ในช่วงที่ผ่านมา ชาวออฟฟิศหลายคนอาจจะมีประสบการณ์ Work From Home กันมากขึ้น เพราะอย่างที่เรารู้กันดีว่าในบ้านของเรากำลังเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างหนัก หลายองค์กรจึงเลือกให้พนักงานกลับไปทำงานจากที่บ้านแทน และมีการใช้ตัวช่วยอย่าง Project Management Software ในการทำงานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
จะเห็นได้จากผลสำรวจของ Grand View Research พบว่าตลาดของ Productivity Management Software ทั่วโลกในปี 2021 มีมูลค่าอยู่ที่ 47,330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2028 ตลาดของ Productivity Management Software จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 119,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือมี Growth Rate เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอีก 14.2% ด้วยกัน
และหนึ่งใน Project Management Software ที่มีการเติบโตอย่างมากก็คือ ClickUp ซึ่งเจ้าซอฟต์แวร์ตัวนี้ สำหรับ The Growth Master เรียกว่าเป็นสุดยอดซอฟต์แวร์เจ้าระเบียบในด้านการจัดการภาระงาน ทำให้กระบวนการทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังใช้งานง่ายอีกด้วย
ในบทความนี้เราจึงอยากจะพาทุกคนไปย้อนรอยดูการเติบโตของเจ้า ClickUp ซอฟต์แวร์ที่มีความเด่นในด้าน Task Management ว่ามีการเติบโตอย่างไร ใช้กลยุทธ์อะไรบ้าง? ถึงได้ครองใจบริษัทต่าง ๆ และขึ้นแท่นเป็นยูนิคอร์นได้อีกหนึ่งตัว ไปติดตามกันต่อได้เลย
ClickUp คืออะไร? ทำความรู้จักซอฟต์แวร์ที่ทำให้การทำงานของคุณดีขึ้นกว่าที่เคย
“All Your Work in One Place”
ClickUp คือ ซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของระบบการจัดการงานให้มีระเบียบมากขึ้น โดยรวบรวมแพลตฟอร์มในการทำงานด้านต่าง ๆ ไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร, ลิงก์, รูปภาพ, ปฏิทิน ทำให้เราประหยัดเวลาในการทำงานได้เพิ่มขึ้น 20% (เหมือนทำงาน 5 วัน ก็เหลือเพียง 4 วันเท่านั้น!)
ที่สำคัญ เรายังสามารถต่อ Integration กับซอฟต์แวร์การทำงานอื่น ๆ ได้มากกว่า 1,000+ ซอฟต์แวร์ เช่น Slack, Figma, Google Drive, Miro, Discord, Zapier ทำให้การทำงานโปรเจ็กต์ต่าง ๆ ของทีมดำเนินต่อไปได้ด้วยความลื่นไหลมากขึ้นอีกด้วย
ClickUp ถูกก่อตั้งขึ้น เมื่อปี 2017 โดย Zeb Evans ซึ่งเขาถูกอธิบายว่าเป็น Serial Entrepreneur หรือผู้ประกอบการที่สร้างธุรกิจมากกว่าหนึ่งธุรกิจภายใต้แบรนด์ ๆ เดียว และเนื่องจากการที่เขาเป็นผู้ประกอบการทำให้เขากลายเป็น Big Fan ของ Project Management Software และเขาก็มีการใช้เครื่องมือหลายตัว นั่นจึงกลายเป็นปัญหาสำหรับเขาเป็นอย่างมาก
การใช้เครื่องมือหลาย ๆ ตัว มันทำให้ทีมของเขาเผชิญกับปัญหาความล่าช้าในการทำงาน เพราะต้องสลับเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มการทำงานไปมาระหว่างกันอยู่บ่อยครั้ง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดการทำงานแบบ Silo ที่แยกออกจากกัน เขาไม่สามารถจัดการงานให้มารวมกันอยู่บนที่เดียวได้ และประสิทธิภาพการทำงานของทีมลดลงด้วย
เขาจึงปิ๊งไอเดียสร้าง ClickUp ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้น โดยที่มี Solution แบบครบวงจรเลย ที่ทำให้องค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ สามารถแชท, ทำงานร่วมกัน, แชร์ไฟล์, ติดตามภาระงานต่าง ๆ, ตั้งระบบเตือนความจำ และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อทำให้พนักงานทุกคนมีข้อมูลชุดเดียวกัน และเห็นภาพรวมการทำงานเป็นภาพเดียวกัน
รวมถึงถ้าเกิดว่าองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงขนาดโดยขยายใหญ่ขึ้น มีบริการเพิ่มขึ้นมากมาย ก็สามารถปรับการทำงานได้ง่ายเลย เพราะมีระบบ Management ที่ดี แตกต่างจาก Project Management Software Software ตัวอื่น ๆ ที่ขยายการทำงานได้ยากกว่า
“With ClickUp, it is extremely flexible and customizable, and we have all of those [productivity] tools in one product.” – Zeb Evans, Founder and CEO
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- ClickUp แอปที่ช่วยจัดระเบียบการทำงานให้คุณมีเวลาเพิ่มขึ้นอีก 20%
- ทำไม ClickUp ถึงเหมาะเป็นตัวช่วยในการ Work From Home ในองค์กรของคุณ
ตัวเลขการเติบโตที่น่าทึ่งของ ClickUp จนกลายเป็นยูนิคอร์นภายใน 3 ปี
การเติบโตของ ClickUp ที่นำทัพโดย Zeb Evans เรียกได้ว่าสุดแสนจะอินดี้ นอกกรอบ และมีวิธีการที่แตกต่างจากคู่แข่งเจ้าอื่นไปบ้าง แต่ก็ทำให้ ClickUp เติบโตแบบพุ่งทะยานได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว ที่เรากล่าวแบบนั้นก็เพราะว่าในตอนแรกเริ่มที่ Zeb Evans ก่อตั้ง ClickUp ขึ้นมา เขาตั้งใจและยืนกรานว่า เขาจะไม่พึ่งพาเงินทุนภายนอกเลย แม้แต่เหรียญเดียว เพราะเขาต้องการ...
- โฟกัสที่การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เงิน
- ตัดสินใจทำทุกอย่างเอง ก้าวเดินตามจังหวะของตัวเอง ไม่อยากขึ้นอยู่กับใคร
- สร้างผลิตภัณฑ์สำหรับทุกคนและทุกธุรกิจแบบวงกว้าง (ไม่ใช่สร้างเพื่อให้ VC มาลงทุน)
- การเติบโตแบบยั่งยืน ไม่ทำตามหลายบริษัทที่เผาผลาญเงินในการทำการตลาดไปอย่างไม่รู้จบ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน ClickUp ได้มีการระดมทุนเกิดขึ้นแล้ว แต่นั่นก็ไม่ใช่เพราะว่า CEO ทำไม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก กลับกัน ClickUp ได้บรรลุเป้าหมายทั้ง 4 ข้อข้างต้นแล้วต่างหาก ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปอีก และสามารถเป็นผู้ชนะในการบุกตลาดอุตสาหกรรม Project Management Software ที่ไม่เคยมีใครกล้าแตะต้องมาก่อน ClickUp จึงเปิดโอกาสให้ VC เข้ามาลงทุนในบริษัทของเขา
การระดมทุนในรอบแรก Series A เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2020 ด้วยมูลค่า 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำโดย Craft Ventures และ Georgian Partners ซึ่ง ClickUp ตั้งใจนำเงินก้อนนี้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นไปอีก
การระดมทุนในรอบล่าสุดก็เกิดขึ้นมาติด ๆ ในปีเดียวกัน คือรอบ Series B เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 ด้วยจำนวนเงินอีก 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำโดยบริษัทจากแคนาดา Georgian และ Craft Ventures ส่งผลให้ ClickUp กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าแตะ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (มีสถานะกลายเป็นยูนิคอร์นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว) ด้วยระยะเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น นับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2017
นอกจากนั้น ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ผ่านมา จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ทั่วโลกที่ทำให้หลายบริษัทมีนโยบาย Work From Home มากขึ้น หรือแม้แต่ในองค์กรระดับโลกอย่าง Facebook, Dropbox, Salesforce, Spotify ที่มีการปรับรูปแบบการทำงานในองค์กรให้พนักงาน Remote Working ได้อย่างอิสระมากขึ้น ส่งผลให้การใช้งาน Project Management Software มีความต้องการสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่ง ClickUp ก็ได้ผลลัพธ์เชิงบวกจากเหตุการณ์นี้ด้วยเหมือนกัน
ข้อมูลจาก Getlatka บอกเราว่า ClickUp สร้างรายได้ทั้งหมด 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากจำนวนผู้ใช้งานแบบชำระเงินมากกว่า 3 แสนคน (จากจำนวนผู้ใช้งานรวมทั้งหมดกว่า 1 ล้านคน) ในปี 2020 ซึ่งตัวเลขนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นที่น่าพอใจแล้วสำหรับบริษัทที่มีอายุเพียงแค่ 3 ปีเท่านั้น
แต่ยังไม่หมดเพียงเท่านั้น จากรายงานของ Techcrunch ยังทำให้เราเห็นอีกว่าในปี 2021 นี้ ClickUp มีการเติบโตอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพื่อพิสูจน์ศักยภาพของยูนิคอร์นตัวใหม่ ClickUp มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างถล่มทลายอีกเท่าตัวนึง จนกระทั่งในปัจจุบันมีผู้ใช้งานรวมกว่า 2 ล้านคน และมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 9 เท่า นับตั้งแต่ต้นปี 2021 อีกด้วย (ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการใช้ซอฟต์แวร์ในช่วงการ Work From Home และสถานะยูนิคอร์นที่ทำให้คนรู้จักมากขึ้น)
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
ไขกลยุทธ์การเติบโตของ ClickUp ที่ใช้ฝ่าฟันในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงอันดับต้น ๆ ของโลก
คุณสงสัยไหมว่า ClickUp ก่อตั้งมาแค่ 4 ปี (2017-2021) และอยู่ในอุตสาหกรรมที่เรียกได้ว่ามีการแข่งขันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกในปัจจุบัน แต่ทำไม ClickUp ถึงกลายเป็น “ยูนิคอร์น” สถานะที่สตาร์ทอัปหลายธุรกิจต่างใฝ่ฝันที่จะไปถึงจุดนั้นได้รวดเร็วขนาดนี้? ไปหาคำตอบกันเลย
1. สร้างการเติบโตที่รวดเร็วและยั่งยืนจาก Natural Product-Market Fit
สำหรับใครที่ยังไม่รู้จัก Product-Market Fit เราขออธิบายแบบง่าย ๆ ว่ามันคือ จุดที่ธุรกิจมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมาก ๆ ต่อผู้ใช้งาน และอยู่ในตลาดที่ใหญ่มากพอที่จะสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดได้ ซึ่งมันเป็นกุญแจสำคัญมากอีกดอกหนึ่งสำหรับวงการสตาร์ทอัป
ในมุมของ Zeb Evans หรือ CEO ของ ClickUp บอกว่า Product-Market Fit มี 2 แบบด้วยกัน คือ Natural Product-Market Fit หมายถึง การเติบโตที่นำผลิตภัณฑ์มารวมกับความนิยมหรือความต้องการของตลาด และใช้วิธีการทางการตลาดแบบ Organic (วิธีเติบโตแบบธรรมชาติ ไม่ทุ่มเงินไปกับการตลาด)
ส่วนอีกแบบหนึ่งคือ Artificial Product-Market Fit ซึ่งเป็นเส้นทางยอดนิยมมากสำหรับสตาร์ทอัปทั่วไป เพราะสามารถทำเงินได้มากมาย สร้าง PR ได้เพียงชั่วข้ามคืน และสามารถกินส่วนแบ่งการตลาดจากการซื้อของผู้ใช้อย่างแท้จริง และจริงอยู่ที่การเติบโตแบบนี้จะสามารถดึงดูด Venture Capital (VC) ได้เป็นอย่างดี แต่ส่วนใหญ่จุดประสงค์ก็เพื่อนำเงินไปทำการขายและการตลาด ไม่ใช่การนำเงินไปพัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้ดีกว่าเดิม
แต่ ClickUp เลือกที่จะใช้กลยุทธ์แบบ Natural Product-Market Fit ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้ใช้งานรักจริง ๆ มากกว่าที่จะทุ่มเงินด้านการตลาดตั้งแต่แรกเริ่มธุรกิจ ถ้าผลิตภัณฑ์ยังไม่ดีพอ ลงทุนทำการตลาดไปก็ไม่ยั่งยืนอยู่ดี เพราะผู้ใช้จะรู้สึกว่าผลิตภัณฑ์ยังไม่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาได้นั่นเอง
จากการใช้วิธีนี้ก็ทำให้ ClickUp ไปสู่จุด Product-Market Fit เติบโตได้รวดเร็วกว่าคู่แข่งในตลาดจริง ๆ แถมไม่ต้องทุ่มเทเงินหลายล้านดอลลาร์ไปกับแคมเปญโฆษณาและทีมขายไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย
แล้วถ้าถามว่าความลับของการทำ Natural Product-Market Fit ที่ ClickUp ใช้คืออะไร?
คำตอบแรกคือ ClickUp เริ่มต้นด้วยการทำงานจากสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ การรับฟังเสียงของผู้ใช้งานตัวจริง เพราะความเห็นของผู้ใช้งานจะทำให้เขามีผลิตภัณฑ์ที่ตรงใจกับผู้ใช้จนสามารถครองตลาดได้ในที่สุด (จะอธิบายแบบเต็ม ๆ ในหัวข้อถัดไป)
แม้ว่าการเติบโตแบบ Organic จะเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างใช้เวลา ความอดทนสูง และความสม่ำเสมอ แต่ ClickUp ก็สามารถทำได้ดี และดึงดูดผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามาได้อย่างต่อเนื่อง
อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
- Product Market Fit ตอนที่ 1: จุดที่ทุกสตาร์ทอัพต้องไปให้ถึง
- Product Market Fit ตอนที่ 2: จะรู้ได้อย่างไรว่าถึง Product Market Fit แล้ว
- Product Market Fit ตอนที่ 3: ทำอย่างไรไปให้ถึง $100 ล้าน
2. เติบโตไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องด้วย Feedback ของผู้ใช้งานจริง
ผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกของ ClickUp ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขาไม่เพียงแต่มีความภักดีและหลงใหลในผลิตภัณฑ์ของ ClickUp มากที่สุดเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญมาก ๆ ที่จะบอกคุณว่าอะไรดี/ไม่ดี อะไรที่ควรแก้ไข หรือบอกต่อให้คนอื่นมาใช้งานเพิ่มขึ้น
จาก Pain Point ของผู้ใช้งานที่ไม่อยากใช้หลาย ๆ เครื่องมือในการทำงาน ClickUp ก็เก็บรวบรวมมาเพื่อพัฒนาให้ทุกอย่างมาอยู่รวมบน ClickUp ทำให้ทีมทำงานร่วมกันได้เลยบนแพลตฟอร์มโดยที่ไม่ต้องออกไปใช้โปรแกรมตัวอื่น อีกทั้งการทำให้เชื่อมต่อ Integration กับซอฟต์แวร์อื่น ๆได้
ดังนั้น ClickUp จึงมีปฏิสัมพันธ์ สร้างช่องทางการติดต่อ มีการสื่อสารที่ดีกับผู้ใช้งานอยู่เสมอ เพื่อที่จะทำให้ทีมงานได้ Feedback มาจากพวกเขาโดยตรง ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ ClickUp เข้าใกล้กับคำว่า Natural Product-Market Fit ได้ง่ายกว่าเดิม
เคล็ดลับในการเข้าถึงและเอาชนะใจผู้ใช้งานทั่วไปของ ClickUp
ในการเข้าถึงผู้ใช้งานของ ClickUp เพื่อที่จะได้ Feedback และเอาชนะใจพวกเขาได้ จะประกอบไปด้วย
- สร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ เพราะคอนเทนต์นี่แหละที่จะทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจถึงการทำงานของ ClickUp ได้ง่าย และสามารถตอบคำถามพวกเขาได้ ในยามที่พบเจอปัญหาระหว่างการใช้งาน โดยที่ไม่ต้องติดต่อทีมงาน ClickUp มาโดยตรงเพื่อถามคำถามก็ได้ ซึ่งจากการที่ ClickUp ได้สร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์กับผู้ใช้งาน ทำให้ ClickUp สามารถสร้างรายได้กว่า 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนอีกด้วย จากการที่มีผู้ใช้งานหลายคนอ่านคอนเทนต์แล้วสนใจในผลิตภัณฑ์
- การทำ SEO – มีคอนเทนต์แล้วก็ต้องมีการทำ SEO เพราะมันจะทำให้ผู้ใช้หาคอนเทนต์ของ ClickUp ได้ง่าย ซึ่งข้อดีอีกอย่างหนึ่งถ้าเกิดว่าผู้ใช้งานคนไหนที่ไม่ได้ใช้งาน ClickUp แต่ได้มาอ่านคอนเทนต์จาก SEO ก็สามารถกระตุ้นให้พวกเขาใช้งานเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง (เหมือนกับที่กล่าวไปในข้างบน)
- สร้างกลุ่มหรือ Community เก็บ Feedback – เช่น ใช้การทำ Survey, Email, Facebook Groupss หรือแม้แต่ใน Quora, Reddit ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่คนทั่วโลกนิยมใช้ในการถาม-ตอบสิ่งต่าง ๆ ถ้าเกิดว่าผู้ใช้งานคนใดที่เข้าไปบอกเล่าหรือแสดงความเห็นบนแพลตฟอร์มนั้น ๆ ก็ทำให้ ClickUp รู้ว่าผู้ใช้กำลังรู้สึกอะไรอยู่ บวกกับการเข้าไปตอบคำถามก็แสดงให้เห็นว่าทีม ClickUp ใส่ใจผู้ใช้งาน ทำให้มี Community ที่แข็งแกร่ง
- มี Customer Service ตลอด 24/7 – ถึงแม้ว่าทีม Customer Service ของ ClickUp จะเป็นทีมเล็ก ๆ แต่ทีมนี้ก็ทำงานตลอด 365 วัน เพื่อที่จะคอยตอบคำถาม รอช่วยเหลือผู้ใช้งานที่ติดปัญหาแบบเรียลไทม์ ตลอด 24 ชั่วโมง
เพราะฉะนั้นแล้ว การเก็บ Feedback เป็นสิ่งที่มีค่ามากไม่ใช่เฉพาะ ClickUp เท่านั้น แต่ทุกธุรกิจเลยก็ว่าได้ และที่สำคัญการรับฟังผู้ใช้ทำให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ตรงใจลูกค้ามากขึ้น และยังสร้างความไว้ใจให้กับตัวธุรกิจเองได้อีกด้วย
3. ผลิตภัณฑ์แบบ Freemium และการให้ความคุ้มค่าแก่ผู้ใช้มากกว่าราคาที่จ่ายไป
ClickUp เป็นผลิตภัณฑ์แบบ Freemium กล่าวคือ คุณสามารถใช้งานได้ฟรี แต่ถ้าอยากใช้ฟีเจอร์หรืออยากได้ความสามารถของซอฟต์แวร์ที่เจ๋งกว่าเดิม ก็ต้องยอมจ่ายเงินอัปเกรดเพื่อแลกมันมา ซึ่งการใช้งานแบบฟรีของ ClickUp ก็ถือว่าไม่ได้ธรรมดาไก่กาทั่วไป เพราะถึงแม้ว่าจะให้พื้นที่การใช้งานที่มีความจุเพียงแค่ 100 MB แต่ก็สามารถสร้างจำนวน Task และมีสมาชิกได้แบบ Unlimited เลย
สำหรับใครที่อยากอัปเกรดมาใช้งานแบบเสียเงินกับ ClickUp ก็ยังถือว่ามีความคุ้มค่ามาก ๆ อยู่ดี เพราะถ้าเทียบกันในตลาด Project Management Software แล้ว ClickUp ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ที่มีราคาถูกมาก ๆ
ตัวอย่างเช่น สำหรับแพ็กเกจแบบ Unlimited ถ้าสมัครเป็นรายปีต่อเดือนเริ่มต้นที่ 5 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนเท่านั้น (ประมาณ 165 บาท) แต่ขอบอกเลยว่าการใช้งานคุ้มค่าเกินราคาแน่นอน เพราะใช้งานได้แบบ Unlimited ทั้งพื้นที่การใช้งาน, การสร้าง Task, จำนวน Dashboard, Integration และใช้งานลูกเล่นอื่น ๆ อีกมากมาย (สามารถดูราคาของ ClickUp เพิ่มเติมได้ ที่นี่)
ซึ่งจากการที่ ClickUp มีรูปแบบโมเดลธุรกิจแบบนี้ อีกทั้งด้วยการมีราคาถูกกว่าซอฟต์แวร์ตัวอื่นในตลาด และให้ความคุ้มค่าแก่ผู้ใช้งานอย่างแท้จริง ทำให้เราไม่แปลกใจเลยที่ ClickUp จะสามารถกินส่วนแบ่งตลาด Project Management Software และเติบโตได้อย่างรวดเร็วมาก จนกลายเป็นบริษัทที่มีสถานะเป็นยูนิคอร์นแบบนี้ไปแล้ว
🎟 Promo Code: WNTT2020
สำหรับคนพิเศษของ The Growth Master เมื่อคุณสมัครสมาชิกในแพ็กเกจ Unlimited หรือ Business Plan โดยคลิกผ่านลิงก์นี้ หรือกรอก Promo Code WNTT2020 คุณจะได้รับส่วนลด 15% ทันที (ต้องเป็นผู้ใช้ที่ขยับมาใช้ Paid Plan ครั้งแรกเท่านั้นนะคะ)
ซึ่ง ClickUp สามารถใช้ทั้งบนเว็บบราวเซอร์ หรือโหลดโปรแกรมมาที่หน้า Desktop และโทรศัพท์ (สำหรับ The Growth Master คิดว่ารูปแบบที่ง่ายในการใช้งานบนโทรศัพท์ คือ ใช้หน้าจอแบบแนวนอน เพราะฟีเจอร์ของ ClickUp เยอะจนแทบจะล้นหน้าจริง ๆ)
4. ทดลองทำซ้ำ ๆ จนกว่าจะเจอสิ่งที่ใช่ และส่งออกอย่างรวดเร็ว
ClickUp ขึ้นชื่อว่าเป็น Project Management Software ที่มีลูกเล่นเยอะมากเป็นที่หนึ่งเลย (เชื่อว่าหลายคนที่กำลังใช้งานเจ้าตัว ClickUp อยู่ก็ยังใช้ฟีเจอร์ไม่ครบทั้งหมดแน่นอน)
ในปี 2020 ล่าสุด ClickUp ก็ได้มีการทดลองพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ ๆ แล้วปล่อยออกมาอย่างสม่ำเสมอ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ClickUp ได้ปล่อยฟีเจอร์ออกมามากกว่า 230 ฟีเจอร์ด้วยกัน (เชื่อหรือยังว่าเยอะจริง) ซึ่งกลยุทธ์การปล่อยฟีเจอร์เหล่านั้นเป็นการปล่อยออกมาตามคำขอของผู้ใช้งาน และแก้ไขบัคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวซอฟต์แวร์ นี่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์เด่นที่ทำให้ผู้ใช้หลาย ๆ คนถูกใจ ClickUp มาก จนไม่เปลี่ยนใจไปไหน แถมยังบอกต่อให้กับคนอื่น ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจตั้งคำถามว่า “ทำไม ClickUp สามารถปล่อยฟีเจอร์ออกมาได้เยอะขนาดนั้น แล้วจริง ๆ ฟีเจอร์เหล่านั้นมันสมบูรณ์แบบแล้วหรือยัง?” ClickUp ก็ตอบอย่างเต็มปากว่า “มันก็ไม่ได้สมบูรณ์ที่สุดหรอก” แต่เขาก็ยอมที่จะเลือกเห็นความก้าวหน้ามากกว่าความสมบูรณ์แบบ
What matters most is progress over perfection. It’s one of our core values at ClickUp.
เพราะ ClickUp มีความเชื่อว่า ถ้าสามารถพัฒนาฟีเจอร์แล้วส่งออกมาให้ผู้ใช้งานลองใช้ได้อย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้พวกเขาเห็นชัดเจนขึ้นว่าควรที่จะต้องปรับปรุงฟีเจอร์นั้น ๆ ที่ตรงไหน พอฟีเจอร์เหล่านั้นมีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะยิ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ของเขาเข้าใกล้ความสมบูรณ์แบบรวดเร็วมากขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าคู่แข่งอีกด้วย (Product-Market Fit)
ใน 1 ปี มี 52 สัปดาห์ ClickUp ทำการอัปเดตผลิตภัณฑ์ไปกว่า 48 สัปดาห์ด้วยกันภายในปี 2020 ปีเดียว ซึ่งมันทำให้เราเห็นว่า เขามีความใส่ใจในตัวผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง ในอีกทางหนึ่งมันก็เป็นการเรียกความเชื่อมั่นจากผู้ใช้งานได้ว่า ClickUp ตั้งใจที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอด้วยความตั้งใจจริง และทำให้ผู้ใช้งานสัมผัสได้ถึงคุณค่าจากผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง
ใหม่! บริการ ClickUp Consulting Service
สำหรับองค์กรไหนที่อยากทดลองใช้งาน ClickUp หรืออยากได้ที่ปรึกษาการใช้งาน The Growth Master ก็ยินดีมาก ๆ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทุกองค์กรมีการทำงานที่ดีขึ้นเหมือนกับเรา
เพราะ The Growth Master จะเป็นผู้ช่วยให้คุณในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง และสอนการใช้งาน Clickup ให้บริษัทของคุณ โดยสร้างเป็น Workflow ภายใต้กระบวนการทำงานแบบ Agile ระบบ Automation และ Integration ต่าง ๆ
โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ให้คุณประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเองเมื่อใช้งานจริง เปลี่ยนองค์กรคุณให้มีประสิทธิภาพในการทำงานภายในไม่กี่ขั้นตอน สำหรับใครที่สนใจ คุณสามารถกดที่รูปด้านล่าง เพื่อทดลองสมัครใช้บริการนี้ได้เลย!
สรุปทั้งหมด
ClickUp ถือว่าเป็น Project Management Software ที่ดีมาก ๆ อีกตัวนึง (The Growth Master ขอยืนยันเพราะว่าเราก็ใช้งานซอฟต์แวร์ตัวนี้อยู่จริง) และจากสิ่งที่ ClickUp ทำทั้งหมด เช่น คอยพัฒนาปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพดีอย่างสม่ำเสมอ, ลูกเล่นเยอะ, รับฟังผู้ใช้งาน, ความใส่ใจที่มีต่อการ Support ผู้ใช้งาน ทั้งหมดนี้มันหล่อหลอมให้ ClickUp เติบโตมาเป็นอย่างดี และเหมาะสมควรค่ากับสถานะยูนิคอร์นที่ได้รับมาแล้ว
ดังนั้น ClickUp ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่น่าเอาเยี่ยงอย่างอีกหนึ่งแห่ง เพียงในระยะเวลา 4 ปี ยังสามารถเติบโตได้ขนาดนี้แล้วต่อไปก็จะสร้างความทึ่งอะไรให้เราให้เห็นอีกก็ได้ แต่เราก็ต้องมาจับตาดูกันต่อไปว่า เขาจะเติบโตไปในทิศทางใด แล้วจะมีผู้เล่นเจ้าไหนที่สามารถมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของเขาได้อีกหรือไม่ เพราะการทำงานแบบ Remote Working ก็เริ่มเป็นที่นิยมขององค์กรทั่วโลก และความต้องการของซอฟต์แวร์ประเภทนี้ก็เพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน