู่ใกล้ชิดกับการจดบันทึกมาตลอด ตั้งแต่บันทึกประวัติศาสตร์ใหญ่ ๆ, จดเรื่องราวประจำวัน, จดสิ่งที่ครูสอน, มาจนการทำงานร่วมกับเอกสาร เราพัฒนาจากการเขียนมาเป็นพิมพ์ดีด และเมื่อคอมพิวเตอร์ถูกคิดค้นขึ้น งานสร้างเอกสารดิจิทัลก็เป็นความสามารถแรก ๆ ของคอมพิวเตอร์ 

จนในวันนี้เอกสารในคอมพิวเตอร์ถูกย้ายมาอยู่บนระบบคลาวด์ เข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างเช่น Google Doc, Google Sheet, และ Google Slide ซึ่งแต่ละตัวก็มีวิธีการใช้งานเพื่อจุดประสงค์เฉพาะที่ต่างกัน อาจจะทำบัญชีด้วย Sheet ได้ตัวเลขออกมา เอามาจัดสรุปเป็นเอกสารทั้งหมดใน Doc หรือนำไปทำเป็นกราฟเพื่อนำเสนอขึ้นมา เมื่อคิดดี ๆ ข้อมูลต้นฉบับเดียวกันถูกย้ายไปมาเพื่อใช้บนเครื่องมือแต่ละตัว 

แต่เทคโนโลยีก้าวไปไกลกว่าที่คุณคิด เพราะวันนี้คุณสามารถทำงานเอกสารทุกอย่างได้ในที่เดียวด้วย Coda.io 

‍

Coda.io คืออะไร?

Coda คือ Cloud-based Document หรือเป็นเอกสารที่เราเซฟไว้บนระบบคลาวด์นั่นเอง แต่มีความพิเศษที่สามารถพิมพ์งานทั่วไป ได้แล้วลากตารางมาคั่นระหว่างเอกสารก็ได้ อ้าว! แต่ Doc ก็พิมพ์งาน, แทรกรูป, ใส่ลิงก์, สร้างตารางได้เหมือนกัน จะแตกต่างกันอย่างไร

Coda เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถ Embed ลิงก์ลงในเอกสาร ให้ขึ้นมาเป็นภาพจำลองของเว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น ใส่ลิงก์ Figma ที่เป็นแพลตฟอร์มออกแบบ UX/UI ใน Doc คุณก็จะเห็นแค่ลิงก์หรือข้อความที่ติดลิงก์เท่านั้น แต่บน Coda คุณจะเห็นเป็นภาพหน้าออกแบบของ Figma เลย

สำหรับการสร้างตาราง Coda ทำงานด้วย Database Functions และสามารถสร้าง Kanban Board หรือปฏิทิน จะทำกราฟ ทำชาร์ต โดยอิงจากตารางหรือ Table นั้น ๆ พร้อมกับต่อ App Integration เพิ่มความสามารถให้กับตัวเอง

Coda ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2014 และ Launch Coda เมื่อปี 2018 มิชชันของเขาคือการสร้างเครื่องมือที่ทรงพลังมากพอที่จะทำให้เอกสารเก่งไม่ต่างจากแอป /มีการระดมทุนทั้งหมด 4 ครั้ง รวม $240 ล้าน โดยการระดมทุนครั้งล่าสุดอยู่ในระดับ Series D เมื่อ 8 กรกฎาคม 2021 ทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงขึ้นเป็น $1,400 ล้าน กลายเป็นยูนิคอร์นหน้าใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มเป็นเท่าตัวจากเมื่อปีที่แล้ว ที่ $636 ล้าน

ลักษณะการทำงานโดยรวมจะคล้ายกับแอป Notion มาก ซึ่งเป็นแอปสร้างเอกสารที่ประยุกต์ได้หลากหลายเช่นกัน แต่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2008 แต่ Coda เองก็ได้ชื่อว่าเป็น Notion Alternative สุดแกร่งเลยก็ว่าได้

แม้ Coda จะไม่ได้เป็นซอฟต์แวร์ที่อยู่มานานเท่า Notion แต่ก็ถูกใช้งานอยู่ในบริษัทดังหลาย ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็น Spotify, Figma, The New York Times, Uber, Square หรือ Doordash

เริ่มต้นใช้งาน Coda.io

รู้จักการทำงานบน Coda

เข้าใจหน่วยการใช้งาน

ด้วยความสามารถที่เอาทุกอย่างมารวมทำได้ในที่เดียว ทำให้การคำนวณการใช้งานจะแตกต่างออกไปจากโปรแกรมปกติเล็กน้อย โดย Coda จะนับหน่วยเป็นแถว ใน 1 แถวนั้นอาจมีหลายบรรทัดก็ได้จนกว่าคุณจะเคาะขึ้นบรรทัดใหม่ ส่วนอีกหน่วยหนึ่งก็คือ Object หรือที่เรียกใน Coda ว่า Block อันได้แก่ การสร้างหน้า (Page), ตารางและการมองเห็นรูปแบบอื่น ๆ (Tables and Views), ปุ่มลิงก์และปุ่มควบคุม (Buttons and Controls), และ การใส่สูตร (Formulas)

สิ่งสำคัญคือทุก Object ควรตั้งชื่อเรียกให้เรียบร้อยเพราะทุก Block ที่อยู่บนเอกสารไม่ว่าจะหน้าไหนก็สามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด ทำให้คุณไม่ต้องทำซ้ำข้อมูลจากหน้าหนึ่งมาใช้ในอีกหน้าหนึ่ง โดยระบุจากชื่อเรียกของ Table และ Column นั้น ๆ แทน

เริ่มต้นใช้งานด้วยเทมเพลต

จุดแข็งของ Coda คือ เทมเพลตจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเทมเพลตสำหรับการใช้งานไหน ๆ Coda ก็ได้ออกแบบมาสำหรับคุณ โดยส่วนมากจะมาเป็น Block ต่าง ๆ ที่คุณสามารถลากและวางลงบนเอกสารได้โดยไม่ต้องคำนึงว่า ถ้าใช้ตารางจะต้องเป็นตารางทั้งหมดหรือเป็นข้อความทั้งหมด คุณอาจจะนำเทมเพลตตารางมาใส่ ตามด้วยข้อความอธิบายตาราง แล้วแทรกคัมบังบอร์ดไว้ด้านบนสุดเพื่อติดตามขั้นตอนการทำงานในหน้าเดียวเลยก็ได้

นอกจากเทมเพลตทั่วไปแล้ว Coda ยังเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้อีกเพียบ ความใจดีของแอปเหล่านี้ คือ พวกเขาได้ทำเทมเพลตที่ใช้คู่กันกับแอปพลิเคชันเหล่านั้นออกมาด้วย ทำให้คุณใช้งานด้วยกำลังใจที่เต็มเปี่ยม ไม่ต้องกังวลว่าจะนำแอปพลิเคชันเหล่านั้นมาใช้ร่วมกับ Coda อย่างไรดี

ตัวอย่าง Templete ใน Coda.io

ใช้คู่กับปฏิทินและการนัดหมาย

‍

สร้างคลังและพื้นที่จัดการหลังร้านให้ร้านค้าออนไลน์ 

‍

ระบบ CRM

‍

การโหวต

‍

ตั้งเป้าหมาย OKRs ของทีม

‍

รูปแบบเอกสาร (Views) + ลักษณะ field

นอกจากรูปแบบการพิมพ์แบบข้อความทั่วไป Coda ยังใช้สร้างรูปแบบการมองเห็นเอกสารได้หลายแบบ โดยสร้างผ่านการกด Explore ที่มุมขวาบน หรือ พิมพ์ / (Slash) เพื่อใส่คำสั่ง รูปแบบการมองเห็นมีดังต่อไปนี้

  • Table
  • Kanban Board
  • Board (จะคล้าย ๆ เป็นกระดานที่เราแปะ Sticky Note)
  • Calendar
  • Form
  • Detail
  • Timeline
  • Chart
  • Word Cloud

เริ่มต้นใช้งาน Coda.io

Table แม้จะมีหน้าตาคล้ายคลึงกันกับ Sheet หรือ Excel แต่ลักษณะการทำงานของ Column จะเป็นรูปแบบของ Database (เหมือนกับ Airtable) 

โดยปกติ Cell แต่ละ Cell ในชีทจะแยกการทำงานออกจากกัน สมมติ เราอาจจะใส่สูตรที่คอลัมน์ A1 ว่า B1+C1 และใส่สูตรที่คอลัมน์ A2 ว่า C1-C2 ได้ ทั้งสองสูตรรันบนคอลัมน์ A เหมือนกันแต่คนละ Cell คนละแถว ในขณะที่ลักษณะของ Table บน Coda จะเป็น Database Function ที่คอลัมน์เหล่านี้จะเรียกว่า Field แล้วทั้ง Field ที่ยาวลงมาจะต้องใช้สูตรเหมือนกันหรือใช้งานในลักษณะเดียวกัน เช่น ถ้าใส่ Field นี้ว่า B+C ทุกแถวยาวลงมา คือ C-B หรือตั้งว่าเป็น ตัวเลข เหมือนกัน เป็น Person หรือ Assignee เหมือนกัน ถ้าเราตั้งเป็นตัวเลข แล้วเราพิมพ์เป็นตัวอักษร มันจะขึ้นเป็นมุมแดง ๆ แสดงถึง error ให้เราเห็น 


นอกจากนี้ข้อมูลต่าง ๆ สามารถเปลี่ยนรูปแบบการมองเห็นและปรับแต่งได้อย่างอิสระทุกเมื่อ เช่น ใช้แบบตารางบน Table แต่หลังจากใช้งานไปสักระยะรู้สึกว่าการใช้งานโดยอาศัยรูปแบบ Detail ทำให้เห็นภาพรวมข้อมูลชัดเจนมากกว่า เราก็สามารถกด Option ที่มุมขวาบนของตารางแล้วเปลี่ยนรูปแบบการมองเห็นเป็น Detail ได้ทันที

แต่รูปแบบที่น่าสนใจและไม่ค่อยเห็นในเครื่องมืออื่น ๆ คือ รูปแบบ Word Cloud ที่เป็นเสมือนกระดานคำ เหมาะใช้สำหรับการระดมไอเดียลงบน View อื่น ๆ เช่น Table หรือ Board แล้วเอามาดูว่าหัวข้อไหนหรือคำไหนถูกพูดบ่อยในไอเดียของทุกคน ทำให้กรุ๊ปหาไอเดียที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันได้ไวมากขึ้น สำหรับรูปแบบนี้ แนะนำให้ใช้ในภาษาอังกฤษ เพราะว่า Word Cloud จะนับจากการเว้นวรรค ซึ่งในภาษาไทยเราไม่ได้เว้นวรรคกันเป็นคำ ๆ แบบภาษาอังกฤษ สิ่งที่แสดงออกมาบน Word Cloud จะเป็นประโยคยาว ๆ ทุกประโยคแทน แต่ถ้าในอนาคตมันตรวจจับโครงสร้างและธรรมชาติของภาษาไทยได้ จะทำให้กรุ๊ปไอเดียได้ง่ายขึ้นมาก ๆ อย่างแน่นอน

ใช้สูตรจากตรงไหนก็ได้ แม้กระทั่งบนปุ่ม Buttons และ Controls

หากเป็น Excel แน่นอนว่าการใส่สูตรก็ต้องเป็นช่องข้อความของแต่ละ Cell อยู่แล้ว แต่บน Coda คุณจะใส่สูตรที่ Field (ช่อง Column), จะใส่ที่ปุ่มกด, หรือที่บรรทัดสำหรับพิมพ์เอกสารทั่วไปก็ได้เหมือนกัน มักใช้เป็นการแสดงผลแบบสรุป เช่น เหลืองานที่อยู่ใน Status: To do กี่ชิ้น หรือใช้สำหรับสร้าง Dynamic ในการเห็นข้อมูล เช่น งานที่เหลืออยู่นั้น ระบุว่าเป็นของเฉพาะบุคคลก็ได้ โดยตั้งค่าเป็นงานของ User ที่ล็อกอินเข้ามา 

ความสามารถของ Coda ไม่ใช่เพียงการทำเอกสารเท่านั้น แต่คุณสามารถสร้างปุ่มเพื่อเพิ่ม Interaction ที่บริเวณใด ๆ ของเอกสารได้มากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สร้างปุ่ม Add to task เข้าไป โดยใส่สูตรเมื่อ User คลิกที่ปุ่มนี้จะสร้าง Task ขึ้นมาและมอบหมายให้ User โดยอัตโนมัติ หรือใช้สำหรับตั้งข้อความบนปุ่มให้ Customize เฉพาะบุคคล เช่น Send Task at [today] to [user] > Send Task at 5/28/2021 to Rachkorn จะเห็นว่า User นี้ก็จะถูกใส่สูตรให้ขึ้นตามชื่อของบุคคลนั้น ๆ และวันที่ก็จะเปลี่ยนไปตามวันนี้ที่มาถึงเช่นกัน

*Concatenate เป็นสูตรรวมข้อมูลคนละประเภทไว้ด้วยกัน สามารถนำมาใช้สร้าง Dynamic ให้กับปุ่มหรือข้อความได้

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ Buttons and Controls ที่นี่

และดังที่ได้บอกไปตอนต้นว่าเราควรตั้งชื่อให้กับ Object/Block ต่าง ๆ เมื่อเรียกชื่อได้ถูกต้อง คุณสามารถที่จะใส่สูตรข้ามหน้าได้เช่นกัน เช่น ตารางงานอยู่ในหน้าที่ 3 แต่วางปุ่มส่งตารางงานในหน้าสรุปที่อยู่หน้าแรกพร้อมกับปุ่มอื่น ๆ ทำกดปุ่มต่าง ๆ ได้ทันที ไม่ต้องเปลี่ยนหน้าไปมา

หากปุ่มเยอะเกินไป คุณสามารถดูองค์ประกอบรวมถึงตำแหน่งและจำนวนของปุ่มโดยเข้าที่ Explore > Setting > Doc Map

ภาพจาก coda.io 

‍


เห็นข้อมูลเพิ่มเติมเพียงแค่ชี้ด้วยฟีเจอร์ Lookup

Lookup คือ ฟีเจอร์ที่ทำให้คุณสามารถมองเห็นข้อมูล Table อื่นทั้งที่อยู่ในหน้าเดียวกันหรือหน้าอื่นผ่านการชี้เมาส์ค้างไว้ โดยมีเงื่อนไขว่าใน Table นั้นจะต้องมีคอลัมน์ที่เกี่ยวข้องกัน 

ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเชื่อมตารางหลัก คอลัมน์ Project ในตารางรองที่จะแสดงข้อมูลก็จะต้องมีคอลัมน์ Project เช่นกัน เมื่อชี้ที่แถวแต่ละแถว เช่น Project A ก็จะมองเห็นข้อมูลของแถว Project A ที่อยู่ในตารางรองได้

นอกจากนี้ยังใช้สูตร .ThisRow เชื่อมต่อเพื่อดึงข้อมูลจากแถวในตารางรองมาไว้บนตารางหลักอีกด้วย และเนื่องจากตารางทั้งสองเชื่อมโยงกันทำให้เมื่อแก้ข้อมูลที่ตารางรอง ข้อมูลที่แสดงในตารางหลักจะเปลี่ยนตามไปด้วย

สามารถศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับฟีเจอร์ Lookup ได้ที่นี่


เอกสารคนละฉบับไม่ใช่ปัญหาเมื่อมี Cross Doc

ในการทำเอกสารบน Excel หรือ Sheet นั้นมีหลายครั้งที่ข้อมูลอยู่คนละ Sheet กัน แต่ในบางครั้งก็จำเป็นจะต้องทำข้อมูลชุดเดิมมาใช้ หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับการ Copy และ Paste ข้อมูลลงบน Sheet ใหม่แบบซ้ำ ๆ แต่สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นบน Coda 

Cross Doc เป็นฟีเจอร์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเอกสารได้ อาจอธิบายได้ว่าค่อนข้างคล้ายกับฟีเจอร์ Lookup แต่ Lookup จะเชื่อมโยงกันภายในไฟล์ ส่วน Cross Doc จะเชื่อมโยงกันข้ามไฟล์ คุณสามารถที่จะดึงตารางจากเอกสารต้นฉบับมาเชื่อมต่อในไฟล์ใหม่ได้เลย


‍

Coda เขามากันเป็น Packs

คุณคิดผิดถนัดหากยังมองว่า Coda เป็นเพียงแอปพลิเคชันพิมพ์งานเอกสารธรรมดาอยู่ Packs ในที่นี้หมายถึง App Integration ที่เข้ามาเสริมพลังให้ Coda เป็นมากกว่าแอปเอกสาร โดยแอปที่จะเข้ามาเชื่อมต่อได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณสมัครใช้งานในแพ็กเกจใด แต่ในตัวเริ่มต้นซึ่งเป็นตัวฟรีก็มีแพ็กที่ช่วยคุณได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Dropbox, Wikipedia, Zoom, หรือ สื่อโซเชียลมีเดียอย่าง Youtube และ Instagram ก็สามารถใช้ร่วมและฝังลงบนเอกสารได้โดยตรง

ภาพจาก Coda.io

‍

ให้ Coda ทำงานแทนด้วยระบบ Automation

ระบบ Automation ช่วยลดภาระเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับคุณได้ แม้จะเป็นเวลาเพียง 1 นาที แต่ถ้าคุณทำมันทุกวัน ก็รวมเป็นระยะเวลาไม่น้อยเลยทีเดียว เช่น การเปลี่ยนวันที่ที่หัวข้อก่อนส่งอีเมลทุกวัน, การส่งจดหมายให้ทีมที่มีเนื้อหาแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล, การเพิ่มตัวเองเป็น Assignee เมื่อกดสร้าง Task ใหม่ทุกครั้ง

เพราะแบบนี้ Coda จึงมีระบบ Automation มาให้ในตัวเลย โดย Automation จะมี Trigger 2 แบบ คือ Row Changed และ Time Based

  • Row-based คือ เมื่อมีอะไรบ้างอย่างเกิดขึ้นกับ Row จึงจะทำ Action เช่น สร้าง Row, ลบ Row, แก้ Row ระบุให้ชัดว่า Column ไหนของ Row นั้น เช่นการสร้างอีเวนต์ใน Google Calendar ถ้ามีการเติมช่วงเวลาจบอีเวนต์เสร็จ เราให้มันกดปุ่มเพิ่มลงเลย
  • Time Based ก็เหมือนกับการตั้งเวลา อย่างในกรณีนี้ เราอาจจะตั้งเวลาให้ส่งเป็น Weekly Task มาให้ทุกวันจันทร์ ตอน 8​ โมงก็ได้

‍

Automation is now.

ตอนเด็ก ๆ เราดูหนังแล้วพบกับความทันสมัย ความล้ำหน้าที่ได้แต่คิดว่าเมื่อไรจะเกิดขึ้นในโลกจริง โลกที่แค่คิดหรือขยับเพียงเล็กน้อย สิ่งต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปดั่งใจ แต่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่เข้าใกล้เรามากขึ้นในทุก ๆ วันในรูปแบบของระบบ Automation

เทคโนโลยีทำให้มันเป็นจริงได้แล้ว และคุณเริ่มต้นได้ด้วย Coda

เริ่มต้นใช้งาน Coda.io

ราคา Coda.io

Coda เริ่มต้นใช้งานได้ฟรี แต่มีข้อจำกัดมี Object ได้แค่ 50 Objects และสร้างได้ 1,000 Rows เท่านั้น โดยเช็กลิมิตของเอกสารได้ที่ Explore เข้า Setting และเลือก Statistics

สำหรับแพ็กเกจ Pro จะราคา $10 ต่อ Doc Maker 1 คน

และ $30 ในแพ็กเกจ Team หากคุณกำลังคิดว่ามันแพง จริง ๆ แล้วมันเป็นทางตรงข้ามกันเลย...

เมื่อกี้อาจจะได้ยินคำแปลก ๆ เพราะปกติจะบอกว่าเป็นราคาต่อ User 

Coda จะแบ่ง User เป็น 3 ขั้นด้วยกัน

  • Doc Maker จะเป็นเหมือนกับ Admin สร้างโฟลเดอร์สร้างไฟล์ แก้และตั้งค่าต่าง ๆ ได้
  • Editor สามารถเข้ามาแก้ไขได้อย่างเดียว
  • Viewer จะดูได้อย่างเดียว

แล้วแบบนี้ ราคา $10 ต่อ 1 Doc Maker แต่ในทีมมีอีก 4 คนจะราคาเท่าไร? 

ราคาของ Coda ก็จะยังอยู่แค่ $10 เท่านั้น ให้คุณมีคนในทีมที่เป็น Editor หรือ Viewer อีก 999 คน ก็จะยังจ่ายแค่ $10 อยู่ดี 

เช่นเดียวกันกับ Coda Team หมายความว่า การคิดราคาของ Coda จะขึ้นอยู่กับ Doc Maker เท่านั้น และยิ่งคนเยอะมากเท่าไร ราคาต่อคนจะยิ่งถูกลงไปอีก และที่สำคัญ คือ Coda มาพร้อมกับ Automation ในตัวตั้งแต่ตัวฟรีเลย โดยมีจำนวน Action เพิ่มตามแพ็กเกจ และไม่จำกัดในแพ็กเกจ Team ส่วน Packs ก็จะเชื่อมต่อได้มากขึ้นตามแพ็กเกจด้วย

ดูรายละเอียดราคา Coda.io เพิ่มเติมได้ที่นี่

ความคุ้มค่าเมื่อเทียบ Notion ซึ่งเป็นแอปที่มีแก่นลักษณะการใช้งานเหมือนกัน

สำหรับตัวฟรี ใช้งานคนเดียว Notion จะได้เปรียบกว่าถ้าคุณไม่ใช่สาย Automation หรือใช้ Integration มาเสริม เพราะไม่จำกัดการใช้ Block หรือ Object แต่ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะไฟล์หนึ่งจะจำกัดขนาดที่ 5 Mb เท่านั้น และในแพ็กเกจ Personal Pro ของ Notion จะคุ้มว่า เพราะเอกสารใช้งานได้ไม่จำกัดด้วยราคาเพียง $4 เท่านั้น

ดูรายละเอียดราคา Notion เพิ่มเติมได้ที่นี่

แต่ถ้าเทียบกับการทำงานเป็นทีมแล้ว Coda ถือว่ามีราคาถูกกว่ามาก ยกตัวอย่างเช่น Notion Team 5 คน ราคาคนละ $8 เป็น $40 

ในขณะที่ Coda ให้เป็นตำแหน่ง Doc Maker 3 คน และอีก 2 คนเป็น Editor ทำงานบนเอกสารได้ไม่ต่างกัน ราคาเพียง 30 เหรียญเท่านั้น ถ้าเอาแบบประหยัดสุด ๆ อาจจะใช้ Doc Maker แค่คนเดียวก็ได้ สำหรับความคุ้มค่าในราคา, ฟีเจอร์, และ Integration ยังต้องบอกว่า Coda กินขาดอยู่

ข้อดี-ข้อเสียของ Coda.io

ข้อดี

  • ราคาถูกมากเมื่อใช้งานเป็นทีม 
  • รวมงานเอกสารทุกประเภทให้อยู่ที่เดียว มีความเป็น Database แต่เข้าถึงง่ายไม่ต่างจากไฟล์เอกสารธรรมดา
  • มีฟีเจอร์และ Integration ให้ใช้ร่วมเยอะ เช่น Spotify, Figma, Twillio, Zoom, และตระกูล Google ทั้งหลาย เชื่อมต่อกับ Zapier ได้ ทำให้ระบบ Automation สามารถทำงานร่วมกับแอปอื่น ๆ ได้มากขึ้นกว่าเดิม
  • การใช้งานเบื้องต้นไม่ซับซ้อน เพราะเริ่มต้นจะเหมือน Word ทั่วไปเลย มีเทมเพลตช่วยให้คุ้นเคย ให้ใช้โปรแกรมเป็นได้ไว มีไอเดียไปต่อยอดมากขึ้น

ข้อเสีย

  • การปรับการทำงานมาใช้ในช่วงแรกอาจจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านช่วงใหญ่และอาจมีปัญหาเรื่องการทำไฟล์ซ้ำ เช่น ไฟล์มีใน Google Doc แล้ว Import มาทำเพิ่มใน Coda อีกอันหนึ่ง
  • ยังไม่มี Desktop App ต้องใช้งานผ่านเว็บ และการใช้งานบนโทรศัพท์ยังรู้สึกติดขัดอยู่บ้าง
  • แม้ว่าจะมีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับ ถัง Database แต่ใช้งานได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ความจุ ความสามารถยังไม่เทียบเท่ากับซอฟต์แวร์ Database โดยเฉพาะ หรือ Airtable ที่โดดเด่นในด้านนี้มากกว่า
  • ถ้าใช้งานคนเดียวแบบ Pro ถือว่าแพงมาก ๆ ส่วนนี้จะแนะนำเป็น Notion ที่มีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกันมากกว่า

สรุป

Coda เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการใช้งานเอกสารแบบ Cloud-based สำหรับการปรับใช้ นอกจากเอกสารทั่วไปแล้ว อาจจะใช้เพื่อจัดทำหรือจัดเก็บเอกสารสำคัญ เอกสาร On-board พนักงาน หรือ ใช้สร้างคู่มืออื่น ๆ ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะยืดหยุ่น สามารถใส่สื่อและปรับแต่งได้หลายรูปแบบ มีการเชื่อมโยงกับหน้าต่าง ๆ รวมถึงเอกสารฉบับอื่นได้ง่าย และผู้ใช้ไม่ต้องเสียเวลาเพื่อส่งงานไปทำต่ออีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วนำเสนอในอีกโปรแกรมหนึ่ง 

คุณจะทำทุกอย่างได้ในที่เดียว บน Coda

เริ่มต้นใช้งาน Coda.io

‍

ช่องทางอัปเดตซอฟต์แวร์กับ The Growth Master

ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น

และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่

Facebook : The Growth Master

Facebook Group : TechTribe Thailand

Blockdit : The Growth Master

Line@ : @thegrowthmaster


===================================


สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ

ส่งต่อเรื่องราวดีๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
แหล่งเรียนรู้สำหรับคุณและธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม
connect@thegrowthmaster.com
Privacy Policy
Terms & Agreement
User Data Deletion
Services
Business Tech Stack
Advertise
Tech Review
Subscribe
Category
Software Review
All Articles
Growth Trends
Company
We're Hiring
Internship Program
Community
Contact
Channels
Facebook
Line OA
Youtube
© Copyright 2020 W JAMES Company Limited All Rights Reserved
"Grow Like a Master"