The future of web design vs. web development is being redefined. จะเกิดอะไรขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า การเข้ามาของ No-Code Platform หรือแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เทคนิคด้านการเขียนโปรแกรม (Coding) ก็สามารถสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันด้วยตัวเอง จะส่งผลกระทบวงกว้างต่อวงการ Web Design และ Web Development หรือไม่?
เพราะในอดีต เมื่อเราอยากสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นของตัวเอง เราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเมอร์ เพราะทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันล้วนขับเคลื่อนด้วยองค์ประกอบสำคัญอย่าง “โค้ด” ถ้าเกิดว่าคุณไม่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ดเลย ก็หมดสิทธิ์สร้างมันด้วยตัวเอง แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นดีไซเนอร์ นักการตลาด หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ ก็สามารถสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเองแล้ว
อย่างไรก็ตาม การเข้ามา Disrupt ของ No-Code Platform มันเริ่มมีผลกระทบในระยะยาวและเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อย ๆ กว่าเดิมแล้ว จากเมื่อก่อนการสร้างเว็บไซต์สักเว็บไซต์หนึ่ง เราต้องใช้บุคคลถึง 2 กลุ่มด้วยกัน คือ Web Designer และ Web Developer แต่ตอนนี้ เมื่อ No-Code Movement เริ่มมีการเคลื่อนไหว ทำให้ใครก็ตามสามารถรับบทบาทเป็นทั้ง 2 คนได้ในคราวเดียว
ดังนั้น ในบทความนี้จะพาคุณไปดูว่า No-Code Movement จะมีอิทธิพลต่อ Web Designer และ Web Developer อย่างไร และจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขาในเมื่อ No-Code Platform สามารถเข้ามาทดแทนการทำงานของทั้ง 2 ฝ่ายได้ในคราวเดียว
ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe
ความแตกต่าง Web Design vs. Web Development Web Design คือ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกของเว็บไซต์ที่ตาเรามองเห็น เช่น ความสวยงาม น่าใช้ รวมถึงการออกแบบฟังก์ชันการทำงานต่าง ๆ โดยออกแบบจากมุมมองของผู้ใช้งานเป็นหลัก ซึ่งคนที่ออกแบบเว็บไซต์ หรือที่เราเรียกกันว่า Web Designer มักใช้ซอฟต์แวร์ เช่น Figma หรือ Adobe XD ในการออกแบบ เพื่อสร้าง User Experience ที่สามารถดึงดูดสายตาผู้ใช้ให้เข้ามาในเว็บไซต์ของเราได้
ภาพจาก invisionapp
อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกหนึ่งกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการออกแบบเว็บไซต์ หรือ Web Application (แอปพลิเคชันที่ถูกเขียนขึ้นมาให้สามารถเปิดใช้ใน Web Browser ได้โดยตรง ทำให้ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแบบเต็ม ๆ ลงเครื่อง) นั่นคือ UX Designer ที่เป็นผู้ช่วยให้ Web Designer ทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะ UX Designer จะใช้ทักษะของพวกเขาในการออกแบบสร้างโครงสร้าง (Wireframe), แบบจำลอง (Mockup), สี, เทมเพลตต่าง ๆ และอื่น ๆ ก่อนที่จะส่งต่อให้ Web Designer ทำหน้าที่ออกแบบ User Interface (UI) ให้มีความสวยงามน่าใช้
ภาพจาก kooper ในขณะที่ Web Development คือ กระบวนการเขียนโค้ดให้กับเว็บไซต์ เพื่อสร้างการทำงานที่ต้องการ โดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เช่น CSS, HTML, JavaScript, Python, Ruby on Rails และอื่น ๆ
โดยนักพัฒนาหลังบ้าน (Backend Developer) คือ คนที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเว็บไซต์หรือ Web Application เป็นหลัก เช่น การจัดเก็บข้อมูล, การเชื่อมต่อ API, ระบบโฮสติ้ง (Hosting), ระบบความปลอดภัย ส่วนนักพัฒนาหน้าบ้าน (Frontend Developer) คือ คนที่มุ่งเน้นไปที่ฟังก์ชันการทำงานของหน้าตาเว็บไซต์หรือ Web Application เป็นหลัก สำหรับนักพัฒนาคนไหนที่สามารถพัฒนาได้ทั้งหน้าบ้านและหลังบ้านเลย เราจะเรียกว่า Full-Stack Developer
ภาพจาก medium ถ้าให้ยกตัวอย่างเปรียบเทียบง่าย ๆ ระหว่างการสร้างเว็บไซต์กับการสร้างรถยนต์สักคันหนึ่ง
Web Design คือ การออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกรถยนต์ เช่น รถยนต์สีใดจะดึงดูดใจผู้คนให้มาซื้อ, รูปทรงรถแบบไหนที่คนเห็นแว๊บแรกแล้วอยากได้เลย, ล้อแม็กซ์แบบไหนที่คนเห็นแล้วเท่ โดนใจUX Design คือ การออกแบบประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ให้ใช้งานง่ายที่สุด เช่น กระจกควรวางตรงไหน เพื่อให้คนขับรถมองเห็นได้ดี, ที่เปิดไฟเลี้ยวหรือที่ปัดน้ำฝน ควรไว้ทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้คนเปิดใช้งานได้ง่ายและสะดวกที่สุด, มีกล้องหลัง เอาไว้ดูเวลาถอยรถ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้คนขับว่าจะไม่ชนอะไรข้างหลังWeb Development คือ การวางระบบเครื่องยนต์ทั้งหมดที่จะทำให้รถยนต์เคลื่อนที่ได้ดี ไม่มีสะดุด เช่น เมื่อคนขับเบรก ก็ทำให้เบรกรถได้อย่างนุ่มนวล ไม่ทำให้ผู้คนเหมือนโดนกระชากตัวออกจากเบาะ, วางระบบความเร็วรถ เป็นต้นดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด ทุกฝ่ายล้วนมีความสำคัญเท่ากันหมด แม้ว่า Web Developer จะทำให้การทำงานเบื้องหลังของเว็บไซต์จะดีงาม มีเสถียรภาพลื่นไหลเพียงใด แต่ถ้าไม่มี Web Designer ก็อาจทำให้เว็บไซต์มีหน้าตาไม่สวยงามดึงดูด ผู้ใช้งานก็ไม่อยากใช้ หรือถ้าทั้ง 2 อย่างดีแล้ว ทั้งการออกแบบและระบบการใช้งาน แต่ถ้าขาด UX Designer ไป ก็อาจทำให้ปุ่มวางอยู่มั่วไปหมดบนเว็บไซต์ ผู้ใช้งานก็ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดีอีก เพราะฉะนั้นทุกทีมล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้นสำหรับการสร้างเว็บไซต์สักเว็บหนึ่งขึ้นมา
No-Code Movement คืออะไร? No-Code Movement คือ การเติบโตของเทรนด์การใช้งานเครื่องมือ No-Code Development Platform เครื่องมือที่ทำให้คนที่ไม่ถนัดการเขียนโค้ดหรือไม่สามารถเขียนโค้ดเองได้ให้สามารถสร้างเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ด้วยตัวเอง
เครื่องมือ No-Code ส่วนใหญ่จะเป็นการสร้างในรูปแบบของรูปภาพเป็นหลัก (Visual Builder) เพียงแค่ลาก-วาง (Drag and Drop) องค์ประกอบที่ต้องการให้มาอยู่บนเว็บไซต์ เช่น ปุ่ม, แถบรายการ, รูปแบบสี, ฟอนต์ ก็เพียงพอแล้ว ให้ลองนึกภาพตาม เชื่อว่าหลายคนเกิดทันใช้งานโปรแกรม Paint ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับวาดรูปที่เราสามารถลากวางรูปสี่เหลี่ยม, สามเหลี่ยม, วงกลม, เทสี หรือพิมพ์ข้อความต่าง ๆ ด้วยได้ แต่แค่ไม่มีโค้ดฝังอยู่ในสิ่งที่เราลากมาวาง
ซึ่งการทำงานของเครื่องมือ No-Code ก็คล้าย ๆ กันกับโปรแกรม Paint ที่มีการลาก วาง ปรับ แต่ง ทุกสิ่งที่ต้องการได้ แต่สำหรับเครื่องมือ No-Code ตอนที่เรากำลังสร้างงานนั้น ๆ แม้ว่าผู้ใช้งานจะไม่เห็นว่ามีโค้ดเลย แต่เบื้องหลังขององค์ประกอบเหล่านั้นที่เราลากมาวาง จะมีโค้ดซ่อนอยู่ภายใต้สิ่งนั้น จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันได้ เช่น เมื่อกดปุ่ม ก็สามารถลิงก์ไปยังอีกหน้านึงของเว็บไซต์ได้
ภาพจาก webflow เราขอยกตัวอย่าง Webflow ซึ่งเป็นเครื่องมือ No-Code ตัวหนึ่งที่สามารถใช้สร้างเว็บไซต์ โดยที่ไม่ต้องเขียนโค้ด ซึ่ง Webflow ก็มีหลักการทำงานง่าย ๆ เพียงลาก วาง องค์ประกอบ (Element) ที่ต้องการเหมือนกับที่เรากล่าวมา และยังสามารถนำไป Integrate กับเครื่องมือต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น ต่อระบบ Automation กับ Zapier , สร้าง Database กับ Airtable หรืออื่น ๆ อีกมากมาย และด้วยความที่ Webflow ใช้งานง่าย จึงทำให้เป็นเครื่องมือ No-Code ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ:
หากคุณกำลังมองหาตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ Webflow ในการสร้าง ก็ไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกลเลย แต่คือเว็บไซต์ของ The Growth Master นั่นเอง แม้ว่าจะทำมาจากเครื่องมือ No-Code แต่คุณจะเห็นได้ว่าเว็บไซต์มีความลื่นไหล หน้าตาสวยงาม เป็นมิตรกับผู้ใช้ไม่แพ้การสร้างเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือแบบอื่นเลย
นอกจากนั้น ในประเทศไทยของเราก็มี WEXPERIENCE ซึ่งเป็น Growth Agency เอเจนซี่การตลาดที่ใช้ศาสตร์ Growth Hacking และที่สำคัญยังเป็น Webflow Expert เจ้าเดียวในไทยอีกด้วย หากท่านใดสนใจที่จะปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็สามารถติดต่อสอบถาม ไปได้เลย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ:
ภาพจาก experts.webflow No-Code Platform จะเข้ามาแทนที่ความเชี่ยวชาญของมนุษย์ได้จริงหรือไม่? ในเมื่อมนุษย์เป็นผู้สร้าง No-Code Platform ขึ้นมา ทำให้การทำงานสะดวกยิ่งขึ้นก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า No-Code Platform จะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์แบบเลย
เพราะจริงอยู่ที่ No-Code Platform เกิดขึ้นมาเพื่อให้คนที่เขียนโค้ดไม่เป็นสามารถสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันเองได้ แต่ความจริงอีกข้อนึง คือ No-Code Platform เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้มืออาชีพต่าง ๆ อย่าง Developer สามารถทำงานที่มีความซับซ้อนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วย Airtable หรือ Webflow
ตัวอย่างเช่น จากที่ Developer เคยเขียนโค้ดเพื่อผสาน API* โดยใช้เวลาเป็นวัน ๆ ก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งมันทำให้พวกเขาประหยัดเวลา และสามารถไปทำงานในโปรเจ็กต์อื่น ๆ ที่น่าสนใจและคุ้มค่าเพิ่มขึ้นได้อีก หรือแม้แต่ Designer ที่มีหน้าที่ในการสร้างหน้า User Interface ก็สามารถรับผิดชอบหน้าที่ของ Frontend Developer ด้วยตัวเองได้ จากการใช้งาน Webflow เป็นต้น
*API (Application Programming Interface) คือ การเชื่อมต่อระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ซอฟต์แวร์ภายนอกเข้าถึงและอัปเดตข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่ยังคงอยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้ ซึ่งขอบเขตที่ว่านั้น เจ้าของเว็บไซต์ที่มี API จะเป็นผู้กำหนดการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของเว็บไซต์เอง ไม่ใช่ผู้ให้บริการ API นั้น ๆ
เพราะฉะนั้นแล้ว การที่คุณใช้ No-Code Platform ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ต้องการโค้ดเลย หากคุณยังต้องการให้ระบบมีความซับซ้อนอยู่ ยังไงคุณก็ต้องพึ่ง Developer เหมือนเช่นเคยอยู่ดี แต่การเข้ามาของ No-Code Platform มันช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มความรวดเร็ว แถมยังลดข้อผิดพลาดให้ Developer และคนที่เขียนโค้ดไม่เป็นได้
ข้อดีของ No-Code Platform กับการทำธุรกิจ ถ้ากล่าวถึงข้อดีของ No-Code Platform ในแง่ของการทำธุรกิจ เจ้าเครื่องมือนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างมหาศาลเลย ไม่ว่าจะเป็น…
1. การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่รวดเร็วขึ้น เนื่องจากทีมการตลาด (Marketing), ทีมออกแบบ (Design) หรือทีมอื่น ๆ สามารถสร้างสรรค์งานต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ทำให้สามารถเปิดตัวผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วขึ้น โดยที่ไม่ต้องง้อโปรแกรมเมอร์เลย เช่น
ทีมวางแผนคอนเทนต์ (Content Strategist) ไม่ต้องดึงตัว Developer มาสร้าง Database เชื่อมต่อกับหน้าคอนเทนต์เพจเลย แต่สามารถจัดการวางโครงสร้างและจำลองระบบทั้งหมดด้วยตัวเอง ทีมการตลาด (Marketing) สามารถปล่อยแคมเปญโฆษณาใหม่ได้ โดยมีหน้า Landing Page ที่สร้างขึ้นเอง ไม่ต้องรอ Developer มาสร้างให้ ทีม Developer เองก็ไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลาในขั้นตอนการเขียนโค้ดที่ซับซ้อน การมีเครื่องมือ No-Code เข้ามาช่วย ทำให้พวกเขาสามารถไปพัฒนาส่วนอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อได้อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจาก Voximplant ผู้ให้บริการด้าน Cloud Communication เล่าจากเคสในบริษัทเขาเอง เขาได้ให้ Designer ทำงานร่วมกับ Frontend Developer บนเครื่องมือ No-Code ที่ต่างกัน ซึ่งท้ายที่สุดของวัน พวกเขาสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาได้ และพร้อมปล่อยใช้งานได้เลย แสดงให้เห็นว่าการทำงานร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่ายที่มีความเชี่ยวชาญ สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ออกมาได้อย่างรวดเร็วมาก ถ้าองค์กรต่าง ๆ หันมาลองใช้งาน No-Code Platform ก็อาจจะได้รับประสบการณ์แบบเดียวกัน
2. การทำงานที่ดีขึ้นกว่าเดิม No-Code Platform สามารถช่วยให้ทุกทีมทำงานได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย Marketing, Sales หรือ HR เอง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีเครื่องมือ Teck Stack มากมายที่เกิดขึ้นมาช่วยให้แต่ละฝ่ายทำงานได้สะดวกขึ้น แต่ถ้าทุกทีมสามารถใช้ No-Code Platform เป็น พวกเขาก็จะสร้างเครื่องมือเพื่อให้การทำงานของตัวเองดีขึ้นได้อย่างตรงจุด ซึ่งไม่มีโปรแกรมไหนสามารถแก้ปัญหาพวกนั้นให้เขาได้
เพราะแต่ละทีมมักจะเข้าใจปัญหาของตัวเองดีที่สุด การรับรู้ปัญหาที่ตัวเองกำลังเผชิญอยู่จะทำให้พวกเขาสร้างเครื่องมือ ปรับ แต่ง ทุกสิ่งที่ต้องการ เพื่อเข้ามาทดแทนและแก้ให้ปัญหาเหล่านั้นหมดไป ทำให้การทำงานของพวกเขามีประสิทธิภาพมากขึ้น
“You no longer need to become a programmer to build things on the internet, empowering a new wave of makers from different backgrounds and perspectives.” – Ryan Hoover, Founder of Product Hunt in “The Rise of No Code” ตัวอย่างเช่น ทีม HR อาจเผชิญกับปัญหาข้อมูลของระบบการรับสมัครบุคลากรเข้ามาทำงานใหม่ ซึ่งพวกเขารู้ดีว่าแต่ละปีจะมีคนสมัครเข้ามาจำนวนมากจากหลายช่องทาง ดังนั้นทีม HR อาจจะใช้เครื่องมือ No-Code เข้ามาช่วยกันสร้างหน้า Landing Page สำหรับรับสมัครงานโดยเฉพาะ เพื่อให้รวมข้อมูลอยู่ที่เดียว ข้อมูลจะไม่กระจัดกระจายไปไหน สามารถคัดเลือกได้ง่ายอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
สำหรับเครื่องมือ No-Code ที่เราแนะนำ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่
ภาพจาก uxdesign 3. เพิ่มโอกาสในการทดลองไอเดียใหม่ แต่ละทีมมีอิสระมากขึ้นสำหรับการทดลองไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งพวกเขาสามารถสร้างและปรับแต่งได้ง่ายอย่างรวดเร็วผ่านเครื่องมือ No-Code เช่น ทีมการตลาด (Marketing) สามารถสร้างโครงสร้างเว็บไซต์สำหรับแคมเปญใหม่ ๆ ได้เอง โดยที่ไม่ต้องรอ Developer มาทำให้ เมื่อทีมสร้างเสร็จแล้ว ทำให้พวกเขาสามารถลงมือทดลองและวัดผลได้เลย
จากการวัดผล พวกเขาก็จะได้รับข้อมูล Insight ใหม่ ๆ ของลูกค้า ถ้าเกิดได้ผลลัพธ์ที่ไม่ดี ทีมก็จะดำเนินการ เพิ่มเติม แก้ไข หรือปรับปรุงแคมเปญที่ทำการทดลองนั้นได้อย่างรวดเร็ว และทดลองซ้ำอีกครั้ง เพื่อดูผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ตามมา
การทดลองเหล่านี้เป็นการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจไปในตัว (และยังเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Growth Hacking ด้วย) เพราะทำให้เรามีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นว่าลูกค้าต้องการ หรือไม่ต้องการอะไร และทำให้ธุรกิจเติบโตในระยะยาวอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
4. ลดภาระค่าใช้จ่าย บริษัทสามารถประหยัดงบประมาณได้มากขึ้นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแต่ละโปรเจ็กต์ จากที่ต้องใช้เงินจ้าง Developer หลายคนมาทำงานต่อ 1 โปรเจ็กต์ ซึ่ง Developer ถือว่าเป็นบุคลากรที่มีค่าตัวค่อนข้างสูง เพราะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่าง ๆ และเป็นที่ต้องการตัวอย่างมากในทุกอุตสาหกรรม เมื่อบริษัทมาใช้ No-Code Platform ก็สามารถลดจำนวน Developer ลงได้ เนื่องจากมีเครื่องมือ No-Code Platform เข้ามาทุ่นแรง
ภาพจาก datafoundry จะเกิดอะไรขึ้นกับ Web Designer และ Web Developer ในอนาคต ใครจะอยู่หรือใครจะไป !? ในเมื่อตอนนี้ เราก็ได้เห็นข้อดีของ No-Code Platform กันไปแล้ว ซึ่งไม่ว่าใครก็ตามสามารถเป็นได้ทั้ง Web Designer และ Web Developer ได้ในคราวเดียวที่สร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันผ่าน No-Code Platform
แล้วในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับ Web Designer และ Web Developer กันนะ? สำหรับเหล่า Web Designer และ Web Developer ที่ผ่านเข้ามาอ่าน แล้วกำลังคิดในใจว่าคุณต้อง “ตกงานแน่นอน” เดี๋ยวก่อน ใจเย็น ๆ ก่อน จริงอยู่ที่อ่านบทความตั้งแต่ต้นจนถึงตรงนี้ ดูแววแล้ว ใคร ๆ ก็สามารถสวมหมวกกลายเป็นทั้ง 2 อาชีพนี้ได้ง่าย ๆ ด้วยการใช้เครื่องมือ No-Code ที่เกิดมาเพื่อลบอุปสรรคต่าง ๆ ของมนุษย์ออกไป ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อน, ความล่าช้าในการทำงาน, ทักษะด้านการเขียนโค้ด, ทักษะการออกแบบ หรืออะไรก็ตาม
ภาพจาก logomines สำหรับเราคิดว่าในอีก 10 ข้างหน้า ทั้ง 2 อาชีพนี้อาจมีความทับซ้อน (Overlap) กันมากขึ้น เพราะเครื่องมือ No-Code เกิดมาเพื่อลดช่องว่างระหว่าง Web Designer และ Web Developer จากที่เคยมีความห่างไกลและต้องคอยพึ่งพาอาศัยกัน ก็ทำให้ช่องว่างช่องนั้นค่อย ๆ ลดน้อยลงไป
เพราะการใช้งานเครื่องมือ No-Code ทางฝั่ง Designer จากที่ไม่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ดมาก่อน ก็สามารถเรียนรู้และเข้าใจการเขียนโค้ดได้ง่ายขึ้น รู้ถึงคอนเซ็ปต์, ตรรกะ, เงื่อนไขในการสร้างงานได้ดียิ่งขึ้น ส่วนทางฝั่ง Developer ที่ไม่เคยมีทักษะการออกแบบมาก่อนเช่นกัน เมื่อมาใช้เครื่องมือสำเร็จรูปก็ทำให้การออกแบบเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ไม่ต้องรอให้ Designer มาคอยออกแบบให้ แต่สามารถลากวางองค์ประกอบต่าง ๆ เติมแต่งสีสันได้ด้วยตัวเองตามที่ต้องการเลย
นอกจากนั้นแล้ว การใช้งาน No-Code Platform อาจทำให้ 2 ฝั่งมีความเข้าใจกันและเห็นอกเห็นใจกันมากขึ้นด้วยก็ได้ เพราะจะเห็นถึงความยากลำบากในสิ่งที่ตัวเองไม่เคยทำมาก่อน เช่น Designer อาจเข้าใจว่าทำไมสิ่งที่เคยออกแบบไปแล้ว Developer ไม่สามารถทำให้ได้ เหตุผลมันเป็นเพราะอะไร ส่วน Developer อาจเข้าใจมากขึ้นว่าทำไม Designer ถึงออกแบบมาแบบนี้ เพราะอยากให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ดี เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับความถนัดทั้งของ Developer และ Designer แต่ละคนด้วยว่า พวกเขาถนัดในการทำงานในด้านไหนมากกว่ากัน ซึ่งบางที Designer อาจส่งงานให้กับ Developer ที่ไม่มีความถนัดในด้านนั้น ๆ เขาก็ไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่ได้รับมอบหมายให้ออกมาได้ตรงความพึงพอใจของ Designer ก็มี
โดยสรุปแล้ว เราคิดว่ายังไงก็ตาม ทั้ง Web Designer และ Web Developer ต่างก็ยังคงมีความสำคัญไม่แพ้กันอยู่ดี เพียงแต่ว่าในอนาคตอาจจะเกิดการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Role) มากขึ้น คือ ผู้สร้างสรรค์งานทั้ง 2 คน ที่ทำหน้าที่ต่างกันในตอนนี้ จะกลายมาเป็นผู้ที่สามารถทำงานของกันและกันได้ดีกว่าเดิม
ตราบใดที่เทคโนโลยียังคงมีวิวัฒนาการแบบไร้พรมแดนไม่มีที่สิ้นสุด การลงทุน ลงเวลาเพื่อมาเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ของมนุษย์ก็ไม่ควรสิ้นสุดลงแค่นี้เช่นกัน ยิ่งโลกหมุนไป เราก็ยิ่งต้องหมุนตาม หมั่นเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เสมอ เพราะเมื่อโลกหมุนไปแล้ว จะไม่มีวันหมุนย้อนกลับมาได้เหมือนเดิมอีก เปลี่ยนแปลงไปแล้วเปลี่ยนแปลงไปเลย
ปัจจุบันนี้ก็ไม่มีใครคาดเดาได้หรอกว่าในอนาคต อาชีพไหนกันแน่ที่จะหายไป แต่ที่เรารู้แน่ ๆ ตอนนี้คือ “คนที่หยุดนิ่งกับที่ ไม่รู้จักเรียนรู้ ปรับตัว เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ตามทันเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ ๆ นั่นแหละ ที่อาจจะกลายเป็นคนที่ไร้ตัวตน และหายไปจากโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวันได้ในท้ายที่สุด”
อย่ามองว่าเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนและยากที่จะทำความเข้าใจ มาปิดกั้นไม่ให้คุณได้เรียนรู้หรือลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ เลย แต่เราอยากให้คุณมองเทคโนโลยีเป็นเหมือนช่องทางและโอกาสใหม่ ๆ ที่เข้ามากระตุ้นให้คุณเป็นคนที่ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกวัน ๆ ดีกว่า มาเติบโตไปพร้อม ๆ กันนะ :-)
สรุปทั้งหมด No-Code Movement ก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน เราจะเห็นได้จากการที่มีเครื่องมือ No-Code เกิดขึ้นมากมายให้เลือกใช้กัน ซึ่งมันก็มีประโยชน์และข้อดีมากมายเลย ทั้งลดความผิดพลาด เพิ่มความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ แถมยังเข้ามาช่วยลดช่องว่างของอุปสรรคการสร้างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันให้กับทั้งคนที่เขียนโค้ดไม่เป็น หรือ Developer เองด้วย
ในอนาคตเราก็ต้องมาจับตาดูกันต่อไปว่า No-Code Movement จะมีแรงกระเพื่อมมากขนาดไหน และที่สำคัญ เราก็ควรปรับตัวเองให้ตามทันเทรนด์เหล่านี้ด้วย ปรับตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ สร้างความได้เปรียบให้กับตัวเองและธุรกิจ อีกไม่นานมันจะสร้างประโยชน์ให้คุณได้อย่างมหาศาลได้แน่นอน