เพิ่มยอด Followers บน Instagram อย่างรวดเร็วด้วยกลยุทธ์ Instagram Growth Strategy หาคำตอบพร้อมวิธีของกลยุทธ์นี้ได้ในบทความนี้เลย
ในหนึ่งวันมีรูปภาพและวีดีโอที่ถูกอัพโหลดขึ้นบน Instagram กว่า 95 ล้านคอนเทนต์ทั่วโลก แน่นอนว่าหากมองในมุมมองโอกาสทางธุรกิจก็ถือว่าเป็นแหล่งที่น่าสนใจ เพราะมีปลาชุกชุม มี Potential Customer ของคุณอยู่มาก
แต่คำถามต่อมาคือ... แล้วทำอย่างไรคอนเทนต์ของคุณถึงจะกลายเป็นคอนเทนต์คุณภาพที่จะไม่ถูกกลืนหายไปในกลีบเมฆของกลุ่มคอนเทนต์ 95 ล้านคอนเทนต์เหล่านั้น
การสร้าง engagement ให้กับกลุ่มผู้ใช้งาน Instagram ไม่ว่าจะเป็นการเรียกยอดไลค์ แชร์ คอมเมนต์ เซฟรูป ส่งรูปภาพ คลิ้กลิงค์น bio ก็ถือเป็นการ interact ที่มีประโยชน์อย่างมากแล้ว แต่ทว่าพวกเขายังไม่ได้กด Follow แอคเคาท์ของคุณ ก็อาจทำให้กลุ่มคนที่มา Interact กับแบรนด์ของคุณหลุดหายไปในที่สุด
ดังนั้นแล้วเรื่องนี้ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของเจ้าของธุรกิจอย่างมาก ในการที่ธุรกิจจะทำการ Target Custom Audience เพื่อเปลี่ยนจาก Non-follower ให้กลายมาเป็น Follower ในเวลาต่อมา
วันนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการและตัวอย่างกลยุทธ์ในการเพิ่มยอด Followers บน Instagram อย่างวัดผลได้กันค่ะ
ตัวอย่างกลยุทธ์การเพิ่มยอด Followers บน Instagram
#1 สร้าง Engagement Custom Audience
โดยเป็นการกำหนดกลุ่มลูกค้าที่ Instagram ของธุรกิจคุณต้องการจะเข้าถึง สามารถเลือกขนาดของกลุ่มเป้าหมาย และ criteria อื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น การเลือกประเภทความสนใจ , ประวัติการเคย interact กับแอคเคาท์คุณ เป็นต้น
คุณสามารถทำการตั้งค่าต่าง ๆ เหล่านี้ผ่าน Dashboard ในหน้า Ads Manager
และทำการเลือกแบบ Custom Audience
จากนั้นให้เลือกตั้งค่าแบบที่คุณต้องการ ตามตัวอย่างในภาพ
นอกจากทำการตั้งค่าต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว คุณอาจสร้างตาราง Excel แบบฉบับของคุณเองขึ้นมาเพื่อที่จะ Track Progress ของแอคเคาท์คุณได้
ตัวอย่างดังภาพด้านล่าง มีการติดตามยอด Follower รายสัปดาห์ และคิด Growth Rate เพื่อดูว่าการกำหนด Custom Audience ของคุณมีประสิทธิผลมากแค่ไหน เพื่อทำการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นต่อไปนั่นเองค่ะ
#2 หา Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
หลังจากทำการเลือกกลุ่ม Target ตามข้อด้านบนไปแล้วนั้น ก็ถึงเวลาที่จะ เลือก Hashtag ที่เหมาะกับธุรกิจของคุณกัน
เริ่มต้นจากการเปิดแอพขึ้นมา และไปที่ปุ่ม Explore ในหน้า Instagram
สมมติว่าแบรนด์ของคุณเป็น Digital Marketing Agency คุณอาจลองเสิร์ชหา Hashtag ประเภทที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจคุณมากที่สุด เช่น #facebookads
โดยไปที่แถบค้นหาตรง Tags และเสิร์ชคำดังกล่าวไป
จะเห็นได้ว่า เมื่อเสิร์ชไปหนึ่งคำ ก็จะมีแท็กที่เกี่ยวข้องตามมาด้วยเต็มไปหมด ทำให้เห็นว่ามีแฮชแท็กไหนอีกบ้างที่น่าสนใจ เพื่อที่จะนำมาใช้ได้เพิ่มเติมค่ะ
แต่เท่านี้ยังไม่พอ แม้ว่าจะมีแฮชแท็กมากมายที่คุณสามารถใช้ได้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกแฮชแท็กที่จะมีผลดีเสมอไป
เราจึงแนะนำให้คุณทำการวัดผลแฮชแท็กแต่ละตัวที่คุณสนใจ โดยทำเป็นตารางวัดผลขึ้นมา ดังภาพ
คุณอาจพบว่ามีหลายแฮชแท็กที่คุณคิดว่า เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ และมีคนจำนวนมากเสิร์ชหาหรือใช้คำเหล่านี้
แต่นั่นอาจไม่ใช่แฮชแท็กที่คุณควรใช้เสมอไปค่ะ
แล้วทำไมจึงไม่ควรใช้แฮชแท็กเหล่านี้ ที่เหมือนจะดูดี ?
เราลองมาดูตัวอย่าง แท็ก #facebookads กัน เมื่อลองศึกษาดูดี ๆ จะพบว่าแท็กเหล่านี้มีผู้คนใช้เป็นจำนวนมาก แต่กลับเป็นคอนเทนต์ที่ ทำมาเพื่อเรียกไลค์ เรียกแชร์ เนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกับ Digital marketing เลยด้วยซ้ำไปในบางที และเป็นพวก spam ซะส่วนใหญ่
เมื่อคุณทำการศึกษาให้ดี จึงพบว่า แท็กดังกล่าวไม่น่าใช้เอาซะเลยค่ะ
เพราะฉะนั้นแล้ว นอกจากจะดูเพียงจำนวนโพสต์ของแท็กนั้น ๆ แต่แนะนำให้ทุกคนเข้าไปดูคุณภาพของคอนเทนต์ในแท็กนั้นด้วย เพื่อคว้าโอกาสจากการใช้แฮชแท็กใน organic content ให้ได้ดีที่สุด
#3 ลองนำโพสต์ของคนอื่นมาวิเคราะห์
ใช้เวลาในการวิเคราะห์อินสตาแกรมของแอคเคาท์แบรนด์อื่นดูว่าคอนเทนต์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทั้งในด้านของ engagement ต่าง ๆ, เนื้อหาในแต่ละโพสต์ ใช้แคปชั่นเป็นอย่างไร, มีการตั้ง bio และภาพรวมของแอคเคาท์แบรนด์เป็นอย่างไรบ้าง แล้วพวกแอคเคาท์เหล่านั้น มีผลตอบรับที่ดีหรือไม่ อย่างไร เพื่อคุณจะนำมาปรับใช้กับของคุณเอง เรื่องที่คุณอาจพิจารณาดูได้จากแอคเคาท์ของคนอื่น ๆ เช่น
Engagement Rate ของเขาดีหรือไม่
หากมีแอคเคาท์อยู่สองอัน อันแรกมีคน Follow 200,000 คน แต่กลับมียอดไลค์และคอมเมนต์ต่อโพสต์รวมกันประมาณ 500
ในขณะที่อีกแอคเคาท์มี 200 followers แต่มีคนไลค์และคอมเมนต์ 30 ครั้งต่อโพสต์
สิ่งนี้บอกอะไรเราได้บ้าง ?
กรณีบ่งบอกว่า แม้จะมียอด Follow มาก แต่หากคนที่มาติดตามแอคเคาท์ของคุณเหล่านั้นไม่ได้มี engagement กับแบรนด์คุณเลย ก็ย่อมไม่มีประโยชน์อะไรนั่นเอง เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องการให้คนมาติดตาม เพื่อที่เค้าจะได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์และวันหนึ่งจะหลายมาเป็นลูกค้าของเรา หรือจากลูกค้าก็จะเป็น Loyaty ต่อแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง
คุณภาพของคอนเทนต์
มาลองศึกษากรณีศึกษาคอนเทนต์สองชิ้นนี้กัน
ภาพจาก socialmediaexaminer.com
จะเห็นได้ว่า ทั้ง 2 โพสต์นี้ เป็นคอนเทนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะคล้ายคลึงกัน คือเป็นโพสรูปภาพและมีแคปชั่นอธิบาย แต่กลับมีคน engage (ในที่นี้ดูได้จากยอดไลค์) ที่แตกต่างกันอย่างเห็นชัด
มาวิเคราะห์กันว่าสาเหตุเกิดจากอะไร
รูปทางซ้าย :
- มี engagement ที่น้อยกว่ารูปทางขวามาก
- แคปชั่นที่ใช้เป็นประเภทการยัด Hashtag เข้ามาเยอะ ๆ เพื่อหวังว่าจะทำให้โพสต์นั้น Rank ขึ้นมาเป็นอันดับต้น
- เนื้อหาในคอนเทนต์นั้นไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับ Audience เลย
- หากเข้าไปดูตรงหน้า bio จะพบว่าไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแอคเคาท์เอาไว้เลยว่า ทำอะไร เกี่ยวข้องกับอะไร ทำให้ที่กดเข้มาดูอาจงงได้ และกดออกไปในที่สุด
รูปทางขวา :
- รูปภาพและเนื้อหาทั้งหมด เกี่ยวข้องกัน
- มีแคปชั่นอธิบายชัดเจน เป็นลักษณะการให้ความรู้กับผู้ติดตาม
- เมื่อเข้าไปดูที่ Bio จะพบว่าได้ระบุไว้ชัดเจนว่า จุดประสงค์ของแอคเคาท์นี้มีไว้เพื่ออะไร เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง เพื่อที่คนที่จะกดติดตามจะได้รู้ว่าพวกเขาเหมาะกับคอนเทนต์ในแอคเคาท์นี้หรือไม่
เคล็ดลับเพิ่มเติม
เวลาที่คุณคอมเมนต์หรือสร้างบทสนทนากับกลุ่มแฟน ๆ รวมไปถึงการตั้งแคปชั่นต่าง ๆ นั้น ควรใส่ความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย ความหมายก็คือ ทำให้คนที่มาอ่านรู้สึกว่า เขากำลังได้คุยกับใครสักคน มีการใส่อารมณ์และความรู้สึกลงไปในเนื้อหาด้วยนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
- การแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในโพสต์นั้น
- ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้แฟน ๆ ที่ติดตาม Instagram ของคุณได้มีโอกาสเข้ามาตอบ มาแชร์กัน เป็นเหมือน community อันหนึ่ง
- ไม่ทำตัวเป็นguruรู้ทุกเรื่อง จนเกินไป เปิดโอกาสให้คนอื่นได้เข้ามามีส่วนร่วมและแสดงความคิดเห็นของพวกเขามากขึ้น
สามวิธีนี้จะเป็นตัวช่วยให้คนอื่น ๆ อยากเข้ามามีส่วนร่วมและแชร์ประสบการณ์ พูดคุยกับแบรนด์ของคุณมากขึ้นอีกด้วยล่ะค่ะ
สรุป
เอาล่ะค่ะ และทั้งสามกลยุทธ์ที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งได้แก่
#1 สร้าง Engagement Custom Audience
#2 หา Hashtag ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
#3 ลองนำโพสต์ของคนอื่นมาวิเคราะห์
ถือเป็นสามกลยุทธ์ที่คุณสามารถนำไปลองปรับใช้ได้ทันที เพื่อช่วยสร้าง Engagement ที่ดี และเพิ่มฐาน Follower ให้กับ Instagram ของธุรกิจได้มากขึ้น และที่สำคัญคือต้องไม่ลืมที่จะวัดผล วัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่ทำเหล่านั้นกันด้วยนะคะ เพื่อที่คุณจะได้ไม่ลงแรงไปเปล่า ๆ
แต่จะสามารถมีข้อมูลมา backup แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อดูว่าอะไรที่ได้ผลดี และอะไรที่ควรปรับปรุงต่อ ๆ ไปให้ดีขึ้นนั่นเอง
หวังว่าทุก ๆ คนที่ติดตามจะได้นำข้อมูลดี ๆ เหล่านี้ไปลองปรับใช้กัน เพื่อประโยชน์ในการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนกันนะคะ คอนเทนต์ต่อ ๆ ไปจะเป็นเกี่ยวกับอะไร รอติดตามกันได้เลยค่ะ