วิธีการสัมภาษณ์ลูกค้าสำหรับสตาร์ทอัพมือใหม่ ถามอย่างไรให้เจอ "ปัญหา" มากที่สุด ?

วิธีการสัมภาษณ์ลูกค้าสำหรับสตาร์ทอัพมือใหม่ ถามอย่างไรให้เจอ "ปัญหา" มากที่สุด ?
Light
Dark
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน
สัมภาษณ์ลูกค้าอย่างไร ให้ธุรกิจสตาร์ทอัพมือใหม่ได้ทราบปัญหาจากลูกค้ามากที่สุด ? ถึงเวลาไปไขข้อสงสัยนี้ได้เลยในบทความ

ทุกคนคงเคยได้ยินกันบ่อยๆ ว่า สตาร์ทอัพที่ดีต้องเกิดขึ้นจากปัญหาของผู้ใช้  เเละ เหล่าปรมาจารย์สตาร์ทอัพ ต่างเเนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า จงออกไปสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจผู้ใช้เสมอ ไม่ว่าจะช่วงใดของการทำสตาร์ทอัพก็ตาม (สำหรับสตาร์ทอัพมือใหม่ ควรเริ่มตั้งเเต่ ก่อนจะสร้างผลิตภัณฑ์) 

มีสตาร์ทอัพมากมายทำตาม ออกไปสัมภาษณ์ อย่างดี เเต่ก็ยังล้มเหลวสร้างผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้ เเละ ดูเหมือนการสัมภาษณ์ จะไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น เพราะ ตอนจบผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ตลาดก็เป็น สิ่งเเรกที่สตาร์ทอัพอยากทำ ไม่ได้เอาสิ่งที่ได้จากลูกค้ามาใช้เลยซักนิด

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

ความคิดของตัวเองไม่ได้ถูกต้องเสมอไป

ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยเพราะ สตาร์ทอัพหลายคนยังเข้าใจการสัมภาษณ์ผิดอยู่ โดยออกไปถามเพื่อยืนยันไอเดียตัวเองมากกว่า ไม่ได้ออกไปฟังเรื่องราว ปัญหาจริงๆที่ผู้ใช้เจอ เข้าใจผู้ถูกสัมภาษณ์อย่างลึกซึ้ง 

ถ้ามองผิวเผิน การสัมภาษณ์ดูเหมือนจะง่าย คงไม่ต่างอะไรมากกับการนั่งคุยกับเพื่อน หรือคนที่ไม่รู้จักทั่วไป  เเต่ใครจะรู้ว่า ตอนทำจริงนั้น ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด ในการขุดให้เจอว่าผู้ใช้ต้องการอะไร มีปัญหาอะไร อะไรคือความรู้สึกต่อปัญหานั้น 

การสัมภาษณ์ที่ดีเเละถูกต้องนั้น จะต้องทำให้ สตาร์ทอัพ เห็นร่องรอยปัญหาที่เกิดขึ้น ที่คอยกวนใจผู้ถูกสัมภาษณ์ที่สุด เข้าใจถึงพฤติกรรมเเบบเดิมๆของ การเเก้ปัญหาเเบบเก่าที่ยังไม่ดีพอ  จนค้นพบ ต้นตอสาเหตุของปัญหาทั้งหมด 

สิ่งที่เราได้นั้น มันเหมือนกับเป็นกุญเเจสีทองที่จะนำไปเปิดกล่องสมบัติ ซึ่งนั่นก็คือผลิตภัณฑ์สตาร์ทอัพที่ยอดเยี่ยม มันเป็นช่องว่างในการสร้างผลิตภัณฑ์สตาร์ทอัพที่มีคุณค่า  ที่ทำให้สตาร์ทอัพนั้น ประสบความสำเร็จ เเละเป็นที่หลงรักของผู้ใช้

ในบทความนี้ จะเผยเคล็ดลับเเละความเข้าใจที่ถูกต้องของการสัมภาษณ์ในเเบบฉบับ สตาร์ทอัพที่ถูกต้อง ติดอาวุธให้พร้อมก่อนจะต้องออกไปเจอสนามรบจริง 

สิ่งที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่พลาดในการสัมภาษณ์

ก่อนจะลงถึงวิธีการนั้น เราลองมาดูกันก่อนว่าสิ่งที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่พลาดที่สุดจากการออกไปสัมภาษณ์ นั้นคืออะไร? 

เหตการณ์ที่ 1: จากวิดีโอจะเห็นได้เลยว่ามันคือการออกไปขายไอเดีย มากกว่าการออกไปสัมภาษณ์ เพราะ มันเป็นเหมือน การออกไปขายของ เพื่อยืนยันไอเดียตัวเอง ว่าสิ่งที่เราคิดนั้นมันต้องมีคนสนใจ เเละเกิดขึ้นได้จริงเเน่ๆ

เสียใจด้วย เพราะ สิ่งที่จะตามมาสำหรับทุกคนอย่างธรรมชาติมากๆคือการ พูดชักจูงอย่างสุดความสามารถ ขายไอเดียตัวเอง จนผู้ฟัง ไม่กล้าปฎิเสธ บอกความจริงว่าเค้าคิดยังไง 

สิ่งนี้ผิดที่สุด เพราะมันคือการออกไปอย่างผิดเป้าหมายตั้งเเต่เเรกเเล้ว เพราะ

“เรามาสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจปัญหาของผู้ใช้ ไม่ใช่มาขายไอเดียตัวเอง”

เหตการณ์ที่ 2: ส่วนใหญ่ที่ผิดกัน คือการถาม เพื่อชักจูงไปในสิ่งที่เราอยากได้ เหมือนกับการสร้างกรอบที่เเคบลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบใน คำตอบที่เราอยากฟังในที่สุด  ส่วนใหญ่เกิดขึ้น  จากการใช้คำถามปลายปิดมากเกินไป

 เช่น:

  • ถ้าคุณเจอเหตุการณ์ …………..  คุณจะรู้สึก …… ใช่หรือไม่?
  • คุณจะรู้สึก ……….   ถ้าคุณเจอปัญหา ………….. ใช่รึเปล่า?
  • ถ้ามันมีสตาร์ทอัพที่ทำเเบบนี้ได้ ชีวิตของคุณคงดีขึ้นมาก ใช่หรือไม่?

คำถามพวกนี้ส่วนใหญ่จะพยายามหลอกให้ผู้สัมภาษณ์นึกตามจน ต้องตอบ ใช่ในที่สุด 

การถามเเบบนี้สุดท้าย จะไม่ได้อะไรเลย เเละทำให้เราเจอเพียงอย่างเดียวคือ 

“การถามเพื่อยืนยันคำตอบของตัวเอง”

เเละสิ่งสุดท้ายที่ส่วนใหญ่พลาดกันคือ การถามผู้ใช้ตรงๆว่าเค้าต้องการอะไร มันดูเหมือนจะง่ายสำหรับสตาร์ทอัพ เพราะจะได้สร้างสิ่งที่ลูกค้าต้องการ เเต่ความจริงเเล้ว ผู้ใช้เองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เค้าต้องการอะไร เเละ  ถ้ามันง่ายขนาดนั้น สตาร์ทอัพคงไม่ล้มเหลวกันมากมายขนาดนี้  จงจำไว้เสมอว่า

“อย่าถามว่าลูกค้าต้องการอะไรเป็นอันเด็ดขาด”

สามอย่างนี้เป็นจุดที่สตาร์ทอัพส่วนใหญ่พลาดจากการ ออกไปสัมภาษณ์ เเละไม่ได้สิ่งที่มีประโยชน์กลับมา  เพราะเพียงอย่างเดียว คือ  ฟังในสิ่งที่ตัวอยากฟัง ไม่ใช่ไปฟังสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์รู้สึก 

จงอย่าพยายามยึดติด กับอีโก้ หรือความรักไอเดียของตัวเองจนมากเกินไป เพราะมันจะทำให้เราจำกัดไอเดียตัวเองเเละถึงเเม้จะสร้างสตาร์ทอัพได้ ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ที่จำกัด ผู้ใช้น้อยที่จะมาใช้เพราะคิดเหมือนเรา

Mindset สำคัญที่สุดสำหรับการสัมภาษณ์

สิ่งเเรกที่สตาร์ทอัพควรเริ่มปรับความคิดของตัวเองก่อน ออกไปสัมภาษณ์ทุกครั้ง คือการสวมบทบาทเป็น นักสืบช่างสงสัย  ที่พร้อมจะหาเบาะเเส ที่คนส่วนใหญ่มองข้ามอยู่ตลอดเวลา 

ถ้านึกนักสืบไม่ออก ลองนึกถึง sherlock holmes หรือ นักสืบโคนันที่มัก จะเจอสิ่งที่ทุกคนมองข้ามเสมอ เเละ สิ่งที่เจอนั้นทุกครั้ง ก็เป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม ที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงทุกครั้ง 

เทคนิคง่ายๆคือการ พยายามมองหา พฤติกรรมของผู้ถูกสัมภาษณ์ต่อปัญหานั้นให้เจอ เพราะมันจะเป็นกุญเเจเพื่อนำเราไปสู่ ที่มาของปัญหา สิ่งนี้จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญในการสร้าง สตาร์ทอัพของเรา

“นักสืบที่สุดยอด คือคนที่สามารถหาบางอย่างที่คนอื่นไม่เจอ สตาร์ทอัพก็เช่นนั้น ถ้าหาสิ่งนั้นเจอ มันจะกลายเป็นวิธีเเก้ปัญหา เเละ ผลิตภัณฑ์สตาร์ทอัพที่ยอดเยี่ยม ทรงพลัง ที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน”

ต่อมาสิ่งที่สตาร์ทอัพต้องสนใจอย่างมาก คือ ปัจจุบัน เเละอดีต ของผู้ถูกสัมภาษณ์ต่อปัญหานั้น เพราะ  มันจะมีร่องรอยของเบาะเเสต่างๆ หล่นออกมาอยู่เสมอ เหมือนกับความรู้สึกต่อเหตุการณ์ที่พึ่งผ่านไป   

ห้ามเด็ดขาดในการถามคำถาม เกี่ยวกับอนาคต เพราะ มันเเทบจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย ถ้าลองคิดดีๆ คำถามพวก ถ้าครั้งหน้าเจออีกคุณจะรู้สึกยังไง? ถ้ามีสิ่งนี้ในอนาคตคุณจะรู้สึกเเบบไหน? 

มันไม่มีทางอธิบายได้หรอก  เพราะ  !มันยังไม่เกิดขึ้นยังไงหละ ถ้าไม่เชื่อผมขอลองถามคุณดูว่า 

ถ้าในอนาคตคุณได้ไปเที่ยวญี่ปุ่น คุณจะรู้สึกยังไง? 

หลายคนที่เคยไปมาเเล้ว อาจจะไม่เห็นด้วย เพราะคิดว่าตัวเองจำความรู้สึกครั้งที่เเล้วได้  

เเต่เดี๋ยวก่อน ถ้าพรุ่งนี้คุณได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นจริงๆ เเต่เครื่องบินมีปัญหาที่คุณไม่เคยเจอ ต้องเลตเวลาเดินทางไปถึง   5 ช.ม. หละคุณยังจะจินตราการความรู้สึกนั้นถูกมั้ย?  ถูกต้องคุณต้องหงุดหงิดมากเเน่ๆ เเทนที่จะมีความสุขจากการไปเที่ยว นี่เเหละคือความไม่เเน่นอนในการถาม สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต    

จงตั้งคำถามที่เกี่ยวข้องกับ อดีตเเละปัจจุบันเท่านั้น” 

ต่อมา สิ่งที่ช่วยมากๆสำหรับสตาร์ทอัพ คือการตั้งคำถามปลายเปิด เพราะมันจะช่วยทำให้เราเห็นภาพเหตุการณ์นั้นได้ดีกว่า เเละบางทีมันจะพาเราไปเจอ สิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ทำบ่อยๆ หรือเรียกว่า พฤติกรรม นั่นเอง

  • ปกติคุณทำอะไรหลังจากเจอปัญหา…..เเล้ว?
  • ทำไมถึงรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นปัญหา?

ทั้งสามอย่างนี้ จงอย่าลืมว่า การสวมบทบาทเป็นนักสืบนั้นสำคัญที่สุด  การตั้งคำถามปลายเปิด เเละ การพยายามถามถึงอดีต เเละ ปัจจุบัน ก็เป็นเเนวคิดชั้นดี ที่สตาร์ทอัพควรจำใส่ใจไว้เสมอ 

จงอย่าลืมว่า สิ่งที่เรามองหาคือ ปัญหาที่ผู้ใช้พบเจอ สาเหตุหรือที่มาของปัญหานั้น เเละ

 “วิธีการเดิมของพฤติกรรมที่ผู้ใช้มักจะทำเพื่อเเก้ปัญหานั้น”  

Early Adopter คนที่ควรสัมภาษณ์ที่สุด

หลายคนคงสงสัยว่า เเล้วทีนี้ ใครควรเป็นผู้ที่ถูกสัมภาษณ์มากที่สุด? ในโลกสตาร์ทอัพ ถ้าเราพยายามสร้างผลิตภัณฑ์บางอย่างที่เเก้ปัญหาขึ้นมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนที่เหมาะที่สุดคือคนที่ 

“มีปัญหานั้นที่เราพยายามไปสัมภาษณ์เพื่อเข้าใจปัญหาให้ลึกขึ้น” 

มันก็ถูกเเหละครับ เเต่เเค่นั้นมันยังไม่พอ เพราะถ้า ผู้ถูกสัมภาษณ์มีปัญหาจริงๆ เเต่ถ้าเกิดเค้าไม่รู้หละว่าตัวเองมีปัญหา? การเข้าไปถามคนกลุ่มนี้อาจไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก เพราะ มันยากมากที่จะอธิบายความรู้สึกของความเจ็บปวด หรือต้นตอของปัญหา  “คนที่มีปัญหาอย่างเดียวเลยเป็นเป้าหมายที่ไม่ถูกที่สุด”

ถ้านึกง่ายๆอาจเป็นเหมือนกับ คนที่มีปัญหาผมร่วง เเละมีโอกาสหัวล้าน เเต่กับ ไม่ได้มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหา เเละรู้สึกว่า เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องธรรมดา ลองคิดดูสิครับถ้าคนนั้นเป็นผู้ถูกสัมภาษณ์เรื่องปัญหาผมร่วง เค้าจะตอบยังไง? ใช่เลยก็คงตอบสิ่งที่ไม่ได้เป็นประโยชน์กับเรามากหนะสิ  เพราะเค้าไม่เข้าใจด้วยซ้ำว่าเค้ามีปัญหาอยู่

โดยในโลกสตาร์ทอัพ กลุ่มที่เหมาะที่สุดนั้น คือกลุ่มที่เรียกว่า Early Adopter ผู้เขียนขอไม่ลงรายละเอียดมากนัก ถ้าพูดง่ายๆ Early Adopter คืนคนที่ถ้าคุณออกผลิตณ์มาเมื่อไร คนกลุ่มนี้จะเป็นคนกลุ่มเเรก ที่พร้อมจะใช้บริการของคุณ ถึงเเม้มันจะเป็นเพียงผลิตภัณฑ์ต้นเเบบ (MVP)  

เหตุผลที่ควรสัมภาษณ์คนกลุ่มนี้ก่อนเพราะว่า พวกเค้าจะ:

“เข้าใจปัญหานั้นดี เเละรู้ว่าตัวเองมีปัญหาอยู่ ถึงขั้นลองมาหาวิธีเเก้ปัญหาเเล้ว เเต่ยังไม่พึงพอใจกับผลลัพธ์ หรือวิธีการเเก้ที่มีอยู่เเล้วในปัจจุบัน ” 

Early Adopter คงเหมือนกับ คนที่มีปัญหาผมร่วงอีกคน ที่เเทบจะหัวเสียทุกครั้งที่เห็นผมตัวเองร่วง ลองซื้อน้ำยาสระผมเเก้ปัญหาผมร่วงเเทบทุกยี่ห้อมาใช้ เเต่ก็ยังเเก้ปัญหาผมร่วงไม่ได้ซักที
ไม่เเปลกที่พวกเค้า จะเข้าใจความรู้สึกเจ็บปวดของปัญหานี้ได้อย่างลึกซึ้งมากกว่าคนอื่น 

คงไม่ต้องบอกว่าถ้าเจอคนผมร่วงสองคน คุณจะสัมภาษณ์คนใหน? นี่เลยเป็นเหตุผลที่สตาร์ทอัพควรมองหา Early Adopter เพื่อสัมภาษณ์ก่อนเสมอ  เพราะคำตอบที่ได้นั้นจะเป็นประโยชน์มากๆ กับการสร้างผลิตภัณฑ์สตาร์ทอัพ เพราะ Early Adopter นั้นเข้าใจปัญหานี้ดีกว่าทุกคน ทนลำบาก หงุดหงิด หรือ ไม่สบายใจ มาเป็นเวลานาน รอคอยสิ่งที่ดีกว่ามาช่วยพวกเค้า จนบางคนอาจยอมเเพ้กับปัญหานี้ไปเเล้ว 

“บอกได้เลยว่า ถ้าคุณสัมภาษณ์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องเเละ สร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า ที่คนกลุ่มนี้ตามหา สตาร์ทอัพที่คุณทำนั้น เเทบจะไม่ยากเลยที่จะเก็บเงินคนกลุ่มนี้เเลกกับการเเก้ปัญหาให้กับพวกเค้า”

5 คำถามที่สัมภาษณ์ที่สตาร์ทอัพควรใช้เพื่อให้เจอ "ปัญหา" จากลูกค้า

ก่อนเริ่มนั้น ผมต้องบอกก่อนว่า เซ็ทคำถามนั้น มันไม่ได้มีตายตัว ว่าต้องเป็นเเบบนั้น เเบบนี้เป๊ะๆ เหมือนกับสูตรเอาชนะบอสในเกมที่เราชอบเล่น เพราะสุดท้าย เเต่ละคนที่เราสัมภาษณ์นั้นมีที่มา ที่เเตกต่างกัน เเละมีวิธีการตอบที่ไม่เหมือนกัน ตามบุคลิก นิสัย งานที่ทำ สภาพเเวดล้อมของเเต่ละคน 

จงจำไว้ว่าเราต้องปรับเปลี่ยนตามคนที่ถูกสัมภาษณ์เสมอ  ก่อนจะถึงคำถาม ทวนกันอีกรอบว่า สิ่งที่สตาร์ทอัพควรใส่ใจมากๆ คือประสบการณ์ที่ผ่านมาเเล้ว เเละ ปัจจุบัน ของผู้ถูกสัมภาษณ์เพราะมันจะ เป็นเบาะเเสชิ้นสำคัญของเรา  เเละจงมองหา ปัญหา ที่มาของปัญหา รวมทั้งพฤติกรรมเเบบเดิมในการเเก้ปัญหาของผู้ใช้อยู่เสมอ

คำถาม 5 ข้อนี้นั้นอ้างอิงมาจาก http://customerdevlabs.com/  ที่ก่อตั้งขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ ในการสร้างสตาร์ทอัพจากการ ออกไปสัมภาษณ์ผู้ใช้ โดยเทคนิคนี้ ได้เเนะนำว่า คำถามควรจะถามด้วย 

รูปเเบบดังนี้

1. “อะไรคือสิ่งที่คุณรู้สึกยากลำบากที่สุดสำหรับเรื่อง………….?” 

  • คำถามข้อนี้จะช่วยให้เราได้เจอ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ที่ผู้ใช้รู้สึกเพราะมัน ถามถึงความยากลำบาก หรือไม่สบายใจ  

2. “ ครั้งสุดท้ายที่คุณเจอเหตุการณ์เเบบนี้ มันเกิดขึ้นตอนไหน?

  • สิ่งนี้มันจะช่วยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์นึกย้อนกลับไป ครั้งล่าสุดของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเจาะลึกลงไปถึง สภาพเเวดล้อม เหตุการณ์ใกล้เคียง เพื่อให้เราเข้าใจ สถานการณ์นั้นได้ดีขึ้น  ถ้าพูดให้เข้าใจง่าย มันคือการค้นหา ต้นตอของปัญหาของผู้ใช้นั่นเอง

3.”ทำไมคุณถึงรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งที่ยากลำบากสำหรับคุณหละ?”

  • นี่เป็นไม้ตาย ที่สตาร์ทอัพทุกคน ต้องฝึกในการถาม เพราะมันเป็นการถามให้ถึงความรู้สึกของผู้ใช้ เพราะจงจำไว้เสมอว่า ผู้ใช้นั้นจะซื้อหรือ/ไม่ซื้อ มันขึ้นอยู่กับ เหตุผลทางอารมณ์ความรู้สึกข้อนี้ (ส่วนใหญ่ บริษัทสตาร์ทอัพ จะนำสิ่งนี้ไปทำการตลาด เพื่อสื่อสารคุณค่าผลิตภัณฑ์)

4.”จากความยากลำบากนั้น คุณได้ลองทำอะไรเพื่อเเก้ปัญหามันรึเปล่า?”

  • นี่เเหละคำถามชั้นดี ในการมองวิธีการเเก้ปัญเเบบเดิมของผู้ใช้ เพื่อที่จะนำไปสู่ กุญเเจสำคัญ 

(บางทีถ้า Early Adopter  ไม่ได้หาวิธีเเก้ปัญหา บางทีปัญหาอาจจะเล็กไป ไม่คุ้มในการสร้าง   

ผลิตภัณฑ์สตาร์ทอัพขึ้นมา เพราะมันอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่สร้างขึ้นมาเเล้วไม่มีคนใช้

5.”อะไรคือสิ่งที่คุณไม่ชอบจากการได้ลองใช้วิธีเเก้ปัญหานี้”

  • ช่วงนี้เป็นอีกช่วงที่สำคัญมากๆ ที่จะทำให้เรา ได้เจอคุณค่าที่ผู้ใช้ตามหา เพราะมันคือสิ่งที่ยังไม่เติมเต็มความต้องการของผู้ใช้ เเละมันจะเป็น หมัดเด็ดที่ทำให้เราสร้างสุดยอดสตาร์ทอัพขึ้นมาได้

ทั้งหมดนี้คืออาวุธที่พร้อมจะให้คุณออกไปลงมือทำจริง เเละ จงอย่าลืมสวมบทบาทให้เหมือนนักสืบ

เเละจงรู้ไว้ว่าการสัมภาณ์นั้นไม่มีสูตรตายตัว เเละมันเป็นทักษะ ที่ต้องฝึกซ้อมอยู่บ่อย 

เทคนิคคือ ถ้ายังไม่เจอเบาะเเส ลองเปลี่ยนคำถามที่ 2 จาก ครั้งสุดท้ายมันเกิดขึ้นตอนไหน เป็น 

 “พอจะบอกได้มั้ยว่าครั้งอื่นที่คุณเจอปัญหานี้มันคือตอนไหน?”  เเละถามวนจากข้อ 3 ถึงข้อ 5 วนไปเรื่อยๆ กว่าจะเจอในที่สุด 

 อีกเคล็ดลับนึงที่ชวยคุณได้คือการ สังเกตอารมณ์ของคนที่ถูกสัมภาษณ์ มันเหมือนกับเครื่องยืนยันว่าเค้ารู้สึกรุนเเรงกับเรื่องนี้ ระดับพลังงานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สังเกตได้ถ้าเมื่อไรที่มีน้ำเสียงที่เปลี่ยนไป เสียงดังขึ้น เวลาพูดเรื่องนั้นออกมา สีหน้าจะเริ่มออกอาการที่ไม่เหมือนเดิม อาจมีความหงุดหงิดปนอยู่ ยินดีด้วย นั้นเเหละคือ “ปัญหาที่ลูกค้าไม่ได้บอก”

เหล่าสตาร์ทอัพจงจำไว้เสมอว่า เราสามารถออกไปสัมภาษณ์กับผู้ใช้ได้เสมอไม่ว่าจะตอน ก่อนมีผลิตภัณฑ์ หรือมีผลิตภัณฑ์เเล้วต้องการพัฒนาต่อยอด เพราะสุดท้าย ผู้ใช้หรือลูกค้า คือหัวใจหลักในการทำสตาร์ทอัพให้สำเร็จ 

ไม่เเปลกที่จะเห็นบริษัทสตาณ์ทอัพใหญ่ๆที่ประสบความสำเร็จไปเเล้วก็ยังให้ความสำคัญกับการสัมภาษณ์ผู้ใช้ เเละบางที่ นำเรื่องนี้เป็นหัวใจหลักในการทำงานด้วยซ้ำ 

ขอให้สนุกกับการออกไปลุยหาเบาะเเส สัมภาษณ์ผู้ใช้ครับ เหล่านักสืบสตาร์ทอัพทั้งหลาย :)


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe