Page Speed Optimization ปรับแต่งเว็บไซต์อย่างไรให้โหลดได้เร็วขึ้น ไม่พลาดทุกโอกาสทางธุรกิจ

Page Speed Optimization ปรับแต่งเว็บไซต์อย่างไรให้โหลดได้เร็วขึ้น ไม่พลาดทุกโอกาสทางธุรกิจ
Light
Dark
Pea Tanachote
Pea Tanachote

อดีตนักร้อง ที่ผันตัวมาเขียนคอนเทนต์ ชอบดูฟุตบอลและ Blackpink เป็นชีวิตจิตใจ นักเขียนคอนเทนต์ที่ใคร ๆ ก็ต้องการตัว (โดยเฉพาะตำรวจ)

นักเขียน

ปัจจุบันการทำ SEO (Search Engines Optimization) หรือการทำให้เว็บไซต์ติดหน้าแรก , อันดับต้นๆ ในหน้าการค้นหา กลายเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง ต้องเริ่มศึกษาและให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

นอกเหนือจากปัจจัยเบื้องต้นอย่างการใส่ Keyword , Meta Tags หรือการทำเว็บไซต์ให้รองรับกับทุกอุปกรณ์ (Responsive Design) อีกปัจจัยการทำ SEO ที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณได้คะแนนดีขึ้นนั่นก็คือเรื่องของ Page Speed หรือความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์

ยิ่งถ้าเว็บไซต์ของคุณ เป็นเว็บไซต์หลักของธุรกิจหรือใช้เว็บไซต์ทำโฆษณาบน Google Ads ที่มีลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายกำลังให้ความสนใจอยู่ ความเร็วของเว็บไซต์ของคุณจะต้องโหลดเร็ว ไม่ช้าอืดหรือรอนานเกินไป ไร้ปัญหาเว็บโหลดช้า WordPress ช้า (รวมไปถึง Web Base อื่น ๆ ทั้งหมด)

เพราะการที่เว็บไซต์ของคุณโหลดช้าแบบนั้น ย่อมจะทำให้ User เกิดประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีตั้งแต่แรกพบและแน่นอนครับว่าโอกาสที่คุณจะเปลี่ยนให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าของธุรกิจคุณก็ย่อมทำได้ยากเช่นกัน 

เพราะฉะนั้นในบทความนี้ The Growth Master จะขอพานักการตลาดไฟแรงทุกท่านไปศึกษาเทคนิคการปรับแต่งเว็บไซต์ให้โหลดได้เร็วขึ้น (Page Speed Optimization) พร้อมเทคนิควิธีแก้ปัญหา หน้าเว็บโหลดช้าและเทคนิคเพิ่มความเร็ว Wordpress ที่ให้คุณนำไปปรับแก้กับเว็บไซต์ของคุณได้ทันทีเมื่ออ่านจบ 

หากทุกท่านพร้อมแล้ว ไปเริ่มศึกษาวิธีจัดการปัญหาเว็บโหลดช้าพร้อมกันได้เลยครับ !

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

Page Speed กับ SEO ทั้ง 2 อย่างนี้ช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไร ?

Page Speed คือค่าความเร็วในการดาวน์โหลดเว็บไซต์หรือความเร็วในการแสดงผลของเว็บไซต์ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการทำ SEO ให้เว็บไซต์ของเราขึ้นไปติดอันดับดี ในหน้าการค้นหาของ Google

ในมุมของผู้ใช้งานอย่างเรา สมมติว่าถ้าเราจะกดเข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ซักเว็บหนึ่ง เมื่อกดเข้าเว็บไซต์ไปแล้ว แต่กลับต้องรอเว็บโหลดนาน (เกิน3วินาที) คุณจะมีวิธีการจัดการอย่างไรครับ ? ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ก็มักจะปิดเว็บไซต์นั้นไปเลย และไปหาเว็บไซต์ใหม่ดีกว่า

Page Speed คือ
ภาพจาก freekb

ถ้า User เกิดการกระทำเช่นนั้นบ่อยๆ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นในการทำ SEO และอันดับของหน้า SERP ย่อมตามมาแน่นอนครับ ตั้งแต่เรื่อง Traffic ของเว็บไซต์ที่อาจจะไม่มีเลย และเมื่อมียอด Traffic น้อย สิ่งที่จะตามมาอีกเป็นลูกโซ่ก็คือเรื่องของ Bounce Rate  ที่จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการทำ SEO 

เพราะเมื่อ User เข้ามาในเว็บไซต์คุณ แต่ต้องรอโหลดนาน เว็บโหลดช้าจนพวกเขากดปิด แล้วไปหาเว็บไซต์อื่นแทนการกระทำแบบนี้แหละครับ ที่จะไปส่งให้ค่า Bounce Rate ของเว็บไซต์สูงลิบ (เพราะ User เข้ามาแล้วไม่ Take Action ไปยังหน้าเพจอื่นๆ ของเว็บไซต์)

และทันใดที่เว็บไซต์ของคุณมีค่า Bounce Rate สูง Google ก็จะให้คะแนนเว็บไซต์ของคุณน้อย จนไม่ปรากฏในหน้าแรกๆ ของ Google ส่งผลให้การทำ SEO ของคุณยังไม่ประสบความสำเร็จนั่นเอง

Bounce Rate คือ
ภาพจาก crazyegg

จะเห็นได้เลยนะครับว่าพื้นฐานของการทำ SEO สิ่งแรกที่คุณควรมาใส่ใจก็คือเรื่อง Page Speed เพราะต่อให้ธุรกิจของคุณน่าสนใจแค่ไหน แต่เมื่อ User เข้ามายังเว็บไซต์ไม่ได้ เว็บโหลดช้า โอกาสที่คุณจะเปลี่ยนพวกเขาเป็นลูกค้า รวมถึงโอกาสในการสร้างยอดขายให้ธุรกิจ ล้วนทำได้ยากแน่นอนครับ

มาหาสาเหตุให้เจอ เป็นเพราะอะไรทำไมเว็บไซต์ของเราถึงโหลดช้า ?

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบการที่เว็บไซต์โหลดช้า (ในกรณีที่ไม่ได้เป็นที่สัญญาณ Internet ของเรา) เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุครับ แต่ปัญหาหลักๆ ที่ส่งผลให้เว็บไซต์โหลดช้าจะมีดังนี้ครับ 

  • รูปภาพ , วิดีโอที่แสดงในเว็บไซต์มีขนาดใหญ่เกินไป

ถือเป็นปัญหาสุดคลาสสิคสำหรับเว็บไซต์โหลดช้าครับ เพราะไฟล์ของรูปและวิดีโอที่คุณใช้ประกอบการทำ Content หรือตกแต่งในเว็บไซต์มีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่เกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาในการโหลดนานขึ้น 

วิธีแก้ไขก็คือวิธีง่ายๆ อย่างการลองย่อไฟล์ของรูปหรือ Image Optimazation นั่นเองครับ โดยปัจจุบันก็มี Software ที่ให้บริการย่อไฟล์รูปให้เหมาะสมกับการลงในเว็บไซต์โดยไม่เสียเวลาในการโหลดเต็ม Internet ไปหมด ให้คุณสามารถเลือกใช้งานตามชอบได้เลยครับ วิธีเป็นวิธีพื้นฐานที่สามารถเพิ่มความเร็ว WordPress, WebFlow หรือ Web Base อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และควรทำประกอบกับการ Optimize เว็บส่วนอื่นหรือการลง Content เสมอ

  • เว็บไซต์ใช้ PlugIn เยอะเกินไป

สำหรับนักการตลาดท่านใดที่ใช้งาน WordPress ในการทำเว็บไซต์ การใช้งานปลั๊กอินก็ต้องถือเป็นของคู่กันอยู่แล้วถูกต้องไหมครับ ?

แต่คุณทราบหรือไม่ว่าการมีปลั๊กอินที่ใช้งานเยอะเกินไป คือตัวการสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์ Wordpress ช้าขึ้นหลายเท่า เพราะเมื่อมีปลั๊กอินที่ใช้งานเยอะ ก็ต้องใช้เวลาในการเข้าเว็บไซต์เยอะด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นสำหรับใครที่ใช้งาน WordPress ก็เลือกใช้งานเฉพาะปลั๊กอินที่สำคัญกับเว็บไซต์จริงๆ แล้วกันครับ เพื่อเพิ่มความเร็ว WordPress และลดปัญหาการที่เว็บไซต์หลังบ้านต้องทำงานหนักจน WordPress ช้าจน User ต้องปิดหนี

Page Speed คือ
ภาพจาก marketingism
  • ปัญหาด้านเทคนิคและระบบอื่นๆ ของตัวเว็บไซต์

สำหรับใครที่จัดการเว็บไซต์ด้วยการเขียนโค้ดขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นระบบของ HTML/CSS , Javascript หรืออื่นๆ ล้วนเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ความรอบคอบในการทำงานพอสมควร

หากมีโค้ดตัวใดที่เขียนผิด ใส่ Tag ไม่ตรงจุดทั้ง Head , Body การใส่ขนาดของไฟล์ภาพ หรือการใส่ <style> ที่เยอะเกินก็จะทำให้เว็บไซต์ของคุณเกิดข้อผิดพลาดและอาจทำให้กินเวลาในการโหลดเว็บไซต์นานขึ้น 

  • ปัญหาจากผู้ให้บริการเว็บไซต์ Web Hosting

ผู้ให้บริการ Web Hosting ที่ไม่มีคุณภาพเป็นอีกหนึ่งปัญหาเว็บโหลดช้า เพราะหาก Web Hosting มีฐาน Server ให้บริการที่ไร้ประสิทธิภาพ เมื่อมี User ต้องการเข้าสู่เว็บไซต์อาจต้องใช้เวลานานมากกว่า 3-5 วินาทีเพื่อโหลดข้อมูลมาให้กับ User ซึ่งไม่ว่าคุณจะ Optimize แต่ละส่วนของเว็บให้ดียังไง สุดท้ายถ้า Server ช้า เว็บไซต์ของคุณก็จะช้าอยู่วันยังค่ำ

ดังนั้นการเลือกใช้ Web Hosting ไม่ควรเลือกพิจารณาจากราคาเป็นหลัก เพราะ Web Hosting ราคาถูก หรือบางที่อาจฟรี มักมีการแชร์ Speed กับเว็บไซต์อื่นที่อยู่ใน Server โดยเฉพาะถ้าเว็บไซต์นั้นเป็นเจ้าใหญ่ที่ User ใช้งานเยอะ เว็บไซต์คุณก็จะยิ่งช้า เพราะถูกดึงทรัพยากรไปทั้งหมด ซึ่งในข้อนี้นับว่าเป็นวิธีวิธีแก้ปัญหาหน้าเว็บโหลดช้าที่แก้ได้แทบจะทันที แต่ก็ต้องอาศัยงบลงทุนที่เพียงพอ

  • มีการ Redirect ที่ไม่จำเป็นเยอะเกินไป

การ Redirect สามารถทำได้ แต่ควรอยู่ในกรอบที่เหมาะสม เพราะการใช้ Redirect มากเกินไปหมายถึงการให้ User ต้องดาวน์โหลดทรัพยากรซ้ำหลายรอบ กินทั้งทรัพยากร Server และเสียเวลาของ User ถ้าไม่มีความจำเป็น The Growth Master ขอแนะนำว่าไม่ควรใช้จะดีที่สุด

นอกจากปัญหาที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ยังมีปัญหาด้านเทคนิคอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น มีข้อมูลใน Database เยอะไป หรืออื่นๆ ก็ควรต้องหมั่นตรวจสอบเป็นประจำว่าเกิด Error ในส่วนไหนหรือเปล่า เพราะเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นจะได้แก้ไขได้อย่างทันท่วงทีและลดโอกาสที่ลูกค้าจะเจอกับประสบการณ์ไม่ดีครับ

Page Speed คือ
ภาพจาก webceo

เว็บไซต์ที่ดีควรโหลดเสร็จได้ในกี่วินาที และมีเครื่องมือใดที่เอาไว้ตรวจสอบความเร็วบ้าง ?

สำหรับนักการตลาดท่านใดที่สงสัยว่า แล้วแบบนี้เว็บไซต์ที่ดี ควรใช้เวลาในการโหลดเท่าไหร่กัน ? ถ้าให้พูดแบบเข้าใจง่ายที่สุด ก็ต้องทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ เพราะในทุกๆ วินาทีที่เสียไปนั่นเท่ากับจำนวนลูกค้าที่จะหายไปด้วยเช่นกัน

ทาง Google ได้ทำการสำรวจโดยใช้อัตรา Bounce Rate เป็นตัวชี้วัดพบว่าระยะเวลาที่ดีที่สุดของการโหลดเว็บไซต์ควรไม่เกิน 3 วินาที และถ้าเกิน 10 วินาทีก็แทบไม่มีโอกาสที่คุณจะได้ลูกค้ากลับมาเลย


เว็บไซต์โหลดช้า
ภาพจาก GoogleResearch

และจะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ของเราปัจจุบันมีค่า Page Speed Average อยู่ในเกณฑ์ดีหรือไม่ ?

สำรวจการวัดว่า ปัจจุบันเว็บไซต์ของเรามี Page Speed Average อยู่ที่เท่าไร ทาง Google ก็ได้ออกเครื่องมือที่เอาไว้ใช้วัดความเร็วของเว็บไซต์โดยเฉพาะอย่าง Google Page Speed Insight ออกมา โดยคุณเพียงแค่ระบุ URL ของเว็บไซต์คุณลงไปในช่อง (ในภาพตัวอย่างผมใส่เว็บไซต์ The Growth Master ลงไป)


Page Speed คือ


จากนั้นให้คุณกด Analyze เพื่อทำการประเมินผลโดยผลลัพธ์ที่ได้ เราสามารถเลือกดู Page Speed ของเว็บไซต์เราได้ทั้งแบบโทรศัพท์และแบบ Desktop เลยครับ


Page Speed คือ


ซึ่งเมื่อได้ผลลัพธ์ออกมา Google จะบอกว่าส่วนไหนที่ทำให้เว็บไซต์ของเราช้าลงและ Checklist สั้นๆ ให้คุณลองหาจุดที่ต้องปรับแก้กับเว็บไซต์ด้วยครับ เรียกได้ว่าแค่เครื่องมือเดียวก็ช่วยคุณได้ปรับเว็บไซต์ได้เยอะเลย (หลังจากเขียนเสร็จผมจะรีบไปปรับแก้ทันที)

เทคนิค Page Speed Optimization ปรับเว็บไซต์ให้เร็วขึ้นไม่พลาดทุกโอกาสทางธุรกิจ เริ่มอย่างไร ?

ในหัวข้อนี้เราจะมาบอกเทคนิคและวิธีแก้ปัญหา หน้าเว็บโหลดช้าง่ายๆ (ไม่ใช่การปรับแต่งเชิงเทคนิค) ที่จะทำให้คุณได้เว็บไซต์ที่โหลดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ไม่พลาดทุกโอกาสทางธุรกิจที่คุณสามารถทำได้ทันทีหลังอ่านจบ มาดูกันครับว่าจะมีเทคนิคใดบ้าง

1. ทำการบีบอัดและย่อขนาดไฟล์ทุกอย่าง

วิธีแก้ปัญหาหน้าเว็บโหลดช้าอันดับแรกคือ “ขนาดไฟล์” ซึ่งเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเสมอครับ หากต้องมีการมีเว็บไซต์ที่โหลดเร็ว คุณควรต้องย่อขนาดรูปภาพและขนาดของไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ในเว็บไซต์คุณก่อน โดยเฉพาะไฟล์รูปภาพที่ถือเป็นตัวการสำคัญที่จะกำหนดความช้า-เร็วของเว็บไซต์ได้เลย

สำหรับวิธีการปรับแก้คุณไม่จำเป็นต้องไปปรับ Quality ของไฟล์เดิมนะครับ เพราะอาจทำให้ภาพเกิดแตกเวลาขึ้นเว็บไซต์ ดูไม่สวยงามได้ ทางที่ดีคือใช้งานเว็บไซต์บีบอัดขนาดไฟล์แทน เช่น TinyPng , Image Compressor 

โดยทั้ง 2 เว็บไซต์นี้สามารถย่อขนาดไฟล์ได้อย่างดีเยี่ยม ชนิดที่ว่าคุณแทบไม่เห็นความแตกต่างเลยครับ    (แอบกระซิบว่า The Growth Master ก็ใช้งานเว็บไซต์นี้เหมือนกัน)

ย่อรูปยังไง
ภาพจาก TinyPng

โดยวิธีใช้งานก็แค่อัปโหลดไฟล์รูปที่ต้องการลงไป แล้วระบบก็จะบีบอัดให้เราโดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำรูปภาพไปใช้งานบนเว็บไซต์ได้เลย รับรองว่าคุณจะได้เว็บไซต์ที่เร็วกว่าเดิมแน่นอน ถ้าได้ลองวิธีนี้

2. ทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Tag <script>

สำหรับใครที่เขียนโค้ดเพื่อการทำเว็บไซต์ Tag <script> เป็นอีกหนึ่งตัวกำหนดความเร็ว-ช้า ของการโหลดเว็บไซต์ของคุณ ที่คุณควรต้องทำความเข้าใจและหาตำแหน่งการใส่ให้ถูกต้องครับ

หากคุณได้มีโอกาสเข้าเว็บไซต์แล้วพบกับหน้าจอขาวๆ ไม่ปรากฏสิ่งใดเลย แสดงว่าคุณต้องเริ่มเข้าปรับตำแหน่งของ Tag <script> เป็นการด่วนครับ 

เพราะถ้าตัว Browser เกิดพบ tag <script> นั้น Browser จะต้องใช้เวลาโหลดและประมวลผลของ JavaScript ให้เสร็จก่อน ถึงจะแสดงผลต่อไปได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการโหลดขึ้นมา

วิธีแก้ก็ง่ายๆ เลยครับคุณก็แค่ย้ายตำแหน่งของ <script> ไปอยู่ด้านล่างสุด ก่อนจะปิดด้วย </body> ในบรรทัดต่อมา เพื่อให้ระบบทำการโหลดเนื้อหาของเว็บไซต์ให้เสร็จก่อนเป็นอันดับแรก

Page Speed คือ
ภาพจาก cssinhtml

แต่อย่างไรก็ตาม วิธีแก้ปัญหาหน้าเว็บโหลดช้านี้อาจได้ผลหรือไม่ได้ผล ก็ต้องขึ้นอยู่กับ Coding ทั้งหมดที่คุณเขียนว่าถูกต้องหรือเปล่าด้วยนะครับ

3. ใช้งาน Lazy Loading 

Lazy Loading คือวิธีแก้ปัญหาหน้าเว็บโหลดช้าด้วยการให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดเนื้อหาไปทีละส่วนๆ แทนที่จะดาวน์โหลดเนื้อหาของเว็บไซต์ทีเดียว ก็เปลี่ยนไปตามการแสดงผลบนหน้าจอของเรา (ถ้ายังเลื่อนจอไม่ถึงก็ยังไม่โหลด)

แน่นอนว่าการใช้งาน Lazy Loading จะทำให้เว็บไซต์ของคุณ โหลดเนื้อหาได้เร็วกว่าการโหลดเว็บไซต์ปกติ ที่โหลดทีเดียวทั้งเว็บ และเป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการสร้างประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีให้ User ครับ 

โดยเฉพาะเว็บไซต์แนว Blog หรือ Content ที่ต้องเลื่อนดูยาวๆ มีเนื้อหา Content แน่นๆ เทคนิคนี้ถือว่าเป็นอีกวิธีแก้ปัญหาหน้าเว็บโหลดช้าที่จะเข้ามาช่วยเรื่อง Page Speed ได้เป็นอย่างดีครับ


Lazy Loading คือ
ภาพจาก Medium

โดยสำหรับการทำ Lazy Loading นั้นปัจจุบันก็มีปลั๊กอิน (สำหรับ WordPress) ที่ออกมาเพื่อการทำมากมาย ไม่ว่าจะเป็น LazyLoad , BJ Lazy Load , WP Rocket เรียกได้ว่า ให้คุณเลือกใช้งานได้ตามความต้องการเลยครับ

4. โละเว็บไซต์เก่า แล้วเริ่ม Redesign + เปลี่ยนระบบหลังบ้าน 

ในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณมีอายุเกิน 8 ปีขึ้นไป ไม่ต้องแปลกใจที่มันจะช้าลงครับ เพราะระบบหลังบ้านรวมถึงองค์ประกอบต่างๆ ในเว็บไซต์ทั้งหมดล้วนเป็นของเก่าที่ไม่ได้พัฒนามานาน สั่งสมจนเกิดเป็นปัญหาเว็บโหลดช้าในที่สุด

เพราะฉะนั้นทางออกที่ดีที่สุดก็คงหนีไม่พ้นการลอง Redesign รวมถึงเปลี่ยนระบบหลังบ้านให้เป็นแบบใหม่ เพราะนอกจากจะทำให้เว็บไซต์ของคุณโหลดได้เร็วขึ้นแล้วนั้น ยังมีประโยชน์ต่อธุรกิจอีกเพียบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาพลักษณ์หน้าตาเว็บไซต์ดูสวยขึ้น
  • ดูแลเว็บไซต์ทั้งหมดได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น
  • เพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากขึ้น ลูกค้าชื่นชอบ
  • เพิ่มฟีเจอร์หรือลูกเล่นใหม่ๆ ให้กับเว็บไซต์เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคออนไลน์ เช่น ระบบ E-Commerce 

ถ้าหากคุณคิดว่าถึงเวลาอันสมควรแล้ว การปฏิวัติเว็บไซต์ของคุณ ก็ถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าต่อการทำธุรกิจไม่น้อยเลยครับ

หากคุณอยากมีเว็บไซต์ใหม่ The Growth Master เป็นผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมสร้างเว็บไซต์ให้โดดเด่นสะดุดตา ไม่ซ้ำใคร Page Speed ความเร็วสูง ตอบสนองไว Interface ทันสมัย พร้อมดูแล Optimize เว็บให้เสถียรอยู่เสมอ การันตีคุณภาพด้วยผลงานกับลูกค้ามากกว่า 100+ เจ้า!

คลิกที่นี่ เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเลยตอนนี้

รับสร้างแบรนด์


5. ทำ Website Cache

“Cache” หลายคนอาจคุ้นเคยคำนี้มาก่อนว่าเป็นข้อมูลบางส่วนที่ถูกดาวน์โหลดและจัดเก็บเอาไว้แล้ว ซึ่งสำหรับการทำ Page Speed Optimization ของเว็บไซต์ก็มีสิ่งที่เรียกว่า Website Cache ที่เป็นการสำรองข้อมูลเพื่อให้ User ท่องเว็บของเราได้เร็วมากขึ้น “ในครั้งถัดไป” นับว่าเป็นหนึ่งใน Foolproof หรือวิธีแก้ปัญหา หน้าเว็บโหลดช้าที่หลายเว็บไซต์เลือกใช้ในปัจจุบัน

ยกตัวอย่างง่าย ๆ User คนหนึ่งเข้าสู่เว็บ thegrowthmaster.com ครั้งแรก ใช้เวลาโหลดประมาณ 2-3 วินาที แต่ครั้งต่อไปเขาจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 วินาทีเท่านั้น (เร็วมากขึ้นถึง 60-70% เลย!) โดยการทำ Website Cache ไม่จำเป็นต้องเขียน Code เว็บใหม่ สามารถทำได้ด้วยตัวเองดังนี้

  1. โหลด PlugIn Website Cache 

ถ้า Base เว็บไซต์คือ WordPress CMS คุณสามารถดาวน์โหลด PlugIn เข้าระบบหลังบ้านและใช้งานได้ทันที เช่น WP Optimize, WP Rocket, LiteSpeed, Total Cache, WP Super Cache ฯลฯ

ภาพจาก biznetgeo
  1. ทำ Website Cache ด้วย Cloudflare 

Cloudflare คือผู้ให้บริการระบบเครือข่ายจัดเก็บ Website Cache รอบโลก ทำให้ User สามารถเข้าเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายที่ใกล้ที่สุด ไม่ต้องดาวน์โหลดข้อมูลจาก Server หลัก

ยกตัวอย่างง่าย ๆ มี User ต้องการเข้าเว็บไซต์ thegrowthmaster.com จากประเทศญี่ปุ่น Cloudflare จะเรียก Website Cache จากเครือข่ายญี่ปุ่นให้ทันที ไม่ต้องเรียกข้อมูลไกล ๆ จากไทย (หรือถ้าไม่มีเครือข่ายญี่ปุ่น Cloudflare จะเรียก Website Cache จากจุดที่ใกล้ที่สุด) ซึ่งนอกจากเข้าเว็บได้เร็วแล้ว ยังไม่กินทรัพยากร Server เว็บไซต์ของคุณอีกด้วย เพราะข้อมูลทั้งหมดเรียกจาก Cloudflare นั่นเอง

สรุปทั้งหมด

เพราะเว็บไซต์เป็นเหมือนประตูบานแรก ที่จะทำให้ลูกค้าได้รู้จักธุรกิจของคุณมากขึ้น แต่ถ้าเว็บไซต์ของคุณเกิดโหลดช้า ก็เหมือนกับการที่ลูกค้ามาเคาะประตูเรียกคุณ แล้วไม่มีคนออกไปเปิดประตูให้พวกเขา จนทำให้ลูกค้าเหล่านั้นจากไป 

ก็เหมือนกับการทำธุรกิจครับ ในฐานะที่คุณเป็นนักการตลาดรุ่นใหม่ คุณต้องมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีให้กับลูกค้าตั้งแต่แรกเจอ ถึงจะเป็นการสร้างโอกาสให้ธุรกิจของคุณได้และสามารถพาธุรกิจของคุณเติบโตไปได้อีกในอนาคตครับ

Source : crazyegg , moz , neilpatel


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe