Business

คู่มือตามหา Product Marketer ที่เหมาะสำหรับสตาร์ทอัปของคุณ!

คู่มือตามหา Product Marketer ที่เหมาะสำหรับสตาร์ทอัปของคุณ!
Light
Dark
Cartoon Tanaporn
Cartoon Tanaporn

มนุษย์เป็ดเขียนคอนเทนต์ ชอบเขียนมากกว่าพูด เสพติดการมองพระจันทร์เป็นชีวิตจิตใจ และหลงใหลในช่วงเวลา Magic Hour ของทุกวัน

นักเขียน

ปัจจุบันไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหน ๆ ก็มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด จึงทำให้นักการตลาดแต่ละสาย ไม่ว่าจะเป็น Product Marketer, Growth Marketer หรือ Brand Marketer ต่างก็เป็นที่ต้องการตัวในหลาย ๆ บริษัทอย่างมาก 

ทำให้ในช่วงหลายปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริษัทสตาร์ทอัปยังคงต้องการนักการตลาดที่มีทักษะหรือความสามารถแพรวพราวที่จะมาช่วยให้บริษัทเติบโตยิ่งขึ้นไปอีก แต่ผู้ประกอบการหลายคนก็อาจยังคงสงสัยว่า แล้วนักการตลาดคนไหนที่เหมาะสำหรับบริษัทของคุณ ที่จะสามารถช่วยให้บริษัทมีการเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

วันนี้ The Growth Master ก็ได้มีทริคดี ๆ ที่จะมาแนะนำให้เหล่าผู้ประกอบการสตาร์ทอัปทุกคนนำไปปรับใช้ เพื่อที่สามารถคัดเลือกหา Product Marketer ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กรของคุณในยุคนี้ ไปติดตามกันได้เลย

ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

คู่มือสำหรับการคัดเลือก Product Marketer สำหรับสตาร์ทอัป

รู้หรือไม่ ปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากที่กำลังทุ่มเงินลงทุนในการคัดเลือกและสร้างทีม Product Marketing ขึ้นมา ซึ่งจากสถิติชี้ให้เห็นว่า มีบริษัทมากถึง 46.6% ทุ่มงบประมาณถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ประมาณ 8.3 ล้านบาท) เลยทีเดียวในการสร้างทีม

ภาพจาก productmarketingalliance

ตอนนี้คุณเริ่มตระหนักเห็นหรือยังว่า Product Marketer เริ่มเป็นที่ต้องการในหลายบริษัทมากขึ้น และเราคาดว่าการลงทุนให้กับทีมนี้ในอนาคตจะต้องมีตัวเลขการเติบโตเพิ่มขึ้นกว่านี้แน่นอน หากดูจากกราฟด้านบนที่แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีหลายบริษัทแล้วที่ลงทุนให้กับทีม Product Marketer นี้

ถ้าหากผู้ประกอบการอย่างคุณกำลังอยากมีความคิดที่อยากจะตามหา Product Marketer สักคนมาไว้ในบริษัทของคุณ เราไปดูกันเลยว่าคู่มือสำหรับการคัดเลือก Product Marketer จะมีอะไรบ้าง

Product Marketer คืออะไร? และมีบทบาทอย่างไร?

Product Marketer คือ นักการตลาดที่เปรียบเสมือนเป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างทีม Product ที่วาง Roadmap ของตัวผลิตภัณฑ์และสร้างมันออกมา, ทีม Marketing ที่วางแผนด้านการตลาด และทีม Sales ที่พยายามเข้าถึงผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด 

ซึ่งจากสถิติของ Product Marketing Alliance บอกว่า โดยส่วนมาก Product Marketer มักจะทำงานใกล้ชิดกับทีม Product ถึง 88.3% และทีม Marketing ถึง 84.2%

ภาพจาก chmln-cdn

อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า บทบาทการเป็น Product Marketer นั้นเพียงแค่รู้จักและเข้าใจวิธีทำ Product Marketing สร้างแผนการตลาด (Go-to-Market Plan) ก็เพียงพอแล้ว แต่จริง ๆ แล้ว บทบาทหน้าที่ของ Product Marketer ไม่ได้มีแค่นั้น

สำหรับการเป็น Product Marketer ที่ดีนั้น หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุด คือ ควรจะต้องเข้าใจในสิ่งที่ทีมกำลังสร้างออกมา พร้อมกับใช้ทักษะความสามารถทางด้านเทคนิคต่าง ๆ ในการถ่ายทอดแนวคิดที่ซับซ้อนเข้าใจยาก ให้ออกมาเป็นสิ่งที่เรียบง่ายที่ทำให้ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานเข้าใจได้ทันที 

รวมถึงช่วยทีม Product ในการออกความคิดเห็นเรื่องเทรนด์ตลาดด้วยว่า ลูกค้ามีความต้องการเป็นอย่างไร หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทเราจะสามารถสู้คู่แข่งได้หรือไม่ในขณะนั้น แล้วค่อยสร้างแผนการตลาดในรูปแบบของการขายออกมา เช่น การเขียนข้อความ Copywriting หรือการทำคอนเทนต์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อช่วยให้บริษัทขายผลิตภัณฑ์ชิ้นนั้นได้

นอกจากนั้น อีกหนึ่งทักษะสำคัญที่ Product Marketer ควรต้องมี คือ การรู้จักใช้เครื่องมือเทคโนโลยีให้เป็น เพราะในปัจจุบันก็มีเครื่องมือด้าน Product Management มากมาย ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย 


ภาพจาก productcraft

และหนึ่งใน Product Management Tools ที่น่าสนใจในยุคนี้ คือ Endlessloop เครื่องมือที่พัฒนามาจากศาสตร์ Growth Hacking ทำให้มีคุณสมบัติเหมาะสมมาก ๆ ในการเป็นตัวช่วยให้กับทีม Product 

เพราะมีทั้งระบบ Task Management แบ่งงานกันได้อย่างชัดเจน, สามารถ Brainstorm สร้าง Backlog Idea เกี่ยวกับการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือการปล่อยแคมเปญได้ครบจบบนแพลตฟอร์ม, สามารถ Tracking การทำงานของทีมได้อย่างยอดเยี่ยม รวมถึงด้านการตลาดก็สามารถวัดผลในแต่ละแคมเปญได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

สำหรับสตาร์ทอัปที่กำลังตามหา Product Marketer อยู่ และกำลังมองหาเครื่องมือใหม่ ๆ ที่จะช่วยสร้างการทำงานด้าน Product ของบริษัทให้ดียิ่งขึ้นไปอีก Endlessloop ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจมาก ๆ ในยุคนี้ (สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ >> ที่นี่)

ภาพจาก endlessloop

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

เคล็ดลับในการประเมินความสามารถทางเทคนิคสำหรับ Product Marketer

เมื่อพูดถึงการสัมภาษณ์แล้ว นอกจากมีการพูดคุยเรื่องทั่วไปเพื่อดู Mindset ของบุคคลนั้นว่าจะสามารถเข้ากันได้ดีกับวัฒนธรรมองค์กรของเราหรือไม่ และมี Growth Mindset ในการทำงาน หรือในการพัฒนาตัวเองอย่างไรแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะใช้วัดว่า ผู้สมัครคนนั้นจะสามารถช่วยพัฒนาบริษัทของคุณให้เติบโตขึ้นได้อีกหรือไม่ คือ ความสามารถทางเทคนิค

เราก็ได้รวบรวม 4 เคล็ดลับง่าย ๆ ในการประเมินความสามารถทางเทคนิคสำหรับ Product Marketer มาแบ่งปันให้คุณได้ลองนำไปปรับใช้ในการค้นหา Procduct Marketer กัน

1. ตอบคำถาม เติมคำลงในช่องว่าง

ลองให้โจทย์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่บริษัทของคุณคาดว่าจะปล่อยออกมาในอนาคต หรือว่าลองสร้างหน้าเว็บเพจออกมาสักหน้าหนึ่งโดยเฉพาะสำหรับการคัดเลือก Product Marketer แล้วลองตั้งคำถามเชิงเทคนิคง่าย ๆ กับผู้สมัครของคุณ เพื่อที่จะทำให้เห็นว่าพวกเขามีถนัดอย่างไร เช่น

  • ผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังจะปล่อยนี้ควรปรับปรุง/เพิ่มเติมตรงไหนบ้าง ที่ช่วยให้มีความโดดเด่นขึ้น?
  • เว็บเพจนี้มีส่วนไหนที่หายไปไหม? ควรแก้ไขอะไรตรงไหนหรือเปล่า?

2. วัดความเข้าใจ

ตัวอย่างการประเมินความถนัดของผู้สมัครตำแหน่ง Product Marketer จาก Segment บริษัทชั้นนำด้าน Customer Data Platform คือ เขาจะให้ผู้สมัครอ่านเนื้อหาเกี่ยวกับฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเขียนอยู่ในกระดาษเพียงหน้าเดียวเท่านั้น แล้วก็ถามคำถามความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากพวกเขา 

ถ้าหากผู้สมัครอ่านกระดาษแผ่นนั้นแผ่นเดียว แล้วสามารถอธิบายออกมาได้ด้วยความเข้าใจ ก็แสดงว่าพวกเขารู้ว่าอะไรที่ทำให้ฟีเจอร์นี้มีความพิเศษกับผู้ใช้งาน ซึ่งมันก็จะเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยให้คุณสามารถคัดเลือกผู้สมัครให้ผ่านสัมภาษณ์ไปรอบต่อไปได้ง่ายขึ้น 

3. ให้ลองสวมบทบาทเป็นลูกค้า

แน่นอนว่าการเป็น Product Marketer นอกจากจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์แล้ว ก็ต้องมีความเข้าใจลูกค้าด้วย เพื่อที่จะสามารถนำมาต่อยอดช่วยทีมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้

ตัวอย่างจาก Stripe บริษัทผู้ให้บริการธุรกรรมออนไลน์ ในช่วงแรกที่เริ่มต้นธุรกิจ เขาให้ผู้สมัครที่อยู่ในกระบวนการสัมภาษณ์ทุกคน ลองสวมบทบาทเป็นลูกค้าดูว่า ถ้าตัวเองเจอปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้น จะส่งคำถามเข้ามาถาม Stripe อย่างไร เพื่อที่ว่าลูกค้าจะได้รับคำตอบที่พวกเขากำลังตามหา และเป็นประโยชน์กับพวกเขาที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกัน Stripe ก็จะดูหลักการวิเคราะห์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้สมัครคนนั้นด้วย

ภาพจาก ctfassets

4. การใช้ Tools เครื่องมือเทคโนโลยี

อีกหนึ่งความสามารถที่น่าค้นหาและจับตามองของผู้สมัคร Product Marketer ในยุคนี้ คือ ความสามารถใช้การใช้ Tools หรือเครื่องมือเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปรับใช้กับเส้นทางอาชีพ  Product Marketing ได้ 

เพราะปัจจุบันถ้าสามารถใช้งาน Tools ที่เกี่ยวข้องกับ Product เป็น จะช่วยให้การทำงานดำเนินไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็น Product Marketer มืออาชีพ ก็ควรที่จะรู้จักวิธีการทำ Market Research หรือทำแคมเปญการตลาด ด้วยการใช้ Tools ต่าง ๆ เพื่อที่จะรับรู้ได้ถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และสามารถนำความต้องการของลูกค้ามาช่วยทีมสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์พวกเขามากที่สุด

ดังนั้น ในการสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการอย่างคุณก็อาจจะลองถามผู้สมัครคนนั้นดูว่ามีประสบการณ์การใช้ Tools อะไรมาบ้าง เพื่อที่ว่าคุณจะได้รู้ Background การใช้ Tools จากพวกเขามากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างคำถามในการสัมภาษณ์ Product Marketer

“ไหนลองใช้เทคนิค Elevator Pitch กับผลิตภัณฑ์ที่คุณทำล่าสุดมาหน่อยสิ?”

Elevator Pitch คือ การแนะนำตัวเอง, ผลิตภัณฑ์ หรือบริษัทของคุณแบบสั้น ๆ ในระยะเวลาประมาณ 1-2 นาทีเท่านั้น และมุ่งเน้นการสร้างความประทับใจสูงสุดให้กับผู้ฟัง ซึ่งถ้าพูดง่าย ๆ มันก็เหมือนว่าคุณเป็นผู้ประกอบการที่ต้องไป Pitch กับนักลงทุนรายใหญ่ แต่เขามีเวลาว่างคุยกับคุณแค่ตอนขึ้น-ลงลิฟท์เท่านั้น คุณจะต้องทำอย่างไรก็ได้ที่ทำให้นักลงทุนคนนั้นมาสนใจธุรกิจของคุณภายในระยะเวลาที่คุณยืนอยู่ในลิฟท์กับเขา

ภาพจาก medium

นั่นก็คือความหมายเดียวกันกับการนำมาใช้ถามคำถามกับผู้สมัครตำแหน่ง Product Marketer เพื่อดูว่าเขามีวิธีการทำอย่างไรที่จะทำให้ลูกค้ามาสนใจผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณ ซึ่งคุณอาจจะลองถามผู้สมัครดูว่า “ฉันไม่รู้จักบริษัทเก่าของคุณมาก่อนเลย ไหนลองเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เคยรับผิดชอบมาให้ฟังหน่อยสิ”

ถ้าหากว่าผู้สมัครคนนั้นเล่าให้คุณฟังด้วยความเข้าใจได้ ก็แสดงว่าเขาใช้เทคนิค Elevator Pitch เป็น ซึ่งก็จะสร้างความมั่นใจให้กับคุณได้ว่า เขาคนนั้นก็จะสามารถไป Pitching เพื่อขายผลิตภัณฑ์ของคุณให้ลูกค้าได้เหมือนกัน

“คุณเคย Launch ผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญการตลาดอะไรมาบ้างในช่วง 1-2 ปีนี้?” 

คำถามถัดมา คุณอาจจะลองถามเจาะลึกเกี่ยวกับประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญการตลาดของผู้สมัครคนนั้นดู เพราะมีหลายสตาร์ทอัปที่ล้มเหลวในการทำแคมเปญ หรือ Launch ผลิตภัณฑ์ (ไปไม่ถึงจุด Product/Market Fit

ดังนั้น ในการสัมภาษณ์ คุณก็อาจจะได้พูดคุยกับบุคคลเหล่านั้นที่ไม่สามารถพาผลิตภัณฑ์ไปถึงจุด Product/Market Fit ได้ คุณก็อาจจะถามเหตุผล หรือความคิดเห็นว่าถ้าอยากแก้ไขให้มันดีขึ้น ที่คิดว่าทำแล้วจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไปถึงจุดนั้นจะแก้ไขอย่างไร

หรือในอีกกรณีหนึ่ง คุณอาจจะเจอบุคคลที่ไม่เคยมีประสบการณ์การปล่อยผลิตภัณฑ์ หรือสร้างแคมเปญผลิตภัณฑ์มาก่อนเลย คุณก็อาจจะลองถามคำถามว่า “แล้วเคยเห็นแคมเปญ Product Marketing ไหน แล้วคุณรู้สึกว่ามันเจ๋งและได้ผลดีมาก ๆ ไหม ลองเล่าให้ฟังหน่อย” ซึ่งคำถามเหล่านี้อาจจะทำให้คุณได้เห็นแนวคิดอะไรบางอย่างจากพวกเขาก็เป็นได้

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม


“ลองเล่ากระบวนการตั้งแต่ต้นจนจบ เกี่ยวกับโปรเจกต์ที่คุณภูมิใจที่สุดมาให้ฟังหน่อย”

ผู้ประกอบการบางคนอาจจะไม่ได้ให้ Assessment เพื่อทดสอบผู้สมัครคนนั้น แต่กลับเลือกที่จะใช้วิธีการพูดคุยเจาะลึกถึงโปรเจกต์ที่เคยทำในอดีตมามากกว่า เพื่อดูแนวคิด, ความสามารถในการตัดสินใจ และดูว่าคน ๆ นั้นทำงานอะไรมาบ้าง มีส่วนร่วมกับทีมมากน้อยแค่ไหน และอย่างไร ซึ่งคุณอาจจะลองนำคำถามเหล่านี้ไปเป็นคำถามย่อย ๆ ระหว่างการพูดคุยกัน เช่น

  • ไอเดียนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?
  • มีใครบ้างที่ร่วมโปรเจกต์นี้กับคุณ?
  • ทำไมคุณถึงเลือกที่จะเดิมพันกับไอเดียนี้?
  • ลองเล่า Process ในการทำงานให้ฟังหน่อย
  • ถ้าคุณเป็นหัวหน้าโปรเจกต์นั้น เล่าให้ฟังหน่อยว่าการทำงานของทีมคุณเป็นอย่างไร แล้วถ้าเกิดเจอปัญหาใหญ่ที่ต้องใช้การตัดสินใจ คุณจะตัดสินใจอย่างไร? (อาจจะให้ลองเล่าเหตุการณ์ยกตัวอย่างมาสักหนึ่งเหตุการณ์ก็ได้)

อย่างไรก็ตาม หลายครั้งคุณอาจจะเจอกับผู้สมัครที่มีความสามารถ และเคยมีประสบการณ์การทำงานกับบริษัทใหญ่ ๆ (ในสาย Corporate) มาแล้ว ทำให้พวกเขาอาจจะมีนิสัยที่เข้มงวดในการทำงาน เช่น ชอบการทำงานที่มีกระบวนการ มีลำดับเป็นขั้นเป็นตอนที่ถูกต้อง หรือเน้นการวิเคราะห์มากกว่าอะไรที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

แต่สำหรับการทำงานในบริษัทสตาร์ทอัป ที่ในช่วงแรกเริ่มธุรกิจอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลให้การทำงานอะไรหลาย ๆ อย่าง อาจจะไม่ได้มีลำดับขั้นตอนที่เป๊ะมากขนาดนั้น แต่จะเน้นไปทำงานด้วยความยืดหยุ่นมากกว่า ทำให้เขาคนนั้นอาจจะไม่ชอบบรรยากาศการทำงานแบบสตาร์ทอัปได้ 

ดังนั้น ถ้าหากคุณกำลังตามหา Product Marketer ที่จะมาช่วยสร้างการเติบโตให้เป็นธุรกิจของคุณเป็นคนแรก ๆ คุณอาจจะต้องคัดเลือกผู้สมัครที่คิดว่าจะสามารถทำงานอยู่กับความยืดหยุ่นนี้ได้ อดทนกับความเปลี่ยนแปลง และมีความเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของคุณจริง ๆ เพื่อที่ว่าคน ๆ นั้นจะสามารถอยู่สร้างการเติบโตกับบริษัทของคุณไปนาน ๆ

ตาคุณแล้วที่จะลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปตามหา Product Marketer ให้กับสตาร์ทอัปของคุณ

ก่อนจะเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ คุณก็อาจจะรู้แล้วว่า “คนนี้แหละใช่เลย เหมาะที่จะมาเป็น Product Marketer ของบริษัทเรามาก” แต่ถ้ามีโอกาส เราก็อยากให้คุณลองโชว์ Demo ผลิตภัณฑ์ที่บริษัทคุณกำลังทำอยู่ระหว่างการสัมภาษณ์ด้วย เพื่อให้เขาเห็นว่า ถ้าเขาเข้ามาทำงานแล้ว เขาจะต้องอยู่กับผลิตภัณฑ์นี้ เหมือนเป็นการชักจูงให้เขาอยากมาทำงานกับคุณ รวมถึงให้เขารู้ตัวว่าที่นี่เหมาะกับเขาหรือไม่เหมาะ

เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการสัมภาษณ์แล้ว เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคนิคที่เรามาแนะนำในบทความนี้ จะสามารถเป็นคู่มือในการตามหา Product Marketer ที่มีทักษะ ความสามารถ และ Mindset ตรงกับที่คุณต้องการ และมาช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทของคุณได้จริง ๆ 

ขอให้คุณพบเจอกับ Product Marketer ที่คุณกำลังตามหานะคะ :-)

Source: firstround, productmarketingalliance


ไม่พลาดทุกข้อมูลที่ช่วยให้ธุรกิจคุณเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น

ติดตามได้หลากหลายช่องทางที่คุณสะดวก ไม่ว่าจะเป็น e-mail, line หรือ youtube
Subscribe

เราช่วยธุรกิจของคุณให้เติบโตอย่างยั่งยืนบนโลกดิจิทัลด้วยการใช้ศาสตร์ Growth, เครื่องมือด้านเทคโนโลยี, การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการสร้างทีม

ติดตามข้อมูลการตลาด
Growth Hacking ได้เลยทีนี่
มากกว่า 2,000 บริษัทติดตาม The Growth Master ตอนนี้
ไปที่หน้า Subscribe