CPAS หรือ Collaborative Performance Advertising Solution คืออะไร? เริ่มใช้งาน CPAS บน Facebook ได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบให้นักการตลาดทุกท่าน
เมื่อทุกวันนี้ เทคโนโลยีออนไลน์ต่าง ๆ ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของเราอย่างเต็มตัว ทั้งในเรื่องของการสื่อสารและการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ E-Commerce ที่เข้ามาทำให้การช้อปปิ้ง ซื้อขายสินค้าต่าง ๆ ทำได้อย่างง่ายดายและกลายเป็น New Normal ของจริงในปัจจุบัน
และก็ต้องยอมรับว่าด้วยผลกระทบจากวิกฤต Covid-19 หลายธุรกิจต่างเลือกที่จะ Tranformation ตัวเองให้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ทำให้ช่วงนี้เราได้เห็นร้านค้าออนไลน์ต่างๆ งัดโปรโมชั่น เร่งเครื่องทำการโฆษณาผ่านช่องทาง Social Media อย่างดุเดือด
ซึ่งหนึ่งในรูปแบบของการทำโฆษณาผ่านทาง Social Media ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับธุรกิจ E-Commerce ได้ดีที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นรูปแบบโฆษณาที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “CPAS” หรือชื่อเต็มคือ Collaborative Performance Advertising Solution ที่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการทำโฆษณาของ Facebook
โดยในบทความนี้ The Growth Master จะขอพาคุณไปทำความรู้จักกับ “CPAS” หนึ่งในรูปแบบ Facebook Ads ที่ช่วยให้ธุรกิจ E-Commerce สร้างยอดขายได้มากขึ้น ตั้งแต่ความหมาย, หลักการทำงาน และประโยชน์ของรูปแบบของโฆษณาตัวนี้ ที่จำเป็นสำหรับนักการตลาดอย่างคุณ
ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
รูปแบบโฆษณา CPAS คืออะไร ? ถึงเวลาทำความรู้จักให้มากขึ้น Collaborative Performance Advertising Solution หรือ CPAS คือ อีกหนึ่งรูปแบบการโฆษณาผ่านทางแพลตฟอร์ม Facebook โดยลักษณะจะเป็นรูปแบบของ Dynamic Ads (โฆษณาที่เห็นจะมีเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการของเราตลอด)
แต่สำหรับใครที่สงสัยว่าแล้วธุรกิจ E-Commerce ทุกธุรกิจสามารถใช้งานรูปแบบโฆษณานี้ได้เลยเหรอ? คำตอบก็คือ ไม่ใช่ เพราะในการจะทำโฆษณารูปแบบนี้ Facebook จะเป็นคนพิจารณาว่าสินค้าหรือแบรนด์ของคุณ น่าเชื่อถือมากแค่ไหน
และธุรกิจของคุณต้องทำการขายอยู่ในช่องทาง E-Commerce Marketplace เช่น Shopee, Lazada ด้วยถึงจะเริ่มทำการโฆษณารูปแบบนี้ได้
ซึ่งรูปแบบโฆษณา CPAS ถือเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือของ Facebook ที่จะร่วมผลักดันธุรกิจ E-Commerce ให้เติบโต โดยเปิดโอกาสให้แบรนด์และผู้ค้าปลีกที่เป็น E-Commerce Marketplace อย่าง Shopee หรือ Lazada ทำงานร่วมกันอย่างง่ายดายเพื่อการเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น
ตัวอย่างหน้าตาของรูปแบบโฆษณา CPAS (Facebook) ภาพจาก Heroleads โดยหลักการทำงานของ CPAS คือ ฝั่งผู้ค้าปลีกที่เป็น Partner กับ Facebook (อาทิเช่น Shopee, Lazada) จะทำการสร้าง Catalog เพื่อจัดหมวดหมู่สินค้าแยกเป็นแต่ละแบรนด์เอาไว้
จากนั้นแบรนด์ (ตัวเรา) จะใช้ Catalog ตัวดังกล่าว ที่ฝั่ง Marketplace ส่งมาให้เราตั้งกลุ่มเป้าหมายและทำการโฆษณาแบบไดนามิค (Dynamic Ads ) ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในสินค้านั้น ๆ หรือมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าของคุณ จากนั้นเมื่อคุณได้เซ็ตกลุ่มเป้าหมายและทำการยิงโฆษณาเรียบร้อยแล้ว โฆษณาดังกล่าวก็จะปรากฏไปหากลุ่มเป้าหมายที่คุณเซ็ตไว้ทันที
คุณสามารถเลือกได้เองว่า ต้องการให้โฆษณายิงไปหาคนทั่วไปหรืออยากจะให้ Retargeting ไปหาคนที่เคยกดเข้ามาดู, คนที่เคย Add to Cart สินค้าของเราผ่าน Marketplace แล้วแต่คุณจะเป็นคนกำหนดได้เลย
ซึ่งเมื่อ User ใน Facebook กดไปที่โฆษณาลักษณะดังกล่าวระบบกดจะลิงก์ไปที่ Marketplace (Shopee, Lazada) ที่คุณทำการตั้งค่าไว้ทันที โดย User ไม่ต้องออกจาก Facebook เลยซึ่งรูปแบบการทำโฆษณาแบบดังกล่าวมีเปอร์เซนต์ที่จะได้ Conversion สูงไม่น้อย
รูปแบบการโฆษณา CPAS เหมาะกับธุรกิจแบบไหนที่สุด? อย่างที่กล่าวไปว่ารูปแบบโฆษณา CPAS ไม่ใช่ทุกธุรกิจที่สามารถใช้งานรูปแบบโฆษณานี้ได้ อันดับแรกคุณต้องมีร้านค้าอยู่ใน Online Marketplace (Shopee, Lazada) ก่อน
จะว่าไปจริง ๆ แล้วการทำโฆษณาแบบ CPAS ถือว่ามีความแตกต่างจากการทำโฆษณาใน Facebook รูปแบบอื่น เพราะอย่างการทำ Facebook Ads แบบปกติคุณสามารถเริ่มแคมเปญ ยิงเอง จบเองได้ด้วยตัวคนเดียว
แต่ไม่ใช่กับ CPAS เพราะคุณต้องทำการขอร่วม Partner จาก Marketplace ต่าง ๆ ผ่านการส่งอีเมลและ Setting ใน Facebook Business Manager จากนั้นทาง Marketplace นั้น ๆ จะทำการแชร์ Catalog ของสินค้ามาให้คุณอีกที ถึงจะเริ่มทำแคมเปญ CPAS ได้
ซึ่งต้องเรียนให้ทราบว่าในขั้นตอนดังกล่าวจะมีความซับซ้อนพอสมควร (เพราะต้องทำงานกับ Marketplace โดยตรง) ส่วนใหญ่แบรนด์หรือธุรกิจที่ต้องการทำการโฆษณารูปแบบ CPAS จึงเลือกใช้บริการ Digital Agency ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นคนดำเนินการให้ทั้งหมด หรือไม่ก็ต้องมีทีม Marketing In House ในองค์กรที่มีประสบการณ์
เพราะฉะนั้นรูปแบบการโฆษณา CPAS จะเหมาะกับธุรกิจหรือแบรนด์ใหญ่ที่เป็นที่รู้จัก ที่มีร้านค้าอยู่ใน Marketplace อย่าง Shopee, Lazada และต้องมีกำลังในการจ้าง Digital Agency หรือ Marketing In House Team
เครดิตรูปภาพจาก Primal ประโยชน์ของการทำการโฆษณาแบบ CPAS คืออะไร? สำหรับนักการตลาดที่ต้องการเพิ่มยอดขายให้กับการทำธุรกิจ E-Commerce การใช้งานรูปแบบโฆษณา CPAS (Collaborative Ads) มีประโยชน์และข้อดีดังนี้
ทำให้ธุรกิจ E-Commerce ได้ยอดขายและรายได้เพิ่มขึ้น ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการใช้งานรูปแบบโฆษณา CPAS และเชื่อว่านักการตลาดทุกท่านล้วนต้องการนั่นก็คือเรื่องของการเพิ่ม “ยอดขายและรายได้” ให้กับธุรกิจ E-Commerce ของคุณ
เพราะหนึ่งในข้อดีของรูปแบบโฆษณา CPAS คือสามารถ Take Action จาก Facebook ไปสู่ Shopee, Lazada ได้ทันที เพียงคุณกดรูปที่ Ads ระบบของ Facebook ก็จะนำคุณไปอยู่ในหน้าคำสั่งซื้อของสินค้านั้น ๆ ทันที ซึ่งถ้าคุณจะซื้อสินค้าก็แค่กดตรงคำว่า “สั่งเลย” หรือ “Shop Now” ของแพลตฟอร์มนั้น ๆ แค่นั้นก็เท่ากับปิดการขายเรียบร้อย
ซึ่งมันก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่การทำโฆษณารูปแบบ CPAS ของคุณจะไม่ได้ยอดขายที่เพิ่มขึ้นกลับมา โดยมีผลจากการเปิดเผยของทางบริษัท Pepsi.Co Thailand ที่มีการใช้งานรูปแบบโฆษณา CPAS กับทาง Lazada ก็สามารถสร้างยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วยอัตรา Conversion ที่สูงขึ้นกว่าการทำ Ads ปกติถึง 15%
ภาพจาก BangkokInsights เพิ่มประสิทธิภาพให้การทำ Retargeting อีกหนึ่งข้อดีของรูปแบบโฆษณา CPAS ที่จะไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือการเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำ Retargeting ของธุรกิจคุณ
เพราะการทำโฆษณารูปแบบ CPAS จะสามารถให้คุณเลือกได้เลยว่าคุณต้องการยิงโฆษณาไปหาคนที่เกือบจะเป็นลูกค้าของคุณ ในลักษณะไหน เช่น คนที่เคยเข้ามาดูสินค้า, คนที่เคยกด Add to Cart สินค้าของคุณ และคุณยังสามารถเลือกเวลาได้อีกด้วย (เช่น ต้องการยิง Ads ไปหาคนที่เคย Add to Cart สินค้าของเราภายในเดือนที่ผ่านมา)
ซึ่งรูปแบบโฆษณานี้ก็เป็นเหมือนการเสนอขายสินค้าให้คนที่ “ใกล้” จะกดซื้อสินค้าของเราจริง ๆ และมีโอกาสที่จะปิดการขายได้ค่อนข้างสูง
สร้าง Brand Awareness ทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักมากขึ้น เราทุกคนรู้กันอยู่แล้วว่า Facebook ถือเป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่มีผู้ใช้งานเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลเลยว่าในการทำโฆษณาของคุณจะปราศจากคนเห็น (ยกเว้นว่าตั้ง Target Group ผิดพลาด)
ดังนั้นมั่นใจได้เลยว่ารูปแบบการทำโฆษณา CPAS นอกจากจะช่วยเพิ่มยอดขายได้แล้วยังสามารถเพิ่มการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ให้กับแบรนด์หรือธุรกิจของคุณได้อีกด้วย ซึ่งคนที่เห็นโฆษณาของคุณ ก็อาจจะเปลี่ยนมาเป็นลูกค้าของคุณในอนาคตก็เป็นได้
นำค่า ROAS (Return On Ads Spend) เพื่อประโยชน์ในการทำการตลาด สำหรับ ROAS หรือชื่อเต็มคือ Return On Ads Spend คือ อัตราที่เอาไว้ชี้วัดว่า “คุณได้ยอดขายที่มาจาก การโฆษณามากน้อยเท่าไหร่” ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดอย่างพวกเรามาก เพราะคุณสามารถรู้ได้เลยว่าในการทำโฆษณาในแต่ละครั้ง คุณได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร
โดยนักการตลาดสามารถนำผลลัพธ์ของค่า ROAS ที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางปรับปรุงการทำการตลาดของคุณในแคมเปญต่อไปได้
ภาพจาก YuvrajPratap อยากเริ่มต้นสร้างรูปแบบโฆษณา CPAS ใน Facebook ต้องเริ่มต้นอย่างไร? (เบื้องต้น) สำหรับนักการตลาดท่านใดที่มีธุรกิจอยู่ใน E-Marketplace และอยากลองเริ่มใช้งานรูปแบบโฆษณา CPAS ในหัวข้อนี้ The Growth Master จะขอพาทุกท่านไปศึกษาการเริ่มทำโฆษณา CPAS ในแบบเบื้องต้น โดยจะขอแบ่งเป็น 4 พาร์ท ดังนี้
1. ตั้งค่าเริ่มต้นใน Facebook Business Manager ก่อนที่จะลงมือทำ อย่างแรกเลยที่คุณต้องมีก็คือ Facebook Business Manager Accounts สำหรับใครที่มีอยู่แล้วก็สามารถเริ่มต้นขั้นตอนต่อไปได้เลย แต่สำหรับใครที่ยังไม่มี คุณต้องเปิดบัญชี Business Manager ให้เรียบร้อยก่อน
โดยการตั้งค่าเริ่มต้นก็ใส่ข้อมูลของบริษัทคุณเข้าไป (เช่น ที่อยู่, ลิงก์เว็บไซต์, อีเมล, ชื่อบัญชี) และที่สำคัญสำหรับการทำ CPAS คือคุณต้องสร้างบัญชีโฆษณาแคมเปญใหม่เพื่อใช้ในการทำ CPAS โดยเฉพาะแยกไว้ก่อน
ภาพจาก ShopeeThailand สำหรับใครที่ต้องการเริ่มต้นการตั้งค่า Facebook Business Manager เพื่อการทำ CPAS แบบละเอียดสามารถเข้าไปดูวีดีโอเต็มได้ ที่นี่
2. ขอ Catalog สินค้าจาก Marketplace เพื่อใช้ในการทำโฆษณา CPAS เมื่อตั้งค่าใน Facebook Business Manager จากนั้นสิ่งสำคัญที่สุดของการทำ CPAS ที่คุณต้องทำนั่นก็คือการขอ Partner จาก Marketplace (ในข้อนี้เราจะสมมติให้เป็น Shopee) เพื่อให้ทาง Marketplace ทำการแชร์ Catalog สินค้ามาให้เราใช้ในการทำโฆษณา CPAS
โดยเมื่อคุณสร้าง Ads Accounts ได้แล้วก็ต้องเลือกไปที่ปุ่ม กำหนดพาร์ทเนอร์ เพื่อทำการกรอก ID ธุรกิจของพาร์ทเนอร์ลงไป ซึ่ง ID ที่ว่านั้นก็สามารถหาได้ในเว็บไซต์ของ Marketplace ที่คุณต้องการใช้โฆษณาเลย (ของ Shopee คือ 1472239313020616)
ภาพจาก ShopeeThailand และหลังจากนั้นคุณก็ต้องทำการส่งอีเมล (KAM E-Mail) ไปยืนยันว่าคุณได้มีการขอเริ่มเป็น Partner สำหรับการทำ CPAS กับ Shopee และต้องการขอ Catalog สินค้าเพื่อใช้ในการทำ CPAS
ซึ่งเมื่อคุณส่งอีเมลไปขอ Partner และ Catalog เรียบร้อยแล้วประมาณ 3-7 วันทำการ Shopee ก็จะแชร์ Catalog สินค้าของร้านคุณส่งมาทาง Business Accounts ให้เรียบร้อยเลยครับ (ดูได้ตรง Icon กระดิ่งแจ้งเตือน) ถึงขั้นตอนนี้การทำโฆษณา CPAS ของคุณก็เสร็จสิ้นไปครึ่งทางแล้วครับ
สำหรับใครที่สงสัยในการสร้าง Partner และการส่ง KAM-E-Mail เพื่อขอ Catalog สินค้ากับทาง Marketplace คุณสามารถเข้าไปดูขั้นตอนแบบละเอียดได้ ที่นี่
3. เริ่มลงมือสร้างโฆษณาแบบ CPAS หลังจากที่จัดการเรื่อง Partner และได้รับ Catalog สินค้าจาก Marketplace ส่งมาถึงคุณแล้วต่อไปคุณก็สามารถเริ่มต้นสร้างรูปแบบโฆษณาแบบ CPAS ได้เลย
แต่ก่อนอื่นคุณต้องเข้าไปทำการเลือกสินค้าที่จะใช้ในการทำ CPAS ที่ทาง Marketplace ส่งมาให้ก่อน โดยคุณต้องเข้าไปที่ การจัดการ Catalog เพื่อทำการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าก่อนที่จะเริ่มยิงโฆษณา (สำหรับขั้นตอนการทำแบบละเอียดดูได้ ที่นี่ เลย)
ภาพจาก newsfeed.org เมื่อคุณทำการแบ่งกลุ่มสินค้าและเลือกสินค้าที่จะในการทำโฆษณาแล้ว ก็เข้าสู่การเริ่มยิงโฆษณากัน โดยรูปแบบโฆษณา CPAS คุณต้องทำการตั้ง Objective (วัตถุประสงค์) แบบ Sales
จากนั้นคุณก็เข้าไปใส่รายละเอียดของการทำโฆษณาได้เลย ไม่ว่าจะเป็น การใส่สินค้าที่จะทำการโฆษณา, ใส่ Target Group (สามารถใช้ Pixel ของ Marketplace เพื่อการทำ Retargeting ได้ด้วย), กำหนด Budget, กำหนดหน้าตาและแคปชันของโฆษณา และการตั้งค่าสำหรับ Ads ทั้งหมดไดในขั้นตอนนี้เลย
เมื่อคุณตั้งค่าทุกอย่างได้เสร็จเรียบร้อย ก็เท่ากับ Ads ของคุณพร้อมยิงไปหากลุ่มเป้าหมายได้ทันทีแล้ว (สำหรับใครที่สงสัยในการตั้งค่าสำหรับการทำ CPAS สามารถเข้าไปดูขั้นตอนอย่างละเอียดได้ ที่นี่ )
4. การตั้งค่าเพื่อดูผลลัพธ์ของการทำโฆษณา (Measurement) และสุดท้ายเมื่อโฆษณาของคุณถูกเผยแพร่ไปแล้ว จากนั้นคุณก็ต้องนำผลลัพธ์ที่ได้มาใช้ในการทำ Report หรือทำการตลาดต่อไปในอนาคต ซึ่งอย่างที่เราได้กล่าวไปเมื่อตอนต้นว่าโฆษณาในรูปแบบ CPAS คุณสามารถดูค่า ROAS เพื่อใช้วัดผลได้
ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายก็คือการตั้งค่าให้ Facebook Business Accounts แสดงผลลัพธ์ของการทำโฆษณา โดยคุณสามารถเข้าไป Setting ในคอลัมน์การแสดงข้อมูลต่าง ๆ ได้เลย
ภาพจาก ShopeeThailand โดยคุณแค่เปลี่ยนคอลัมน์เป็น กำหนดเอง และเข้าไปเลือกหน่วยวัดผลที่คุณต้องการเช่น Reach, Impression, CPC, CPM, ROAS แล้วแต่ตัวคุณจะกำหนดเลยว่าในการทำการตลาดของคุณ คุณต้องการทราบสถิติอะไรบ้าง
เพียงเท่านี้การทำโฆษณาในรูปแบบ CPAS ของคุณก็เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สรุปทั้งหมด การทำโฆษณาในรูปแบบ CPAS ถือว่าเป็นเรื่องที่ใหม่และมีความซับซ้อนของกระบวนการทำงานอยู่ไม่น้อย เพราะเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยการสื่อสารและทำงานร่วมกับฝั่ง Marketplace อยู่ตลอด ทำให้หลายธุรกิจเลือกที่จะตัดปัญหานี้ โดยการให้ Digital Agency จัดการให้ทั้งหมด
แต่ถึงแม้ในการทำโฆษณาแบบ CPAS จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนเพียงใด แต่ผลลัพธ์ที่คุณจะได้กลับมาจากการทำโฆษณารูปแบบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือโอกาสทางธุรกิจก็ถือว่า “คุ้มค่า” กับการยอมลงทุนและเวลาที่เสียไปแน่นอน
กำลังมองหาเอเจนซี่การตลาดที่ยิงโฆษณาแบบ CPAS ได้? ปรึกษา The Growth Master เลย สำหรับธุรกิจใดที่กำลังมองหาเอเจนซี่การตลาดที่ยิงโฆษณา ทั้ง Google และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ Facebook, Instagram, TikTok
The Growth Master เป็นเอเจนซี่การตลาดออนไลน์ที่มีทีมงานเชี่ยวชาญมากประสบการณ์ด้านการยิงโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งใครที่กำลังหาทางลัดในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจของคุณ ทั้ง ยอดขาย, การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น พร้อมทั้งขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ เรายินดีพร้อมที่จะช่วยเหลือคุณเอง การันตีด้วยผลลัพธ์จากลูกค้า 100+ เจ้าที่เราช่วยให้ประสบความสำเร็จ ธุรกิจของคุณจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด หากคุณเลือกทำงานกับเรา