The Growth Master Team
The Growth Master Team ผู้รักในการเรียนรู้ หลงใหลในเทคโนโลยี และแฮปปี้กับการเติบโต
นักเขียน
รีวิว ClickUp เครื่องมือจัดการโปรเจ็กต์ที่ช่วยทำให้ Workflow ในองค์กรทรงพลัง รีวิว ClickUp : สำหรับองค์กรที่ปัจจุบันมีงานเข้ามาเยอะ หลายโปรเจ็กต์ คงเข้าใจกันดีใช่ไหมคะว่าการที่มีงานล้นมือและกระจัดกระจายอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง แพลตฟอร์มนู้นบ้าง โฟลเดอร์นี้บ้าง มันทำให้ชีวิตเรายุ่งเหยิงแค่ไหน ดังนั้นซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมที่จะเข้ามาช่วยจัดการให้ระบบการทำงานเป็นระเบียบมากขึ้นในเวลานี้ก็คงหนีไม่พ้น ClickUp
วันนี้ The Growth Master เลยจะมารีวิวซอฟต์แวร์ ClickUp ที่เรียกว่าเป็น Project Management Software ที่มาแรงที่สุดแห่งยุคนี้ ทั้งใหม่และไฉไลไม่น้อยหน้าซอฟต์แวร์เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตัวก่อน ๆ เลย
เพราะเขาได้รวบรวมทุกข้อดีและฟีเจอร์เด็ด ๆ ซึ่ง ClickUp ถูกพิสูจน์แล้วว่า ดีจริง! เพราะถูกนำไปใช้ในองค์กรระดับโลกอย่าง Google , Nike, Netflix , Airbnb , Uber นอกจากนั้น ClickUp ยังได้รางวัล Best Software 2019 โดย TaskReport และเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมาเพิ่งได้รับเงินทุน 400 ล้านเหรียญจาก Andreessen Horowitz and Tiger Global มาอีกด้วย
สำหรับองค์กรไหนที่อยากปรับ Workflow ของการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น The Growth Master เปิดตัว คอร์สเรียนออนไลน์ ClickUp ซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่มาแรงที่สุดแห่งปี !ใช้งานโปรแกรม ClickUp – Project Management Tool แบบปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญสอนโดย คุณเอิง รัชกร อุณหเลขจิตร ClickUp Expert ที่ได้รับการรับรองจาก ClickUp University คนแรกและคนเดียวในไทย! ในราคาเพียง 6,990 บาทเท่านั้น
สิ่งที่คุณจะได้เรียนในคอร์สนี้ ✅ เข้าใจคอนเซปต์พื้นฐานของ ClickUp ตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ ✅ วิธีการนำฟีเจอร์ของ ClickUp ไปใช้ต่อยอดในการวาง Workflow ที่เข้ากับทีมของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ✅ การพัฒนาระบบการจัดการและบริหารงานในแต่ละโปรเจกต์ผ่านฟีเจอร์บน ClickUp ✅ เทคนิคการใช้งาน ClickUp ในการจัดตารางงานให้องค์กรหรือทีมของคุณ ✅ การใช้งาน Template ต่าง ๆ บน ClickUp ที่จะช่วยร่นระยะเวลาการทำงานของคุณเกี่ยวกับคอร์สเรียนนี้ 💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 6,990 บาท เรียนได้ตลอด 1 ปี 🎁 เนื้อหาจัดเต็ม 7 ชั่วโมง 46 Lessons! สอนแบบเข้าใจง่าย Step By Step มือใหม่ทำตามได้ 🎓 เรียนแบบออนไลน์ 100% องค์กรซื้อครั้งเดียว ให้พนักงานใช้ได้ทั้งองค์กร ✨ แจกเทมเพลตเริ่มต้นการทำงานบน ClickUp ให้ไปใช้ได้ฟรี!! (มูลค่า 10,000 บาท) 💬 ได้สิทธิ์เข้า Facebook Group สำหรับถามคำถาม-ข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในคอร์สเรียนและการใช้งาน ClickUp จริง
สมัครเรียนคอร์สสอนการใช้งาน ClickUp ได้เลยตอนนี้ กดที่นี่ ClickUp คืออะไร? ClickUp คือ Project Management Software ที่เกิดมาจากความคิดที่ว่า ในการทำงานเราใช้หลายแพลตฟอร์มมาก ๆ ซึ่งส่งผลเสียโดยตรงกับเวลาของพวกเรา และการจัดระเบียบภาพรวมของงาน ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่ไอเดียของเจ้าซอฟต์แวร์ ClickUp ที่รวบรวมแพลตฟอร์มในการทำงานทั้งหมด ให้ครบจบในที่เดียว หรือ All Your Work in One Place
เพราะไม่ว่าจะเป็น ลิสต์งาน, ไฟล์เอกสาร, แชท, ปฏิทิน, เป้าหมาย และอีกมากมาย ที่จะทำให้คุณมีเวลาเพิ่มขึ้นถึง 20% ไปทำอย่างอื่น รับรองเลยว่ามนุษย์งานเยอะที่ชอบความเป็นระเบียบทั้งหลาย ต้องตกหลุมรักเจ้าซอฟต์แวร์ตัวนี้อย่างแน่นอน
“Time is more valuable than money. You can get more money but you cannot get more time.” – Jim Rohn *มีโค้ดส่วนลดสำหรับสมัครใช้งานอยู่ที่ด้านล่าง อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
ClickUp ทำอะไรได้บ้าง? ก่อนอื่นเลย ต้องบอกว่า ClickUp ถือว่าเป็น ‘ที่หนึ่งในเรื่องของลูกเล่น’ ที่เยอะมากเหลือเกิน เพราะตัวซอฟต์แวร์จะเน้นการปรับแต่งได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น มุมมอง, การเรียงลำดับ, การใส่รายละเอียดย่อย ๆ และยังสามารถทำได้ครอบคลุมแทบทุกฟีเจอร์ของ Productivity Software ตัวอื่น ๆ อีกด้วย
โดยฟีเจอร์หลัก ๆ ที่เราจะมาพูดถึง เพราะคิดว่าทุกคนต้องได้ใช้แน่นอน ได้แก่
จัดระเบียบงานด้วย Task Management เพิ่ม Column เพื่อเรียงงานตามกลุ่ม เปลี่ยนมุมมองด้วยการ Add view ใช้ Doc และ Embed ทดแทนทุกสิ่งที่ต้องการในออฟฟิศ ClickUp คือ ซอฟต์แวร์จัดระเบียบงานด้วย Task Management เริ่มกันที่ฟีเจอร์แรกที่จะมาจัดระบบให้งานของเราอยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า Space ลองนึกภาพตามนะคะ ในหนึ่งบริษัท ย่อมต้องประกอบไปด้วยแผนกหลายแผนก ซึ่งแต่ละแผนกก็จะมีโปรเจกต์ของตัวเอง และในแต่ละโปรเจกต์ก็จะถูกสับเป็นงานย่อยลงไปอีก
ภาพ Task ClickUp เขาก็เลยเปรียบเทียบให้ Account ของเราเป็นบริษัท จากนั้นก็สร้างพื้นที่ใน Account ให้เป็นแผนก เรียกว่า Space และในแต่ละ Space ถูกซอยให้เล็กลงอีกทีเป็น Folder แทนโปรเจกต์ของแต่ละแผนก ในแต่โปรเจกต์มีงานที่สร้างขึ้นเป็นลิสต์เรียกว่า Task พอจะนึกภาพออกนะคะ
ภาพ Subtask แน่นอนว่าในแต่ละโปรเจกต์หรืองานที่ได้รับมาจะมีรายละเอียดที่ซอยยิบย่อยลงไปอีก ClickUp เลยใส่ Subtask ย่อยจากตัว Task ที่เราสามารถกดเข้าไปดูสิ่งที่ต้องทำในแต่ละงาน
ข้อดีของ Subtask คือ จะมีช่องใส่คำอธิบายรายละเอียดงาน, สามารถสร้างเช็กลิสต์, ใส่สิ่งที่ต้องทำ ถ้าเราติ๊กตรงช่องที่สร้างขึ้นก็จะเป็นการบอกว่าทำรายการนี้เสร็จแล้ว เช็คลิสต์ หรือ Subtask นั้นจะถูกขีดฆ่าแล้วไปโผล่ที่หน้า Task ในรูปเปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าของงาน
ซึ่งฟีเจอร์นี้ทำให้เห็นทั้งภาพใหญ่ ที่แสดงความคืบหน้าว่าสำเร็จไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว และภาพเล็ก ที่บอกว่ามีงานอะไรเหลืออยู่บ้าง เหมือนเป็นตัวกระตุ้นให้คุณอยากรีบ ๆ ทำงาน แล้วมาติ๊กขีดฆ่าว่าเสร็จไปอีกงาน ให้เปอร์เซ็นต์ในหน้า Task เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังภาพด้านล่างนี้
ภาพ Subtask & Checklist แน่นอนว่าทุก ๆ โปรเจกต์และงานย่อย เราสามารถแชร์ให้กับคนอื่นในองค์กร โดย Add เข้าไปที่ตัวงานว่าใครเป็นคนรับผิดชอบ หรือเลือกว่าให้ใครจะสามารถมองเห็นงานนี้ได้บ้าง
ภาพ Progress นอกจากเช็กลิสต์แล้ว ClickUp ยังยกห้องแชทในที่ทำงานมาไว้ในตัวซอฟต์แวร์อีกด้วย ปกติแล้วเวลาเราสื่อสารหรืออัปเดตความคืบหน้าต่าง ๆ ในแชทกลุ่ม พอจะกลับมาย้อนดูก็ค่อนข้างที่จะยาก เพราะในแชทก็คงไม่ได้พูดถึงแค่งาน ๆ เดียวใช่ไหมล่ะคะ
ClickUp เขาเลยยกฟีเจอร์นี้มาใส่ใน Task และ Subtask แต่ละอัน ให้เราได้พูดคุย แปะไฟล์ หรืออัปเดตความคืบหน้าต่าง ๆ โดยไม่ปะปนกับงานอื่น บอกเลยว่า ครบ จบในที่เดียว ตามที่ ClickUp ได้เคลมไว้เลย
ภาพ Comment เพิ่ม Column เพื่อเรียงงานตามกลุ่ม หลังจากที่พูดถึง Subtask ไปแล้ว ตอนนี้ลองถอยออกมาสักนิด กลับมาตรงหน้า Folder ที่รวบรวม Task ทั้งหมดเอาไว้ ตามปกติแล้วเราต้องทั้งจดและจำว่างานนี้ใครเป็นหัวหน้าโปรเจกต์, เดดไลน์วันที่เท่าไหร่, ตอนนี้งานไปถึงไหนแล้ว, ไฟล์งานเก็บไว้ในโฟลเดอร์ไหน และอีกมายมายจนน่าปวดหัว
ภาพ Column จะดีแค่ไหนถ้าเราไม่ต้องจำทั้งหมดนี้ให้รกสมอง แต่ให้ ClickUp เป็นตัวแสดงว่างานนี้มีรายละเอียดอะไรบ้าง โดยเราสามารถใส่รายละเอียดของตัวงานลงไปในส่วน Column ไม่ว่าจะเป็น ผู้รับผิดชอบ, เดดไลน์, สเตตัสงาน, งบประมาณ, ลำดับความสำคัญ, ลิงก์เพิ่มเติม และอื่น ๆ ที่สามารถแอดเพิ่ม หรือเอาออกได้ตามความต้องการ
ซึ่ง Column จะเข้ามามีบทบาทจากการแสดงรายละเอียดข้างต้น และแสดงการจัดเรียงลำดับตามหัวข้อ เช่น เรียงตามลำดับความสำคัญตาม Tag ที่เราติด, เรียงตามเดดไลน์ที่ใกล้ที่สุดไปหาไกลที่, เรียงตามงบประมานจากมากไปน้อย เป็นต้น บอกเลยว่าถ้าเปรียบเทียบกับ Productivity Tools อื่น ๆ ClickUp มีตัวเลือกให้ใส่ตรง Column เยอะมากอย่างน่าพอใจเลยล่ะค่ะ
เปลี่ยนมุมมองด้วยการ Add view ภาพ View อีกหนึ่งสิ่งที่ ClickUp มีความโดดเด่นสุด ๆ เลย คือ View หรือตัวเลือกมุมมองของงาน ที่จะเข้ามาช่วยให้เห็นภาพได้ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น List, Board, Kanban, Calendar, Gantt, Activity, My Map, Box, View โดยแต่ละมุมมองจะมีรายละเอียดดังนี้
มุมมอง List – มีลักษณะในภาพข้างต้น เหมาะกับการดูรายละเอียดทั้งหมดของงานทั้งที่อยู่ในตัว Subtask และช่อง Column มุมมอง Board – ตามหลัก Kanban เพื่อแบ่งชัด ๆ ไปเลยว่าแต่งละงานอยู่ในขั้นตอนไหนKanban คือ หลักการแบ่งงานในระบบให้เป็นหมวดหมู่ตามกระบวนการ หรือขั้นตอนของการงานนั้น หลักการนี้จะช่วยให้เราเห็นสถานะของงานว่าตอนนี้อยู่ตรงไหน อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
ภาพจาก opexlearning มุมมอง Calendar – ไว้ดูเป็นภาพรายเดือนหรือรายอาทิตย์ ทำให้เห็นว่าในช่วงเวลานี้มีงานไหนที่ต้องโฟกัส และในอนาคตเราต้องเปลี่ยนไปโฟกัสที่อะไรมุมมอง Gantt – บอกความเชื่อมโยงแต่ละงาน เป็นการลากจุดเชื่อมว่างานนี้ต่อเนื่องกับงานไหน ทำให้เห็นเส้นทางการทำงานที่ชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอนมากยิ่งขึ้นมุมมอง Activity – เป็นหน้าที่รวบรวมทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน ClickUp ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนสเตตัสงาน, การสร้าง Task ใหม่, การแก้ไขส่วนต่าง ๆ ฯลฯ เอาไว้อัปเดตทุกการเปลี่ยนแปลงให้ทราบทั้งทีมมุมมอง Mind Map – จะเลือกได้ว่าอยากดู Task บน Mind Map ของงานที่เราสร้างไว้โดยมีกิ่งก้านที่แตกออกมาเป็น Subtask หรือกด Blank Mind Map เป็นหน้าโล่ง ๆ ไว้แตกไอเดียภาพจาก Keep-productive มุมมองแบบ Box - ที่เด็ดจนต้องขอยกมาพูดเพิ่มเติม เพราะสามารถแสดง Workload และสถานะเป็นรายบุคคล โดยปกติแล้วหลังจากแจกจ่ายงานไปบางครั้งก็อาจจะไม่ได้เห็นภาพชัดว่า ใครได้งานกองเยอะเป็นภูเขา หรือคนอื่นทำอะไรกันอยู่ Box View จะช่วยบอกว่าแต่ละคนมีงานอะไรในมือบ้าง ตอนนี้งานหนักอยู่ที่คนไหน หรือใครที่สามารถเข้ามาช่วยงานนั้นได้บ้าง เมื่อรู้แล้ว ทีมก็สามารถปรับจำนวนงานให้เกิดความสมดุลมากขึ้นได้ (แต่ฟีเจอร์ Box View ถูกสงวนสิทธิ์ มีให้แค่ผู้ใช้แบบพรีเมียมเท่านั้นนะคะ)ภาพจาก Click ฟีเจอร์ View ทำให้เราเห็นภาพงานทั้งหมดในมุมต่าง ๆ ซึ่งประโยชน์ของการปรับมุมมองยังช่วยทำให้เรารู้ว่ามีส่วนไหนที่อยากเพิ่มเติมหรือโยกย้ายงาน เช่น ดูมุมมอง Calendar แล้วอยากขยับเดดไลน์ที่ตั้งไว้ หรือดูมุมมอง Board แล้วอยากโยกงานที่พร้อมจะทำแล้วจาก To-Do ไปเป็น In Progress เป็นต้น
ใช้ Doc และ Embed ทดแทนทุกสิ่งที่ต้องการในออฟฟิศ จากที่ ClickUp ต้องการเป็นแอปที่รวบรวมทุกแพลตฟอร์มในที่เดียว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในออฟฟิศก็คืองานเอกสาร เวลาเราทำไฟล์งานหรือจดโน้ตต่าง ๆ ทั้งบนกระดาษ, ในโทรศัพท์มือถือ, ในคอมพิวเตอร์ บางทีก็มีหลงลืมบ้างว่าสิ่งที่จดไว้อยู่ตรงไหนจะหากลับมาทีก็ยุ่งยาก
ClickUp เลยมีฟีเจอร์ Doc ที่เหมือนกับยกการผสมกันระหว่าง Google Doc กับแอปพลิเคชัน Notes ใน iPhone ที่เราคุ้นเคยกันดีมาใส่ไว้ให้
ฟีเจอร์ Doc นี้สามารถทำได้ทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานของโปรมแกรมเอกสาร ไม่ว่าจะเป็น การจัดหน้า, ใส่ตาราง, ทำ Bullet Point, Numberic List, ใส่รูป, ไฮไลต์ข้อความ, ทำตัวหนา, ตัวเอียง และที่สำคัญสามารถใส่เช็กลิสต์กับแนบไฟล์ได้อีกด้วย
ภาพ Doc นอกจากนี้ก็ยังมี Embed View ไว้แนบลิงก์ต่าง ๆ เข้ามาใช้งานบนแอป ClickUp ไม่ว่าจะเป็น Google Sheet , Doc, Map, Twitter หรือใครจะอยากฟังเพลงชิลล์ ๆ จาก Spotify หรือ Youtube ก็ได้เช่นกัน และที่สำคัญ ฟีเจอร์ Embed นี้ ใช้งานได้ดีเหมือนบนแพลตฟอร์มของแต่ละตัวเลยด้วย น่าประทับใจมาก ๆ
ภาพ Embed (Google Sheet) รีวิวฟีเจอร์จาก ClickUp ที่ The Growth Master แนะนำ นอกจากฟีเจอร์หลัก ๆ ที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว แวะมาอ่านบทความของเราทั้งที The Growth Master ก็ได้มาคัดฟีเจอร์ที่น่าสนใจสำหรับชาว The Growth Master มากระซิบให้ฟังกันค่ะ
ตั้ง Goal ให้ไกลแล้วไปให้ถึง เก็บงานตรง Task tray แล้วกลับค่อยมาทำ ฟีเจอร์ Dependencies จุดจบสายไปต่อไม่รอละนะ งานยังไม่เสร็จ Incomplete Warning รู้น่า ตั้ง Goal ให้ไกลแล้วไปให้ถึง ฟีเจอร์ Goal คือ ฟีเจอร์บน ClickUp ที่เอาไว้ตั้งเป้าหมายให้กับทีม ใครที่ชอบวาดฝันแล้วไปให้ถึง รับรองว่าถูกใจฟีเจอร์นี้แน่นอน โดยคุณสามารถตั้งเป้า OKRs ได้ ไม่ว่าจะเป็น จำนวนสินค้า, ยอดผู้ใช้, ยอดขาย หรือจะเป็น Checklist ใน Task ที่สร้างไว้
เริ่มต้นที่สร้าง Goal ไว้ แล้วแบ่งออกเป็นงานย่อยที่ต้องทำให้สำเร็จ เช่น ทีมตั้งยอดขายไว้ 100 ล้านบาท เมื่อมียอดขายจากลูกค้าเพิ่มเข้ามาในแต่ละครั้ง เราจะเข้าไปกดเพิ่มจำนวนยอดเงินเรื่อย ๆ จนถึงเป้าที่ตั้งไว้ ซึ่งทุกครั้งที่เราทำได้ถึงเป้าหมาย จะมีพลุจุดให้บนหน้าจอเป็นการฉลองความสำเร็จ ถือเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้คุณเผลอยิ้มออกมาได้อย่างไม่รู้ตัวเลย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
เก็บงานตรง Task tray แล้วค่อยกลับมาทำ Task Tray คือ ฟีเจอร์ที่เก็บงานไว้อยู่ในแถบข้างล่างด้วยการย่อขนาดเอาไว้ แต่ไม่ถึงกับปิดหน้าต่างของงานนั้นไปเลย เหมาะกับคนที่ชอบเปิดเข้าไปดูในหน้าต่างงานบ่อย ๆ หรือคนที่ชอบทำหลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ซึ่งการเปิดปิดหน้าต่างหลายครั้งอาจทำให้หงุดหงิด
แต่การเก็บอยู่ใน Task Tray เหมือนย่อเอาไว้ข้างล่างจะทำให้เปิดเข้ามาใหม่ง่ายขึ้น และยังสามารถกันลืมได้อีกด้วย เผื่อทำงานเสร็จแล้ว จะได้เห็นชัด ๆ ไปเลยว่ามีงานนี้ที่เราเคยเข้าไปดูแล้วย่อเก็บไว้อีก
ภาพจาก ClickUp ฟีเจอร์ Dependencies จุดจบสายไปต่อไม่รอละนะ ฟีเจอร์ Dependencies คือ อีกฟีเจอร์ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะเป็นการใส่ข้อจำกัดในการทำงาน โดยปกติแล้ว หลาย ๆ งานเราต้องทำเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าขั้นแรกไม่เสร็จสมบูรณ์ดีก็จะไม่สามารถไปต่อได้
ในฟีเจอร์นี้จะเอาหลักการนี้มาใช้ด้วยการใส่เงื่อนไขในงานว่า ต้องทำงานแรกเสร็จก่อนจึงจะเริ่มงานถัดไปได้ โดยงานถัดไปจะถูกบล็อกด้วย Waiting Tag ส่วนงานแรกก็จะขึ้นเป็น Blocking Tag เมื่อไหร่ที่ทำงานแรกสำเร็จ ติ๊ก Complete เรียบร้อยแล้ว Tag ทั้งสองอันนี้จึงจะหายไป
ภาพจาก ClickUp ขอยกตัวอย่างว่าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ทีม คือ ทีมวางแผนกับทีมดีไซน์ โดยที่งานแรกคือ ‘การวางแผน’ (เราจะติด Blocking Tag ไว้) ส่วนงานถัดมาคือ ‘ดีไซน์’ (เราจะติด Waiting Tag) หลักการทำงานของฟีเจอร์ Dependencies คือ ถ้าหากว่าฝ่ายวางแผนยังทำงานไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ฝ่ายดีไซน์ก็ไม่สามารถเริ่มงานได้ เพราะถูกบล็อคด้วยฟีเจอร์ Dependencies นั่นเอง
หากลองมองในแง่ดี ฟีเจอร์นี้สามารถช่วยกระตุ้นคนในทีมให้รีบทำงานได้ เพราะเพื่อนที่รับงานต่อจะไม่สามารถเริ่มงานได้เลย ถ้างานก่อนหน้ายังไม่เสร็จ (แอบเป็นการกดดันกันเบา ๆ)
ยังไม่เสร็จ Incomplete Warning รู้นะ Incomplete Warning คือ อีกหนึ่งฟีเจอร์น่าสนใจ เพราะจะเด้งขึ้นมาเตือนถ้าเราโมเมกด Complete Task ในกรณีที่ Task นั้นยังมี Subtask หรือ Checklist ข้างในที่ยังเคลียร์ให้สมบูรณ์ไม่ครบ เมื่อเรากด Complete Task ใหญ่ก็จะมีการแจ้งเตือน Incomplete Warning ขึ้นมาว่าเรายังทำงานย่อยไม่เสร็จหมด เหมือนเป็นการเตือนนัย ๆ ว่าเราได้ข้ามอะไรไปนะ
ซึ่งข้อดีของฟีเจอร์นี้ คือ จะช่วยป้องกันการมองข้ามหรือการหลงลืมงานย่อยที่อาจจะกระทบงานหลักได้ ถ้ายังไม่เสร็จดี
ภาพ Incomplete Warning นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ล้ำ ๆ ที่กำลังจะมีมาให้ใช้ อย่างเช่น Screen Record เอาไว้อัดหน้าจอสอนคนในทีมทำสิ่งต่าง ๆ, การดูงานในมุมมองแบบ Location ไว้ดูงานที่กระจายกันหลายพื้นที่ตามตำแหน่งขององค์กร หรือจะเป็นฟีเจอร์ออกแบบ 3D สำหรับ Designer
ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้ได้รวมอยู่ใน ClickUp ซอฟต์แวร์เดียว ซึ่งต้องยอมรับเลยว่า ClickUp ทำออกมาได้ดีมาก และยังนับว่าเป็นเจ้าที่ใจดีสุด ๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้ใช้ฟีเจอร์แทบจะทั้งหมด, การไม่จำกัดจำนวน Task และผู้ใช้งานในองค์กร รวมถึงให้พื้นที่จัดเก็บถึง 100 MB ClickUp ให้เราใช้ฟรีตลอดชีพ! ไม่เสียค่าบริการแม้แต่บาทเดียว
ยกเว้นซะแต่ว่า คุณจะอดใจไม่ไหวอยากอัปเกรดแพ็กเกจ เพื่อเพิ่มฟีเจอร์ล้ำ ๆ หรือสิทธิพิเศษที่ดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะการอัปเกรดทำได้ ในราคาเพียงแค่ 5 เหรียญต่อเดือนเท่านั้น
ถ้าสนใจรายละเอียดการอัปเกรดแพ็กเกจเพิ่มเติมก็สามารถกดเข้าไปดูได้ที่นี่ เลยค่ะ
สรุปสั้น ๆ เกี่ยวกับ ClickUp นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากฟีเจอร์นับร้อยของ ClickUp เท่านั้น
หากใครกำลังมองหาแอปที่ช่วยให้ชีวิตการทำงานที่ยุ่งเหยิงของคุณเป็นระเบียบมากขึ้น ให้ครบ จบในที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ ประสานงานจากหลายทีม หรือองค์กรในขนาดเล็ก ClickUp คือหนึ่งในคำตอบที่คุณไม่ควรมองข้ามเลยแหละ เพราะเขาเป็น One Stop Service ที่มีทุกสิ่งที่คุณต้องการ ทำให้คุณมีเวลาเหลือไปทำอย่างอื่นที่สำคัญต่อไป
ซึ่งในช่วงเริ่มแรกอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย เพื่อทำความรู้จักกับฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่อัดแน่นภายในแอป แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อไหร่ที่เริ่มใช้คล่องแล้ว คุณอาจจะติดลม เพราะสนุกไปกับการวางแผนงานที่ปรับแต่งทุกอย่างตามใจก็เป็นได้
หรือต้องการให้ The Growth Master ช่วยเหลือด้านการปรับปรุง Workflow ของ ClickUp สามารถดูรายละเอียดบริการได้ ที่นี่
ความพิเศษของ ClickUp ยังไม่หมดแค่นี้ หากใครสนใจ สามารถไปติดตามฟีเจอร์อัปเดตใหม่ปัง ๆ ได้ที่ รวม 5 ฟีเจอร์น่าสนใจของ ClickUp สู่ปี 2022
ClickUp สามารถใช้ทั้งบนเว็บเบราว์เซอร์ หรือโหลดโปรแกรมมาที่หน้าเดสก์ท็อปและโทรศัพท์ (ส่วนตัวคิดว่าการใช้งานบนโทรศัพท์ รูปแบบที่ง่าย คือ ใช้หน้าจอแบบแนวนอนเพราะฟีเจอร์เขาาเยอะจนแทบจะล้นหน้าจอขนาดนั้น)
สำหรับใครที่สนใจอยากนำ ClickUp ไปใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของทีม แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทาง The Growth Master ก็ยินดีให้คำปรึกษาและวางแผนการใช้งานที่เหมาะสมที่สุดกับทีมของคุณ โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพียงแค่คลิกที่รูปด้านล่างได้เลย
ช่องทางอัปเดตรีวิวซอฟต์แวร์กับ The Growth Master ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master ’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น
และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่
สามารถให้กำลังใจพวกเราได้ผ่านการกดไลก์ กดแชร์ และกดติดตาม รวมไปถึงการสมัครใช้งานผ่านลิงก์ด้านบน โดย The Growth Master จะได้รับค่าแนะนำจากซอฟต์แวร์บางตัวเท่านั้นเมื่อมีการกดสมัครใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ