Technology

องค์กรที่ใช้ SAP ห้ามพลาด! เปลี่ยนการทำงานของธุรกิจให้ดีขึ้นด้วย API ClickUp

องค์กรที่ใช้ SAP ห้ามพลาด! เปลี่ยนการทำงานของธุรกิจให้ดีขึ้นด้วย API ClickUp
Light
Dark
Cartoon Tanaporn
Cartoon Tanaporn

มนุษย์เป็ดเขียนคอนเทนต์ ชอบเขียนมากกว่าพูด เสพติดการมองพระจันทร์เป็นชีวิตจิตใจ และหลงใหลในช่วงเวลา Magic Hour ของทุกวัน

นักเขียน

ในปัจจุบันสตาร์ทอัปหรือบริษัทใหญ่ ๆ ต่างต้องมีการใช้ซอฟต์แวร์ Productivity เข้ามาช่วยทำงานหลายเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นด้านการติดต่อสื่อสารอย่าง Slack, Zoom, Google Meets หรือจะเป็น Project Management อย่าง ClickUp, Trello, Asana รวมถึงด้านอื่น ๆ แต่สำหรับเครื่องมือที่เราจะมาพูดถึงกันเป็นพิเศษในวันนี้คือ ClickUp 

ClickUp คือ หนึ่งในซอฟต์แวร์ Productivity ที่โดดเด่นในด้าน Project Management มีหน้าตาที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีฟีเจอร์หลากหลาย และได้รับการยอมรับจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก เช่น Webflow, Booking.com, Netflix, Nike อีกทั้งยังได้รับรางวัล Best Software 2019 โดย TaskReport และบริษัทเติบโตจนมีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ถือว่าไม่ธรรมดาเลย)

นอกจากข้อดีที่กล่าวไปด้านบน ClickUp ยังสามารถนำไป Integrate เข้ากับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่ ClickUp ได้เตรียมไว้ให้มากกว่า 1,000 ซอฟต์แวร์ แต่ยังไม่หมดเท่านั้น ข้อดีอีกหนึ่งอย่างที่หลายคนอาจยังไม่รู้คือ ClickUp ยังมีการเปิดให้ต่อ API กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้อย่างอิสระ ทำให้ไม่ว่าอุตสาหกรรมไหน ๆ ก็สามารถนำข้อดีของเจ้า ClickUp ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิมได้

ในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ ClickUp ให้มากขึ้น รวมถึงไปดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเรานำ API ของ ClickUp ไปต่อเข้ากับซอฟต์แวร์ที่องค์กรของคุณกำลังใช้งานอยู่ และธุรกิจของคุณจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง? ไปติดตามกันต่อได้เลย

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

ClickUp คืออะไร? รู้จักซอฟต์แวร์ที่จะทำให้องค์กรของคุณเป็นระเบียบขึ้น

ClickUp คือ ซอฟต์แวร์ด้าน Project Management ที่ไม่ว่าใครได้ลองใช้ก็ต้องหลงรักความเป็นระเบียบของ Task งานในแต่ละโปรเจ็กต์ การปรับแต่งในส่วนต่าง ๆ ที่ยืดหยุ่น รวมไปถึงความสามารถร้อยพันของซอฟต์แวร์ที่ทำให้การทำงานของทีมในองค์กรสะดวก, รวดเร็ว, ลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน

ภาพจาก saasmag

สำหรับ ClickUp เอง เราเชื่อว่าตอนนี้ไม่มีซอฟต์แวร์ในตลาดหน้าไหนที่จะมาล้มแชมป์ในเรื่องของลูกเล่นที่มีเยอะมาก ๆ ใครที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะใช้ ClickUp ดีไหม มันจะเหมาะสมกับทีมและโปรเจ็กต์ที่กำลังทำอยู่หรือเปล่า ซึ่งเราขอบอกว่าไม่ต้องลังเลเลย เพราะเจ้าซอฟต์แวร์ตัวนี้สามารถปรับมุมมองให้เข้ากับทีมทุกคนได้อย่างแน่นอน ทั้ง Project Manager, Marketer, Design, Sales, Developer หรือแม้แต่ HR เองก็ตาม 

ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าองค์กรไหนยังเป็นองค์กรเล็ก ๆ และมีโปรเจ็กต์ที่กำลังทำน้อยอยู่ แต่ในอนาคตแน่นอนว่าต้องมีการสเกลบริษัทให้ใหญ่ขึ้นอีก ClickUp ก็เป็นเครื่องมือที่เข้าใจในจุดนี้ เพราะในตอนที่บริษัทยังมีขนาดเล็กอยู่ การเดินเข้าไปพูดคุยสื่อสารระหว่างทีม หรือเรื่องการดำเนินงานด้านเอกสารต่าง ๆ ยังเป็นเรื่องที่ง่าย 

แต่พอทีมใหญ่ขึ้นหรือองค์กรมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน เช่น การ Work From Home หรือ Remote Working แบบในปัจจุบัน ทำให้ Process การทำงานบางอย่างเปลี่ยนไป ถ้าเกิดว่าองค์กรของเราไม่ได้มีการใช้เครื่องมือเหล่านี้เข้ามาช่วย ก็อาจจะทำให้การทำงานของทีมมีความยากขึ้น เพราะเมื่อทีมใหญ่ขึ้น มีคนเยอะขึ้น รูปแบบการทำงานเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม ทำให้คนในทีมหรือคนที่เข้ามาใหม่ ไม่รู้ว่าจะติดต่อประสานงานกับใคร ทีมไหน งานที่กำลังทำอยู่ต้องไปทำร่วมกับใครบ้าง

นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคุณถึงต้องหันมาลองใช้งานซอฟต์แวร์ Project Mangement อย่าง ClickUp ซึ่งอีกหนึ่งข้อดีของมัน คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีการแบ่งโปรเจ็กต์แยกตามฝ่ายตามแผนกเป็นสัดส่วนที่ดี ในเมื่อทุกอย่างมีระบบและเป็นระเบียบแล้ว ก็หมดห่วงการสเกลบริษัทไปได้เลย และไม่ว่าทีมจะทำงานที่ไหนก็สามารถทำได้ มีระบบติดตามงานที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

API คืออะไร? และมีการทำงานอย่างไร?

API (Application Programming Interface) คือ จุดที่ทำให้ 2 ซอฟต์แวร์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้ดี ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ซอฟต์แวร์ที่สร้างด้วย API จะทำหน้าที่เป็น Third-party ที่คอยตรวจสอบหรือจัดการแพลตฟอร์ม รวมถึงดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือข้อมูลที่แอปอีกฝั่งต้องการไปให้

หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า API ก็เป็นเสมือนตัวกลางที่คอยรับ-ส่งคำสั่งต่าง ๆ ประมวลผลคำสั่งนั้น และส่งผลกลับไปยังโปรแกรมที่ป้อนคำสั่งมาโดยอัตโนมัติ รวมถึงเป็นตัวช่วยที่ลดความซับซ้อน สะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดลงได้ และที่สำคัญ API ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ทุกคนสามารถต่อ Integration ระหว่างซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้ง่าย

API ก็เปรียบเสมือนเป็นท่อที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่าง 2 ซอฟต์แวร์

สำหรับ ClickUp เอง ก็รู้ใจผู้ใช้งานระดับองค์กรเป็นอย่างดี เพราะได้มีการต่อ API กับซอฟต์แวร์การทำงานต่าง ๆ ไว้มากมาย เพื่อให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้กัน (1,000+ ซอฟต์แวร์) เช่น Gitlab, Google Calendars, Slack, Google Drive, Discord, Zapier เป็นต้น (สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่)


ถ้าให้ลองยกตัวอย่างจากซอฟต์แวร์ที่ The Growth Master ใช้ Integrate กับ ClickUp นั่นคือ Discord ซึ่งต้องขอเกริ่นก่อนว่าทุกการประชุมของบริษัทเรา จะเกิดขึ้นบน Discord ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Standup Meeting ตอนเช้า, ประชุมวางแผน, อัปเดตงานต่าง ๆ ในตอนเย็น หรือแม้แต่เล่นเกมเพื่อเป็นการกระชับมิตรระหว่างคนในทีม และผ่อนคลายจากการทำงานในช่วงเวลาหลังเลิกงานเอง

โดยการทำงานระหว่าง 2 เครื่องมือนี้คือ ไม่ว่าทีมของเราคนใดที่สร้างการ์ดงานหรือส่งงานกันผ่าน ClickUp (เช่น ทีมคอนเทนต์ Assign งานให้ทีมดีไซน์) ทุกการแจ้งเตือนที่เกิดขึ้นบน ClickUp ก็จะเด้งเข้ามาใน Discord ด้วย ทำให้แต่ละทีมไม่พลาดทุกการอัปเดตงาน (จริง ๆ นอกจากนำ Discord มา Integrate กับ ClickUp แล้วก็ยังมีซอฟต์แวร์ตัวอื่น ๆ อีกเช่นกัน) 

ตัวอย่างการแจ้งเตือนจาก ClickUp บน Discord ของทีม The Growth Master

นอกจากนั้น ทีมของเรายังใช้ ClickUp ในการเชื่อมต่อ API เข้ากับ Zapier สำหรับทำระบบกรอกฟอร์มอัตโนมัติ เพราะเมื่อเวลามีคนเข้ามากรอก Lead จากเว็บไซต์ของ The Growth Master (รวมถึงมีคนมาสมัครงานจากเว็บไซต์ของบริษัท

บน ClickUp ก็จะมีการสร้าง Task ให้โดยอัตโนมัติเลย ทำให้มองเห็นรายละเอียดทั้งหมดที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงข้อมูลของผู้สมัครได้อย่างครบถ้วน ทำให้ทีมสามารถนำข้อมูลก้อนนั้นไปใช้ต่อได้ทันที ไม่ต้องมาคอยเสียเวลาเช็กอีเมลของ Lead เหล่านั้นทีละคน ๆ จากนั้นก็นำข้อมูลมาสร้าง Task บน ClickUp อีกที จะเห็นได้ว่ามันสะดวก รวดเร็วมาก ๆ เป็นการลดการทำงาน รวมถึงลดการตกหล่น และลดความผิดพลาดได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว (แต่ก็อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกทีม)

ตัวอย่าง Task งานที่สร้างโดยอัตโนมัติบน ClickUp (เชื่อมมาจาก Zapier) 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากการต่อ API เข้ากับซอฟต์แวร์ด้าน Productivity ที่ธุรกิจขนาดเล็กและกลางคุ้นชิน ใช้กันในชีวิตประจำวันแล้ว ยังสามารถ Custom ตัว API เข้ากับโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้อีกด้วย

ซึ่งตัวอย่างที่เราอยากพูดถึง คือ การต่อ API จาก ClickUp เข้ากับโปรแกรมสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต อย่างโปรแกรม SAP ERP เนื่องจาก SAP เป็นโปรแกรมที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มีระบบซับซ้อน ติดตามการทำงานค่อนข้างยาก และ SAP ไม่ได้เป็นหนึ่งในซอฟต์แวร์ที่ ClickUp เชื่อมต่อ API ไว้ให้ 

แต่เราก็สามารถทำได้ด้วยการนำ API ที่ ClickUp เปิดไว้ให้อย่างอิสระ มาต่อเข้ากับ SAP ซึ่งจะทำให้ระบบการติดตามกระบวนการทำงานที่ดูยากบน SAP เปลี่ยนให้มาดูได้ง่าย ๆ บน ClickUp นี่ก็เป็นอีกหนึ่งข้อดีที่ API ของ ClickUp มอบให้กับโปรแกรมด้านสายการผลิต

สำหรับองค์กรไหนที่มีการใช้โปรแกรม SAP ERP อยู่ แล้วกำลังรู้สึกว่ามี Pain Point ด้านการติดตามงาน ตอนนี้ The Growth Master ก็ได้มีบริการน้องใหม่สุดเจ๋งที่น่าสนใจมาก ๆ ออกมาอีกหนึ่งบริการ นั่นคือ 
บริการ API เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจาก SAP มาไว้บน ClickUp ซอฟต์แวร์สายจัดการที่ช่วยให้ทีมเห็นภาพรวมการทํางานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบของการ์ดเพียงใบเดียว เริ่มต้นใช้งานได้ง่าย ไม่มีระบบที่ซับซ้อน เปลี่ยนทุกอย่างให้ง่ายขึ้นด้วยปลายนิ้ว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ >>ที่นี่

sap

ประโยชน์ของ API ตัวช่วยที่จะทำให้บริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจาก API ของ ClickUp จะมีประโยชน์อย่างที่ยกไปข้างต้นแล้ว เรามาดูกันว่า API นั้นยังสามารถทำอะไรได้อีกบ้าง และจะช่วยให้การทำงานในบริษัทมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไร?

เข้าถึง Performance Data

สำหรับประโยชน์ของ API ข้อแรก คือ API เป็นเหมือนตัวช่วยที่ทำให้บริษัทผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS) หรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่นำไปใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ได้

ตัวอย่างเช่นในกรณีของบริษัท SaaS อาจนำ API ของ ClickUp มาใช้ โดยการที่ดึงข้อมูลจากแอปพลิเคชันหนึ่ง ๆ หรือจาก Database มาเชื่อมต่อกับ ClickUp เพื่อทำให้ผู้ใช้งานเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เพราะปกติคนทั่วไปที่ไม่ถนัดด้าน Database ก็ไม่ได้เขียนสูตรเพื่อทำการดึง Data ออกมาจาก Database เองอยู่แล้ว 

แต่ ClickUp ก็สามารถทำหน้าที่ตรงนี้แทนเราได้อย่างดีเยี่ยม โดยดึงข้อมูลออกมาและทำให้ภาพมันออกมาดูง่ายในลักษณะของ Task งานที่เป็นการ์ด จากนั้นเราจึงสามารถนำข้อมูลไปใช้ในด้านอื่น ๆ ได้ เช่น Analytics เพื่อวิเคราะห์ Performance ในด้านต่าง ๆ

ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่มีการต่อ API กับซอฟต์แวร์หรือ Database ทีมที่รับผิดชอบในส่วนนั้นอาจจะลำบาก เพราะเมื่อต้องการจัดการข้อมูล เราอาจจะต้องติดต่อไปยังทีมที่รับผิดชอบเรื่อง Database ให้ทำงานในส่วนนี้ให้ 

นอกจากนั้นข้อจำกัดอีกข้อนึงถ้าเราไม่ทำการต่อ API คือ จะทำให้ข้อมูลที่เราต้องการใช้ดูยากและกระจัดกระจาย ไม่รวมอยู่เป็นก้อนเดียวกัน ซึ่งทีมอาจจะต้องเสียเวลาทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มขึ้นไปอีก เช่น การ Export ข้อมูล Report จากช่องทางต่าง ๆ ทีละช่องทาง แต่ถ้าเราใช้วิธีการต่อ API เชื่อมข้อมูลให้มาอยู่ในที่เดียวกัน เพียงคลิกแค่ไม่กี่ทีก็สามารถเห็น Performance Data ทั้งหมด ทุกอย่างจะง่าย สะดวก รวดเร็ว และลดความผิดพลาดในการทำงานได้ 

ดังนั้นในการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือตัวผลิตภัณฑ์ เราต่างก็ต้องมีการวัด Performance เพื่อดูว่าคนในทีมหรือผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นมานั้น มีประสิทธิภาพมากพอหรือเปล่า ถ้าหากมีจุดใดที่ขาดตกบกพร่องไป เราก็สามารถดูข้อมูลจาก Report ได้ ดูว่าอะไรที่เราพลาดซ้ำ ๆ จนทำให้ประสิทธิภาพตก หรือจุดไหนที่ต้องทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่ออุดรอยรั่วนั้นได้ทันเวลานั่นเอง

Integration กับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น

Integration เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การทำงานระหว่าง 2 ซอฟต์แวร์ขึ้นไป เป็นเรื่องง่ายขึ้น ซึ่งคนในองค์กรจะสามารถรับ-ส่งงาน, รับการแจ้งเตือน รวมไปถึงสามารถนำซอฟต์แวร์หนึ่ง ๆ ขึ้นไปทำงานบนซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งได้ทันที โดยที่ไม่ต้องสลับเครื่องมือไปมาระหว่างการทำงานอีกด้วย

ซึ่งจริง ๆ แล้ว ซอฟต์แวร์แต่ละตัวจะมีหลากหลายความสามารถในตัวเอง แต่ก็มีบางฟีเจอร์ที่โดดเด่นที่สุดและไม่มีใครเหมือน (เช่น ClickUp เด่นในด้าน Project Management ส่วน Google Calendar เด่นในเรื่องของการนัดหมายต่าง ๆ) แล้วยิ่งถ้าเรานำซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถที่เราต้องการใช้งานเหล่านั้นมาเชื่อมต่อรวมกัน มันก็ยิ่งจะเติมเต็มความสามารถ และเพิ่มประสิทธิภาพระหว่างกันและกันได้อีกด้วย

ตัวอย่างเช่น การนำ Google Calendar มา Integrate เข้ากับ ClickUp ในความจริงแล้ว บน ClickUp มีปฏิทินในตัวอยู่แล้ว นอกจากมันสะดวกมาก ๆ กับการดูวันที่กำหนดการส่งงานสำหรับ Task งานที่เรากำหนด Due Date เอาไว้ แล้วยังง่ายต่อการนัดหมายกันเองแค่ภายในองค์กรอีกด้วย แต่ถ้าเกิดว่าเรามีการนัดหมายกับลูกค้านอกองค์กร การใช้ Google Calendar อาจจะสะดวกมากกว่า 

เพราะเราไม่สามารถยิง Calendar เพื่อนัดหมายคนภายนอกองค์กร บน Space ของ ClickUp ได้อยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเกิดว่าเราอยากรวม Calendar ทั้งการกำหนดส่งงาน และการนัดหมายทั้งภายในและภายนอกขององค์กร ภายใน Calendar อันเดียวกัน การ Integration ระหว่างทั้ง 2 ซอฟต์แวร์ ก็เป็นคำตอบที่ตอบโจทย์ที่สุดนั่นเอง เพราะรายละเอียดต่าง ๆ จะแสดงทั้งบนปฏิทินของ Google Calendar และ ClickUp ทั้ง 2 ที่เลย (สะดวกแพลตฟอร์มไหนดูแพลตฟอร์มนั้น)

ตัวอย่าง Integration จาก Google Calendar เข้ามาบน ClickUp

และจากตัวอย่างที่เรากล่าวไปตอนต้นที่ ClickUp สามารถ Integrate เข้ากับซอฟต์แวร์อื่น ๆ ได้มากกว่า 1,000 ซอฟต์แวร์ นั่นหมายความว่าทาง ClickUp ได้ทำการต่อ API เข้ากับ 1,000 กว่าซอฟต์แวร์นั้นให้เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จึงสามารถเรียกใช้งานได้ทันที ง่าย สะดวก และรวดเร็วมาก ๆ 

ทำให้ลูกค้าสร้างซอฟต์แวร์เป็นของตัวเองได้

เราขอยกตัวอย่างจากกรณีขององค์กรที่มีลักษณะงานเฉพาะทาง ทำให้ไม่สามารถนำโปรแกรมสำเร็จรูปตามท้องตลาดมาประยุกต์ใช้กับงานของตัวเองได้ ซึ่งทางแก้สำหรับองค์กรเหล่านั้นคือ ให้ Developer ของตัวเอง (หรือจ้าง Developer ภายนอก) มาพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้งานโดยเฉพาะในองค์กร (หรือที่เรียกว่า Custom Software) เพื่อให้ตรงกับคุณสมบัติที่ต้องการ

แต่ว่าซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาใหม่เหล่านั้น อาจจะยังไม่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์และข้อมูลทีมต้องการนำมาใช้ในการทำงาน จึงทำให้ API เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถเชื่อมต่อซอฟต์แวร์นั้นกับอีกซอฟต์แวร์หนึ่ง เพื่อดึงข้อมูล (รวมถึงฟีเจอร์ที่มีอยู่แล้ว) มาใช้บนซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ได้ เหมือนได้ซอฟต์แวร์เป็นของตัวเองอีกหนึ่งตัว

ภาพจาก codebee


API กำลังเข้ามาเปลี่ยนโฉมหน้าของธุรกิจในปัจจุบัน!?

ในทางเศรษฐศาสตร์ มีแนวคิดที่สำคัญมากเกี่ยวกับเทคโนโลยี นั่นคือ ความเชี่ยวชาญ เพราะในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 (ที่เปลี่ยนจากการใช้แรงงานมาใช้เครื่องจักรและกระแสไฟฟ้ามากขึ้น) ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถเพิ่ม Productivity ของตัวเองในการผลิตได้เยอะขึ้น ทำให้ผลที่ตามมาคือธุรกิจมีความมั่งคั่งมากขึ้น 

ในปัจจุบันนี้สำหรับการผลิต ถ้างานไหนมีความซ้ำซ้อนก็ปล่อยให้เครื่องจักรทำงานแทนไป และในด้านของมนุษย์ที่เคยทำงานในส่วนนั้น ก็เปลี่ยนมาทำงานในส่วนที่สำคัญกว่า (ส่วนที่เครื่องจักรไม่สามารถทำแทนได้) นั่นจึงทำให้เมื่อเวลาผ่านไปมนุษย์ก็มีความเชี่ยวชาญในงานนั้นมากขึ้น เช่น งานที่ต้องใช้ความคิดที่ Logic, ความคิดสร้างสรรค์

จากวันนั้นจนวันนี้ เราก็ได้เห็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้งานเทคโนโลยที่เป็น Cloud-based Software, ระบบ Automation และ API เข้ามาทำงานมากขึ้น 

ภาพจาก g-able

หากบริษัทไหนที่สามารถจัดสรรเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น การนำซอฟต์แวร์ด้าน Product Management เข้ามาช่วย ก็จะสามารถนำเวลาที่เสียไปกับงานที่ไม่จำเป็น (อย่างการทำงานซ้ำ ๆ ด้วยระบบ Manual) เปลี่ยนมาใช้เวลาระดมไอเดียและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ จนสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ออกมาในตลาดได้ ซึ่ง API จึงถือว่าเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่ทำให้การเชื่อมต่อของเครื่องมือต่าง ๆ เกิดขึ้นเร็วและง่ายมากขึ้น ส่งผลดีให้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก

นอกจากนั้น API ไม่เพียงแต่มีอิทธิพลกับฝั่งผู้ใช้เพียงอย่างเดียว แต่ยังทำให้ในฝั่งของผู้ประกอบการเองมีการแข่งขันในตลาด Cloud-based Software เพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะอย่างที่เราบอกไปว่า API เป็นนวัตกรรมที่ทำให้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เกิดการ Integration ได้ง่ายมากขึ้น จึงส่งผลให้แอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีคุณภาพสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พร้อมกับมีราคาที่ลดลง (การแข่งขันสูง ยิ่งอยากได้ลูกค้า ก็ต้องยิ่งทำราคาให้ถูกลง) ซึ่งในส่วนนี้จัดว่าเป็นข้อดีให้กับผู้ใช้งานเพราะมีตัวเลือกหลากหลายที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น 

สุดท้ายแล้ว เราจะเห็นได้ว่า API ในปัจจุบันมีอิทธิพลมากขึ้นจริง ๆ โดยที่เราอาจจะไม่ได้เคยสังเกตเห็นข้อนี้เลย จากนี้ต่อไปเราต้องคอยจับตาดูอย่างใกล้ชิดถึงความสามารถของ API ในอนาคต เนื่องจาก API ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเพียงแค่ส่วนเล็ก ๆ ของซอฟต์แวร์ แต่มันกลับกลายเป็นส่วนสำคัญที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทซอฟต์แวร์ทั้งหมด รวมถึงธุรกิจแห่งอนาคตอื่น ๆ ด้วย

สรุปทั้งหมด

ปัจจุบันซอฟต์แวร์ด้าน Productivity จำนวนมาก (รวมถึงด้านอื่น ๆ) ต่างก็ได้มีการเปิดให้นำ API เข้ามาใช้งาน เพื่อให้สามารถ Integrate เข้ากับซอฟต์แวร์ตัวอื่นได้ง่ายขึ้นแล้ว อย่าง ClickUp ซอฟต์แวร์ที่เรายกตัวอย่างไปในบทความนี้ ซึ่งเราจะเห็นว่า API สร้างประโยชน์ที่หลากหลายมากให้กับเราได้จริง ๆ ตั้งแต่การใช้งานในอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่

เราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทุกคนอาจจะได้เห็นประโยชน์ของ API ในปัจจุบบันไม่มากก็น้อยนะคะ ถ้าลองนำมาใช้งานดูรับรองว่าคุณจะทำงานได้ง่าย สะดวก รวดเร็วขึ้น ประหยัดเวลา แถมยังช่วยลดข้อผิดพลาดในการทำงานได้อย่างดีอีกด้วย

Source: clickup
sap



ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe