Hybrid Working คือ การทำงานรูปแบบใหม่ที่เข้ามาสร้างความท้าทายให้กับองค์กรมากมาย นับตั้งแต่การเตรียมความพร้อมทางด้านเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในด้านการทำงานและการสื่อสาร รวมไปถึงด้านทรัพยากรบุคคลที่ HR จะต้องดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่พนักงานทุกคนในช่วงการทำงานแบบ Hybrid Working อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการทำงานแบบ Hybrid Working จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเตรียมรับมือเป็นอย่างดี เพื่อให้การทำงานเต็มไปด้วยความราบรื่น และบริษัทมีการเติบโตในระยะยาว ในบทความนี้เราก็ได้รวบรวม 5 ความท้าทายของการทำงาน Hybrid Working พร้อมวิธีแก้ไขมาให้คุณแล้ว
ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างพนักงานแบบ Hybrid และ Non-Hybrid
ปัจจุบันบางบริษัทไม่ได้มีการบังคับว่าพนักงานทุกคนจะต้องเข้าออฟฟิศ นโยบายการทำงานแบบนี้จึงเกิดความไม่เท่าเทียมกันขึ้นมาบางอย่าง เช่น ถ้าหากพนักงานมาทำงานที่ออฟฟิศก็จะสามารถเข้าถึงสวัสดิการของบริษัทได้อย่างเต็มที่
ไม่ว่าจะเป็น สวัสดิการด้านอาหาร เครื่องดื่ม (เช่น น้ำอัดลม, ชา, กาแฟ, เบียร์, ขนมขบเคี้ยว), สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ (เช่น บริการนวด, ห้องสมุด, ฟิตเนส) และอื่น ๆ อีกมากมาย และหนึ่งในตัวอย่างบริษัทที่มีสวัสดิการพนักงานดีที่สุดในโลก ก็คือ Google เพราะมีสวัสดิการที่อำนวยความสะดวก ตอบโจทย์พนักงานได้แบบครบครันตั้งแต่ก้าวเดินออกจากบ้านมาจนถึงบริษัท ซึ่งน้อยบริษัทมากที่ทำแบบนี้
อย่างไรก็ตาม สำหรับพนักงานคนใดที่ไม่เข้าบริษัทก็ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการนั้น ๆ ได้ ดังนั้นทางออกสำหรับความท้าทายนี้คือ บริษัทจะต้องมีการจัดสรรสวัสดิการของพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ถ้าหากพนักงานที่ทำงานที่บ้าน บริษัทอาจจะช่วยออกค่าไฟให้ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้พวกเขา รวมถึงอาจจะมีการช่วยออกค่าอุปกรณ์ที่ช่วยสร้างเสริมให้การทำงานมี Productivity มากยิ่งขึ้นในระหว่างทำงานที่บ้าน
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
‘ช่องว่างด้านการสื่อสาร’ ปัญหาใหญ่ของการทำงาน
ถ้าหากทีมมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน จะส่งผลให้กระบวนการทำงานทุกอย่างช้าลงหรือมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้
ในการทำงานแบบ Hybrid Working การสื่อสารเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะการทำงานที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพมักจะเกิดมาจากการที่ทุกคนในทีมมีการสื่อสารที่ดีต่อกัน โดยมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า 90% ของการสื่อสารในระหว่าง Hybrid Working มักจะเป็นการสื่อสารด้วยตัวอักษรเป็นหลัก บางครั้งจึงอาจทำให้พนักงานไม่เข้าใจในสิ่งที่เพื่อนร่วมทีมสื่อสารออกมาตั้งแต่ครั้งแรก หรือไม่เห็นข้อความที่ส่งมาทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน
เพราะฉะนั้นในช่วงที่ทีมต้องทำงานแบบ Hybrid Working องค์กรจึงควรต้องมีการจัดสรรช่องทางการสื่อสารให้ชัดเจน และมีการใช้ Video Conference เข้ามาเพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม รวมถึงช่วยหลีกเลี่ยงการทำงานแบบ Silo ระหว่างพนักงานที่ทำงานในออฟฟิศ และพนักงานที่ทำงานแบบ Remote Working ได้
The Growth Master แนะนำตัวช่วยที่จะลดปัญหานี้ให้กับทุกองค์กร
สำหรับองค์กรไหนที่อยากปรับ Workflow ของการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้อยู่ในช่วง Hybrid Working ให้กับพนักงาน The Growth Master ขอแนะนำ คอร์สเรียนออนไลน์ ClickUp ซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่มาแรงที่สุดแห่งปี !ใช้งานโปรแกรม ClickUp – Project Management Tool แบบปูพื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนใช้งานได้อย่างเชี่ยวชาญสอนโดย คุณเอิง รัชกร อุณหเลขจิตร ClickUp Expert ที่ได้รับการรับรองจาก ClickUp University คนแรกและคนเดียวในไทย! ในราคาเพียง 6,990 บาทเท่านั้น
สิ่งที่คุณจะได้เรียนในคอร์สนี้
✅ เข้าใจคอนเซปต์พื้นฐานของ ClickUp ตั้งแต่โครงสร้างไปจนถึงฟีเจอร์ต่าง ๆ
✅ วิธีการนำฟีเจอร์ของ ClickUp ไปใช้ต่อยอดในการวาง Workflow ที่เข้ากับทีมของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
✅ การพัฒนาระบบการจัดการและบริหารงานในแต่ละโปรเจกต์ผ่านฟีเจอร์บน ClickUp
✅ เทคนิคการใช้งาน ClickUp ในการจัดตารางงานให้องค์กรหรือทีมของคุณ
✅ การใช้งาน Template ต่าง ๆ บน ClickUp ที่จะช่วยร่นระยะเวลาการทำงานของคุณ
เกี่ยวกับคอร์สเรียนนี้
💸 ราคาเริ่มต้นเพียง 6,990 บาท เรียนได้ตลอด 1 ปี
🎁 เนื้อหาจัดเต็ม 7 ชั่วโมง 46 Lessons! สอนแบบเข้าใจง่าย Step By Step มือใหม่ทำตามได้
🎓 เรียนแบบออนไลน์ 100% องค์กรซื้อครั้งเดียว ให้พนักงานใช้ได้ทั้งองค์กร
✨ แจกเทมเพลตเริ่มต้นการทำงานบน ClickUp ให้ไปใช้ได้ฟรี!! (มูลค่า 10,000 บาท)
💬 ได้สิทธิ์เข้า Facebook Group สำหรับถามคำถาม-ข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาในคอร์สเรียนและการใช้งาน ClickUp จริง
สมัครเรียนคอร์สสอนการใช้งาน ClickUp ได้เลยตอนนี้ กดที่นี่
Work-Life Balance ทำงานเกินเวลาจนรบกวนชีวิตส่วนตัว
เลิกงานก็แล้ว วันหยุดก็แล้ว ก็ยังโดนตามงาน แถมลาป่วยก็ยังเรียกให้ไปทำงานอีก Work-Life Balance นี่มีอยู่จริงไหม?
ตั้งแต่บริษัทส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้พนักงานทำงานแบบ Hybrid Working ก็พบว่า Work-Life Balance ของพนักงานหลายคนหายไป โดยพนักงานหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตัวเองทำงานหนักกว่าตอนเข้าออฟฟิศเสียอีก เพราะต้องทำงานตลอดเวลา แม้กระทั่งเวลาเลิกงานและวันหยุดพักผ่อนก็ตาม ทำให้พนักงานหลายคนมี Mental Health ที่แย่กว่าเดิม เมื่อสะสมไปนาน ๆ ก็ทำให้พวกเขาเกิดอาการ Burnout และเกิดความรู้สึกอยากลาออกตามมาในที่สุด ซึ่งไม่เป็นการดีสำหรับองค์กรแน่ ถ้าหากพนักงานรู้สึกแบบนี้
สำหรับวิธีแก้คือ Team Lead หรือ Product Manager อาจจะต้องมีการจัดสรรงานให้ตรงกับศักยภาพของพนักงานในแต่ละคน พยายามอย่าจัดงานให้ล้นมือพวกเขา จนทำให้พวกเขาต้องทำงานตอนเลิกงานหรือในวันหยุด หรืออาจจะมีการใช้เครื่องมือด้าน Project Management ที่เข้ามาช่วยจัดการ Workload ของแต่ละคน เพื่อให้ Team Lead หรือ Product Manager เห็นภาพรวมได้ชัดเจนที่สุด
การสร้าง Happy Workplace ให้มีประสิทธิภาพ
Happy Workplace คือ องค์กรที่สามารถสร้างความสุขทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้กับพนักงานทุกคนได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อองค์กรทำให้พนักงานมีความสุข ไม่มีความตึงเครียด ก็จะช่วยให้พนักงานสร้างสรรค์งานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถบรรลุจุดประสงค์ขององค์กรได้ในที่สุด
ตัวอย่างเช่น Microsoft ที่มีการสนับสนุนทั้งด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานอย่างเต็มที่ จนกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ขึ้นชื่อว่าพนักงานมีความสุขมากที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่ง และสามารถสร้างการเติบโตให้องค์กรเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม การทำงานแบบ Hybrid Working ก็อาจเป็นความท้าทายสำหรับหลายบริษัทในการสร้าง Happy Workplace ขึ้นได้ เนื่องจากพนักงานกระจายกันทำงานอยู่ที่บ้านของตัวเองจึงทำให้องค์กรมีการจัดการยากกว่าที่เคย
ดังนั้นองค์กรอาจจะต้องมีการเสริมสร้างความสุขในการทำงานง่าย ๆ ให้กับพนักงาน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีแก่กันและกัน เช่น มีการจัดงาน Company Night มีการนัดกินข้าวด้วยกันเดือนละ 1 ครั้ง, มีการจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ มาจัด Workshop ออนไลน์ รวมไปถึงการที่ทีมมีการชื่นชมหรือให้ Feedback พนักงาน หรือการมอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมให้กับพนักงาน ก็เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายมาก ๆ ที่ทำให้พนักงานมีความสุข และเป็น Happy Workplace ที่มีประสิทธิภาพ
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง:
สร้าง Active Work Culture
นอกจากการสร้าง Happy Workplace แล้ว การสร้าง Active Work Culture หรือสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบเชิงรุก ก็เป็นหนึ่งอีกความท้าทายสำหรับการทำงานแบบ Hybrid Working ไม่แพ้กัน แล้วจะทำอย่างไรถึงจะสร้างองค์กรให้เป็นแบบ Active Work Culture ที่พนักงานทุกคนต่างรักในการเรียนรู้ มุ่งมั่นในการสร้างสรรค์ผลงานหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมา และอยากอยู่กับบริษัทของคุณไปนาน ๆ
การสร้าง Active Work Culture อย่างเช่น มีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น การมอบรางวัลรายเดือน สำหรับพนักงานที่ทำงานได้เหนือความคาดหมาย หรือการให้โบนัสเป็นรายวัน เมื่อพนักงานทำงานได้ดีและตรงตามเป้าหมาย รวมถึงการทำให้ทั้ง Team Lead และตัวพนักงานเองได้เห็น Productivity ของตัวเองเป็นภาพที่ชัดเจนมากกว่าเดิม ด้วยการใช้ระบบ Logging (บันทึกการทำงานย้อนหลัง) ที่ให้พนักงานมาดูย้อนหลังได้ว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาแต่ละคนทำอะไรประสบความสำเร็จมาแล้วบ้าง แล้วช่วยให้องค์กรเติบโตขึ้นมากขนาดนั้น ซึ่งนี่ก็จะทำให้พัฒนาได้เห็นศักยภาพและคุณค่าของตัวเอง อีกทั้งได้เห็นว่าตัวเขาก็สร้างอิมแพ็คมาให้องค์กรได้ไม่น้อยเช่นกัน
สรุปทั้งหมด
แม้ว่าการทำงานแบบ Hybrid Working จะเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ที่สร้างความท้าทายชวนให้องค์กรต้องคิดหาวิธีแก้ไขและจัดการอยู่เสมอ แต่นี่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการทำงานในฉบับองค์กรยุคใหม่
เพราะในอนาคตการทำงานแบบ Hybrid Working จะไม่ใช่ทางเลือกการทำงานอีกต่อไป แต่เป็นรูปแบบการทำงานหลักที่ใช้ขับเคลื่อนการเติบโตขององค์กร ถ้าหากคุณสามารถรับมือกับความท้าทายนี้ได้ ก็จะทำให้การทำงานดำเนินไปด้วยความราบรื่น ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของทุกคนในบริษัท รวมถึงช่วยดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานเพิ่มได้อีกด้วย