อยากมีทีมดูแลภาพรวมเทคโนโลยีให้องค์กร จ้างทีมเอง VS ใช้ Outsource แบบไหนสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้มากกว่ากัน

อยากมีทีมดูแลภาพรวมเทคโนโลยีให้องค์กร จ้างทีมเอง VS ใช้ Outsource แบบไหนสร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้มากกว่ากัน
Light
Dark
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน

ในช่วงการเติบโตของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้ หลายองค์กรก็เริ่มคิดที่จะก้าวเข้ามาสัมผัสกับเครื่องมือตัวช่วยทางเทคโนโลยี หรือที่เราเรียกว่า “Tech Stack” กันมากขึ้น ซึ่งบางองค์กรอาจมีทีมที่ช่วยให้บริษัทเติบโตต่อไปได้ แต่ก็จัดว่าเป็นส่วนน้อยที่มีทีมงานที่สามารถทำงานและดำเนินการด้านนี้ได้ทันทีเลย

แต่สำหรับบางบริษัทที่เป็นมือใหม่มาก ๆ ด้านเทคโนโลยีอาจจะยังเกิดคำถามเกิดขึ้นมามากมายในใจเกี่ยวกับ Tech Stack อย่างไม่หยุดยั้ง ลำพังจะมานั่งหาคำตอบเองทั้งหมด และคิดที่จะจ้างทีมขึ้นมาเองในองค์กรก็อาจจะใช้เวลานานเกินไปกว่าจะลงตัว

พอมาถึงจุดนี้ก็เริ่มลังเลแล้ว ว่าควรจ้างทีม Tech Stack Consulting แบบ In-house ดี หรือยอมจ่ายเงินเพื่อจ้าง Outsource เลยดีกว่ากัน เพราะทั้ง 2 ทีมก็มีความแตกต่างกันไป

วันนี้ The Growth Master จะพาคุณไปรู้จักบริการ Tech Stack Consulting กันว่าคืออะไร? และระหว่างแบบ In-House กับ Outsource มีความแตกต่างกันอย่างไร? และแบบไหนที่จะสร้างการเติบโตให้ธุรกิจของคุณได้เร็วกว่ากัน? แล้วคุณจะเลิกลังเลทันทีว่าควรเลือกบริการแบบไหน เมื่ออ่านบทความนี้จบ 

click up คือ


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Tech Stack Consulting คืออะไร?

Tech Stack Consulting คือ บริการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสำหรับองค์กร ที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการทำงาน ทั้งในด้านการบริการจัดการองค์กร การจัดการผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด ไปจนถึงการจัดเก็บไฟล์และแชร์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ 

โดยบริการ Tech Stack Consult จะเริ่มต้นจากการมองหา Pain Point หรือสิ่งต้นเหตุที่องค์กรของคุณทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพก่อน และจะเริ่มแก้ปัญหานั้นด้วยการแนะนำเทคโนโลยีซอฟต์แวร์และเครื่องมือ Automation ต่าง ๆ เข้ามาปรับใช้ในองค์กรของคุณ ทำให้การทำงานของคุณและทีมเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานบางส่วนที่ยุ่งยากลงไป สามารถจัดการงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยใช้เวลาที่น้อยกว่า

นอกจากนั้นในบริการของ Tech Stack Consult ยังรวมบริการอื่น ๆ ที่จะทำให้การทำงานขององค์กรง่ายขึ้น เช่น  การติดตั้งและสอนการใช้งานซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ให้กับบุคลากรในองค์กรที่ใช้บริการอีกด้วย ซึ่งจะทำให้พนักงานในองค์กรเรียนรู้การใช้งานเครื่องมือนั้น ๆ ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาการทำงานขององค์กรในเรื่องต่าง ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยี

อีกทั้งยังมีบริการสร้าง Beginning Flow ให้ทีมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างรวดเร็ว และ เริ่มต้นทำงานอย่างเป็นระบบได้ทันที และยังรวมถึงการติดตามผลและพัฒนา ช่วยองค์กรหาจุดบกพร่องของการใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ และแนะนำทางออกที่ดีกว่าเดิม 

ซึ่งต้องบอกว่าบริการ Tech Stack Consulting ถือเป็นบริการที่น่าจับตาและมีแนวโน้มที่จะเป็นส่วนสำคัญสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุค Digital Disruption ผ่านการใช้เทคโนโลยีซอฟต์แวร์และเครื่องมือ Automation ต่าง ๆ เป็นหัวใจหลักในการเติบโต

tech stack คือ


บริการ Tech Stack Consulting เหมาะสำหรับองค์กรลักษณะไหน ?

จากที่ทราบความหมายกันไปแล้ว ต้องบอกว่าสำหรับบริการ Tech Stack Consulting นั้นจะมีองค์กรที่เหมาะกับการใช้บริการประเภทนี้จะมีด้วยกัน 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่

1. บริษัทที่ไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ต้องการที่จะเติบโตไปในยุค Digital 

บริษัทประเภทนี้ถือเป็นบริษัทที่ต้องรีบหันมาใช้บริการ Tech Stack Consulting เป็นการด่วนในปีนี้ เพราะว่าในปี 2021 นี้อย่างที่ทราบกันว่าปัญหาอย่างสถานการณ์โควิด-19 เข้ามาสร้างผลกระทบต่อการทำงานในทุกธุรกิจ หลายองค์กรเริ่มหันมาใช้ความเป็นออนไลน์ในการทำงานมากขึ้น (และได้ผลลัพธ์ที่ดีเกินคาด)

ฉะนั้นหากคุณรู้แล้วว่าตอนนี้ในองค์กรของคุณ ยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสักคนเลย แต่ต้องการที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรให้เข้าใกล้คำว่า “เทคโนโลยี” มากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ในทุกสถานการณ์ บางทีบริการอย่าง Tech Stack Consulting อาจเข้ามาช่วยเปลี่ยนแปลงองค์กรของคุณไปตลอดกาลก็เป็นได้

2. บริษัทที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่ไม่มีเวลาหรือทักษะในการสอนทีม

หากบริษัทของคุณต้องการเริ่มใช้ Tools ต่าง ๆ เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในปีนี้ ประกอบกับมีบุคลากรที่มีความรู้ในด้านเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่กลับไม่มีประสบการณ์ในการสอน หรือสร้างความเข้าใจให้กับบุคลากรคนอื่น ๆ ในองค์กร บริการ Tech Stack Consulting สามารถช่วยคุณแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้

เพราะในบริการนี้นอกจากการช่วยหา ช่วยเลือก เครื่องมือที่ตอบโจทย์กับการทำงานหรือปัญหาขององค์กรคุณที่สุดแล้ว ในบริการก็จะช่วยคุณและทีมข้ามขั้นตอนวุ่นวายในการติดตั้ง , สอนการใช้งานไปได้ รวมถึงออกแบบ Beginning Flow ที่ทำให้ทีมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างรวดเร็วและเริ่มต้นทำงานอย่างเป็นระบบได้ทันที หมดปัญหาในการรอให้ทีมไปเรียนรู้เอง

หากคุณรู้ตัวแล้วว่าองค์กรของคุณกำลังเข้าข่ายอยู่ใน 2 ลักษณะองค์กรที่กล่าวไป แนะนำว่าปีนี้คุณอาจจะต้องเริ่มมองหาบริการ Tech Stack Consulting มาไว้ในองค์กรของคุณแล้วล่ะ

แล้วคำว่า In-House และ Outsource คืออะไร?

In-House คือ กลุ่มคนภายในบริษัทของคุณเอง ซึ่งเป็นทีมที่จัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง ถ้าองค์กรของคุณมีวิสัยทัศน์ว่า “ถ้าอยากทำอะไรให้ดี ก็จงทำด้วยตัวเอง” การมีทีม In-House ถือว่าเหมาะสำหรับองค์กรของคุณแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คุณก็ต้องหาคนที่ดีที่สุดและเชี่ยวชาญด้านนั้นที่สุด เพื่อมาทำงานในองค์กรนั่นเอง

ในขณะที่ Outsource คือ การที่องค์กรแบ่งงานออกเป็นส่วน ๆ และบางส่วนนั้นก็จ้างให้ทีมผู้เชี่ยวชาญภายนอกมาทำ โดยที่พวกเขาจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับงานภายในองค์กรเลย ซึ่งการจ้าง Outsource มักจะทำกับงานที่ยากซับซ้อนหรืองานที่ใหม่มากสำหรับองค์กร จนต้องอาศัยผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนั้นโดยเฉพาะมาช่วยทำหรือให้คำปรึกษา

ภาพจาก aeologic


เปรียบเทียบกันหมัดต่อหมัดระหว่างทีม In-House และ Outsource

ในตอนนี้ ถ้าผู้ประกอบการคนไหนที่ตัดสินใจพาองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยใช้ Tech Stack แล้ว และยังลังเลอยู่ว่าจะเลือกทีมงานแบบไหนดี วันนี้เราจึงมาเปรียบเทียบกันให้เห็นเลยว่า ระหว่างบริการ Tech Stack Consulting แบบ In-House และ Outsource มีความแตกต่างกันอย่างไร? ไปติดตามกันต่อได้เลยค่ะ

1. เวลา

ถ้ากล่าวในแง่ของการทำธุรกิจ แน่นอนว่า “เวลา” เป็นเป็นต้นทุนและเป็นสิ่งที่สำคัญมากของบริษัท และยิ่งถ้าเราอยากให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สิ่งที่ต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุดก็คือ “เวลา” นั่นเอง

ซึ่งการที่ให้ทีม In-House มาทดลองใช้งาน ทั้งลองผิดลองถูกกับเครื่องมือ Tech Stack ใหม่ ๆ แล้วค่อยมาถ่ายทอดความรู้ให้กับพนักงานคนอื่น ๆ ในองค์กรอีกต่อนึง มันอาจจะต้องใช้เวลามากกว่า เพราะเป็นการเริ่มต้นจากศูนย์ เมื่อเทียบกับการจ้าง Tech Stack Consulting ซึ่งเป็นทีมที่ใช้งานเครื่องมือเทคโนโลยีพวกนั้นเป็นประจำอยู่แล้ว จนเกิดความเข้าใจ เชี่ยวชาญ และสามารถแนะนำผู้อื่นได้อย่างตรงจุดเลย โดยที่ไม่ต้องมานั่งทดลองใช้งานใหม่

ภาพจาก creative-tim

ในอีกมุมมองนึง ถ้าทีมในองค์กร (In-House) ทดลองใช้งาน Tech Stack นั้นไปแล้วสักระยะนึง แล้วมารู้ที่หลังว่า การใช้งานนั้นผิดและไม่เห็นผล ทีมก็ต้องหาเครื่องมือตัวใหม่มาทดแทน และต้องใช้เวลาเพื่อศึกษาเรียนรู้มันอีกครั้งนึง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะเข้าใจ และกว่างานจะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง กว่าจะถึงตอนนั้นเราก็ทำอะไรต่อได้ยากแล้ว และนั่นก็เท่ากับว่าทีมทำงานซ้ำซ้อนไปมาและเสียเวลาเพิ่มมาอีกเท่าตัว 

และอีกหนึ่งความเสี่ยง คือ ถ้าเกิดว่าทีมที่รับผิดชอบงานนั้นลาออกไป ก็เท่ากับว่ากระบวนการ (Process) ใหม่ ๆ จะไม่เกิดขึ้น องค์กรต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งเพื่อหาคนใหม่มาทดแทน และกลับมาวนลูปแบบเดิมอีกครั้งแบบไม่มีที่สิ้นสุด

2. ความเชี่ยวชาญ

นอกจาก “เวลา” แล้วอีกหนึ่งปัจจัยที่จะทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างรวดเร็วก็คือ “ความเชี่ยวชาญ” ของทีม

จุดเริ่มต้นของบริการ Tech Stack Consulting หรือ “ผู้เชี่ยวชาญ” คือ การรับฟังสิ่งที่คนในองค์กรอยากได้หรือต้องการที่จะปรับเปลี่ยนจริง ๆ ซึ่งจะถามตั้งแต่มุมมองของคนที่ทำงานสายนั้นจริง ๆ และทีมงานทั้งหมดเลย ว่าเขาต้องการอะไร และอยากปรับปรุงตรงไหนให้ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะได้แนะนำ Tech Stack ได้อย่างถูกต้อง

แต่ถ้าเกิดว่าเป็นทีม In-House อาจไม่ได้รับฟังจากสิ่งที่คนในองค์กรอยากได้ แต่จะเป็นสิ่งที่ “หัวหน้า” ต้องการ และจริง ๆ แล้วสิ่งที่หัวหน้าต้องการ มันอาจจะแก้ปัญหาการทำงานของคนในองค์กรได้ไม่ตรงจุดเป๊ะ ๆ และไม่ตรงกับความต้องการของพวกเขา

ภาพจาก stanventures

นอกจากนั้น สำหรับบริการ Tech Stack Consulting ด้วยความที่พวกเขาคลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยี ก็จะเป็นทีมที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านกับ Tech Stack นั้น ๆ และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเข้าใจอยู่แล้ว รวมถึงพวกเขายังสามารถหาเครื่องมือตัวอื่น ๆ มาทำงานร่วมกันได้ดีอีกด้วย

เมื่อเทียบกันกับทีม In-House ที่ทีมอาจจะเลือก Tech Stack ตัวใดตัวนึงมาแล้ว แต่ผลปรากฏว่ามันไม่สามารถทำงานร่วมกับเครื่องมืออีกตัวที่หามาได้ ก็เท่ากับว่าองค์กรต้องเสียเวลาและต้นทุนซ้ำซ้อนไปอีก (และที่สำคัญเครื่องมือบางตัวก็มีราคาสูงไม่ใช่น้อย)

เพราะฉะนั้นทีมที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้นมากกว่าก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะสามารถแนะนำ Tech Stack ตัวอื่น ๆ ที่ใช้งานร่วมกัน หรือเห็นฟีเจอร์หลาย ๆ อย่างที่มีประโยชน์มาช่วยแก้ปัญหาให้กับทีมได้อย่างตรงจุด

3. การสร้าง Innovation ได้เร็วกว่า

การจ้างบริการ Tech Stack Consulting แบบ Outsource ถือเป็นเริ่มจุดเริ่มต้นของการสร้างนวัตกรรม หรือ Innovation ได้รวดเร็วกว่า เพราะทีม Outsource จะมีการติดตั้ง (Set up) เครื่องมือ รวมไปถึงระบบทุกอย่างให้ ซึ่งแต่ละทีมในองค์กรจะได้เห็นกระบวนการ (Process) ในการดำเนินการว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง มีการสอนรูปแบบไหน และสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปทำซ้ำ ปรับใช้ หรือเชื่อมต่อกับ Tech Stack อื่นของทีมอื่น ๆ ได้อีก

เมื่อเปรียบเทียบกับทีม In-House ที่เราอาจจะต้องแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 ทีม ทีมแรกเป็นหน่วยทดลองใช้ ส่วนอีกทีมเป็นหน่วยเรียนรู้งานจากทีมแรก แล้วไปสอนงานต่อให้บุคลากรคนอื่นในองค์กรอีกที นับว่าเป็นการสร้าง Process ใหม่ทั้งหมดโดยเริ่มจากศูนย์ แล้ว Innovation ก็เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรวดเร็ว ซึ่งก็เท่ากับว่าองค์กรของเราจะเดินช้ากว่าคนอื่นถึง 2 เท่า และอาจจะเป็นไปได้ว่าเราจะล้าหลังกว่าคนอื่นหรือคู่แข่งของเราตามไปด้วย

ภาพจาก innovationdrive

4. ค่าใช้จ่าย 

หากลองเปรียบเทียบเรื่อง “ค่าใช้จ่าย” ระหว่างการจ้างทีมในลักษณะ In-House กับการจ้างทีม Tech Stack Consulting ที่เป็น Outsource ให้กับองค์กรคุณจะพบว่า การจ้าง Tech Stack Consulting ในลักษณะ Outsource จะสามารถสร้างประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจของคุณได้มากกว่า

เพราะในการจ้างทีม In-House ที่อยู่ในองค์กรของคุณเอง เชื่อว่าคุณอาจจะต้องเจอปัญหาตั้งแต่การเฟ้นหาบุคลากรที่ต้องมีความรู้ ความสามารถในด้านการเลือกใช้เครื่องมือ Tech Stack สำหรับองค์กร ซึ่งโดยทั่วไปบุคลากรที่มีความรู้และทักษะระดับนี้ ก็มักจะอยู่ในตำแหน่งหัวหน้างาน (หรือ Team Lead) ซึ่งแน่นอนว่า ค่าจ้างในแต่ละเดือนที่คุณต้องเสียก็คงเป็นจำนวนที่มากพอควร

ประกอบกับการที่คุณลงทุนจ้างทีม In-House คุณจะไม่สามารถการันตีผลลัพธ์ที่องค์กรจะได้รับ เพราะทีมที่จ้างเข้ามาเพิ่ม จะต้องเสียเวลาไปกับลองผิด ลองถูก หาเครื่องมือที่ตอบโจทย์กับองค์กร ซึ่งจะขัดกับการทำงานขององค์กรสมัยใหม่ที่เน้นผลลัพธ์และความรวดเร็วเป็นหัวใจสำคัญ

ภาพจาก paymentsjournal

และนั่นจะแตกต่างจากการจ้างทีม Outsource เพื่อให้เข้ามาดูแลด้าน Tech Stack ในองค์กรอย่างสิ้นเชิง เพราะการจ้างทีมแบบ Outsource จะทำให้องค์กรของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายกว่า เนื่องจากสามารถจ้างแบบกำหนดช่วงเวลาเป็นโปรเจ็กต์ ๆ ได้ (ไม่จำเป็นต้องเสียเงินทุกเดือนเหมือนจ้างพนักงานประจำ)

*โดยปกติการจ่ายเงินสำหรับบริการ Tech Stack Consulting ที่เป็น Outsource จะต้องแบ่งเงินจ่ายเป็น 2 ก้อน ก้อนแรกคือค่าใช้จ่ายในการปรึกษา และอีกหนึ่งก้อนคือค่าเครื่องมือ (Tools) ที่องค์กรได้เลือกใช้

และการจ้างทีม Outsource แบบนี้จะทำให้องค์กรเห็นผลลัพธ์ได้ชัดเจนขึ้น เพราะทีมงาน Outsource จะช่วยองค์กรคุณได้อย่างเต็มที่จริง ๆ เหมือนคุณได้พนักงานเพิ่มอีกหลายคน โดยที่เสียค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการจ้างพนักงานประจำ (In-House) มาก

5. การสร้างความรู้ให้กับบุคลากรในองค์กร 

เมื่อองค์กรของคุณตัดสินใจได้แล้วว่า อยากจะเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน ในบางองค์กรที่อาจไม่เคยได้สัมผัสการทำงานแบบนี้มาก่อนก็จะต้องมีความรู้สึกกลัวเกิดขึ้น (กลัวว่าจะใช้ไม่เป็น, กลัวว่าต้องศึกษาเยอะ) บางองค์กรอาจจะลองแก้ปัญหาด้วยการจ้างทีมแบบ In House เข้ามาเพิ่มในองค์กร เพื่อดูแลด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ แต่สิ่งนั้นกลับไม่ได้ทำให้บุคลากรทั้งองค์กรได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะเมื่อองค์กรของคุณจะมีการนำเครื่องมือ Tech Stack ต่าง ๆ มาเริ่มใช้งาน นั่นเท่ากับว่าพนักงานทุกคนขององค์กรก็จะต้องใช้เครื่องมือเหล่านั้นให้เป็นด้วย การที่จ้างพนักงานแบบ In-House มาพวกเขาอาจไม่มีทักษะหรือไม่มีความสามารถในด้านการสอนใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น ให้กับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ 

ซึ่งจะแตกต่างจากการทีม Tech Stack Consulting ที่จะเข้ามาช่วงลดความเสี่ยงในเรื่องนี้ไปได้เลย เพราะนอกจากบริการในด้านการช่วยหา ช่วยเลือก เครื่องมือที่ตอบโจทย์กับความต้องการของธุรกิจคุณที่สุดแล้วส่วนใหญ่ในบริการนี้ ก็จะมีการสอน หรืออบรมการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ให้พนักงานในองค์กรได้มีความรู้ ความเข้าใจไปในทางเดียวกัน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

ภาพจาก freepik


สรุปทั้งหมด

ในยุคนี้ ธุรกิจที่เกิดขึ้นมาใหม่หรือหลายบริษัทที่เปิดมานานแล้ว ต่างก็เริ่มเปิดใจในการขยับขยายองค์กรและรับเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานมากขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีบางบริษัทที่ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ว่าจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ดีไหม เพราะว่าองค์กรของตัวเองก็ยังไม่มีความรู้ขนาดนั้น ทีมใช้งานไม่เป็น ไม่มีคนมาสอน จึงไม่กล้าลงทุนลงแรงไปด้านนั้น

การใช้ Outsource ก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงออกไปได้ดีเลยทีเดียว เพราะมีทีมงานคอยช่วยสอนและนำเสนอเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจนั้นได้เห็นโอกาสใหม่ ๆ ที่จะช่วยให้ทีมมีการลดการใช้ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) ลดการใช้เงิน ลดความเสี่ยงจากการทดลองใช้เครื่องมือเองแล้วมันไม่เห็นผล 

จากการลดความเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ มันคือจุดเริ่มต้นของการทำให้บริษัทเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้เร็วกว่าเดิม ส่วนใครที่กำลังลังเลในตอนต้นว่า ควรจะจ้างบริการ Tech Stack Consulting แบบ In-House หรือ Outsource ดี หลังจากอ่านบทความนี้แล้วก็หวังว่าคุณจะได้พบกับคำตอบนั้นกันนะคะ :)

ถึงตอนนี้เราขอแนะนำให้คุณรู้จักกับบริการใหม่ของเราอย่าง BUSINESS TECH STACK CONSULTING หรือบริการให้คำปรึกษาด้านการใช้ซอฟต์แวร์ในบริษัท เพื่อการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ที่จะมองหา Pain Point ต้นเหตุของการทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และแก้ปัญหานั้นด้วยการแนะนำเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรของคุณ ทำให้การทำงานของคุณและทีมเชื่อมต่อกันได้ดีขึ้น ลดขั้นตอนการทำงานบางส่วนลงไป สามารถจัดการงานสำเร็จมากขึ้นในระยะเวลาที่เท่าเดิม

ซึ่งทางทีมงานของเราจะทำการพูดคุยถึงปัญหาที่องค์กรของคุณกำลังเจออยู่ พร้อมหาทางออกให้ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ที่เข้ากับบริษัทของคุณที่สุด จากนั้นเราจะสร้าง WorkFlow ของการทำงานรวมทั้งสอนวิธีการใช้งานให้กับพนักงานขององค์กรคุณ โดยเราจะสรุป Business Tech Stack ที่บริษัทคุณได้เลือก และทำเป็นไฟล์สอนการใช้งานให้กับทีมของคุณหลังติดตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ลดเวลาในการเรียนรู้เองของทีมในองค์กรคุณไปได้อย่างมาก

tech stack คือ





ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe