Pricing Hack ตอนที่ 4 : วิธีตั้งราคาสินค้าแบบ Utilitarian VS. Luxury ให้รู้สึก “คุ้มค่า” ที่สุด!

Pricing Hack ตอนที่ 4 : วิธีตั้งราคาสินค้าแบบ Utilitarian VS. Luxury ให้รู้สึก “คุ้มค่า” ที่สุด!
Light
Dark
The Growth Master Team
The Growth Master Team

The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต

นักเขียน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

- Utilitarian VS. Luxury
- สรุปก่อนจากกัน

เลือกอ่านตามหัวข้อ

- Utilitarian VS. Luxury
- สรุปก่อนจากกัน

ถูกแพงนั้นสำคัญไฉน? รู้หรือไม่ว่าราคาที่ถูกที่สุดอาจไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะนอกจากราคาจะส่งผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าแล้วยังสามารถสื่อถึงสินค้าได้อีกด้วย แล้วจะตั้งราคาอย่างไรให้เหมาะสมโดนใจลูกค้าดีล่ะ? เรารวบรวมทฤษฎีแสนยุ่งยากมาย่อยให้เข้าใจง่ายพร้อมใช้งานให้คุณไว้ที่นี่ แล้วมาเรียนรู้จิตวิทยาในวิธีการตั้งราคาที่สามารถทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มแสนคุ้มไปด้วยกัน!

อ่านตอนอื่นๆ ของ Pricing Hack The Series

Pricing Hack ตอนที่ 1 : เจาะลึกกลยุทธ์เชิงจิตวิทยา “ลด” ราคาอย่างไรให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น!

Pricing Hack ตอนที่ 2 : ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าด้วยจิตวิทยาการตั้งราคา “กระตุ้น” ยอดขายให้พุ่งกระฉูด!

Pricing Hack ตอนที่ 3 : เทคนิคการใช้จิตวิทยาในการตั้งราคาเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า “ถูก” ที่สุด!

Pricing Hack ตอนที่ 4 : วิธีตั้งราคาสินค้าแบบ Utilitarian VS. Luxury ให้รู้สึก “คุ้มค่า” ที่สุด!

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Utilitarian VS. Luxury

จริงหรือไม่ที่ราคาที่ดีที่สุดมักเป็นราคาที่ถูกที่สุด?

คำตอบ คือ จริงเฉพาะในบางกรณีเท่านั้น

ถ้าหากผลิตภัณฑ์ของคุณเป็นมากกว่าสินค้าทั่วไป ราคาที่ถูกที่สุดก็ไม่ใช่ราคาที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะราคายังสามารถสื่อถึงมูลค่าและคุณภาพของสินค้าได้อีกด้วย

ดังนั้นการตั้งราคาที่เหมาะสมจึงจะช่วยสร้างความคุ้มค่าและความแตกต่างให้กับสินค้าของคุณได้

ก่อนอื่นเราต้องขอนิยามเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันก่อน ในตอนนี้เราจะมาบอกเทคนิควิธีการตั้งราคาสินค้า Utilitarian VS. Luxury  ให้เหมาะสมกับสินค้าของคุณมากที่สุด

Utilitarian คือ สินค้าธรรมดาทั่วไป เน้นแต่ประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติม
Luxury คือ สินค้าที่ต้องการเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าสินค้าอื่น เช่น สินค้าที่มีดีไซน์หรือฟังก์ชันพิเศษ รวมถึงสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ

มาลองดูตัวอย่างกันก่อนเพื่อเช็คความเข้าใจให้ตรงกัน

หากกระเป๋า Utilitarian หมายถึงกระเป๋าทั่วไปที่เน้นแต่ประโยชน์ใช้สอย ไม่ได้มีลักษณะพิเศษที่ต้องการนำเสนอ กระเป๋า Luxury ก็จะหมายถึงกระเป๋าแบรนด์หรือกระเป๋ามียี่ห้อ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีดีไซน์พิเศษ สื่อถึงความเป็นแบรนด์ หรืออาจจะเป็นกระเป๋าหนังอย่างดี เป็นต้น

ตัวอย่างกระเป๋าทั่วไป ภาพจาก muji

ตัวอย่างกระเป๋า Luxury ภาพจาก bagaholicboy

สินค้าสองประเภทนี้จำเป็นต้องตั้งราคาให้ต่างกัน เพราะสินค้า Luxury มีลักษณะที่ต้องการนำเสนอเป็นพิเศษ เพราะหากสินค้า Luxury ถูกมองเป็นเหมือนสินค้าทั่วไป ความพิเศษนั้นก็จะไร้ความหมายไปด้วย ในขณะเดียวกันหากสินค้าทั่วไปมีราคาเหมือนสินค้า Luxury ก็จะทำให้สินค้านั้นดูแพงเกินความจำเป็น

ดังนั้นบทความนี้จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเน้นความแตกต่างระหว่างสินค้าทั่วไปกับสินค้า Luxury ให้สามารถนำไปปรับใช้กับสินค้าของคุณได้อย่างเหมาะสม

FYI

  • ลดราคาเฉพาะสินค้าราคาถูกเท่านั้น เพื่อคงคุณภาพของสินค้า Luxury ไว้เสมอ
  • ไม่จัดโปรโมชั่นสินค้า Luxury และสินค้าทั่วไปรวมกัน เพราะจะลดความคุ้มค่าของสินค้าให้น้อยลง

ก่อนจากกัน

มาถึงตรงนี้คุณก็คงพอจะเก็ทไอเดียการตั้งราคาสินค้าที่ต่างประเภทกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าสินค้าต่างประเภทกันก็ต้องตั้งราคาต่างกัน เนื่องจากราคาสามารถสื่อถึงคุณภาพสินค้าได้ ทำให้ในบางครั้งราคาที่ถูกก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไป แต่ราคาที่เหมาะสมกับสินค้าจึงจะทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าแก่การใช้จ่ายที่สุด

แล้วมาพบกับเนื้อหาดีๆ เพื่อการเติบโตของคุณได้ที่นี่กับ The Growth Master

จนกว่าจะพบกันใหม่ (-:

แหล่งอ้างอิง: nickkolenda


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe