10 หลักการพัฒนา Mindset สำหรับนักการตลาดในปี 2020

10 หลักการพัฒนา Mindset สำหรับนักการตลาดในปี 2020
Light
Dark
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน

นักการตลาดหลายคน ‘หวัง’ ให้ธุรกิจหรือโปรเจ็คที่พวกเขาดูแลอยู่เติบโตได้อย่างเร็ว แต่ก็กลับมา ‘ผิดหวัง’ เมื่อเห็นผลลัพธ์ที่ไม่ดีและยอมแพ้ไป ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นก็ตาม

แน่นอนว่าสุดท้ายธุรกิจของพวกเขาก็จะไม่สามารถเติบโตไปไหนได้ ซึ่งที่เรื่องนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งก็อาจจะมาจากเรื่องที่เป็น Technical Skills เช่น การวางกลยุทธ์การตลาด หรือการทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าที่พวกเขาอาจจะทำได้ยังไม่ดีพอ  

แต่ส่วนสำคัญที่ถือเป็นต้นตอของความล้มเหลวนี้ก็คือเรื่องของ “Mindset” ที่เป็นตัวกำหนดหลักการของความคิด และทำให้พวกเขาอยู่กับที่ไม่ไปไหน

และเราเองก็จะไม่ปล่อยให้คุณเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้นแน่นอน เพราะเราจะพาคุณไปเรียนรู้ 10 หลักการที่จะพัฒนากรอบความคิดของคุณ ให้คุณสามารถเติบโตได้แบบไร้ความผิดหวัง

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

10 หลักการพัฒนา Mindset ให้พร้อมเติบโต สำหรับนักการตลาดในปี 2020

1. เรียนรู้ทุกอย่างจากประสบการณ์จริง

สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจใหม่ก็คือ การเติบโต นั้นไม่ได้เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญหรือสูตรสำเร็จใดๆ แต่มันเกิดจากการทดลองของหลากหลายสมมติฐาน ที่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ของมันจะบอกคุณได้ว่าอะไรเวิร์คหรือไม่เวิร์ค

ยกตัวอย่างเช่น การทำ A/B Testing หรือ Split testing ที่เป็นกระบวนการในการทดสอบระหว่าง 2 ชิ้นงาน เพื่อหาว่าผู้ใช้ชอบชิ้นงานแบบไหนมากที่สุดนั่นเอง โดยคุณสามารถนำมันไปทดสอบประสิทธิภาพได้กับหลายๆ สิ่งบน Digital Platform เช่น Facebook Ads , Landing Page , E-mail , ปุ่ม CTA (Call to action) หรือ Design บนเว็บไซต์ ก็สามารถทำได้

จุดสำคัญของมันคือการได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากการทดลอง ซึ่งถึงสุดท้ายแล้วคุณจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีจากการทดลอง

แต่ข้อมูลจากการทดลองแต่ละครั้งนั้น จะเป็นประสบการณ์ที่ทำให้คุณได้พบกับสิ่งที่จะทำให้คุณเติบโต

2. ให้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน  

ข้อดีของการทำธุรกิจที่เป็น Digital Business นั้นก็คือ คุณสามารถวัดผลและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ได้จากข้อมูล โดยอย่างที่บอกไปในหัวข้อที่แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าอะไรเวิร์คหรือไม่เวิร์ค

ดังนั้นทุกครั้งที่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการตัดสินใจทำอะไร คุณไม่ควรจะคาดเดาจากสัญชาตญาณของเราเพียงอย่างเดียว ว่าลูกค้าจะชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่คุณควรใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินร่วมด้วย แบบใน Diagram ด้านล่างนี้ :  

เครดิตรูปภาพ : brianbalfour.com

ในการวัดผลคุณก็สามารถใช้เครื่องมืออย่าง Google Analytics หรือ KISSmetrics ได้เลย นอกจากนี้คุณก็ยังสามารถเรียนรู้ข้อมูลของลูกค้าที่ลึกขึ้นได้ด้วยวิธีการ อย่างเช่น การพูดคุย หรือการสัมภาษณ์กับลูกค้า

3. ทดลองสิ่งใหม่

“การเติบโตเกิดขึ้นจากไอเดียที่สร้างสรรค์และการทดลองสิ่งใหม่ๆ”  

อย่าตีกรอบตัวเองไว้อยู่ภายใต้สิ่งที่คู่แข่งของคุณทำ เพราะความจริงแล้วไอเดียของคุณเองอาจจะสร้างความสำเร็จให้กับคุณได้มากกว่าหลายเท่าเลย

ไม่มีใครมาบอกคุณได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุด ไม่มีใครกำหนดสูตรสำเร็จได้ว่า คุณต้องส่งอีเมลไปหากลุ่มเป้าหมายกี่ครั้งพวกเขาถึงจะมาซื้อสินค้าของคุณ หรือไม่มีใครสามารถบอกคุณได้ว่ากลุ่มลูกค้าของคุณเองจะชอบวิธีกาขายแบบเดียวกับที่คู่แข่งของคุณหรือเปล่า

หลักการก็คือ หาข้อบกพร่องในกระบวนการที่คุณทำอยู่ แล้วปรับปรุงมัน มากกว่าการที่ไปทำตามคนอื่นที่อาจจะได้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิมหรือแย่กว่าด้วยซ้ำ

4. อย่าหยุดแค่ผลลัพธ์ที่ดีเพียงครั้งเดียว

การเติบโตนั้นไม่มีวันหยุด ต่อให้คุณจะสามารถพัฒนา Conversion rate ไปได้ถึง 95 % แล้ว แต่นั่นไม่ได้แปลว่าคุณควรหยุดแค่ตรงนั้น เพราะจริงๆ แล้วตัวเลขนี้มันก็อาจจะเป็นสัญญาญที่บอกว่าคุณกำลังจะเติบโตขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แต่ถ้าคุณหยุดแล้วก็จะถือว่าพลาดโอกาสนั้นไปนั่นเอง

เมื่อคุณรู้สึกว่าทุกอย่างถูกพัฒนาหรือ Optimized แล้ว ให้คุณลองไปคิดเพิ่มว่าอะไรคือ Growth Driver ที่ทำให้ตัวเลขเหล่านั้นสูงขึ้น แล้วเราจะทำอย่างไรให้มันมี Impact มากขึ้นกับกลุ่มเป้าหมายคนอื่นๆ

“อย่าหลงใหลกับตัวเลขที่เพิ่มขึ้นและหยุดที่เท่านั้น ท่องไว้เสมอว่าคุณทำได้ดีกว่าตัวเลขนี้”

5. กระบวนการมาก่อนเสมอ

อย่างที่เห็นว่าการทดลองนั้นเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการเติบโต แต่มันยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ ที่เรียกว่า Growth Process เท่านั้น

เครดิตรูปภาพ : www.crakrevenue.com

โดยการทดลองนั้นจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการก่อนการที่จะปล่อยก่อนที่จะนำไอเดียไปทดสอบนั้นมาใช้จริง เพราะกระบวนการของมันทั้งหมดจะเป็นดังนี้ :

1. Analyze (วิเคราะห์ข้อมูล) : การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นขั้นตอนการทำความเข้าใจลูกค้าผ่านการสังเกตุข้อมูลการตอบสนองที่ลูกค้ามีต่อผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนนี้จะทำให้คุณได้ไอเดียดีๆ ที่มีโอกาสเติบโตสูงกว่าไอเดียที่เกิดจากการคาดเดา หรือคิดเอง  

2. Ideate (ระดมไอเดีย) : ไอเดียที่ดีจะเป็นจุดเริ่มต้นของผลลัพธ์การเติบโตแบบก้าวกระโดด ถ้าคุณและทีมขาดการเสนอไอเดีย โอกาสที่จะเติบโตก็จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ ตามจำนวนไอเดียที่ถูกทดลอง

3. Prioritize (จัดลำดับความสำคัญของไอเดีย) : ในการกำหนดหรือระบุว่าไอเดียไหนดีที่สุดใน Growth Meeting สิ่งสำคัญคือเสียงและความคิดเห็นจากแต่ละตัวบุคคลในที่ประชุม ในที่นี้เราจะใช้การให้

คะแนนกับแต่ละไอเดีย  

4. Test (ทดลอง) : ในขั้นตอนสุดท้ายคือการเริ่มทำไอเดียที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่าต้องทำ มาทำให้มันเกิดขึ้นจริง ซึ่งก็คือการนำทุกไอเดียที่ผ่านขั้นตอนการ Prioritize มาทดสอบเพื่อดูผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น

นอกจากกระบวนการ 4 ขั้นตอน  Analyze – Ideate – Prioritize -Test แล้ว อย่างที่ได้เกริ่นไปตอนต้นว่าอีกหนึ่งอย่างที่มีความสำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ คน หรือ ณ ที่นี้นั้นหมายถึงบุคคลากรทั้งทีมนั่นเอง

ทีมที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกแผนกหรือหน่วยงานที่มีส่วนในการเติบโตของธุรกิจนั้นๆ เพื่อสร้างทัศคติและเป้าหมายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นก็คือ

การเติบโต และเมื่อกระบวนการและทีมนั้นสมบูรณ์แล้ว กลยุทธ์ Growth Hacking ก็จะสร้างการเติบโตที่รวดเร็วได้อย่างแน่นอน

6. การเติบโตที่แท้จริงคือการเติบโตแบบยั่งยืน

หลายคนอาจจะเข้าใจผิดและตื่นเต้นกับสิ่งที่ไม่ใช่การเติบโตที่แท้จริง

“All Growth is not equal” – Brian Balfour

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีแอพพลิเคชั่น แล้วจ้าง Influencer ชื่อดังมาโปรโมท จนทำให้ตัวเลข MAU (Monthly Active Users) ของคุณพุ่งขึ้นในช่วงเดือนนั้น คุณอาจจะคิดว่ามันคือการ Growth Hacking ที่

ทำให้เกิดการเติบโต แต่จริงๆ แล้วมันอาจจะไม่ใช่เพราะมันอาจแค่ได้ผลดีแค่ระยะสั้นๆ

เพราะการเติบโตที่แท้จริงต้องดูจาก 3 สิ่งนี้ :

มีคุณค่า (Meaningful) – การเติบโตที่แท้จริงจะต้องสร้างคุณค่าให้กับทั้งองค์กรและลูกค้า ทั้งสองฝ่ายต้องได้รับประโยชน์ เช่น ฝั่งลูกค้าต้องพึงพอใจและกลับมาใช้งานเป็นประจำ ส่วนฝั่งองค์กรก็ต้องได้ประโยชน์จากการที่ลูกค้ามาใช้งานเราบ่อยๆ เช่นกัน

ยั่งยืน (Sustainable) – การเติบโตจะต้องเป็นการเติบโตแบบยั่งยืน ไม่ใช่การเติบโตเพียงระยะเวลาสั้นๆ ที่เกิดจากกลยุทธ์ที่เป็น Short term strategy เช่น Paid Campaign ต่างๆ

ทำซ้ำได้ (Repeatable) – การเติบโตต้องเกิดจากปัจจัยที่เป็น Growth Driver ของเราจริงๆ ไม่ใช่แค่เป็นเทรนด์ที่ตัวเลขพุ่งสูงขึ้น เท่านั้น เช่น คุณนำสิ่งที่เป็นเทรนด์มาร่วมกับธุรกิจของคุณ แต่ผลลัพธ์ก็

อาจจะออกมาดีแค่ตอนที่เทรนด์นั้นกำลังอยู่ในกระแสเท่านั้น

อย่างที่รู้กันว่ากลยุทธ์การสร้างการเติบโตนั้นถือเป็นกลยุทธ์ระยะยาว เพราะแบบนั้น เราจึงไม่ควรเอาผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ มาตัดสินนั่นเอง

7. เริ่มต้นด้วยสิ่งเล็กๆ ก่อนเสมอ

ถ้าคุณมีแพลนอยากเริ่มทดสอบเมื่อไหร่ คุณควรเริ่มต้นด้วยหลักการที่เรียกว่า MVT (Minimum Viable Tests) หรือพูดได้ง่ายๆ ว่ามันคือการทดสอบสมมติฐานกับสิ่งเล็กๆ ที่สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว

เพราะคุณต้องเข้าใจว่ากระบวนการของมันต้องกลับมาทำซ้ำใหม่ได้ คุณจึงควรเริ่มจากสิ่งเล็กๆ แล้วค่อยๆ ปรับปรุงตามผลลัพธ์ที่ได้

ลองนึกดูว่าถ้าคุณรอให้ทดลองทุกอย่างเสร็จก่อน หรือว่าเริ่มทดลองจากสิ่งใหญ่ๆ เลยทันที ถ้าเป็นเว็บไซต์คุณก็คงจะต้องมา Re-design เว็บไซต์ทั้งหมดทีเดียว ซึ่งก็อาจจะเสียเวลามากๆ กว่าจะได้

Luanch เว็บไซต์นั้น

8. Customer – Centric  

สิ่งหนึ่งที่จะมาควบคู่กับกระบวนการ Growth Process ก็คือการทำความเข้าใจลูกค้าอยู่เสมอ เพราะหากไม่สามารถทำได้ การเติบโตนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นได้เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น

ถ้าเราคำนึงถึงตัวเลขที่สูงขึ้นอย่างเดียว โดยไม่ได้มอบคุณค่าให้กับลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนว่าสุดท้ายพวกเขาก็จะค่อยๆ หายไป

ซึ่งวิธีที่ง่ายๆ ก็อย่างเช่น การคอยหมั่นสอบถามความพึงพอใจของพวกเขาระหว่างการใช้งานผลิตภัณฑ์

สุดท้ายหากพวกเขาได้รับคุณค่าที่เรามอบให้อย่างสม่ำเสมอ พวกเขาก็จะไม่มีทางไปจากคุณ

9. จริยธรรมต่อลูกค้า

หลายแบรนด์อาจจะมองข้ามจุดนี้ไป ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างอันตรายเพราะว่ามันเป็นจุดที่สามารถส่งผลถึงแบรนด์ได้อย่างชัดเจน

ลองสมมติว่า คุณกำลังทำแอพพลิเคชั่นที่มีฟังก์ชั่นคล้ายคลึงกับ Tinder ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้ามาหาคู่ได้ผ่านแพลตฟอร์มนี้

และเพื่อยอดผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้น คุณก็ได้สร้างบัญชีปลอมขึ้นมา และให้บัญชีเหล่านี้ทำเป็นเหมือนทักลูกค้าคนนึงไปให้รู้สึกว่ามีคนกำลังสนใจในตัวพวกเขาอยู่ เพื่อให้พวกเขายอมสมัครสมาชิกเพื่อที่จะได้เห็นว่า

ใครทักมา และสามารถเริ่มสนทนากับอีกฝ่ายได้ ทั้งๆที่จริงๆแล้วอีกฝ่ายนั่นก็คือบัญชีปลอมนั่นเอง

ถึงแม้ว่าวิธีนี้จะสามารถเพิ่มผู้ใช้งานได้จริง แต่สุดท้ายเมื่อพวกเขาได้เริ่มใช้งานและมารู้ความจริงในภายหลัง พวกเขาก็อาจจะรู้สึกไม่ดีต่อแบรนด์ ซึ่งส่งผลเสียต่อการเติบโตระยะยาว

10. ทีมที่ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

จากความเชี่ยวชาญหลายด้านและความรู้พื้นฐานที่มีติดตัวกันทุกคน จะทำให้สมาชิกในทีมสื่อสารตรงกัน ตั้งแต่จุดเริ่มต้น กระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ จากจุดแข็งนี้เองทำให้ Growth Team มีข้อดีที่แตกต่างวิธีการทำงานเป็นกลุ่มแบบอื่นอย่างเห็นได้ชัด

และการทำงานใน Growth Team จะใช้รูปแบบที่เรียกว่า Agile และ Cross functional

Agile = การทำงานที่เน้นการสื่อสารมากกว่าเอกสาร

Cross functional = การทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อเป้าหมายเดียวกัน จากสมาชิกที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญกันในคนละสายงาน แต่สามารถเชื่อมโยงกันด้วยข้อมูลพื้นฐาน

การทำงานด้วยระบบ Growth Team เปรียบเป็นเหมือนสะพานที่เชื่อมแต่ละศาสตร์เอาไว้ด้วยกัน ช่วยลดระยะทางไม่ต้องผ่านไปผ่านมาหลายๆ ฝ่าย เปรียบเสมือนทางลัดที่จะช่วยย่นระยะเวลา เพราะทุกคนเป็นทุกฝ่ายในตัวเองจึงสามารถจัดการกับงานได้เลยทันทีนั่นเอง

สรุป

สุดท้ายผมหวังว่า 10 หลักการนี้จะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยพัฒนา Mindset เรื่องการเติบโตของคุณให้ดีขึ้น และทำให้คุณสามารถเริ่มกระบวนการ Growth Process เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจหรือโปรเจคของคุณได้ครับ

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe