จะวิเคราะห์เว็บไซต์ ทำไม Google Analytics ถึงไม่พอ ข้อมูลที่เราได้จาก Analytics tool นั้นจะเป็นข้อมูลแบบกว้าง ๆ ที่ทำให้เราเห็นภาพรวมว่าแต่ละจุด แต่ละหน้า มีคนคลิก เข้าผ่านช่องทางไหน อย่างไรเสียมากกว่า แล้วถ้าข้อมูลนั้นอนุมานว่า เขาเข้ามา (มี Traffic เข้ามาในหน้านี้) แต่ไม่ได้ไปต่อยังหน้าอื่น เหตุผลมันคืออะไรกันล่ะ? คำตอบที่ถูกต้องไม่มีใครรู้แน่ชัดเจนกว่าคุณจะเป็นเขา (user)
Hotjar เครื่องมือที่จะช่วยให้คุณเข้าใจลูกค้าเหมือนกับนั่งอยู่ข้าง ๆ Hotjar เป็น CRO Tool หรือ Conversion Rate Optimization Tool ที่ถูกนำมาใช้บนเว็บไซต์ทั่วโลกมากกว่า 550,000 เว็บ ทั้งองค์กรทุกขนาด ทั้ง Agencies และ Consultants เช่น Adobe, Air Canada, Nintendo, AVG, iProspect, Conversionista, และ AGConsult เพื่อทำความเข้าใจผู้ใช้ให้มากขึ้น พัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงใจเขามากขึ้น
ถูกก่อตั้งเมื่อปี 2014 ไอเดียเริ่มต้นมาจาก ความต้องการจะทำเครื่องมือที่สามารถวิเคราะห์ผลก็ได้ เก็บผลตอบรับ (Feedback) ก็ได้ ต้องใช้งานง่าย ไม่ว่าผู้ใช้งานจะเป็นคนที่ทำฝั่งดีไซน์ หรือ จะเป็นนักการตลาดก็ดูและวิเคราะห์ผลได้ จนเกิดมาเป็น Hotjar เครื่องมือที่เปี่ยมไปด้วยฟีเจอร์มากมาย ทั้ง Heapmap, Visitor recording, Feedback, และ Survey ที่จะช่วยในการทำความเข้าใจผู้ใช้ทั้งในเรื่องที่เขาบอกและเรื่องที่เขาไม่ได้บอก 😶 และที่สำคัญ คือ สามารถทดแทนการซื้อ Tool หลาย ๆ ตัวได้ทำให้มีราคาถูกและคุ้มค่ากว่ากันมาก
เริ่มต้นใช้งาน Hotjar ได้ที่นี่
ภาพจาก hotjar แผนภาพเก่าที่ Hotjar เปรียบเทียบกับวิธีแบบเก่าและวิธีแบบใหม่ด้วย Hotjar
ฟีเจอร์เหล่านี้จะพาคุณมาอยู่ในจุดเดียวกับผู้ใช้ มองเห็นว่าเขากำลังทำอะไร เขาติดอยู่จุดไหน องค์ประกอบไหนที่ส่งผลให้เขาตัดสินใจที่จะออกจากหน้านี้ไป สิ่งที่คุณจะได้รับ ไม่ใช่ภาพกว้าง ๆ อีกต่อไป
นี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่ว่า ทำไมต่อให้คุณใช้ Analytics Tool แล้วเรายังแนะนำให้คุณใช้ Hotjar เพิ่มเติม
บทความที่เกี่ยวข้อง:
CRO Hack ตอนที่ 1 : ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดคลิก
CRO Hack ตอนที่ 2 : ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดสมัครสมาชิก
CRO Hack ตอนที่ 3 : ทำอย่างไรให้ลูกค้าเพิ่มสินค้าลงตระกร้า
CRO Hack ตอนที่ 4 : ทำอย่างไรให้ลูกค้ากดยืนยันการสั่งซื้อ
ทำความรู้จักกับ Hotjar ให้มากขึ้นกันอีกสักนิด Heatmap ภาพจาก hotjar มาจากเทคโนโลยีแผนที่ที่เอามาผสมกับการวิเคราะห์ทางประชากรศาสตร์ พอเอามาอยู่บนเว็บไซต์ Heatmap คือ แผนที่ของเว็บไซต์ที่แสดงว่าจุดไหน คือ จุดที่มีการคลิกหรือมีการชี้เคอร์เซอร์นาน ๆ โดยใช้สเกลสีไล่สีแดงไปสีฟ้าบอกความแตกต่าง ยิ่งสีร้อน ๆ อย่างสีแดงมีความหมายว่า มีการชี้หรือคลิกไปที่บริเวณนั้นมาก โดย Heat map จะแบ่งออกมาได้อีก 3 แบบ คือ Click, Move และ Scroll
แบบ Click จะทำให้เรารู้ว่า คนคลิกหรือไม่คลิกปุ่มไหน มากหรือน้อย รวมไปถึงการแตะบนโทรศัพท์ ทำให้เรากลับมามองว่าการออกแบบปุ่มของเรา ดีไซน์ หรือ ตำแหน่ง มันมีปัญหาหรือเปล่า แบบ Move เพื่อดูว่าเขากำลังมองหาหรือดูอะไรในตำแหน่งไหน เหมือนเวลาที่เราอ่านอะไรหาอะไร บางทีเราก็จะลากเมาส์ตาม แบบ Scroll จะบอกว่าผู้เข้าชมเว็บไซต์กี่เปอร์เซ็นที่ scroll หน้าเว็บมาถึงส่วนไหนบ้าง ส่วนนี้จะทำให้เรารู้ว่าเราควรเอาปุ่ม CTA ไว้ตรงไหน หรือ ข้อมูลบางอย่างมันจำเป็นต้องอยู่ส่วนท้าย แต่เขาเลื่อนไปไม่ถึง เราก็ใช้มาวิเคราะห์หาสาเหตุได้ว่าเพราะอะไรเขาถึงไม่เลื่อนต่อ หรือ เขาคิดว่านี่คือสุดเว็บไซต์หน้านี้แล้ว ข้อจำกัดของ Heat map คือ เว็บไซต์ควรมียอดผู้เข้าชมมากกว่าหลักพัน เนื่องจากดาต้าที่น้อยเกินไป จะเห็นผลไม่ชัดแล้วก็เอาไปทำอะไรต่อได้ยาก เช่น การ scroll ถ้าเรามีคนเข้าชมไม่เยอะ data ก็อาจจะไปกองแค่แบนเนอร์ด้านบน เริ่มต้นใช้งาน Hotjar ได้ที่นี่
Tips: 4 จุดสำคัญที่แนะนำให้ติด Heatmap
Home page และ Landing page หน้าเหล่านี้จะมีคนเข้ามาจำนวนมาก พร้อมกับเป็นทางคลิกไปสู่หน้าอื่น ๆ ได้หลากหลาย เราจะเห็นพฤติกรรมว่าเขาเลือกไปดูอะไรต่อ หรือคลิกออกไป องค์ประกอบต่าง ๆ ในหน้าทำให้เขาอยู่ในเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้นหรือไม่ Top page หน้าที่มีผู้เข้าชมเยอะ ๆ เป็หน้าที่พลาดไม่ได้เลย เพราะการติด Heatmap ที่หน้านี้จะบอกว่ามันได้ผลดีเพราะองค์ประกอบส่วนไหน และนำส่วนนี้ไปปรับปรุงหน้าอื่น ๆ ให้เกิด Top page เพิ่มขึ้นได้อีก Under performing page หน้าที่เพอฟอร์มไม่ค่อยดี ถึงจะตรงข้ามกับข้อด้านบน แต่ก็เป็นอีกหน้าที่เราควรติด Heatmap เพราะการดู Heatmap จะแสดงให้เห็นว่าเราพลาดตรงไหนแล้วแก้ไขให้ได้เร็วที่สุด New page หน้าที่เราเพิ่งสร้างมาใหม่เรายังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับส่วนนี้มากนัก การติด Heatmap จะช่วยให้เราเก็บข้อมูลสำคัญ ๆ ของการแสดงผลในหน้านี้มากขึ้น Visitor recording สำหรับคนที่ต้องการเจาะลึกแบบสุด ๆ เจ้าฟีเจอร์ตัวนี้จะคอยถ่ายวิดีโอหน้าจอของผู้ใช้แต่ละคนในหน้าที่เราติด Tracking ไว้ ทำให้เราเห็นทุกการเคลื่อนไหวหมดเลยว่าเขาขยับไปตรงไหน อย่างไร คลิกอะไรบ้าง โดยที่รักษาความเป็นส่วนตัวผู้ใช้ด้วยการตั้งให้ปิดพาสเวิร์ดเวลาที่พิมพ์ลงไป
แต่การจะใช้ฟีเจอร์นี้มันไม่มีทางลัด จะเก็บได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้เข้าผ่านหน้าที่เราติด snippet พอเก็บดาต้ามาแล้ว ก็ต้องนั่งไล่ดู recording ของแต่ละผู้ใช้ทีละคลิป
ภาพจาก hotjar.com ผู้ช่วยคนสำคัญของฟีเจอร์นี้ที่จะไม่ปล่อยให้คุณทำงานหนักจนเกินไป คือ Filter ที่จะกรองว่าเอากี่ Pageviews ขึ้นไป Tag, Sort ต่าง ๆ แบ่งกลุ่มของผู้ใช้เพื่อดูเฉพาะแคมเปญ คัดให้เหลือน้อยลง หรืออาจจะใช้เพื่อแบ่งงานให้แต่ละทีมมาช่วยกันดู หรือถ้ามีจำนวนมาก(เกิน)ก็เขียนคอมเมนต์ทิ้งไว้ให้กันเป็น remark ไว้ คนที่มาทำงานต่อก็ทำได้ง่าย
Visitor recording จะต่างกันกับ Heatmap
บน Heatmap เราจะเห็นการจุดสีขึ้นเมื่อมันเกิด Action บางอย่าง จากการคลิก, การแตะ การขยับเคอร์เซอร์, การสกอร์ แต่ Recording จะเหมือนเราอยู่กับเขา เราจะรู้ว่าเขาขยับเมาส์ไปที่ไหน ดูหน้านี้แล้วไปหน้าไหนต่อ หยุดอ่านหรืออ่านซ้ำตรงไหน
ว่าง่าย ๆ คือ เห็นทุกการเคลื่อนไหวเลยจริง ๆ
Incoming Feedback เป็นฟีเจอร์ที่ติดเข้าไปในหน้าเว็บ ทำให้เขาบอกเราได้ทุกเวลาว่าเขาพึงพอใจกับหน้านี้หรือไม่ นอกจากนี้ Hotjar ยังใส่ความพิเศษเข้าไปที่ทำให้ผู้ใช้สามารถชี้บอกได้ด้วยว่าจุดที่เขาชอบหรือไม่ชอบนี่มันคือส่วนไหนกัน ทำให้สโคปงานของเราแคบลง ง่ายต่อทีมดีไซน์และทีมพัฒนา เพราะรู้ได้เลยว่าต้องไปแก้ที่จุดไหน
Survey อีกช่องทางที่เราจะได้รับฟังความคิดเห็นของเขา
Feedback จะบอกเราว่าเขาชอบหรือไม่ แต่ Survey จะทำให้เราถามเขาได้ละเอียดขึ้น และใช้ในการวัดความเป็นผู้สนับสนุนของผู้ใช้
อาจจะใส่คำถามลงไปสัก 2-3 ข้อ เช่น คุณชอบอะไรมากที่สุดบนหน้านี้ คุณไม่ชอบอะไรมากที่สุดบนหน้านี้ และคุณจะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้สินค้าหรือบริการของเราไหม 0-10 คะแนน โดยคำถามพวกนี้มักเอาใส่ไว้หลังเกิด Conversion บางอย่างเพื่อสอบถามความพึงพอใจ
การให้คะแนนความพึงพอใจ หรือ Net Promoter Score (NPS) คือ เครื่องมือในการวัดความเป็นผู้สนับสนุนต่อของผู้บริโภค โดยการพิสูจน์ว่าคำถามไหนบ้างที่ส่งผลกับพฤติกรรมผู้บริโภค เมื่อถามแล้วผู้บริโภคอยู่กับแบรนด์นั้นนานขึ้น กลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำอีกหรือไม่ เมื่อเรารู้ความรู้สึก ความต้องการของลูกค้า ก็จะทำให้เราเอาข้อมูลนี้กลับไปพัฒนาส่วนนั้น ๆ ต่อได้ ถ้า Heatmap กับ Recording ฟีเจอร์ที่ทำให้เรามองเห็นข้อบกพร่องด้วยสิ่งที่เขาไม่ได้บอก (แต่เห็นได้จากพฤติกรรมของเขา) ทำให้รู้ว่าผู้ใช้ติดอยู่ในจุดไหน และทำไมไม่เกิด Conversion เสียที Survey และ Feedback ก็เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกัน คือ ทำให้รู้ถึงจุดด้อย จุดผิดพลาด ความพึงพอใจของเขาจากปากของเขาเอง
อย่างไรก็ตาม Feedback เป็นเรื่องของความคิดเห็น ในเชิงของ Data, Feedback จะมีน้ำหนักน้อยกว่าข้อมูลพฤติกรรมของ user จริง ๆ การวิเคราะห์ข้อมูลจึงอิงจากพฤติกรรมของผู้ใช้บนเว็บไซต์เป็นหลัก
Use Case หลายคนอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัดว่า เราจะเอา Heatmap ไปใช้ยังไง?
Hotjar ก็มี Heatmap Guide มาฝาก ซึ่งตัวบทความของเขาตั้งชื่อได้ Clickbait มาก “A 5-minute fix that improved conversion by 40% ” วิธีปรับเว็บไซต์เพิ่ม Conversion ถึง 40% ใน 5 นาที
มันจะเปลี่ยนได้ง่ายและไวขนาดนั้นเลยไหม เราจะไปดูกัน (Case ที่ 1-4)
Case 1: Taskworld Taskworld เป็น Task management ที่ให้ความสำคัญกับการสมัคร (Sign up) มากเพื่อเก็บ Lead แล้วเปลี่ยน Lead ให้กลายเป็นลูกค้า เขาติด Heatmap ไว้บนหน้าที่ต้องการดูว่าคนมี Interact กับหน้านั้นอย่างไรเพื่อหาวิธีพัฒนาหน้าเว็บไซต์หน้านั้น
จากภาพนี้เราจะเห็น
1. Under-used CTA สำหรับหน้านี้ที่เป็นหน้าสมัคร เรากลับเห็นว่าปุ่ม Sign up ถูกกดน้อยกว่า Sign in
2. ช่องกรอกข้อมูลไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งอาจจะทำให้หลาย ๆ คนออกจากหน้านี้ไปก็ได้
3. Timezone ช่องกรอกช่องสุดท้ายเรียกว่าไม่มีคนกดเลย
Taskworld จึงเอาปุ่ม Sign in ออก การปรับแต่งหน้าเว็บด้วย 1 ปุ่ม CTA เอาช่องกรอกข้อมูลออกให้เหลือแค่ Email เท่านั้น เพียงการกระทำไม่กี่อย่างทำให้ Conversion rate เพิ่มขึ้น 40%
ซึ่งเขาบอกว่ามันสำคัญมากที่ต้องหาคนสมัครใหม่อยู่เรื่อย ๆ
วิธีนี้จะทำให้เค้าเก็บ Email list ได้ เพิ่มคน Sign up ได้ ส่วนข้อมูลที่เหลืออาจจะเป็นการส่งไปในอีเมล เช่น การตั้งค่ารหัสผ่าน แล้วจากนั้นจึงค่อยให้กรอกข้อมูลสำคัญส่วนอื่น
Case 2: Bannerstack Bannerstack เป็นตัวช่วยในการดีไซน์ การทำแบนเนอร์ออนไลน์ ที่ตัวเขาเองถึงแม้จะใช้ Analytics tool อยู่ แต่ข้อมูลตัวเลขไม่ได้ช่วยให้เขาเห็นภาพว่าจะเพิ่ม Conversion อย่างไร นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเขาถึงใช้ Heatmap
จากภาพจะเห็นว่า ปุ่ม try it for free ที่เป็นปุ่ม call to action กลับถูกคลิกน้อยกว่าปุ่มที่อยู่บนส่วนเมนูเสียอีก ดังนั้นเขาลองเพิ่มไซส์และเปลี่ยนสีของปุ่ม CTA ดูให้มัน Contrast กันมากขึ้น ผลคือคนสมัครจากส่วนนี้มากขึ้นถึง 25%
Case 3: CCV Shop (Netherlands) CCV Shop ช่วยสร้างหน้าร้านออนไลน์เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจ e-commerce CCV สร้าง Lead ผ่าน Landing page และทีม UX ของเขาต้องการเข้าใจลูกค้ามากขึ้นและเปลี่ยนข้อมูลให้เป็น Conversion
จากภาพจะเห็นภาพกว้าง ๆ ว่า ผู้ใช้ทำอะไรบนหน้า Landing page บ้าง, เขาคลิกตรงไหน เลื่อนไปไกลแค่ไหน, และมี interact กับองค์ประกอบอื่น ๆ ในหน้ายังไง เขาเลยลองใช้คู่กับ Session recordings เพื่อเจาะลึกพฤติกรรมผู้ใช้มากขึ้น
ทำให้เขาเห็นบัคเล็กน้อย ๆ บางปัญหาที่ต้องแก้ไข เค้าเลยกำหนดเป็นสมมติฐานขึ้นมาแล้วก็ทำ A/B test หลังจากที่เขาได้ผลที่เรียบร้อยมันทำให้ Conversion rate ของการตลาดบนเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 38%
เริ่มต้นใช้งาน Hotjar ได้ที่นี่
Case 4: Epiphany ภาพจาก prolificnorth นอกจากการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ก็เป็นอีกอุปกรณ์ที่คนใช้ในการเข้าถึงหน้าเว็บไซต์มากไม่แพ้กัน
ตัวอย่างจาก Epiphany - Digital Agency ในอังกฤษ เขาใช้ Hotjar ช่วยลูกค้าของเขาเพิ่ม Conversion ซึ่งตัวลูกค้ามี Session สูงถึง 200,000 sessions/เดือน และมีฐานลูกค้าที่ใช้งานผ่านโทรศัพท์กลุ่มใหญ่มาก
เขาใช้เครื่องมือหลายตัว ทั้ง Google Analytics, Recording และ Polls อื่น ๆ เพื่อสร้างภาพแสดงว่าคนมี interact อย่างไรบนเว็บไซต์ให้ได้สมบูรณ์มากที่สุด
จากข้อมูลทั้งหมดที่เขาเก็บได้ เขาจึงรู้ว่าหน้านี้ออกแบบมายังไม่ช่วยให้คนเจอสิ่งที่เขาต้องการเท่าที่ควร และเขาต้องออกแบบโครงสร้างหน้าเว็บนี้ใหม่ด่วน
ภาพจาก hotjar แบบซ้ายคือหน้าเว็บแบบเดิม เราจะเห็นการไล่สีที่บอกว่า คนเลื่อนมาจนถึงด้านล่างเยอะมาก ในเว็บรูปแบบอื่นอย่างเว็บให้เนื้อหาข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้ มันเป็นเรื่องดีที่เขาอ่านจนจบ แต่ไม่ใช่กับเว็บขายของ เพราะนั่นแปลว่าลูกค้าหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ จึงต้องเลื่อนลงมามากเพื่อตามหาสิ่งนั้น ซึ่ง heatmap นี้เป็นตัวยืนยันข้อมูลชั้นดีทีเดียว
ทำให้ทีมต้องเพิ่มฟีเจอร์ ฟิลเตอร์เข้าไปในส่วนบนของหน้านี้ ช่วยให้คนหาของง่ายขึ้น
ทีนี้เรามาดู Heatmap อันใหม่กัน อันด้านขวา
มีสีแดงอยู่แค่สั้น ๆ ก่อนจะกระโดดไปสีน้ำเงินเลย แสดงว่าคนเลื่อนไปเพียงนิดเดียวเท่านั้น นั่นเพราะคนเจอสิ่งที่ต้องการได้ไวในส่วนบน ๆ ของหน้า
รวมกับการปรับแต่ง ทำงานในส่วนของ SEO, CRO, Design, Content ใหม่ Epiphany ก็นำส่วนนี้มาเทสต์หลาย ๆ เวอร์ชั่น
ทั้งหมดนี้เพิ่ม Conversion rate มาถึง 19.7% แต่ถ้าเจาะแค่ในส่วนของอุปกรณ์ประเภทโทรศัพท์ เขาเพิ่ม Conversion rate ได้เยอะมาก ถึง 63%
Case 5: The Good หลังจากที่เราพูดถึงในส่วนของ Heatmap ไปสมควรแล้ว ขอยกอีก Use case หนึ่งที่เขามีวิธีใช้เกี่ยวกับตัว Visitor recording หรือ Session recording กันบ้าง
Case ของ The Good ที่เป็น CRO agency และมี Mission ที่ตั้งได้เท่มาก แปลเป็นไทยคร่าว ๆ คือ เค้าจะปรับแต่งเอาส่วนที่มัน Bad ออกให้หมด เหลือแค่ Good เท่านั้น
ลูกค้าเจ้านี้ของ The Good คือ Swiss Gear ที่ขายเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เดินทาง พวกกระเป๋าต่าง ๆ
The Good ใช้ Hotjar ช่วยในการทำ CRO และยอด Conversion ออกมาน่าตกใจมาก เพราะมันสูงขึ้นถึง 132.7%
ในการที่เราจะทำแคมเปญออกมาสักอันหนึ่งเพื่อแก้ปัญหา ข้อสำคัญคือเราต้องรู้ว่าเป้าหมายของเราคือใคร Persona เป็นอย่างไร และ The Good ใช้วิธีที่น่าสนใจมากในการหา Persona ให้กับ Swiss Gear
ภาพจาก hotjar เขาใช้ Google analytics ผสมกับ Session recording ดูและวิเคราะห์ผลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นับร้อยก่อนจะได้มาเป็น Persona 3 รูปแบบ คือ
User ที่อยู่สนามบินใหญ่ เข้าหน้าเว็บผ่านโทรศัพท์ระหว่างไฟลท์ Desktop user ผ่าน Paid search เหล่านักช็อปนักล่าหาของถูก Bargain Hunter สองอันแรกอาจจะจับจุดได้จาก Location, Source และ Device แต่ข้อนี้จะได้มาจากการสังเกตที่ผู้ใช้เข้ามายังหน้าเว็บ ไปยังหน้าเจาะจงประเภทสินค้า แล้วเข้าที่หน้านั้นซ้ำ ๆ นั่นเอง เขาแบ่งกลุ่ม Persona ตามลักษณะอุปกรณ์และตรวจสอบอีกครั้งและเขาได้พบปัญหาที่ชัดเจนขึ้นอีก เช่น พวกเขาพบว่าปัญหาทางด้านภาษาและไอคอนบนเว็บไซต์ในโทรศัพท์มือถือที่ผู้ใช้เข้าใจได้ไม่ดีมากพอ
ภาพจาก hotjar
Case 6: Marlin ภาพจาก hotjar
Marlin เป็นบริษัทที่ทำกับเกี่ยวกับ Visual Communication โดยเขาใช้ Hotjar ดูเวลาที่ผู้ใช้รายงานบัคในซอฟต์แวร์ของเขามา ก็จะไปดูที่ Recording ว่ามันอยู่ตรงไหน ซึ่งถ้าต้องไปงมเองมันจะใช้เวลานานกว่ามาก ๆ
ภาพจาก hotjar นอกจากนี้ Stephen Ippolito, Product Manager ของ Marlin เขาสร้างกิจวัตรขึ้นมาให้ตัวเองโดยทุก ๆ ศุกร์เขาจะใช้เวลา 30 นาทีในการดู Session recording เพื่อรวมปัญหาที่ผู้ใช้หลายคนเจอเหมือนกัน แล้วไปแชร์กับทีมพัฒนา ทำให้ทีมพัฒนาสามารถเข้าใจผู้ใช้ได้ดี “มากแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน”
เมื่อ Marlin ปล่อยฟีเจอร์ใหม่ เขาก็จะยิ่งเข้าใจและออกแบบ UX โดยคำนึงถึงผู้ใช้ในปัญหาที่เกิดมากขึ้นในทุก ๆ ครั้ง
แพ็กเกจ Hotjar เริ่มต้นใช้งานได้ฟรีในแพลน Basic เก็บข้อมูล 2,000 pageviews ต่อวัน
Plus เหมาะสำหรับคนที่มี Traffic บนเว็บระดับนึง แต่ไม่ได้เยอะมากนัก เป็นตัวเลือกในการเริ่มพัฒนาที่ดี
แพลนที่ใหญ่ขึ้นมาคือ Business ที่มีหลายเรตราคาขึ้นอยู่กับว่าปกติมีคนเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขนาดไหน
เข้าถึง Advanced feature ได้ เช่น การติด Tag อัตโนมัติ, Page targeting, note ใน recording เป็นต้น
ถ้าเป็นแบบ Agency ก็จะแบ่งได้ว่าสำหรับเว็บลูกค้าคนไหน สามารถแชร์ลิงก์เฉพาะให้ลูกค้าเข้ามาดูได้ ส่วนราคาก็ต้องไปตกลงกับเขาอีกที ถ้าคุณเป็น Agency ตัวนี้ก็จะใช้งานได้ดีกว่า ราคาถูกกว่า เก็บ Data ได้เยอะกว่า
สามารถดูแพ็กเกจเพิ่มเติมได้ที่นี่
สรุป Hotjar ช่วยตอบข้อสงสัยว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น รู้ฟีดแบ็กจากเขาจริงๆ ไม่ใช่คิดไปเอง คาดไปเอง ทั้งจากที่แสดงให้เห็นและจากฟีดแบ็กที่ได้รับกลับมาจากเขา ผ่านอุปกรณ์ทั้งคอม โทรศัพท์และแท็บเล็ต
ส่วนของการใช้งานก็ง่าย แทบไม่ต้องใช้เวลาเรียนรู้ ไม่ต้องเก่ง Data Science ก็ทำได้ เพราะหลักการของเค้าคือการดูว่าผู้ใช้สนใจส่วนไหน ใช้เวลาอยู่กับตรงไหน เพราะอะไร เช่น เพราะคิดว่าจะซื้อดีไหม หรือ เพราะกำลังสนุกกับการอ่านบทความ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาปรับแต่งเว็บไซต์จนเกิด Conversion ได้จริง
ที่สำคัญเลยคือ Hotjar มีเครื่องมือ มีฟีเจอร์หลายอย่างให้ใช้งานเหมือนใช้หลายซอฟต์แวร์ ประหยัดเงินได้มาก ทำให้บริษัทขนาดเล็ก รายย่อย สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้มากขึ้น พัฒนาเว็บไซต์ได้มากขึ้น เพราะอย่างไรก็ตาม การทดลองและทดสอบจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ตอบโจทย์ และเป็นผลดีกับธุรกิจของเราด้วย
เริ่มต้นใช้งาน Hotjar ได้ที่นี่
Source: hotjar