หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้ง จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้ภาครัฐต้องออกมาประกาศขอความร่วมมือให้องค์กรต่าง ๆ ใช้รูปแบบการทำงานแบบ Work From Home 100% ตั้งแต่วันนี้ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
ในการทำงานแบบ Work From Home เชื่อว่าคุณน่าจะเคยได้สัมผัสกับการทำงานรูปแบบนี้มาแล้ว ซึ่งหลายบริษัทก็เริ่มมีการนำเครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่นพวก Productivity Tools เข้ามาช่วยลดอุปสรรคในการทำงานให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด หรือเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมสามารถจัดการการทำงานได้ดีขึ้น
แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีอีกหลายบริษัทมาก ๆ ที่ยังไม่สามารถปรับตัวกับการทำงานแบบ Work From Home ได้ส่งผลให้บริษัทเหล่านั้นต้องพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาด้าน การจัดการการทำงานของทีม ที่เข้ามาสร้างความวุ่นวายให้กับบริษัทของคุณตั้งแต่ระดับหัวหน้าไปจนถึงระดับพนักงาน
ดังนั้นในบทความนี้ The Growth Master เลยอยากมาแนะนำ 3 Productivity Tools ที่คุณควรเลือกมาใช้ งานเพื่อให้การทำงานช่วง Work From Home ในช่วงนี้ (และในอนาคต) เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมชนทุกวิกฤต แต่จะมีเครื่องมือตัวไหนบ้าง ไปติดตามกันได้ในบทความ
ทำไม Productivity Tools ถึงสำคัญกับการทำงานในช่วง Work From Home ?
เพราะเมื่อมีการ Work From Home เกิดขึ้นแน่นอนว่ารูปแบบการทำงานแบบนี้ถือว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปจากการทำงานในรูปแบบปกติพอสมควร ทั้งเรื่องของสถานที่ที่ทำงาน การสื่อสาร การส่งมอบงานต่าง ๆ จากที่ทีมทุกคนได้มาทำงานร่วมกันที่ออฟฟิศ ก็ต้องเปลี่ยนไปทำงานทั้งหมดด้วยระบบออนไลน์
ดังนั้นการมีเครื่องมือประเภท Productivity Tools หรือเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับจัดการการทำงาน ที่จะเข้ามาช่วยจะให้การทำงานในทีมหรือในองค์กรให้เป็นระเบียบมากขึ้น ลดขั้นตอนความวุ่นวายต่าง ๆ ประหยัดเวลา รวมไปถึงได้กระบวนการใหม่ ๆ ในการสร้างวิธีการทำงานแบบอัตโนมัติเพื่อนำมาปรับใช้กับองค์กรของคุณในอนาคต ช่วยให้พนักงานทุกคนในองค์กรทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่งผลให้หลายองค์กรชั้นนำในไทย ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างก็ได้เลือก Productivity Tools ไปใช้ในบริษัทสำหรับช่วง Work From Home กันบ้างแล้วตั้งแต่ช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 ระบาดครั้งแรกเมื่อประมาณปีที่แล้ว (บริษัทผมคือหนึ่งในนั้น)
ต้องบอกเลยครับว่าการมี Productivity Tools ที่มีประสิทธิภาพเข้ามาใช้งานในองค์กรแล้ว ไม่ว่าจะ Work From Home อีกกี่ครั้งหรือต้องเจอกับสภาวะวิกฤตแบบไหน องค์กรก็ยังสามารถรักษาคุณภาพของการทำงานไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเรื่องของสถานที่ในการทำงานกลายเป็นปัจจัยรองไปเลย
แต่ในปัจจุบันก็ยังต้องยอมรับจริง ๆ ว่ายังมีอีกหลายองค์กรที่ยังไม่ได้เห็นถึงความสำคัญของการมี Productivity Tools โดยจาก Feedback ส่วนใหญ่ที่พบคือ หลายองค์กรเหล่านี้จะมองว่าการมี Productivity Tools นั้นจะทำให้บริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน (เพราะเครื่องมือส่วนใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการเป็นรายเดือน)
แต่ลองคิดในอีกมุมนึงครับว่า ถ้าองค์กรของคุณไม่ยอมเสียเงินนำ Productivity Tools เหล่านั้นมาใช้งานก็อาจทำให้การทำงานในองค์กรหรือในทีมของคุณ “มีประสิทธิภาพลดลง” ยิ่งเป็นช่วง Work From Home แบบนี้แล้วถ้าขาดการเตรียมพร้อมด้านเครื่องมือในการทำงาน ก็อาจทำให้การทำงานในแต่ละวันของบริษัทคุณไม่เห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนก็เป็นได้
หรืออีกปัญหาหนึ่งที่ผมได้รับ Feedback มาบ่อยเหมือนกันก็คือ องค์กรนั้นมีซอฟต์แวร์ด้าน Productivity Tools อยู่แล้วแต่คนในทีมใช้งานไม่เป็น เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาที่น่าเจ็บปวดของเจ้าของธุรกิจเพราะองค์กรมีเครื่องมือที่เพียบพร้อมแล้วแต่คนในทีมไม่สามารถใช้งานได้ (เหมือนมีรถ Supercar แต่เราขับเร็วแค่ 40 KM/HR)
ซึ่งปัญหานี้อาจเกิดจากการที่ทีมไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการสอนใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ , องค์กรขาดบุคลากรด้านเทคโนโลยี หรือเหตุผลใดก็แล้วแต่ ทำให้สุดท้ายองค์กรก็ไม่สามารถเปลี่ยนการทำงานแบบ Work From Home ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ ซึ่งเดี๋ยวผมจะอธิบายวิธีแก้ไขปัญหานี้แบบดีที่สุด ในหัวข้อถัดไปนะครับ
หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าการนำ Productivity Tools มาใช้งานในองค์กรช่วง Work From Home จะช่วยอะไรได้บ้างนั้น ต่อไปจะขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 3 Productivity Tools ที่ The Growth Master อยากแนะนำให้คุณได้ลองใช้
แนะนำ 3 Productivity Tools เพื่อการทำงานช่วง Work From Home อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ClickUp
Clickup คือซอฟต์แวร์จัดระเบียบการทำงาน (Task Management) ที่มาพร้อมลูกเล่นมากมาย ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ทำให้การทำงานของพนักงานทั้งองค์กรลื่นไหล ไม่มีสะดุด การันตีความน่าเชื่อถือจากการใช้ในองค์กรอย่าง Google, Nike, Netflix, Airbnb, Uber (รวมทั้งบริษัทผมก็ใช้งานตัวนี้อยู่)
ด้วยความสามารถของ ClickUp ที่รวบรวมแพลตฟอร์มในการทำงานทั้งหมดให้ครบจบในที่เดียว หรือ “All Your Work in One Place” ไม่ว่าจะเป็นลิสต์งาน, ไฟล์เอกสาร, แชท, ปฏิทิน, เป้าหมาย และอีกเพียบที่จะทำให้คุณมีเวลาไปทำอย่างอื่นเพิ่มขึ้นถึง 20% ตอบโจทย์องค์กรที่มีงานที่จะต้องแบ่งให้ทีมมากมายในแต่ละวัน/สัปดาห์
หน้าที่การทำงานของ Clickup หลัก ๆ ที่มีประโยชน์ต่อการ Work From Home นั้นคือเรื่องของการจัดการ Task งานของพนักงานแต่ละคน/แต่ละแผนก หรือทั้งองค์กร ซึ่งต้องบอกว่าแต่ละแผนกก็จะมีโปรเจกต์ของใครของมัน และในแต่ละโปรเจกต์ก็จะถูกสับเป็นงานย่อยลงไปอีก
นั่นทำให้ ClickUp ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เช่น ถ้าสมมติให้ Account ของ ClickUp เป็นบริษัท จากนั้นก็แบ่งพื้นที่ใน Account ให้เป็นแผนก ๆ ที่เรียกว่า Space และในแต่ละ Space ถูกซอยให้เล็กลงอีกทีให้เป็น Folder แทนโปรเจกต์ของแต่ละแผนก ที่สามารถปรับเปลี่ยนมุมมองได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Kanban Board, Calendar (ไว้ดูเป็นแบบปฏิทินแต่ละวัน), มุมมอง Activity (รวบรวมทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน ClickUp) และอื่น ๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของผู้ใช้งานแต่ละคน
ซึ่งในแต่โปรเจกต์มีงานที่สร้างขึ้นเป็นลิสต์เรียกว่า Task และในแต่ละโปรเจกต์หรืองานที่ได้รับมา ก็จะมีรายละเอียดที่ถูกซอยให้ยิบย่อยลงไปอีก ที่เรียกว่า Subtask เราสามารถกดเข้าไปดูสิ่งที่ต้องทำในแต่ละงานได้ โดยที่ Project Manager หรือ Team Lead สามารถ Assign ได้เลยว่าในแต่ละ Task, Subtask นั้น ๆ พนักงานคนไหนต้องรับผิดชอบหน้าที่อะไรบ้าง มี Due Date ที่ต้องส่งงานวันไหนก็ระบุได้เช่นกัน
สำหรับใครที่งง ลองคิดภาพตามว่าสมมติให้โปรเจกต์งานของคุณคือ การสร้าง Landing Page แบบใหม่เพื่อแจ้งโปรโมชันสินค้า สิ่งนี่คือ Task ส่วน Subtask คือรายละเอียดของชิ้นงานย่อยในโปรเจกต์นั้น เช่น สร้างรูป Banner, ทำ Icon ลงใน Landing Page, เขียนคอนเทนต์, ทำหน้า Lead From เป็นต้น
ซึ่งข้อดีของแต่ละ Task ใน ClickUp คือมีช่องใส่คำอธิบายรายละเอียดงาน ทำให้สามารถสร้าง Checklist ใส่สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดได้เลย ซึ่งถ้าเราติ๊ก Checklist ที่สร้างขึ้น จะเป็นการบอกว่าทำรายการนี้เสร็จแล้ว Checklist หรือ Subtask นั้นก็จะถูกขีดฆ่า แล้วไปโผล่ในหน้า Task ในรูปเปอร์เซ็นต์ความคืบหน้าของงาน
นอกจากนั้น ClickUp ยังโดดเด่นในเรื่องของระบบการจัดเก็บไฟล์ ยังทำให้เห็นทั้งภาพใหญ่ที่แสดงความคืบหน้าว่า “Task นั้นสำเร็จไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว” และภาพเล็กที่บอกว่า “มีงานอะไรเหลืออยู่บ้าง” ทำให้ Project Manager เห็นภาพรวม เห็น Workload ของพนักงานในทีมทุกคนว่าในแต่ละวัน ความคืบหน้าของงานในโปรเจกต์เป็นอย่างไรบ้าง เรียกว่าเป็นความสามารถที่เหมาะกับการทำงานช่วง Work From Home มาก ๆ
และอีกหนึ่งความสามารถที่ผมมองว่าน่าจะเหมาะกับช่วง Work From Home ของ ClickUp ก็คือความสามารถด้านการ Integration เพราะแต่ละองค์กรไม่ได้ใช้ซอฟต์แวร์ตัวเดียวในการทำงานอยู่แล้ว เช่น ต้องมีการพูดคุยอัปเดตงานกันผ่าน Slack หรือ Zoom, Brainstrom ระดมไอเดียผ่าน Miro, นัดหมายประชุมงานผ่าน Google Calendars หรือเชื่อมต่อการทำงานแบบอัตโนมัติให้กว้างขึ้นไปอีกด้วย Zapier นั่นจึงทำให้ ClickUp เป็นซอฟต์แวร์ที่รู้ใจคนทำงานทุกคน
เพราะ ClickUp สามารถต่อ API เข้ากับแอปพลิเคชันอื่น ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ที่เรากล่าวมาข้างต้น หรืออีก 1,000+ ซอฟต์แวร์ เช่น Trello, GitHub, Google Drive, Google Workspace, Dropbox, Figma, Tableau, Discord, Airtable และอื่น ๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน
นอกจากนี้ ClickUp ยังมีตัว Open API สำหรับซอฟแวร์อื่น ๆ ที่ยังไม่มี Integration โดยตรงในการเชื่อมเข้ากับ ClickUp ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ทั่ว ๆ ไป หรือซอฟต์แวร์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างซอฟต์แวร์ด้าน ERP เช่น โปรแกรม SAP ที่มีการใช้งานค่อนข้างละเอียดและซับซ้อน ก็สามารถเชื่อมต่อเพื่อการทำงานร่วมกับ ClickUp ได้เช่นกัน
โดยสำหรับซอฟต์แวร์ที่ใช้งานค่อนข้างยากอย่าง SAP การทำงานแบบ Work From Home ในช่วงนี้อาจทำให้การติดตามการทำงานหรือดูภาพรวมของทีมเป็นเรื่องลำบาก การเชื่อมต่อ SAP เข้ากับ ClickUp ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ด้วยการใช้ API เป็นตัวกลางในการรับ-ส่งข้อมูลต่าง ๆ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและอำนวยความสะดวกในการติดตามการทำงานของ SAP ให้มากขึ้นได้เช่นกัน
ซึ่งใครที่สนใจในการนำ API เข้ามาเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง SAP และ ClickUp เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานในองค์กร สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ >>ที่นี่
จริง ๆ แล้ว ClickUp ยังมีฟีเจอร์อีกเพียบที่เหมาะกับการ Work From Home และฟีเจอร์อื่น ๆ ที่จะเข้ามาช่วยสร้างระบบ Workflow Automation ให้กับการทำงานทุกแผนกในองค์กรของคุณ โดยคุณสามารถรับชมรีวิวการใช้งานของ ClickUp จากรายการ We Need Tools Talk ด้านล่างนี้ได้เลย
🚀🚀 อยากเริ่มใช้ ClickUp แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร กลัวสมัครแล้วใช้งานไม่เป็นหรือเปล่า ?
ปัญหานี้ผมได้เกริ่นไปแล้วว่า “เรามีทางแก้” ที่จะเข้ามาเปลี่ยนการทำงานในองค์กรของคุณไปสู่อีกระดับด้วย บริการ ClickUp Service ของ The Growth Master ที่จะเป็นผู้ช่วยให้คุณในการให้คำปรึกษา ติดตั้ง และสอนการใช้งาน Clickup ให้บริษัทของคุณ โดยสร้างเป็น Workflow ภายใต้กระบวนการทำงานแบบ Agile ระบบ Automation และ Integration ต่าง ๆ ด้วย ClickUp อย่างครบวงจร ตั้งแต่เริ่มต้นยันทีมทุกคนของคุณใช้งานเป็น
ด้วยทีมงานผู้เชี่ยวชาญในการสอนของเรา ช่วยให้คุณไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกเรียนรู้เครื่องมือเพื่อไปสอนพนักงานคนอื่น และไม่จำเป็นต้องจ้างบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์เพิ่มเติมให้เปลืองงบประมาณ
เริ่มเปลี่ยนการ Work From Home ขององค์กรคุณให้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคยเป็นภายในไม่กี่ขั้นตอน สำหรับใครที่สนใจ คุณสามารถกดที่รูปด้านล่างเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครใช้บริการนี้ได้เลย !
2. Trello
Trello คือซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่ใช้หน้า Dashboard หรือ กระดานสรุปข้อมูลในรูปแบบของ Kanban Board (คัมบังบอร์ด) ที่เป็นเหมือนเป็นกระดานที่เราสามารถเอา Post-it มาแปะบนกระดาน เพื่อรวมไอเดียหรือสิ่งที่ต้องทำทุกอย่างลงในนั้น ซึ่งเจ้า Kanban Board นี้เอง ถือเป็นวิธีการทำงานของชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปี 1940 โดยวิศวกรของ Toyota ที่ใช้ Kanban Board ในการทำงานทุกวันแต่ Trello นั้นนับว่าเป็นเครื่องมือตัวแรกที่จับไอเดียของ Kanban มาอยู่ในแพลตฟอร์มออนไลน์
แต่ถ้าจะเป็นแค่เครื่องมือช่วยวาง Kanban Board ก็คงธรรมดาไปใช่ไหมครับ (ถ้ามีแค่นี้ทำแบบออฟไลน์ก็ได้) Trello จึงมีฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่เข้ามาเพิ่มความพิเศษให้การทำ Kanban Board ของบริษัทคุณมีประสิทธิภาพมากกว่าเช่น Post-It หรือการ์ด Task ในซอฟต์แวร์ ที่คุณสามารถเขียนรายละเอียดงานที่ต้องทำ วันที่ต้องส่ง สร้างเช็คลิสต์ย่อยๆได้ เรียกว่าบรีฟข้อมูลของงาน Task นั้นได้อย่างละเอียดหรือแม้กระทั่งแนบไฟล์งานได้ไม่เกิน 10MB อีกด้วย เป็นพื้นที่ในการส่งมอบงานก็ได้เหมือนกัน
หรือฟีเจอร์อื่น ๆ ที่เหมาะกับการ Work From Home ในช่วงนี้ที่มีอยู่ในตัวของ Trello เองก็มีพอสมควรเช่นฟีเจอร์ Power-Ups หรือฟีเจอร์ที่ทำให้ Trello สามารถลิงก์กับโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น Calendar, Google Drive, Slack หรือเครื่องมือวัด Productivity ของคนในทีมอย่าง TeamGantt ที่ผู้ใช้งาน (หรือคนในทีม) สามารถทำการอัปเดตงาน ปรับแต่งการ์ดได้ตามอิสระ
ซึ่งตัวผมเองก็เคยเป็นคนที่เคยใช้ Trello มาก่อน ยอมรับว่า Trello นั้นมีข้อดีตรงที่ใช้งานง่าย ฟีเจอร์ไม่ซับซ้อน ทำให้พนักงานแต่ละคนไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้เครื่องมือมาก แค่ลองเข้าไปเล่นดูสัก 1-2 วันก็พอที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานได้แล้ว
ส่วนข้อเสียสำหรับ Trello นั้นผมมองว่าน่าจะอยู่ที่เรื่องของการใช้งานแบบฟรี เพราะจริงอยู่ที่ Trello สามารถให้คุณเริ่มใช้งานได้ฟรี แต่ก็เป็นเพียงแค่เวอร์ชันทดลอง เพราะสามารถสร้างได้แค่ 10 บอร์ดเท่านั้นและใช้ฟีเจอร์ Power-Ups ในการเชื่อมต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ ได้เพียงโปรแกรมเดียว ดังนั้นถ้าหากบริษัทของใครมีจำนวนโปรเจกต์งานที่เยอะหรือมีทีมงานหลายส่วนการใช้ Trello อาจไม่ค่อยตอบโจทย์การทำงานมากเท่าไหร่
และอีกส่วนที่สำคัญที่ผมมองว่าเป็นปัญหาใหญ่เลยก็คือ ภายในการ์ดแต่ละการ์ด จะไม่สามารถสร้าง Subtask ได้ ทำได้เพียงเช็คลิสต์ ซึ่งตัวเช็คลิสต์ก็ไม่สามารถมอบหมายไปเป็นรายบุคคล ทำให้การติดตามงานค่อนข้างยุ่งยาก พนักงานในทีมก็จะไม่รู้ว่าใน Task ย่อย ๆ เหล่านั้นใครจะต้องเป็นคนทำ ซึ่งอาจทำให้การทำงานของบริษัทมีความล่าช้าไปมากกว่าเดิม (เป็นเหตุผลที่ทำให้ผมเปลี่ยนไปใช้ ClickUp)
ดังนั้นผมมองว่าถ้ามีการ Work From Home ระยะยาว Trello ในเวอร์ชันฟรีอาจไม่ตอบโจทย์เท่าไร ต้องลงทุนซื้อตัว Trello Business Class 10$ (ราว 326 บาท ต่อคน/เดือน) ไปเลย ซึ่งถ้าเปรียบเทียบฟีเจอร์การทำงานและราคารายเดือนแล้วผมมองว่า ClickUp น่าจะเหมาะกว่าเพราะราคาถูกกว่าเพียง 9$ (ราว 293 บาท ต่อคน/เดือน) บวกกับ ClickUp มีฟีเจอร์การทำงานช่วง Work From Home ในระยะยาวที่ครบเครื่องกว่า
อย่างไรก็ตามหาคุณสนใจอยากนำ Trello มาใช้ในบริษัทสามารถอ่านรีวิวการใช้งาน และเปรียบเทียบ Trello กับเครื่องมือตัวอื่นได้ที่ บทความนี้
3. Notion
Notion ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือด้าน Productivity ที่เราอยากแนะนำสำหรับบริษัทไหนที่ต้องการ Tools น้องใหม่ความสามารถเพียบ เริ่มตั้งแต่ฟีเจอร์ชูโรง เอาใจสายจดอย่าง Notes ที่ทำให้คุณสามารถจดบันทึก Task งานต่าง ๆ หรือ To Do List ในแต่ละวัน (ทำเป็น Checklist ได้) ซึ่งทาง Notion เขาเคลมไว้เลยว่า แค่ซอฟต์แวร์ของเขาอันเดียว ก็สามารถเข้ามาแทนที่การทำงานของ Google Docs, Evernote หรือแอปสำหรับจดบันทึกอื่น ๆ ได้เลย
ถัดมาคือฟีเจอร์ Teamwork ที่เป็นเหมือนฟีเจอร์ในการรวมทั้งทีมให้อยู่ในแพลตฟอร์มพื้นที่เดียวกัน มีประโยชน์เวลา Work From Home ที่ Project Manager ต้องการจะแจ้งข่าวสาร ความคืบหน้า ทิศทางในอนาคตรวมถึง Roadmap ของแต่ละโปรเจกต์ หรือจะแบ่งเป็นแผนกแต่ละแผนกในบริษัทก็ได้เหมือนกัน (ส่วนตัวผมมองว่าคล้าย ๆ Workplace)
และอีกหนึ่งฟีเจอร์สำคัญอย่าง Task Management ที่ใน Notion ก็มีไม่น้อยหน้าเครื่องมือตัวอื่น ๆ ที่เราได้กล่าวไป โดย Notion สามารถจัดรูปแบบมุมมองได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Kanban Board, List, Table และรูปแบบอื่น ๆ ที่เราสามารถกำหนดได้ ตาม Workflow ของการทำงาน ซึ่งสำหรับส่วน Task Management ของ Notion เขาเคลมไว้ในหน้าเว็บไซต์เลยนะครับว่าเพียงแค่ Notion ตัวเดียวก็สามารถทำงานแทนที่ของ Trello, Asana, Jira ได้เลย
และนอกจากฟีเจอร์บางส่วนที่มีประโยชน์ต่อการ Work From Home ที่ผมได้กล่าวไปแล้ว Notion ยังมีฟีเจอร์อีกเยอะที่เข้ามาช่วยเปลี่ยนให้การทำงานในองค์กรของคุณมีประสิทธิภาพขึ้นได้ แต่ถึงอย่างนั้น Notion ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้างด้วยความที่ Notion เป็นเครื่องมือที่มีฟีเจอร์ในตัว “เยอะและซับซ้อนเกินไป” ซึ่งปัญหานี้อาจทำให้ทีมเกิดปัญหาด้านการใช้งาน ที่อาจนำไปสู่ความผิดพลาดตามมาได้
รวมถึงบางฟีเจอร์ของ Notion ก็ยังออกแบบประสบการณ์การใช้งานได้ไม่ดีพอ เช่น Note, Spreadsheet ที่ต้องบอกว่าบางครั้งเราใช้งาน Google Docs หรือ Google Sheet แบบเดิมน่าจะคุ้นเคยกว่า (สำหรับผมถ้าอยากหาเครื่องมือด้าน Spreasheet จริงจังแนะนำไปที่ Airtable ดีกว่าครับ ครบกว่าเยอะ)
ส่วนเรื่องราคานั้น Notion สามารถใช้งานได้ฟรี ในแพคเกจเริ่มต้นซึ่งก็จะเหมือน Trello ครับใช้งานไปสักพักก็จะเริ่มถูกจำกัดปริมาณการใช้งาน และทำให้คุณต้องไปซื้อแพคเกจแบบ Team ต่อไป คุณสามารถดูราคาและรายละเอียดแพคเกจทั้งหมดของ Notion ได้ ที่นี่
สรุปทั้งหมด
ต้องยอมรับว่าในการทำงานคงจะต้อง Work From Home กันต่อไปอีกสักระยะใหญ่ และคงหนีไม่พ้นที่สักวันหนึ่งคุณก็จะต้องเริ่มนำเครื่องมือต่าง ๆ โดยเฉพาะประเภท Productivity Tools เข้ามาช่วยทำให้การทำงานของคุณและองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ภายใต้สถานการณ์แบบนี้
สำหรับใครที่อยากเริ่มลองนำ Productivity Tools ที่เราได้แนะนำไปในบทความนี้ไปลองใช้กับองค์กรของตัวคุณเอง รวมไปถึง Automation Tools ตัวอื่น ๆ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน ทำอะไรก่อน-หลัง หรือกลัวว่าสมัครใช้งานแล้วกลัวทีมจะใช้กันไม่เป็น คุณสามารถทิ้งรายละเอียดปัญหาของคุณให้เรารับรู้ได้ แล้วทีมของเราจะรีบติดต่อกลับไปเพื่อให้คำปรึกษาคุณทันที