“ดีไหม ถ้าคุณขายสินค้าได้โดยไม่ต้องผลิตสินค้ามาสต๊อกก่อน?”
นี่คือโมเดลธุรกิจที่จะช่วยคุณทดสอบไอเดียที่มีคนมาซื้อสินค้าของคุณจริงๆโดยยังไม่ต้องผลิตออกมา เพียงแค่คุณมีไอเดีย สร้างต้นแบบ และทำวีดีโอโปรโมท ลูกค้าก็พร้อมที่จะจ่ายเงินให้คุณแล้ว
Fact ในปี 2015 มีคนจ่ายเงินบนระบบ Crowdfunding ทั่วโลกกว่า 34 พันล้านเหรียญ (1 ล้านล้านบาท) ข้อมูลจาก wikipedia
Crowdfunding คือ การรวมกันของสองคำระหว่าง Crowdsourcing + Alternative Sourcing เกิดขึ้นมาเพื่อหาแหล่งเงินทุนจากนักลงทุนรายย่อยอย่างเราๆ คนธรรมดาที่ซื้อสินค้าทั่วไป แทนที่จะหาจากบริษัทใหญ่หรือนักลงทุนอาชีพ เป้าหมายเพื่อนำมาสนับสนุนโปรเจ็คที่นำเสนอให้เกิดขึ้นจริง (ส่วนใหญ่นำเสนอในรูปแบบวีดีโอบนออนไลน์)
โดยผลตอบแทนของคนที่เอาเงินมาลงทุนนั้นจะได้สินค้าไปใช้ก่อนใครในราคาที่ถูกกว่าราคาขายจริงเมื่อนำออกมาวางในตลาด หรือบางครั้งคนที่ลงทุนอาจจะให้เงินเฉยๆเพราะเห็นว่าโปรเจ็คนั้นเจ๋งดีก็ได้
Crowdfunding มีทั้งหมดหลายประเภทด้วยกัน แต่วันนี้จะขอพูดถึงแค่ 3 ประเภทหลักๆ
ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
1.Reward-Based Crowdfunding นี่คือรูปแบบ Crowdfunding ที่ทำให้โมเดลนี้เป็นที่โด่งดังมาก เพราะคนที่มานำเสนอโปรเจ็คนั้นจะได้เงินกลับไปเพื่อผลิตไอเดียหรือสินค้าต้นแบบนั้นๆให้เกิดขึ้นจริง ไม่ใช่แค่นั้น มันอาจจะเป็นเพลงใหม่ของศิลปิน หรืองานภาพวาดก็ได้ และเจ้าของโปรเจ็คจะตอบแทนผู้ลงทุนด้วยการให้สิ่งของที่นำเสนอในโปรเจ็คนั้นๆกลับไป โดยแพลตฟอร์มที่อยู่ในประเภทนี้ที่ใหญ่ที่สุด คือ kickstarter
และรองลงมาคือ indiegogo
มันช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างยอดขายได้มากมายภายในเวลไม่กี่เดือน!
ตัวอย่างโปรเจ็คที่ประสบความสำเร็จ
2. Peer-to-Peer Lending ถ้าคุณต้องการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่เลือกได้ โดยผู้ปล่อยกู้ที่มีเงินเหลือนำมาปล่อยโดยให้ผลตอบแทนที่ตัวเค้าต้องการ แพลตฟอร์มนี้คือหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจมากๆ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกนอกจากธนาคาร และมีระบบให้เรทคะแนนของคนกู้ เพื่อลดความเสี่ยงให้กับเจ้าของเงิน
prosper คือแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดตอนนี้
มีนักลงทุนเข้าร่วมใน Prosper และให้เงินไปแล้วมากกว่า 14 ล้านเหรียญ (420 ล้านบาท)
3. Donation-Based Crowdfunding ระดมทุนเพื่อการกุศล ให้การทำบุญของเรานั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น คุณสามารถเลือกโปรเจ็คที่ชื่นชอบหรือแคร์มากๆ อย่างเช่น ระดมทุนเพื่อช่วยผู้สูงอายุ, เสื้อผ้าสำหรับเด็กในแอฟริกา หรืออีกมากมาย ดูตัวอย่างการระดมทุนรูปแบบนี้ได้ที่ gofundme หรือ kiva
เตรียมตัวอย่างไรเพื่อสร้างโปรเจ็ค Crowdfunding?
มันง่ายสำหรับเราที่จะสร้างโปรเจ็คและอัพขึ้นไปเพื่อขอทุนจากเว็บไซต์ชื่อดังอย่าง Indiegogo (Kickstarter ไม่เปิดรับสำหรับบริษัทที่จดทะเบียนในไทย) มากกว่าที่จะสร้างแพลตฟอร์ม Crowdfunding ขึ้นเองสำหรับตลาดในประเทศไทย มีผู้ประกอบการหลายรายพยายามที่จะทำและสุดท้ายก็ล้มเหลวกันไป
เหตุผลเพราะว่าคนในประเทศเรานั้นยังไม่คุ้นเคยกับโมเดลนี้ ผู้ใช้งานจริงๆจะต้องเป็นคนที่ชอบเสพย์ข่าวสารจากต่างประเทศและคุ้นเคยกับการซื้อของออนไลน์ข้ามประเทศ
ดังนั้นถ้าคุณต้องการเริ่มต้นสร้างโปรเจ็ค นี่คือทริคดีๆที่นำมาฝากครับ
1. เริ่มต้นจากปัญหาของลูกค้า มันจะมีข้อแตกต่างระหว่างโปรเจ็คที่รุ่งกับร่วง และนี่คือสิ่งที่ชี้วัดข้อหนึ่ง โปรเจ็คที่รุ่งจะเริ่มต้นจากการพูดคุยกับคนที่น่าจะเป็นลูกค้า และค้นหาว่าปัญหาของเค้าคืออะไร? และสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้นๆ ยิ่งมีคนที่มีปัญหานี้มาก จำนวนเงินที่ได้รับก็จะมากขึ้นตาม
ในทางกลับกัน โปรเจ็คที่ร่วงจะเริ่มต้นจากไอเดียผลิตภัณฑ์ก่อน แล้วค่อยไปหาลูกค้าที่น่าจะสนใจผลิตภัณฑ์นี้ มักจะเริ่มต้นจากเจ้าของที่หลงรักไอเดียนั้นๆมาก มากจนมองไม่เห็นหรือไม่สนใจว่าจะมีคนต้องการมันหรือไม่? นี่คือหลุมพรางที่ห้ามตกลงไปเด็ดขาดครับ
2. ผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า 10 เท่า เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดที่กำลังแก้ไขปัญหาเดียวกันอยู่นั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาต้องดีกว่ามากๆ โดยเราสามารถพัฒนาให้ดีกว่าในแง่ของ การใช้งานที่ง่ายกว่า ราคาที่ถูกกว่า หรือฟีเจอร์ที่ดีกว่า
หลุมพรางที่คุณไม่ควรตกลงไป คือ เวลานำมาเปรียบเทียบ เมื่อเราคิดค้นสิ่งที่แตกต่างมักจะบอกกับตัวเองว่าเราไม่มีคู่แข่ง เพราะไม่มีใครทำสิ่งนี้เหมือนเราเลย นั่นไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง เพราะเราต้องมองในมุมของลูกค้าก่อนเสมอ ในตอนนี้เค้าใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการอะไรแก้ไขปัญหานั้นอยู่ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะใกล้เคียงหรือแตกต่างกับสินค้าเรามากๆ นั่นก็คือคู่แข่งของเรา
3. ขนาดของตลาด ต่อจากข้อ 1 ที่ผมเกริ่นไปบางส่วนแล้วว่า ยิ่งมีลูกค้าที่ประสบปัญหานั้นอยู่เยอะ จำนวนเงินที่จะได้ก็เยอะตาม นี่คือสิ่งที่ควรประเมินให้ชัดเจนแต่แรก เพราะมันคืออนาคตของธุรกิจเลย ธุรกิจจะไม่สามารถขยายไปได้ไกลกว่าขนาดความต้องการของตลาด
ตัวอย่างเช่น ตลาดมอเตอร์ไซต์ Big bike เปรียบเทียบกับมอเตอร์ไซต์ทั่วไป จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ขนาดของตลาด Big bike นั้นเล็กกว่ามาก เพราะมันมีราคาสูงกว่า ต้องการความสามารถของผู้ขับขี่มากกว่า รวมถึงค่าบำรุงดูแลที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจะต้องประเมินให้ดีเพื่อให้เหมาะสมกับความคาดหมายของเรา
ถ้าเจาะตลาดที่มีกลุ่มคนจำนวนน้อย ก็ควรประเมินตัวเลขในการระดมทุนให้น้อยตามด้วย
สรุปทั้งหมด โมเดลการเริ่มต้นธุรกิจโดยการใช้ Crowdfunding จะดีมากๆสำหรับในช่วงการทดสอบไอเดียกับลูกค้าจริง เพราะจะได้เป็นจำนวนเงินกลับมามากมาย แต่มันก็ไม่ใช่จะมีแต่ข้อดีอย่างเดียว เพราะหลายโปรเจ็คที่ได้ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายนั้น ก็มีปัญหาตามมาว่า ไม่สามารถส่งมอบสินค้าได้ทัน หรือบางเจ้าก็ส่งสินค้าที่ไม่มีคุณภาพให้
เมื่อได้ Feedback จากโปรเจ็คที่ส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าแล้ว หลังจากนั้นให้นำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจจริงๆ เน้นการเติบโตที่ยั่งยืนจากทีมของคุณ
Happy Growing
:X