ข้อมูลที่อ้างอิงจาก Strategy Analytics ได้แสดงให้เห็นว่าในปี 2019 ที่ผ่านมา ลำโพงอัจฉริยะหรือเจ้า Smart Speaker นั้นมียอดขายที่พุ่งสูงขึ้นถึง 147 ล้านชิ้น และเติบโตขึ้น (Growth rate) ถึง 70 % จากปี 2018
ส่วนในด้านของส่วนแบ่งการตลาด Amazon นั้นยังถือเป็นเจ้าตลาดอยู่ด้วย Market share ที่ 26.2 % ตามมาด้วย Google ที่ 20.3 % โดยในอับดับที่ 3, 4 และ 5 ก็ตกเป็นของสามบริษัทยักษ์ใหญ่จากจีน (Baidu, Alibaba และ Xiaomi ตามลำดับ) ส่วน Apple นั้นอยู่ในอันดับที่ 6 ด้วย share เพียง 4.7 %
นอกจากนี้ ก็มีข้อมูลเมื่อปีก่อนจาก Canalys ที่คาดการณ์ไว้ว่าภายในปี 2020 นี้ยอดขาย Smart Speaker นั้นจะมียอดขายรวมทั่วโลกเป็น 150 ล้านชิ้น รวมถึง Consumer Intelligence Research Partners ก็คาดการณ์ว่าในอเมริกาจะมียอดขายเพียง 80 ล้านชิ้น แต่ในความเป็นจริงนั้น เฉพาะในอเมริกาช่วงท้ายปี 2019 ยอดจำนวน Smart Speaker ที่อยู่ในบ้านของชาวอเมริกาก็มีมากเกือบ 160 ล้านชิ้น
ซึ่งก็สามารถบอกได้ว่าปัจจุบันผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Smart Speaker and Diplay นั้นถูกขายไปแล้วอย่างน้อย 200 ล้านชิ้นทั่วโลก
ทำไม Smart Speaker ถึงยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นหนึ่งในช่องทางการตลาด ?
คำถามใหญ่ที่หลายคนยังสงสัยกันก็คือ ในเมื่อ Smart Speaker นั้นมีการเติบโตที่อัศจรรย์ขนาดนี้ ทำไมมันถึงยังไม่ถูกพัฒนาไปเป็นหนึ่งใน Marketing Channel อีกหละ ?
Amazon เปิดตัว Echo มาในปี 2014 จนปัจจุบันนับเป็นเวลาเกือบ 6 ปีหลังจากเปิดตัว และปัจจุบันพวกเขาก็ได้ประกาศตัวเลขยอดขายจากอุปกรณ์ที่เป็น Alexa-powered devices ที่ถูกขายไปแล้วกว่า 100 ล้านชิ้น พร้อมกับการพัฒนาทักษะให้ Alexa ไปกว่า 100,000 ทักษะ เรียกได้ว่ามีการเติบโตที่ดีมากๆ
แต่เรายังไม่เคยเห็นข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับฝั่ง Marketing ที่ชัดเจนจาก องค์กรที่เป็น third-party PR หรือแบรนด์ไหนๆ เลย ปัจจุบันก็อาจจะมีเพียงแค่ Survey ด้านพฤติกรรมการ Search และการใช้งานฝั่ง e-commerce ผ่านระบบ Assistant เท่านั้น แต่เราก็ไม่สามารถตอบได้อย่างชัดเจนว่านั่นคือพฤติกรรมการใช้งาน Smart Speaker ที่แท้จริง
เพราะหากเปรียบเทียบกันแล้ว Smart Display กับ Smart Speaker นั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีความแตกต่างกัน โดยถึงแม้ว่าทั้งสองจะเป็นอุปกรณ์ที่มี Voice-controlled เหมือนกันทั้งคู่ มีระบบ Voice Assistant เหมือนกัน แต่เจ้า Smart Display นั้นส่วนใหญ่มักจะรองรับระบบ search และ commerce มาในตัวอยู่แล้ว แตกต่างจากเจ้า Smart Speaker ที่อาจจะไม่ได้รองรับความสามารถนี้ทั้งหมด
ซึ่งเป็นไปได้ว่านั่นอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ปัจจุบันหลากหลายแบรนด์ยังไม่ได้พัฒนากลยุทธ์การตลาดมาในช่องทางของ Smart Speaker เพราะข้อมูลพฤติกรรมของผู้ใช้นั้นอาจจะมีไม่มากพอนั่นเอง
Scenarios ที่เป็นไปได้ในการสร้างรายได้และโปรโมทจากช่องทาง Smart Speaker
หากโฟกัสไปที่อุปกรณ์ Smart Speaker เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันและอนาคตก็ถือมีหลากหลายวิธีที่เป็นไปได้ในการทำการตลาดและสร้างรายได้ผ่านช่องทาง Smart Speaker เช่น :
- Audio advertising : การโฆษณาผ่านเสียง
- Reordering : การรีออเดอร์สินค้าที่เคยซื้อไปแล้ว (เช่น ของ Walmart Groceries) โดยสามารถช่วยเรื่องการสร้าง Loyalty ของลูกค้าได้ เช่น เวลาลูกค้าซื้อของสด หรือวัตถุดิบในการทำอาหาร แล้วลูกค้าต้องการสั่งซ้ำเมื่อสิ่งเหล่านั้นหมด
- Reservations/booking : การใช้จองร้านอาหารหรือโรงแรม
นอกจากในฝั่งที่เป็น Indirect ก็จะมีอย่างเช่น การทำ Local search ที่จะทำให้ผู้คนสามารถค้นหาสินค้า สถานที่ หรือบริการที่อยู่ตามพื้นที่ได้ผ่าน Smart Speaker และสามารถทำให้เกิด Conversion ในช่องทาง Offline ได้นั่นเอง
หรืออีกหนึ่ง use case ก็คือการนำเจ้า Smart Speaker นี้ไปเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เช่น เคสของโรงแรม Marriot ที่นำ Alexa ไปวางไว้ในห้องของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานสิ่งที่ผูกกับบริการและฟังก์ชั่นต่างๆ ของโรมแรม
แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่มี case ไหนที่ออกมายืนยันว่าพวกเขาประสบความสำเร็จจากการใช้มันเป็นช่องทางหารายได้และทำการตลาด
สรุป
คงต้องบอกว่ามันยังข้อสงสัยและถกเถียงกันอยู่ว่าทำไมปัจจุบันมันถึงยังไม่ถูกพัฒนาเป็นช่องทางในการทำการตลาด ถึงแม้ว่าปัจจุบันนักการตลาดรวมถึงแบรนด์เองจะเริ่มตะหนักแล้วว่า Voice Search เป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่เราควรพัฒนา แต่อย่างที่บอกไปว่านั่นก็ยังเป็นประสบการณ์ส่วนเดียวเพียงส่วนเดียวจาก Smart Speaker เพราะมันยังมีอีกมากมายหลายส่วนที่เป็นเหมือนโอกาสให้เราได้พัฒนาจากช่องทางนี้ครับ
ยังคงต้องติดตามกันต่อไปครับ