ทำความรู้จักว่า Content Marketing คืออะไร? “Content marketing is a marketing technique of creating and distributing valuable, relevant and consistent content to attract and acquire a clearly defined audience with the objective of driving profitable customer action.” – Josh Steimle Content Marketing คือ เทคนิคการตลาดที่มุ่งเน้นสร้างและเผยแพร่เนื้อหาที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องและสอดคล้องกันกับแบรนด์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายใหม่ รวมถึงลูกค้าเดิมให้กลับมาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา และสร้างผลกำไรให้ธุรกิจเป็นหลัก
และที่สำคัญ การทำ Content Marketing ยังเหมาะกับธุรกิจ SMEs และสตาร์ทอัปในช่วงเริ่มต้นอีกด้วย เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ใช้งบประมาณน้อย แต่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า (และคนที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า) ได้มากกว่ากลยุทธ์อื่น ๆ อีกด้วย
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ “แต่ต้องย้ำว่า กลยุทธ์การทำ Content Marketing ไม่ใช่การขายแบบตรง ๆ สไตล์ทุบหัวเข้าบ้านแบบ Hard Sell แต่เป็นการสร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าแก่ลูกค้า และมีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ” คีย์เวิร์ดหลัก ๆ ของการทำ Content Marketing จะมีอยู่ 3 อย่าง คือ “คุณค่า” (Valuable), “เกี่ยวข้อง” (Relevant) และ “สม่ำเสมอ” (Consistency) เพราะคอนเทนต์ที่ดีจะต้องสร้างคุณค่าให้กับผู้รับ, มีความเกี่ยวข้องกับแบรนด์ และถูกส่งมอบให้พวกเขาอย่างสม่ำเสมอ
ภาพจาก pacymedia ถ้าเกิดว่าคอนเทนต์ของธุรกิจเราไม่สามารถสร้างคุณค่าให้กับกลุ่มเป้าหมาย ไม่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ หรือทำคอนเทนต์ไม่สม่ำเสมอแบบมา ๆ หาย ๆ ลูกค้าก็จะเริ่มเกิดความไม่มั่นใจว่า สรุปแล้วธุรกิจของเราทำเกี่ยวกับอะไรกันแน่ ธุรกิจของเราน่าเชื่อถือหรือไม่ และยังดำเนินการอยู่หรือเปล่า
อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดแบบ Content Marketing ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การเขียนบทความเท่านั้น แต่ยังรวมทั้งการสื่อสารผ่านรูปภาพ, อินโฟกราฟิก, วิดีโอ หรือพอดแคสต์ (Podcast) ด้วย
5 สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำ Content Marketing ตอนนี้ก็มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่เราควรหลีกเลี่ยงในการทำ Content Marketing เพื่อตรวจสอบก่อนว่า คอนเทนต์ที่คุณทำมีจุดบอดและกำลังเดินผิดทางหรือไม่ ? และคอนเทนต์ที่ดีควรมีลักษณะเป็นอย่างไร จึงจะทำให้ถูกใจกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของเรา ไปดูกันเลย
1. คิดอะไรไม่ออก ขอลอกไว้ก่อน หากคุณกำลังคิดว่าการเลียนแบบการทำ Content Marketing ด้วยการก็อปปี้บทความคู่แข่งหรือคอนเทนต์ของแบรนด์อื่น มันไม่เป็นไรสักหน่อย ไม่มีใครรู้หรอก เพราะที่ลองเปิดจากหลาย ๆ เว็บแล้วก็เห็นว่าใคร ๆ ก็ทำกัน แต่เราคงต้องเตือนคุณด้วยประโยคที่ว่า
“หากเรามัวแต่เดินตามรอยเท้าคนอื่น ก็จะย่อมไม่มีรอยเท้าเป็นของตัวเอง” เรามักจะได้ยินประโยคเหล่านี้บ่อยครั้ง และต้องบอกว่าการทำ Content Marketing ก็เช่นกัน คุณห้ามทำแบบนั้นเด็ดขาด ห้ามคัดลอกบทความหรือคอนเทนต์จากคู่แข่งเลย มันจะส่งผลเสียระยะยาวกับธุรกิจของคุณ ซึ่งขอเตือนเลยว่า “ได้ไม่คุ้มเสีย”
เพราะนอกจากจะผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เสี่ยงถูกฟ้องร้องแล้ว การคัดลอกคอนเทนต์ผู้อื่นมาลงเว็บไซต์ตัวเอง หากคุณถูกจับได้ อาจจะถูกแบนออกโดย Google ก็ได้ เนื่องจาก Google Algorithm ที่ชื่อว่า Google Panda เป็น Algorithm ที่ดูว่าเว็บไซต์ไหนมีการคัดลอกบทความของเว็บไซต์อื่นก็จะแบนออกทันที และถูกมองว่าเป็นสแปม (Spam) อีกทั้งเป็นเว็บไซต์ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ไร้คุณภาพ และร้ายแรงที่สุด คือ “ต่อให้คุณเลิกคัดลอกและหันมาเขียนคอนเทนต์เป็นของตัวเอง ก็ต้องใช้เวลาอีกสักพักใหญ่กว่าจะกลับมาติดอันดับบน Google อีกครั้ง”
ดังนั้นแล้ว เราควรสร้างคอนเทนต์ด้วยตัวเอง ไม่ลอกเลียนแบบคนอื่น และเน้นสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่ากับลูกค้า ถ้าเราสามารถสร้างคอนเทนต์ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมายได้ เชื่อสิว่ายังไงคอนเทนต์ของคุณก็มีคนมาสนใจแน่นอน และสามารถสร้างประโยชน์ทางธุรกิจได้ด้วย
ภาพจาก undraw
2. ไม่เป็นตัวของตัวเอง ไม่รู้จักลูกค้าตัวจริง หยุดทำ Content Marketing แบบจับฉ่าย ทำตามคนโน้นที ตามคนนี้ที เห็นใครทำอะไรแล้วดีก็ทำตามไปหมดทุกเรื่อง เราอยากให้คุณหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นซะ!
การทำ Content Marketing ควรทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นในแบบของตัวเอง (Original Content ) เพราะการเป็นตัวเองน่ะดีที่สุดแล้ว ถ้าเกิดว่าเราพยายามยัดเยียดความเป็นคนอื่น ใส่ตัวเองมากเกินไป มันจะทำให้คอนเทนต์ดูฝืน ไม่เป็นธรรมชาติ และสุดท้ายแบรนด์ก็จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ไม่เป็นที่น่าจดจำในที่สุด
แต่ก็ต้องดูด้วยว่าการทำคอนเทนต์แบบนั้นเหมาะสมกับธุรกิจเราหรือไม่ ลองนึกภาพว่าสมมติ ถ้าแบรนด์ Chanel ที่เป็นแบรนด์เรียบหรูระดับโลกมาทำคอนเทนต์ติดตลกเกินไป ก็จะดูแปลก ไม่สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ทำมาตลอดสักเท่าไร
และหากวันนี้คุณไม่รู้ว่าทำ Content Marketing ไปเพื่อใคร? หรือเพื่อลูกค้ากลุ่มไหนที่เป็นลูกค้าตัวจริงผู้พร้อมจะเสียเงินให้กับธุรกิจของคุณ เราแนะนำให้คุณลองทำ Buyer’s Journey ก่อน เพื่อดูว่าคนกลุ่มไหนที่เราอยากดึงดูดให้พวกเขามาเป็นลูกค้า พร้อมกับปรับแผน Content Marketing ใหม่ก็ยังไม่สายเกินไป
ว่าแต่ Buyer’s Journey คืออะไร? Buyer’s Journey หรือ Customer Journey คือ เส้นทางการเดินทางของลูกค้า ตั้งแต่การรับรู้ถึงสินค้าหรือบริการ จนกระทั่งตัดสินใจเสียเงินซื้อในตอนจบ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการทำการตลาดมาก เพราะจะช่วยให้คุณได้รู้ว่ากลุ่มลูกค้าเหล่านั้นจะกลายมาเป็นลูกค้าของคุณได้อย่างไร
โดยการจำลอง Buyer’s Journey แบบทั่วไปที่หลายคนคุ้นเคย จะเป็นแบบจำลองที่มีแค่ 3 กระบวนการหลัก ๆ คือ
ภาพจาก thecomeupmedia Awareness - เป็นขั้นที่ลูกค้ากำลังรับรู้ถึงปัญหาของตัวเอง รู้ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับ Pain Point บางอย่างอยู่ ซึ่งยังไม่ถึงขั้นที่อยากซื้อสินค้า แต่กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ ดังนั้นหน้าที่ของแบรนด์ คือ ต้องทำคอนเทนต์ที่ทำให้ลูกค้าที่ไม่รู้ตัวว่าพวกเขามีปัญหาอยู่ ให้ตระหนักถึงว่าจริง ๆ แล้ว พวกเขากำลังเผชิญกับปัญหานั้นอยู่นะ เช่น ช่วงนี้นาย A เริ่มมีปัญหาสุขภาพ ซึ่งเขาก็ยังไม่รู้ตัวว่าปัญหานั้นมีสาเหตุมาจากความอ้วน จนกระทั่งเขาได้มาอ่านคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ 10 เช็กลิสต์ว่าคุณกำลังเป็นโรคอ้วนอยู่หรือเปล่า?Consideration - เป็นขั้นที่ลูกค้ารู้และเข้าใจแล้วว่าตัวเองมีปัญหาอะไร แล้วก็กำลังค้นหาว่าจะมีอะไรที่เข้ามาช่วยพวกเขาแก้ปัญหานั้นได้บ้าง แต่ก็ยังคงไม่ตัดสินใจซื้อ สำหรับขั้นนี้แบรนด์ต้องสร้างคอนเทนต์ที่ทำให้พวกเขาเข้าใจถึงปัญหานั้นจริง ๆ และก็มีสิ่งที่สามารถทำให้ปัญหาเหล่านั้นหมดไปได้ เช่น พอนาย A อ่านคอนเทนต์นั้นจบ เขาก็เข้าใจแล้วว่าปัญหาด้านสุขภาพที่เขากำลังเผชิญอยู่มาจากโรคอ้วน แล้วก็ได้มาอ่านอีกคอนเทนต์นึงที่มีเนื้อหาว่า การออกกำลังกายและควบคุมอาหารร่วมด้วยก็สามารถช่วยให้เขาลดความอ้วนได้Decision - เป็นขั้นที่ลูกค้ารู้ถึงปัญหาและแนวทางแก้ไข (ที่มาในรูปแบบของสินค้าหรือบริการ) ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เขาต้องตัดสินใจว่าตัวเลือกไหนที่เหมาะสำหรับพวกเขามากที่สุด คอนเทนต์ที่ควรทำในขั้นนี้ คือ บอกให้ลูกค้ารู้ว่าสินค้าและบริการของเรามีข้อดี สามารถสร้างคุณค่า และทำให้ปัญหาของพวกเขาหมดไปได้จริง ๆ เช่น หลังจากที่นาย A รู้แล้วว่าเขาต้องออกกำลังกาย ซึ่งเขาเห็นว่าการวิ่งคือวิธีที่ดีที่สุดสำหรับเขา แต่ตอนนี้มีเหตุการณ์ Covid-19 ระบาดอยู่ ทำให้เขาก็ยังไม่อยากออกไปวิ่งข้างนอก เขาจึงตัดสินใจซื้อลู่วิ่งมาวิ่งที่บ้านแทนตัวอย่างข้างต้นก็เป็นตัวอย่าง Buyer’s Journey อย่างหนึ่ง ทำให้เราเห็นการจำลองเส้นทางการเดินทางของลูกค้า เพื่อที่ว่าธุรกิจของเราสามารถเสิร์ฟคอนเทนต์ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการค้นหาและการเข้าถึงสินค้าและบริการจากแบรนด์ของเรามากขึ้นนั่นเอง
แต่จริง ๆ แล้ว สำหรับการตลาดแบบ Growth จะมีการใช้โมเดล AARRR Funnel ซึ่งถือเป็น Funnel สำคัญของการทำ Growth Hacking ที่จะทำให้คุณได้รู้ถึง Buyer’s Journey อย่างชัดเจนมากขึ้น คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมในบทความ Growth Hacking คืออะไร ? ทำความรู้จักกลยุทธ์ที่สร้างการเติบโตให้ธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 3. ไม่เคยใช้ Long-Tail Keyword สำหรับนักการตลาด หรือ Content Creator ที่หมายมุ่งใช้คำเน้นเพียงแค่ “Keyword ยอดฮิต” ที่มีกระแสและถูกค้นหาจำนวนมากในตลาด หรือที่เรียกว่า “Generic Keyword” แต่ไม่เคยลองใช้คำค้นแบบ Long-Tail Keyword เพื่อประกอบการทำบทความ SEO เลยสักครั้ง บอกเลยว่า คุณกำลังพลาดอย่างแรง
เนื่องจากการใช้ Long-Tail Keyword จะช่วยให้คอนเทนต์บนเว็บไซต์ของคุณมีความเฉพาะตัวมากกว่า มีโอกาสสร้าง Conversion Rate ได้สูง และเพิ่ม Traffic มากกว่าการใช้ Generic Keyword
Long-Tail Keyword คือ การทำ SEO ที่เลือกคีย์เวิร์ดประกอบคอนเทนต์ (Content) ที่มีความยาวเฉพาะเจาะจงและมีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหามากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการค้นหาให้ตรงกับใจผู้ค้นหามากที่สุด
ตัวอย่างเช่น จากที่เราเคยค้นหาแค่คำว่า “Virtual Run” หรือ “การทำ Content Marketing” Google ก็จะนำคอนเทนต์ที่มีความเกี่ยวข้องทั่ว ๆ ไปกว้าง ๆ มาให้เรา
แต่เมื่อเราลองใส่คำค้นหาที่เพิ่มความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น “แอปพลิเคชัน Virtual Run” หรือ “ตัวอย่างการทำ Content Marketing ที่ประสบความสำเร็จ” เห็นไหมว่าเมื่อเราใส่คำที่เฉพาะเจาะจงลงไป ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้การค้นหาตรงกับความต้องการเพิ่มขึ้น อย่างในกรณีนี้ Google ก็ได้นำผลการค้นหาเป็นแอปพลิเคชัน WIRTUAL มาให้เรานั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 4. คอนเทนต์ไม่ต่อเนื่อง การทำ Content Marketing ก็ไม่ต่างอะไรจากความรัก หากเราต้องการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับใคร เราก็ต้องดูแลเขา ทำตัวให้ดีสม่ำเสมอ ถึงจะได้ใจคนคนนั้นไปครอง
สำหรับการทำคอนเทนต์ก็เช่นกัน แบรนด์ของคุณไม่ควรทำคอนเทนต์แบบมา ๆ หาย ๆ ทำหนึ่งคอนเทนต์แล้วทิ้งห่างไปอีก 3 เดือนแล้วกลับมาใหม่อีกครั้ง ลองนึกภาพดูว่า ถ้าคนที่เขากำลังตามจีบคุณอยู่ เขาทักคุณมา แล้วคุณตอบกลับเขาไป จากนั้นเขาก็หายไปเลย เป็นคุณก็คงจะงงเหมือนกัน
หรือไม่ใช่พอแบรนด์ของคุณสามารถทำคอนเทนต์ที่ดีและเป็นไวรัลในโซเชียลได้แล้ว คุณรู้สึกพอใจในผลลัพธ์แล้ว จากนั้นก็หายยาวไปเลย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมันจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสับสนว่า สรุปแล้วแบรนด์ของคุณมีตัวตนอยู่จริงไหม ยังดำเนินธุรกิจอยู่หรือเปล่า
สำหรับความต่อเนื่องของการทำ Content Marketing บนเว็บไซต์เช่นกัน หากเว็บไซต์ธุรกิจของคุณ ไม่ได้มีการลงคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ ก็อาจส่งผลต่ออันดับ SEO ได้ ดังนั้นควรมีการวางแผนลงคอนเทนต์บนเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ เช่น ลง 2-3 คอนเทนต์ต่อสัปดาห์ แต่ทั้งนี้ก็ควรขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจของคุณด้วย ถ้าธุรกิจของคุณเน้นการทำ Content Marketing บนเว็บไซต์เป็นหลัก ก็อาจจะเพิ่มจำนวนคอนเทนต์ให้มากกว่าเดิมก็ได้
ความต่อเนื่องของการทำคอนเทนต์มันสามารถเป็นตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือ ของธุรกิจได้อีกทางหนึ่ง เพราะถ้าเกิดว่าลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการจากคุณไปแล้ว เขาเห็นว่าคุณยังมีการเคลื่อนไหว มีการสื่อสารพูดคุยกับลูกค้า มีบริการหลังการขาย เมื่อพวกเขามีปัญหา เขาสามารถติดต่อกลับไปหาคุณได้ทันที เมื่อต้องการความช่วยเหลือ เราต้องทำให้เขามั่นใจในตัวเรามากที่สุด
ภาพจาก undraw 5. ไม่เคยวางแผนในการทำคอนเทนต์ ถ้าการทำ Content Marketing ที่ผ่าน ๆ มา คุณนึกอยากทำอะไร อยากเขียนอะไรแล้วก็ทำตามใจ แต่หลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบ เราอยากให้คุณลองปรับมาวางแผนการทำงานก่อนลงมือทำคอนเทนต์จริง เนื่องจากการวางแผนก่อนลงมือทำคอนเทนต์จริง เราสามารถวัดผลลัพธ์ได้ง่ายว่า “ผู้อ่าน ผู้ติดตาม หรือลูกค้าถูกใจคอนเทนต์ที่เราผลิตออกไปหรือไม่” จะได้พัฒนาปรับปรุงคอนเทนต์ของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
ตัวอย่างเช่น มีการวางแผนให้ชัดเจนว่าภายใน 1 สัปดาห์ หรือภายใน 1 เดือน จะปล่อยกี่คอนเทนต์ วันละกี่ครั้ง ลงช่วงเวลาไหนจึงจะมีคนมาเห็นคอนเทนต์มากที่สุด และปล่อยคอนเทนต์ในรูปแบบใดบ้าง เช่น เป็นบล็อก, โพสต์ในโซเชียลมีเดีย, รูปภาพ, วิดีโอ หรือการไลฟ์สด
นอกจากการวางแผนจะทำให้คุณวัดผลได้ง่ายแล้ว ยังทำให้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่าแบรนด์ของคุณมีความเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ มีการโต้ตอบกับพวกเขา พอพวกเขาเห็นผ่านตาบ่อย ๆ ก็จะเริ่มจำแบรนด์ของคุณได้ และถ้าพวกเขาเห็นว่าคอนเทนต์ของคุณดี มีคุณค่า และสะดุดตาพวกเขา แบบคอนเทนต์นี้ใช่เลย มันเกิดมาเพื่อพวกเขา สุดท้ายกลุ่มเป้าหมายเหล่านั้นจะต้องกลายมาเป็นลูกค้าของคุณอย่างแน่นอน
ภาพจาก undraw 7 เทรนด์ในการทำ Content Marketing ที่คุณไม่ควรพลาดในปี 2021 Content Marketing เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เพราะเปลี่ยนไปตามเทรนด์ เทคโนโลยี หรือความต้องการของลูกค้าเอง เช่น มีการใช้สมาร์ทโฟนกันมากขึ้น, มีพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์เพิ่มขึ้น, มีการใช้เสียงเพื่อค้นหา (Voice Search) และสื่อโซเชียลมีเดียเองก็เป็นสิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างมาก
เพราะฉะนั้น เราก็ต้องมีการอัปเดตเทรนด์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การทำ Content Marketing ของเราไม่ตกเทรนด์ ตามทันโลกและความต้องการของลูกค้า ซึ่งตอนนี้ก็ถึงเวลาแล้ว ไปดูกันเลยว่ามีเทรนด์อะไรน่าสนใจกันบ้าง
1. วิดีโอคอนเทนต์ กว่า 99% ของนักการตลาดบอกว่า วิดีโอคอนเทนต์ยังคงเป็นสื่อหลักที่เลือกใช้สำหรับแผนการตลาดในปีนี้และอนาคตต่อไป – Oberlo ไม่ว่าจะเป็นวิดีโอในรูปแบบไหนก็ตามทั้ง วิดีโอทั่วไป, วิดีโอสั้น (Short Video) หรือไลฟ์วิดีโอ (Live Video) ก็ยังคงมาแรงและได้รับความนิยมอย่างท้วมท้นในปี 2021 ซึ่งเราก็ได้เห็นแล้วว่าแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่ระดับโลกหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Youtube, Instagram, TikTok , Facebook หรือ Twitter ต่างก็ได้พร้อมใจกันพัฒนาความสามารถในการลงคอนเทนต์วิดีโอบนแพลตฟอร์มของตัวเองกันอย่างดุเดือดเลยทีเดียว
วิดีโอสั้น (Short Video) ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมาก เนื่องมาจากในช่วงกักตัวจากสถานการณ์ Covid-19 ที่ผ่านมา ผู้คนมีพฤติกรรมเสพวิดีโอคอนเทนต์กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น แอปพลิเคชัน TikTok ที่เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นและเน้นความสนุกสนาน มีการเติบโตขึ้น 5 เท่าในปี 2020 เมื่อเทียบกับปี 2019 และเป็นแอปพลิเคชันที่มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกสูงสุด ทั้งในระบบ iOS และ Android รวมถึงมียอดผู้ใช้งานต่อวัน (Daily Active Users) กว่า 689 ล้านคนทั่วโลกอีกด้วย (Oberlo, 2021 )
ทำให้เราเห็นว่าการเติบโตอย่างถล่มทลายของ TikTok นี้ มาจากพฤติกรรมของผู้คนที่มีการเสพวิดีโอคอนเทนต์กันมากขึ้น ส่งผลให้แม้กระทั่งแพลตฟอร์มวิดีโอยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่าง Youtube (Youtube Short), Instagram (Reels) ยังต้องมีการสนับสนุนรูปแบบวิดีโอสั้นด้วย และที่สำคัญการทำวิดีโอสั้นก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกดี ๆ ที่แบรนด์สามารถเลือกใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะทำได้ง่าย ไม่ต้องใช้งบประมาณตัดต่อเยอะเราสามารถทำได้ครบจบบนโทรศัพท์แค่เครื่องเดียว
ภาพจาก thaismescenter ฟีเจอร์ Stories เป็นคอนเทนต์วิดีโอสั้นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะ IG Stories ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 500 ล้านคนต่อวัน และจากสถิติของ Hootsuite ยังแสดงให้เห็นอีกว่า 58% ของผู้ใช้งาน IG Stories มักจะมีความรู้สึกสนใจแบรนด์หรือผลิตภัณฑ์มากขึ้น หลังจากที่เห็นคอนเทนต์ใน Stories และทำให้พวกเขาอยากรู้สึกเสียเงินให้กับธุรกิจมากขึ้นกว่าเดิมด้วย
ถ้าเกิดว่าแบรนด์ต้องการทำ Content Marketing บน Stories ควรทำคอนเทนต์ที่เน้นการกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้ใช้งานเป็นหลัก เพราะคนที่มักซื้อสินค้าหลังจากเห็นคอนเทนต์ใน Stories มักจะใช้อารมณ์และความรู้สึกในการซื้อมากกว่าเหตุผล ถ้าเกิดว่าเราอยากสร้างยอดขายให้กับธุรกิจมาก ๆ ก็ต้องทำให้พวกเขามีอารมณ์ร่วมในการอยากซื้อสินค้าของแบรนด์เราดีที่สุด
การไลฟ์สด (Live Video) ทำให้แบรนด์และลูกค้าสามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันที และการทำคอนเทนต์ประเภทนี้ก็เป็นการดึงดูดลูกค้าได้มากทีเดียว ยิ่งถ้าเราเขียนบอกว่าลูกค้าไว้ก่อนว่าจะมีการลด แจก แถม ในไลฟ์ ถ้าลูกค้าไม่มาดูในช่วงเวลานั้นก็อาจทำให้พลาดโปรโมชันดี ๆ หรือโค้ดส่วนสดที่แจกเฉพาะคนที่ดูไลฟ์เท่านั้น แต่ข้อควรระวังของการไลฟ์วิดีโอ คือ ต้องระวังการใช้คำพูดให้มาก ๆ เพราะมันอาจสร้างความเข้าใจผิดกับผู้ที่รับฟัง จนเกิดเป็นดราม่าต่าง ๆ ตามมาได้
ตัวอย่างร้านค้าที่ขายของด้วยการ Live Video แล้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ที่เราอยากพูดถึง คือ ร้าน พิมรี่พายขายทุกอย่าง พิมรี่พายเริ่มจากการทำคอนเทนต์ไลฟ์สดขายของ ซึ่งเธอขายของด้วยความเป็นตัวเอง (Original Content) มาตลอด ไม่ได้ทำคอนเทนต์ที่ดูฝืน ไม่เป็นธรรมดา หรือทำคอนเทนต์แบบเจ้าอื่น ๆ จากที่มีคนดูไลฟ์แค่หลักร้อยคน ทำมาเรื่อย ๆ ก็มีคนดูแตะหลักหมื่นคน จนถึงหลักแสนคน และล่าสุดยอดคนดูก็ทะลุไปถึง 5 แสนคน ทำให้เธอสามารถปิดออเดอร์ไปวันเดียวได้มากถึง 16,000 ออเดอร์ เรียกได้ว่าแค่การ Live Video ขายของเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็สามารถทำยอดขายได้ถล่มทลายทีเดียว
ภาพจาก matichon วิดีโอคอนเทนต์แบบ Webinars ก็ได้รับความนิยมมากเพิ่มขึ้นเหมือนกัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ผู้คนไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้เหมือนเดิม ส่งผลให้งานประชุม สัมมนา อีเว้นท์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งคอนเสิร์ตต้องย้ายมาจัดกันแบบออนไลน์ในรูปแบบของ Webinars กันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม หลายธุรกิจก็ไม่สามารถสร้างแพลตฟอร์มการดูวิดีโอให้อยู่บนเว็บไซต์ได้ ดังนั้นต้องมีการพึ่งพาการใช้ Tools ซึ่งจะเครื่องมือที่เข้ามาช่วยทดแทนช่องว่างตรงนี้ได้ ซึ่ง Tools ที่ธุรกิจส่วนใหญ่มักใช้ในการจัด Webinars ประกอบไปด้วย Zoom , GoToWebinar , WebinarJam , GetResponse , Google Meet , Microsoft Teams เป็นต้น
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาพจาก zipeventapp โดยสรุปแล้ว วิดีโอก็ยังคงเป็นสื่อที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการสื่อสารข้อความหรือการทำการตลาดของแบรนด์ ถ้าอยากให้ลูกค้าได้รับข้อมูลหรือเห็นข้อดีที่ชัดเจนขึ้นของสินค้า แบรนด์ต่าง ๆ ก็ควรหันมาทำวิดีโอคอนเทนต์รูปแบบต่าง ๆ ในปี 2021 นี้
2. สร้าง Content Community เทรนด์ Content Marketing ที่ควรลองทำในปี 2021 อีกหนึ่งเทรนด์ คือ การสร้าง Content Community ซึ่งก็เป็นเทรนด์ที่ไม่น่าแปลกใจสักเท่าไร และทุกแบรนด์ก็ทำได้ง่ายด้วย เพราะการมี Community ของแบรนด์ทำให้ลูกค้ากับแบรนด์สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ง่ายขึ้น แบรนด์สามารถแบ่งปันข่าวสารหรือข้อมูลสุด Exclusive สำหรับลูกค้า
นอกจากนั้น แบรนด์ยังสามารถเห็นว่าลูกค้าต้องการอะไร หากลูกค้าต้องการความช่วยเหลือ แบรนด์ก็สามารถตอบโต้กับลูกค้าได้โดยตรง เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ไปในตัวอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น การใช้งาน Slack ถึงแม้ว่า Slack จะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารภายในองค์กร แต่นักการตลาดของบริษัทเทคโนโลยีหลายบริษัทก็มีการใช้ Slack ในการสร้าง Content Community ของตัวเอง ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ของ Covid-19 เพื่อให้ความสำคัญกับลูกค้าในการทำการตลาดเฉพาะส่วนบุคคล (Personalized Marketing) ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา Slack Communities ก็ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องจากที่เคยมีเพียง 400 Communities จนปัจจุบันมีมากถึง 1,000 Communities (โตขึ้น 2.5 เท่า)
ภาพจาก foundationinc การสร้าง Content Community แบบนี้ก็เป็นเหมือนแรงผลักดันสำหรับทีมการตลาดของบริษัทเทคโนโลยีเหล่านั้นตลอดทั้งปี อีกทั้งการสร้าง Community โดยเฉพาะขึ้นมา เพื่อแบ่งปันข่าวสารของแบรนด์และสร้างคอนเทนต์ที่มอบคุณค่าให้กับลูกค้าก็สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้ และยังช่วยให้ทีมการตลาดสามารถขยายการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องด้วย
The Growth Master ของเราก็มี Community หลากหลายช่องทางที่เอาไว้แบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับแวดวงการตลาดและเทคโนโลยีที่น่าสนใจใหม่ ๆ หากท่านใดที่ต้องการติดตามเรา ท่านสามารถเข้าร่วมและติดตามช่องทางต่าง ๆ ได้ดังนี้
ทุกท่านก็สามารถแบ่งปันความรู้ อัปเดตข้อมูลข่าวสาร หรือถ้าต้องการสอบถามเกี่ยวกับการทำธุรกิจก็สามารถทำได้ภายในช่องทางต่าง ๆ ข้างต้นได้เลย มาเติบโตแบบพุ่งทะยานไปพร้อม ๆ กันนะคะ
3. Content-Driven Personalization เนื่องจากในปัจจุบันการแข่งขันการทำคอนเทนต์ทวีความรุนแรงขึ้น และเส้นทางการเดินทางของผู้ซื้อก็มีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การสร้างยอดขายจากคอนเทนต์ของคุณจึงไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนเคย
Most of your site readers will come, find their answers, and leave to complete their tasks. ผู้คนส่วนใหญ่ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณจะเข้ามาเพื่ออ่าน ค้นหาคำตอบ หรือเลื่อนดูสินค้าเฉย ๆ แล้วก็กดออกไปโดยที่ไม่ได้ทำการซื้อ แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาที่กล่าวมานั้น คือ การทำ Content-Driven Personalization
Content-Driven Personalization คืออะไร? Content-Driven Personalization คือ การสร้างคอนเทนต์ที่กระตุ้นให้ผู้คนกลับมายังเว็บไซต์ของแบรนด์อีกครั้ง เพื่อมาดำเนินการสิ่งที่พวกเขาทำค้างไว้ในตอนที่พวกเขากดออกจากเว็บไซต์ของเราไปในตอนแรก แต่คอนเทนต์ที่ทำออกมาก็มีความเกี่ยวข้องกับพวกเขาด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานเข้ามาอ่านบทความเกี่ยวกับ 21 Tech Stack ที่ธุรกิจ E-Commerce ควรมีในปี 2021 แล้วกดออกไป เราก็อาจมีการแนะนำเสนอคอนเทนต์อีกคอนเทนต์นึงว่า ธุรกิจเราสามารถให้คำปรึกษาพวกเขาฟรีเกี่ยวกับการทำ E-Commerce ได้ หรือเสนอโซลูชันอื่น ๆ ที่ให้การเริ่มต้นทำ E-Commerce ของพวกเขาเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น ซึ่งการใช้คอนเทนต์เพื่อให้ลูกค้าเห็นข้อดีและคุณค่าของแบรนด์เอง หรือการ “ให้คำปรึกษาฟรี ” ก็เป็นการกระตุ้นให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วมให้แบรนด์เราเป็นที่ปรึกษาของเขาก็ได้
สำหรับการทำ Content-Driven Remarketing ปัจจุบันก็มีเครื่องมือมากมายที่เข้ามาช่วยให้ธุรกิจทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่าง Google Analytics ที่ช่วยให้คุณสร้างประสบการณ์ส่วนบุคคล (Personalized Experiences) สำหรับเว็บไซต์ของเรา เพื่อดึงให้ผู้ใช้งานกลับมามีส่วนร่วมอีกครั้งหนึ่ง เช่น มีการกำหนดเป้าหมาย CTA ในเว็บไซต์ไปยังผู้ใช้ที่กลับมาแต่ละคน โดยเราสามารถพิจารณาจากเส้นทางการของพวกเขาในอดีตว่ามีการค้นหาอะไรบ้าง หรือมีการกดดูคอนเทนต์ไหนบ้างบนเว็บไซต์ของเรา เพื่อที่จะได้เสิร์ฟคอนเทนต์ที่ตรงใจกับพวกเขามากที่สุด
ภาพด้านล่างนี้เป็น Workflow การทำงานของการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการทำ Personalized Content โดยมีการใช้งานเครื่องมือ เช่น Google Tag Manager, Google Analytics, Google Data Studio เป็นต้น
ภาพจาก thinkwithgoogle อย่างไรก็ตาม เมื่อกฎหมาย PDPA บังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2022 (อีก 1 ปีข้างหน้า) อาจทำให้ผู้ใช้ (User) ไม่ยินยอมให้ใช้ข้อมูลทั้งหมดหรือจำกัดการเข้าถึงข้อมูลบางอย่างของพวกเขา ทำให้ธุรกิจไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของพวกเขาได้ทั้งหมด แต่ก็มี Google Consent Mode ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์จาก Google ที่ทำให้เรายังสามารถนำข้อมูลของพวกเขามาใช้แบบไม่ระบุตัวตน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ทำให้เรานำข้อมูลเพื่อไปปรับใช้ในการทำ Personalized Content ได้
4. ปรับปรุงประสบการณ์การรับชมคอนเทนต์ของผู้ใช้งาน คุณเคยเข้าเว็บไซต์เพื่อตั้งใจเข้าไปอ่านคอนเทนต์ แต่กลับเจอแต่ Pop-up โฆษณาที่มาบดบังตัวหนังสือเต็มไปหมดไหม มิหนำซ้ำพอเราจะเลื่อนหนีก็ยังมีโฆษณาวิ่งตามหลอกหลอนมาอีก ณ วินาทีนั้น ถ้าเป็นคุณ คุณจะมีความรู้สึกอย่างไรบ้าง คุณจะมองหาปุ่มกดซ่อนโฆษณาเหล่านั้นไหม หรือคุณเลือกที่จะปิดหน้าต่างเว็บไซต์นั้นไปเลย (แต่บ่อยครั้งเราชื่อว่าหลายคนเลือกทำอย่างหลังมากกว่า)
จากการกระทำแบบนั้น เป็นสิ่งที่แบรนด์ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมันทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ลูกค้าของคุณตั้งใจเข้ามาอ่านคอนเทนต์ของคุณ ไม่ได้ต้องการเข้ามาดูโฆษณาเหล่านั้น แต่เราไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีโฆษณาอยู่ในหน้านั้นเลย มีได้ แต่ควรมีอย่างพอเหมาะ ไม่เยอะเกินไป และควรจัดองค์ประกอบให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ไม่ควรสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ที่เข้ามาอ่าน เพราะนอกจากที่คุณจะไม่ได้ลูกค้าแล้ว ยังทำให้เขารู้สึกไม่ดีกับธุรกิจของคุณอีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับชมคอนเทนต์เท่านั้น แต่พฤติกรรมการใช้งานของพวกเขาส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนโทรศัพท์เป็นหลัก จากสถิติของ Hootsuite บอกว่า มีผู้คนทั่วโลกกว่า 5.22 พันล้านคนมีการใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเอง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี และมีจำนวนคนมากถึง 4.15 พันล้านคน เข้าถึงโซเชียลมีเดียผ่านโทรศัพท์มือถือ
ภาพจาก datareportal เพราะฉะนั้นเราควรปรับทำคอนเทนต์ให้เป็นแบบ Mobile Responsive รองรับทุกการใช้งาน, ใช้ประโยชน์จากหลักการทำ User Experience, การจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา และทำให้การนำทางบนเว็บไซต์ง่ายขึ้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นสำหรับผู้เยี่ยมชมคอนเทนต์ของเรา ไม่ว่าจะด้วยวิธีการก็ตาม ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่าง ๆ
“In order to drive ROI with content, you need to focus on content experience. That means you need users to stay on your website, love what you write about, find exactly what they're looking for, and enter a sales funnel.” – Adam Enfroy, Content Marketing Expert นอกจากนั้น ด้านเนื้อหาก็เช่นกัน ควรทำคอนเทนต์ให้มีความน่าสนใจ ผู้รับชมเข้าใจง่าย ไม่ต้องดูหรืออ่านซ้ำหลายรอบ ยิ่งถ้ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นกลุ่มบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รู้จักคำศัพท์เชิงเทคนิคมากนัก แต่เขาเป็นมือใหม่ที่อยากเข้ามาหาความรู้ใหม่ ๆ จากคอนเทนต์ของคุณ เวลาทำคอนเทนต์เฉพาะทาง เราก็ไม่ควรใช้คำศัพท์เทคนิคเฉพาะมากเกินไป เพราะจะทำให้พวกเขาไม่เข้าใจในสิ่งที่เรานำเสนอ ถ้ามีก็ควรใส่คำแปลหรือความหมายไว้ให้พวกเขาสักนิด เพื่อที่ว่าพวกเขาจะได้เห็นว่าเราใส่ใจพวกเขา มีความตั้งใจที่นำเสนอคอนเทนต์นั้นจริง ๆ เขาจะได้ไม่กดออกหนีเราไปในที่สุด
5. Voice Search Content ปัจจุบันเทรนด์การใช้ Voice Search บนโทรศัพท์ก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารใหม่ ๆ, ถูกนำทางไปยังเว็บไซต์ที่แตกต่าง หรือแม้แต่ใช้ Voice Search เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์ เราลองมาดูสถิติเหล่านี้กัน...
สถิติของ Uberall พบว่าผู้คน 21% ใช้ Voice Search ในการค้นหาเป็นประจำทุกสัปดาห์ ข้อมูลจาก Social Media Today บอกว่า ผู้ใช้งานเกือบ 50% ใช้ Voice Search ในการค้นหาสินค้าและบริการ ข้อมูลจาก Social Media Today บอกว่า 52% ของผู้คนใช้ Voice Search ในขณะขับรถ ข้อมูลจาก PwC พบว่า 65% ของผู้บริโภคอายุ 25-49 ปี มีการใช้งานบนอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับการใช้เสียง (Voice-Enabled Devices) ทุกวัน ข้อมูลจาก Hootsuite พบว่าประเทศไทย มีอัตราการใช้ Voice Search สูงเป็นอันดับ 6 ของโลก ภาพจาก Hootsuite เพราะฉะนั้นแล้ว การสร้างคอนเทนต์ที่ปรับรูปแบบให้เฉพาะเจาะจงกับ Voice Search ถือว่ามีความท้าทายไม่น้อยเลยสำหรับธุรกิจต่าง ๆ เพราะเวลาที่ลูกค้าของคุณใช้คำพูดในการค้นหา มักจะใช้ภาษาที่แตกต่างจากภาษาเขียน ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่ทางการ และอาจมีคำเพี้ยนไปจากภาษาเขียนเล็กน้อยด้วย
The Growth Master จึงมีวิธีการมาแนะนำสำหรับการทำ Voice Search Content ดังนี้
พยายามใช้ Long-Tail Keyword หรือคีย์เวิร์ดแบบยาวในการทำคอนเทนต์ เพราะเมื่อเวลาผู้ใช้งานพูดออกมา เขามักจะพูดเป็นประโยคยาว ๆ มากกว่าพูดเป็นคำ ๆ เดียว เช่น สำหรับการค้นหาแบบทั่วไป “คาเฟ่ สยาม” แต่พอมาเป็นการพูดอาจมีแนวโน้มเป็น “คาเฟ่ แถวสยาม ราคาถูก” สร้างคอนเทนต์ที่ใช้ภาษาพูดแบบบ้าน ๆ ทั่วไป ไม่ต่องเน้นทางการมากนัก แต่ใช้ภาษาที่เวลาเราพูดคุยกับเพื่อน หรือภาษาที่นึกขึ้นมาในหัวแล้วมักจะพูดคำเหล่านั้นออกมา เพราะลูกค้าก็จะพูดประโยคทั่วไปแบบเดียวกันกับเรา ใช้วิธีการพัฒนา SEO แบบดั้งเดิมผสมเข้ามาด้วย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำ SEO ก็ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่อยู่ควบคู่อยู่กับการทำคอนเทนต์ในทุกยุคทุกสมัยและทุกรูปแบบ หากธุรกิจของเราไม่มีการทำ SEO ก็อาจทำให้คอนเทนต์ของเราไม่ติดอันดับบน Search Engine และพลาดโอกาสที่ทำให้ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจของเราด้วย ดังนั้นแล้ว การสร้างคอนเทนต์ที่ให้ความสำคัญกับ Voice Search ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ธุรกิจทุกที่ไม่ควรที่จะละเลยและให้ความสำคัญในปีนี้
อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ภาพจาก translatemedia 6. Featured Snippets Featured Snippets คือ ฟีเจอร์หนึ่งของ Google ที่แสดงเป็นกล่องข้อความที่อยู่ด้านบนสุดของหน้า Search Result Page เพื่อตอบคำถามที่ผู้ค้นหาพิมพ์ลงไป ทำให้พวกเขาเจอเว็บไซต์ของเราได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และอีกหนึ่งความได้เปรียบของ Featured Snippets คือ มันจะแสดงผลก่อนเว็บไซต์ที่ติด SEO อันดับ 1 เสียอีก
ตัวอย่าง Featured snippets ซึ่ง Featured Snippets ก็เป็นอีกกลยุทธ์สำคัญในการทำ Content Marketing ที่ไม่ควรมองข้าม แต่การจะทำให้คอนเทนต์หรือเว็บไซต์ธุรกิจของเราให้ติด Featured Snippets ได้นั้น เกิดมาจากการทำ SEO บนเว็บไซต์ที่มีคุณภาพก่อน ซึ่งวันนี้เราก็ได้มีเคล็ด (ไม่) ลับดี ๆ มาฝาก เพื่อที่คุณจะได้สร้างคอนเทนต์ที่เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น และยังเป็นมิตรกับ Google (Google-friendly) อีกด้วย ซึ่งมีดังนี้
จัดโครงสร้างคอนเทนต์ของคุณให้อ่านง่าย โดยเขียนแบ่งเป็นย่อหน้าสั้น ๆ ไม่เขียนติดต่อกันเป็นบทความยาว ๆ เกิน 10 บรรทัดในพารากราฟเดียว, ใช้ Bullet เข้ามาช่วย, เพิ่มหัวข้อ และเน้นการเขียนข้อความที่กระชับ ใช้ Long-Tail Keyword หรือคีย์เวิร์ดที่มีความยาว เพราะคีย์เวิร์ดประเภทนี้ยังมีการแข่งขันยังไม่ค่อยสูงมากเท่ากับคีย์เวิร์ดสั้น ๆ มีคีย์เวิร์ดตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจง เช่น ถ้าคุณต้องการเขียนคอนเทนต์เกี่ยวกับการทำต้มยำกุ้ง คุณควรมีการเขียนคีย์เวิร์ดที่ผู้ค้นหานิยมพิมพ์ถามบน Google ด้วย เช่น “วิธีทำต้มยำกุ้ง”, “วัตถุดิบสำหรับทำต้มยำกุ้ง”, “สูตรทำต้มยำกุ้ง”, “ขั้นตอนการทำต้มยำกุ้ง” เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากเว็บไซต์ของคุณติดอันดับ Featured Snippets แล้ว แต่อันดับสูงสุดนี้ก็ไม่ได้เป็นของคุณตลอดไป เพราะมันมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณควรหมั่นเข้าไปปรับปรุง ทำ SEO และอัปเดตคอนเทนต์ของคุณอย่างสม่ำเสมอด้วย เพื่อที่ว่าเว็บไซต์ของคุณจะได้ครองอันดับนั้นไปนาน ๆ
และจริงอยู่ที่ Featured Snippets จะทำให้มีคนเห็นเว็บไซต์ของเราเยอะขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมี Traffic หลั่งไหลคลิกเข้ามาที่เว็บไซต์ของเรามากขึ้น เนื่องจากผู้คนมักได้คำตอบทั้งหมดที่พวกเขาต้องการแล้วจากกล่องข้อความนั้น แต่นั่นก็เป็นวิธีการทำงานของ Google ในตอนนี้ ซึ่งการครองตำแหน่งสูงสุดบน Featured Snippets นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีข้อดีเลย แต่ Featured Snippets สามารถแสดงภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจได้ เพราะทำให้ดูมีความเชี่ยวชาญต่อเรื่องนั้น ๆ ได้ดี นอกจากนั้น Featured Snippets ก็ส่งผลต่อการทำ Content Marketing โดยรวมต่อเว็บไซต์ของคุณด้วย
7. Real-time Content Real-time Content ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งการทำ Content Marketing ที่ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก ๆ อีกหนึ่งประเภท
Real-time Content คือ คอนเทนต์ที่นำกระแสสังคมหรือประเด็นที่กำลังมีการพูดถึงอย่างมากในช่วงนั้นมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่การสร้างความบันเทิงให้กับผู้ติดตามเป็นหลัก บางธุรกิจก็มาสายให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระแสนั้น ๆ และอีกไม่น้อยที่ระดมความคิดสร้างสรรค์ออกมาเต็มที่จนผู้ที่พบเห็นต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจ๋งอ่ะ คิดได้ไงเนี่ยย’ ทำให้เกิดผลตอบรับที่ดีกับธุรกิจไปในตัวอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้เอง Real-time Content จึงเป็นคอนเทนต์ที่มีโอกาสในสร้าง Engagement ได้มาก และยังเป็นอีกวิธีในการกระตุ้น Brand Awareness อีกด้วย เพราะการใช้กระแสสังคมให้เป็นประโยชน์จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกเชื่อมโยงกับคอนเทนต์เหล่านั้นมากยิ่งขึ้น และมีความเป็นไปได้สูงที่แบรนด์จะถูกพูดถึงไปพร้อม ๆ กับต้นกำเนิดกระแสเหล่านั้นในเวลาชั่วข้ามคืน
แต่ก็อย่าลืมไปว่า สำหรับการทำ Content Marketing บนเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ‘คุณภาพ’ ยังคงมีความสำคัญมากกว่า ‘ความเร็ว’ เพราะจะเห็นได้ว่าเทรนด์เกือบทุกข้อที่เรากล่าวมา ล้วนต้องมีการทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพอยู่ในนั้นเกือบทั้งสิ้น ถ้าเกิดว่าคอนเทนต์ของเราไม่มีคุณภาพ ก็ไม่มีผู้ใช้คนไหนที่อยากเข้ามาดู อยากเข้ามาฟัง หรืออยากเข้ามาอ่าน
ภาพจาก thedigitaltips สำหรับการทำ Real-time Content ก็เช่นกันที่เปรียบเหมือนดาบสองคมที่สามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดี ดังระเบิด เป็นที่รู้จักเพียงชั่วข้ามคืน แต่อีกแง่หนึ่งก็อาจเป็นดาบแหลมคมที่กลับมาทิ่มแทงธุรกิจได้ หากไม่ตรวจสอบคอนเทนต์ให้ดีก่อนว่ามีคุณภาพที่ดี ข้อมูลความถูกต้องแล้วหรือไม่ มีแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน หรือว่านำเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาเชื่อมโยงหรือไม่ ทั้งเกี่ยวกับเรื่องเพศ, เชื้อชาติ, คติความเชื่อ หรือการเมือง ถ้าเกิดว่าแบรนด์ไม่มีการตรวจสอบให้ดีก่อน ผู้ติดตามหรือชาวเน็ตก็อาจจะเปลี่ยนความ ‘ปัง’ ของคอนเทนต์ให้เป็นความ ‘พัง’ ได้เพียงไม่กี่วินาทีเช่นกัน
ตัวอย่าง Real-time Content ของ Netflix เมื่อไม่นานมานี้ เป็นการนำวันหยุดยาวสงกรานต์มาเล่น (แต่เป็น Content Marketing แบบออฟไลน์) โดยนำคำพยางค์สุดท้ายในชื่อภาคทั้ง 4 ภาคของไทย มาเช่ือมโยงกับซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่มีฉายอยู่ใน Netflix
เช่น ภาคอีสาน นำคำว่า ‘สาน’ มาเล่น ดังนี้ สาน สัมพันธ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ‘ดิว ไปด้วยกันนะ’, สาร วัตร จากซีรีส์เรื่อง ‘เพราะเราคู่กัน’ หรือ สาร ภาพ จากภาพยนตร์เรื่อง ‘เพื่อนสนิท’ ซึ่งเมื่อคนที่กำลังเดินทางกลับบ้านเห็นป้ายเหล่านั้นก็อาจทำให้พวกเขาอยากกลับไปดูซีรีส์หรือภาพยนตร์ที่ปรากฏอยู่บนป้ายของ Netflix ได้
ภาพจาก twitter