7 ขั้นตอนการวางกลยุทธ์ Content Marketing ให้ธุรกิจโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ถึงตรงนี้ เชื่อว่าคุณก็คงรู้สึกว่าอยากจะเริ่มต้นแล้ว แต่อาจจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูกว่าควรเริ่มยังไง ครั้งนี้ผมจึงจะมาช่วยนำทางคุณด้วย 7 ขั้นตอนด้านล่างนี้เลยครับ
STEP 1 : ตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อหาเป้าหมาย เริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า คุณอยากให้ Content Marketing มาช่วยอะไรเพื่อบรรลุเป้าหมายของธุรกิจ ?
ยกตัวอย่างเช่น
– เพื่อเพิ่ม Conversion (สิ่งที่ธุรกิจต้องการให้ลูกค้าทำ เช่น กดสั่งซื้อ) ให้กับธุรกิจ
– เพื่อให้คนมาสมัครสมาชิกเพิ่มขึ้น
– เพื่อ Social Engagement ที่ดี
– เพื่อพัฒนา SEO ให้กับเว็บไซต์
โดยการตั้งเป้าหมายจะช่วยให้คุณรู้ว่าหน่วยวัดผล ค่าไหนที่เราควรให้ความสำคัญ และแปลว่าในการจะดูว่าแคมเปญหรือกลยุทธ์ Content Marketing ของเรานั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ ก็ต้องดูจากค่านี้เป็นหลัก
การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ
STEP 2 : ค้นหาและวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย อีกหนึ่งสิ่งสำคัญก่อนเริ่มวางกลยุทธ์ Content marketing ก็คือ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เพราะก่อนที่จะขายสินค้าหรือบริการ เราเองก็ต้องรู้ก่อนว่าใครคือคนที่จะมาซื้อสิ่งเหล่านี้
เราจะไม่คาดเดาเอาเองว่าพวกเขาคือใคร แต่เราจะทำสิ่งที่เรียกว่า “Buyer Persona” เพื่อที่เราจะสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ของกลุ่มลูกค้าได้ เช่น ความต้องการ นิสัย เพศ หรืออายุ
ซึ่งสุดท้ายแล้วมันจะทำให้เรารู้ว่าอะไรคือปัญหาที่แท้จริงของพวกเขา และวิธีแก้ปัญหาแบบไหนที่จะตอบโจทย์พวกเขามากที่สุด
โดยถ้าเป็น Buyer Personas แบบทั่วไป วิธีการทำก็อาจจะมีแค่ 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ รีเสิร์ช และนำข้อมูลเหล่านั้นสร้างขึ้นมาทันที เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายจุดประสงค์
เช่น การวางแผนกลยุทธ์การตลาด หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ปัญหาของมัน คือ Persona นั้นอาจจะไม่ตอบสนองกับธุรกิจเราได้จริง ด้วยหลายๆ ปัจจัย เช่น พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามช่วงเวลา หรือไม่มีข้อมูลและงานวิจัยไหนมารองรับ (ในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ของเราใหม่มากๆ)
ดังนั้นเราจะเลือกใช้ Buyer Persona รูปแบบ Growth ที่จะเน้นไปที่การทดลอง เพื่อหาลูกค้าตัวจริงของธุรกิจ โดย Persona จะมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามผลลัพธ์ของการทดสอบในแต่ละครั้ง เพื่อให้ลักษณะของลูกค้าที่เราร่างมาตรงกับลูกค้าจริงๆ
(ตัวอย่าง Buyer’s Persona) ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ในรูปภาพด้านล่าง ที่พวกเขาต้องการจะทดสอบว่าการเขียนแบบไหน (Copywriting) ที่จะดึงดูดให้กลุ่มลูกค้าที่เราตั้งไว้เป็น Persona คลิ๊ก Download ได้มากที่สุด โดยมันจะทำให้คุณได้รู้ลึกมากขึ้นว่าพวกเขาชอบและไม่ชอบอะไร (จริงๆ) ซึ่งอาจจะแตกต่างจากข้อมูลหรือสถิติที่เราเคยทำรีเสิร์ชมา
ภาพจาก falcon STEP 3 : จำลอง Buyer’s Journey Buyer’s Journey คือ กระบวนการเดินทางของลูกค้า ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านั้นจะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณได้อย่างไร
โดยถ้าเป็นการจำลอง Buyer’s Journey แบบที่หลายคนคุ้นเคยอาจจะเป็นแบบที่มีแค่ 3 กระบวนการหลักคือ Awarenes , Consideration และ Decision แต่จริงๆ แล้วการเดินทางของลูกค้าสามารถลงลึกไปได้มากกว่า 3 กระบวนการนี้อีก
ดังนั้นในการจำลอง Buyer’s Journey ครั้งนี้ เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า AARRR Funnel เครื่องมือสำคัญของศาสตร์การตลาด Growth Hacking ที่จะเปรียบเทียบการเดินทางของลูกค้าออกเป็น 5 กระบวนการ :
ภาพจาก growthmedia Acquisition : ลูกค้าค้นพบธุรกิจของคุณ Activation : ลูกค้าได้รับประสบการณ์จากผลิตภัณฑ์ของคุณ Retention : ลูกค้ารู้สึกดีและกลับมารับประสบการณ์จากผลิตภัณฑ์ของคุณอีกRevenue : ลูกค้าตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณReferral : ลูกค้าบอกต่อผลิตภัณฑ์ของคุณ ตัวอย่าง Buyer’s Journey ของคนที่กำลังประสบปัญหาจากสารเคมีในสบู่ นาย A มีอาการแพ้สารเคมีจากสบู่จึงเริ่มมองหาวิธีในการรักษา เขาจึงเลือกเสิร์ช Google เพื่อหาคำตอบ จากนั้นเขาก็ได้พบและเข้าไปอ่านบทความในเว็บไซต์หนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสบู่สูตรออแกนิคที่ช่วยแก้ปัญหาผิวติดสารเคมีได้ (Acquisition)
ระหว่างการอ่าน ก็มี Pop-up ขึ้นมาให้เขากรอกฟอร์มเพื่อรับโค้ดส่วนลดการซื้อสบู่ออแกนิคผ่านทางอีเมล (Activation) หลังจากที่เขาได้รับอีเมลส่วนลดแล้ว เขาได้กลับเข้ามาที่เว็บไซต์อีกครั้งเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของสบู่ออแกนิค (Retention) เมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอแล้ว เขาจึงตัดสินใจใช้โค้ดส่วนลดนั้นเพื่อซื้อสบู่ (Revenue) สุดท้ายหลังจากที่เขาได้ลองใช้ เขาก็ได้รับอีเมลเผื่อเชิญให้เขามาร่วมเขียนรีวิวบนเว็บไซต์เพื่อรับส่วนลดในการซื้อครั้งถัดไปอีก (Referral)
จะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของลูกค้าทั้งหมดเลย จึงบอกได้ว่ายิ่งเราสามารถวิเคราะห์การเดินทางของลูกค้าด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ได้แม่นยำมากเท่าไหร่ โอกาสที่เราจะสามารถทำให้เขาประทับใจก็ยิ่งมีมากเท่านั้น
และแน่นอนว่าการที่จะทำให้เขาประทับใจได้ คุณก็จำเป็นต้องรู้ว่าในแต่ละกระบวนการเดินทางของลูกค้า เขาควรได้รับคอนเทนต์แบบไหน ซึ่งเราจะมาพูดกันในหัวข้อถัดไป
STEP 4 : วางกลยุทธ์คอนเทนต์ด้วยการทำ Content Mapping ก่อนที่จะไปวางกลยุทธ์ของคอนเทนต์ หรือที่เรียกว่า Content Mapping คุณต้องเข้าใจก่อนว่าคอนเทนต์นั้นมีส่วนสำคัญกับ AARRR Funnel อย่างไร
AARRR Funnel นั้นจะเปรียบเทียบกระบวนการเดินทางของลูกค้าเป็นเหมือนลักษณะของกรวย เพราะยิ่งลึกลงมา แต่ละส่วนของกรวยก็จะแคบลงเรื่อยๆ ซึ่งเหมือนกับกระบวนการเปลี่ยนคนทั่วไปให้กลายมาเป็นลูกค้า ที่โดยปกติแล้ว จะเริ่มต้นจากการมีคนทั่วไปจำนวนมากในส่วนแรก จากนั้นผู้คนก็จะถูกกรองและค่อยๆหลุดออกไปในแต่ละส่วน จนเหลือเพียงลูกค้าจริงๆ ในตอนสุดท้าย
ซึ่งถ้าคุณสามารถผลิตคอนเทนต์ที่ดี พร้อมกับวางตำแหน่งของคอนเทนต์นั้นได้เหมาะสมกับแต่ละส่วนของ Funnel โอกาสที่ลูกค้าจะหลุดออกไปก็จะน้อยมากๆ และแปลว่าคุณก็จะมีลูกค้าเพิ่มขึ้นนั่นเอง
AARRR Funnel กับ Content Mapping
ทีนี้ลองมาดูกันว่าในแต่ละส่วน Funnel คอนเทนต์มีหน้าที่อะไรบ้าง :
1. Acquisition (ขั้นตอนการหาลูกค้าให้เข้ามาในธุรกิจ) : ขั้นตอนแรก ควรเป็นคอนเทนต์ที่สั้น กระชับ และย่อยง่าย (เช่น Social media Post,Blog หรือ Infographic) เพื่อดึงดูดความสนใจจากลูกค้าในวงกว้าง และสร้าง Brand Awareness ให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก
2. Activation (ขั้นตอนการขอข้อมูลสำคัญจากลูกค้า) : ขั้นตอนต่อมา หน้าที่ของเราคือ การนำเสนอคอนเทนต์ที่เจาะจงและลงลึกไปในเรื่องที่พวกเขาสนใจ เช่น Quiz,E-book หรือ Check list เพื่อเป็นข้อเสนอแลกกับข้อมูลสำคัญของพวกเขา (เช่น ชื่อ อีเมล หรือเบอร์โทรศัพท์) ที่สามารถแสดงให้เห็นว่าพวกเขาพร้อมและยินดีที่จะสานความสัมพันธ์กับคุณต่อ
3. Retention (ขั้นตอนการทำให้ลูกค้ากลับมาหาเรา) : หลังจากที่เราได้ช่องทางการส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมายมาแล้ว เราก็เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับพวกเขาด้วยวิธีการทำให้พวกเขากลับมาติดตามคอนเทนต์จากพวกเราเรื่อยๆ ด้วยการทำ E-mail campaign, Newletters , Social nuturing หรือ Retargeting Ads (ในขั้นตอนนี้พวกเขาอาจจะซื้อหรือยังไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ก็ได้ แค่พวกเขากลับเข้ามาใช้บริการบนเว็บไซต์ของคุณ เช่น มาอ่านบทความ ก็ถือว่าสำเร็จขั้นตอนนี้แล้ว)
4. Revenue (ขั้นตอนการให้ลูกค้าซื้อของเรา) : หลังจากที่พวกเขากลับมาติดตามคอนเทนต์ของเรา หรือกลับเข้ามาใช้บริการของเราแล้ว ก็ถึงเวลาขายของ โดยคอนเทนต์ที่เราจะเป็นคอนเทนต์ประเภท Buy now หรือประเภทที่สามารถกระตุ้นความอยากซื้อให้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น Promotion social meadia post หรือ Sales e-mail
5. Referral (ขั้นตอนการทำให้ลูกค้าบอกต่อ) : เมื่อลูกค้าเริ่มหลงรักสินค้าหรือบริการของคุณ แน่นอนว่าพวกเขาก็ต้องการบอกต่อผลิตภัณฑ์ของคุณ โดยคุณมีหน้าที่อำนวยความสะดวกให้การบอกต่อนั้นเป็นไปได้ง่ายขึ้น เช่น Rating Prompt (ป๊อปอัพให้คะแนนผลิตภัณฑ์) , Feedback/Review form หรือที่ง่ายที่สุดก็คือ ปุ่มแชร์ใน Social Media วางบนจุดที่มองเห็นง่าย
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นลองไปดูตัวอย่างการทำ Content Mapping กัน
สมมติว่าเราเป็นเว็บไซต์ที่ผลิตคอร์สด้าน Digital Marketing แล้วต้องการขายคอร์สสอนการทำโฆษณาบน Facebook
โดยเริ่มจากการทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นบทความที่มีหัวข้อที่น่าดึงดูดบน Facebook (Acquisition) >>
จากนั้นก็ลากพวกเขาไปอ่านบทความที่ให้ความรู้การโฆษณาที่ลึกลงไป พร้อมกับข้อเสนอสุดพิเศษเพื่อแลกชื่อและอีเมลของพวกเขามา (Activation) >>
ส่งอีเมลแจ้งเตือนบทความตามความสนใจเพื่อให้พวกเขากลับมาใช้งานเว็บไซต์ของเราอยู่สม่ำเสมอ (Retention) >>
ใช้ Retargeting Ads โฆษณาคอร์สเรียน Facebook ads training (Revenue) >>
เชิญพวกเขาร่วมเขียนฟอร์มการรีวิวเพื่อรับส่วนลดสำหรับคอร์สเรียนถัดไป (Referral)
STEP 5 : รีเสิร์ชคอนเทนต์ที่มีอยู่แล้ว อย่าเข้าใจผิดว่าจุดประสงค์ของการรีเสิร์ชคือการ Copy คอนเทนต์ที่มีอยู่แล้ว เพราะที่จริงแล้ว เราทำเพื่อหา Topic ที่น่าสนใจในการตั้งต้น จากนั้นค่อยนำ Topic เหล่านั้นมาต่อยอดในมุมมองที่แตกต่างด้วยไสตล์ที่ชัดเจนของเรา
ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณรีเสิร์ชและพบว่าบทความในหัวข้อ ‘การทำ Retargeting Ad บน Facebook’ กำลังเป็นที่นิยม คุณก็อาจจะนำมาเล่าเผยในมุมมองใหม่ เช่น ‘การทำ Retargeting Ad บน Facebook ด้วยงบ XXX บาท’
อีกหนึ่งเทคนิคก็คือ เทคนิคที่เรียกว่า “รีโนเวท” ซึ่งหมายถึงการอ้างอิงจากคอนเทนต์เดิม และนำมาเพิ่มเนื้อหาที่ลึกขึ้น ละเอียดขึ้น ยาวขึ้น และครบถ้วนขึ้น ไปใน Topic นั้นที่มีอยู่แล้ว เปรียบเหมือนการรีโนเวทที่คือการทำให้ดีขึ้น ด้วยโครงสร้างเดิมนั่นเอง
โดยเครื่องมือที่ผมแนะนำในการรีเสิร์ช Topic ที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่ ก็คือ BuzzSumo
ภาพจาก buzzsumo คุณสามารถดูได้จาก Engagement ของ Topic นั้นๆ เช่น จำนวน Shares บน Twitter หรือ Engagement โดยรวมบน Facebook
STEP 6 : วางช่องทางการโปรโมทที่ถูกต้อง ที่เรื่องนี้สำคัญ เพราะความเป็นจริงก็คือ..
“ถึงแม้ว่าคอนเทนต์จะดีขนาดไหน แต่ถ้าอยู่ผิดช่องทางก็ไม่มีประโยชน์” เปรียบเทียบเหมือนการนำอาหารไปวางหน้าคนที่อิ่มจนพุงจะแตกแล้ว คุณคิดว่าเขาจะกินไหมครับ ?
ซึ่งเพื่อความสำเร็จในการโปรโมท คุณจำเป็นต้องเลือกช่องทางที่เหมาะสมกับคอนเทนต์เหล่านั้นที่สุด ไม่ว่าจะเป็นช่องทางแบบ :
1. Owned Media : สื่อที่แบรนด์เจ้าของ เช่น เว็บไซต์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดีย ที่คุณสามารถผลิตคอนเทนต์ เช่น บทความ และนำไปเผยแพร่ผ่านช่องทางเหล่านี้ได้เป็นช่องทางหลัก
2. Earned Media : สื่อที่รับมาจากการบอกต่อ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น คอนเทนต์ได้รับความนิยม หรือการทำ SEO (Search Engine Optimization) ที่ดี จนสุดท้ายทำให้เกิดการ Shares , Mention หรือ Reviews
3. Paid Media : สื่อที่ได้มาด้วยการจ่ายเงิน เช่น การซื้อโฆษณาบน Facebook หรือ Google ที่ทำเพื่อ Reach แต่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารูปแบบอื่น
ซึ่ง 1 คอนเทนต์ก็สามารถอยู่ทั้ง 3 มีเดียเลยก็ได้ เช่น คุณอาจจะเผยแพร่คอนเทนต์นั้นผ่านเพจ Facebook (Owned) ซื้อพื้นที่โฆษณา Facebook Ad (Paid) และเกิดการแชร์โดย Influencer ทำให้ผู้ติดตามเขาเห็นคอนเทนต์ของเรา (Earned)
โดยแต่ละมีเดียก็จะตัววัดผลและ แนวทางการพัฒนาที่ต่างกัน คุณสามารถดูได้ผ่าน Diagram ด้านล่างนี้ :
ภาพจาก oneupweb.com สุดท้ายในการเลือกช่องทางที่ใช่ ผมแนะนำว่าคุณไม่ควรเดาเอาเอง แต่คุณควรใช้สถิติต่างๆ ของแต่ละแพลตฟอร์มเป็นตัววัดผลว่าคุณควรจะโฟกัสที่ช่องทางไหนเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องนี้ก็มีเครื่องมืออย่าง Bullseye Framework เป็นตัวช่วยให้คุณเลือกช่องทางได้ถูกต้องที่สุดครับ
เกร็ดความรู้เพิ่มเติม Bullseye Framework คือ เป็นแผนผังสำหรับการเลือกช่องทางการขายสำหรับธุรกิจ เพื่อให้คุณเห็นภาพของการเติบโต สำหรับวิธีการใช้และรายละเอียดเพิ่มเติม คุณสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ E-book : First Step Of Growth Hacking ในบทที่ 3
STEP 7 : เริ่มสร้างคอนเทนต์ ! ถ้าคุณทำสำเร็จมาจนถึงขั้นตอนนี้แล้วก็ยินดีด้วยครับ เพราะหลังจากขั้นตอนการแพลนทุกอย่างมาเรียบร้อยและถี่ถ้วนหมดแล้ว ขั้นตอนนี้ก็อาจจะเป็นกลายเป็นขั้นตอนที่ง่ายที่สุด
แต่อย่าประมาทไปเพราะหลายคนก็มักจะตกม้าตายในขั้นตอนนี้เช่นกัน ผมจึงนำทริคดีๆ ในการทำคอนเทนต์มาฝากกันทั้งหมด 10 ทริคด้านล่างนี้ :
1) ให้เวลากับมัน : หลายคนคิดว่าการทำคอนเทนต์ให้สำเร็จนั้นอยู่ที่ความเร็วอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือคุณภาพของคอนเทนต์นั้น
2) ประเภทของคอนเทนต์ที่หลากหลาย : อย่ายึดติดกับคอนเทนต์ประเภทเดียว คุณควรมีคอนเทนต์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ รูปภาพ บทความ หรือ อินโฟกราฟิก เพื่อไม่ให้แบรนด์ของคุณดูน่าเบื่อ
3) นึกถึง SEO : ก่อนทำคอนเทนต์สิ่งหนึ่งที่ควรนึกถึงเลยก็คือ Keyword สำหรับคอนเทนต์นั้น โดยมันจะต้องมีการค้นหาที่มากพอ และเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์ของเรา
4) หัวข้อที่ดึงดูด : หัวข้อเป็นสิ่งแรกที่จะสามารถหยุดคนเห็นหรือคนอ่านได้ ดังนั้นคุณควรมีหัวข้อที่น่าสนใจและไม่ซ้ำกับคนอื่น
5) ให้คำตอบและแก้ปัญหาคนรับ : อย่างที่บอกไปว่าคอนเทนต์ที่ดีคือคอนเทนต์ที่ให้ความรู้และแก้ปัญหาให้กับผู้คน คุณจึงต้องตอบให้ได้ว่าคอนเทนต์นี้จะแก้ปัญหาอะไรให้กับพวกเขา
6) เก็บคอนเทนต์เหล่านั้นไว้ไม่ว่าจะนานแค่ไหน : อย่าทิ้งคอนเทนต์เหล่านั้นไปถึงแม้เราจะใช้ไปแล้ว เพราะเราสามารถนำมันกลับมาใช้อีกได้ เช่น การ Re-publish หรือ การ Refer ถึงคอนเทนต์นั้นๆ
7) อย่าลืมวัดผลคอนเทนต์ : Content Marketing อาจจะเป็นกลยุทธ์ระยะยาวก็จริง แต่ทั้งนี้คุณก็ยังสามารถวัดผลเป็นรายชิ้นเพื่อปรับแต่งกลยุทธ์ของคุณได้ เช่น ประเภทของคอนเทนต์ที่ลูกค้าชอบ หรือลักษณะดีไซน์ของคอนเทนต์ที่ลูกค้าถูกใจ และเครื่องมือที่สำคัญเลยก็คือ Google Analytics เพื่อใช้ดูหน่วยวัดผล เช่น :
– Traffic : จำนวนคนที่เข้าเว็บไซต์ เช่น จำนวนคนที่เข้ามาอ่านบทความ
– Source of traffic : คนที่เข้ามาในเว็บไซต์มาจากช่องทางไหน เช่น ในกรณีที่ทำการโปรโมทหลายช่องทาง เพื่อที่จะรู้ว่าส่วนใหญ่คนเข้าถึงคอนเทนต์เราได้จากช่องทางการโปรโมทไหน
– Bounce rate : จำนวนคนที่ออกจากเว็บไซต์ทันทีหลังจากที่คลิ๊กเข้ามา ซึ่งสามารถส่งผลต่อการทำ SEO
– Engagement : Feedback จากผู้รับไม่ว่าจะเป็นบนเว็บไซต์หรือช่องทาง Social Media เช่น Like , Comment หรือ Shares ซึ่งสามารถบ่งบอกได้ว่าคอนเทนต์นั้นได้รับความนิยมแค่ไหน
8) พัฒนาคอนเทนต์ : สุดท้ายคือการพัฒนาและปรับปรุงคอนเทนต์นั้นตามผลลัพธ์จากการวัดผล
ยกตัวอย่างเช่น
กรณี #1 Traffic ส่วนใหญ่ของคุณมาจากช่องทางเดียว
ในกรณีนี้อาจจะเกิดได้จากมากกว่า 1 ปัจจัย เช่น มันค่อนข้างชัดเจนว่ามันเป็นช่องทางที่ลูกค้าอยู่มากที่สุด ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณก็ควรยึดมันเป็นช่องทางหลัก หรืออาจจะแปลได้ว่า ช่องทางอื่นนั้นมีลูกค้าอยู่ แต่คุณช่องทางเหล่านั้นของคุณห่วย สิ่งที่ต้องทำก็จะกลายเป็นการพัฒนาแต่ละช่องทางนั้นๆ
กรณีที่ #2 Traffic น้อย
ในกรณี คุณก็ควรกลับมาดูที่เนื้อหาในคอนเทนต์ของคุณอีกรอบ เพราะคอนเทนต์นั้นอาจจะมีเนื้อหาที่ ไม่น่าสนใจ มีการใช้คำศัพท์ที่ลึกเกินคนส่วนใหญ่จะเข้าใจ มีหัวข้อที่ไม่ดึงดูดมากพอ หรือปัจจัยอื่นๆ ที่มาจากฝั่งเว็บไซต์
ทั้งนี้ ถ้าคุณเจอปัญหาเรื่อง Traffic น้อย ผมแนะนำให้คุณได้อ่านบทความนี้ครับ : 7 วิธีเพิ่มยอดคลิกให้พุ่ง ด้วยการเปลี่ยนเว็บไซต์ที่น่าเบื่อให้น่าใช้