Eung Rachkorn
ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ การตลาด และเทคโนโลยี / ClickUp Expert คนแรกของประเทศไทย / เป็นนักการตลาดที่ชอบเขียน และเป็นนักเรียนของทุกเรื่องใหม่ (นักทดลองผิด) 🪐
นักเขียน
ตั้งแต่ปี 2019 (หลังเกิด Covid-19) คนทำงานหันมาใช้ Collaborative Tool มากขึ้นถึง 44% – Gartner Survey
หากพูดการระดมไอเดียออนไลน์ การเรียนออนไลน์ Miro น่าจะเป็นเครื่องมือที่ถูกพูดถึงมากที่สุดตัวหนึ่ง ด้วยการทำงานบน Whiteboard สุด Simple ที่เข้ามาปุ๊บ เข้าใจปั๊บ และใช้งานได้ทันที
ความน่าสนใจของ Whiteboard คือ การช่วยเรียบเรียง Visual Thinking ในหัวของแต่ละคนมาจำลองบนบอร์ด อธิบายความซับซ้อนเข้าใจง่าย ดูได้พร้อมกันไม่ว่าจะที่ไหน เมื่อไร ซึ่งจริง ๆ มันเป็นฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การทำงานแบบ Hybird Working ขององค์กรสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี
เมื่อไม่นานมานี้ ClickUp ที่เป็น Project Management Software ได้ปล่อยฟีเจอร์ล่าสุด Whiteboard View ซึ่งก็ทำหน้าที่ได้ดีไม่ต่างจาก Whiteboard ของ Miro เลย วันนี้เราเลยจะมาเทียบกันว่า Whiteboard สองตัวนี้ ในแง่มุมที่แตกต่างกันสำหรับการทำงาน อะไรจะเวิร์กกว่า ไปติดตามกันเลย
ClickUp ใช้ยังไง? ไม่ต้องเสียเวลาหาคำตอบเอง! เพราะ The Growth Master มีคอร์สสอนการใช้ ClickUp แล้ว
สำหรับองค์กรไหนที่อยากปรับ Workflow ของการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นหรือกำลังหาตัวช่วยให้คุณช่วยใช้งาน ClickUp ได้อย่างลื่นไหล The Growth Master เลยจัดทำ คอร์สสอนการใช้งาน ClickUp ซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่มาแรงที่สุดแห่งปี !ใช้งานโปรแกรม ClickUp – Project Management Tool แบบปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญสอนโดย คุณเอิง รัชกร อุณหเลขจิตร ClickUp Expert ที่ได้รับการรับรองจาก ClickUp University คนแรกและคนเดียวในไทย! ในราคาเพียง 6,990 บาทเท่านั้น
สิ่งที่คุณจะได้เรียนในคอร์สนี้
✅ เข้าใจคอนเซปต์พื้นฐานของ ClickUp ตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ
✅ วิธีการนำฟีเจอร์ของ ClickUp ไปใช้ต่อยอดในการวาง Workflow ที่เข้ากับทีมของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✅ การพัฒนาระบบการจัดการและบริหารงานในแต่ละโปรเจกต์ผ่านฟีเจอร์บน ClickUp
✅ เทคนิคการใช้งาน ClickUp ในการจัดตารางงานให้องค์กรหรือทีมของคุณ
✅ การใช้งาน Template ต่าง ๆ บน ClickUp ที่จะช่วยร่นระยะเวลาการทำงานของคุณ
เกี่ยวกับคอร์สเรียนนี้
💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 6,990 บาท เรียนได้ตลอด 1 ปี
🎁 เนื้อหาจัดเต็ม 7 ชั่วโมง 46 Lessons! สอนแบบเข้าใจง่าย Step By Step มือใหม่ทำตามได้
🎓 เรียนแบบออนไลน์ 100% องค์กรซื้อครั้งเดียว ให้พนักงานใช้ได้ทั้งองค์กร
✨ แจกเทมเพลตเริ่มต้นการทำงานบน ClickUp ให้ไปใช้ได้ฟรี!! (มูลค่า 10,000 บาท)
💬 ได้สิทธิ์เข้า Facebook Group สำหรับถามคำถาม-ข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในคอร์สเรียนและการใช้งาน ClickUp จริง
สมัครเรียนคอร์สสอนการใช้งาน ClickUp ได้เลยตอนนี้ กดที่นี่
1. แง่มุมของจุดประสงค์ของการสร้าง
ก่อนที่ ClickUp จะมี Whiteboard View เขาสามารถ Embed บอร์ดของ Miro เข้ามาเป็น View ให้ใช้งานได้โดยตรง แต่ก็มีความหน่วง ๆ อยู่ เลยน่าจะมีเหตุให้ผู้ใช้งานบน ClickUp เรียกร้องการปรับปรุงในส่วนนี้หรือรีเควสฟีเจอร์ จนเกิดขึ้นมาเป็น Whiteboard ของ ClickUp
แต่อย่างไรก็ตาม ClickUp คือ Project Management Software ในขณะที่ Miro ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็น Whiteboard โดยเฉพาะ ซึ่งพอเราพูดถึง Whiteboard เราเอามันมาทำอะไรได้หลายอย่างมาก ๆ ตั้งแต่การระดมไอเดีย, การจัด Workshop, การโน้ตประชุม, การพรีเซนต์, การอธิบาย ไปจนการวางแผน วาด Wireframe เว็บไซต์ก็ทำได้เหมือนกัน
อ่านรีวิวเพิ่มเติม
ทุกอย่างที่ Whiteboard ออฟไลน์ทำได้ Miro ทำได้ทั้งหมด
Miro ถูกพัฒนาเป็น Whiteboard ที่ทำได้ครบสมบูรณ์บน Online และอาจจะง่ายกว่า Offline Whiteboard ในหลาย ๆ จุดด้วย เนื่องจาก
1. Miro มีเทมเพลตจำนวนมากให้เลือก
ด้วยเทมเพลต ทำให้ผู้ใช้สามารถสร้างโครงได้เร็วขึ้น ไม่ต้องมาวาดมือใหม่ทุกครั้ง อย่างสมมติ เราอยากได้ Diagram มาใช้งานเร็ว ๆ เราคลิก 2 ครั้งก็มีพร้อมให้ใช้งานแล้ว
2. Miro มี Apps ตัวช่วยที่ติดมาให้ใช้กันฟรี ๆ
แอปเสริมนี้จะมีหลากหลายส่วนให้เราเลือก ทั้งการดาวน์โหลด Icon พื้นฐาน, โครงสร้าง Wireframe, Sticker, และอื่น ๆ ที่ทำให้เราดึงออกมาใช้ได้โดยไม่ต้องไปหาจากข้างนอก
3. Miro มีฟีเจอร์สำหรับนำเสนอ
เราสามารถสร้างกรอบ หรือ Frame ขึ้นมาได้ โดยแต่ละเฟรมจะทำหน้าที่เหมือนกับเป็นหน้าสไลด์ ที่คลิกแล้วจะช่วยพาเราไปยังแต่ละส่วนได้เร็วมาก ๆ แล้วยังช่วยเรื่องการ Grouping Idea อีกด้วย
4. Miro สามารถ Embed ได้ทั้งเข้ามา และออกไป
นี่เป็นสิ่งที่ Offline Whiteboard ทำไม่ได้ เช่น เราอาจจะวางไอเดียไว้ ว่าเอาสถิติมาใส่ เชื่อมต่อกับลิงก์ Google Sheet/Document เวลาทำจริงเราก็ต้องไล่หาแล้วเปิดลิงก์ในอุปกรณ์อื่นอยู่ดี แต่ Miro สามารถคลิกแล้วพาไปหน้าเว็บได้ทันที
อีกแง่มุม คือ เราสามารถเอา Miro ไปแปะตรงไหนก็ได้ โดยการ Export หน้าบอร์ดของ Miro ออกไปได้ทุกที่ (รวมถึงบน ClickUp ด้วย)
5. Miro ช่วยให้ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคของทีม
ฟีเจอร์แชท, วิดีโอคอล, และ Integration สำหรับการสื่อสาร (เช่น Integrate เพื่อใช้งานร่วมบน Zoom) ทำให้เราสามารถสื่อสารผ่าน Whiteboard ได้โดยไม่ต้องออกไปหน้าอื่น ๆ รวมไปถึงฟีเจอร์ช่วยสำหรับโหวตไอเดีย
มาถึงตัว ClickUp กันบ้าง
การใช้งานในฟีเจอร์ Whiteboard View จะเป็นตัวเสริมเพื่อช่วยให้การ Manage Task หรือ Project เห็นเป็นภาพรวมเดียวกันทั้งทีมได้ดีมากยิ่งขึ้น แต่เครื่องมือที่มีให้จะไม่หลากหลายเท่า Miro โดยรวมจะเป็นเครื่องมือพื้นฐาน
ข้อเสียของ ClickUp คือ ไม่สามารถจบเรื่องการสื่อสารได้ ถึงแม้จะมี Chat View แต่ก็ต้องเปลี่ยนหน้าไปมา ทำให้การทำงานที่สื่อสารบน ClickUp ไม่ได้สะดวกเท่า Miro หรือต้องใช้เครื่องมือในการสื่อสารอื่นเข้ามาเสริมแทน
อีกส่วนคือเรื่องของการเข้าถึง Whiteboard View จะเป็น View Tab ด้านบน ไม่แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะไวท์บอร์ดออกมาให้ การเข้าถึงจะกดได้ช้ากว่า UX (User Experience) ยังไม่ดีเท่าที่ควร
การแก้ปัญหาของ ClickUp คือ ทำฟีเจอร์สร้าง List ที่ Default Setup เป็น Whiteboard ขึ้นมาเลย ทางการใช้งาน ถ้าเราต้องการ Whiteboard เฉยๆ แล้วต้องการสัดส่วนเฉพาะ อาจจะทำ Space หรือ Folder สำหรับรวม List ของ Whiteboard ขึ้นมาก็ได้เหมือนกัน
แต่ในกรณีที่เราแยก Whiteboard ไปตาม Space ตาม Folder ที่แบ่งไว้สำหรับแต่ละโปรเจกต์ จะต้องใช้คำสั่ง Command Center (Ctrl/Cmd+K) ในการค้นหา Whiteboard อีกทั้งการพรีเซนท์ในหน้า Whiteboard View ก็จะต้องเลื่อนหาเป็นส่วน ๆ ไป ไม่สามารถเสิร์ชหาเป็นเฟรมแบบที่ Miro ทำได้
สรุปในส่วนนี้ Miro มีฟีเจอร์อำนวยความสะดวกในทำงาน การระดมไอเดียต่าง ๆ มากกว่า ส่วน ClickUp จะเป็นฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ตามพื้นฐานของ Whiteboard และการทำ Mindmaping การใช้งานในแง่การเป็น Whiteboard และ Collaborative Tool
สำหรับการเป็น Whiteboard ที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน
1 แต้มสำหรับ Miro
2. การทำงานที่ไร้รอยต่อ ใน Ecosystem เดียวกัน
ถ้าเป็นรูปแบบการทำงานที่เป็น Whiteboard ต้องบอกว่า Miro ชนะใส แต่ในการทำงานจริง ๆ เราไม่ได้ทำบน Whiteboard อย่างเดียว หรือใช้ Whiteboard เป็น Primary Tool
เราอาจจะหารือกันได้ว่าโครงการนี้เราจะทำอะไร อยู่ Process ไหนบ้าง แต่การเก็บข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับโครงการ การวัดผลของแต่ละ Task ที่ทำไป เอาไปทำแยกใน Project Management Software ก็จะดีกว่า รวมถึงการติดตามผลที่ง่ายกว่าด้วย
ลองนึกภาพตามว่าเราสร้าง Kanban Board ขึ้นมาบน Miro ได้ก็จริง แต่หลังจากนั้นที่ทำเสร็จ Task ก็ต่อเป็นแถวยาววางไว้ตรงนั้น พับเก็บไม่ได้จนเต็มบอร์ดไปหมด การวัด Workload และ Result ก็ไม่ได้ชัดเจน ไม่สามารถเอาการ์ดต่าง ๆ มาขึ้นเป็นกราฟให้ได้
ดังนั้น Miro อาจจะเหมาะกับแคมเปญเล็ก ๆ ทำสั้น ๆ หรือใช้ในขั้นของการระดมไอเดีย การอธิบาย Process ของแผนงานมากกว่า แต่ถ้าใช้แทน Project Management Software ไประยะยาว อันนี้มองว่าไม่ไหวแน่ ๆ
สำหรับตัว ClickUp เอง จุดเด่น คือ การ Manage Task ดังนั้นเขาไม่ลืมที่จะเอาจุดนี้มาเสริมข้อดีให้ตัวเอง ทำให้เราสามารถดึง Task ที่เคยสร้างมาแสดงบน Whiteboard ได้เลย กับอีกส่วน คือ การเอาสิ่งที่เขียน สิ่งที่คิดบนไวท์บอร์ดนี้ Turn มาเป็น Task เปลี่ยนไอเดียให้เป็น Action โดยไม่ต้องออกจาก View
ซึ่งส่วนนี้เราสามารถสร้าง Whiteboard View ใน Project ของเราได้โดยตรง แปลว่าในขั้นตอนที่เราระดมไอเดีย ไป Process การทำงาน จนจบงาน เราทำทั้งหมดได้ในที่เดียว แล้วการ Convert ก็จะแสดง Task และ Status ของ Task ให้บนหน้า Whiteboard เหมือนเดิมด้วย เผื่อเราจะใช้ในการระดมไอเดียใน Stage ถัดไป ก็ไม่ต้องสร้างใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม การแชร์ Whiteboard View ไปใช้งานจะยังไม่สามารถทำได้ ดูแบบสาธารณะได้อย่างเดียว เว้นแต่จะมีการเชิญเป็น Guest เข้ามาก่อน ซึ่งก็มีข้อจำกัดที่จำนวน Guest อีกว่าเราจะชวนได้กี่คน
ดังนั้นถ้าเป็นการทำงานภายในทีมเองส่วนนี้จะไม่เป็นปัญหา ถ้านอกทีม Miro ก็จะเปิดกว้างมากกว่า
สำหรับการใช้งานแบบ Ecosystem ครบจบทุกขั้นตอน
1 แต้มสำหรับ ClickUp
3. เทียบ Miro และ ClickUp ในมุมราคา
การใช้งานเป็นไวท์บอร์ด ที่ยืดหยุ่น ความเอนกประสงค์ รวมไปถึงการเอามาพรีเซนต์ Miro จะทำได้ดีกว่า หากต้องการทำทุกอย่างในที่เดียวเลย ตั้งแต่ไอเดียจนปิดจ๊อบ และไม่ต้องการลูกเล่นมากมายนัก Whiteboard View บน ClickUp ก็เพียงพอ
ในมุมราคา ทั้งสองตัวเริ่มต้นใช้งานได้ฟรีเหมือนกัน จำนวน 3 Whiteboard เท่ากัน ซึ่งจากการใช้งานมาทั้งสองซอฟต์แวร์มาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี 3 Whiteboard ก็ใช้งานได้ดี ในบอร์ดมีพื้นที่กว้างมากอยู่แล้ว จำนวนของบอร์ดเลยไม่ใช่ปัญหาหลัก
หากขยับแพ็กเกจขึ้นมา ClickUp จะเริ่มต้นที่ 5 เหรียญ/คน/เดือน และสร้างได้ 10 บอร์ด ส่วน Miro ราคา 8 เหรียญ/คน/เดือน สามารถสร้างบอร์ดได้แบบไม่จำกัดจำนวน
รายละเอียดราคา ClickUp
รายละเอียดราคา Miro
ถ้าเราจ่ายเงิน ClickUp รายเดือนอยู่แล้ว
การใช้ Whiteboard เป็นรายโปรเจกต์ไปก็โอเคเลย เพราะเบื้องต้นก็ใช้แทนที่ Miro ในส่วนนี้ได้โดยไม่ติดขัดอะไร แถมยังเอาไอเดียมาเป็น task ง่ายกว่า ไม่ต้องสร้างใหม่หลายรอบ จ่ายครั้งเดียวจบได้ ไม่เพียงได้ไวท์บอร์ดมา Brainstorm กันเท่ ๆ เท่านั้น แต่ยังมีครบทุกฟีเจอร์ที่จำเป็นในการทำงาน
อ่านบทความเพิ่มเติม ไม่ใช้ไม่ได้แล้ว! ทำไม ClickUp ถึงเหมาะเป็นตัวช่วยในการ Work From Home ในองค์กรของคุณ
ส่วนจำนวนบอร์ดที่ทำได้น้อยกว่า หลังจากจบ Project ก็อาจจะเอาไอเดียบนบอร์มาสร้างไว้ใน Backlog แล้วลบ เพื่อสร้างบอร์ดใน Project ใหม่ก็ได้ หรืออาจจะใช้ Free Plan ของ Miro เพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องการแชร์ Public หรือต้องการฟีเจอร์เสริมที่มากกว่า
แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้ ClickUp
ต้องบอกตามตรงว่าใช้ Miro ไปเลยอย่างเดียวดีกว่า อย่างที่ได้บอกเรื่องจุดประสงค์ของซอฟต์แวร์ ClickUp มีเพื่อสร้าง Productivity ในการทำงานที่เราคิดแล้วทำในนี้เลย หากเราไม่ได้ใช้งานฝั่ง Project Management ผ่าน ClickUp การจ่ายเงินมาเพื่อใช้ Whiteboard อย่างเดียว ก็จะใช้ Workflow ตามที่บอกไม่ได้เต็มที่ ทำให้ไม่คุ้มค่าเท่าไร
สรุป
ในการใช้งาน Whiteboard ของทั้ง ClickUp และ Miro การใช้งานทั่วไปไม่แตกต่างกัน อาจจะลองเลือกจากสองส่วนนี้ว่า ต้องการใช้งานเพื่อระดมไอเดียที่ยืดหยุ่นมาก ๆ (Miro) หรือ ต้องการใช้ 1 ซอฟต์แวร์เพื่อจบในทุกส่วน (ClickUp)
ถึงแม้ว่า ClickUp จะยังมีฟีเจอร์ที่ไม่เทียบเท่ากับ Miro ที่เป็น Expert ในด้านนี้ แต่ยังไงก็ตาม ClickUp มีพื้นที่ให้ผู้ใช้สามารถ Request Feature ที่ต้องการได้ง่ายมาก แล้วหลายฟีเจอร์เกิดขึ้นแล้วจริง ๆ ดังนั้นในอนาคต บางทีการใช้งานบน Whiteboard View ของ ClickUp อาจจะแทนที่ Miro ได้ 100% ก็เป็นไปได้เหมือนกัน
สนใจใช้งาน ClickUp คลิกที่นี่
ช่องทางอัปเดตซอฟต์แวร์กับ The Growth Master
ติดตาม Youtube Channel ‘The Growth Master’ และ We Need TOOL Talk ได้ก่อนใคร ไม่พลาดทุกการแชร์ซอฟต์แวร์น่าใช้ที่จะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น
และช่องทางอัปเดตข่าวสารการตลาดที่สดใหม่
Facebook : The Growth Master
Facebook Group : TechTribe Thailand
Blockdit : The Growth Master
Line@ : @thegrowthmaster