Experiential Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้คนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นการส่งมอบสิ่งใหม่ที่มีความพิเศษให้กับผู้บริโภค แถมยังได้รับความนิยมมากขึ้นหลังเกิด COVID-19 เพราะผู้คนต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบข้างมากกว่าเดิม โดยในปีนี้และปีต่อ ๆ ไป การตลาดเชิงประสบการณ์มีแนวโน้มเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ธุรกิจต่าง ๆ หันมาลงทุนในการทำอีเว้นท์และสร้าง Interaction กับผู้คนมากขึ้น ถึง 63% เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ในบทความนี้ The Growth Master จะพาไปรู้จักกับ Experiential Marketing พร้อมชี้ให้เห็นว่ากลยุทธ์ทางการตลาดนี้มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร และทำไมถึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อย ๆ ? ไปอ่านกันได้เลย
Experiential Marketing คืออะไร? Experiential Marketing หรือการ “ตลาดเชิงประสบการณ์” คือกลยุทธ์การตลาดที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์ และเป็นที่น่าจดจํา ให้ผู้บริโภคได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ หรือบริการนั้น ๆ ผ่านการจัดอีเว้นท์ จัดบูธ จัดกิจกรรมให้คนร่วมสนุกหรือลุ้นรางวัล ติดตั้งโฆษณาในแบบใหม่ ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย
โดย Experiential Marketing จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ทําให้เกิดความประทับใจที่ยาวนานต่อผู้คนที่เข้าร่วม อีกทั้งแบรนด์ยังสามารถสร้างประสบการณ์ได้ในรูปแบบที่หลากหลาย และเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้แบรนด์ได้ประโยชน์มากมายอีกด้วย
Experiential Marketing มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไรบ้าง? เมื่อใช้ Experiential Marketing ในการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าโดยตรง แน่นอนว่าธุรกิจจะได้เปรียบและได้ประโยชน์ในหลาย ๆ มุมเช่นกัน ตัวอย่างเช่น:
เพิ่มยอดขายและกำไรให้ธุรกิจ เนื่องจากผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ผู้บริโภคมี Engagement และ Awareness กับแบรนด์เพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจำ เข้าถึงใจผู้บริโภคได้มากขึ้นผ่านการเชื่อมต่อกับผู้บริโภคด้วยอารมณ์ความรู้สึกที่น่าประทับใจ (Emotional Connection) ทำให้แบรนด์ดูมีความพิเศษ แหวกแนว ในสายตาผู้บริโภค เนื่องจากได้รับประสบการณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวของแบรนด์นั้น ๆ (Unique Brand Experience) มีภาพจำและภาพลักษณ์ที่โดดเด่นจนผู้บริโภคจำไม่ลืมและนึกถึงก่อนแบรนด์คู่แข่งทั้งหมดเสมอ ได้เข้าใจพฤติกรรมและความชอบของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้แบรนด์ดูเข้าถึงง่ายขึ้นและไม่รู้สึกว่าแบรนด์นี้อยู่ไกลตัวในสายตาผู้บริโภค ส่งผลให้คนอยากมีส่วนร่วมกับแบรนด์อีกในอนาคต เทรนด์การทำ Experiential Marketing ที่จะมาแรงในอนาคต เนื่องจาก Experiential Marketing มีแนวโน้มในการเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต The Growth Master ได้รวมมาไว้ให้แล้วกับหลากหลายรูปแบบการทำ Experiential Marketing ที่กำลังเป็นเทรนด์มาแรงในปีนี้และปีต่อ ๆ โดยมีดังนี้:
1. Pop-up Events คือการสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าผ่านการจัดงานอีเว้นท์ ซึ่งถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกใหม่อะไร แต่ยังคงเป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2023 เพราะเป็นการสร้างประสบการณ์ผ่านการให้คนได้เข้ามามีส่วนร่วม และเนื่องจาก Pop-up แต่ละครั้งมีระยะเวลาจำกัด ก็ยิ่งเป็นการเสริมให้อีเว้นท์มีความ Exclusive ขึ้นอีก และส่งผลให้ผู้คนมี Engagement เพิ่มและต่อยอดไปถึงการเพิ่มยอดขาย
ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Starbucks ที่มีกาจัด “Starbucks Teavana Infusions Pop-up”
เป็น Pop-up Store เพื่อเปิดตัวเครื่องดื่ม Teavana ทั้ง 3 แบบที่จะเวียนจัดขึ้นในสถานที่ต่างๆ ให้คนได้เข้ามาสัมผัส โดยเลือกลองชิมได้ 1 รสชาติใน Pop-up Store ที่มีการตกแต่งด้วย Vibes ของความเป็นฤดูร้อนที่เข้ากับตีมของเครื่องดื่มเซ็ตใหม่นี้
ภาพจาก Pinterest 2. Arts Installation คือการสร้างประสบการณ์ผ่านการทำการตลาดด้วยการนำงานศิลปะชิ้นใหญ่มาติดตั้งในสถานที่สาธารณะเพื่อดึงดูดความสนใจคนด้วยความสร้างสรรค์แปลกใหม่ให้เป็นที่ประจักษ์ และเพื่อให้เป็นที่สนใจและถูกพูดถึงโดยคนจำนวนมาก แถมยังสร้าง Awareness ของแบรนด์ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่นแบรนด์ Corona แบรนด์เครื่องดื่มเบียร์ที่มีภาพลักษณ์ของเบียร์ที่เหมาะสำหรับดื่มริมทะเล ได้จัด Installation ในชื่อ “Wave of Waste” ในหลายพื้นที่ โดยทำเป็นคลื่นขนาดใหญ่ที่ทำขึ้นโดยขยะพลาสติกปริมาณเท่ากับที่ถูกทิ้งลงทะเลในแต่ละวัน เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกและมลภาวะทางทะเล ซึ่งผลจากการตั้งสิ่งนี้ขึ้นที่เมือง Melbourne ประเทศออสเตรเลีย คือมันส่งผลให้ผู้คนในพื้นที่ถึง 89% ตกใจและตระหนักถึงปริมาณของขยะที่ถูกทิ้งลงทะเลรายวัน และต่างพูดตรงกันว่าจะพยายามลดการใช้พลาสติกลง
ภาพจาก Business Wire 3. Virtual / Augmented Reality (VR / AR) เนื่องจากทุกวันนี้ VR / AR เป็นเทคโนโลยีที่กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตของทุกคน การใช้ VR / AR ในการทำการตลาดจะสามารถทำให้ผู้คนได้เข้าถึงคุณค่าของแบรนด์และสินค้าในรูปแบบของประสบการณ์ใหม่ด้วยเทคโนโลยี ที่จะสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างเช่นแบรนด์รถ Volvo มี “Virtual Reality Test Drive” ให้ลูกค้าได้ทดลอง โดยการที่ใช้ VR ผ่าน Application บนมือถือในการให้ลูกค้าได้ Test Drive รถรุ่น XC90 โดยไม่ต้องเสียเวลาไปถึงโชว์รูม โดยลูกค้าจะได้สัมผัสเส้นทางการวิ่งที่มีความตื่นเต้นมากกว่าปกติอย่างการขับขึ้นภูเขา และยังได้เห็นดีไซน์ภายในรถแบบ 360 องศา เสมือนเป็นคนขับอยู่จริง ๆ ซึ่งเป็นการใช้ VR ในการยกระดับประสบการณ์การทดลองขับ และทำให้การตัดสินใจซื้อของลูกค้าง่ายและเร็วขึ้นอีกด้วย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยี VR / AR ได้ที่บทความ:
เจาะลึกเทคโนโลยี VR / AR และเหนือกว่าด้วย MR แห่งยุค Metaverse
ภาพจาก ACETeamVideos 4. Interactive Installations คือการสร้างประสบการณ์ผ่านแคมเปญการตลาดที่เชิญชวนให้คนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ในรูปแบบที่มีความเป็น Viral เรียกได้ว่าเป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่แบรนด์เสนอให้ลูกค้าได้เข้ามาสัมผัสโดยตรง
ตัวอย่างเช่นแบรนด์ดังอย่าง KFC ที่มีการจัดแคมเปญ “The KFC Hot Tub Experience” ที่ทำ KFC ถ้วยใหญ่ยักษ์ขึ้นเป็น Hot Tub ให้คนได้ลงไปแช่ และจะมีบริการเสิร์ฟเมนูต่าง ๆ ของ KFC ตามที่สั่ง โดยแคมเปญนี้มีจุดประสงค์ในการโปรโมทเมนูในร้าน KFC ด้วยรูปแบบของการสร้างประสบการณ์ที่เป็นที่น่าจดจำให้ลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าได้รู้สึกว่านี่เป็นสิ่งที่แบรนด์ KFC เท่านั้นที่จะมอบให้ตัวเองได้
ภาพจาก Bustle อีกตัวอย่างเช่น HBO ร่วมกับ The American Red Cross ออกแคมเปญ “Bleed For The Throne Experience” ที่เปิดให้คนมาบริจาคเลือดในสถานที่ที่จัดขึ้นเป็นตีม Game of Thrones เพื่อโปรโมทซีซั่นสุดท้ายของซีรี่ย์ Game of Thrones และเพื่อชวนให้คนมาบริจาคเลือดมากขึ้น โดย ณ สถานที่บริจาคเลือด จะมีฉากต่าง ๆ ในเรื่องจัดไว้เป็นห้อง ๆ อย่างฉาก Castle Black ให้คนได้เดินผ่านก่อนเข้าไปบริจาค เพื่อให้ได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษเหมือนเข้ามาอยู่ในโลกของซีรี่ย์จริง ๆ และหลังการบริจาคจะได้รับของที่ระลึกจากซีรีย์อีกด้วย โดยแคมเปญนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 15,000 คน และมีผู้ชม Game of Thrones ซีซั่นสุดท้ายมากขึ้นถึง 2 เท่า
ภาพจาก HBO 5. Brand Advocacy เป็นการสร้างประสบการณ์ผ่านการที่ทำให้คนพูดถึงแบรนด์ต่อ ๆ กันไปเป็นจำนวนมาก และแชร์เกี่ยวกับแบรนด์อย่างต่อเนื่อง
ตัวอย่างแบรนด์ Coca-Cola ที่ออกแคมเปญ “Share a Coke” ซึ่งทุกคนต้องคุ้นเคยกันดีอย่างแน่นอน เพราะเป็นที่ฮือฮาอย่างมากในไทยเมื่อปี 2013 และเป็นที่นิยมทั่วโลกเช่นกัน ซึ่งเป็นแคมเปญที่มีชื่อคนหลากหลายล้านคนพิมพ์อยู่บนกระป๋องและขวดโค้ก เพื่อให้ผู้คนได้สนุกกับการตามหาชื่อตัวเอง และแชร์ต่อกันกับคนรอบข้างแบบไม่มีสิ้นสุด โดยการทำแบบนี้ ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดีเพราะเป็นการที่แบรนด์ได้ Connect กับลูกค้าผ่านการกระตุ้นให้ลูกค้าเกิด Sense of Ownership และได้รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์พร้อม ๆ กับคนอีกมากมาย
ภาพจาก FasTechGroup สรุปทั้งหมด การทำ Experiential Marketing ถือเป็นกลยุทธ์ที่กำลังมาแรงอย่างต่อเนื่องทั้งในปี 2023 และปีต่อ ๆ ไป และทำให้ธุรกิจได้รับผลประโยชน์ในหลายมิติ และยังมีรูปแบบในการทำที่หลากหลายอีกด้วย โดยในการเลือกใช้กลยุทธ์ Experiential Marketing ในแต่ละครั้ง ก็จะขึ้นอยู่กับว่าแต่ละธุรกิจมีเป้าหมายอยากให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่ดีแบบใด
สำหรับแบรนด์หรือธุรกิจใดที่สนใจสร้าง Branding ให้โดดเด่นเป็นที่น่าจดจำของกลุ่มเป้าหมาย สามารถปรึกษา The Growth Master ที่มีทีมผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ในการสร้าง Branding ผ่านเทคนิคการทำการตลาดด้วยศาสตร์ Growth Hacking และการันตีความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากว่า 100 เจ้า สามารถติดต่อเราได้ทันทีที่ ลิงก์นี้ หรือคลิกที่รูปได้ทันที