ปัจจุบันหากพูดถึงหนึ่งในเทคนิคการทำการตลาด ที่สามารถเปลี่ยนผู้ที่สนใจหรือว่าที่ลูกค้า ให้กลายมาเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้า/บริการของเราได้จริงๆ ผมเชื่อว่าจะต้องมีชื่อของกลยุทธ์ Retargeting อยู่ใน Top List ของนักการตลาดส่วนใหญ่แน่ๆ
สำหรับใครที่มีประสบการณ์ด้าน Digital Marketing น่าจะรู้ถึงความหมายและประโยชน์ของการทำ Retargeting กันมาอยู่แล้วแต่สำหรับนักการตลาดมือใหม่บางท่าน ที่อาจยังไม่รู้จัก ผมจะขออธิบายแบบเข้าใจได้ง่ายที่สุด
Retargeting คือการทำโฆษณาในรูปแบบออนไลน์เพื่อติดตามกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า ที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์ของเราแต่ยังไม่ได้ซื้อสินค้า (หรืออาจจะใส่ Add To Cart ใส่สินค้าลงตะกร้าแล้ว) เมื่อคุณกดออกจากเว็บไซต์แล้ว แต่คุณจะเจอกับ Ads ของเว็บไซต์ที่คุณเพิ่งเข้าไปดูสินค้ามา โผล่มาหลอกหลอนตาม Facebook , Google หรือแม้แต่ Youtube จนคุณใจอ่อนและยอมซื้อสินค้าจากเว็บไซต์นั้นในที่สุด
เทคนิคนี้แหละครับที่เรียกว่า Retargeting ที่สร้างยอดขายและรายได้มาให้กับธุรกิจมามากมาย แต่เบื้องหลังของเทคนิคนี้ มันไม่ใช่เพียงแค่การยิงโฆษณาไปหากลุ่มคนเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด แล้วรอยอดขายกลับมา
เพราะเมื่อไรที่คุณเอาแต่ยิงโฆษณาไปหากลุ่มเป้าหมายจนเยอะเกินไป มีโอกาสสูงทีเดียวครับที่พวกเขาจะเกิดความรู้สึกรำคาญและบล็อกการมองเห็นของแบรนด์คุณไปในที่สุด
ในบทความนี้ The Growth Master เลยขอพาคุณไปศึกษาเทคนิคใช้ Retargeting เพิ่มยอดขาย โดยไม่ทำให้ลูกค้ารำคาญ ที่จะช่วยให้คุณ “ทำน้อยแต่ได้ (ผลลัพธ์) มาก” มาไว้ในบทความนี้แล้ว หากพร้อมแล้วไปติดตามกันครับ
เป้าหมายของการทำ Retargeting คืออะไร? มีอะไรที่คุณต้องทราบสำหรับการทำ Retargeting การทำ Retargeting บน Facebook หรือ Remarketing บน Google (แล้วแต่สำนักจะเรียก) ทั้งสองสิ่งนี้มีเป้าหมายเหมือนกัน คือ การพยายามเปลี่ยน “คนที่มีโอกาสเป็นลูกค้า” ให้เป็น “ลูกค้า” ให้ได้มากที่สุดโดยการใช้โฆษณาผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่กำลัง (หรือเคย) สนใจในธุรกิจคุณ ให้มีโอกาสเห็นแบรนด์/สินค้าของคุณอีกครั้ง
และเมื่อกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นเห็นการโฆษณาของคุณบ่อยๆ มันก็เหมือนเป็นการย้ำให้พวกเขาจดจำแบรนด์/สินค้าได้ รวมถึงเป็นการกระตุ้นความต้องการในตัวสินค้ามากขึ้น จนนำไปสู่การสร้าง Conversion (สั่งซื้อ) หรือการกลับมาซื้ออีกซ้ำๆ (Retention) ในอนาคตก็เป็นได้
โดยสำหรับใครที่ต้องการศึกษาในเรื่อง Retargeting เบื้องต้นก่อน คุณสามารถกดเข้าไปอ่านบทความ Retargeting (Part1) ตามติดกลุ่มเป้าหมาย ยิง Ads ให้ยอดขายพุ่งกระฉูด ของเราก่อน เพื่อเตรียมความพร้อมและเห็นภาพเดียวกันอย่างชัดเจน
ภาพจาก Microswift จากนั้นคุณจะพบว่าการที่จะติดตามลูกค้า เพื่อทำการ Retargeting นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ว่ามันก็ไม่ใช่เรื่องยากเหมือนกันถ้าหากคุณเริ่มเข้าใจลูกค้าได้มากพอ เพราะลูกค้าแต่ละคนก็จะอยู่ใน Stage ของ Funnel ที่ต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่าคุณไม่สามารถใช้ Message เดียวกันเพื่อสื่อสารกับทุกคนได้ (เพราะแต่ละ Stage ก็จะมีเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป)
ดังนั้น “การเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าต้องการ” ในแต่ละ Stage ของ Funnel จึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำ Retargeting ให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์สูงสุด
ถึงตรงนี้ถ้าใครอยากทราบว่า แล้วการทำ Retargeting สำหรับลูกค้าแต่ละแบบมีขั้นตอนและรายละเอียดอย่างไร ผมขอแนะนำให้คุณกดอ่านบทความ Retargeting (Part2) กลยุทธ์ยิง Ads ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมายในแต่ละขั้นของ Growth Hacking Funnel เพื่อทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละ Stage ก่อนครับ
ยิงโฆษณาแบบ Retargeting เยอะเกินไปจะทำให้ลูกค้ารู้สึกรำคาญได้จริงหรือ ? นักการตลาดหลายท่านคงไม่นึกใช่ไหมครับ ว่าจริงๆ แล้วการ Retargeting เยอะเกินไป จริงอยู่ที่กลุ่มเป้าหมายของคุณจะมีโอกาสเข้าถึงโฆษณาของคุณได้เยอะ แต่มันก็อาจจะมีผลเสียต่อแบรนด์ตามมาได้ครับ
ภาพจาก neilpatel เพราะจากการสำรวจของ InSkin Media พบว่าเมื่อใดที่คุณมีการทำ Retargeting เยอะแค่ไหนตัวกลุ่มเป้าหมาย จะเกิดความรู้สึก Annoying (รำคาญ) หรือ Angry (โกรธ) มากขึ้นทุกครั้ง
ซึ่งจากภาพการสำรวจด้านบนคุณจะสังเกตุได้เลยครับว่าเมื่อลูกค้าเห็น Ads ของคุณตั้งแต่ 3-5 ครั้งจะสร้างความรำคาญให้กับผู้เห็นได้ถึง 25% และถ้าลูกค้าพบเห็น Ads ของคุณเกิน 10 ครั้งขึ้นไป ยินดีด้วยครับ เพราะคุณได้ทำให้ลูกค้ามีความรู้สึกโกรธและหงุดหงิดไปถึง 30%
โดย Inskin Media ได้ทำการแบ่งความรู้สึกเป็นค่าเปอร์เซนต์ ในกรณีที่ลูกค้าเจอ Retargeting Ads เกินกว่า 5 ครั้งต่อวันไว้ดังนี้ครับ
ลูกค้ากว่า 55% จะตัดสินใจเลิกซื้อ , ไม่อุดหนุนสินค้านั้นอีกต่อไป 53% รู้สึกหงุดหงิด กับการเห็น Ads มากกว่า 5 ครั้งต่อวัน เหลือลูกค้าเพียง 10% เท่านั้น ที่จะยอมซื้อสินค้า เท่ากับว่าในทุกๆ 100 คนจะมีแค่ไม่ถึง 10 คนเท่านั้น ที่จะยอมซื้อสินค้าของคุณ หลังจากเจอกับ Retrgeting Ads จำนวนมาก ในขณะเดียวกันคุณต้องเสียลูกค้า (พร้อมสร้างความรู้สึกไม่ดี) ไปกว่า 90 คน ทั้งๆ ที่การลงทุน Retargeting ระดับนั้นต้องได้ลูกค้ามากกว่า 10 คนอยู่แล้ว
ถึงคราวนี้คุณน่าจะพอเห็นภาพชัดขึ้นแล้วใช่ไหมครับว่า ในมุมของแบรนด์เองการปล่อยให้กลุ่มเป้าหมาย หรือลูกค้ามีความรู้สึกด้านลบเช่นนั้นกับแบรนด์ น่าจะเป็นสิ่งที่ผิดมหันต์และจะพาธุรกิจคุณไปสู่สถานการณ์ลำบากได้ในอนาคต
แล้วจะเริ่ม Retargeting ยังไงไม่ให้ลูกค้าเกิดความรำคาญ ? คุณอาจจะเคยได้ยิน Success Case หรือความสำเร็จของการใช้กลยุทธ์ Retargeting กันมาบ้างแล้วจากแบรนด์ใหญ่ๆ แต่ในความสำเร็จที่ถาโถมเข้ามา มันก็เหมือนดาบสองคม ที่เคยทำให้หลายๆ แบรนด์ พลาดท่าไปกับการกระหน่ำทำ Retargeting แบบไม่ลืมหูลืมตา
เพราะฉะนั้นในหัวข้อนี้จะยกตัวอย่างการทำ Retargeting ที่พลาดไปกวนใจลูกค้า ให้เห็นภาพง่ายขึ้น พร้อมกับแนวทาง “Retargeting ยังไงให้ไม่กวนใจลูกค้า” เพื่อช่วยให้คุณวางแผนการทำ Retargeting ได้รัดกุมยิ่งขึ้นจนนำไปสู่ผลลัพธ์ขั้นสูงสุด
ภาพจาก creadits *เพื่อให้ผู้อ่านทุกคนเห็นภาพตามได้ง่ายที่สุด ผมจะขอยกตัวอย่างสถานการณ์สัก 1 เรื่องนะครับ
สมมติว่ามีลูกค้าคือนาย A หนุ่มออฟฟิศวัย 25 ปี กำลังมีแพลนไปเที่ยวจังหวัดภูเก็ต โดยนาย A ได้ทำการเสิร์จค้นหาข้อมูลที่พักพร้อมจอง บนเว็บไซต์ traveldeals (ชื่อสมมติ) โดยนาย A ได้เปิดดูดีลที่พักไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่เจอที่พักที่ถูกใจ แล้วก็กดออกจากเว็บไซต์ไป
ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ traveldeals ก็ได้สร้าง Cookie ไว้ให้ Account ของนาย A เรียบร้อยแล้วเพื่อทำการ Retargeting ติดตามจนกว่าจะปิดดีลได้ และแน่นอนไม่ว่านาย A จะไปอยู่ที่ Platform ไหน หรือใช้เครื่องมือสื่อสารอะไรอยู่ Ads ของโรงแรมในภูเก็ต จากเว็บไซต์ traveldeals ก็ยังคงโผล่มาอยู่บนหน้าจอของนาย A อยู่ตลอด
ภาพจาก travelmarketingscience แต่ในที่สุด นาย A ก็ได้จ่ายเงินและจองที่พักกับทาง traveldeals แต่ Ads เสนอดีลโรงแรมจากภูเก็ต “อันเดิม” ยังโผล่มาอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่านาย A ได้เดินทางไปเที่ยวจนกลับมาทำงานปกติแล้วก็ตาม Ads “อันเดิม” นั้นยังคงตามมาเสนอ Special Deals ไม่หยุด
ซึ่งเหตุการณ์นั้นสร้างความรำคาญให้แก่นาย A เป็นอย่างมาก จนในที่สุดนาย A ก็ตัดสินใจ Block Ads และเลิกใช้บริการค้นหาที่พักจากเว็บไซต์ traveldeals ไปในที่สุด
จากตัวอย่างนี้ผมเชื่อว่าผู้อ่านบางท่าน น่าจะเคยพบกับเหตุการณ์แบบนี้กันมาบ้าง แน่นอนครับในมุมของแบรนด์เหตุการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องดีและคุณไม่สมควรปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ
เพราะเมื่อลูกค้าเริ่มหาทางป้องกันตัวเองจากการสะกดรอยตาม จนถึงกับบล็อก Ads ที่คอยหลอกหลอนกวนใจ ครั้งต่อไปต่อให้คุณพูดดังแค่ไหนลูกค้าก็จะไม่ได้ยินเสียงคุณอีกต่อไป
ภาพจาก pantip เห็นได้ว่าการทำ Retargeting มีพลังมากพอที่จะทำให้เกิดยอดขายได้จริงแต่อาจจะไม่ยั่งยืนถ้ายังขาดความเข้าใจ แต่คุณจะรับมือได้เมื่อคุณรู้จักและ Blend-In ไปกับกลุ่มเป้าหมาย
เริ่มต้นใช้กลยุทธ์ Retargeting เพิ่มยอดขายรัวๆ ด้วยเทคนิค “4 RIGHTS” 1 - Pick The Right Target สิ่งแรกของการทำ Retargeting คือการกำหนด Target ซึ่งคุณจำเป็นต้องกำหนดให้ลึกลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งคุณเข้าใจ Journey ของ “ว่าที่ลูกค้า” ของคุณมากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งกำหนด Target ได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น คุณสามารถกำหนด Deeply Target ได้จาก
จัดกลุ่มคนที่หลุดโฟกัส (Missed Segment Opportunity) คุณไม่สามารถมองเห็นทุกคน เท่ากัน ได้ เพราะในความเป็นจริง Target ทุกคนมีประสบการณ์ “ไม่เท่ากัน” และถ้าคุณดัน Retargeting ทุกคนด้วย Criteria เดียวกันอาจจะทำให้คุณพลาดทำ Target ตัวจริงหลุดโฟกัสไป ดังนั้นคุณต้องจัดกลุ่มให้ได้ว่า Target กลุ่มไหนเห็นอะไรไปแล้วบ้าง เขาทำอะไรตอนที่อยู่(บนเว็บไซต์)กับคุณ และเขารู้อะไรมากแค่ไหน ถ้าคุณจัดกลุ่มได้ลึกขึ้น คุณจะเจอ Target ตัวจริงและทำ Retargeting ได้สนุกมากขึ้นด้วย จัดกลุ่มจาก Pain Point (Pain Point Segmentation) หลายครั้งที่คุณ Publish Post หรือ Content แบบกลางๆ ออกไปเพื่อหวังจะสื่อสารได้กับ “ทุกคน” แต่คุณอาจจะไม่เห็นว่ามี Pain Point เกิดขึ้นกับ “บางคน” ที่อาจจะเป็น ว่าที่ลูกค้าของคุณ ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณเป็นคนขายคอร์สเรียน Digital Marketing แต่คุณสื่อสารกับทุกคนเหมือนกันหมด สิ่งที่เกิดขึ้นคือมีส่วนหนึ่งที่มีความสนใจแต่ไม่มั่นใจว่าคอร์สนี้เหมาะสำหรับใครบ้างและเลือกปล่อยผ่านไป ในมุมของคนขายคอร์สเรียนจะเห็นว่าคุณเสียโอกาสดัก ว่าที่ลูกค้า ส่วนหนึ่งไปแล้ว แต่จะดีกว่าไหมถ้าคุณรู้ Pain point นี้แล้วจัดการเสียใหม่ อย่างเช่น กลุ่มนักเรียน-นักศึกษา หรือกลุ่มคนทำงานนอกสาย Marketing เองก็ตาม ว่าพวกเขามี Pain point อะไรเกิดขึ้นทำให้ไม่มั่นใจ เพื่อปรับกลยุทธ์การ Retargeting ให้ตรงจุดยิ่งขึ้น
จัดกลุ่มจากระดับความรู้-ความเข้าใจ (Engagement & Knowledge Level Segmentation) ข้อนี้เป็นจุดบอดสำคัญที่หลายคนมองข้าม ยกตัวอย่างเช่น การ Retargeting จากโพสต์วิดีโอบน Facebook ถ้ามีคนดูวิดีโอเกิน 50% จำนวน 100 คน นักการตลาดส่วนใหญ่จะตีความว่า คนที่ดูวิดีโอเกิน 50% ทั้ง 100 คนนั้นคือคนที่มีความสนใจ และเลือกทั้ง 100 คนนั้นมา Retargeting ต่อโดยที่ลืมไปว่า ในจำนวนคน 100 คนนั้น ไม่ได้ดูวิดีโอแค่ 50% ทุกคน บางคนอาจจะดู 80% บางคนดูครบ 100% และแน่นอนว่าคนที่ดูเพียง 50% ของวิดีโอไม่ได้รับ Message ช่วงท้ายของวิดีโอครบถ้วนเท่ากับคนที่ดู 80% หรือ 100% “คนที่พฤติกรรมต่างกัน = คนรับรู้ไม่เท่ากัน” ดังนั้นถ้าคุณหยิบคนทั้ง 100 คน มา Retargeting ด้วย Message เดียวกันทั้งหมดก็คงไม่ต่างอะไรจากการยิง Ads แบบหว่านมากนัก
ภาพจาก thriveglobal เมื่อคุณหากลุ่ม Target ตัวจริงได้แล้ว คุณยังสามารถต่อยอดเพื่อหา “ว่าที่ลูกค้า” เพิ่มเติมได้อีกด้วย ทั้งจากฟังก์ชั่นการค้นหา “Lookalike Audience” หรือกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ Target ที่คุณมีอยู่แล้วในมือ หรือจะใช้การสร้าง “Custom Audiences” ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากผู้ที่กดไลค์เพจ , ผู้ที่ส่งข้อความมาหา หรือคนที่กดดูโฆษณา ก็ได้เช่นกันครับ
2 - Put in The Right Loop ขั้นต่อมาหลังจากกำหนด Target ให้ชัดเจน คือการเข้าใจ Journey ของลูกค้าในแต่ละ Stage of Loop เพราะเราต้องอย่าลืมว่า ลูกค้าในแต่ละ Stage ก็จะมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไปด้วย โดยในมุมของแบรนด์ต้องสามารถพาลูกค้าเปลี่ยน Stage ไปได้เรื่อยๆ จนกว่าจะถึงปลายทางที่คุณต้องการ
ซึ่งแต่เดิมเราอาจจะใช้สิ่งที่เรียกว่า Funnel ในการแบ่ง Stage ของลูกค้า แต่ในปัจจุบัน (ปี2020) Funnel อาจใช้ไม่ได้ผลกับการทำการตลาดเพื่อการเติบโตอีกแล้วครับ เพราะ Funnel ที่ว่ากำลังจะถูกแทนที่ด้วย สิ่งที่เรียกว่า “Loop” ที่ถือเป็น Framework ใหม่ของการทำการตลาดแบบ Growth Marketing
เพราะถ้าเราสังเกต Funnel จะเป็น Framework ที่อยู่ในรูปทรงกรวย เมื่อลูกค้าลงมาถึง Stage สุดท้าย ก็เท่ากับจบ ไม่อะไรต่อ แต่สำหรับ Loop Framework จะต่างกัน เพราะ Loop คือการวนต่ออย่างไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อลูกค้ามาถึง Stage สุดท้าย (Referral) ก็จะมีลูกค้าใหม่เข้ามาใน Loop ตลอดเวลา ทำให้เกิดการวนแบบไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง
3 - Talk with The Right Content เป็นเรื่องที่ต้องระวังมากๆ หลังจากที่คุณเข้าใจลูกค้าในแต่ละ Stage Of Funnel แล้ว การออกแบบ Content ให้เหมาะสมตามช่องทางต่างๆ เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายก็ถือเป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ผมจึงอยากแชร์เทคนิคเฉพาะสำหรับหัวข้อนี้เพิ่มเติม
Website Visiting : การสร้างเว็บไซต์เป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องมีเป็นปกติ เพราะเว็บไซต์ทำหน้าที่เป็นเหมือนหน้าร้านที่คอยดักทุกคน ไม่ว่าใครจะเข้ามาดูหรือทำอะไรบนเว็บไซต์คุณสามารถแจก Cookie , Pixel ไว้แอบสะกดรอยตามต่อไปได้
Video Engagement : เป็น Basic Format ที่นักการตลาดนิยมใช้มานานแล้ว สามารถเลือก Retargeting ได้จากจำนวนคนที่รับชมวิดีโอ โดยคุณสามารถกำหนดได้เลยว่า จะเลือกยิงโฆษณาไปหาผู้ที่รับชมวิดีโอ ตั้งแต่กี่วินาที หรือเลือกเป็น % ของการรับชมก็ได้เช่นกัน แต่อย่าลืมระวังจุดบอดในข้อ Pick The Right Target – Engagement & Knowledge Level Segmentation ให้ดี
ภาพจาก agorapulse Lead Form : เป็นแบบฟอร์มที่อยู่ใน Ads Campaign เหมือนเป็นการรวบรวมรายชื่อ “คนที่สนใจจริงๆ” ส่งต่อให้เซลเพื่อปิดการขาย ซึ่ง Lead Form เป็น Target ที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพสูงในการทำ Retargeting
Instance Experience : เป็นฟังก์ชั่นในการทำโฆษณาจาก Facebook ที่จะช่วยให้ลูกค้ารู้จักธุรกิจของคุณมากขึ้น สามารถใช้ได้กับทุกธุรกิจเพราะ Facebook ดีไซน์มาในหลากหลาย Template ให้คุณเลือกใช้ และที่สำคัญคือสามารถทำ Retargeting ต่อได้อีกอีกด้วย
Instant Storefront : เป็นเหมือนหน้าร้านขายของในรูปแบบตาราง Grid พร้อมบอกราคาสินค้า Instant Lookbook : เหมาะกับธุรกิจ Fashion-based สามารถโชว์รูปภาพที่มีไลฟ์สไตล์ชัดเจนเพื่อเรียกแขกได้ Instant Customer : ออกแบบมาเพื่อไดร์ฟให้ลูกค้าเกิดความอยากได้ สามารถโชว์สินค้าหรือโปรโมชั่น พร้อมปุ่ม Call to Action ชัดเจน Instant Storytelling : ถ้าธุรกิจคุณต้องเน้นการขายผ่านรูปหรือวิดีโอ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจโรงแรม ฟังก์ชั่นนี้เหมาะที่สุด Instant Form : เป็นแบบฟอร์มหน้าตาเรียบง่าย มีได้ไม่กี่ข้อ เพื่อให้ลูกค้าแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับธุรกิจของคุณ ภาพจาก newsfeedorg 4 - Present by The Right Channel อย่างที่ทราบกันดีครับว่าการทำ Retargeting (หรือ Remarketing) ในปัจจุบันคุณสามารถเลือก Present ได้หลากหลายช่องทาง แต่หลักๆ ก็จะแบ่งเป็น 3 ฝั่งอย่าง ฝั่ง Google (ปรากฎเว็บไซต์ต่างๆ + Youtube) ฝั่ง Social Media (Facebook + Instagram) และฝั่ง E-Mail (ต้องมี E-Mail List ของลูกค้าก่อน)
โดยฝั่ง Google และ Social Media ทั้งสองช่องทางที่กล่าวมา เป็นช่องทางที่เอื้อต่อการทำ Retargeting ได้ดีและมีจำนวน Active User เข้าใช้งานในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าธุรกิจอะไรที่ต้องการทำ Retargeting (หรือ Remarketing) ผมขอแนะนำให้คุณเริ่มมีเว็บไซต์ธุรกิจก่อน เพราะการมีเว็บไซต์นั้น ทำให้คุณสามารถติดโค้ดต่างๆ เพื่อติดตาม Custom Audience ในเว็บไซต์ได้ ซึ่งจะง่ายต่อการแยก Audiences เพื่อไปทำ Retargeting ต่อนั่นเอง
แถมพิเศษ ! แชร์เคล็ดลับ 3 เทคนิค Retargeting อย่างไรให้ลูกค้ากดเลิฟ นอกจากที่คุณต้องเข้าใจหลักของการทำ Retargeting ผ่าน Growth Hacking Funnel ไปจนถึงวิธีการวางแผนและลงมือทำด้วยหลัก 4 Rights ไปแล้วนั้น ถือว่าเป็นของแถมสำหรับผู้อ่านที่อ่านมาถึงตรงนี้ เรายังมีอีก 3 เทคนิคสุดยอดไม้ตาย ทำ Retargeting แบบไม่กวนใจลูกค้ามาฝากกันครับ
ทำบ่อยได้แต่อย่าถี่เกินไป เพราะ Frequency Caps เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำ Retargeting ไม่ให้กวนใจลูกค้าจนบล็อกคุณออกจากใจ แต่ละธุรกิจมี Customer Jourey ต่างกัน บางครั้งจะยึดหลัก The Rule of 7 เหมือนกันหมดไม่ได้ ดังนั้นในการทำ Retargeting ทุกครั้ง อย่าลืม ศึกษา Journey ลูกค้าของคุณให้ดีและต้องละเอียดจนกระทั่งรู้ว่า ลูกค้าของคุณต้องเห็น Ads กี่ครั้งถึงจะตัดสินใจซื้อ และอย่าลืมตั้งความถี่ที่ให้ Ads ไปปรากฎผ่านตา ทั้งจำนวนครั้งและระยะห่างของแต่ละ Ads ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้ากดจ่ายค่าที่พักไปแล้ว Ads เสนอดีลโรงแรมควรจะต้องหยุดทันทีหันมาใช้ Conversion Tags ช่วย ตัวช่วยนี้สำคัญมากเมื่อมีลูกค้าเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของคุณ การมี Conversion Tags เหมือนเป็นโค้ดลับที่เอาไว้ใช้งานหลังบ้านเพื่อบอกว่า ลูกค้าคนนี้เข้ามาทำอะไรในเว็บไซต์บ้าง ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าเข้ามาดูที่พักในเว็บไซต์ กดจ่ายเงินแล้ว คุณสามารถติด Tag “Making purchase on web” ไว้แล้วปล่อย Ads ชุดใหม่ ยกตัวอย่างเช่น Ads เสนอ Activities package หรือ โปรโมชั่นบริการรถเช่า แต่ถ้าคุณยังขืนปล่อย Ads เดิมซ้ำๆ หรือปล่อย Ads เดียวให้กับทุกคนที่อยู่คนละ Funnel กัน ลูกค้าอาจจะรำคาญจนเลิกใช้บริการของคุณไปก็ได้นะ อย่ามุ่งแต่ Retargeting คนเก่า จนลืมหาคนใหม่ๆ ข้อนี้ท่องให้ขึ้นใจ ต่อให้การทำ Retargeting เวิร์คขนาดไหน แต่ถ้าไม่ขยันหา Potential customer ใหม่ๆเข้าระบบ ธุรกิจอาจจะลำบากในวันข้างหน้าเอาได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมบาลานซ์ให้ดี ระหว่างกระตุ้นการซื้อคนเก่ากับพยายามหาลิสต์ใหม่ๆการทำ Retargeting ถ้าไม่กำหนดความถี่ Frequency Caps ให้ดี แถมยังไม่ติด Conversion Tags ช่วยจัดการ คุณยิง Ads เดิม Retargeting อยู่ซ้ำๆ คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลูกค้าจะรู้สึกถูกกวนใจ เหมือนโดนสะกดรอยตาม เมื่อลูกค้าไม่แฮปปี้ ธุรกิจก็คงจะแฮปปี้ได้ยากเช่นกัน
สรุปทั้งหมด ในยุคที่ Information Overload การทำ Retargeting จึงเป็นเครื่องมือการตลาดที่มีอิทธิพลมากในช่วงนี้ นอกจากคุณจะต้องเรียนรู้วิธีการทำ Retargeting เพื่อนำพาธุรกิจโตได้แบบก้าวกระโดดแล้ว เทคนิค How to Retargeting ยังไงไม่ให้กวนใจลูกค้า ก็เป็นอีกกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้คุณทำการ Retargeting ได้แม่นยำและได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม โดยที่ไม่เสียลูกค้าไปแม้แต่คนเดียวครับ