คุณสมบัติของซอฟต์แวร์ Product Management ที่ดี หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเราควรใช้หลักเกณฑ์อะไรเข้ามาเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Product Management บ้าง เพราะว่าปัจจุบันมีเครื่องมือนับพันในตลาดให้เลือกใช้ เราจึงยกตัวอย่างคุณสมบัติของซอฟต์แวร์ Product Management ที่ดีควรมีมาให้คุณพิจารณาดูกัน
การระดมความคิด (Brainstorming) - การสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มักต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ของหลายคนในการคิดนอกกรอบ เพื่อทำในสิ่งที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน หรือทำให้ผลิตภัณฑ์ดีกว่าที่เคยมีมาในตลาด ซึ่งไม่ว่าความคิดของเราจะบ้าทะลุกรอบขนาดไหน ซอฟต์แวร์ Product Management ต้องเป็นตัวกลางที่ช่วยให้คุณและทีมเข้าใจมันได้ และเห็นภาพชัดตรงกัน
ภาพจาก cadremploi เทมเพลต (Templates) - ซอฟต์แวร์ Product Management ที่ดีควรที่จะมาพร้อมกับเทมเพลตที่สามารถปรับแต่งได้ เพื่อช่วยให้คุณประหยัดเวลาและสามารถเริ่มต้นทำงานได้ทันที
การจัดการงาน (Task Management) - เนื่องจากขั้นตอนการผลิตมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่แรกเริ่มวางแผนไปจนถึงทำการตลาดขายผลิตภัณฑ์นั้นได้ ดังนั้นซอฟต์แวร์ Product Management ที่ดีก็ควรที่จะมีคุณสมบัติในการจัดการขั้นตอนงานต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนได้เป็นอย่างดี
ภาพจาก meistertask การผสานการทำงานกับซอฟต์แวร์ตัวอื่น (Integrations) - ปัจจุบันหลายองค์กรมักใช้หลายเครื่องมือในการผลิต ซึ่งคุณคงจะรู้สึกแย่และปวดหัวไม่น้อยเลย ถ้าจะต้องสลับเครื่องมือไปมาทุกวัน ๆ แต่จะดีมาก ๆ ถ้าซอฟต์แวร์ Product Management สามารถผสานการทำงานของหลายซอฟต์แวร์เข้าไว้ด้วยในบนแพลตฟอร์มเดียว เพื่อเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพให้กับการสร้างผลิตภัณฑ์มากขึ้น
คุณสมบัติข้างต้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เรายกมา สำหรับการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Product Management เท่านั้น อาจจะมีคุณสมบัติอื่น ๆ อีกที่คุณจำเป็นต้องเลือกใช้อีก เพื่อให้ตรงกับสายงานที่คุณทำอยู่ หรือตรงกับกลยุทธ์ที่คุณสร้างไว้ที่สุดนั่นเอง
ภาพจาก crakrevenue สำหรับ The Growth Master ที่ยึดมั่นในหลักของ Growth Hacking เสมอมา ก็รู้สึกว่าคุณสมบัติของ Product Management ที่ดี มันก็สอดคล้องกับหลักการของ Growth Process ทั้ง 4 ขั้นตอนอยู่เหมือนกัน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
Ideate - ขั้นตอนรวบรวมไอเดีย เพราะก่อนที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาได้ เราจำเป็นต้องมีไอเดียดี ๆ จากทีมทุกทีมก่อน (เป็นการทำงานแบบ Cross-functional หรือการทำงานที่มีหลาย ๆ ทีมทำงานร่วมกัน และสร้างโปรเจ็กต์หรือผลิตภัณฑ์นั้นออกมา) แล้วนำไอเดียเหล่านั้นมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว และพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างดีที่สุดPrioritize - เมื่อรวบรวมไอเดียได้แล้ว ก็มาดูว่าไอเดียไหนที่จะนำไปทำเป็นขั้นตอนแรก ลำดับความสำคัญมันออกมา เพื่อทำให้การทำงานเป็นระเบียบแบบแผน ทีมไม่งงว่าควรต้องเริ่มทำขั้นตอนไหนก่อนTest - เมื่อเรียงลำดับความสำคัญแล้ว เราก็นำไอเดียเหล่านั้นมาลงมือสร้างการทดลองขึ้น หรือนำไปทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายเล็ก ๆ ก่อนว่าเกิดปัญหาอะไรหรือเปล่า (ในกรณีที่การทดลองที่ออกแบบมามีปัญหาหรือเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างทางจะสามารถแก้ไขได้ ก่อนเริ่มนำไปใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใหญ่)Analyze - บันทึกผลและวิเคราะห์ผลงานที่ได้รับ แล้วดูว่าที่สิ่งทีมลงมือปฏิบัติเกิดข้อผิดพลาดตรงไหนหรือไม่ ประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปปรับใช้กับโปรเจ็กต์ต่อไป หรือทำการทดลองใหม่ถ้าผลลัพธ์ออกมาไม่ดีพอสำหรับ Growth Process เป็นกระบวนการที่เอื้อให้เราสามารถลองผิดลองถูก เรียนรู้จากความผิดพลาดได้ ซึ่งเมื่อเราทำจบครบทั้ง 4 ขั้นตอน แล้วยังไม่ได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เราก็สามารถทำวนลูปกลับไปทำการรวบรวมไอเดียใหม่ แล้วทำการทดลองซ้ำใหม่อีกครั้ง ล้มแล้วก็ลุกใหม่ได้เสมอ
ในการสร้างหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์สักอย่างหนึ่ง เราอยากแนะนำในคุณนำหลักการ Growth Process ไปปรับใช้กับทีมของคุณ และใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งด้วย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าพอใจ อีกทั้งสามารถสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง 7 ซอฟต์แวร์ด้าน Product Management ที่ใคร ๆ ก็ใช้ได้ ตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณจะมาดูว่าซอฟต์แวร์ Product Management ตัวไหนที่น่าใช้และเหมาะกับงานของคุณมากที่สุด
ClickUp (Project Management) ClickUp คือ หนึ่งในซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่ได้รับรางวัล Best Software 2019 โดย TaskReport เหมาะสำหรับการทำงานแบบ Agile และใช้ทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบ Cross-Functional (หรือการทำงานร่วมกันหลายทีมภายในโปรเจ็กต์เดียว) ได้อย่างดีเยี่ยม ตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนผลิตสินค้าไปจนถึงทำงานร่วมกันของทีม ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้องเริ่มจากการวางแผนให้ดี ซึ่ง ClickUp เป็นเครื่องมือที่ตอบโจทย์มาก ๆ
ด้วยการการันตีจากการใช้งานในบริษัทชั้นนำทั้งเล็กและใหญ่ทั่วโลก เช่น Google, Nike, Netflix, Airbnb, Uber (The Growth Master ขอร่วมแจมการันตีด้วยคนว่าดีจริง) และจากการเติบโตของ ClickUp จนได้สถานะยูนิคอร์นภายใน 4 ปี (ได้รับมาล่าสุดในเดือนธันวาคม 2020) ก็สามารถยืนยันได้แล้วว่า ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกขนาดไหน
นอกจากนั้น ClickUp ยังโดดเด่นมาก ๆ ในการรวมเครื่องมือการทำงานให้อยู่ในที่เดียว ทำให้สามารถลดการใช้ซอฟต์แวร์ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนสลับเครื่องมือไปมา ทำให้กระบวนการและรายละเอียดการทำงานทั้งหมดรวมอยู่ที่เดียวกัน ลดการทำงานแบบ Silo
และที่สำคัญที่สุด ใครเคยใช้โปรแกรม SAP ERP มาก่อน ClickUp ยังเปิดให้ต่อ API เชื่อมข้อมูลเข้ากับโปรแกรม SAP ERP ได้อีกด้วย เพื่อช่วยลดความซับซ้อนของโปรแกรม และแสดงภาพติดตามขั้นตอนการทำงานของแต่ละฝ่ายให้ออกมาดูง่ายขึ้น
สำหรับองค์กรไหนที่กำลังใช้งาน SAP ERP อยู่ แล้วอยากรู้ว่าสามารถต่อ API เชื่อมข้อมูลจาก SAP ERP เข้ามาบน ClickUp ได้อย่างไร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ >> ที่นี่
ภาพจาก clickup ฟีเจอร์เด่นของ ClickUp ข้อดีข้อหนึ่งของ ClickUp คือมีฟีเจอร์ร้อยพันแปดอย่าง ซึ่งเราเชื่อว่าใครที่กำลังใช้งาน ClickUp อยู่หรือกำลังจะไปใช้งาน ถ้าใช้แล้วต้องเกิดความรู้สึกเดียวกันแน่ๆ ว่า “มีลูกเล่นเยอะเหลือเกิน” ลองใช้เท่าไรก็ใช้ไม่หมด เราไปดูกันดีกว่าว่ามีฟีเจอร์อะไรที่เด่น ๆ บ้าง
Task Management - ClickUp ขึ้นชื่อว่ามีระบบจัดการงานที่ดีมาก ๆ เพราะสามารถสร้างโฟลเดอร์งานได้อย่างไม่จำกัด จัดเป็นหมวดหมู่เป็นระเบียบ ซึ่งสะดวกต่อการสเกลทีมอีกด้วยในอนาคต นอกจากนั้น ยังสามารถสร้าง Checklist ย่อยออกมาในแต่ละการ์ดงาน เพื่อเอาไว้เช็กได้ว่ามีงานไหนที่เราข้ามไปหรือเปล่าได้อีกด้วยปรับมุมมองได้หลากหลาย - สามารถเลือกมุมมองงานที่หลากหลายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากทุกมุมที่คุณต้องการ ทั้ง Board View (ในรูปแบบ Kanban Board), Gantt Chart View (ในรูปแบบการแพลนโปรเจ็กต์, กำหนดเวลางาน), Table View (ในรูปแบบของ Spreadsheet), Calendar (ในรูปแบบปฏิทิน)ภาพจาก clickup
Custom Field ปรับแต่งรายละเอียดงานได้ - เราสามารถปรับแต่งเพิ่มลด Column รายละเอียดของงานทั้งหมดเองได้ เช่น แสดง Task Priorities, Deadline, ผู้รับผิดชอบงานนั้น, Progress ของงานว่าทำได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว, สเตตัสของงาน, งบประมาณ เป็นต้น ซึ่งยังมีข้อมูลอีกหลากหลายมากให้คุณปรับแต่งเพิ่มได้อีกIntegrate กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ - เป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่องค์กรที่ใช้หลายเครื่องมือการทำงานไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง เพราะ ClickUp สามารถ Integrate ได้กับซอฟต์แวร์การทำงานอื่น ๆ ได้มากกว่า 1,000 ซอฟต์แวร์ ไม่ว่าจะเป็น SAP, Slack, Google Sheet, Figma, Zoom, Miro เป็นต้น ทำให้สามารถผสานการทำงานในแต่ละแพลตฟอร์มมาไว้บน ClickUp ได้เลย ไม่ต้องเปิดสลับเครื่องมือไปมาDashboard - เหมาะสำหรับ Project Manager ที่สามารถควบคุมโปรเจ็กต์ที่รับผิดชอบผ่าน Dashboard ที่สามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบเลยว่าอยากให้แสดง Metric ไหนออกมาภาพจาก clickup ราคา ClickUp เป็นผลิตภัณฑ์แบบ Freemium ที่มีแพ็กเกจให้เราสามารถใช้งานฟรีได้ตลอดชีพ มาพร้อมกับการใช้งานที่มีคุณสมบัติดี ๆ มากมาย เช่น สร้างจำนวน Task และมีสมาชิกได้แบบ Unlimited แต่มีข้อจำกัดคือ ให้พื้นที่การใช้งานที่มีความจุเพียงแค่ 100 MB เท่านั้น
แต่ถ้าอยากได้ฟังก์ชันการทำงานเพิ่มเติม และได้พื้นที่การใช้งานแบบ Unlimited ก็สามารถอัปเกรดเป็นแผนการชำระเงินได้ เช่น แพ็กเกจ Unlimited โดยถ้าสมัครเป็นรายปีจะมีราคาเริ่มต้นต่อเดือนเพียง 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้ (สามารถดูราคาของ ClickUp เพิ่มเติมได้ ที่นี่ )
🎟 Promo Code: WNTT2020 สำหรับคนพิเศษของ The Growth Master เมื่อคุณสมัครสมาชิกในแพ็กเกจ Unlimited หรือ Business Plan โดยคลิกผ่านลิงก์นี้ หรือกรอก Promo Code WNTT2020 คุณจะได้รับส่วนลด 15% ทันที (ต้องเป็นผู้ใช้ที่ขยับมาใช้ Paid Plan ครั้งแรกเท่านั้นนะคะ)
ซึ่ง ClickUp สามารถใช้ทั้งบนเว็บบราวเซอร์ หรือโหลดโปรแกรมมาที่หน้า Desktop และโทรศัพท์ (สำหรับ The Growth Master คิดว่ารูปแบบที่ง่ายในการใช้งานบนโทรศัพท์ คือ ใช้หน้าจอแบบแนวนอน เพราะฟีเจอร์ของ ClickUp เยอะจนแทบจะล้นหน้าจริง ๆ)
สามารถเริ่มต้นใช้งาน ClickUp ได้ที่นี่
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
Trello (Collaboration) Trello คือ เครื่องมือด้าน Project Management โดยใช้หลักการ Kanban Board ที่ช่วยให้ทีมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ เห็นภาพชัดเจนและทำงานร่วมกันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้ว่าตอนนี้งานกำลังดำเนินไปถึงขั้นตอนใดแล้ว หรืองานกระจุกอยู่ตรงจุดไหนมากไปหรือเปล่า
ภาพจาก clickup ฟีเจอร์เด่นของ Trello Trello มีฟีเจอร์บางอย่างที่คล้ายกับ ClickUp (โดยส่วนตัวคิดว่าลูกเล่นของ Trello ค่อนข้างน้อยกว่า ClickUp มาก) เราไปดูกันว่ามีฟีเจอร์อะไรที่น่าสนใจบ้าง
Kanban Board - สามารถนำรายละเอียดที่เกี่ยวกับงานในขั้นตอนนั้น ๆ มาเขียนไอเดียแปะลงบนบอร์ดได้ ซึ่งนอกจากไอเดียแล้ว ยังสามารถใส่รายละเอียดต่าง ๆ ลงไปได้อีกด้วย เช่น วันที่ต้องส่งงาน, สร้าง Checklist งานย่อย ๆ ออกมาได้บนการ์ดนั้น ๆ รวมถึงแนบไฟล์งานที่ต้องใช้ด้วยภาพจาก trello Power-Ups - เป็นเสมือนฟีเจอร์ที่ทำให้ Trello ไป Integrate กับซอฟต์แวร์ Productivity อื่น ๆ ได้ เช่น TeamGantt, Jira, Slack, Google Drive, InVision, Automate.io
ภาพจาก trello เทมเพลต - มีเทมเพลตสำเร็จรูปให้เลือกใช้สำหรับ Product Management, Productivity, Team Management และอื่น ๆ สร้าง Automate Workflows ด้วย Butler Bot - เพื่อให้ทีมสามารถโฟกัสไปที่งานสำคัญ Butler หรือระบบอัตโนมัติในตัวของ Trello จะลดจำนวนงานที่น่าเบื่อบน Project Board ด้วยระบบอัตโนมัติให้กับทีมทุกคนเช่น การคลิกย้าย List งาน, มีแจ้งเตือนว่างานนี้ใกล้ถึง Deadlne แล้วใช้ได้ทั้ง iOS และ Andriod - ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์อะไร เช่น iPad, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน ก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Trello มาใช้ได้เลย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถเข้าถึงงานและทำงานได้สะดวกอีกด้วยราคา Trello สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรี และมาพร้อมกับความสามารถ เช่น สร้างการ์ดและสมาชิกแบบ Unlimited, สร้างบอร์ดได้สูงสุดถึง 10 บอร์ด, พื้นที่จัดเก็บแบบไม่จำกัด (10MB/ไฟล์), การเรียกใช้คำสั่งโดยอัตโนมัติ 50 ครั้งต่อเดือน, ใช้ฟีเจอร์ Power-Ups ได้เพียงโปรแกรมเดียว เป็นต้น
แต่ถ้าอยากได้ความสามารถเพิ่มเติมก็สามารถอัปเกรดเป็นแพ็กเกจอื่น ๆ ได้ เช่น Business Class ถ้าสมัครเป็นรายปี จะมีราคาเริ่มต้นต่อเดือนที่ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้งาน (สามารถสร้างบอร์ดได้ไม่จำกัดเลย) แต่ถ้าสำหรับองค์กรใดที่มีทีมตั้งแต่ 25 คนขึ้นไป จะเหมาะกับแพ็กเกจ Entreprise ซึ่งถ้าสมัครเป็นรายปี จะมีราคาเริ่มต้นต่อเดือนที่ 17.50 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้งาน (สามารถดูราคาของ Trello เพิ่มเติมได้ ที่นี่ )
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง Endlessloop (Experimentation) Endlessloop คือ เครื่องมือที่ถูกพัฒนามาจากศาสตร์ Growth Hacking ที่จะทำให้คุณมองเห็นภาพรวมการเติบโตของธุรกิจแบบจบลูปในหน้าเดียว ช่วยสร้างฐานลูกค้าที่รักในผลิตภัณฑ์ เพื่อต่อยอดสู่การเติบโตของบริษัทได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
โดย Endlessloop เป็นซอฟต์แวร์ที่ทีมสามารถใช้ติดตามการทำงานร่วมกัน ลดการทำงานแบบ Silo ตั้งแต่แรกเริ่มคิดระดมไอเดียวางแผนลงใน Backlog ไปจนถึงปล่อยตัวผลิตภัณฑ์ออกมา และทำการตลาด ซึ่งทีมสามารถติดตามผลลัพธ์ และออกแบบการทดลองในช่วงเวลาที่กำหนดได้ เช่น เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายปี เพื่อที่ว่าจะได้คอยปรับแก้ไขการทดลอง เมื่อผลลัพธ์ออกมาไม่เป็นที่น่าพอใจ
ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถดึง Data จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Google Analytics ให้เข้ามาแสดงผลบน Dashboard ของ Endlessloop เพื่อดูผลสำหรับการทดลองนั้น ๆ ว่าได้ผลที่ดีตามต้องการไว้หรือไม่
ภาพจาก endlessloop ฟีเจอร์เด่นของ Endlessloop สิ่งที่ทำให้ Endlessloop โดดเด่นกว่าเครื่องมือด้าน Product และการจัดการการเติบโตของธุรกิจตัวอื่นก็คือ การรวมเอาฟีเจอร์ที่สำคัญของการทำการตลาดและการจัดการทีมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฟีเจอร์หลัก ได้แก่ Loop, Board และ Report
Loop - เป็นเทมเพลตที่ทาง Endlessloop คิดค้นขึ้นมาใหม่ โดยพัฒนามาจาก Growth Loop ที่ถือว่าเป็น Framework สำคัญของการทำ Growth Hacking ทำให้ทีมแบบ Cross-Functional เห็นภาพรวมการทำงานทั้งในด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การวัดผล งบประมาณ กระบวนการขาย แคมเปญการตลาด คอนเทนต์ และการเติบโตครบจบในหน้าเดียว
Board - เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Team Management ทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม ด้วยลักษณะของ Kanban Board ทุกคนในทีมจึงเห็นว่าตอนนี้งานกำลังอยู่ในขั้นตอนไหนแล้ว รวมถึงใช้ในการวางแผนและพัฒนาการทำงานนั้น ๆ ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังสร้างกระบวนการการทดลอง (Experiment) ของงานแต่ละชิ้นที่ทำได้ โดยสิ่งที่ทำให้บอร์ดนี้แตกต่างจากบอร์ดทั่วไปคือ บอร์ดถูกออกแบบมาเพื่อรัน Sprint สำหรับทีม Growth หรือทีมที่เน้นการสร้างการเติบโตของธุรกิจ ซึ่งจัดว่าเป็นทีมที่มีการทำงานแบบ Cross-Functional เป็นหลัก
Report - ทำให้สามารถส่ง Report เพื่อรายงานสรุปแคมเปญ หรือสรุปการทดลองในแต่ละ Stage กลับมาหาคุณได้ภายในไม่กี่คลิกเท่านั้น ถือว่าสะดวกสบายและประหยัดเวลากว่าการที่คุณต้องมาคีย์ข้อมูลในแต่ละจุดด้วยตัวเอง โดย Report ของ Endlessloop นั้นจะเข้ามาแก้ปัญหาซ้ำซากของนักการตลาดที่ต้องพบเจอบ่อยครั้ง นั่นคือ การทำ Report สรุปข้อมูลและรายละเอียดของแต่ละโปรเจ็กต์ให้ลูกค้าหรือหัวหน้าทุกเดือน (หรือทุกสัปดาห์) ทำให้เราต้องมานั่งคีย์ข้อมูลทีละจุดด้วยตัวเอง นับว่าเป็นการทำงานที่กินเวลาในแต่ละวันไปมาก แต่ Endlessloop นั้นสามารถสรุป Report ได้แบบ Real-time และสามารถเลือกได้ว่าต้องการแสดงค่าเมทริกซ์อะไรใน Report อีกด้วยทดลองใช้งาน Endlessloop ได้แล้ววันนี้ ตอนนี้ Endlessloop กำลังอยู่ในช่วงเปิดตัว สำหรับใครที่สนใจทดลองใช้งาน Endlesslopp สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ หรือถ้าอยากติดต่อสอบถามรายละเอียด ก็สามารถติดต่อได้ที่ ลิงก์นี้ เลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
Figma (Prototyping) Figma คือ เครื่องมือ UX/UI Design ที่เราสามารถนำมาออกแบบ Prototype ผลิตภัณฑ์พวกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก่อนสร้างผลิตภัณฑ์จริงได้ โดยจุดเด่นของ Figma คือใช้งานไม่ยาก และยังสามารถทำงานกับทีมอื่น ๆ ได้พร้อม ๆ กัน (เช่น Designer, Project Manager, Markerter, Developer) และที่สำคัญใช้งานผ่านเว็บไซต์ได้เลย ไม่จำเป็นต้องลงโปรแกรมเพิ่ม (ขอเพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตเท่านั้น!)
ฟีเจอร์เด่นของ Figma ถึงแม้ว่าเครื่องมือ UX/UI Design จะมีเจ้าดังในวงการออกแบบอย่าง Sketch และ Adobe XD อยู่ด้วย แต่น้องคนนี้ก็ไม่ทำให้เราผิดหวังจริง ๆ
จัด Layout ง่าย ๆ ด้วยการลากวาง - เนื่องจาก Figma เน้นความสะดวกต่อการใช้งาน ทำให้เราสามารถลากวาง Element ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นปุ่ม, ตัวหนังสือ, รูปภาพ และอื่น ๆ Community - Figma โดดเด่นในเรื่องของ Community มาก ๆ เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ, แบ่งปันความรู้ และผลงานหรือ Template ของเราร่วมกับคนอื่นได้ รวมถึงสามารถ Duplicate ไฟล์ของคนอื่นมาใช้งาน เพื่อดึงฟีเจอร์ที่พวกเขาได้สร้างไว้แล้วมาประยุกต์ใช้งานได้
มี Plug-in เยอะ - Plug-in เป็นตัวช่วยเติมเต็มที่ทำให้ Figma ทำงานได้หลากหลายขึ้น เช่น ต่อกับ Unsplash (หารูปภาพที่มีสไตล์เดียวกัน), Charts (Mock Up กราฟสำหรับ Data Visualization ที่ง่ายขึ้น), Autoflow (เพื่อทำ Wireframe ภาพรวมแบบไม่ลิงก์ Prototype), Design Lint (เพื่อค้นหาข้อผิดพลาดของ Design ก่อนจะนำไปพัฒนาต่อ) สามารถค้นหา Plug-in เพิ่มเติมได้จาก CommunityFigJam ระดมไอเดียร่วมกับทีมได้ - การออกแบบ Prototype สักตัวนึง จำเป็นที่จะต้องระดมไอเดียใหม่ ๆ ร่วมกับทีม ไม่ว่าจะ Project Manager, Designer ซึ่ง Figma มองเห็นข้อนี้จึงสร้าง FigJam ขึ้นมา เพื่อให้ทุกคนสามารถระดมไอเดียร่วมกันได้ ในรูปแบบของ Post-it, แปะสติ๊กเกอร์แสดงอารมณ์ร่วม, สร้าง Diagram, ทำ Workshop ได้ (เหมาะสำหรับในช่วง Work From Home แบบนี้มาก ๆ)*FigJam ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงทดลองใช้งานในเวอร์ชัน Beta ซึ่งจะใช้งานได้ฟรีตลอดทั้งปี 2021 แต่สำหรับปี 2022 ใครที่ต้องการใช้งาน FigJam จะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 0, 8, 15 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ )
ภาพจาก figma
Figma’s Cloud Storage - เนื่องจาก Figma ทำงานอยู่บนระบบ Cloud ของตัวเอง ทำให้สามารถทำงานร่วมกับทีมได้แบบ Real-time ทันที และเป็นระบบ Autosave (หายห่วงเลยตอนเน็ตหลุด งานไม่หายแน่นอน) พร้อมดูได้ด้วยว่าเวอร์ชันล่าสุดใครเป็นคนแก้ไข (Version History) นอกจากนั้นยังสามารถอัดเสียง Voice Chat ส่งไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องเข้า Zoom หรือ Google Meet เพื่อคุยกันก็ได้การแสดงผล Prototype - ให้ประสบการณ์การทดสอบที่ดีมากกว่า เพราะสามารถแสดงผลได้เสมือนจริง เช่น ถ้าเป็นบนสมาร์ทโฟนก็เลือกได้ว่าจะให้แสดงออกมาเป็นรุ่นอะไรได้ การคลิก, การเลื่อน, การทดสอบอื่น ๆ ก็จะแสดงผลอยู่บนสมาร์ทโฟนนั้น ๆ เลยภาพจาก chainstack ราคา Figma สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยสามารถสร้างไฟล์ได้ไม่จำกัด, สร้างงานใหญ่ได้ 1 โปรเจ็กต์, ใช้ Cloud Storage ได้ไม่จำกัด (สุดว้าว), ให้คนเข้ามาคอมเมนต์หรือดูได้ไม่จำกัด แต่สามารถดู Version History ย้อนหลังได้เพียง 30 วัน
แต่ถ้าเกิดต้องการอัปเกรดเป็นแพ็กเกจ Professional (จ่ายบิลรายปี) จะมีราคา 12 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้ ทำให้สามารถสร้างโปรเจ็กต์ได้ไม่จำกัด หรือสำหรับองค์กรก็มีแพ็กเกจแบบ Organization (จ่ายบิลรายปีเท่านั้น) ในราคา 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้ใช้งาน (สามารถดูราคาเพิ่มเติมของ Figma ได้ ที่นี่ )
อ่านบทความเพิ่มเติม Mixpanel (Product Analytics) Mixpanel คือ เครื่องมือด้าน Analytics ที่นอกจากจะใช้ง่าย มีหน้าตาเป็นมิตรกับผู้ใช้งานแล้ว ยังโดดเด่นในเรื่องของ Data Visualization และที่สำคัญสามารถเข้าถึง Data ได้โดยตรง โดยที่ไม่ต้องติดตั้ง SDKs (Software Development Kit) หรือสร้าง Process ในการรับส่ง Data เลย
ความสำคัญของ Product Analytics คือ การวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมของลูกค้า จะช่วยให้เราเห็นพฤติกรรมของพวกเขาได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจถึง Insight หรือข้อผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ ทำให้นำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับใครที่อยากลองใช้เครื่องมือด้าน Analytics นอกจาก Google Analytics แล้ว Mixpanel ก็ถือว่าเป็นอีกตัวเลือกนึงที่น่าลองใช้มาก ๆ และไม่ต้องเขียนโค้ด SQL เป็นชั่วโมง ๆ เพื่อดึงข้อมูลมาเอง เพราะ Mixpanel เป็น No-code Platform ที่ใคร ๆ ก็สามารถใช้งานด้วยตัวเองได้เลย
ฟีเจอร์เด่นของ Mixpanel Mixpanel ถือว่าเป็น Google Analytics ขั้น Advanced ขึ้นมาหน่อย และมีฟีเจอร์ที่น่าสนใจ ดังนี้
Data Management - Mixpanel ให้เราจัดการข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่จะแปลงข้อมูลของเราให้อ่านง่ายขึ้น เพิ่มความเข้าใจให้กับผู้อ่าน เช่น จะลบ Clutter ออกไป, รวบ Event แบบเดียวกันเข้าด้วยกัน, ลบข้อมูลที่เราไม่ต้องการใช้ออกไป และเพิ่ม Description ในข้อมูลส่วนนั้น ๆ เพื่อช่วยให้คนทั้งบริษัทสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างมั่นใจไม่ผิดพลาด รวมถึงสร้าง Filter Data Views ภายในโปรเจ็กต์นั้น ๆ ให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย และจำกัดการเข้าถึงสำหรับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนได้อีกด้วยData Visualization แปลงข้อมูลออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เส้น, กราฟ, แผนภูมิ ที่มีสีสันสวยงาม น่าหยิบไปใช้ต่อ รวมถึง Custom ปรับแต่งรูปแบบการแสดงเมทริกซ์ที่ต้องการได้อย่างละเอียดในแบบที่ต้องการภาพจาก mixpanel Team & Dashboard Alerts - ไม่ว่าคุณจะสนใจเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ไปปรับใช้ (Product Adopting), การกลับมาซื้อหรือใช้ซ้ำของผู้ใช้ หรือเมทริกซ์ต่าง ๆ ที่กำหนดเอง เช่น ค่า KPI, เทรนด์ของผู้ใช้ คุณสามารถสร้าง Dashboard เพื่อแสดงผลนั้น ๆ ได้ภายในไม่กี่นาที และที่สำคัญ Mixpanel จะมีการแจ้งเตือน ถ้าหากเมทริกซ์ใดมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น และสามารถแชร์ผลลัพธ์นั้นกับทีมได้ทันที ผ่านอีเมลหรือ Integration กับ Slackภาพจาก mixpanel Group Analytics - สำหรับผลิตภัณฑ์แบบ B2B ผู้ที่เข้ามาซื้อและผู้ที่ใช้งานผลิตภัณฑ์อาจจะไม่ใช่คน ๆ เดียวกันเสมอไป ดังนั้น Group Analytics จึงให้เรา Track ตาม Customer Journey เลย และ Segment กลุ่มนั้น ๆ โดยสามารถติดตาม Process ผ่าน Funnel ของ Acoount บุคคลนั้น ๆ เพื่อทำให้เราเข้าใจว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่มไหนกันแน่ และเข้าใจถึงแนวโน้มของยอด Product Adopting, Engagement, Conversion ได้แม่นยำมากขึ้น แต่จริง ๆ นอกจากลูกค้าในกลุ่ม B2B แล้ว Mixpanel ยังสามารถติดตามพฤติกรรมของ User แบบรายบุคคลได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้ฟีเจอร์นี้ได้รับความนิยมมาก ๆ จากธุรกิจที่ต้องการทำความเข้าใจลูกค้าแต่ละแบบ เพื่อนำไปเพิ่มยอดขายและป้องกันการลูกค้าหลุดหายไป
ภาพจาก mixpanel Interactive Report - Mixpanel ให้ทุกคนเข้าถึงการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าที่มีประสิทธิภาพสูง ด้วย Interactive Report ที่ทำให้ได้ข้อมูลออกมาเป็นแบบ Visualization ได้ภายในไม่กี่คลิก ซึ่ง Report นี้สามารถตอบคำถามที่คุณสงสัยได้ ทั้งเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ของคุณ ใครที่กำลังสนใจธุรกิจของเรา สุขภาพของธุรกิจเป็นอย่างไรบ้าง มีจุดไหนที่ควรแก้ไชปรับเพิ่มลดให้ดีขึ้น และสามารถติดตามผู้ใช้งานได้มากถึง 1 แสนคนต่อเดือน ภาพจาก mixpanel ราคา Productboard สามารถทดลองใช้งานแพ็กเกจ Free ไม่เสียเงิน ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ก็จะมี ดู Data History & Seat ได้อย่างไม่จำกัด, Monitor และรับการแจ้งเตือน (Alert) ได้ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลดิบออกมาได้ และ Track ผู้ใช้ได้ 1 แสนคนต่อเดือน
ส่วนใครที่อยากได้อะไรเจ๋ง ๆ มากกว่าเดิม อาจจะอัปเกรดเป็นแพ็กเกจ Growth เริ่มต้นที่ 25 ดอลลาร์สหรัญต่อเดือน ซึ่งสามารถ บันทึก Reports & Cohorts ได้ไม่จำกัด, ทำ Data Modeling, มีฟีเจอร์ Group Analytics & Data Pipelines (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ )
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง Hotjar (User Testing & Session Replay) Hotjar คือ เครื่องมือที่จะมาช่วยเราปรับแต่งส่วนต่าง ๆ บนเว็บไซต์ เพื่อที่จะเพิ่ม Conversion Rate ให้เรามากขึ้น หรือเรามักจะเรียกกันว่า CRO Tool (Conversion Rate Optimization Tool) ด้วยการทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เข้ามากระทำอะไรบางอย่างบนเว็บไซต์ของเรา เช่น การคลิก, การหยุดอ่าน หรือกดออกจากเว็บไซต์ไปตอนไหน
ซึ่งการที่เราติดตามดูพฤติกรรมของคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์หรือลูกค้าที่เข้ามายังหน้า Sales Page จะทำให้เราเห็นว่าพวกเขารู้สึกว่าส่วนไหนที่น่าสนใจหรือไม่น่าสนใจเป็นพิเศษ รวมถึงสามารถถามความคิดเห็นของพวกเขาได้โดยตรงเลยว่าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากเว็บไซต์นี้หรือไม่
ฟีเจอร์เด่นของ Hotjar Hotjar มีหลายฟีเจอร์ที่ช่วยให้เราวิเคราะห์ข้อมูลที่อิงจากพฤติกรรมของผู้ใช้บนเว็บไซต์เป็นหลัก ซึ่งจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าในการนำมาปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา ไปดูกันว่ามีฟีเจอร์ที่น่าสนใจอะไรบ้าง
Heatmap - จะแสดงผลออกมาในรูปแบบของ “แผนที่ของเว็บไซต์” เพื่อแสดงว่าจุดไหนเป็นจุดที่มีการคลิกหรือมีการชี้เคอร์เซอร์นาน ๆ โดยจะใช้สเกลสีไล่สีแดงไปสีฟ้าเป็นตัวบอกความแตกต่าง ถ้าบนแผนที่ขึ้นเป็นสีโทนร้อน เช่น สีแดง, สีส้ม จะมีความหมายว่า “ผู้ใช้มีการชี้หรือคลิกไปที่บริเวณนั้นมากเป็นพิเศษ” แต่ถ้าบนแผนที่เป็นสีโทนเย็น เช่น สีฟ้า, สีเขียว หมายความว่า ไม่ค่อยมีคนไปชี้หรือคลิกที่บริเวณนั้น ซึ่งการแสดงผลแบบนี้อาจทำให้เรารู้ว่า เราควรติดปุ่ม CTA ไว้ตรงไหนเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั่นเองภาพจาก hotjar
Visitor Recording - เป็นฟีเจอร์ที่ให้ข้อมูลแบบเจาะลึกมากเลย เพราะจะถ่ายวิดีโอหน้าจอของผู้ใช้แต่ละคนในหน้าที่เราติด Tracking ไว้ ซึ่งมันจะทำให้เราเห็นการเคลื่อนไหวทั้งหมดว่า ผู้ใช้ขยับไปตรงไหน คลิกอะไรบ้าง โดยที่รักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ด้วย เช่น การตั้งค่าให้ปิด Password เวลาที่พวกเขาพิมพ์ลงไปภาพจาก hotjar
Incoming Feedback - เป็นฟีเจอร์ที่ติดเข้าไปบนหน้าเว็บในรูปแบบของ Pop-up ให้ผู้ใช้กดให้คะแนนความพึงพอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับจากจุดนั้น ๆ ทำให้เขาบอกเราได้ทุกเวลาว่าเขาพึงพอใจกับหน้านี้หรือไม่? นอกจากนั้นผู้ใช้สามารถชี้บอกได้ด้วยว่าจุดที่เขาชอบหรือไม่ชอบมันคือส่วนไหนกันแน่ ทำให้สโคปงานของเราแคบลง ง่ายต่อทีมดีไซน์และทีมพัฒนา เพราะรู้ได้ทันทีเลยว่าต้องไปแก้ที่จุดไหนภาพจาก hotjar
Survey - อีกหนึ่งช่องทางที่เราจะได้รับฟังความคิดเห็นของผู้ใช้ ซึ่งจะแตกต่างจาก Feedback ที่บอกเราว่าเขาชอบหรือไม่ แต่ Survey จะทำให้เราถามเขาได้ละเอียดมากขึ้น และใช้ในการวัดความเป็นผู้สนับสนุนของผู้ใช้ (มักจะรู้จักกันในชื่อของ Net Promoter Score หรือ NPS) ซึ่งเราอาจถามคำถามผู้ใช้งาน เช่น คุณมีแนวโน้มที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ของเราให้กับผู้อื่นมากแค่ไหน พร้อมกับมีช่วงคะแนน 0-10 คะแนนโดยคำถามพวกนี้มักเอาใส่ไว้หลังเกิด Conversion บางอย่างเพื่อสอบถามความพึงพอใจภาพจาก hotjar ราคา Hotjar เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีในแพ็กเกจ Basic สามารถเก็บข้อมูลได้ 1,000 Pageviews/Heatmap แต่สร้างได้เพียง 3 Heatmaps, เก็บ Recording ได้มากถึง 300 Recordings, Manual Data Capture และสร้างได้ 3 Surveys พร้อมกับมี Incoming Feedback widgets
แต่ถ้าอัปเกรดเป็นแพ็กเพจ Plus จะมีราคา 39 ดอลลาร์สหรัฐ จะได้ Heatmaps แบบไม่จำกัด, Recording ได้มากถึง 3,000 Recordings ต่อเดือน และ Surveys & Incoming Feedback Widgets แบบไม่จำกัด
หรือใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อยก็ขยับเป็นแพ็กเกจ Business จะมีหลายราคาขึ้นอยู่กับว่าปกติมีคนเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขนาดไหน (เช่น 500 Sessions จะเริ่มต้นที่ 99 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,500 Sessions ราคา 189 ดอลลาร์สหรัฐ) เข้าถึงฟีเจอร์ขั้น Advanced ได้ เช่น การติด Tag อัตโนมัติ, Page Targeting, Note ใน Recording เป็นต้น (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ )
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง SurveyMonkey (User Feedback) SurveyMonkey คือ เครื่องมือ Web-based Survey ที่มาพร้อมกับเทมเพลตแบบสอบถามต่าง ๆ มากมาย ช่วยให้เราสามารถสร้างแบบสอบถามได้ภายในไม่กี่นาที และส่งไปให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานของเราทำได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อติดตามและวิเคราะห์ผล ดูว่าพวกเขามีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของเราหรือไม่ พร้อมกับถามความคิดเห็นของพวกเขาว่ามี Feedback อะไรบ้าง ควรปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรตรงไหน รวบรวมความคิดเห็นเหล่านั้นให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของ Data ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ทันที
ฟีเจอร์เด่นของ SurveyMonkey SurveyMonkey ก็เป็นเหมือนผู้ช่วยคนหนึ่งที่ทำให้เรารู้ว่าลูกค้าคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเราอย่างไร เพราะมีฟีเจอร์มากมายที่ทำให้เราทำงานง่ายขึ้น เช่น
สร้างแบบสอบถามได้อย่างรวดเร็ว - จากการที่มีเทมเพลตให้เลือกใช้งานมากมาย เช่น รูปแบบ Quiz, Poll, Survey ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้นเพียงแค่ใส่คำถามที่ต้องการถามลงไปเท่านั้น สะดวก ง่าย ไม่ต้องสร้างขึ้นมาใหม่เอง รวมถึงความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ สามารถทำการ A/B Testing คำถามได้ (ต่างจาก Google Forms ที่ทำไม่ได้)ภาพจาก trello คำนวณผลออกมาเป็น Net Promoter Score (NPS) - NPS หรือดัชนีชี้วัดความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งคะแนนในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นว่าลูกค้ามีแนวโน้มจะแนะนำธุรกิจของเราให้กับคนรอบข้างมากน้อยแค่ไหน ซึ่ง SurveyMonkey ช่วยให้สามารถเห็นค่า NPS ได้ง่าย ๆ ผ่านแบบสอบถามที่ส่งไปให้ลูกค้าทำ ที่สำคัญถ้าผลิตภัณฑ์ของเราได้คะแนนน้อยเราก็จะรู้ว่าต้องปรับปรุงเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นภาพจาก surveymonkey รวบรวม Feedback - เราสามารถรวบรวม Feedback ของผู้ใช้งานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผ่านอีเมล, แชท, โซเชียลมีเดีย และช่องทางอื่น ๆ ออกมาให้อยู่ในที่เดียววิเคราะห์ผล และ Export ข้อมูล - SurveyMonkey จะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาให้อัตโนมัติ พร้อมกับ Export ข้อมูลเหล่านั้นออกมาได้หลากหลายรูปแบบทั้ง กราฟ, แผนภูมิ หรือจะ Export ออกมาในนามสกุลต่าง ๆ เช่น PDF, PPT นำไปใช้ต่อได้ทันที รวมถึงสามารถ Integrate กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้อีกด้วยราคา ถ้าอยากทดลองใช้งาน SurveyMonkey ก็ให้ใช้แบบฟรีได้ แต่สามารถสร้างคำถามได้ 10 คำถาม (รวมถึง Element ต่าง ๆ ด้วย เช่น ประเภทคำถาม, คำบรรยาย หรือรูปภาพ) หรือถ้ามันน้อยไปอยากอัปเกรดเพิ่มเติมก็มีหลายแพ็กเกจให้เลือก
ตัวอย่างเช่น แพ็กเกจ Business Plan รายเดือนเริ่มต้นที่ 525 บาทต่อผู้ใช้ (แต่ต้องจ่ายบิลเป็นรายปี) สามารถสร้างแบบสอบถามและคำถามได้อย่างไม่จำกัด, รวมรวบ Feedback ไว้ในที่เดียว, Export ข้อมูลออกมาในหลายรูปแบบ เช่น CSV, PDF, PPT, SPSS, XLS รวมถึงต่อ Integration เข้าซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้ เช่น Marketo, Slack, Mailchimp, Salesforce ซึ่งนี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของแพ็กเกจเท่านั้น (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่ )