Technology

Tech Stack คืออะไร? ทำไมธุรกิจจึงไม่ควรละเลยคำนี้ในปี 2021

Tech Stack คืออะไร? ทำไมธุรกิจจึงไม่ควรละเลยคำนี้ในปี 2021
Light
Dark
Cartoon Tanaporn
Cartoon Tanaporn

มนุษย์เป็ดเขียนคอนเทนต์ ชอบเขียนมากกว่าพูด เสพติดการมองพระจันทร์เป็นชีวิตจิตใจ และหลงใหลในช่วงเวลา Magic Hour ของทุกวัน

นักเขียน

ถ้าย้อนกลับไปประมาณ 20-30 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเราอาจจะไม่ต้องรู้จักคำว่า Tech Stack ก็ได้ แต่การคิดแบบนั้น มันใช้ไม่ได้แล้วกับปี 2021 นี้ที่เหล่านักการตลาดทุกคนควรรู้จักและหันมาทำความเข้าใจอย่างจริง ๆ จัง ๆ ว่าคำนี้มีความหมายอย่างไร และมีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจของเรา

และตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนจะขึ้นจรวดการเติบโต เพื่อเปลี่ยนธุรกิจยุคอนาล็อกมาสู่ยุคดิจิทัลแบบจริงจัง เพราะแทบจะทุกอย่างบนโลกนี้เลยที่เทคโนโลยีได้เข้ามาแทรกซึมและมีบทบาทมากขึ้น และมันก็สามารถสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับธุรกิจของเราได้ ถ้าเราเลือกใช้มันเป็น

วันนี้ The Growth Master จะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า Tech Stack ให้มากขึ้นว่าคืออะไร และแนะนำ Business Tech Stack ทุกแขนงให้คุณรู้จักกัน ไปดูกันต่อได้เลย!

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Tech Stack มีความสำคัญอย่างไรในธุรกิจของเรา?

จากการศึกษาของ Adestra กล่าวว่าการใช้ Tech Stack เข้ามาช่วยในการทำธุรกิจพบว่า...

  • 75% ของนักการตลาดบอกว่าช่วยประหยัดเวลาการทำงานไปได้เยอะ
  • 68% บอกว่าลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น
  • 58% บอกว่ามีการสื่อสารระหว่างแบรนด์กับลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • 58% บอกว่ามีโอกาสในการขายเพิ่มขึ้น

จากตัวเลขด้านบนก็แสดงให้เห็นว่า Tech Stack จะช่วยให้ธุรกิจของเราพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ไม่ใช่แค่ช่วยลดภาระงานของเราให้น้อยลงเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มความโดดเด่นทางธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และทำให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักและก้าวนำคู่แข่งได้อย่างก้าวกระโดด หากเหล่านักการตลาดรู้จัก เข้าใจ และเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เป็น

เพราะโดยพื้นฐานทั่วไปในการทำธุรกิจ เวลาที่องค์กรต่าง ๆ มีการรับคนเพิ่มเข้ามา ก็จะมีส่วนที่ตระหนักถึงด้านของชั่วโมงการทำงาน (Man-Hour) ของคนที่เข้ามาทำงาน ในด้านการดำเนินการต่าง ๆ (Operation) ไม่ว่าจะเป็น การติดต่อประสานงาน (Coordination) คีย์ข้อมูล (Data) ด้านเอกสารหรือการจดบันทึกต่าง ๆ (Document) 

ภาพจาก usnews

ซึ่งพวกนี้มันเป็นจุดที่ธุรกิจส่วนมากเคยชินกับการจ้างคนอยู่แล้ว แต่เราอาจจะลืมไปว่าเทคโนโลยีก็สามารถเข้ามาช่วยทดแทนการทำงานของคนได้เหมือนกัน ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีมันช่วยให้การทำงานสามารถดำเนินการได้ตลาดเวลา มีความผิดพลาดน้อยกว่า แถมมีการขยายตัวที่ไม่จำกัดอีกด้วย แต่น้อยธุรกิจนักที่มองเห็นข้อดีในจุดนี้ 

สำหรับเมื่อปีที่แล้วก็ดันมีเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นมาบนโลกนี้ แต่เราจะไม่พูดถึงก็ไม่ได้ เพราะเจ้า Covid-19 นี่แหละที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดีที่มากระตุ้นให้คนทั่วไปและภาคธุรกิจต่าง ๆ เริ่มเห็นความสำคัญและมีความสนใจในการใช้เทคโนโลยี Automate เข้ามาช่วยให้องค์กรสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยที่ไม่ต้องหยุดชะงัก เพียงเพราะเราไม่สามารถอยู่ทำงานร่วมกันได้ ซึ่งเทคโนโลยีก็สามารถเข้ามาตอบโจทย์ ทดแทน และช่วยปิดช่องว่างตรงนั้นลงไปได้

แล้วตอนนี้คุณ เริ่มเห็นข้อดีของการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานแล้วหรือยัง?

พอพูดมาถึงตรงนี้ แล้ว Tech Stack คืออะไรล่ะ?

Tech Stack คือ ชุดเทคโนโลยีที่องค์กรใช้สร้างเว็บหรือแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างภาษาการเขียนโปรแกรม, Frameworks, Libraries, Patterns, Servers, การออกแบบ UI / UX, ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ รวมไปถึงเครื่องมือที่นักพัฒนาใช้ 

ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งด้วยกัน นั่นคือ

  • ฝั่งหน้าบ้าน (Frontend) คือ ในส่วนของที่แสดงผลออกมาหรือส่วนที่ผู้ใช้เห็น (Client Side) มักจะเกี่ยวข้องกับความสวยงาม น่าใช้ เป็นหลัก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้จะเป็นพวก HTML, CSS และ JavaScript เป็นต้น
  • ฝั่งหลังบ้าน (Backend) คือ ฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน และส่วนกระบวนการทำงานของระบบทั้งหมด (Server Side) มักจะเกี่ยวกับเสถียรภาพการใช้งานของระบบเป็นหลัก เครื่องมือที่ใช้ก็จะเป็นพวกเกี่ยวกับภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น Python, Java หรือ JavaScript และระบบ Database เช่น MySQL หรือ Oracle เป็นต้น
ภาพจาก ironhack
แถมความรู้เพิ่มเติมกันสักนิด

ถ้ากล่าวในด้านของอาชีพนักพัฒนาหน้าบ้าน เราจะเรียกว่า Frontend Developper ส่วนนักพัฒนาหลังบ้าน คือ Backend Developper และถ้านักพัฒนาคนไหนที่สามารถทำได้ทั้ง 2 ฝั่งเลย เราก็จะเรียกว่า Full-Stack Developper

พออ่านมาถึงตรงนี้แล้วเราก็ขอสรุปง่าย ๆ เลยละกัน Tech Stack มันก็คือสิ่งที่นักพัฒนาใช้ทั้งหมดในการพัฒนาโปรแกรมนั่นแหละ

ลองมาดูตัวอย่าง Tech Stack ขององค์กรดัง ๆ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกัน

Facebook

เว็บไซต์ Social Network ซึ่ง Tech Stack ของเขาก็จะประกอบไปด้วย Coding Frameworks หรือภาษาคอมพิวเตอร์เป็นหลัก อย่าง JavaScript, HTML, CSS, PHP และ ReactJS. เป็นต้น และชุดซอฟต์แวร์ที่เขาใช้ประกอบไปด้วยดังภาพข้างล่างนี้...

ภาพจาก nextzy

Amazon

เว็บไซต์ E-Commerce ชื่อดังอันดับ 1 ของโลก ในเมื่อขึ้นชื่อว่าระดับโลกแล้ว Tech Stack ของเขาก็ย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน เพราะมีการใช้ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งเป็นระบบ Cloud Infrastructure-as-a-Service (Cloud IaaS) ของตัวเอง ที่มีทั้งหน่วยประมวลผล ระบบเครือข่าย และพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้ใช้งาน เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า และปรับปรุงพัฒนาเว็บไซต์เป็นหลัก เขาก็จะใช้ซอฟแวร์ที่เกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้เป็นตัวช่วย เช่น Amazon EC2, Amazon Athena, AWS Lambda และ Amazon EMR

ซึ่ง Tech Stack AWS เหล่านี้ นอกจาก Amazon จะเป็นผู้ใช้เองแล้ว ก็ยังมีบริษัท Startup ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว, องค์กรใหญ่ ๆ หรือหน่วยราชการชั้นนำทั่วโลกก็ใช้เหมือนกัน เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความคล่องตัว และสร้างสรรค์นวัตกรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้นได้

ภาพจาก medium

Netflix

บริการสตรีมมิ่งภาพยนตร์ยักษ์ใหญ่ของโลก Tech Stack ประกอบไปด้วยภาษาการเขียนโปรแกรม เช่น Java, JavaScript, Python, Kotlin และ Swift และยังครอบคลุมไปยัง Libraries ที่ช่วยขัดเกลาประสบการณ์ผู้ใช้งาน, Frameworks ที่ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังในการพัฒนา และหน้า UI ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ด้วย Reactjs, the JavaScript UI library เป็นต้น

ภาพจาก stackshare

ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นภาพคร่าว ๆ กันแล้วใช่ไหมคะ ว่า Tech Stack มีหน้าตาเป็นยังไง และที่สำคัญถ้าลักษณะการบริการหรือเป้าหมายของธุรกิจเปลี่ยนไป แน่นอนว่า Tech Stack ก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย

แต่ที่เห็น Tech Stack มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์แวร์นะ แล้วมันเกี่ยวกับการตลาดยังไง?

อย่างที่บอกไปว่ามันเริ่มต้นมาจากนักพัฒนา (Developper) ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ Tech Stack ก็ได้มีการพัฒนาและต่อยอดมาเรื่อย ๆ จนมาใช้ในทางธุรกิจและการตลาดด้วยเหมือนกัน จนเกิดเป็น ‘ชุดเทคโนโลยีในภาคธุรกิจ (Business Technology Stack)’

Business Technology Stack คือ ชุดเทคโนโลยีที่ใช้ในภาคธุรกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการ (Operation) ด้านธุรกิจ (Business) หรือด้านการตลาด (Marketing) เพื่อช่วยลดเวลาการทำงานของคน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขยายธุรกิจด้วยการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automate Process) แต่ทั้งนี้รูปแบบของ Business Tech Stack ก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และเป้าหมายที่วางไว้ของแต่ละธุรกิจด้วย

ทำไมนักการตลาดถึงต้องสนใจ Tech Stack ด้วยล่ะ?

เพราะว่ายุคนี้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมกับทุกส่วนของชีวิตมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่การตลาด บางธุรกิจ เช่น ธุรกิจ E-Commerce ก็ฝากชีวิตตัวเองไว้กับเทคโนโลยีนี่แหละ จะรอดหรือจะร่วงก็ขึ้นอยู่กับการปรับใช้กลยุทธ์ และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับธุรกิจของตัวเองได้อย่างไร

Tech Stack จึงเป็นเทคโนโลยีที่นักการตลาดควรเลือกใช้ เพื่อช่วยเหลือทีมการตลาดในการทำงาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในวงการการตลาดดิจิทัล แต่สำหรับร้านค้าใดที่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์ ถ้าเราทำการตลาดดิจิทัลเอาไว้ดี มันก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในช่องทางการตลาดออฟไลน์อีกด้วย

แล้วในปัจจุบันก็มี Tech Stack ให้เลือกใช้อยู่มากมาย จากที่ปี 2011 มีผู้ให้บริการด้านซอฟต์แวร์ Tech Stack เพียง 150 เจ้า แต่ในปี 2020 กลับเพิ่มขึ้นถึง 8,000 เจ้าด้วยกัน (เพิ่มขึ้นเกือบ 55 เท่า ภายใน 9 ปี) เพราะฉะนั้น นักการตลาดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเข้าใจชัดเจนว่า เทคโนโลยีแบบใดที่เหมาะกับเป้าหมายทางธุรกิจของตัวเองมากที่สุด และเข้าใจว่าเทคโนโลยีจะช่วยส่งผลในเชิงบวกต่อธุรกิจของเราได้อย่างไร 


ภาพจาก nuttaputch

แนะนำ Top 5 เครื่องมือ Business Tech Stack

สำหรับ Business Tech Stack ทาง The Growth Master ได้แบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ 1. Management Technology และ 2. Marketing Technology 

และเราขอแนะนำเครื่องมือเทคโนโลยีแต่ละประเภทต่าง ๆ ที่น่าใช้และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกธุรกิจและทุกองค์กรได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง ดังนี้

1. เทคโนโลยีด้านการจัดการ (Management Technology)

สำหรับเทคโนโลยีในด้านนี้จะเกี่ยวกับการพัฒนาด้านบริหารจัดการในส่วนต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การร่วมมือกันของคนในองค์กรและผู้เชี่ยวชาญที่แตกต่างกันในคนละด้าน จัดการงบการเงิน รวมไปถึงการบริหารเวลาของทีมทั้งหมด ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะทำให้องค์กรมีการทำงานที่ไหลลื่นขึ้น และประหยัดเวลาไปได้เยอะเลย

ภาพจาก jobberman

1.1 Team Management Technology คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร

และช่วยติดตามภาระงาน (Tracking Workload) ของคนในทีมเพื่อไม่ให้งานหนักเกินไปด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Clickup, Slack, Trello, Asana, Monday

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 

เปรียบเทียบ Management Software ตัวดัง Trello, Asana, Monday.com

ClickUp แอปที่ช่วยจัดระเบียบการทำงานให้คุณมีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 20%

ภาพจาก samdinicoladigital

1.2 Product Management, Agile & Lean Management Technology คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้องค์กรขับเคลื่อนโปรเจ็กต์แบบอัตโนมัติ (Automate) เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับคนเป็นหลัก นั่นคือให้คนในทีมสามารถส่งมอบงานให้แก่กันได้รวดเร็วและยั่งยืนมากขึ้น 

(Agile = การแบ่งงานออกเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วพัฒนาต่อเรื่อย ๆ, 

Lean = การทำงานแบบลดส่วนที่ไม่มีประโยชน์ (Waste) ทิ้งไป เพื่อเพิ่มต้นทุนในการทำงานให้สูงขึ้น)

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Jira, Forecast, Quickscrum, Backlog, Pipefy

ภาพจาก blognone

1.3 Talent Management Technology คือ เทคโนโลยีที่เหมาะสำหรับชาว HR มาก เพราะจะช่วยวิเคราะห์ บริหารจัดการ และวางแผนในการหาคนที่เก่งมีความสามารถภายในองค์กร รวมถึงช่วยพัฒนาความสามารถ (Upskill) ของคนในองค์กรได้อีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Happywork, Plai, Lattice, Happily, Zestful

ภาพจาก happywork


1.4 Budgeting and Finance Technology (FinTech) คือ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยดูแลด้านงบประมาณและการเงิน เพื่อลดขั้นตอนในการทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ให้สะดวกขึ้น

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : FlowAccount, Xero, QuickBooks, PeakAccount, Freshbooks

ภาพจาก flowaccount

2. เทคโนโลยีด้านการตลาด (Marketing Technology : MarTech)

MarTech จะเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ชีวิตของเหล่านักการตลาดง่ายขึ้นมาอีกเท่าตัวนึง เพราะมันจะช่วยจัดการงานที่ต้องใช้เวลานานและทำซ้ำซากให้ออกมาโดยอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องออกแรงมากเหมือนเมื่อก่อน ทั้งด้านการวิเคราะห์ข้อมูล การทำคอนเทนต์หรือโฆษณา เพื่อทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือดึงดูดให้ผู้ที่มีโอกาสที่จะมาเป็นลูกค้าของเราเกิดความสนใจและกลายมาเป็นลูกค้าของเราได้ในที่สุด

ภาพจาก chiefmartec (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ได้เลย)

2.1 Data คือ เทคโนโลยีด้านการวิเคราะห์และบริหารจัดการข้อมูล

  • Mobile & Web Analytics คือ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจากอุปกรณ์เคลื่อนที่และเว็บไซต์ทั้งของเราและคู่แข่ง เพื่อที่จะนำแนวทางมาตัดสินใจ พัฒนา ปรับปรุง และวางแผนกลยุทธ์ที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : GoogleAnalytics, AdobeAnalytics, Heap, Mixpanel, Gosquared

ภาพจาก uploadcare
  • Dashboards & Data Visualization คือ เทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยให้การดูข้อมูลที่ซับซ้อนและจำนวนมหาศาลเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น จะนำเสนอข้อมูลออกมาโดยใช้รูปภาพ เช่น กราฟ แผนภูมิ หรือแผนที่ต่าง ๆ 

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Geckoboard, Databox, MicrosoftPowerBI, Finereport, Tableau

ภาพจาก geckoboard
  • Business, Customer Intelligence & Data Science คือ ซอฟต์แวร์ที่รวบรวม จัดบริบท และวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น สร้างผลกำไรที่ยั่งยืน และปรับปรุงการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision-Making)

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Qualtrics, Looker, Sap, Useinsider, Flex.bi

ภาพจาก qualtrics
  • Gov, Compliance, Privacy คือ ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยปกป้องในเรื่องของความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวข้อมูลของผู้ใช้

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Netwrix, Evidon, Piwik, GovPilot, Cookiebot

ภาพจาก softwareconnect
  • iPaaS, Cloud/Data Integration, RPA, Tag Management คือ เครื่องมือ Automate สำหรับการรวบรวมแอปพลิเคชันและข้อมูลในองค์กรเข้ากับระบบ Cloud

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Zapier, GoogleTagManager, Workato, Celigo, DellBoomi


ภาพจาก zoho
  • Data Management Platform (DMP) คือ ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยนักการตลาดจัดการข้อมูล โดยที่จะรวบรวม จัดเรียง และส่งต่อข้อมูลต่าง ๆ ตามที่นักการตลาด ผู้ผลิตคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ และเอเจนซี่ต่าง ๆ ต้องการ เช่น บริหารจัดการ Cookie ID หรือช่วยแสดงผลของโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Salesforce, Oracle, Lotame, OnAudience, SAS

ภาพจาก financesonline
  • Customer Data Platform (CDP) คือ ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูลลูกค้าจากแพลตฟอร์มหรือ Database อื่น ๆ มาไว้ในที่เดียวกัน เพื่อสามารถนำไปวิเคราะห์ต่อได้อย่างง่ายดายและไม่กระจัดกระจาย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : MicrosoftDynamics365, Zaius, Optimove, Segment, Exponea

ภาพจาก microsoft

2.2 Commerce & Sales คือ เทคโนโลยีด้านการค้าขาย

  • Retail, Proximity & IoT Marketing คือ แพลตฟอร์มที่มีชุดเครื่องมือที่ผู้ค้าปลีกสามารถใช้เพื่อดำเนินธุรกิจการค้าปลีกที่สำคัญได้ทั้งหมด โดยการรับข้อมูลเชิงลึก (Insights) เกี่ยวกับข้อมูลการค้าปลีกและให้ข้อมูลแบบ Real-time และมี User Interface ที่เรียบง่ายเพื่อให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น และมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ผู้บริโภค

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : BrightPearl, SpringBoardRetail, EZRentout, Emarsys, IQMetrix

ภาพจาก bigecommerce
  • Affiliate Marketing & Management คือ ซอฟต์แวร์สำหรับการทำการตลาดออนไลน์โดยให้ตัวแทนโฆษณานำลิงก์สินค้าและบริการต่าง ๆ ไปบอกต่อ เพื่อแนะนำให้คนมาซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ และจะมีค่าคอมมิชชั่นจากยอดขายสินค้าหรือบริการนั้น ๆ เป็นผลตอบแทน

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Refersion, Tapfiliate, Voluum, Tune, PostAffiliatePro

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : ทำ Affiliate Marketing ให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยผู้ช่วยการขายอย่าง Refersion

ภาพจาก eventige


  • Channel, Partner & Local Marketing คือ ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยทำการตลาดโดยอาศัยความร่วมมือจากช่องทางหรือบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าในท้องถิ่น supplier หรือบริษัทอื่น ๆ ที่อาจไม่เกี่ยวข้องกับ Core Business ของเราเลยก็ได้ เพื่อช่วยก่อให้เกิดกิจกรรมทางด้านการตลาดที่เราไม่สามารถทำคนเดียว โดยการนำเอาจุดแข็งของแต่ละคนมาร่วมกัน เพื่อให้เกิด Competitive Advantage

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : BrandMuscle, Impartner, Zift, Impact, MindMatrix, PartnerStack

ภาพจาก brandmuscle
  • Sales Automation, Enablement, Intelligence คือ ซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยในการซื้อ-ขายสินค้าและบริการแบบอัตโนมัติ การติดต่อประสานงาน การวิเคราะห์การขาย รวมไปถึงระบบลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) อีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Hubspot, Salesforce, Outreach, Freshworks, Pipedrive

ภาพจาก hubspot
  • E-Commerce Marketing คือ เครื่องมือทางการตลาดที่จะมาช่วยเพิ่มยอด Conversion ให้กับร้านค้าออนไลน์ของเรา ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสร้างแบรนด์ ประชาสัมพันธ์ หรือเชิญชวนคนอื่น

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : DotDigital, Hubspot, Prestashop, Omnisend, Volusion

ภาพจาก websiteplanet
  • E-Commerce Platforms & Carts คือ เครื่องมือที่ช่วยในการสร้างแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Shopify, WooCommerce, BigCommerce, SquareOnline, Magento

ภาพจาก shopify


2.3 Social & Relationships คือ เทคโนโลยีด้านสื่อสังคมออนไลน์และการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า

  • Influencers คือ ซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยในการทำ Influencer Marketing ซึ่งจะใช้คนที่มีชื่อเสียงในโซเชียลเข้ามาช่วยโปรโมท ซึ่งจะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมากและได้ผลดี

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Traackr, Tapinfluence, Izea, Tellscore, Cloudero

ภาพจาก influencermarketinghub
  • Community & Reviews คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เราเชื่อมต่อกับกลุ่มลูกค้าของเราได้ง่ายขึ้น เพื่อรับฟังความคิดเห็น แชร์ประสบการณ์การใช้สินค้าและบริการ ผ่านการรวมกลุ่มเป็น Community ของแบรนด์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Tribe, Influitive, SalesforceCommunityCloud, VanillaForums, MightyNetworks

ภาพจาก softwareworld
  • Social Media Marketing & Monitoring คือ ซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยธุรกิจของเรารับฟังความคิดเห็นของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์ ทั้งด้านบวกและด้านที่ควรปรับปรุง นอกจากนั้นยังช่วยติดตามดู Mention ที่มีต่อแบรนด์ของเรา และดู Insights ทั้งหมดเพื่อดู Trend ในตลาดและดู Brand Awareness ของผู้บริโภคอีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : GoogleAlerts, Talkwalker, Reputology, Hootsuite, Brand24

ภาพจาก smartinsights


  • Conversational Marketing & Chat คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำ 'การตลาดเชิงสนทนา' โดยการพูดคุยกับลูกค้าแบบ Real-time อย่างธรรมชาติ เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าแบบเชิงลึก เก็บข้อมูล สร้างความสัมพันธ์ และสร้างประสบการณ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : MoblieMonkey, Chatbot, Userlike, Infobip, Intercom, Drift

ภาพจาก chatmize
  • Advocacy, Loyalty & Referrals คือ ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยทำการตลาดแบบบอกต่อ โดยการให้คนที่เป็นลูกค้าอยู่แล้วไปแนะนำให้คนอื่นมาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา และลูกค้าคนนั้นก็จะได้รางวัลตอบแทนจากแบรนด์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : MentionMe, Birdeye, Yotpo, Talkable, Wooly, Synup

ภาพจาก businessofapps
  • Customer Experience, Service & Success คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้ลูกค้าที่มาใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราเพื่อแก้ปัญหาให้กับตัวเองหรือธุรกิจของพวกเขา ได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไป

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Totango, Asknicely, Gainsight, Churnzero, Userlist, Pendo

ภาพจาก Totango
  • Activity-Based Management (ABM) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยหาวิธีการหรือวางกลยุทธ์ในการตลาดธุรกิจที่ติดต่อลูกค้าโดยตรง ด้วยการคัดกรองและเจาะจงตลาดกว่าเดิม เพื่อลดต้นทุนในการหาลูกค้า หรือพูดอีกอย่างได้ว่าเราจะทำการตลาดโดยเจาะลงไปในกลุ่มเป้าหมายเลย แทนที่จะหากลุ่มลูกค้าในวงกว้างที่มีทั้งสนใจและไม่สนใจที่จะมาเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งดีกว่าทำการตลาดหว่าน ๆ ไปแบบที่ไม่ได้ประโยชน์อะไรกลับมาและเสียต้นทุนไปโดยเปล่าประโยชน์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Triblio, SAS, Rollworks, Marketo, Folloze

ภาพจาก triblio


  • Customer Relationship Management (CRM) คือ ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยวางกลยุทธ์และหาวิธีที่จะทำให้พวกเขาพึงพอใจกับแบรนด์มากที่สุดจนกลายเป็น Loyal Customer

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Salesforce, Hubspot, Freshworks, Zoho, Pipedrive


ภาพจาก salesforce
  • Call Analytics & Management คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยคุณจัดการและวิเคราะห์การโทรเข้าจากลูกค้าและคนที่จะเป็นลูกค้าของแบรนด์ 

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Plivo, Marchex, Invoca, Callsource, Callrail

ภาพจาก twitter
  • Events, Meetings & Webinars คือ ซอฟต์แวร์ที่จะเข้ามาช่วยในการจัดกิจกรรม การประชุม หรือการสัมมนาออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านหน้าเว็บ

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Zoom, GoToWebinar, WebinarJam, GetResponse, Demio

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : 

CASE STUDY : ลดความห่างไกลด้วย Zoom บริษัทที่เติบโตแบบพุ่งทะยานภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี

ภาพจาก protectsoftware

2.4 Content & Experience คือ เทคโนโลยีด้านการสร้างคอนเทนต์และประสบการณ์ของผู้ใช้

  • Interactive Content คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำให้แบรนด์สามารถโต้ตอบ สร้างประสบการณ์ หรือกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้ เช่น การทำแบบสำรวจ แบบประเมิน หรือ Infographic

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : SurveyMonkey, GoogleForm, ThingLink, Mapme, Apester

ภาพจาก surveymonkey
  • Video Marketing คือ ซอฟต์แวร์ที่เข้ามาช่วยในการโปรโมทผลิตภัณฑ์หรือบริการโดยใช้วิดีโอ เพื่อเพิ่ม Engagement บนเว็บไซต์ตลอดจนช่องทางโซเชียลมีเดียอื่น ๆ และนำเสนอวิธีการใช้สินค้าหรือบริการให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Biteable, Vimeo, Fimora, Animaker, Shakr

ภาพจาก flowji
  • Mobile Apps คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยสร้าง Moblie Apps รวมถึงด้าน Backend ด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Appery, MoblieRoadie, Thrive, AppSheet, Outsystems

ภาพจาก maxkatz
  • Content Marketing คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยนักการตลาดวางแผนในการเพิ่มการรับรู้ โอกาสในการขาย และรายได้จากคอนเทนต์ของแบรนด์ 

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : GoogleDocs, Contently, Paperflite, Uberflip, Skyword

ภาพจาก g2
  • Email Marketing คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำการตลาดด้วยวิธีการส่งอีเมล เพื่อเป็นสื่อโฆษณาหรือข้อมูลข่าวสาร ผ่านไปยังกลุ่มคนจำนวนมาก

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : ActiveCampaign, Sendinblue, ConvertKit, Mailchimp, GetResponse

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : ActiveCampaign ผู้ช่วยทำ Email Marketing คนสำคัญ

ภาพจาก tomoson


  • Digital Asset Management (DAM), Product Information Management (PIM), Marketing Resource Management (MRM) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกลยุทธ์การทำ Go-To-Market โดยช่วยให้เราเข้าถึงระดับใหม่ของประสิทธิภาพ ความสามารถในการปรับขนาด และการปกป้องแบรนด์

ถ้าให้แยกอธิบายแยกแต่ละอย่าง จะได้ว่า...

Digital Asset Management (DAM) หรือ การจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล คือ เทคโนโลยีที่ช่วยเราเก็บและจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล (เช่น รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์เอกสาร คลิปเสียง) ที่เคยกระจัดกระจายไปในที่ต่าง ๆ มาไว้ที่ Hub ส่วนกลางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เพื่อความสะดวกในการเรียกใช้งานของคนในทีม

Product Information Management (PIM) หรือ การจัดการข้อมูลสินค้า คือ เครื่องมือที่จะมาช่วยเราเก็บและรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่จำเป็นในการทำการตลาด และขายสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce

Marketing Resource Management (MRM) คือ เทคโนโลยีที่ช่วยให้สามารถจัดการการดำเนินงานหลังบ้าน (Backend) ผู้คน และกระบวนการที่ช่วยขับเคลื่อนการตลาดและแคมเปญ พูดง่าย ๆ ก็คือ มันช่วยให้สามารถจัดการขั้นตอนการทำงานตลอดจนวางแผน ติดตาม และจัดสรรทรัพยากรทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้เรามีเวลาว่างเพื่อที่จะไปทำสิ่งอื่น ๆ ได้อีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Bynder, SelluSeller, Akeneo, Saleslayer, Wrike

ภาพจาก comparecamp
  • Web Experience Building & Management คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบรอบด้านให้กับผู้ใช้จากหลายช่องทาง (เว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, ...) และหลายแพลตฟอร์ม (คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, ...)

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Wordpress, Webflow, Magento, Weebly, SquareSpace

ภาพจาก wikipedia
  • Optimization, Personalization & Testing คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยปรับปรุงทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการใช้ทรัพยากรเท่าเดิม ในการปรับแต่งหน้าเว็บไซต์ของเราทั้งด้าน ข้อความ, รูปภาพ, Layout ต่าง ๆ รวมไปถึงการทำ A/B testing หรือ Experimental Test

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Optimizely, GoogleOptimize, Unless, Qubit, DynamicYield

ภาพจาก segment
  • Search Engine Optimization (SEO) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับหน้าแรกบน Search Engine เมื่อมีการค้นหาคีย์เวิร์ดที่กำหนดไว้ ซึ่งมันสำคัญมาก ๆ สำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองและไม่ได้ทำโฆษณาบน Google เพราะคนส่วนใหญ่มักจะหาคีย์เวิร์ดจาก Google ถ้าพวกเขาเจอเว็บไซต์ของเราอยู่บนหน้าแรก ก็มีโอกาสที่เราจะได้ยอด Traffic สูง และนำไปสู่ยอด Conversion ได้ในที่สุด

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : SEMRush, KWFinder, Ahrefs, Ubersuggest, GoogleTrends

ภาพจาก seerinteractive
  • Marketing Automation & Campaign/Lead Management คือ การนำเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการทำการตลาดแบบอัตโนมัติ เพื่อช่วยในการทำงานด้านต่าง ๆ เช่น อีเมล โฆษณา การโต้ตอบกลับ หรือวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า บนเว็บไซต์ โดยจะใช้ Personalized Content ซึ่งช่วยให้ลูกค้ามีความพึงพอใจและได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : ActiveCampaign, Smile.io, Drift, Klaviyo, Drip

ภาพจาก bigcommerce

2.5 Advertising & Promotion คือ เทคโนโลยีที่ช่วยในการโฆษณาและโปรโมชันต่าง ๆ

  • Print คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในด้านของการจัดพิมพ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น เอกสารต่าง ใบปลิว แผ่นพับต่าง ๆ รวมไปถึงงาน 3D Printing อีกด้วย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Papercut, Mimeo, Sculpteo, Gelato, Vpress

ภาพจาก papercut
  • Public Relations (PR) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูล สร้างความเข้าใจ ภาพลักษณ์ที่ดี และความน่าเชื่อถือระหว่างแบรนด์กับลูกค้า เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้และให้ลูกค้าเกิดความร่วมมือขึ้นกับแบรนด์

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Meltwater, Customscoop, Buzzstream, Intrado, Mediatoolkit

ภาพจาก buzzstream
  • Video Advertising คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการโฆษณาสินค้าหรือบริการในรูปแบบวิดีโอ

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ :  Tiktok, Youtube, Animoto, Viewbix, Virool

ภาพจาก twfdigital
  • Search & Social Advertising คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในกระบวนการสร้างและปรับใช้กับการค้นหาคีย์เวิร์ดหรือโฆษณาที่สามารถคลิกได้ เพื่อที่จะนำกลุ่มเป้าหมายไปสู่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย, แอป Messenger, หน้า News Feeds หรือแม้แต่แอปและเว็บไซต์ภายนอกก็ด้วยเหมือนกัน เพื่อเป็นการสร้างการรับรู้ของแบรนด์และโอกาสในการขาย

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : GoogleAds, AdEpresso, FacebookAds, MicrosoftAdvertising, AmazonAds

ภาพจาก digisaws
  • Native/Content Advertising คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำโฆษณาที่มีคอนเทนต์แบบเดียวกันกับคอนเทนต์ปกติทั่วไปบนเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มที่เราเลือกไปลง ซึ่งเป็นเหมือนการทำให้คอนเทนต์เหล่านั้นกลมกลืนไปกับแพลตฟอร์มนั้น ๆ และทำให้ผู้ชมไม่รู้ตัวว่านั่นเป็นโฆษณานะ จนกว่าจะได้อ่านหรือดูมันจนจบ (คำว่า Native หมายถึง การเชื่อมโยงของคอนเทนต์นี้กับสื่ออื่น ๆ ที่ปรากฏบนแพลตฟอร์ม)

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : Outbrain, RealContentNetwork, Marriad, Cision, Connatix

ภาพจาก vox
  • Mobile Marketing คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำการตลาดบนมือถือ ซึ่งจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะบนสมาร์ทโฟน, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์, อีเมล์, SMS และ MMS, โซเชียลมีเดีย หรือแอปพลิเคชันมือถือ

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : EZTexting, Sendinblue, Klaviyo, SlickText, Avochato

ภาพจาก g2
  • Display & Programmatic Advertising คือ การซื้อและเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาดิจิทัลผ่านโปรแกรมจัดการอัตโนมัติแทนที่การโทรไปเจรจาต่อรองการซื้อโดยตรงกับผู้เผยแพร่โฆษณา (Publisher) โดยโปรแกรมนี้จะใช้เทคโนโลยี Machine Learning และ Data ต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อทำให้การยิงโฆษณาตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นและได้ราคาที่เหมาะสมในการซื้อ

ซอฟต์แวร์ที่แนะนำ : StackAdapt, Basis, Adacado, Smartyads, Choozle

ภาพจาก mobilemarketingmagazine


สรุปทั้งหมด

Tech Stack ในตอนนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ ยาก และซับซ้อน สำหรับใครหลาย ๆ คน แต่ก็เป็นสิ่งที่เราในยุคนี้ควรรู้จัก เข้าใจ และนำไปปรับใช้กับองค์กร เพราะ Tech Stack สามารถสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับเราได้ ในทุก ๆ ด้านเลย ตั้งแต่การทำงานของคนในองค์กร (เช่น ลดเวลาการทำงานของคน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หรือตอบโจทย์ความต้องการทั้งของเราและลูกค้า) เข้าไปจนถึงการวางกลยุทธ์และกระบวนการทำงานต่าง ๆ

ถ้าเทคโนโลยีทำให้เรารู้และเข้าใจในสิ่งที่เรารู้อยู่แล้ว (Open Area) แสดงว่าเรารู้ควรจะต้องทำอย่างไร หรือควบคุมและบริหารความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นมาต่อไปอย่างไร แต่ถ้าเราไม่รู้ ในสิ่งที่คนอื่นรู้ว่ามันเป็นจุดอ่อนของเรา มันจะกลายเป็นจุดบอด (Blind Area) เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มรับรู้ได้แล้ว เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงแก้ไขมัน

แต่ถ้าเรายังไม่รู้ ในสิ่งที่เราไม่รู้อีก (Unknown Area) มันอาจจะทำให้เราพลาดโอกาสอะไรหลาย ๆ อย่างไปก็ได้ และถ้าเกิดตอนนี้เรายังเพิกเฉยต่อเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ กับทุกอย่างในชีวิต ธุรกิจของเรา ก็อาจจะถูกธุรกิจคู่แข่งที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานมา Disrupt และกลืนหายไปเลยก็ได้ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีพวกนี้นี่แหละที่เป็นตัวช่วยชั้นดี ที่จะเข้ามาอุดช่องโหว่เหล่านั้นออกไปได้

เพราะฉะนั้นหากใครต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมหรือต้องการที่ปรึกษาเกี่ยวกับ Tech Stack ทีม The Growth Master ก็ยินดีให้คำปรึกษาด้วยเช่นกัน มาเติบโตแบบพุ่งทะยานไปด้วยกันนะคะ :)


Source : stackshare, medium, medium, bynder, vidyard, imagen


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe