Technology

ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว! ทำไม ClickUp ถึงเหมาะเป็นตัวช่วยในการ Work From Home ในองค์กรของคุณ

ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว! ทำไม ClickUp ถึงเหมาะเป็นตัวช่วยในการ Work From Home ในองค์กรของคุณ
Light
Dark
Cartoon Tanaporn
Cartoon Tanaporn

มนุษย์เป็ดเขียนคอนเทนต์ ชอบเขียนมากกว่าพูด เสพติดการมองพระจันทร์เป็นชีวิตจิตใจ และหลงใหลในช่วงเวลา Magic Hour ของทุกวัน

นักเขียน
อีกครั้งแล้วสินะที่ทีมเราต้อง Work From Home...

ช่วงนี้การทำงานของทุกคนเป็นอย่างไรกันบ้างคะ? เมื่อเราต้องกลับมาสู่ยุคแห่งการ Work From Home อีกครั้ง เพราะเนื่องด้วยในช่วงนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อ Covid-19 ในประเทศไทยที่สามารถทำยอด New High เพิ่มขึ้นเกือบทุกวัน และไม่มีวี่แววจะลดลงสักนิดเดียวเลย

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ทุกบริษัทในบ้านเรา (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ) ต้องมีนโยบายให้พนักงานทุกคนกลับไป Work From Home อย่างไม่มีกำหนด (ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ยาวกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำไป) เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด Covid-19 ของพนักงานในองค์กรลง 

จากบทเรียนหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา หลายบริษัทอาจจะปรับตัวเข้ากับ Remote Working ได้ดีแล้ว ด้วยการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยลดอุปสรรคในกระบวนการทำงานให้ลดลง หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมมีการทำงานที่ไม่สะดุด ไหลลื่นดีมากขึ้น แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ยังไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการทำงาน Work From Home แบบนี้ได้ ซึ่งมันก็เป็นความท้าทายอย่างหนึ่งที่องค์กรของคุณควรต้องปรับตัวให้ได้เร็วที่สุด

ในบทความนี้ The Growth Master เลยอยากมาแนะนำให้คุณได้รู้จักกับ ClickUp เครื่องมือด้านการจัดการการทำงาน (Project Management Software) ซึ่งเราขอเรียกว่าเป็นซอฟต์แวร์สามัญประจำองค์กรที่ควรมีติดองค์กรไว้ ในช่วง Work From Home แบบนี้ (หรือไม่ Work From Home ก็ใช้ได้เหมือนกัน) แต่ว่าเพราะอะไรเราถึงแนะนำคุณให้ใช้ ClickUp ไปติดตามกันต่อได้เลย

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

ClickUp คืออะไร? ทำความรู้จักซอฟต์แวร์ที่ช่วยจัดระเบียบการทำงานให้คุณ

ClickUp คือ Project Management Software ที่เกิดมาจากความคิดที่ว่า “ทุกวันนี้เรามักใช้หลายแพลตฟอร์มในการทำงาน ทำให้ส่งผลเสียโดยตรงกับเวลาของพวกเรา และการจัดระเบียบภาพรวมของงาน ทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และขนาดเล็ก” 

ด้วยเหตุผลนี้เอง จึงทำให้เกิดไอเดียเป็นซอฟต์แวร์ ClickUp โดยมี Zeb Evans เป็นผู้ก่อตั้งขึ้นมา ซึ่ง ClickUp สามารถรวบรวมแพลตฟอร์มในการทำงานทั้งหมดให้ครบจบในที่เดียว หรือ “All Your Work in One Place” ไม่ว่าจะเป็นลิสต์งาน, ไฟล์เอกสาร, แชท, ปฏิทิน, เป้าหมาย และอีกมากมาย ที่จะทำให้คุณมีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นถึง 20% (เทียบแล้ว อาทิตย์หนึ่งทำงาน 5 วัน ก็จะลดลงได้ 1 วันเต็ม ๆ)ซึ่งรับรองเลยว่ามนุษย์งานเยอะที่ชอบความเป็นระบบระเบียบทั้งหลาย ต้องตกหลุมรักเจ้าซอฟต์แวร์ตัวนี้อย่างแน่นอน

เริ่มใช้งานได้ที่นี่

ภาพจาก ​samdinicoladigital

อย่างไรก็ตาม ClickUp ถือว่าเป็นที่หนึ่งในเรื่องของลูกเล่นที่มีเยอะมาก เพราะตัวซอฟต์แวร์จะเน้นการปรับแต่งได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นมุมมอง (View), การเรียงลำดับ (Priority), การใส่รายละเอียดย่อย ๆ ของงาน (Subtask) และยังสามารถทำได้ครอบคลุมแทบทุกฟีเจอร์ของ Productivity Software ตัวอื่นอีกด้วย (เช่น การสร้างระบบ CRM พื้นฐาน) 

แถมยังสามารถ Integrate กับซอฟต์แวร์การทำงานอื่น ๆ ได้มากกว่า 1,000+ ซอฟต์แวร์ รับรองว่าเมื่อคุณได้ลองใช้ ClickUp แล้ว อาการปวดหัวและสับสนจากการ Work From Home จะลดน้อยลง

ยิ่งไปกว่านั้น ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ที่องค์กรชั้นนำระดับโลกต่างก็นำมาใช้งานในองค์กรของพวกเขาด้วยเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น Google, Nike, Netflix, Airbnb, Uber และอื่น ๆ นี่ก็น่าจะเป็นตัวการันตีได้แล้วว่าเจ้าซอฟต์แวร์ตัวนี้ได้รับความนิยมจากองค์กรทั่วโลกจริง ยังไม่หมดแค่นั้นเพราะ ClickUp ยังได้รางวัล Best Software 2019 โดย TaskReport อีกด้วย 

และเมื่อเดือนธันวาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา ClickUp ก็เพิ่งได้รับเงินทุน $100 ล้านเหรียญในรอบ Series B มาสด ๆ ร้อน ๆ จาก Georgian บริษัทแคนาดา และมี Craft Ventures ร่วมด้วย ส่งผลให้ ClickUp กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าทะลุ $1 พันล้าน และมีสถานะเป็นยูนิคอร์นน้องใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น นับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2017 (เชื่อแล้วว่าเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ที่ไม่ธรรมดาจริง ๆ) 


เหตุผลที่ทำให้ ClickUp เหมาะเป็นตัวช่วยในการ Work From Home ของคุณ

ถ้าจะให้บอกข้อดีทั้งหมดของ ClickUp เราอาจจะไม่สามารถบรรยายออกมาได้ทั้งหมดภายในบล็อกนี้บล็อกเดียว ดังนั้นเราจะขอเลือกข้อดีที่เราคิดว่ามันจะเป็นประโยชน์แก่ทำงานในองค์กรของคุณมากที่สุด และใช้งานบ่อยครั้งที่สุดมาให้ดูกัน

1. ระบบ Task Management ทำให้ Workflow เป็นระเบียบมากขึ้น

“Time is more valuable than money. You can get more money but you cannot get more time.” – Jim Rohn

หลายคนอาจจะกำลังสับสนว่า สรุปแล้ว Task งานนี้อยู่ในโปรเจ็กต์ไหน, ใครรับผิดชอบ แล้วทีมเรารับผิดชอบร่วมกับทีมไหนบ้าง, แล้วมีรายละเอียดการทำงานอย่างไร, เดดไลน์วันไหน หรือตอนนี้ทำไปถึงขั้นตอนไหนแล้ว ซึ่งการ Work From Home แบบนี้อาจต้องทำการสื่อสารในแอปแชทบ้าง วิดีโอคอลคุยกันบ้าง ก็อาจจะทำให้รายละเอียดหล่นหายไปได้

นั่นทำให้ข้อดีข้อแรกของ ClickUp ที่จะมาช่วยจัดระบบให้งานของเราเป็นระเบียบมากขึ้น ก็คือ “ระบบการจัดเก็บงาน” (Task Management) โดย ClickUp จะแบ่ง Task งานของเราให้อยู่เป็นหมวดหมู่เดียวกัน จากภาพใหญ่ไปภาพเล็ก เราอยากให้คุณลองนึกภาพตามว่า ในหนึ่งบริษัทมักประกอบไปด้วยแผนกหลายแผนกเสมอ ซึ่งแต่ละแผนกก็จะมีโปรเจ็กต์ของใครของมัน และในแต่ละโปรเจ็กต์ก็จะถูกสับเป็นงานย่อยลงไปอีกที

ภาพแสดง Task งานภายใน Space ของ ClickUp

ดังนั้น ด้วยระบบของการจัดเก็บไฟล์ของ ClickUp ที่สามารถแบ่ง Task งานของแต่ละโปรเจ็กต์ออกเป็นสัดเป็นส่วนได้อย่างชัดเจน พร้อมสามารถระบุผู้รับผิดชอบงานนั้น ๆ ทำให้เห็นภาพรวมของงานได้ง่าย เป็นระเบียบมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถเขียนรวบรวมรายละเอียดของ Task งานนั้นไว้ในที่เดียวกัน ไม่มีการตกหล่นหรือไปปะปนกับ Task งานอื่นแน่นอน

นอกจากนั้น ยังสามารถติดตาม Progress ของงาน และทำให้คนในทีมสามารถทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ ได้ เพราะว่าเมื่อทีมอื่น ๆ เห็นงานในระบบ Task Management ของ ClickUp แล้ว ก็จะรู้ทันทีว่าฝ่ายอื่นกำลังทำงานส่วนไหนอยู่ ทำให้เมื่อ Task มีการเปลี่ยนแปลงสถานะ ฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Task งานนั้น สามารถรอรับงานไปทำต่อได้ทันที

ภาพแสดง Status และ Progress ของแต่ละ Task

เราจะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่าเราจะ Work From Home ตัวไม่ได้อยู่ใกล้ ๆ กันเหมือนกับตอนที่อยู่ออฟฟิศ ที่เพียงแค่หันไปหาเพื่อนร่วมงาน หรือเดินไปคุยรายละเอียดงานกัน แต่ก็ทำให้เราสามารถรู้รายละเอียดการทำงานที่ครบถ้วนได้ทุกขั้นตอนของการทำงานได้จริง อีกทั้งยังสามารถดู Progress ของงานแต่ละคนได้อีกด้วย บน ClickUp

2. ClickUp ยืนหนึ่งเรื่องปรับแต่งลูกเล่นสำหรับการทำงาน

อย่างที่ได้เกริ่นไปว่า ClickUp เป็นที่หนึ่งในเรื่องของลูกเล่นที่มีเยอะมาก เพราะตัวซอฟต์แวร์จะเน้นการปรับแต่งได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็น…

Custom Field ปรับแต่งเพิ่มลด Column เองได้

จะดีแค่ไหนถ้าเราไม่ต้องจำรายละเอียดของงานให้รกสมอง แต่ให้ ClickUp เป็นตัวที่แสดงว่า งานนี้มีรายละเอียดอะไรบ้าง ไปเลย ด้วย Custom Field ที่เราสามารถปรับแต่งรายละเอียดของ Task งานนั้น ๆ ได้ว่าจะให้ ClickUp ช่วยแสดงผลอะไรออกมาบ้าง

เราสามารถเลือก Column เพื่อใส่รายละเอียดของตัวงานลงไปในส่วนของ Column ได้เอง ไม่ว่าจะเป็น การสร้าง Dropdown, สร้างป้ายกำกับ, สเตตัสงาน, งบประมาณ, ลำดับความสำคัญ, ลิงก์เพิ่มเติม และอื่น ๆ ที่สามารถเพิ่มหรือเอาออกได้ตามความต้องการ

ซึ่งตัว Column จะเข้ามามีบทบาทจากการแสดงรายละเอียดข้างต้น และแสดงการจัดเรียงลำดับตามหัวข้อที่เราต้องการได้ เช่น เรียงตามลำดับความสำคัญจากแท็กที่เราติด, เรียงตามวันที่ของงานที่ใกล้วันส่งที่สุด, ปรับเรียงตามงบประมาณจากมากไปน้อย เป็นต้น ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับ Productivity Tools อื่นๆ ClickUp มีตัวเลือกให้ใส่ตรง Column เยอะมากเลยแหละ

มุมมอง (View)

อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ตัว ClickUp มีความโดดเด่นสุด ๆ ไปเลย คือ “ตัวเลือกมุมมองของงาน” ที่จะเข้ามาช่วยให้เห็นภาพได้ในหลาย ๆ ด้าน ตัวอย่างเช่น

  • List – เหมาะกับเวลาที่เรามีงานจำนวนมาก แล้วต้องการดูรายละเอียดทั้งหมดของงานทั้งที่อยู่ในตัว Subtask และช่อง Column ทำให้เห็นภาพรวมได้ชัดยิ่งขึ้น
  • Board – เพื่อแบ่งให้เห็นชัด ๆ ไปเลยว่าแต่งละงานอยู่ในขั้นตอนไหน (To Do, Doing, Done) ตามหลักของ Kanban Board
  • Calendar เหมาะกับการดูรายละเอียดเป็นภาพรายเดือนหรือรายอาทิตย์ ทำให้เห็นว่าในช่วงเวลานี้ มีสิ่งไหนที่ต้องโฟกัส และในอนาคตเราต้องเปลี่ยนไปโฟกัสที่อะไร ทำให้การวางแผนล่วงหน้าเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น (ทีมคอนเทนต์ของเราชอบ View อันนี้มาก)
  • Box – ที่สามารถแสดง Workload และสถานะเป็นรายบุคคล ซึ่งปกติแล้วหลังจากแจกจ่ายงานไปก็จะไม่ได้เห็นภาพชัดว่า ใครได้งานกองเยอะเป็นภูเขา หรือคนอื่นทำอะไรกันอยู่ เจ้า Box View ตัวนี้ จึงจะช่วยบอกว่าแต่ละคนมีงานอะไรอยู่ในมือบ้าง ตอนนี้งานหนักอยู่ที่ใคร ใครว่างสุดก็จะสามารถกระโดดเข้ามาช่วยงานคนอื่นได้ เมื่อรู้แล้ว เราจึงสามารถปรับให้เกิดความสมดุลภาระงานได้มากขึ้น 
ภาพตัวเลือก View

แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ View เท่านั้น โดย View จะทำให้เราเห็นภาพงานทั้งหมดในมุมต่าง ๆ ซึ่งประโยชน์ของการปรับมุมมองยังช่วยทำให้เรารู้ว่ามีส่วนไหนที่อยากเพิ่มเติมหรือโยกย้าย เช่น ดูมุมมองปฏิทินแล้วอยากขยับเดดไลน์ที่ตั้งไว้, ดูมุมมอง Board แล้วอยากโยกงานที่พร้อมจะทำแล้ว จาก To Do ไปเป็น In Progress เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกฝ่ายจะใช้ View เดียวกันทั้งองค์กร เพราะการทำงานของแต่ละฝ่ายอาจจะถนัดการใช้ View ที่แตกต่างกัน เช่น ทีม Design อาจจะถนัดกับแบบ Board มากกว่า เพราะจะเห็นภาพ Thumbnail, ทีม Content อาจจะชอบแบบ Calendar มากกว่า เพราะให้เห็นวันที่ลงคอนเทนต์แต่ละอันได้อย่างชัดเจนภายในวันนั้น ๆ นั่นหมายความว่า บน ClickUp ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันบน Space เดียวกัน แม้จะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะอยู่ทีมไหน ClickUp ก็สามารถปรับมุมมองให้เหมาะสมกับแต่ละทีมได้เป็นอย่างดี

ไฟล์เอกสารและการแนบลิงก์ (Doc & Embed) 

แม้จะ Work From Home แต่ก็ต้องมีการทำเอกสารอยู่ดี ปกติโดยทั่วไป เรามักจะทำไฟล์งานหรือจดโน้ตต่าง ๆ ทั้งบนกระดาษ, โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางทีก็มีหลงลืมบ้างว่าสิ่งที่จดไว้อยู่ตรงไหน จะหากลับมาอีกทีก็ยุ่งยาก

ClickUp จึงมีฟีเจอร์ Doc ที่เหมือนกับยกการผสมผสานกันระหว่าง Google Docs กับแอปพลิเคชัน Notes ในไอโฟนที่เราคุ้นเคยกันดี มาใส่ไว้ให้ในซอฟต์แวร์อีกด้วย ซึ่งฟีเจอร์ Doc นี้สามารถทำได้ทุกอย่างที่เป็นพื้นฐานของโปรมแกรมเอกสารเลย ไม่ว่าจะเป็นการจัดหน้า, ใส่ตาราง, ทำ Bullet Point, Numberic List, ใส่รูป, ไฮไลต์ข้อความ, ทำตัวหนา/ตัวเอียง และที่สำคัญ ยังสามารถใส่ Checklist กับแนบไฟล์ได้อีกด้วย

ภาพแสดง Doc

หรือสำหรับใครที่ไม่ถนัดใช้งาน Doc ใน ClickUp รวมถึงยังมีงานบางส่วนที่ต้องทำผ่าน Google Docs, Google Sheet โดยตรง ก็สามารถ Embed ไฟล์ Google Docs หรือ Google Sheet เหล่านั้นเข้ามาทำงานบน ClickUp ได้เหมือนกัน 

ด้วย Embed View ที่สามารถแนบลิงก์ต่าง ๆ เข้ามาใช้งานบน ClickUp ได้ ไม่ว่าจะเป็น Google Sheet, Google Docs, Google Maps, Twitter หรือใครจะอยากฟังเพลงคลายเครียดสักหน่อยระหว่างการทำงาน จาก Spotify หรือ Youtube ก็ทำได้เช่นกัน และที่สำคัญ ฟีเจอร์ Embed นี้ ยังใช้งานได้ค่อนข้างดี น่าประทับใจมาก ๆ ไม่ต้องคลิกที่ลิงก์และเปลี่ยนโปรแกรมไปเข้า Browser ในการดูคลิปวิดีโออีกที (ทีม The Growth Master ลองใช้เรียบร้อยแล้ว)

ภาพแสดง Embed View (Embed Google Sheet ภายใน ClickUp)

จริง ๆ แล้ว ClickUp ยังมีลูกเล่นเยอะกว่านี้มาก ๆ ที่เรายกตัวอย่างมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง (ในร้อย) เท่านั้น ซึ่งหากใครที่ได้ลองใช้แล้วก็จะรู้ว่า ClickUp มีลูกเล่นเยอะจริง ๆ จนบางลูกเล่นคุณก็อาจจะยังคงไม่เคยเล่นมาก่อนก็ได้ ถ้าหากใครที่อยากรู้จักฟีเจอร์ของ ClickUp มากขึ้น สามารถอ่านต่อได้ที่บทความด้านล่างนี้เลย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:

3. ไม่ใช่แค่ Project Manager แต่สายอาชีพไหน ๆ ก็ใช้ ClickUp ได้

หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้เห็นภาพรวมทุกส่วนของการทำงานได้ดีขนาดนี้ และยังสามารถควบคุมงานของทีมไม่ให้เยอะเกินไปได้อีกด้วย (ทำให้กระจาย Workload ได้ดีเยี่ยม) แล้ว ClickUp มันเป็นซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับแค่ตำแหน่ง Project Manager หรือคนระดับสูง ๆ ในองค์กรเท่านั้นหรือเปล่านะ? 

แต่คำตอบคือ จริง ๆ แล้ว ไม่ว่าคุณจะอยู่ทีมไหนในองค์กร เช่น Marketer, Sales, Developer, หรือ Designer ต่างก็สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ ClickUp นี้ได้ทุกคนเลย

  • Project Manager (PM) – สร้าง Workflow ของทุกโปรเจ็กต์ได้ ทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมของงาน หรือจัดการโปรเจ็กต์ได้อย่างเฉียบขาด, วัดผลการทำงานของแต่ละโปรเจ็กต์ในรูปแบบของ Dashboard, ติดตาม Progress ของงาน เพื่อทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และกระจาย Workload ไม่ให้งานไปกองอยู่ที่ทีมคนใดคนหนึ่งจนเยอะเกินไป
  • Sales – สามารถใช้ระบบ Automation จัดการ Pipeline ได้โดยอัตโนมัติ และรู้ว่าทีมคนไหนที่ปิดการขายได้, สร้างระบบ CRM ที่ไม่ซับซ้อนบน ClickUp ได้, เก็บข้อมูลการขาย แล้วแปลงออกมาเป็น Dashboard เพื่อให้ติดตามผลได้ง่าย เห็นภาพชัดเจนขึ้น, การทำงานแบบ Silo ลดลง แต่ทำงานร่วมกับทีมคนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น
  • Marketer – สามารถมองเห็นข้อมูลที่ถูกทำให้เป็นวาดภาพออก (Visualize) ได้ เช่น วางไทม์ไลน์ว่าแคมเปญนี้จะใช้ระยะเวลาเท่าไร และเชื่อมโยงกับ Task งานไหนบ้าง, มีเทมเพลตให้ทำ A/B Testing ภายในแคมเปญ, ทำงานร่วมกับลูกค้า เช่น การให้ลูกค้ากรอกแบบฟอร์มแล้วให้ข้อมูลเชื่อมต่อเข้ามายัง ClickUp, สามารถเชื่อมต่อ Data และสร้าง Dashboard ภายใน ClickUp ได้อย่างง่ายดาย
  • Developer – ติดตามบัคจากผู้ใช้งาน ด้วยการฝัง Form ลงไปในแอปนั้นโดยตรง และ Customize Tags เอาไว้ เพื่อให้ติดตามได้อย่างง่ายดาย, จัดการ Task ด้วย Sprint Management โดยการสร้าง Sprint และติดตาม Performance ของเพื่อนร่วมงานแบบเรียลไทม์ด้วย Sprint Widgets ที่สามารถปรับแต่งได้เอง และยังประหยัดเวลาได้ด้วยการใช้ Sprint Automations เพื่อย้ายงานที่ยังไม่เสร็จไปยัง Sprint ถัดไปโดยอัตโนมัติ ไปจนถึงขั้นตอนการปล่อยผลิตภัณฑ์ด้วยการตรวจสอบ Checklist ใน Task นั้น ๆ
  • Designer – สามารถเชื่อมต่อกับ Design Tools อื่น ๆ ภายใน ClickUp ได้เลย เช่น Embed Figma หรือ Invision ลดเวลาเข้าออกสลับโปรแกรมไปมา ในกรณีที่ต้องให้หัวหน้างานหรือลูกค้ามารีวิวงานก็สามารถทำงานไปพร้อมกันได้เลย, สามารถแนบโปรเจ็กต์หรืออัปเดต Mock Up ให้ทีมคนอื่น, สามารถติดตาม Feedback ได้เลยว่างานดีไซน์นี้มีจุดที่ต้องแก้ไขหรือไม่ ทำให้กระบวนการที่นอกเหนือจากการออกแบบทั้งหมดอยู่บน ClickUp ได้ในที่เดียว
  • Human Resources (HR) – สร้างฟอร์มรับสมัครงานที่เชื่อมโยงกับ ClickUp ได้โดยตรง, ปรับแต่ง Interview Process ได้ตามต้องการ พร้อมทั้งรวมข้อมูลของผู้สมัครทุกคนให้อยู่บน ClickUp, จัด Flow สำหรับการ Onboard ทำให้เริ่มเทรนพนักงานได้ทันทีตั้งแต่วันแรก ด้วยการทำงานที่แน่นอนและเป็นระบบทำให้ HR ลดการทำงานลง, ฝัง Employee Handbook ด้วย Document ซึ่งเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ของ ClickUp พนักงานทุกคนจึงสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนกลางได้ทันที หรือจะทำเป็นประกาศของบริษัทก็ทำได้เช่นกัน

เริ่มใช้งานได้ที่นี่


ภาพจาก dribbble

4. สามารถ Integrate และต่อ API ได้หลากหลายโปรแกรม

ในเมื่อ ClickUp ขึ้นชื่อว่าเป็น “All Your Work in One Place” แล้วจะไม่ให้ไป Integrate กับซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ ได้อย่างไร? 

แน่นอนว่า Work From Home แบบนี้ แต่ละองค์กรไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวในการทำงานแน่ ๆ อยู่แล้ว เช่น ต้องมีการพูดคุยอัปเดตงานกันผ่าน Zoom, Brainstrom ระดมไอเดียผ่าน Miro, นัดหมายประชุมงานผ่าน Google Calendars หรือเชื่อมต่อการทำงานแบบอัตโนมัติให้กว้างขึ้นไปอีกด้วย Zapier นั่นจึงทำให้ ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ที่รู้ใจคนทำงานทุกคน 

สำหรับใครที่ยังนึกภาพไม่ออกว่ามันเป็นยังไง เราขอยกตัวอย่าง Slack ที่สามารถ Integrate เข้ากับ ClickUp โดยถ้ามี Action บางอย่างเกิดบน ClickUp เมื่อ Integrate เข้าด้วยกันแล้ว มันก็จะเกิด Trigger การแจ้งเตือนบน Slack ด้วย เช่น ถ้าบน ClickUp มีการย้ายการ์ดแก้ไข Bug เกิดขึ้น ภายใน Slack ก็จะมีการแจ้งเตือนถึง Action นั้นทันที

ภาพจาก clickup

เพราะ ClickUp สามารถ Integrate เข้ากับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เรากล่าวมาข้างต้น หรืออีก 1,000+ ซอฟต์แวร์ เช่น Trello, GitHub, GitLab, Webhooks, Google Drive, Dropbox, Figma, Tableau, Discord, Airtable และอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน คงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมองค์กรระดับโลกถึงเลือกให้ ClickUp เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของพวกเขา

สามารถดูซอฟต์แวร์ที่สามารถ Integrate กับ ClickUp ได้เพิ่มเติม ที่นี่

นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ด้าน Productivity ที่สามารถ Integrate ได้แล้ว รู้หรือไม่ว่า ClickUp ยังเปิด API ให้ค่อนข้างอิสระในการเอามาต่อกับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้อีก

หากกล่าวถึง API หรือ Application Programming Interface ก็เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางที่คอยรับ-ส่งคำสั่งต่าง ๆ ประมวลผลคำสั่งนั้น และส่งผลกลับไปยังโปรแกรมที่ป้อนคำสั่งมาโดยอัตโนมัติ ซึ่ง API ช่วยลดความซับซ้อน สะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดลงได้

ไม่ว่าจะต่อ API เข้ากับซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นชินใช้งานกันในบริษัท หรือจะเป็น ซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ซอฟต์แวร์ด้าน ERP อย่าง SAP ก็สามารถต่อ API เชื่อมข้อมูลมายัง ClickUp ได้เช่นกัน ซึ่ง SAP ขึ้นชื่อว่าเป็นโปรแกรม ERP ที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนมาก บวกกับหน้าตาที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ 

นั่นทำให้พอยิ่ง Work From Home แต่ละคนอยู่ไกลกัน การติดต่อพูดคุยกันอาจมีอุปสรรคแทรกระหว่างทางบ้าง และที่สำคัญทีมมองไม่เห็นภาพรวมของขั้นตอนการทำงาน ไม่รู้ว่างานไปถึงจุดไหนแล้ว แต่ถ้าเกิดว่าเราต่อ API เข้ากับ ClickUp ซอฟต์แวร์ที่เด่นในด้าน Project Management แบบนี้ รับรองว่าจะทำให้การติดตามขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม SAP สะดวกขึ้นอย่างแน่นอน

หากใครที่กำลังประสบปัญหานี้บนโปรแกรม SAP แล้วอยากรู้ว่าโปรแกรมจะต่อ API เชื่อมต่อข้อมูลมาบน ClickUp ได้อย่างไร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ >> ที่นี่

อย่าเพิ่งเชื่อ หากคุณยังไม่ได้ลองใช้ ClickUp ด้วยตัวเอง!

สำหรับองค์กรไหนที่อยากทดลองใช้งาน ClickUp หรืออยากได้ที่ปรึกษาการใช้งาน The Growth Master ก็ยินดีมาก ๆ ที่จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ทุกองค์กรมีการทำงานที่ดีขึ้นเหมือนกับเรา

เริ่มใช้งานได้ที่นี่

เพราะ The Growth Master จะเป็นผู้ช่วยให้คุณในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง และสอนการใช้งาน Clickup ให้บริษัทของคุณ โดยสร้างเป็น Workflow ภายใต้กระบวนการทำงานแบบ Agile ระบบ Automation และ Integration ต่าง ๆ

โดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ให้คุณประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเองเมื่อใช้งานจริง เปลี่ยนองค์กรคุณให้มีประสิทธิภาพในการทำงานภายในไม่กี่ขั้นตอน สำหรับใครที่สนใจ คุณสามารถกดที่รูปด้านล่าง เพื่อทดลองสมัครใช้บริการนี้ได้เลย!

สรุปทั้งหมด

ในมุมมองของ The Growth Master เรา คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า สำหรับเรา ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่สามารถช่วยให้การทำงานของคุณในทุก ๆ ฝ่าย มีประสิทธิภาพดีขึ้นได้จริง ๆ เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นการจัดการระบบงานของบริษัทให้ดีขึ้น ซึ่งในเมื่อมีการจัดการระบบที่ดีแล้ว ทำให้ทีมสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งการ Work From Home หรือแม้ว่าจะกลับไปทำงานที่ออฟฟิศในยามที่สถานการณ์การแพร่ระบาดสงบลงได้แล้วก็ตาม

เราเข้าใจทุกคนดีว่าการ Work From Home ในช่วงเวลาแบบนี้ ทุกคนมีความรู้สึกอย่างไรกันบ้าง (เพราะเราก็หัวอกเดียวกัน) แต่มันก็เป็นปัญหาที่เราแทบจะไม่สามารถทำอะไรได้ นอกจากต้องรักษาระยะห่างระหว่างกัน ช่วยกันหยุดการแพร่ระบาดของโรคนี้ไป ตราบใดที่การจัดการของประเทศของเรายังไม่สามารถทำให้เข้าสู่สภาวะปกติได้ ปัญหานี้จะคลี่คลายเมื่อไรก็ไม่มีใครรู้ แต่การหันกลับมาจัดการงานขององค์กรให้เราดีขึ้นจะเป็นทางเลือกที่เกิดขึ้นได้ไวกว่า

The Growth Master ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกผู้ประกอบการและทุกธุรกิจให้ผ่านพ้นกันไปได้ด้วยดี ถ้าหากมีอะไรให้ช่วย เรายินดีเสมอนะคะ :-)


Source: techcrunch, clickup


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe