UX Writing เปรียบเสมือนเป็นไกด์ที่มาในรูปแบบ ‘คำ’ หรือ ‘ประโยค’ ที่คอยนำทางผู้ใช้งานให้ไปสู่จุดหมายที่ต้องการได้อย่างราบรื่นบนแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ พร้อมกับคอยอำนวยความสะดวกและสร้างประสบการณ์ที่ดีให้พวกเขาตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาใช้งาน
ลองสังเกตดูว่าถ้าหาก Product ไหนมี UX Writing ที่ไม่ดี ผู้ใช้งานส่วนมากก็จะไม่เข้าใจและไม่สามารถทนใช้งาน Product นั้น ๆ ก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนการสร้าง Conversion ในแบบที่เราต้องการได้ ดังนั้นในบทความนี้ The Growth Master จะมาอธิบายให้ฟังว่า UX Writing ที่ดีคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? และถ้าหากคุณอยากเป็น UX Writer จะต้องมีสกิลอะไรบ้าง? ไปดูกันเลย
ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
UX Writing คืออะไร? UX Writing คือ การเขียน ‘คำ’ หรือ ‘ข้อความ’ บนแอปพลิเคชัน, เว็บไซต์ หรือ Digital Product ทุกรูปแบบ เพื่อสื่อสารให้ผู้ใช้งานเข้าใจใน Product พร้อมได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดี ราบรื่น และไม่มีสะดุดตลอดการใช้งาน โดยลักษณะที่ดีของ UX Writing จะต้องมีลักษณะดังนี้
Clear – มีการเขียนที่ชัดเจน ผู้อ่านเข้าใจได้ทันที ไม่ต้องตีความเพิ่มเติมConcise – เขียนได้กระชับจับใจความ สั้น และไม่ยืดเยื้อUseful – เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน ช่วยให้ผู้อ่านแก้ปัญหาและเป็นไกด์ไปสู่ขั้นตอนต่อไปได้ถึงแม้คุณจะมั่นใจว่า Product ของคุณนั้นมีคุณค่าต่อผู้ใช้งานจริง ๆ แต่หากผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ไม่เข้าใจสิ่งที่ Product ต้องการจะสื่อสารกับพวกเขา สุดท้ายก็อาจจะต้องเสียพวกเขาไป ดังนั้น UX Writing นี่แหละที่จะเป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้ผู้ใช้งานใช้ Product ของเราต่อไปเรื่อย ๆ
ภาพจาก medium อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม:
ความสำคัญของ UX Writing ที่มีต่อ Product ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจเกี่ยวกับ Product มากขึ้น บางครั้งในการใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ถ้าทีม Product ใช้แค่ไอค่อนเพียงอย่างเดียวอาจทำให้สื่อสารออกมาได้ไม่ชัดเจน และผู้ใช้งานอาจเข้าใจคนละอย่างกับที่ Product ต้องการจะสื่อออกไป ดังนั้นการที่ UX Writer เขียนข้อความกำกับไว้ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าใจตรงกับที่ Product ต้องการสื่อสารมากขึ้น
ช่วยให้ Product มีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แน่นอนว่าในการใช้งาน Product แต่ละอย่าง ผู้ใช้จะใช้งานบนหน้าจอสี่เหลี่ยม ดังนั้นเราต้องทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าเขาไม่ได้คุยกับคอมพิวเตอร์หรือระบบ AI จาก Product ของเรา การมี UX Writing ที่ดีจะช่วยทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเขาได้สื่อสารกับมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ระหว่างประโยคที่ว่า “ติดต่อผ่าน Inbox” กับ “สอบถามผ่าน Inbox คลายทุกข้อสงสัย” เราจะรู้สึกว่าประโยคที่สองจะดูมีความเป็นมนุษย์มากกว่าประโยคแรก ซึ่งการเพิ่มความเป็นมนุษย์เข้าไปให้ Product จะสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานกล้ากด Inbox ไปหาแบรนด์มากขึ้นนั่นเอง
ช่วยทำให้ผู้ใช้ใช้งานได้ต่อเนื่องลื่นไหล คุณเคยเข้าเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแล้วเกิดช็อตฟีลไม่รู้ว่าจะต้องไปตรงไหนต่อหรือเปล่าคะ? หรือใช้งานอยู่ดี ๆ แล้วเกิดปัญหาแต่ก็ไม่สามารถหาทางออกได้ นอกจากจะเป็นปัญหามาจากฝั่ง UX/UI Design แล้วปัญหาส่วนหนึ่งก็มาจาก UX Writing เช่นกัน
หาก Product มีการเขียน UX Writing ที่ดี ชัดเจน ก็จะช่วยให้ผู้ใช้งานรู้ได้ทันทีว่าขั้นตอนต่อไปต้องไปตรงไหน แล้วต้องทำอะไรบ้าง จนสามารถทำสิ่งที่เขาต้องการได้ตั้งแต่ต้นจนจบ Flow ได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด
UX Writer คือใคร? มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง? UX Writer คือ นักเขียนคำหรือข้อความบนแอปพลิเคชัน, เว็บไซต์ หรือ Digital Product ที่ทำให้ผู้ใช้งานอ่านแล้วเข้าใจทันที โดยที่ไม่ต้องมีการตีความเพิ่มเติม พร้อมทั้งสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับผู้ใช้ตลอดการใช้งาน Product นั้น ๆ
หลายคนอาจสงสัยว่า UX Writer ใช่คนเดียวกับ Copywriter หรือเปล่า? คำตอบคือ ไม่ใช่ Copywriter คือ นักเขียนข้อความหรือคำโฆษณาในเชิงการตลาด เพื่อโน้วน้าวให้ผู้อ่านคล้อยตามจนเกิด Action ตามที่ Copywriter ต้องการ เช่น กดดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน, ซื้อสินค้าหรือบริการ, กรอกแบบฟอร์ม ฯลฯ
ภาพจาก uxdesign ตัวอย่างงานเขียนของ UX Writer UX Writer จะต้องเขียนคำหรือข้อความที่ใช้กำกับบนส่วนประกอบต่าง ๆ บน Product ไม่ว่าจะเป็น ปุ่ม, กล่องข้อความ, แบนเนอร์, คำบรรยายหรือคำอธิบายส่วนต่าง ๆ ฯลฯ โดยภาษาที่นำมาใช้ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการเสมอไป แต่ UX Writer สามารถปรับ Mood & Tone ของภาษาให้เข้ากับ Product และกลุ่มผู้ใช้งานของเรามากที่สุดได้ รวมถึงปรับภาษาให้มีความเป็นมนุษย์มากที่สุด
ตัวอย่างเช่น ถ้าหาก Product ของเราเป็นแอปพลิเคชันเกม และกลุ่มผู้ใช้งานของเราเป็นวัยรุ่นส่วนใหญ่ ก็อาจจะใช้คำที่เป็นมิตรมาก ๆ ได้ แต่หากเป็น Product อย่างแอปธนาคาร เราก็อาจจะใช้คำที่เป็นทางการขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ลองมาดูตัวอย่างงานเขียนของ UX Writer จากแบรนด์ต่าง ๆ กัน
Twitter ด้วยธรรมชาติของ Twitter ที่เป็นโซเชียลมีเดียที่เน้นความเรียลไทม์ Twitter เลยเลือกใช้คำที่กระตุ้นให้ผู้ใช้งานอยากบอกเพื่อน ๆ ให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ณ ตอนนั้นบ้าง เลยใช้คำว่า “What’s happening?” ซึ่งเมื่ออ่านแล้วผู้ใช้ก็จะรู้สึกเป็นมิตรเหมือนมีเพื่อนหรือครอบครัวถามว่า “เกิดอะไรขึ้น” มากกว่าเป็นภาษาคอมพิวเตอร์
ภาพจาก twitter Duolingo Duolingo คือ แอปพลิเคชันเรียนภาษา ซึ่งเขามี Mission ให้ผู้ใช้ทำในแต่ละวัน ซึ่งประโยค “Great work! Let’s make this a bit harder…” เป็นประโยคที่มีคำชมและคำที่กระตุ้นให้ผู้ใช้รู้ว่าข้อต่อไปจะเพิ่มความท้าทายให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่ามันยากขึ้นแล้วนะ เพื่อกระตุ้นผู้ใช้งานทำ Mission นั้นให้สำเร็จ
Netflix หนึ่งในฟีเจอร์สำคัญที่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกหลงรัก Netflix ก็คือ ฟีเจอร์ Recommendation ตามความชอบของแต่ละคน (Personalization)
อย่างในเคสนี้ผู้ใช้งานเคยดูภาพยนตร์เรื่อง The Blind Shot มาแล้ว แต่ Netflix อยากแนะนำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ หรือใกล้เคียงกันมาให้ผู้ใช้งานเลือกดูต่อไป แทนที่แพลตฟอร์มจะใช้คำว่า Recommendation แบบตรง ๆ ธรรมดา ๆ แต่ Netflix เลือกใช้คำว่า “Because you watched The Blind Shot” เพื่อเพิ่มความเป็นมิตรให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น และรู้ว่าคอนเทนต์ที่แนะนำต่อไปนี้มี Genre ของเรื่องคล้ายจากเรื่องไหนนั่นเอง
UX Writer ต้องมีทักษะอะไรบ้าง? ปัจจุบันนี้อาชีพ UX Writer เป็นอาชีพที่ในตลาดเริ่มมีความต้องการตัวสูงขึ้นแล้ว ถ้าหากใครที่อยากลองเปลี่ยนสายงานมาเป็น UX Writer ก็ควรที่จะต้องมีทักษะดังนี้
ทักษะการเขียน หัวใจสำคัญของการเป็น UX Writer คือ มีทักษะการเขียนที่ดี เพราะ UX Writer จะต้องเขียนคำหรือประโยคที่ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย ซึ่งหากใครที่เคยใช้งาน Product ที่เขียนไม่ชัดเจนก็น่าจะเข้าใจดีว่ามันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานอย่างเราสับสนจนไม่อยากใช้ Product นั้นต่อ ซึ่งถ้าคุณเป็น UX Writer ก็ต้องเขียนให้ชัดเจน รวมถึงใส่ Mood & Tone ที่เหมาะสมกับแบรนด์ลงไปด้วย ซึ่งใครที่มีทักษะในการเขียนหรือเคยทำงานในสายคอนเทนต์หรือ Copywriting ก็จะช่วยให้ได้เปรียบในสายงานนี้นั่นเอง
เข้าใจพื้นฐานการสร้างแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ บางครั้งทั้งแอปพลิเคชันและเว็บไซต์มีองค์ประกอบบางอย่างที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นหาก UX Writer มีความเข้าใจในพื้นฐานทั้งการสร้างแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ก็จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น เรารู้ว่ากล่องข้อความนี้ควรต้องใช้ตัวอักษรขนาดเท่าไร แล้วต้องใช้กี่ตัวอักษรถึงจะให้ออกมาพอดีกับหน้าจอและเหมาะสมกับสายตาของผู้ใช้งานมากที่สุด ถ้าเรารู้แล้วว่ากล่องข้อความนี้ใส่ได้ 60 ตัวอักษร เราจะได้คิดมาให้พอดี เพราะถ้าคิดมาเกินไปเป็น 80 ตัวอักษรก็จะใช้งานไม่ได้ ซึ่งก็ต้องมีการทำงานร่วมกับฝั่ง UX/UI Designer อย่างใกล้ชิดด้วยในขั้นตอนนี้
เข้าใจในหลักการของ User Expereince (UX) เนื่องจาก UX Writer เป็นผู้ที่สร้างข้อความและ Microcopy ที่แนะนำคอยประสบการณ์ของผู้ใช้ ทำให้ UX Writer จำเป็นต้องเข้าใจ Flow ของผู้ใช้งาน Product ของเราผ่าน Interface และคิดเป็นขั้นเป็นตอน ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ UX Writer สามารถสร้างคำหรือประโยคที่เข้าใจง่ายผ่าน Flow ของผู้ใช้ โดยใช้ Microcopy ที่มาพร้อมกับ Mood & Tone ที่ Product ต้องการจะสื่อออกไปได้นั่นเอง
ทักษะในการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่น UX Writer ต้องทำงานร่วมกับคนหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น UX/UI Designer, UX Researcher, Product Manager, Product Owner หรือทีมอื่น ๆ ซึ่งจริงอยู่ที่ UX Writer เป็นงานที่สามารถทำคนเดียวได้ แต่หากไม่มีการสื่อสารกับทีมอื่นก็อาจทำให้งานออกมาไม่มีประสิทธิภาพและเป็นไปในคนละทิศทางได้
ภาพจาก brunch แนะนำคอร์สเรียน UX Writing ออนไลน์ฟรี UX Writng Hub คอร์สเรียน UX Writng ออนไลน์จาก UX Writng Hub เป็นคอร์สที่จะปูพื้นฐาน UX Writing ตั้งแต่เริ่มต้น ใครที่ไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อนคอร์สนี้ก็น่าสนใจมาก ๆ
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
พื้นฐานของ UX Writing และการออกแบบคอนเทนต์ หลักการจิตวิทยา UX (Psychology in UX) UX Writing Research และอื่น ๆ ราคา
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้ ที่นี่
Daily UX Writing สำหรับเว็บไซต์ Daily UX Writing จะไม่ใช่คอร์สเรียนออนไลน์โดยตรง แต่เป็นเหมือนเว็บไซต์ที่จะส่งชาเลนจ์ในการฝึกเขียน UX Writing ในสถานการณ์ต่าง ๆ มาให้เราทั้งหมด 15 วันด้วยกัน (ผ่านอีเมล) จริง ๆ ไม่ต้องทำทุกวันก็ได้ แต่ถ้าใครทำครบก็จะช่วยอัปสกิลให้คุณได้มากกว่าเดิม ซึ่งใครที่ต้องการลองทำชาเลนจ์และเรียนรู้ UX Writing ด้วยตัวเอง เว็บไซต์นี้ก็ถือว่าตอบโจทย์มาก ๆ
นอกจากนี้ บนเว็บไซต์ Daily UX Writing ก็จะมีบทเรียนให้เราอ่านเนื้อหาอีกด้วย โดยสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ประกอบไปด้วย
UX and Product copywriting basics SEO and UX copywriting; a short primer How to write 'Error Stage' messaging How to use negativity to improve UX How to write 'error' with empathy Using 'loss aversion' in UX Writing ราคา
สามารถดูรายละเอียดและสมัครเรียนได้ ที่นี่
Google UX Design Professional Certificate คอร์สเรียนปูพื้นฐานการเป็น UX Designer จาก Google x Coursera ซึ่ง UX Writer ก็สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของ User Experience และนำมาปรับใช้กับการทำงานได้เช่นกัน
สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้
Design Process พื้นฐานในการทำ UX Research แนวคิดพื้นฐานของ UX Concept สร้าง Portfolio การเป็น UX Designer ระดับมืออาชีพได้ ราคา
สามารถดูรายละเอียดและสมัครเรียนได้ ที่นี่
สรุปทั้งหมด UX Writing ถือว่ามีความสำคัญกับ Product ในปัจจุบันมาก ๆ เพราะทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่บนหน้าจอกันเกือบทั้งวัน ถ้าผู้ใช้งานไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีจาก Product ของเรา ก็จะไม่มีผู้ใช้งานคนใดอยากใช้งาน Product ของเรา
ดังนั้นการมี UX Writing ที่ดีก็จะช่วยทำให้ Product เรามีการสื่อสารกับผู้ใช้ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเมื่อผู้ใช้เข้าใจ Product เราแล้วก็จะช่วยทำให้เกิด Conversion ที่ธุรกิจต้องการได้นั่นเอง