ทำไม Endlessloop จึงถูกพัฒนาขึ้นมา? Endlessloop เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแก้ไข Pain Point ที่พบในการทำงานของธุรกิจในปัจจุบัน เช่น
Framework ในปัจจุบันไม่เพียงพออีกต่อไป Endlessloop เป็นซอฟต์แวร์ที่มี Framework ที่ทำให้ทั้งนักพัฒนาและนักการตลาดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว
เพราะถ้านักการตลาดไม่รู้ว่าทีมนักพัฒนากำลังพัฒนาฟีเจอร์อะไรอยู่ พวกเขาก็ไม่สามารถวางกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเฉียบขาด ในขณะเดียวกัน ทางฝั่งนักพัฒนาก็จะสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างเดียว โดยไม่รู้ Feedback ที่นักการตลาดได้รับมาจากทางฝั่งผู้ใช้งาน ซึ่งกว่าจะรู้อีกทีก็อาจสร้างฟีเจอร์นั้นออกมาจนเสร็จแล้ว (ถ้าหากมีการแก้ไข ก็เสียเวลามากขึ้นไปอีก)
ถ้าคุณเป็นธุรกิจที่ต้องการซอฟต์แวร์ที่เข้ามารองรับให้นักพัฒนากับนักการตลาดมาทำงานร่วมกันได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่แรกเริ่มไอเดีย, สร้างผลิตภัณฑ์, ได้รับ Feedback กลับมา, พัฒนาปรับปรุงฟีเจอร์ต่าง ๆ ให้ดีขึ้น จนกระทั่งสร้างกลยุทธ์ให้ผู้ใช้งานกลับมาใช้ซ้ำเรื่อย ๆ Endlessloop เป็นซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมที่สุดในยุคนี้
เนื่องด้วยในโลกการทำงานของธุรกิจ Blockchain จะต้องอาศัยความรวดเร็วในการทำงานเป็นอย่างมาก เพราะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หากถามว่าสูงแค่ไหน ก็คงตอบได้ว่า ถ้าคุณตัดสินใจช้าไปเพียงหลักวินาที แล้วคู่แข่งชิงตัดหน้าพัฒนาฟีเจอร์นั้นไปก่อน ก็จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณได้ทันทีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ภาพจาก yale ขอยกตัวอย่างธุรกิจที่สร้างเหรียญคริปโต ที่นักพัฒนาของแต่ละเหรียญจะต้องใช้ความรวดเร็วในการสร้างฟีเจอร์ต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อสร้างมูลค่าให้ตัวเหรียญ สร้างให้เหรียญมีความสามารถมากที่สุด เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนมาลงทุนในตัวเหรียญ (ซึ่งบ่อยครั้งที่เราจะเห็นว่าพวกเขามีการตอบโต้กันผ่าน Telegram เพราะเป็นแอปพลิเคชันที่มีการโต้ตอบและรับส่งข้อความกันอย่างรวดเร็วหลักวินาที)
ซึ่งถ้าหากว่าทีมนักพัฒนาสามารถพัฒนาฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ก็สามารถทำให้เหรียญมีมูลค่าพุ่งสูงขึ้นหลายร้อยเปอร์เซ็น หรือกลับกัน หากข้อผิดพลาดบางอย่างเกิดขึ้น แล้วทีมมีการสื่อสารกันช้า มูลค่าของเหรียญอาจจะตกลงจนถึงศูนย์ดอลลาร์เลยก็ได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทำงานในสายงาน Blockchain จึงต้องอาศัยความรวดเร็วมาก ๆ ในการทำงาน
ภาพจาก pinimg ในขณะเดียวกัน สำหรับธุรกิจ SaaS ผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ ก็มีการแข่งขันในเรื่องของฟีเจอร์ด้วยเหมือนกัน แต่หากพูดถึงระดับความเร็วในการแข่งขันจะน้อยกว่าธุรกิจในสาย Blockchain แต่ก็สามารถใช้ Framework ทำงานรูปแบบเดียวกันได้
อย่างไรก็ตาม Framework ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วสำหรับการทำงานในสายธุรกิจ Blockchain, ธุรกิจ SaaS, ธุรกิจที่ Digital Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ Endlessloop จึงเกิดมาเพื่อเข้ามารองรับการทำงานของธุรกิจในลักษณะนี้โดยเฉพาะ ที่ทำให้นักการตลาด นักพัฒนา ทีมดีไซน์ และทีมอื่น ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ โดยที่ไม่มี Framework ไหนทำมาก่อน
ธุรกิจไม่เห็นภาพสถานการณ์ปัจจุบัน จึงไม่อาจรองรับการเติบโตในอนาคต หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเติบโตได้ไม่เต็มที่และล่าช้า คือ การมองไม่เห็นภาพสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ทีมจะมองภาพรวมการเติบโตในอนาคตได้ยาก และไม่สามารถเข้าถึงการทำงานของธุรกิจในแต่ละส่วนได้
ส่งผลให้แต่ละทีมทำงานโดยโฟกัสแค่หน้าที่ของตัวเองเท่านั้น หรือที่เราเรียกว่า ‘การทำงานแบบ Silo’ ซึ่งเป็นการทำงานรูปแบบเก่าที่ยังแบ่งเป็นแผนกอยู่ ไม่ได้เป็นการทำงานรูปแบบของทีมที่แท้จริง เพราะทุกทีมจะมีกำแพงเป็นของตัวเอง ทำงานแยกกัน เมื่อต่างคนต่างทำงาน ไม่เกิดการสื่อสาร จะทำให้ทำงานล่าช้า การ Tracking งานจากฝ่ายที่เราต้องทำต่อยากขึ้น และอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้นไปอีก
ยิ่งถ้าหากว่าธุรกิจมีทีมที่ทำงานแบบ Silo ผนวกกับธุรกิจที่ไม่ได้มีการออกแบบโครงสร้างมาเพื่อรองรับการเติบโตอย่างรวดเร็ว ก็จะยิ่งทำให้การมองเห็นภาพรวมของธุรกิจปัจจุบันยากขึ้นไปอีก
ภาพจาก wrike อยากให้คุณลองนึกภาพตามว่า ในตอนแรกเริ่มธุรกิจใหม่ ๆ ธุรกิจก็มักจะมีลูกค้าจำนวนไม่มาก เช่น 10 คน ซึ่งถ้าหากเราต้องเข้าไปพูดคุยกับพวกเขา เราก็สามารถเดินเข้าไปพูดคุยกับพวกเขาได้เองง่าย ๆ เลย เพราะจำนวนลูกค้ายังน้อยอยู่ จัดการได้สบาย ๆ
แต่เมื่อถึงจุดที่บริษัทเติบโต มีคนรู้จักมากขึ้น มีลูกค้าเพิ่มมากขึ้นจาก 10 คน เป็น 1,000 คน ตอนนี้เราไม่สามารถเดินเข้าไปคุยกับพวกเขาได้อย่างทั่วถึงเหมือนเดิมแล้ว แต่ทำอย่างไรล่ะ จึงจะสามารถเข้าไปพูดคุยกับลูกค้าได้เหมือนเดิม ในระยะเวลาที่มีอยู่เท่าเดิม แต่ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น?
การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงาน คือ คำตอบ เมื่อธุรกิจต้องการขยายตัว แต่ไม่นำเทคโนโลยีมาใช้ ธุรกิจก็อาจไม่พร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องใช้เวลาและความระมัดระวังอย่างมากในการตัดสินใจ ส่งผลทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินการอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป
การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีอย่าง Endlessloop จะทำให้ทีมเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย, ช่วยให้เห็นข้อมูลที่รอบด้าน, ภาพขั้นตอนการทำงานภายในธุรกิจอย่างชัดเจนจากฝ่ายต่าง ๆ รวมไปถึงงบประมาณที่ถูกนำไปใช้ในแต่ละส่วนจาก Data ที่ได้รับมาจากแคมเปญตามจริง ซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจทางธุรกิจได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าที่เคย
ทำให้การทำรีพอร์ตเป็นเรื่องง่าย นักการตลาด ในฐานะที่คุณเป็นนักการตลาดที่ต้องคอยรายงานผลหัวหน้าทุก ๆ สัปดาห์ คุณอาจจะต้องคอยดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใส่ในสไลด์ เมื่อข้อมูลอัปเดต ก็ต้องมาดึงข้อมูลใหม่อีกครั้ง เท่ากับว่ามันเสียเวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อวัน และเป็นงานที่คุณต้องทำทุกสัปดาห์
หรืออีกกรณีหนึ่ง คุณอาจจะไม่ต้องส่งรีพอร์ตทุกสัปดาห์ก็ได้ แต่วันดีคืนดี หัวหน้าก็เดินมาขอดูรีพอร์ตเลยโดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนแม้แต่น้อย คุณก็ต้องเร่งทำรีพอร์ตส่งให้หัวหน้าภายในวันนั้น ทำให้คุณเสียเวลาไปกับงานนี้อีก
จะดีกว่าไหมถ้าหากคุณมีเครื่องมืออย่าง Endlessloop ที่สามารถกด Export ผลเมทริกซ์ที่คุณต้องการออกมาได้ภายในคลิกเดียว แล้วนำไปส่งหัวหน้าหรือลูกค้าได้เลย โดยที่ไม่ต้องมานั่งแคปรูปแล้วนำไปแปะสไลด์ทุก ๆ สัปดาห์
ภาพจาก windsor นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ หรือนักลงทุน หากคุณเป็นผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจสตาร์ปอัป และต้องทำพอร์ต เพื่อไป Pitching หาเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งโดยธรรมชาติของนักลงทุน พวกเขาจะชอบลงทุนกับธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มการเติบโตดี และมีศักยภาพในการทำงานสูง
ดังนั้นปัจจัยที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนเหล่านั้น คือ คุณจะต้องทำพอร์ตเพื่อไป Pitching พวกเขาอย่างรอบด้าน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ และแสดงให้เห็นแนวโน้มการเติบโตที่ดีของบริษัทอย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น แสดงให้เห็นถึง Traction หรือความสามารถในการดึงลูกค้าเข้ามาใช้งานผลิตภัณฑ์ของคุณว่ามีมากน้อยแค่ไหน เช่น ความสามารถในการเพิ่มยอดคลิกลิงก์, ยอดคนสมัครใช้งาน, ยอดคนกรอกฟอร์ม
รวมถึงข้อมูลทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในอดีต ปัจจุบัน ไปจนถึงอนาคต เพราะถ้าเกิดว่าคุณมีแผนภาพที่ชัดเจน, ข้อมูลที่วัดผลได้เหล่านี้ และทำให้นักลงทุนเห็นภาพที่ชัดเจนว่าธุรกิจของคุณมีแนวโน้มการเติบโตเป็นอย่างไร ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และดึงดูดพวกเขาได้ง่ายยิ่งขึ้นนั่นเอง
และ Endlessloop ก็เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถแสดงข้อมูลทั้งหมดออกมาบน Dashboard ที่อ่านข้อมูลได้ง่าย เช่น ดูว่าธุรกิจวางแผน/วางกลยุทธ์อะไรไว้ที่จุด Touchpoint ของ Customer Journey ไว้บ้าง, ดูว่าวางแคมเปญอะไรที่ต้องทำ, วิธีดึงคนกลับมาใช้งานต่อ รวมถึงสามารถดู Backlog ไอเดียหรือแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นในอนาคต
แผนภาพทั้งหมดจาก Dashboard นี้เพียงอันเดียว จะทำให้นักลงทุนสามารถประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทนจากธุรกิจได้รอบด้าน และช่วยดึงดูดให้นักลงทุนหันมาลงทุนกับธุรกิจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นจากข้อมูลที่วัดผลได้เหล่านั้น
Endlessloop เหมาะสำหรับใคร? Endlessloop จะมีประสิทธิภาพเต็มความสามารถ และเห็นผลได้อย่างชัดเจนที่สุด ถ้าหากธุรกิจ Blockchain, ธุรกิจ SaaS หรือบริษัทที่ต้องการ Digital Transformation เป็นผู้ใช้งาน เพราะธุรกิจในรูปแบบนี้ เจ้าของธุรกิจมักจะมีความเข้าใจความสำคัญของการใช้เทคโนโลยี และพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะยาว
ทุกวันนี้หากใครได้เล่นโซเชียลมีเดียก็จะเห็นได้ว่ามีข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับ Blockchain หรือ Cryptocurrency ออกมาไม่เว้นแต่ละวัน ในด้านราคาที่สูงขึ้นหรือตกลงอย่างรวดเร็ว หรือแม้แต่การที่ธุรกิจเหล่านั้นสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมา เพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นโดดเด่นกว่าคู่แข่งในตลาดอย่างเห็นได้ชัด
แน่นอนว่าการทำงานของโลก Blockchain มีความรวดเร็วมาก ๆ ทำให้นักพัฒนาและนักการตลาดต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพราะถ้าหากผลิตภัณฑ์มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ ออกมา นักพัฒนาก็สามารถประกาศให้ผู้ใช้งานทราบได้ทันทีผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Telegram, Twitter หรืออื่น ๆ และถ้าหากผู้ใช้งานมี Feedback หรือข้อสงสัยอะไรกลับมา ทั้งนักพัฒนาและนักการตลาดจะต้องเป็นคนที่ช่วยกันตอบคำถามเหล่านั้น
เพราะถ้าไม่มีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด บางครั้งมีบางคำถามที่นักการตลาดไม่สามารถตอบได้ นักพัฒนาจะต้องเป็นคนที่ตอบคำถามนั้น แต่บางครั้งก็มีบางคำถามที่นักพัฒนาไม่สามารถตอบได้ นักการตลาดจึงต้องเป็นคนตอบคำถามนั้นแทน
นั่นทำให้ในทุก ๆ ส่วนของการทำงานจำเป็นที่จะต้องมี Framework อย่าง Endlessloop เข้ามา เพื่อที่ให้ทีมสามารถเห็นภาพรวมการทำงานตรงกัน วัดผลได้ในทุก ๆ ขั้นตอน รวมถึงสามารถเก็บ Feedback จากผู้ใช้งานแล้วนำมาพัฒนาฟีเจอร์ให้ดีขึ้น หรือคิดค้นฟีเจอร์ใหม่ ๆ ต่อไปได้
นอกจากธุรกิจ Blockchain แล้ว Endlessloop ยังเหมาะสำหรับธุรกิจ SaaS อีกด้วย เพราะเป็นผู้ให้บริการทางด้านซอฟต์แวร์ แต่ถ้าพูดถึงการทำงานในมุมมองของธุรกิจ SaaS จะมีการทำงานที่ช้ากว่าฝั่ง Blockchain เล็กน้อย
ภาพจาก dandelife หากเป็นธุรกิจ SaaS ที่มีขนาดใหญ่ เช่น ClickUp ในช่วงแรกเราอาจจะเห็นได้ว่าบริษัทเหล่านี้มีการออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ บ่อยมาก เช่น 2 สัปดาห์ ออก 1 ครั้ง เพื่อเป็นการทดสอบว่าฟีเจอร์ไหนที่ผู้ใช้งานแล้วประทับใจหรือชอบใช้งาน สามารถแก้ปัญหาให้พวกเขาได้อย่างตรงจุด
แต่ช่วงหลัง ๆ ที่บริษัทดำเนินมาได้ถึงจุดหนึ่งแล้ว ก็จะออกฟีเจอร์ใหม่น้อยลง เพราะบริษัทรู้แล้วว่าลูกค้าของเขาชอบฟีเจอร์แบบไหน พวกเขาจึงไม่สามารถปรับเปลี่ยนฟีเจอร์อะไรได้มาก แต่ทำได้เพียงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือปรับเปลี่ยนเพียงหน้าตา UX/UI ที่ทำให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น
ดังนั้นถ้าหากคุณเป็นธุรกิจ SaaS ที่กำลังอยู่ในช่วงทำให้เติบโต หรือไปสู่จุด Product/Maket Fit การใช้งาน Endlesssloop เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมมาก ๆ เพราะให้คุณได้สร้าง Experiment ได้อย่างไม่จำกัด และวัดผลได้ในทุก ๆ ขั้นตอน เพื่อหาสิ่งที่ใช่ที่สุดให้กับผลิตภัณฑ์ของคุณเอง
แล้วทำไม Endlessloop ถึงไม่เหมาะสมสำหรับธุรกิจรูปแบบอื่น? หากคุณเป็นธุรกิจที่ยังไม่ Digtial Transformation ยังมีการทำงานแบบ Analog ที่ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง (Manual) โดยที่ไม่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเลย เช่น การวัดผล หรือการ Tracking ข้อมูลต่าง ๆ แล้วคุณมาใช้งาน Endlessloop ก็อาจจะใช้ซอฟต์แวร์นี้ได้คุ้มค่ากับประสิทธิภาพ หรือหากให้อธิบายแบบเห็นภาพชัดที่สุด สมมติว่าประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์เต็มสิบ คุณอาจจะใช้เพียงแค่หนึ่งส่วนเท่านั้น
เพราะ Endlessloop จะต้องมีการวัดผลในทุก ๆ จุดของธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มนำทางผู้ใช้งานที่ไม่รู้จักเรามาก่อน (Stranger) ให้เป็นคนที่รู้จักและเข้ามาเยี่ยมชมธุรกิจ (Visitor) หรือผู้ที่มีโอกาสจะกลายมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต (Lead) และในที่สุดก็กลายเป็นลูกค้าที่กลับมาซื้อ/ใช้ซ้ำ (Customer) จนกระทั่งเป็นกระบอกเสียงบอกต่อผลิตภัณฑ์ของเราให้กับคนอื่น ๆ (Promoter) ซึ่ง Endlessloop จะทำให้คุณมองเห็น Customer Journey แบบนี้ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นถ้าหากคุณยังเป็นธุรกิจที่ยังไม่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร แล้วอยากทดลองใช้งาน Endlessloop เราก็อยากแนะนำให้คุณลองเปิดใจลองนำเทคโนโลยีมาใช้งานในองค์กรก่อน เพื่อที่ว่าคุณจะได้เห็นประสิทธิภาพของการใช้งาน Endlessloop อย่างชัดเจนที่สุด
ฟีเจอร์เด่นของ Endlessloop ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมองเห็นภาพรวมการเติบโตจบลูปในหน้าเดียว Loop Loop เป็นเทมเพลตที่พัฒนามาสำหรับการทำงานของ Growth Team โดยเฉพาะ และเป็นเทมเพลตที่ต่อยอดมาจาก Growth Loop ที่ถือว่าเป็น Framework สำคัญของการทำ Growth Hacking โดยในแต่ละ Loop จะถูกออกแบบมาสำหรับ 1 Persona เท่านั้น เพื่อให้คุณมุ่งเป้าไปยัง North Star Metric ตามที่ธุรกิจตั้งไว้ และสามารถวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
อย่างไรก็ตาม นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์ของคุณจะสามารถสร้างได้เพียงลูปเดียวเท่านั้น เพราะในหนึ่งผลิตภัณฑ์เราสามารถสร้างลูปสำหรับ Persona อื่น ๆ ได้ ซึ่งข้อดีของการที่เราแบ่งออกเป็นหลายลูป จะช่วยให้เราโฟกัสไปยังการคิดกลยุทธ์แคมเปญสำหรับ Persona นั้น ๆ ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการสร้างแค่ลูปเดียว
สำหรับหน้า Loop จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน (แบ่งตาม Growth Loop) คือ
Cool, I’m interested – กระบวนการที่ธุรกิจทำให้ลูกค้ารับรู้และสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Acquisition)Yes, this is for me! – กระบวนการที่ธุรกิจทำให้ลูกค้าได้รับคุณค่าหรือประสบการณ์ที่ดีจากผลิตภัณฑ์ จนเกิดการซื้อขึ้น (Activation) Wow! That's great – กระบวนการที่ธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้าเกิดการซื้อ/ใช้ผลิตภัณฑ์ซ้ำอย่างต่อเนื่อง (Retention)I love it, I need to share this – กระบวนการที่ธุรกิจวางกลยุทธ์ทำให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อขึ้น (Referral)รู้หรือไม่? สำหรับทั้ง 4 ชื่อนี้ เป็นชื่อที่ทาง Endlessloop คิดมาใหม่โดยเฉพาะ แทนการใช้คำว่า Acquisition, Activation, Retention และ Referral บน Growth Loop เพราะอยากให้นักการตลาดเข้าใจในความรู้สึกของลูกค้าอย่างชัดเจน เวลาที่คิดคอนเทนต์หรือกลยุทธ์อะไรมา ก็จะคิดในมุมลูกค้ามากขึ้น
Cool, I’m interested (เอาล่ะ ฉันเริ่มรู้สึกสนใจผลิตภัณฑ์/บริการนี้เข้าแล้ว) Cool, I’m interested คือ กระบวนการที่ธุรกิจทำให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นขั้นตอนที่มีส่วนอ้างอิงมาจาก Customer Journey หรือเส้นทางพฤติกรรมการซื้อของผู้ใช้เป็นหลัก ผนวกกับการใช้เทคนิค 5 Stages of Awareness ที่ถูกคิดค้นขึ้นโดย Eugene Schwartz ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียน Copywriting ในปี 1966
5 Stages of Awareness คือ เทคนิคในการสร้างคอนเทนต์ โดยที่ธุรกิจจะต้องมองในมุมมองของลูกค้าและคิดแบบเดียวกับพวกเขา เพื่อจุดประสงค์ทางธุรกิจ เช่น สร้าง Awareness, Traffic, Conversion เป็นต้น ซึ่งสาเหตุที่เราต้องสร้างออกมาเป็น 5 Stages of Awareness เพราะ Endlessloop เป็นซอฟต์แวร์ที่มี Framework ที่สร้างจากพฤติกรรมของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Unaware – ขั้นตอนที่ลูกค้ายังไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหาอยู่Problem Aware – ขั้นตอนที่ลูกค้ารู้ตัวแล้วว่าตัวเองกำลังประสบปัญหานั้นอยู่Solution Aware – ขั้นตอนที่ลูกค้ารู้ว่าตัวเองจะแก้ปัญหานั้นด้วยวิธีใดProduct Aware – ขั้นตอนที่ลูกค้ารู้ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการไหนที่ตอบโจทย์กับเขาHighly Aware – ขั้นตอนที่ลูกค้ารู้จักสินค้าและบริการนั้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อสำหรับในขั้น Cool, I’m interested นี้จะเป็นกระบวนการที่คอยจับตาดูพฤติกรรมของลูกค้าในช่วงก่อนที่พวกเขาจะเดินทางไปถึงกระบวนการซื้อ (Buying Process) หรือขั้น Yes, this is for me ขั้นถัดไป
เพราะเรามีความเชื่อในเรื่องพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ที่ถึงแม้ว่าช่องทางหรือวิธีการซื้อจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตั้งแต่เดินไปซื้อสินค้าเองที่ร้านจนมาถึงซื้อทางช่องทางออนไลน์เหมือนในปัจจุบัน แต่พฤติกรรมและวิธีการคิดในการซื้อของพวกเขาไม่เปลี่ยนไปเลย
หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน เราจะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของลูกค้าก็ไม่ได้ต่างจากปัจจุบันเลย ลองนึกภาพตามง่าย ๆ ก่อนที่ลูกค้าจะเริ่มซื้อสินค้า/บริการสักอย่างหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นด้วยพฤติกรรมตั้งแต่การที่พวกเขาไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับปัญหา (Pain Point) อะไรอยู่ แต่เมื่อพวกเขาตระหนักรู้ว่ามันมีสิ่งที่เข้ามาช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น เขาก็เริ่มเริ่มสนใจในผลิตภัณฑ์นั้นมากขึ้น จนกระทั่งเกิดการซื้อ และบอกต่อในที่สุด
ภาพจาก liveadmins ตัวอย่างเช่น ทำไมในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หลายคนถึงต้องใช้บริการ Grab ด้วย? เพราะว่าที่ผ่านมา พวกเขาอาจจะพบเจอความไม่สะดวกสบายในการเรียกแท็กซี่เอง ต้องเดินออกจากบ้านไปยืนรอที่ปากซอย (เพราะหากรอในซอยจะไม่ค่อยเจอรถ) พอรอมาสักพักโบกได้หนึ่งคัน แต่แท็กซี่ก็ดันปฏิเสธผู้โดยสารอีก ก็ต้องรอคันต่อไปอีก พอขึ้นรถไปแล้ว นึกออกว่าไม่มีเงินสดจ่าย ก็ลำบากเข้าไปอีก
แต่พอมี Grab เข้ามา แค่กดเรียกรถที่บ้าน รอไม่นานรถก็มาจอดรับถึงหน้าบ้าน ซึ่งมันเป็นบริการที่ทำให้ผู้โดยสารสะดวกสบายมาก ๆ ไม่ต้องเดินออกไปเรียกรถเองไกล ๆ หรืออดทนรอเรียกแท็กซี่หลาย ๆ คัน (หรือเราจะเรียกว่าเป็นจุดที่ลูกค้าเจอ Aha Moment)
หรือเมื่อเราจะจ่ายเงินก็สามารถเลือกตัดเงินจากบัตรได้เลย ไม่ต้องจ่ายเงินสด และหมดปัญหาเรื่องการโดนโกงค่าแท็กซี่อีกด้วย พอผู้ใช้งาน Grab เห็นคุณค่าความสะดวกสบายแบบนี้ ก็อยากที่จะกลับมาใช้ซ้ำอีก รวมถึงบอกต่อให้เพื่อน ๆ คนอื่นมาใช้งานต่อไปด้วย
ภาพจาก grab ซึ่งพอลองนำพฤติกรรมเหล่านี้มาเทียบกับปัจจุบัน เราก็จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมเหล่านั้นก็ไม่ได้ต่างจากเดิมสักเท่าไร ที่คนเริ่มจากการไม่รู้ว่าตัวเองพบเจอปัญหาบางอย่างอยู่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจน คือ ‘ช่องทางการซื้อ’ จากเดิมที่เคยเดินไปโบกแท็กซี่เอง ก็เรียกรถผ่านแอปพลิเคชันจากที่บ้านได้ หรือจากที่เคยเดินไปซื้อของด้วยตัวเองตามร้านค้า ห้างสรรพสินค้า แต่ตอนนี้ก็เปลี่ยนมาซื้อของบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น
ในอนาคตไม่ว่าเวลาจะผ่านไปอีกกี่ปี นี่คือสิ่งที่เราเชื่อว่าพฤติกรรมของพวกเขาก็จะเหมือนเดิม จะไม่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้ และถ้าหากมี Framework ที่ทำให้ผู้ประกอบ นักพัฒนา นักการตลาด รวมถึงทีมอื่น ๆ สามารถจับช่องทาง รู้ Customer Journey อย่างชัดเจน รู้จุด Touchpoint ที่ทำให้ธุรกิจไปเจอพวกเขาได้ง่ายขึ้น ก็คงจะดีไม่ใช่น้อยเลยใช่ไหมล่ะคะ?
Endlessloop เครื่องมือที่ช่วยให้คุณเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ง่ายมากขึ้น ถ้าเราใช้ Loop มองในมุมของลูกค้า จะเห็นได้ทันทีว่า พวกเขาจะเกิดการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/บริการต่าง ๆ ผ่านการกดคลิกเข้ามาอ่านหรือดูคอนเทนต์ที่ธุรกิจวางไว้ตามแต่ละ Touchpoint ของ Customer Journey จนกระทั่งพวกเขาเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อออกไป
ในขณะที่ถ้ามองในมุมของธุรกิจ ในขั้นนี้คุณจะต้องคิดว่า “คุณจะทำคอนเทนต์อะไร เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจในธุรกิจของคุณมากที่สุด” เพื่อที่จะนำพวกเขาไปสู่ขั้นตอนการซื้อในขั้นถัดไปได้
และที่สำคัญ ความพิเศษของส่วนนี้ คือ ในแต่ละ Stage จะมีการวัดผลต่าง ๆ ตามที่เราตั้งค่าไว้ เช่น ยอด Link Click, ยอด Page View หรือค่าใช้จ่ายทางตลาด ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลกับ Data Sheet เพื่อทำให้เรารู้ได้ว่าคอนเทนต์ที่อยู่ใน 5 Stages of Awareness มีจำนวนคนเข้ามาคลิกลิงก์, เข้ามาดูคอนเทนต์ หรือแคมเปญที่ทำออกมามีค่าใช้จ่ายไปเท่าไรแล้ว
ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ มันจะแสดงถึงสุขภาพโดยรวมของแต่ละแคมเปญที่เราปล่อยออกไปว่ามีประสิทธิภาพและได้ผลดีมากพอหรือไม่ ถ้าหากผลลัพธ์ออกมาไม่น่าพอใจ ทั้งนักการตลาดและนักพัฒนา สามารถวางแผนการตลาด, พัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดสรรงบประมาณใหม่อีกครั้ง เพื่อปรับปรุง Customer Journey ให้ออกมาดีที่สุด และเพิ่มโอกาสทางการขายได้มากขึ้น
Yes, this is for me! (ใช่เลย สิ่งนี้เกิดมาเพื่อฉัน!) Yes, this is for me! หรือกระบวนการที่ธุรกิจทำให้ลูกค้าได้รับคุณค่าหรือประสบการณ์ที่ดีจากผลิตภัณฑ์ จนเกิดการซื้อขึ้น
สำหรับขั้นตอนนี้หลังจากที่ลูกค้าได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์ผ่าน 5 Stages of Awareness มาแล้ว ลูกค้าก็จะเริ่มมีความคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรานี่แหละ ใช่เลย เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาให้พวกเขา จากนั้นจะมีกระบวนการซื้อ (Buying Process) เกิดขึ้นตามมา
ถ้าคุณเป็นธุรกิจแบบ B2C ลูกค้าจะเข้าสู่กระบวนการซื้อได้ทันที แต่กลับกัน ถ้าเป็นกรณีของธุรกิจ B2B อาจจะยังไม่มีการซื้อเกิดขึ้น เพราะบางธุรกิจอาจจะต้องมีการพูดคุยรายละเอียดต่าง ๆ กันก่อน เช่น ในเรื่องของราคา แต่โดยปกติแล้ว ลูกค้าจะมีการทิ้งข้อมูลบางอย่างไว้ให้กับเรา เช่น ชื่อ, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น เพื่อให้ธุรกิจรู้ว่าลูกค้ากำลังสนใจผลิตภัณฑ์อยู่ แล้วธุรกิจก็จะสามารถติดต่อกลับไปได้ผ่านข้อมูลนั้น ๆ
Wow! That's great (ว้าว! สิ่งนี้มันดีมาก ๆ เลย ชอบมาก!!) Wow! That's great คือ กระบวนการที่ธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ลูกค้าเกิดการซื้อ/ใช้ผลิตภัณฑ์ซ้ำ เป็นขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกับแคมเปญการตลาดเลย แต่เป็นขั้นที่ธุรกิจต้องคิดว่าจะทำอย่างไรถึงให้ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว เกิดความประทับใจในตัวคุณยิ่งขึ้นไปอีก จนใช้ผลิตภัณฑ์ซ้ำไปเรื่อย ๆ
กล่าวง่าย ๆ ในขั้นนี้จะเป็นมุมมองการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีกว่าเดิม เช่น ในมุมธุรกิจ Blockchain หรือ SaaS เป็นการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้าไป เพิ่มความสามารถของเหรียญ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้กับลูกค้ายิ่งขึ้นไปอีก ทำให้พวกเขารู้สึกว่าเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกพัฒนาต่อยอดแล้วมันเจ๋งขึ้นกว่าเดิม จนอยากใช้ผลิตภัณฑ์ของเราต่อไปอีกเรื่อย ๆ
หรือตัวอย่างของธุรกิจที่ทำ Digital Transformation ที่อาจจะมีการเพิ่ม Live Widget Chat ลงไปบนหน้าเว็บไซต์ ทำให้ฝั่งธุรกิจคุยกับลูกค้าได้ง่ายขึ้นในการช่วยขายสินค้า/บริการ หรือช่วยตอบคำถามที่ลูกค้าสงสัยหลังจากที่ซื้อผลิตภัณฑ์ไปแล้ว ถือเป็นการเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับลูกค้า พวกเขาก็จะเห็นว่าธุรกิจมีความใส่ใจกับพวกเขา จนรู้สึกรักในธุรกิจของเราเพิ่มขึ้น อยากใช้งานผลิตภัณฑ์ของเราไปเรื่อย ๆ อีกด้วย
ภาพจาก helpwise เพราะเราจะสังเกตได้ว่าในปัจจุบันผลิตภัณฑ์จากหลาย ๆ ตลาด ยิ่งมีการแข่งขันสูง ก็ยิ่งทำให้ต้องมีการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากคุณไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์ของคุณให้ดีขึ้น เมื่อใดที่ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่พอใจในผลิตภัณฑ์ แล้วเห็นว่าของเจ้าอื่นดีกว่า พวกเขาก็พร้อมที่จะเปลี่ยนไปเป็นลูกค้าของคู่แข่งได้ทันที เราจึงต้องมีวิธีที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาพวกเขาไว้ให้อยู่กับเรานาน ๆ
เช่นเดียวกัน หากพูดถึงในมุมธุรกิจ Blockchain คุณก็จะทราบดีว่า นอกจากการทำงานที่ต้องอาศัยความรวดเร็วแล้ว มูลค่าของเหรียญคริปโตก็มีการผันเปลี่ยนที่เร็วมาก ถ้าหากคุณไม่พัฒนาผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม ไม่มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ ไม่มีลูกเล่นที่ทำให้คนอยากเข้ามาลงทุนในเหรียญนั้น มันก็จะทำให้มูลค่าของเหรียญดรอปลงเรื่อย ๆ แต่ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจรูปแบบนี้เติบโตอย่างยั่งยืน คุณก็ต้องทำให้เหรียญมีความสามารถแข็งแกร่งอยู่เสมอนั่นเอง
ซึ่ง Endlessloop ก็มี Board ให้คุณสามารถนำไอเดียใหม่ ๆ ที่คิดค้นมาได้ หรือนำ Feedback ที่ได้รับจากลูกค้า มาเก็บเป็น Backlog สำหรับทำงานต่อไปได้ง่ายขึ้นอีกด้วย โดยจะมีรูปแบบการทำงานเป็นขั้นตอนในลักษณะของ Kanban Board ที่ประกอบไปด้วย Backlog, To Do (งานที่ต้องทำ), Doing (งานที่กำลังทำ) และ Done (งานที่ทำเสร็จแล้ว)
โดยที่ Backlog จะเป็นขั้นตอนการระดมไอเดียจากทุกคนในทีมว่าจะสร้างฟีเจอร์อะไรเพิ่มขึ้นมา หรือนำ Feedback ของลูกค้าที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดให้ผลิตภัณฑ์ดียิ่งขึ้นไปอีก
ส่วนขั้น To Do จะเป็นขั้นที่ทีมควรเลือกว่าจะนำไอเดียไหนมาทำก่อน เพราะถ้าหากเมื่อไรที่ใน Backlog มี Task อยู่เยอะเกินไป เราก็จะไม่รู้ว่าควรทำงานไหนก่อนดี จับจุดไม่ถูก แต่ถ้าเราเลือก Task ที่ควรนำมาทำก่อน ก็จะทำให้เรามีความสามารถในการจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำได้ดีขึ้น และมีระบบจัดการ Workload ของทีมที่ดีอีกด้วย
ยกตัวอย่างง่าย ๆ หากคุณมี Task อยู่ 5 งาน แต่ในจำนวน 5 งานนั้น มีเพียงแค่ 3 งานที่ควรทำจริง ๆ (อีก 2 งานยังไม่ต้องทำก็ได้) ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว เมื่อมี Task งานค้างอยู่ คุณก็จะรู้สึกว่าอยากรีบทำให้ 5 งานนั้นเสร็จไปไว ๆ มันเลยกลายเป็นว่าคุณทำ 3 งานนั้นแบบลวก ๆ ไม่ได้โฟกัสอย่างเต็มที่ เพื่อไปทำอีก 2 งานให้เสร็จทั้งหมด ซึ่งจริง ๆ แล้ว คุณภาพของงานก็อาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพเต็มร้อย
แต่ถ้าเกิดลองมาจัดความสำคัญของงานดี ๆ ก่อนลงมือทำ คุณก็จะรู้ว่ามีเพียง 3 งานเท่านั้นที่ต้องทำ คุณก็จะได้โฟกัสทั้ง 3 งานนั้นให้ดีไปเลย นี่แหละคือประโยชน์ของการจัด Workload ในช่อง To Do (Doing และ Done ตามมา)
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในส่วนนี้จะมีการเชื่อมต่อกับหน้า Board อีกด้วย เราสามารถดูได้ว่ามีไอเดียใน Backlog อยู่กี่ไอเดีย หรือมีงานที่กำลังทำอยู่จำนวนกี่งาน เป็นต้น (ฟีเจอร์ Board เราจะกล่าวถึงแบบเต็ม ๆ ในหัวข้อถัดไป)
I love it, I need to share this (ฉันชอบผลิตภัณฑ์/บริการนี้มาก ต้องบอกต่อแล้วแหละ) I love it, I need to share this คือ กระบวนการที่ธุรกิจวางกลยุทธ์ทำให้ลูกค้าเกิดการบอกต่อขึ้น ในขั้นนี้จะมีลักษณะขั้นตอนการทำงานแบบเดียวกับขั้น Wow! that’s great แต่มีจุดประสงค์ต่างกัน
จุดประสงค์สำหรับขั้นนี้ คือ คุณจะต้องทำอย่างไรก็ได้ เพื่อเปลี่ยนลูกค้าที่กลับมาซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ซ้ำ มาเป็นกระบอกเสียงให้กับธุรกิจบอกต่อให้คนอื่นเชื่อมั่นใจผลิตภัณฑ์จนมีคนมาใช้เพิ่มอีก
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นธุรกิจ SaaS คุณอาจจะมอบพื้นที่การใช้งานเพิ่มขึ้น 3 GB ให้กับคนที่บอกต่อเพื่อน และมอบพื้นที่การใช้งานให้กับเพื่อนอีก 1 GB (แต่เพื่อนต้องตอบรับการใช้งานก่อน จึงจะได้รับพื้นที่การใช้งานเพิ่มทั้ง 2 ฝ่าย) เป็นต้น
เพราะถ้าหากเรามองในมุมลูกค้า คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์นี้อยู่แล้วจะทราบดีว่า ผลิตภัณฑ์นี้สามารถมอบคุณค่าที่เขาตามหาอยู่ มันมีประสิทธิภาพดีจริงอยู่แล้ว เขาถึงกล้าแนะนำให้เพื่อนคนอื่น ๆ มาใช้งาน ซึ่งจากการแนะนำทำให้เขาได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย ก็เท่ากับว่ายิ่งเป็นการเพิ่มความคุ้มค่าให้กับตัวเขาขึ้นไปอีก
ส่วนคนที่ยังไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์แล้วได้รับคำเชิญ จะกดตอบรับหรือไม่ตอบรับ เขาก็จะรู้สึกว่าเขาไม่ได้เสียอะไรอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเขาตอบรับคำเชิญมาลองใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก็ทำให้เขาได้สิทธิประโยชน์ดีกว่าการที่เขาไปสมัครเพื่อมาใช้งานเอง นอกจากนั้น พวกเขาอาจยังรู้สึกเหมือนได้ทดลองใช้งานผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ในเรทที่ดีกว่าไปในตัว เช่น ในด้านราคาที่ถูกกว่า เพราะได้ส่วนลด หรือในกรณีนี้ที่ได้พื้นที่การใช้งานเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
สำหรับกระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ ทั้ง Cool, I’m interested, Yes, this is for me!, Wow! That's great และ I love it, I need to share this คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้กับธุรกิจทุกรูปแบบเลย ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Blockchain, ธุรกิจ SaaS หรือธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่ง เพราะเป็นกระบวนการคิดที่มาจากพฤติกรรมและความรู้สึกของลูกค้า
ผู้ใช้งานบน Endlessloop จึงจะได้คิดกลยุทธ์ในมุมของลูกค้าเป็นหลัก และเห็นภาพได้เลยว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าอยู่กับธุรกิจของเราในระยะยาว แสดงให้เห็นว่า Endlessloop นี้ออกแบบจาก Customer Centric โดยแท้จริง
โดยคุณสามารถ Tracking ขั้นตอน รวมไปถึงตัวเลขสถิติต่าง ๆ เช่น จำนวน Lead ที่ได้รับ, จำนวนลูกค้าที่ซื้อ, อัตรา Link Click, งบประมาณที่ใช้ไป หรืองบประมาณที่เหลือ ลงไปใน Loop ได้เลย ซึ่งข้อมูลนี้จะเป็นข้อมูลที่มีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงทำให้ทุกคนในทีมเห็นภาพรวมของแคมเปญได้ชัดเจนขึ้น และรู้ว่าควรต้องเพิ่มเติมหรือปรับปรุงในส่วนไหน
Board Board คือ ฟีเจอร์ที่เกี่ยวข้องกับด้าน Team Management ทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม ด้วยการมีรูปแบบการทำงานแบบ Kanban Board ที่ควบคุม Workflow ทั้งหมดของทีม โดยมักจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ To Do, Doing และ Done
ซึ่งฟีเจอร์นี้เหมาะมาก ๆ ถ้าหากนำมาใช้กับงานที่มีหลายขั้นตอน หรืองานที่มีความซับซ้อน อย่างเช่นในธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี เพื่อให้ทุกคนเห็นสถานะของงานว่าไปถึงกระบวนการไหนแล้ว ติดปัญหาอะไรบ้างไหม ถ้าเกิดว่าติดปัญหา สถานะงานไม่ยอมขยับสักที ทุกคนในทีมจะได้พูดคุย เพื่อหาทางปรับเปลี่ยนแก้ไขให้ดีขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่าหลายคนที่ทำงานอยู่ในองค์กรต่าง ๆ อาจจะคุ้นเคยกันดีกับลักษณะการทำงานของ Kanban Board ดีอยู่แล้ว
Endlessloop จึงได้นำลักษณะแนวคิดของ Kanban Board มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบการทดลองบนแพลตฟอร์ม เพื่อให้คุณและทีมสามารถสร้างกระบวนการการทดลองของงานแต่ละชิ้นที่ทำได้
แต่สิ่งที่ทำให้บอร์ดนี้แตกต่างจากบอร์ดทั่วไป คือ การเป็นบอร์ดถูกออกแบบมาเพื่อรัน Sprint* สำหรับ Growth Team ซึ่งจัดว่าเป็นทีมที่มีการทำงานแบบ Cross-Functional เป็นหลัก ทำให้ทุกคนสามารถแบ่งการพูดคุยเกี่ยวกับงานนั้น ๆ ออกเป็น 4 ขั้นตอนของลูปได้
เช่น บอกว่าได้ว่าไอเดียนี้ เราจะนำไปอยู่ใน Stage ไหนของลูป (เช่น Cool, I’m interested, Yes, this is for me, Wow! That's great หรือ I love it, I need to share this) และในแต่ละไอเดียเราสามารถใส่รายละเอียดการทำงานลงไป รวมถึงกด Assign ได้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบงานนี้บ้าง มีกำหนดช่วงเวลาของงาน และงบประมาณได้อีกด้วย
*Sprint คือ หนึ่งในวิธีการทำงานแบบ Scrum เน้นการส่งมอบงานที่เร็วและบ่อยครั้ง เพื่อร่นระยะเวลาในการทำงาน โดยใช้เวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ในการทำการทดลองใน 1 Experiment
นอกจากนั้น บอร์ดนี้ยังเป็นบอร์ดที่ถูกแบ่งแยกตาม Persona ที่คุณสร้างขึ้นอีกด้วย นั่นหมายความว่า 1 บอร์ดจะใช้ได้กับแค่เพียง 1 Persona เท่านั้น (เหมือนกับการทำงานของหน้า Loop) เพื่อที่ว่าทีมจะได้โฟกัสไปที่การทำงานเพื่อ Persona นั้น ๆ ได้โดยเฉพาะ ไม่ไปปะปนกับ Persona คนอื่น ๆ จนเกิดความสับสนขึ้นมาแน่นอน
ซึ่งถ้าหากคุณเป็นบริษัทใหญ่ที่มีจำนวนทรัพยากรคนเพียงพอ ก็สามารถแบ่งทีมที่รับผิดชอบ 1 ทีม ต่อ 1 Persona ได้เลย เพื่อใช้ในการคิดคอนเทนต์ หรือคิดกลยุทธ์ทำแคมเปญ สำหรับ Persona นั้น ๆ ซึ่งจะทำให้ทีมสามารถพัฒนาเจาะจง Persona นั้นให้ดียิ่งขึ้นไปเลย
เพราะในความเป็นจริง ธุรกิจของคุณมักจะมีมากกว่า 1 Persona ขึ้นไปอยู่แล้ว และคุณก็มักจะแบ่งแยกทีมเพื่อมาทำงานตาม Persona ทำให้การทำงานในทีมถูกแยกบอร์ดออกไปด้วย ถ้าเกิดไม่มีการแบ่งแยกแบบนี้ ยิ่งเวลาผ่านไป ทีมก็ยิ่งมีหลาย Persona หลายไอเดีย หลายการทดลอง ก็อาจเกิดความสับสนได้ว่า สรุปแล้วงานที่กำลังทำอยู่นี้เป็นของ Persona ไหนกันแน่ เพื่อป้องกันปัญหานี้ไม่ให้เกิดขึ้นมา เราจึงออกแบบให้ Endlessloop มีการทำงานแยกกัน 1 บอร์ดต่อ 1 Persona นั่นเอง
และที่สำคัญที่สุด หน้า Board นี้จะเชื่อมต่อข้อมูลกับหน้า Loop ในส่วนของ Wow! that’s great กับ I love it, I need to share this ด้วย โดยเราจะเห็นว่า มีจำนวนไอเดียใน Backlog ที่ระดมไอเดียได้กี่ไอเดีย, จำนวนงานที่ต้องทำเหลืออีกกี่งาน (To Do), งานที่กำลังทำอยู่กี่งาน (Doing) หรืองานที่ทำเสร็จแล้วกี่งาน
Knowledge Hub เพราะกุญแจสำคัญของกระบวนการ Growth Hacking คือ การเรียนรู้จากการทดลอง อะไรที่ทดลองสร้างออกมาแล้ว มันสร้างความอิมแพ็คกับผู้ใช้งานมาก ๆ หรืออะไรที่ทดลองออกมาแล้วล้มเหลวไม่เป็นท่าเลย
Knowledge Hub จึงมีไว้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับทีม เพราะทีมทุกคนจะต้องนำผลลัพธ์ของการทดลองแต่ละอัน มาเขียนบันทึกรายละเอียดสิ่งที่ทำว่า การทดลองไหนที่ทำแล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หรือทำไมสิ่งที่ทำออกมาถึงล้มเหลว
เมื่อมีสมาชิกเข้าทีมมาใหม่ พวกเขาก็จะได้รู้และเข้าใจทันทีว่า การทดลองแบบนี้ ทีมก่อนหน้าได้ทดลองทำไปแล้ว และผลลัพธ์มันไม่เวิร์ก ก็ไม่ควรทำอีกครั้ง แต่ถ้าอยากทำก็ควรนำไป Optimize ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าที่เคย เพื่อพาธุรกิจมุ่งหน้าไปยังหนทางใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากเรื่องการทดลองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แล้ว สำหรับด้านการทำงาน Knowledge Hub ยังเป็นเหมือนแหล่งข้อมูลวิธีการทำงานที่ทีมที่เข้ามาใหม่ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาได้ว่า ทีมก่อนหน้าเรา เขามีลักษณะการทำงานอย่างไร เพื่อสามารถนำไปปรับใช้กับงานทำงานของเราได้อีกด้วย
Report ในทุก ๆ สัปดาห์ นักการตลาดอย่างคุณอาจจะต้องทำรีพอร์ต เพื่อรายงานหัวหน้าหรือลูกค้า ซึ่งตอนนี้คุณอาจจะใช้วิธีการแคปภาพตัวเลขมาจาก Google Analytics หรือ Facebook Ads อยู่ตลอด แต่จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าหากคุณสามารถสร้างรีพอร์ตทั้งหมดนั้นได้ภายในคลิกเดียว โดยที่ไม่ต้องนั่งแคปรูปจากหลาย ๆ แพลตฟอร์ม?
Report คือ ฟีเจอร์ที่คุณสามารถสร้างรีพอร์ตได้ภายในคลิกเดียว โดยสามารถเลือกได้ว่าต้องการข้อมูลจาก Persona หรือแคมเปญไหน เพราะ Endlessloop แยกมาให้คุณเรียบร้อยแล้ว หมดปัญหาการสับสนข้อมูลปะปนกัน และที่สำคัญ คุณสามารถเลือกได้อีกว่าต้องการข้อมูลจากเมทริกซ์ไหนบ้าง สะดวกต่อการใช้งาน
นอกจากนั้น ในฐานะที่คุณเป็นผู้ประกอบการแล้วต้องไป Pitching ลูกค้า คุณก็สามารถใช้บอร์ด Report นี้ เพื่อนำไปแสดงข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ซึ่งนักลงทุนก็จะเห็นแนวโน้มการเติบโตทั้งหมดของธุรกิจ เห็นภาพชัดเจน ง่ายต่อการตัดสินใจในการลงทุนอีกด้วย
*สำหรับฟีเจอร์ Report นี้ยังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาอยู่ Budget Control สำหรับผู้ประกอบการ, คนที่อยู่ในระดับ C-level หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับด้าน Management ทั้งหมดจะรู้ได้ทันทีว่า Growth Team ใช้งบประมาณไปกับการหาลูกค้าในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนเงินเท่าไรแล้ว โดยที่ไม่ต้องเดินเข้าไปถาม หรือรอทีเดียวสิ้นเดือนแล้วให้พวกเขาทำรีพอร์ตสรุปตัวเลขทั้งหมดมาส่งเลย
คุณสามารถเปิดหน้า Budget Control แล้วดูผลได้ทันทีเลย เพราะ Endlessloop มีการแยกงบประมาณของแต่ละ Persona ออกมาให้เรียบร้อย พร้อมทั้งแบ่งจำนวนเงินไปยังจุด Touchpoint บน Customer Journey อย่างชัดเจน รวมถึงสามารถ Tracking งบประมาณที่ใช้ในทุก ๆ ช่องทางได้แบบเรียลไทม์
ซึ่งเวลาที่ผลการทดลองของแต่ละ Persona หรือแต่ละแคมเปญออกมาแล้ว ผลลัพธ์เหล่านั้นอาจทำให้คุณมองเห็นว่าคนกลุ่มไหนที่มีผลต่อธุรกิจ คนกลุ่มไหนที่ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้อีก ใช่กลุ่มที่ธุรกิจตั้งเป้าไว้ไหม ใช่กลุ่มคนที่เราทำความรู้จักมาก่อนหรือเปล่า เมื่อผลลัพธ์เหล่านั้นออกมา ธุรกิจก็จะรู้ได้ทันทีเลยว่า Persona หรือแคมเปญไหนใช้เงินน้อยหรือมากเกินไป ก็สามารถ Optimize ใหม่ได้ทันที
ถ้าหากว่าผลลัพธ์ของ Persona ไหนไม่ดี ก็เอางบไปเพิ่มใน Persona ที่ให้ผลตอบรับดี เพราะถ้าหากคุณมองไม่เห็นผลลัพธ์เหล่านี้ ก็จะทำให้ธุรกิจเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจเติบโตช้านั่นเอง ฟีเจอร์ Budget Control จึงเกิดมาเพื่อแก้ปัญหานี้ให้คุณ