Service
Business Tech Stack ConsultantClickUp ConsultantSAP APITech ReviewEndlessloop ConsultantMarketing Service
Service
All Articles
Growth Trends
Growth Video
We Need Tool Talk
Startup Partners
Community
Advertise
ClickUp Course
Subscribe
🔥 Hot!
สอบถามทุกปัญหาเกี่ยวกับการสร้างธุรกิจด้านดิจิทัลที่นี่
Service
Business Tech Stack ConsultantClickUp ConsultantSAP APITech ReviewEndlessloop Consultant
Service
All Articles
Growth Trends
Growth Video
We Need Tool Talk
Startup Partners
Community
Advertise

software review

สร้างเว็บไซต์ด้วย Webflow หรือ WordPress อันไหนเหมาะกับคุณ

By
The Growth Master Team
November 22, 2020
Light
Dark
ส่งต่อเรื่องราวดีๆ
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

- เริ่มทำเว็บไซต์อย่างไรดี
- สาย Design เลิกตีกับฝั่ง Dev ให้วุ่นวายด้วย Webflow
- คลาย Stress สร้างเว็บกับ WordPress(.org)
- เปรียบเทียบหมัดต่อหมัด ตัวไหนเด่นด้านไหนมากกว่า
- รวมลิงก์ซอฟต์แวร์ แหล่งธีม และ Plug-in
- สรุป
- เริ่มทำเว็บไซต์อย่างไรดี
- สาย Design เลิกตีกับฝั่ง Dev ให้วุ่นวายด้วย Webflow
- คลาย Stress สร้างเว็บกับ WordPress(.org)
- เปรียบเทียบหมัดต่อหมัด ตัวไหนเด่นด้านไหนมากกว่า
- รวมลิงก์ซอฟต์แวร์ แหล่งธีม และ Plug-in
- สรุป

เดี๋ยวนี้ทำธุรกิจไม่ง่ายเลย จะขายแบบออฟไลน์มีหน้าร้านบ้างเงียบเหงา จะค้าขายออนไลน์บน Shopee Lazada หรือ E-commerce เจ้าอื่น บ้างดุเดือด บ้างก็ไม่ทางการพอ ดูไม่น่าเชื่อถือ หรือเปลี่ยนใจกดสั่งซื้อสินค้าจากคู่แข่งแทน

ยิ่งตอนนี้เว็บไซต์ถือเป็นหน้าตาของธุรกิจบนโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ หากเว็บไซต์มีหน้าตาที่สวยดูใช้งานง่ายเป็นมิตร ลูกค้าก็อยากจะกดเข้าไปทำความรู้จักกับคุณมากขึ้น แต่ความรู้ทางด้าน Coding เป็นศูนย์เนี่ยสิ อยากจะเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองก็ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดี หรือจะจ้างคนอื่นทำก็กลัวออกแบบมาไม่ถูกใจ

วันนี้ The Growth Master เลยขออนุญาตพาไปดูซอฟต์แวร์สร้างเว็บไซต์อย่าง Webflow และ Wordpress ที่ไม่จำเป็นต้องโค้ดเลย

ไปดูกันเลยดีกว่า ว่าแต่ละตัวมีข้อแตกต่างการใช้งานเฉพาะตัวแบบไหน ให้เว็บไซต์ของคุณสวยโดนใจลูกค้าได้เหมาะกับธุรกิจคุณที่สุด

อยากมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง แต่ Dev เองก็ไม่ไหว

เริ่มทำเว็บไซต์ยังไงดี?

ภาพจาก freepik

‍

อย่างแรกที่ต้องมีเลยก่อนที่จะสร้างเว็บของตัวเองคือ ‘ชื่อ’ หรือ ‘Domain name’

ตัว Domain name เป็นเหมือนรหัสประจำของเว็บไซต์เรา หรือถ้าเปรียบให้ง่ายขึ้นก็เหมือนป้ายเลขทะเบียนของรถยนตร์นั่นเอง เช่น www.thegrowthmaster.com

Domain name  ของเราคือ ‘thegrowthmaster’ ส่วน .com เป็นเหมือนสกุลของเรา

แต่ว่าตัว Domain name นั้นเราไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันกับที่มีอยู่แล้วได้

อีกอย่างนึงที่ขาดไม่ได้คือ Web hosting เป็นเหมือนรถยนตร์ของเราที่จะปรากฎตัวเว็บให้เห็นตลอดเวลาบนอินเทอร์เน็ตนั่นเอง เราอาจมี hosting เป็นของตัวเอง หรือจะเช่าจากผู้ให้บริการก็ได้ ถ้าขาดตัวนี้ไป จะเรียกตัวเว็บขึ้นมาไม่ได้เวลาเราค้นหา

ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ไม่ต้องกังวลเพราะทั้ง Webflow และ Wordpress เขาเตรียมพร้อมมาให้แล้ว และยังนำการออกแบบในตัวซอฟต์แวร์ Export ออกมาได้ในรูปแบบโค้ด HTML และ CSS

โดย HTML (Hypertext Markup Language) คือ โค้ดกำหนดโครงสร้างรูปแบบ และการจัดวางรายละเอียดบนตัวเว็บ ในการนำไปพัฒนาหรือดัดแปลงต่อ

ส่วน CSS (Cascading Style Sheets) เป็นโค้ดที่เข้ามาช่วยปรับแต่ง เติมสีสันมีสไตล์ให้แก่ตัวเว็บ

ทั้งหมดนี้ทาง Webflow และ Wordpress เขามีระบบ CMS (Content Management System) ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์ได้แปลงเป็นเครื่องมือออกมาให้เราหยิบจับใช้ได้ง่าย แค่ลาก พิมพ์ข้อความ เปลี่ยนสี เหมือนกำลังสร้าง Presentationเฉย ๆ ลดระยะเวลาและความงุนงงกับโค้ดไปได้เยอะเลย  

และที่สำคัญและขาดไม่ได้

เริ่มต้นการใช้งานได้...ฟรีค่ะ!

ภาพจาก freepik


หวังว่าพอจะเข้าใจภาพรวมของเว็บไซต์คร่าวๆแล้ว เราไปดูซอฟต์แวร์ทั้งสองตัวเลยดีกว่า ว่าเขามีเครื่องมือเจ๋ง ๆ อะไรให้ใช้บ้าง

สาย Design เลิกตีกับฝั่ง Dev ให้วุ่นวายด้วย Webflow


ภาพจาก Webflow
‍

เริ่มกันที่ตัว Webflow ก่อน น้องใหม่มาแรงในการสร้างสรรค์เว็บแบบ Visual Design ในประเทศไทยชื่ออาจจะไม่คุ้นหูเท่า Wordpress แต่ที่ต่างประเทศเค้าฮิตมาก

ผู้ใช้งานกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก และบริษัทยักษ์ใหญ่ดัง ๆ อย่าง Facebook, NASA, CBSO, Twitter, DELL, MTV, Getaround,  Intuit และอื่นๆ ก็เลือกที่จะใช้เจ้า Webflow ตัวนี้

‘Break the code barrier’

ด้วยคอนเซปหลักของทาง Webflow ที่ต้องการลดปัญหาเรื่องโค้ดที่กวนใจสายออกแบบ ที่บางทีอยากได้อีกอย่าง แต่ฝั่ง Dev สร้างให้อีกอย่าง ระบบ CMS ของ Webflow จะช่วยสร้างโค้ดคำสั่งขึ้นมาให้อัตโนมัติ ช่วยลดเวลาและปัญหาเขียนโค้ดผิดเว็บยุ่งเหยิง

Add : Elements, Layouts, Symbols


หน้าตาของเครื่องมือค่อนข้างคุ้นตาสายงานอออกแบบเป็นอย่างดี ปุ่มการทำงานมีลักษณะคล้ายซอฟต์แวร์ของค่าย Adobe อย่าง Photoshop หรือ Illustrator

แต่แถบเครื่องมือทางด้านซ้ายมือจะแอบเยอะกว่านิดนึง

อันแรกในส่วนของ Elements เช่น ต้องการสร้างปุ่ม (Botton) หรือรายการ (List) สามารถเลือกได้ในแถบ  Basic หรือสร้างข้อความ (Text) ทั่วไป มีให้เลือกการจัดวางในแถบ Typography เป็นแบบ Block Quote หรือ Text Link อยากเพิ่มรูปภาพ วิดีโอคลิปก็เพิ่มได้ในแถบ Media หรือจะแนบ Hotlink จาก Youtube ก็ยังได้

รูปแบบการแสดงผลของ Layout แบบกำหนดค่ามาให้ เช่น จัดวางแบบ Section, Container, Grid หรือ Column สามารถปรับ Spacing ชิดขอบหน้าเว็บ หรือเว้นระยะห่างก็สามารกำหนดค่าได้ในแถบเครื่องมือในด้านขวามือ

นอกจากนี้ในแถบด้านขวามือยังสามารถปรับแต่งดีไซน์ของ Element ได้ เช่น ขนาด สี รูปแบตัวอักษร พื้นหลัง กรอบ และการใส่เอฟเฟกต์ให้ Element แบบต่างๆได้


อยากเพิ่มลูกเล่นให้ Element ด้วยโหมด Interaction หรือจะ Element trigger เพิ่มด้วยตัวเอง

นอกจากที่ทาง Webflow เขามีมาให้



Canvas & Styles


บนขอบด้านบนสุดจะเป็นแถบเครื่องมือในการปรับแต่งมุมมอง โดยค่าดั้งเดิมจะเป็นการแสดงผลบน Desktop View สามารถเลือกดูมุมมองการแสดงผลแบบอื่นได้อย่างแท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ทั้งแนวตั้งแนวนอน

ไม่ต้องกังวลว่าตัวหนังสือ หรือเนื้อหารูปภาพจะเละเทะ หรือถ้ายังไม่ถูกใจสามารถปรับขนาดของ Canvas ใหม่ได้ จะ Export โค้ด HTML และ CSS ของหน้าเว็บที่ออกแบบ

เมื่อออกแบบเรียบร้อยแล้วจะ Publish ขึ้นบนเว็บไซต์ หรือจะ Export Code แบบต่างๆ เพื่อนำไปปรับใช้กับ Hosting อื่นที่มีอยู่ แก้ไขเพิ่มเติม หรือต้องรอ QA (Quality assurance)  Testing และ Approve ผ่านก่อน

‍

เริ่มต้นใช้งาน Webflow

คลาย Stress สร้างเว็บกับ WordPress(.org)


ภาพจาก wordpress

ในด้านของ Wordpress ก็ไม่น้อยหน้า แม้จะเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2003 แล้ว ก่อน Webflow ตั้ง 10 ปี มีการพัฒนาเครื่องมือให้ตอบโจทย์การใช้งานอย่างต่อเนื่อง รวมถึงยังแจกโค้ดของเขาเองให้สาย Dev คนอื่นๆนำไปดัดแปลงต่อยอดได้แบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

รู้หรือไม่? 37% ของเว็บไซต์ทั่วโลกสร้างด้วย WordPress.org

สำหรับการสร้างหน้าเว็บไซต์บน WordPress

เริ่มต้นจะเป็นหน้าเปล่ามาให้ การสร้าง Layout จะเป็นลักษณะเพิ่ม Blocks หรือ Patterns เพื่อใส่รูปภาพ ข้อความ คลิปวิดีโอ หรือเน้นคำเป็นรูปแบบ Quote

Wordpress ค่อนข้างจำกัดการขยับกล่องข้อความ รูปภาพ และการปรับระยะห่างของขอบ ต้องแก้ไขที่ตัว Code สามารถเขียน Theme ของตัวเว็บขึ้นมาใหม่โดยใช้ Code ที่ทาง WordPress ได้แจกเป็น Open Source Project

อีกวิธีหนึ่งในการปรับแต่งดีไซน์ สามารถเลือกดาวน์โหลด Theme เพิ่มเติม มีทั้งแบบฟรี หรือซื้อธีมที่มีขายอยู่ตามเว็บไซต์ เช่น themeforest.net และ elegantthemes.com

ภาพจาก themeforest
Tip: ควรเลือกธีมที่มีผู้ใช้จำนวนมากหรือผู้พัฒนามีการอัปเดตอยู่เสมอ เพราะเวลาใช้งานแล้วเกิดปัญหา จะสามารถติดต่อแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

การใช้งาน Wordpress ของ The Growth Master เอง ได้เลือกใช้ธีมของ Divi Builder เป็นเหมือน Post editor สามารถปรับสีสันและการดีไซน์แบบ Visual Builder จะเพิ่มหรือแก้ไขอะไรตรงไหน ก็ไหลลื่น โดย Theme ที่มีลักษณะเป็น Theme Builder อย่าง Divi จะให้อิสระในการออกแบบมากกว่า Theme สำเร็จรูปทั่วไป

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมของ Divi Builder ได้ที่นี่

ภาพจาก elegantthemes‍

‍

เริ่มต้นใช้งาน WordPress.org

เปรียบเทียบการใช้งาน: อันไหนเราปลื้ม

หลังจากที่ได้แนะนำภาพรวมคร่าว ๆ ฟีเจอร์การใช้งานของทั้ง Webflow และ WordPress ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัวไปแล้ว เราจะพาไปเปรียบเทียบจุดเด่นแต่ละจุดในการใช้งานกันของเขากันเลยดีกว่า

Friendly Design สายออกแบบถูกใจสิ่งนี้

ความง่ายอันนี้ยกให้ Webflow ชนะไปเลย ด้วยความที่สามารถออกแบบได้หลากหลายไม่มีอันไหนที่ขยับไม่ได้มาเป็นอุปสรรค รวมถึงการสร้าง Animaion ให้ตัว Element ได้ทันที ไม่มีอะไรมาขวางกันความครีเอทีฟของเราได้ อยากให้ Cursor ลากไปแล้วมี Interaction ยังไงก็เสกได้ดั่งใจนึก

ส่วนการดีไซน์ของ Wordpress แม้ว่าจะง่ายตามคำร่ำลือที่ให้หน้าเปล่าสีขาว

ให้เราเพิ่ม ข้อความ รูปภาพ หรือคลิปวิดีโอได้ แต่แอบรู้สึกขัดใจในการขยับเขยื้อน เนื่องจากการจัดวาง Layout ของเขาจะมีลักษณะเป็น Blocks เรียงต่อกันยาวลงมา บางตำแหน่งเลยไม่ค่อยถูกใจเท่าไหร่ ต้องเข้าไปแก้ไขที่ตัวโค้ด

ทำให้การดีไซน์เว็บจึงต้องเพิ่มตัว Theme Builder เข้ามา แทนการที่เราเขียนโค้ดใหม่เอง โดยตัว Theme Builder จะช่วยให้เราปรับเปลี่ยนการจัดวางได้มากขึ้น สามารถกำหนดขนาด สีของกรอบ หรือจัดเรียงดีไซน์ใหม่ได้

ซึ่งแต่ละ Theme Builder ก็มีฟีเจอร์การใช้งานที่ไม่เหมือนกัน หากเปลี่ยนธีม อาจจะต้องเสียเวลาในการเรียนรู้เครื่องมือของธีมนั้นๆ

‍

ตัวอย่าง Theme Builder

  • ‍Divi Builder
ภาพจาก Divi Builder
ภาพจาก Elementor
  • Elementor

Flexible Backend เพิ่มฟีเจอร์ได้สบายใจหายห่วง

เห็นทีระบบหลังบ้านที่น่ารักกับการเพิ่มหรือแก้ไข ต่อฟีเจอร์ Plug-in จะตกเป็นของ WordPress ที่มีมาให้เลือกกว่า 58,000 แบบ จนถูกใจไปหมด

plug-in เป็นเครื่องมือเสริมที่ช่วยให้เราประหยัดเวลาในการเพิ่มฟีเจอร์บนหน้าเว็บ เช่น

- การนับถอยหลัง(Countdown) เพื่อเปิดตัวผลิตภัทณ์ใหม่

- การสร้างตะกร้าสินค้า (Cart) รองรับการชำระเงินและนับสต็อกสินค้าแบบออนไลน์

- การจอง (Booking) ที่สามารถซิงก์กับ Google Calendar ของเรา แสดงวันที่ลูกค้าจองเข้าพักหรือเวลาที่ต้องการเข้ารับบริการ และอีกมากมาย

เว็บไม่หนืด ดีไซน์อลังการแค่ไหนก็โหลดเร็ว

ภาพจาก freepik

จุดๆนี้ต้องให้ Webflow แม้ว่าเมื่อกี้เราจะยกนิ้วให้ Wordpress ในเรื่องระบบหลังบ้านที่ยืดหยุ่นของ แต่การที่มี Plug-in จำนวนมาก เท่ากับว่าเว็บแบกรับข้อมูลที่เยอะขึ้น ทำให้การโหลดหน้าเว็บไซต์แต่ละทีความเร็วลดลง

ซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีของ User แต่หลังจากทำการปรับแต่ง (Optimize) แล้ว ทั้งสองซอฟต์แวร์ทำได้ดีพอ ๆ กัน

CMS จัด Text โดนใจ

นอกจากข้อดีหลักของระบบ CMS ที่ทำให้เราสามารถออกแบบได้แบบ visual design ไม่ต้องไปยุ่งกับตัวโค้ดแล้ว Webflow ยังเพิ่มฟีเจอร์ CMS Collections ที่สามารถสร้างโครงสร้างการดีไซน์เก็บไว้ใช้ได้อีกด้วย

ซึ่งฟีเจอร์นี้มีลักษณะเป็น Template ของ Page สามารถบันทึกเก็บไว้เป็น Collection

เมื่อต้องการสร้าง Page ใหม่ให้มีหน้าตาเหมือนที่เคยตั้งไว้ สามารถเลือกจากใน Collection ได้ทันที

ลดค่าเวลาที่ต้องสร้างส่วนปกและออกแบบสไตล์ใหม่ให้เป็นแบบเดิมทุกครั้ง โดยเฉพาะเว็บที่ต้องมีการสร้างบล็อก ที่มี Pattern เหมือนกัน

สร้าง Rich text ใส่รูปภาพ จัดวางขนาดและรูปแบบตัวหนังสือได้ภายในกล่องๆเดียว

การสร้าง Collection Page ที่หลังบ้าน

เอื้อประโยชน์ให้ Content Creator สามารถใส่เนื้อหาคอนเทนต์แล้ว  Publish ขึ้นเว็บไซต์ได้ทันที โดยเฉพาะ ในหน้า Editor

CMS หน้า Editor เปลี่ยนได้ที่หน้าบ้านของเว็บไซต์

ซึ่งในการสร้างบล็อกแบบนี้ หากเป็น Wordpress จะขึ้นอยู่กับธีมที่เลือกใช้ ถ้าธีมรวมด้านนี้มาให้

ก็อาจทำได้ง่ายขึ้น แต่จำเป็นต้องปรับแต่งขนาดใหม่อยู่ดี

‍

เริ่มต้นใช้งาน Webflow

‍

SEO บอกได้อันไหนปัง

ภาพจาก freepik


ข้อนี้ขอยกนิ้วโป้งให้ทั้งสองข้างแล้วกัน เพราะทั้งสองตัวเขาทำมาดีทั้งคู่ ในส่วนของ Webflow ที่เขามีมาให้ในตัวซอฟต์แวร์เลย ต่างจาก WordPress จะเป็นการติดตั้ง Plug-in เพิ่มเข้ามา

การให้คะแนน SEO ของ WordPress หากติดตั้ง Plug-in ที่ช่วยจัดการ Meta Tag ที่ทำให้ Search engine เช่น Yoast SEO Plug-in ช่วยให้ Search Engine เข้าใจเนื้อหาในเว็บคุณได้ง่ายขึ้น ทำให้ติด Top Search ได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ คุณภาพของการดีไซน์ UX และเนื้อหาคอนเท้นที่ตรงกับการ Matching คำค้นหาของ Search Engine มากที่สุด การอัปเดตข้อมูลบนเว็บไซต์ที่เหมาะสม และการทำ SEM อื่นๆประกอบ

แต่ในส่วนของ Webflow ใช้การ Auto generate ที่สามารถดึง Tag จากคอนเทนต์ หรือ Meta Title&Descriptions ออกมาใส่ในช่องของ SEO ได้ทันที

และจากการใช้งานของ The Growth Master ถึงแม้จะไม่มีระบบให้คะแนนแบบ Plug-in ของ WordPress แต่ก็ทำได้ดีไม่ต่างกัน

E-commerce โอนง่ายขายคล่อง

อันนี้หากนับการชำระเงินทางออนไลน์ ขอแสดงความเสียใจกับ Webflow ที่คุณไม่ได้ไปต่อ เนื่องจากรองรับระบบการชำระเงินน้อย Stripe และ PayPals ซึ่งทั้งสองตัวยังไม่ได้เป็นที่นิยมในไทยขนาดนั้น รวมถึงความซับซ้อนของระบบจัดการ ทำให้หลังบ้านหลาย ๆ อย่างที่ยังไม่สามารถทำได้ เช่น การทำออเดอร์ การออกใบเรียกเก็บ การจัดการคลังสินค้า ทั้งหมดด้วยตนเอง หรือใช้กับซอร์ฟแวร์อื่น

ในด้านนี้ Wordpress จึงขอนำไปก่อนไม่รอแล้วนะ เนื่องจาก Wordpress มีฟีเจอร์ที่รองรับจากตัวซอฟต์แวร์เองและ Plug-in ระบบ Automate จึงทำได้คล่องและดีกว่ามาก

‍

Omise อีกหนึ่ง Plug-in ด้านระบบการชำระเงินที่เป็นที่นิยม


รวมถึงช่องทางการรับชำระเงินที่หลากและตอบโจทย์ลูกค้ามากกว่า นอกจากนั้น Plug-in บางตัวยังสามารถจัดการคำสั่งเชื่อมกับหน้าเว็บไซต์ ลูกค้าพร้อมกดสั่ง โอนเงิน กรอกที่อยู่พร้อมแปะรายละเอียดออเดอร์ ส่งสินค้าได้ทันที

อ่านบทความกรณีศึกษา Omise ยูนิคอร์นตัวแรกของประเทศ ได้ที่นี่

เริ่มต้นใช้งาน WordPress.org

‍

กี่แบบฟอร์มก็เอาอยู่

ภาพจาก freepik

เวลาดึงข้อมูลหลังกรอกแบบฟอร์มเข้าระบบจัดเก็บแต่ละทีเสียเวลามาก แต่ Webflow เขารู้

ด้วยตัวของ Webflow เองมีระบบกรอกฟอร์มในตัวเลย นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อกับ Zapier ที่จะช่วย Automate ตามคำสั่งที่ตั้งให้เกิด Action ไว้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อได้รับข้อมูลจากแบบฟอร์มทางเว็บไซต์ ให้เพิ่มข้อมูลที่ได้รับเข้าไปในฐานข้อมูลระบบ CRM หรือระบบ Email ได้อัตโนมัติ

ทั้งสร้างฟอร์มได้ภายใน Webflow แล้วยัง Automate โดยตรงจาก Zapier ได้ใครจะไม่ชอบ

form plug-in wordpress

ซึ่งต่างจาก Wordpress ที่ต้องพึ่งพา Plug-in สองถึงสามต่อ ต่อแรกใช้สร้างฟอร์ม ต่อที่สองตั้งเพื่อให้ส่งข้อมูลมาที่ E-mail ของเรา ต่อที่สามถ้าต้องการดึงข้อมูลที่กรอกไปทำอย่างอื่นต่อ หรือเอาไปเก็บในฐานข้อมูล แบบนี้ถ้าในธีมไม่ให้มาด้วยละก็งานนี้กระเป๋าเบาเลย

ครอบคลุม Hosting จบครบในที่เดียว

นอกจากดีไซน์ว่าดีง่ายและหนีห่างจากในการจัดการกับตัวโค้ดแล้ว Webflow เลยเสนอตัว Hosting ของตัวเองมาให้ด้วยเลย แต่ว่าราคาก็แอบแพงแบบไม่พอสมควร

ภาพจาก webflow

แม้ว่าราคาจะเริ่มต้นของ Basic จะอยู่ที่ 12$ ต่อเดือน ถ้าหากอยากได้ CMS Collection ด้วยต้องอัปเกรดแพ็กเกจเป็น CMS ที่ราคา 16$ ต่อเดือน

ทางด้าน WordPress.org จะเปิดอิสระให้ผู้ใช้เลือกเช่าได้เองตาม Web Hosting Service ซึ่งมีราคาที่เข้าถึงได้มากกว่าของ Webflow

แพ็กเกจของ Webflow ค่อนข้างเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการคิดเยอะใช้เงินในการแก้ปัญหา (เพราะก็ต้องแอบบอกเลยว่าจัดการเรื่อง Domain เรื่อง Hosting บน WordPress เป็นอะไรที่ต้องทำมือ คีย์เองเกือบทั้งหมด)

ถ้าคุณใช้ Webflow แล้วใช้ Hosting ของที่อื่น ต้อง Export code แล้วไป Publish ใน Hosting นั้น ซึ่งหากพลาดพิมผิดหรือใส่สีผิดไปนิดเดียวต้อง Export อัปเดตใหม่ทั้งหมด

แต่ถ้าใช้ Hosting ของ Webflow สามารถแก้ไขแล้ว Publish ได้ทันที ง่าย รวดเร็วทันใจ

‍

แต่!!!

ถ้าหากว่าคุณทำงานเป็นระบบที่ต้องมีการ Approve รอขั้นตอนแก้ไข ผ่านไม่ผ่าน หรือการอัปเดตเว็บไซต์แต่ละครั้งมีผลกับคนจำนวนมาก การ Export ก็เป็นการช่วยชะลอเวลาให้ตรวจดูข้อผิดพลาดได้มากขึ้นเช่นกัน ในกรณีนี้ WordPress ก็เป็นตัวเลือกที่ดี เพราะราคาที่ถูกกว่าอย่างมาก


รวมลิงก์ทั้งหมดของหน้านี้

เริ่มต้นใช้งาน Webflow  

เริ่มต้นใช้งาน WordPress

–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––

เว็บไซต์ซื้อขาย Theme สำหรับ Wordpress

>> Themeforest

>> Elegant themes

Theme builder ที่ The Growth Master(เคย)ใช้

>> Divi Builder

>> Elementor

Plug-in ต่าง ๆ ที่พูดถึง

>> ระบบการชำระเงิน Omise

>> ระบบกรอกฟอร์ม Contact Form

>> ระบบส่งฟอร์มเข้าอีเมล WP Mail

สรุปสั้นๆ

ทั้ง Webflow และ Wordpress มีเครื่องมือที่เจ๋งสุดๆไปเลยด้วยระบบ CMS ที่ทำให้เราไม่ต้องไปทุบกับตัวโค้ดให้ยุ่งยาก เหมาะกับการดีไซน์ตกแต่งให้สวยงาม หน้าตาหน้าใช้งาน แต่ทั้งสองมีข้อจำกัด หากต้องการเว็บไซต์ที่มีความแอดวานซ์มาก ๆ มีโครงสร้างที่ซับซ้อนจะไม่แนะนำเท่าไหร่ อย่างระบบ Sign up account ที่ซับซ้อน เหมือน Facebook แบบนี้ก็ต้องเขียนขึ้นมาหรือเอาโปรแกรมตัวอื่นมาช่วยแล้วล่ะ เหตุผลก็เพราะทั้งสองตัวมีอุปกรณ์ช่วยในการสร้างในตัว แต่การทำเว็บไซต์ที่ซับซ้อนอาจจะไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้ ดังนั้นการไปใช้เครื่องมือตัวอื่นจึงคุ้มค่าและตอบโจทย์มากกว่า

ก็คงต้องเลือกใช้ให้ถูกทั้งคนและเครื่องมือกันไป

ช่องทางอัปเดตซอฟต์แวร์กับ The Growth Master

ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น

และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่

Facebook : The Growth Master

Facebook Group : TechTribe Thailand

Blockdit : The Growth Master

Line@ : @thegrowthmaster

‍


===================================

สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ


ม้าที่ว่าเร็วแล้วยังแพ้ลา

เพราะลาไปก่อน สวัสดีค่าาา :)

‍

ส่งต่อเรื่องราวดีๆ

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
แหล่งเรียนรู้สำหรับคุณและธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม
connect@thegrowthmaster.com
Privacy Policy
Terms & Agreement
User Data Deletion
Services
Business Tech Stack
Advertise
Tech Review
Subscribe
Category
Software Review
All Articles
Growth Trends
Company
We're Hiring
Internship Program
Community
Contact
Channels
Facebook
Line OA
Youtube
© Copyright 2020 W JAMES Company Limited All Rights Reserved
"Grow Like a Master"