Consent Marketing คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในวันที่ Google บล็อก Cookie ออกทั้งหมด

Consent Marketing คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไรในวันที่ Google บล็อก Cookie ออกทั้งหมด
Light
Dark
Cartoon Tanaporn
Cartoon Tanaporn

มนุษย์เป็ดเขียนคอนเทนต์ ชอบเขียนมากกว่าพูด เสพติดการมองพระจันทร์เป็นชีวิตจิตใจ และหลงใหลในช่วงเวลา Magic Hour ของทุกวัน

นักเขียน

Consent Marketing คือสิ่งที่นักการตลาดหรือคนที่ทำงานในสาย Digital Marketing มองข้ามไม่ได้เลยเด็ดขาด เพราะเมื่อไม่นานมานี้ Google ได้ออกมาประกาศว่าจะทำการยกเลิก Third-party Cookie ทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าการทำโฆษณา Retargeting ก็ทำได้ยากยิ่งกว่าที่เคย

ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วนักตลาดและคนที่ทำงานในสาย Digital Marketing จะทำอย่างไรดีล่ะ? เราเลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ Consent Marketing ทางเลือกใหม่ที่ธุรกิจที่ไม่ควรมองข้าม ไปดูกันเลย

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Consent Marketing คืออะไร?

Consent Marketing คือ รูปแบบการทำการตลาดกับผู้ที่มีแนวโน้มที่จะเป็นลูกค้าของธุรกิจ (Active Prospects) โดยธุรกิจจะติดต่อกลับไปหาพวกเขาหลังจากที่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรมาแล้ว เช่น การที่ลูกค้ากรอกแบบฟอร์มมาหาเรา ซึ่งธุรกิจสามารถมั่นใจได้เลยว่าโอกาสที่จะเปลี่ยนพวกเขาให้กลายเป็นลูกค้านั้นมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงมาก เนื่องจากกลุ่มคนเหล่านี้ตรงตามหลักเกณฑ์ของเราแล้ว เขาถึงยินยอมให้เราติดต่อกลับไป

ภาพจาก raptorservices

ทำไมการทำ Consent Marketing ถึงสำคัญ?

ปัจจุบันหลายบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ ๆ ระดับโลกได้ออกมาให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ก่อนหน้านั้นได้ออกมานำร่องปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานด้วยการปิดกั้น Cookie บน Safari ทำให้ Apple สามารถควบคุมเว็บไซต์ในการเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้เกือบ 100% 

และตามมาด้วยการอัปเดตฟีเจอร์ App Tracking Transparency หรือที่เราคุ้นชินกันในวลี Ask App Not To Track บน iPhone และ iPad ถ้าหากผู้ใช้งานกดไม่อนุญาตให้แอปติดตามกิจกรรมการใช้งาน เท่ากับว่าการยิงโฆษณาแบบเจาะจงเป้าหมายที่เคยสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจจะทำได้ยากขึ้นเป็นสองเท่านั่นเอง

ภาพจาก arenamobiles

และเมื่อไม่นานมานี้ Google ได้ออกมาประกาศว่าในช่วงปลายปี 2024 จะทำการบล็อก Cookie จากบุคคลที่สาม (Third-party) บน Chrome ออกไปทั้งหมด ซึ่งก็สร้างความลำบากใจให้กับหลายฝ่ายมาก ๆ เลย

เพราะนอกจาก Google จะสามารถครองตลาด Search Engine ไปได้แล้วในปัจจุบัน Google ก็ยังเป็นเจ้าตลาด Web Browser ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ Chrome 

โดยสถิติจาก StatCounter บอกว่าในปี 2022 Chrome กินสัดส่วนผู้ใช้งานทั่วโลกไปกว่า 67.33% เมื่อเทียบกับ Edge ที่กินส่วนแบ่งไป 10.91%, Safari 8.83%, Firebox 7.4% และ Web Browser อื่น ๆ อีกยิบย่อยที่รวมกันแล้วมีสัดส่วนไม่ถึง 3% 

นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งโลกมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน Chrome นั่นเอง และเมื่อ Chrome ได้ออกมาประกาศตามข้างต้น ก็ทำให้หลายธุรกิจต้องสั่นคลอน และต้องหาวิธีหรือเครื่องมือที่จะทำอย่างไรก็ได้ที่ให้ได้ข้อมูลจากลูกค้ามาเหมือนเดิม

ภาพจาก statcounter

ถ้าหาก Google บล็อก Third-party Cookie ออกไปจริง ๆ ผลที่ตามมาคือ ทำให้ธุรกิจอาจไม่สามารถติดตามประวัติการใช้งานบนเว็บไซต์ของคนที่เข้ามาเยือนเว็บไซต์ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการค้นหากลุ่มเป้าหมายทางการตลาด (Target Marketing) ก็ทำได้ยากกว่าเดิม และที่สำคัญ ไม่สามารถทำโฆษณา Retargeting ที่เปรียบเสมือนเป็นอาวุธคู่ใจของนักการตลาดหลาย ๆ คนได้

นี่จึงถือว่าเป็นข่าวใหญ่มาก ๆ ของนักการตลาดหรือคนที่ทำงานในสาย Digital Marketing ที่จะมองข้ามไม่ได้เด็ดขาดเลยในการเปลี่ยนมาทำความรู้จักกับ Consent Marketing

วิธีการทำ Consent Marketing ในวันที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลจาก Cookie ได้อีก

วางกับดักให้ผู้ใช้งานยินยอมมอบข้อมูลให้ธุรกิจ

Consent Marketing มักจะเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้งานที่สนใจในธุรกิจยินยอมให้ข้อมูลบางอย่างกับธุรกิจมา (เช่น การกรอกฟอร์ม) ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พวกเขาจะให้ความยินยอมหลังจากที่นักการตลาดมอบข้อเสนอบางอย่างที่น่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของเขาให้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ‘ติดกับดักเข้าเสียแล้ว’ 

โดยตัวอย่างง่าย ๆ คุณอาจจะเคยเข้าไปยังเว็บไซต์หนึ่งเพื่ออ่านบทความ แต่เว็บไซต์นั้นกลับมี Pop-up เด้งขึ้นมาขอความยินยอมจากคุณ ถ้าหากคุณกด คุณก็สามารถอ่านบทความได้ต่อ แต่ถ้าคุณไม่กด คุณก็จะไม่สามารถทำอะไรต่อบนเว็บไซต์นั้นได้เลย

ภาพจาก cookieyes

จัดทำเอกสารขอความยินยอมตามกฎหมาย

ปัจจุบันในประเทศไทยก็มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลของผู้บริโภค (PDPA) ออกมาแล้ว ทำให้ข้อมูลในหลาย ๆ ส่วนของผู้ใช้งานจะถูกคุ้มครองด้วยกฎหมาย นั่นหมายความว่าก่อนที่ธุรกิจจะนำข้อมูลของผู้ใช้งานไปทำอะไร จำเป็นต้องขอความยินยอม (Consent) จากผู้ใช้งานเสียก่อน 

ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นลูกค้าปัจจุบันของธนาคาร บน Mobile Banking อาจจะมี Pop-up เด้งขึ้นมาขอความยินยอมก่อนที่จะนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่แบบชัดเจนว่าข้อมูลอะไรบ้างที่จำเป็น หรือข้อมูลอะไรบ้างที่จะนำไปใช้กับการทำการตลาด หรือแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องจากพาร์ทเนอร์มาให้

อ่านบทความเพิ่มเติม:

อัปเดตข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

บางครั้งธุรกิจกลุ่มเป้าหมายที่ยอมให้ข้อมูลกับธุรกิจมาก็อาจเคยเป็นลูกค้าของเรามาก่อนแล้ว ซึ่งธุรกิจก็ต้องอัปเดตข้อมูลของพวกเขาให้เป็นปัจจุบันด้วย เพราะข้อมูลส่วนตัว พฤติกรรม ความชอบ อาจเปลี่ยนไปแล้ว ทำให้ธุรกิจไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีก

เช่น คนนี้เคยเป็นลูกค้าของเราเมื่อ 5 ปีที่แล้ว และข้อมูลล่าสุดที่เรามีคือเขาใช้อีเมลอีกอันหนึ่ง แต่ในปีนี้ลูกค้าคนนี้กลับมาสินค้าของเราอีกครั้ง แต่เขาเปลี่ยนอีเมลใหม่ไปแล้ว ซึ่งเราก็ต้องทำการอัปเดตอีเมลของเขาให้เป็นปัจจุบันที่สุด เพื่อที่ว่าเราจะได้ส่งข้อมูล ข่าวสาร หรืออาจจะมอบคูปองส่วนลดพิเศษสำหรับเขาโดยเฉพาะ เพื่อทำการ Retargeting กับพวกเขาได้

คัดกรองข้อมูลลูกค้าที่ได้รับมา

ในหลาย ๆ ครั้งธุรกิจมักจะได้รับข้อมูลจากคนที่สนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการมา แต่บางครั้งคนเหล่านั้นก็อาจจะไม่ใช่ลูกค้าที่แท้จริงของธุรกิจก็ได้ เพราะข้อมูลที่ให้มากลับติดต่อไม่ได้ ส่งข้อมูลมาซ้ำ หรือไม่ตรงกับคุณสมบัติที่ธุรกิจตั้งเป้าไว้ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจควรจะต้องมีการคัดกรองข้อมูลที่ได้รับมาด้วย

โดยบางครั้งคุณอาจจะมีการถามคำถามตอนกรอกแบบฟอร์มสั้น ๆ เช่น ถ้าคุณต้องการขายคอร์สเรียนออนไลน์ คุณอาจจะตั้งคำถามว่าเขากำลังทำอาชีพ/สนใจสายอาชีพไหนอยู่ เพื่อที่ว่าในอนาคตถ้ามีคอร์สออนไลน์เกี่ยวกับสายอาชีพนั้น ๆ ออกมา คุณจะได้ส่งข้อมูลนำเสนอไปให้พวกเขาได้ถูกต้องตามความต้องการ เป็นการเพิ่มโอกาสปิดการขายได้อีกด้วย

ติดต่อผู้บริโภคกลับไปทันที

หลังจากที่พวกเขาได้ทิ้งข้อมูลบางอย่างไว้ให้เราผ่านการกรอกแบบฟอร์มแล้ว ส่วนใหญ่พวกเขามักจะหวังให้ธุรกิจติดต่อกลับทันที ธุรกิจก็ควรจะส่งให้ทีมที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่อย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพวกเขา

โดยตัวอย่างง่าย ๆ หากมีคนกรอกฟอร์มมาหาเราแล้ว ก็ควรที่จะมีอีเมลอัตโนมัติส่งกลับไปว่า คุณได้รับข้อมูลแล้วนะ เพื่อที่เป็นการยืนยันว่าธุรกิจรับรู้แล้วให้ลูกค้าได้อุ่นใจมากขึ้น นอกจากนี้ ก็มีสถิติจาก LiveAgent ที่แสดงให้เห็นว่าถ้าธุรกิจมีการติดต่อกลับไปอย่างรวดเร็วหรือมี Customer Support ที่ดี โอกาสที่คนนั้นจะกลายมาเป็นลูกค้า หรือสร้างยอดขายให้กับเราก็มีมากขึ้นถึง 11% เลยทีเดียว

ภาพจาก livechat

สรุปทั้งหมด

ในปี 2024 ที่จะถึงนี้เราเชื่อว่าบริษัทกว่า 80% ทั่วโลกอาจได้รับผลกระทบจากกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวต่าง ๆ จากบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่มากขึ้น ในวันที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ถ้าคุณไม่อยากเป็นคนที่ตกรถไฟขบวนนี้ คุณจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Consent Marketing ตั้งแต่วันนี้ และนี่ก็อาจเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินต่อไปได้ในอนาคต

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe